วันเวลาปัจจุบัน 19 มิ.ย. 2025, 07:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2025, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8571


 ข้อมูลส่วนตัว




md_ukucs9_dfc7d5598305c2411c8e7e1709efd25d2bcf853f~2.jpg
md_ukucs9_dfc7d5598305c2411c8e7e1709efd25d2bcf853f~2.jpg [ 383.3 KiB | เปิดดู 2269 ครั้ง ]
๕. การเข้านิโรธสมาบัตินั้นมีได้อย่างไร?
(๘๗๓) ปัญหากรรมว่า และการเข้านิโรธสมาบัตินั้นมีได้อย่างไร?
ตอบว่า เมื่อพระอริยะพากเพียรพยายามด้วยอำนาจสมถะและวิปัสสนา ทำบุพพกิจ
เสร็จแล้ว ทำเนวสัญญานาสัญญายตนะให้ดับอยู่ การเข้านิโรธสมาบัติมีได้ดังนี้

ส่วนผู้ที่พากเพียรพยายามด้วยอำนาจสมถะอย่างเดียว ผู้นั้นบรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติแล้วหยุด ส่วนผู้พากเพียรพยายามด้วยอำนาจวิปัสสนาอย่างเดียว
ผู้นั้นบรรลุผลสมาบัติแล้วก็หยุด อนึ่ง ผู้ใดพากเพียรพยายามด้วยอำนาจสมถะและวิปัสสนา
ทั้ง ๒ อย่างนั่นเทียว ทำบุพกิจเสร็จแล้ว ยังเนวสัญญานาสัญญายตนะให้ดับ ผู้นั้นชื่อว่า
เข้านิโรธสมาบัตินั้น.
ที่ว่ามานี้ เป็นความสังเขปในการเข้านิโรสมาบัตินั้น.

๕. การเข้านิโรธสมาบัตินั้นมีได้อย่างไร ?
(๘๗๓] คำว่า ด้วยอำนาจสมถะและวิปัสสนา ความว่า ด้วยอำนาจสมถะและ
วิปัสสนาที่เป็นไปร่วมกัน เพราะความเป็นธรรมมีอุปการะแก่กันและกัน เหมือนของที่ผูก
เป็นคู่กันไว้. คำว่า พากเพียรพยายาม คือ ดำเนินไปสู่ขั้นสูงขึ้นไปถึงเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนะและถึงอนุโลมญาณ. บทว่า นิโรธยโต ความว่า เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว
ทำเนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ให้ดับไป. การเข้านิโรธสมาบัตินั้นย่อมมีได้อย่างนี้ เพราะ
ความไม่เกิดขึ้นแห่งจิตแม้ดวงไร ๆ อื่นเลย. ด้วยคำว่า ส่วนผู้ใด เป็นต้น ท่านอาจารย์ย่อม
เผยเนื้อความที่ท่านกล่าวไว้ว่า ด้วยอำนาจสมถะและวิปัสสนา โดยหัวข้อที่เป็นพยติเรก
(ความตรงกันข้าม). บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้วก็หยุด เพราะไม่มีสมถะ
และวิปัสสนาล้วน ๆ สูงไปกว่านั้น. ผู้ใดพากเพียรพยายามด้วยอำนาจวิปัสสนาอย่างเดียว
ถ้าเป็นพระอริยะมีความต้องการผลสมาบัติ ผู้นั้นบรรลุผลสมาบัติของตนแล้วก็หยุด. ถ้า
เป็นปุถุชนหรือเป็นพระเสขะมีความต้องการมรรค หากว่าบรรลุมรรคด้วยวิปัสสนานั้นแล้ว
ตั้งอยู่ในผล แม้ผู้นั้นท่านก็เรียกว่า บรรลุผลสมาบัติแล้วหยุดเหมือนกัน
บทว่า โส โยค อุภยวเสน ปฏิปนโน แปลว่า ผู้ปฏิบัติด้วยอำนาจสมถะและวิปัสนา
ทั้ง ๒ นั้น. บทว่า ตํ โยค นิโรสมาปตฺติํ แปลว่า นิโรธสมาบัตินั้น.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2025, 16:48 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2902


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2025, 20:14 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2542

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร