วันเวลาปัจจุบัน 19 มิ.ย. 2025, 06:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2025, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8571


 ข้อมูลส่วนตัว




Photoroom-20250215_181452.png
Photoroom-20250215_181452.png [ 381.68 KiB | เปิดดู 1793 ครั้ง ]
ศึกษาความเป็นไปของวิญญาณ

[๖๒๑] ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณใด ๆ ย่อมมีเพราะสังขารใด ๆ เป็นปัจจัย
บัดนี้ พึงทราบความเป็นไปของวิญญาณนั้นอย่างนี้
ก็วิญญาณนี้ทั้งหมดทีเดียวย่อมเป็นไป ๒ ส่วน คือ : ปวัตติกาลและปฏิสนธิกาล
ใน ๒ ส่วนนั้น ทวีปัญจวิญญาณ (๑๐) นในธาตุ (๒) อเหตุกมโนวิญญาณธาตุเป็นโสมนัสส-
สหรคต (๑) วิญญาณ ๑๓ ดวงนี้ ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลในปัญจโวการภพเท่านั้น วิญญาณ
ที่เหลือ ๑๙ ดวง ย่อมเป็นไปทั้งในปวัตติกาล ทั้งในปฏิสนธิกาล ได้ตามควรในภพทั้ง ๓.

ข้อนี้เป็นอย่างไร ?
คือ เบื้องต้น วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณเป็นต้นที่เป็นกุศลวิบาก ปรารภอารมณ์
มีรูปเป็นต้นที่เป็นอิฏฐารมณ์บ้าง เป็นอิฏฐมัชณัตตารมณ์บ้าง มาสู่คลองแห่งทวารมี จักขุ-
ทวารเป็นต้น ของบุคคลผู้บังเกิดด้วยกุศลวิบากบ้าง ด้วยอกุศลวิบากบ้าง ผู้มีอินทรีย์ที่เข้า
ถึงความแก่กล้าตามลำดับ อาศัยประสาทมีจักขุประสาทเป็นต้น ย่อมให้สำเร็จกิจ คือ การ
เห็น การฟัง การสูดดม การลิ้ม และการถูกต้อง เป็นไป วิญญาณ ๕ ที่เป็นอกุศลวิบาก
ก๋เช่นเดียวกัน เป็นแต่อารมณ์ของอกุศลวิบากวิญญาณเหล่านั้น เป็นอนิฏฐารมณ์บ้าง
อนิฏฐมัชฌัตตารมณ์บ้าง อย่างเดียว ข้อต่างกันก็เท่านี้.

ก็วิญญาณทั้ง ๑๐ นี้มี : ทวาร อารมณ์ วัตถุ และฐาน ที่คงตัว และมีกิจที่คงตัว
นั่นเอง.
ต่อจากนั้น มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบากในลำดับแห่งวิญญาณ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น
ที่เป็นกุศลวิบากปรารภ อารมณ์ของวิญญาณเหล่านั้นแหละ อาศัยหทัยวัตถุ ย่อมให้สำเร็จ
สัมปฏิจฉนกิจเป็นไป มโนธาตุฝ่ายอกุศลวิบากในลำดับแห่งอกุศลวิบากวิญญาณก็เป็นไป
เหมือนอย่างนั้น ก็และมโนธาตุ ๒ นี้ มีทวารและอารมณ์ไม่คงตัว มีวัตถุและฐานคงตัว
และมีกิจคงตัว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2025, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8571


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นโสมนัสสหรคต ก็ปรารภอารมณ์แห่งมโนธาตุ
ที่เป็นกุศลวิบากนั้นแหละ ในลำดับแห่งมโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก อาศัยททัยวัตถุ ยังสันตี-
รณกิจให้สำเร็จ ตัดวิถีภวังค์ในที่สุดแห่งชวนะที่สัมปยุตด้วยโลภะโดยมาก แห่งเหล่าสัตว์
จำพวกกามาวจรในอารมณ์ที่มีกำลังในทวารทั้ง ๖ และย่อมเป็นไปวาระเดียวบ้าง ๒ วาระ
บ้าง ด้วยอำนาจตทารมณ์ ในอารมณ์ที่ชวนะยึดไว้ คำที่ว่ามานี้กล่าวไว้ในอรรถกถามัชฌิม-
นิกาย แต่ในอรรถกถาพระอภิธรรม วาระจิตในตทารมณ์มาเป็น ๒ วาระ ก็จิตนี้ได้ ๒ ชื่อ
คือ : ชื่อว่า ตทารัมมณะ ๑ ชื่อว่า ปิฎฐิภวังค์ ๑ เป็นจิตมีทวารและอารมณ์ไม่คงตัว มี
วัตถุคงตัว แต่มีฐานและกิจไม่คงตัว ฉะนี้แล.
วิญญาณ ๑๓ อย่าง พึงทราบว่า ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลเท่านั้นในปัญจโวการภพ
อย่างนี้ก่อน.
ในบรรดาวิญญาณ ๑๙ ที่เหลือ วิญญาณอะไรไม่เป็นไปในปฏิสนธิอันควรแก่ตน
ก็หามิได้ แต่ในปวัตติกาล เบื้องต้น อเหตุกมโนวิญญาณธาตุทั้ง ๒ อันเป็นกุศลวิบากและ
อกุศลวิบาก ให้สำเร็จกิจ ๔ อย่าง คือ (๑) สันตีรณกิจในลำดับแห่งมโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก
และอกุศลวิบากในปัญจทวาร (๒) ตทารัมมณกิจตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในตอนก่อนนั่นแหละ
ในทวารทั้ง ๖ (๓) ภวังคกิจในเมื่อไม่มีจิตตุบาทที่เข้าไปตัดภวังค์ เบื้องหน้าแต่ปฏิสนธิที่
ตนให้ และ (๕) จุติกิจในที่สุด. เป็นมโนวิญญาณธาตุ มีวัตถุคงตัว แต่มีทวาร อารมณ์
ฐาน และกิจ ไม่คงตัวเป็นไป.
สเหตุกจิตฝ้ายกามาวจร ๔ ให้สำเร็จกิจ ๓ อย่าง คือ (๑) ตทารัมมณกิจในทวาร ๖
ตามนัยที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ (๒) ภวังคกิจในเมื่อไม่มีจิตตุปบาทที่เข้าไปตัดภวังค์ เบื้อง
หน้าแต่ปฏิสนธิที่ตนให้ และ (๓) จุติกิจในที่สุด. เป็นจิตมีวัตถุคงตัว แต่มีทวาร อารมณ์
ฐาน และกิจ ไม่คงตัวเป็นไป.
รูปาวจรวิญญาณ ๕ และอรูปาวจรวิญญาณ ๕ ให้สำเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ (๑) ภวังค-
กิจในเมื่อไม่มีจิตตุปบาทที่เข้าไปตัดภวังค์ เบื้องหน้าแต่ปฏิสนธิที่ตนให้ และ (๒) จุติกิจในที่
สุดเป็นไป ในวิญญาณทั้ง ๒ ประเภทนั้น รูปาวจรวิญญาณเป็นวิญญาณที่มีวัตถุและอารมณ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2025, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8571


 ข้อมูลส่วนตัว


คงตัว มีฐานและกิจไม่คงตัว ส่วนจิตนอกนี้เป็นวิญญาณที่ไม่มีวัตถุคงตัว มีอารมณ์คงตัว
มีฐานและกิจไม่คงตัว เป็นไป.
ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้ วิญญาณทั้ง ๓๒ อย่าง ย่อมเป็นไปเพราะมีสังขาร
เป็นปัจจัยฝนปวัตติกาลก่อน.
สังขารนั้น ๆ ย่อมเป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย และโดยอุปนิสสยปัจจัยแก่วิญญาณ ๓๒
อย่างนั้น ในปวัตติกาลนั้น.

