ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

วิญญาณ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=65157
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 08 ธ.ค. 2024, 06:40 ]
หัวข้อกระทู้:  วิญญาณ

องค์ที่ ๓ วิญญาณ

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป คือ นามรูปจะปรากฏขึ้นได้ ก็เพราะมีวิญญาณเป็น
ปัจจัย ลักขณาทิจตุกะของวิญญาณ คือ
วิชานนลกฺขณํ > มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
ปุพฺพงฺคมรสํ > เป็นประธานแก่เจตสิกและกัมมชรูป เป็นกิจ
ปฏิสนฺธิปจฺจุปฎฺฐานํ > มีการสืบต่อระหว่างภพเก่ากับภพใหม่ เป็นผล
สงฺขารปทฎฺฐานํ > มีสังขาร (๓) เป็นเหตุใกล้
(วา) วตฺถารมฺมณปทฎฺฐานํ >( หรือ) มีวัตถุ (๖) กับอารมณ์ (๖) เป็นเหตุใกล้
ในบทก่อนกล่าวว่า วิญญาณอันเป็นปัจจุบับบันนธรรรมของสังขารนั้น จำแนกเป็น
๒ ประเภท คือ
ก. ปฏิสนธิวิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙
ข. ปวัตติวิญญาณ ได้แก่ โลกียวิปาก ๓๒
ในบทนี้ก็กล่าวได้ว่า วิญญาณอันเป็นปัจจัยธรรม คือเป็นสิ่งอุปการะช่วยเหลือให้
เกิดนามรูปนั้น ก็จำแนกได้เป็น ๒ ประเภทเหมือนกัน คือ
ก. วิปากวิญญาณ ได้แก่ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ ดวง วิปากวิญญาณนี้เป็นเหตุใกล้
(อาสนฺนการณํ)
ข. กัมมวิญญาณ ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ และโลกียกุศลจิต ๑๗ ที่สหรคตกับอกุสล
เจตนากรรมและโลกียกุศลเจตนากรรมในอดีตภพ กล่าวสั้น ๆ ก็ว่า กัมมวิญญาณก็คือกรรม
๒๙ นั่นเอง กัมมวิญญาณนี้เป็นเหตุไกล (ทูรการณํ)
ส่วน นามรูป อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของวิญญาณ นั้นมีความหมายดังนี้
นาม ในบทนี้หมายถึง เจตสิก เท่านั้น

ไฟล์แนป:
Screenshot_20241203-183510_TikTok~2.jpg
Screenshot_20241203-183510_TikTok~2.jpg [ 220.91 KiB | เปิดดู 1672 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 08 ธ.ค. 2024, 08:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: วิญญาณ

ก. ตามนัยแห่งพระอภิธรรมซึ่งได้กล่าวแล้วในบทก่อนว่า วิญญาณได้แก่ จิตทั้งหมด
ดังนั้นตามควรแก่ที่จะประกอบได้
ในบทนี้ นามคือ เจตสิก ก็ได้แก่ เจตสิกเพียง ๓๕ ดวง ที่ประกอบกับโลกียวิปาก
วิญญาณ ๓๒ เท่านั้น
ข. ตามนัยแห่งพระสูตร ซึ่งในบทก่อนว่า วิญญาณ ได้แก่ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ เท่านั้น

นาม คือ เจตสิก ที่ประกอบกับปฏิสนธิวิญญาณ ๑๙ ก็เรียกว่า ปฏิสนธินาม
(ปฏิสนธิเจตสิก), เจตสิกที่เกิดในปฏิสนธิกาลนี้ อาศัยกัมมวิญญาณในอดีตภพ และปฏิสนธิ
วิญญาณในปัจจุบันภพ เป็นปัจจัย
นาม คือ เจตสิก ที่ประกอบกับปวัตติวิญญาณ ๓๒ ก็เรียกว่า ปวัตตินาม (
ปวัตติเจตสิก). เจตสิกที่เป็นปวัตติกาลนี้ อาศัยปวัตติวิปากวิญญาณแค่ย่างเดียว เป็นปัจจัย
ส่วน รูป ในบทนี้ หมายถึงรูปภายในสัตว์ทั้ง ๒๘ รูป กล่าวอีกนัยหนึ่งว่าหมาย
เฉพาะกัมมชรูปโดยตรง และจิตตชรูปโดยอ้อมเท่านั้น
กัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ ๑๕ (เว้นอรูปปฏิสนธิวิญญาณ ๔ ) นั้น
เรียกว่า ปฏิสนธิรูป กัมมชรูปที่เกิดในปฏิสนธิกาลนี้ อาศัยกัมมวิญญาณในอดีตภพ และ
ปฏิสนธิวิญญาณในปัจจุบันภพ เป็นปัจจัย
ปวัตติกันมชรูป ที่เดจากกันเวิญญาณ ๒๕ (เว้นอรูปกันมวิญญาณ ๔) นั้นอย่างหนึ่ง
กับจิตตชรูปที่เกิดจากปวัตติวิญญาณ ๑๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และอรูปวิปาก วิญญาณ
๔ ) อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๒ อย่างนี้เรียกว่า ปวัตติรูป กัมมชรูปที่เกิดในปวัตติกาลนี้ อาศัย
กัมมวิญญาณในอดีตภพแต่อย่างเดียวเป็นปัจจัย ส่วนจิตตชรูปที่เกิดขึ้นในปฏิสนธิการนั้นไม่มี
มีแต่เกิดขึ้นในปวัตติกาลโดยอาศัยปวัตติวิปากวิญญาณเป็นปัจจัย
รวมความว่า รูปในปฏิสนธิกาล มีแต่กันมชรูปอย่างดียว รูปในปวัตติกาล มีได้ที่ได้ทั้ง
กัมมชรูป และจิตตชรูป
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูปนี้ จำแนกความป็นปัจจัยได้เป็น ๓ ประการ คือ
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม, วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป และวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 08 ธ.ค. 2024, 13:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: วิญญาณ

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม หมายเฉพาะว่า วิญญาณเป็นปัจจัยแก่เจตสิก แต่อย่าง
เดียว ไม่เกี่ยวแก่รูปด้วย
๑. กัมมวิญญาณ ได้แก่ อรูปาวจรกุสลจิต ๔ ดวงที่ สหรคตตัวยรูปวีราคเจตนา
ในอดีตภพ เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธินาม คือ เจดสิก ๓๐ ดวงที่ประกอบกับปฏิสนธิวิญญาณ
ในจตุโวการภูมิ ๔ ในปฏิสนธิกาล
๒. วิปากวิญญาณ ได้แก่ อรูปาวจรปฏิสนธิวิญญาณ ๔ ดวง ในปัจจุบันภพ
เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธินาม คือ เจตสิก ๓๐ ดวง ที่ประกอบกับ ปฏิสนธิจิตในจตุโวการภูมิ ๔
ในปฏิสนธิกาล
. วิปากวิญญาณ ได้แก่อรูปาวจรวิปากวิญญาณ ๔ ดวง คือ ภวังคจิตเป็นปัจจัย
แก่ปวัตตินาม คือ เจตสิก ๓๐ ดวงที่ประกอบกับภวังคจิตในจตุโวการภูมิ ๔ ในปวัตติกาล

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป หมายเฉพาะว่าวิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูปแต่อย่างเดียว ไม่
เกี่ยวแก่นามด้วย
วิญญาณในที่นี้หมายถึง กัมมวิญญาณ อันได้แก่รูปาวจรปัญจมฌานกุลลจิตที่
สหรคตด้วยเจตนาในสัญญาวิราคภาวนาในอดีตภพ เป็นปัจจัยแก่กัมมชรูปในเอกโวการภูมิ
คือ อสัญญสัตดภูมิ ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นานรูป หมายความว่า วิญญาณนั้นอุปการะช่วยเหลือให้เกิด
ทั้งนามคือเจตสิก ทั้งรูปคือกัมมชรูปและจิตตชรูปด้วย
๑. กัมมวิญญาณ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๑ มหากุสลจิต ๘ และรูปาวจรกุลลจิต ๕ รวมเป็น
๒๔ ดวง ที่สหรคตด้วยเจตนาในอดีตภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ปฏิสนธินาม และปฏิสนธิรูปใน
ปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปฏิสนธิกาล
ปฏิสนธินาม คือ เจดสิก ๕ ดวงที่ประกอบกับปฏิสนธิจิต ๑๕ ดวง

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 08 ธ.ค. 2024, 16:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: วิญญาณ