[๖๒๑] (๑๔๘) บัณฑิตพึงเห็นการลบคำซ้ำ ในบททั้ง ๒ อย่างนี้ว่า. บทว่า
ยํสงฺขารปจฺจยา ความเท่ากับ ยสฺส ยสฺส สงฺขารสฺส ปจฺจยภาเวน แปลความว่า เพราะ
ความที่สังขารใด ๆ เป็นปัจจัย. บทว่า ยํ วิญฺญาณํ ความเท่ากับ ยํ ยํ วิญฺญาณํ แปลว่า
วิญญาณใด ๆ. ด้วยบทว่า โหติ นี้ ท่านทำให้เข้าใจเพียงว่า เมื่อเหตุมี วิญญาณก็มี มิใช่
ทำให้เข้าใจด้วยความต่างแห่งความเป็นไป เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์เมื่อจะแสดงเนื้อ-
ความนั้น จึงกล่าวว่า พึงทราบความเป็นไปอย่างนี้. จักขุวิญญาณที่เป็นอกุศลวิบากเป็นต้น
ย่อมเกิดขึ้นได้บางคราวในเพราะรูปที่ไม่น่าปรารถนาเป็นต้น ไปสู่คลองแม้แก่พวกพรหม
เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า วิญญาณ ๑๓ ดวงนี้ ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลใน
ปัญจโวการภพเท่านั้น. ในคำนั้น การกระทำต่าง ๆ คือความพิสดารของขันธ์ ๕ อยู่ในภพ
นี้ เหตุนั้น ภพนี้จึงชื่อว่า ปัญจโวการ แปลว่า มีการกระทำต่าง ๆ ของขันธ์ ๕ นั้นนั่นแหละ
ในปัญจโวภารภพนั้น. ก็การย่อเนื้อความแห่งบทอื่น แม้ของศัพท์ที่มีอธิกรณะต่างกันย่อม
มิได้ เหมือนคำว่า อุรสิโลโม แปลว่า มีขนที่อก. อีกนัยหนึ่ง มีวิเคราะห์ว่า ภพใดอันขันธ์
๕ ที่เป็นไปตามปัจจัยย่อมกระทำให้ต่ำทราม เหตุนั้น ภพนั้นชื่อว่า ปัญจโวการ, ภพคือภพ
ที่อันธ์ ๕ ทำให้ต่ำทรามนั้น เพราะเหตุนั้น คำทั้งปวงก็เหมือนกับในกาลก่อน.

(๑๔๙) ท่านอาจารย์เริ่มคำว่า ข้อนี้เป็นอย่างไรเป็นต้น เพื่อจะเผยเนื้อความที่
ท่านกล่าวไว้แต่โดยย่อว่า ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลเท่านั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่า
ในที่สุดแห่งชวนะที่สัมปยุตด้วยโลภะโดยมาก นี้ เพราะจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส ไม่เกิดใน
ลำดับแห่งจิตที่สัมปยุตด้วยปฏิฆะ วิจิกิจฉา และอุทธัจจะ. คำของอาจารย์พวกนั้นไม่ควร
ถือเอา เพราะมีพระบาลีว่า บุคคลยินดีเพลิดเพลิน จักษุย่อมเกิดราคะ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา
อุทธัจจะ ปรารภจักษุนั้น เมื่ออกุศลดับแล้ว ย่อมเกิดวิบากเป็นตหารมณ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2025, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8571


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า หากเป็นอิฏฐารมณ์ จะไม่เกิดตทารมณ์ที่เป็นโสมนัส ก็หามิได้หรือ ?
ตอบว่า อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ในการกำหนดตทารมณ์ด้วยชวนะ ท่านกล่าว
หมายเอาจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส ในลำดับแห่งจิตสหรคตด้วยโสมนัสเท่านั้น
อาจารย์อีกพวกหนึ่งนั้นควรพิจารณา เพราะจำปรารถนาตทารมณ์ที่เป็นโสมนัส แม้ใน
ลำดับแห่งชวนะที่เป็นกุศลและอกุศลอันสหรคตด้วยอุเบกขา. ด้วยว่าอาจาจารย์ทั้งหลาย
ไม่ปรารถนาตทารมณ์ที่เป็นโสมนัส ในลำดับแห่งขวนะที่เป็นกิริยาอันสหรคตด้วยอุเบกขา
อย่างเดียว.

ก็เพราะตทารมณ์ที่เป็นอเหตุกะย่อมมิได้บางคราวในที่สุดแห่งช่วนะที่เป็นป็นติเหตุกะ
ด้วย ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โดยมาก. เพราะเหตุที่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อารมณ์
ของชวนะที่มีอายุขณะจิตเดียวมีอยู่ ท่านกล่าวว่า วาระเดียวบ้าง ดังนี้ เพราะกระทำ
อธิบายว่า เป็นตทารมณ์หนึ่งเท่านั้นในอารมณ์ของชวนะนั้นในเวลานั้น. ส่วนอาจารย์อีก
พวกหนึ่งกล่าวว่า ชื่อว่า ตทารมณ์มีกิจเสวยอารมณ์ของชวนะ ตทารมณ์นั้นย่อมไม่เกิดใน
อารมณ์ซึ่งมีความต่างกันใกล้กันอย่างนั้นในขณะจิตเดียวกัน. ฉะนั้น คำว่า สกิํ วา วาระ
เดียวบ้าง นี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจเป็นคำสละสลวย เหมือนคำว่า ทิรตต-
ติรตตํ แปลว่า ๒-๓ คืน เป็นต้น แต่ย่อมเกิดขึ้น ๒ วาระทีเดียว. ก็ในคำว่า ทิรตฺตติรตตํ
นี้ ท่านทำศัพท์ว่า ทิรตฺต ไว้โดยเพียงเป็นคำสละสลวย เพราะไม่มี วา ศัพท์ เพราะฉะนั้น
จึงถูกต้อง. ส่วนในปาฐะนี้ว่า นิรนฺตรํ ติรตฺตทสฺสนตฺถํ วา เพื่อแสดง ๓ คืน ไม่ขาดบ้าง
ดังนี้ ท่านกลำว วา ศัพท์ อันมีเนื้อความเป็นวิกัป เพราะเหตุนั้น พึงเห็นว่า ท่านอาจารย์
กล่าวว่า สกึ วา วาระเดียวบ้าง ดังนี้ หมายเอาความเป็นไปบางคราว วาระเดียวเท่านั้น
ด้วย. ด้วยเหตุนั้นแหละ ในสัมโมหวิโนทนี ท่านอาจารย์เมื่อจะแสดงความที่ความเป็นไป
แห่งตทารมณ์เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาคราวเดียว จึงได้กล่าวว่า ก็ในการนับความเป็นไป
แห่งจิต วาระแห่งจิต ๒ วาระเท่านั้นมาแล้วในตทารมณ์ในทวารทั้งปวง ดังนี้.

ในคำนั้น คำว่า ในการนับความเป็นไปแห่งจิต ท่านอาจารย์กล่าวหมายเอาการนับ
ความเป็นไปแห่งจิตที่ท่านกล่าวไว้ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่มีกำลังในวิปากกถา. ก็ในวิปาก-
กถานั้น ท่านกล่าววาระการเกิดขึ้นแห่งตทารมณ์ ๒ วาระเท่านั้น. ก็ท่านอาจารย์หมายเอา
ความข้อนั้นแหละ จึงกล่าวไว้แม้ในวิสุทธิมัคค์นี้ว่า แต่ในอรรถกถาพระอภิธรรม วาระจิต
ในตทารมณ์มาเป็น ๒ วาระ ดังนี้. ในอรรถกถาพระอภิธรรม ท่านกล่าวไว้โดยมิได้ระบุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2025, 03:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8571