ปฏิสนธิรูป คือ กัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ๑๕ ดวงนั้น
๒. วิปากวิญญาณ ได้แก่ปฏิสนธิวิญญาณ ๑๕ ดวงในปัจจุบันภพเป็นปัจจัยแก่
ปฏิสนธินาม คือเจตสิก ๓๕ และกัมมชรูปที่เกิดพร้อมกันปฏิสนธิจิตนั้นในปัญโวการภูมิ ๒๖
ในปฏิสนธิกาล
๓. วิปากวิญญาณ ได้แก่ภวังคจิต ๑๕ ดวง เป็นปัจจัยแก่ ปวัตตืนาม คือ เจตสิก
๓๕ และปวัตติรูป คือจิตตชรูป ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปวัตติกาล
. วิปากวิญญาณ ได้แก่ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ และโสมนัสสันตีรณจิต ๑ เป็นปัจจัยแก่
ปวัตตินาม คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๑ และปวัตติรูป คือจิตชรูป ในปัญโวการภูมิ ๒๖
ในปวัตติกาล
. วิปากวิญญาณ ได้แก่ ทวิบัญจวิญญาณ ๑๐ เป็นปัจปัจจัยแก่ปวัตตินาม คือ
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปวัตติกาล

ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่วิญญาณ

ในบทวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูปนี้ เมื่อกล่าโดยปัจจัย ๒๔ แล้วก็เป็นไปด้วย
อำนาจแห่งปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ
ก. วิญญาณป็นปัจจัยแก่นาม คือ เจตสิกแต่อย่างดียว (ในจตุโวการภูมิ) นั้น
ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๙ ปัจจัย คือ
๑. สหชาตปัจจัย ๒. อัญญมัญญปัจจัย ๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย ๕. อาหารปัจจัย ๖. อินทริยปัจจัย
๗. สัมปยุตตปัจจัย ๘. อัตถิปัจจัย ๙.อวิคตปัจจัย
ข. วิญญาณเป็นปัจจัยแก่ รูป คือ กันมชรูปแต่อย่างดียว (ในเอกโวการภูมิ) นั้น
ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๔ ปัจจัย คือ
๑. วิปากปัจจัย ๒. วิปปยุตตปัจจัย
๓. นัตถิปัจจัย๔. วิคดปัจจัย
ค. วิญญาณป็นปัจจัยทั้งนามทั้งรูป (ในปัญจโวการภูมิ) ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย
๙ ปัจจัย ซึ่งหมือนกับข้อ ก. เว้นแต่หมายเลข ๗ สัมปยุตตปัจจัย ให้เปลี่ยนเป็น วิปปัจจัย
ปัจจัยดียวเท่านั้น ส่วนอีก ๘ ปัจจัยนั้นเหมือนกันทุกปัจจัย

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 08 ธ.ค. 2024, 17:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: วิญญาณ

ความหมายแห่งปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัยใดที่ซ้ำกับในบทก่อนที่ได้แสดงความหมายมาแล้ว
ก็จะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก จะกล่าวถึงความหมายเฉพาะปัจจัยที่ไม่ซ้ำกับบทก่อน คือ

๑.วิปากปัจจัย กล่าวถึง วิบากนามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน
ทั้งช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้นด้วย ในที่นี้ก็ได้แก่วิญญาณ(คือจิต)เป็นวิปาก-
ปัจจัย นาม (คือเจตสิก) และรูปที่เกิดพร้อมกับวิญญาณนั้น เป็นวิปากปัจยุบบัน

๒. อาหารปัจจัย กล่าวถึง อาหารทั้ง ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูปที่เกิด
พร้อมกันนั้น ในที่นี้ได้แก่วิญญาณ (คือจิต) เป็นอาหารปัจจัยนาม (คือเจตสิด) และรูปที่
เกิดพร้อมกับจิตนั้นเป็นอาหารปัจจยุบบัน

๓. อินทริยปัจจัย กล่าวถึง ปสาทรูป ๕ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจวิญญาณ
อย่างหนึ่ง รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่อุปาทินนกรูปอย่างหนึ่ง และนามอินทรีย์
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นานรูป ที่เกิดพร้อมกับตนนั้นอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นในที่นี้วิญาณ
(คือจิต) จึงเป็นอินทริยปัจจัยนามรูป เป็นอินทริยปัจจยุบบัน

๔. วิปปตฺตปัจจัย หมายถึง ธรรมที่ไม่ได้ประกอบกันคล้ายลักษณะ ๔ อย่าง คือ
เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ เอกาลัมพนะ และ เอกวัตถุกะ ดังนั้นในที่นี้ วิญญาณ (คือจิต)
เป็นวิปปยุตตปัจจัย รูปที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น (หรือแม้แต่เกิดก่อน) ก็เป็นวิปปยุตต
ปัจจยุบัน

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/