 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงทวารว่า อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ เป็นธรรมที่มีอารมณ์ ฐาน และกิจ ไม่คงตัว
คำในอรรถกถาพระอภิธรรมนั้น ท่านกล่าวไว้โดยความประสงค์ คือความเป็นผู้ใคร่กระทำ
การสังวรรณนาที่เหมือนกันแห่งวิปากวิญญาณที่เป็นสเหตุกะ ที่ท่านกล่าวไว้ข้างหน้า

(๑๕๐) จริงอยู่ ใคร ๆ ไม่อาจจะกล่าวได้ว่า อเหตุกมโนวิญญาณธาตุเหล่านี้มี
ทวารที่คงตัว เพราะตัวเองนั่นแหละเป็นทวารแห่งจิต มือเหตุกะทั้ง ๒ เป็นต้น ซึ่งเป็น
ภวังค์ หรือไม่อาจจะกล่าวว่า มีทวารไม่คงตัว เพราะไม่เกิดขึ้นโดยทวารอื่นที่เรียกว่า เป็น
ภวังค์แห่งจิต ซึ่งทำหน้าที่จุติและปฏิสนธิ ฉะนั้นแล.

ก็อเหตุกจิตทั้ง ๒ ที่เป็นสันตีรณะและตทารมณ์ ย่อมได้ทวารและอเหตุกจิตทั้ง ๒
นั้น ก็ไม่คงตัว เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์เมื่อจะถือเอาอเหตุกจิตทั้ง ๒ แม้นั้น จึงกล่าว
ว่า อเหตุกมโนวิญญาณธาตุอันเป็นกุศลวิบากและอกุศลวิบาก มีทวาร อารมณ์ ฐาน และ
กิจ ไม่คงตัวเป็นไป. ก็ด้วยเหตุนั้นแหละ ในที่นี้แม้มหาวิบากทั้งหลายที่เป็นตทารมณ์ จึง
ได้ทวาร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกระทำศัพท์ว่า ทวาร แม้โมมหาวิบากนั้น

รูปาวจรวิบากที่เป็นไปแก่สัตว์ตนหนึ่ง เป็นไปแล้วในอารมณ์ใด ในบรรดาอารมณ์
มีปฐวิกติณเป็นต้น ความเป็นไปของรูปาวจรวิบากนั้น ย่อนไม่มีในอารมณ์อื่นจากอาอารมณ์
นั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวความที่รูปาวจรมีอารมณ์คงตัว. คำว่า จิตนอกนี้ ได้แก่
อรูปาวจรวิปากวิญญาณ. อรูปาวจรวิปากวิญญาณนอกนี้ไม่มีวัตถุคงตัว เหตุนั้น จึงชื่อว่า
นิยตาวตฺถุกานิ แปลว่า ไม่มีวัตถุคงตัว ชื่อว่า นิยตารมฺมณานิ แปลว่า มีอารมณ์คงตัว
เพราะเป็นไปในอารมณ์ทั้งหลาย มีกสิณุคฆาฏิมากาสเป็นตันนั่นเอง.

บทว่า ตตฺร โยค ปวตฺติยํ แปลว่า ในปวัตติกาลนั้น. บทว่า อสฺส โยค พตฺติํสวิธสฺส
วิปากวิญญาณสฺส แปลว่า แก่วิปากวิญญาณ ๓๒ ดวงนั้น. คำว่า สังขารนั้น ๆ ความว่า
สังขารมีปุญญาภิสังขารเป็นต้นตามที่กล่าวแล้ว. คำว่า โดยกัมมปัจจัย คือ เพราะกัมปัจจัย
อันเป็นไปในขณะต่าง ๆ กัน. คำว่า โดยอุปนิสสยปัจจัย คือ เพราะปกตูปนิสสยปัจจัย.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร