ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

จิตวิทยาแห่งการอยู่คนเดียว
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=22407
หน้า 2 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  คนไร้สาระ [ 25 พ.ค. 2009, 16:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตวิทยาแห่งการอยู่คนเดียว

:b47: ดังนั้น เมตตานั้นคือธรรมะเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
เมื่อเจริญเมตตาเต็มที่แล้ก็จะได้เมตตาเจโตวิมุติ คือสามารถ
เพิกขอบเขตของจิตได้ และมีความสุขยิ่งใหญ่มาก แต่ความสุข
นี้ยังไม่ถาวร และถ้าติดอยู่ในเมตตา ปัญญาจะไม่สมบูรณ์
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า


:b8: "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคล
เจริญแล้วได้อย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล
มีอะไรเป็นที่สุด


:b8: ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตา
เจโตวิมุตติว่า มีสุภวิโมกข์ (เห็นอะไรดีงาม สวยงามไปหมด) เป็นอย่างยิ่ง
เพราะภิกษุยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยิ่งยวดในธรรมวินัย ปัญญาของ
เธอจึงยังเป็นโลกีย์"


:b47: ดังนั้น จึงควรพักเมตตาด้วยกรุณา กรองด้วยมุทิตา กลั่นด้วยอุเบกขา
แล้วแผ่จิตผสานสัมพันธ์กับธรรมชาติ จึงจะเข้าใจธรรมชาติและมนุษย์
ได้อย่างลึกซึ้ง กว้างขวาง ครอบคลุม แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ที่สุดแห่งอมตภาพ
ยังต้องชำระจิตให้บริสุทธิ์จึงจะมั่นคงนิรันดร

การชำระจิตให้หมดจดมั่นคง

:b47: ความบริสุทธิ์นั้นคือ ที่สุดแห่งวิวัฒนาการของทุกสิ่ง จิตใจของ
ทุกคนเมื่อพัฒนาถึงที่สุดก็ย่อมเข้าสู่ความบริสุทธิ์

:b47: สิ่งใดก็ตามเมื่อเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้วย่อมสิ้นสุดพัฒนาการ
เพราะไม่มีอะไรให้ พัฒนาต่อไปอีกแล้ว จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
อีก เมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะอมตะนิรันดร ความสุขอันบริสุทธิ์จึง
เป็นความสุขสถาพร อันประมาณมิได้

และนี่คือความต้องการสูงสุดของทุกชีวิ

บุคคลสามารถชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ได้ด้วยกุศโลบายรวบยอดทั้งสองขั้นตอนคือ

๑) อยู่เหนือความรัก

๒) ชำระจิตจากการยึดถือในสิ่งทั้งปวง


:b47: การอยู่เหนือความรัก ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ที่สุดของความรักนั้น
คือ เมตตา แต่เมตตาเป็นเพียงจุดเริ่มต้นบนหนทางแห่งความบริสุทธิ์เท่านั้น
ดังนั้น แม้เมตตาจะให้ความสุขยิ่งใหญ่เพียงใดก็ต้องปล่อยวาง พัฒนาจิตใจ
ต่อไปโดยลำดับ เพื่อเข้าสู่อุเบกขา

:b47: เมื่อเรามีเมตตาอยู่ นั้น หากติดสุขในเมตตา ไม่ยอมพัฒนาต่อ
ก็จะติดสุข ติดดี เหมือนเรายึดโปรตอน (ประจุบวก) อยู่เป็นภาวะของตน
และโดยธรรมชาตินั้น เมื่อมีโปรตอนอยู่ที่ใด อิเลคตรอนอันเป็นประจุลบ
จะมาจับเกาะทันที

:b47: ดังนั้นถ้าติดดีจะมีความ ชั่วมาเกาะอาศัย เมตตานั้นแม้ปลอดภัย
ระดับหนึ่ง แต่จะยังไม่ปลอดภัยที่สุด เพราะยังเป็นที่อาศัยของความชั่วได้
ดังนั้นต้องพัฒนาเข้าสู่อุเบกขาให้ได้

:b47: เมื่อพัฒนาอุเบกขาแล้ว เหมือนจิตใจที่เป็นนิวตรอน ว่างไม่มีประจุโดยตัวเอง

:b47: แต่โดยธรรมชาตินั้นโปรตอนจะมาอยู่กับนิวตรอน โดยมีอิเลคตรอนอยู่
ด้านนอก ดังนั้นในความว่างและเป็นกลางนั้นจะมีความดีสถิตย์อยู่ โดยมีความ
ชั่ววนเวียนอยู่ภายนอกไม่อาจเข้ามาได้

:b47: เมื่อทรงอุเบกขาได้แล้ว จากนั้นพัฒนาอุเบกขาจนถึงที่สุดก็จะได้
ความว่างอันไร้ขอบเขตสากล ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า

:b47: "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญ
แล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด


:b47: " ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาเจโตวิมุติ
ว่า มีความว่างอันไร้ขอบเขต (อากิญจัญญายตนะ) เป็นอย่างยิ่ง เพราะ
ภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยิ่งยวดในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอ
จึงยังเป็นโลกีย์”



:b47: แต่การจะเข้าอุเบกขาให้สมบูรณ์ได้ นั้น ต้องละความรัก ความชัง
ความดีใจ ความเสียใจ ให้ได้โดยสิ้นเสียก่อน จิตจึงเห็น เข้าถึงและบรรลุ
ความไร้ ใจจึงจะเป็นกลางวางเฉยอยู่

:b47: เมื่อเฉยแล้ว ให้สำรอกความเฉยนั้นอีกโดยลำดับ เพื่อชำระอุเบกขา
ให้บริสุทธิ์ถึงที่สุด ใจจะค่อย ๆ ไร้ขอบเขตมากยิ่งขึ้น จนถึงที่สุดแห่งอุเบกขา
จะบรรลุความว่างสากล

:b47: ในความว่างสากลนี้นั้น ไร้ซึ่งความรัก ความชัง ความดีใจ ความเสียใจ
โดยประการทั้งปวง มีแต่ความว่างและสติบริสุทธิ์บริบูรณ์ปรากฏอยู่

:b47: แต่กระนั้นภาวะนี้ก็ยังไม่ใช่ที่สุดแห่งความบริสุทธิ์ เป็นเพียงท่ามกลาง
หนทางสู่ความบริสุทธิ์เท่านั้น ดังนั้น จึงต้องชำระจิตใจต่อไปเพื่อความสุขอันบริสุทธิ์

:b47: ชำระจิตจากการยึดถือ ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคตรัสสอนธรรมอันประณีต
ในระดับนี้ว่า เมื่อเข้าความว่างอันไร้ขอบเขตสากลแล้วนั้น นั่นเข้าใกล้ความ
บริสุทธิ์แล้ว เพียงพิจารณาด้วยปัญญาให้แทงตลอดว่า แม้ความว่างก็ไม่เป็นตน
ตนไม่มีในความว่าง ปล่อยวาง แม้ความว่างอันไร้ขอบเขตนั้นเสียได้ จิตจึง
หลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง บรรลุความเบิกบานร่าเริงอันไม่มีที่สิ้นสุด
ซึ่งคือที่สุดแห่งความบริสุทธิ์ ดังพระพุทธวจนะที่ว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อะไรคือเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งอรหันตมรรค

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความหมดจนแห่งปฏิปทา (มีศีลธรรมดังกล่าวแล้ว) เป็นเบื้องต้น

-มีต่อ-

เจ้าของ:  คนไร้สาระ [ 26 พ.ค. 2009, 05:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตวิทยาแห่งการอยู่คนเดียว

"การกระทำให้มากในอุเบกขาเป็นท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหันตมรรค"


:b47: เมื่อเราพัฒนาจิตใจถึงเพียงนี้ก็จะมีความสุขอันบริสุทธิ์เบิกบาน
ไร้ขอบเขตอยู่

:b47: เมื่อนั้นจะมีความรักหรือไม่มีความรัก จะมีคู่หรือไม่มีคู่ก็ไร้ความ
หมายเสียแล้ว

:b47: วิธีนี้เป็นวิธีที่เฉียบขาดที่สุดที่จะอยู่คนเดียวได้อย่างเป็นสุข
และเป็นสุขยิ่งกว่าใครในโลก

:b47: หากแม้ยังไม่ถึงที่สุด ทุกขั้นที่พัฒนาตนมาก็ย่อมได้ความสงบ
สุขอันประณีตยิ่งขึ้นตามระดับความบริสุทธิ์ที่ตนบรรลุถึง

:b47: ความ สุขนั้นจะอยู่กับความสงบเป็นสำคัญ ยิ่งสงบมากก็ยิ่งเ
ป็นสุขมาก เพราะความสุขมีธรรมชาติเหมือนผีเสื้อ เมื่อเราไล่จับมันจะ
บินหนี แต่หากเราอยู่อย่างสงบเฉย มันจะบินมาเกาะเราอย่างนุ่มนวล

:b47: และความสงบนั้น จะขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ ยิ่งบริสุทธิ์มาก
ก็ยิ่งสงบมาก

:b47: ส่วนความบริสุทธิ์นั้นจะขึ้นอยู่กับการฝึกจิตชำระใจ ปล่อยวาง
การยึดถือในสิ่งทั้งปวง แม้ความรัก ความชัง ทั้งรูปธาตุ นามธรรม เมื่อปล่อย
ได้หมดจริงก็ย่อมเข้าถึงความบริสุทธิ์นิรันดร์ได้

และนั่นคือที่สุดแห่งชีวิต

-จบกระทู้บริบูรณ์-
:b8: :b8: :b8:
ขอขอบพระคุณ กัลยาณมิตรท่านหนึ่งที่กรุณาเอื้อเฟื้อข้อมูล

เจ้าของ:  ariyachon [ 26 พ.ค. 2009, 22:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตวิทยาแห่งการอยู่คนเดียว

ขอบคุณนะครับ

สาธุ สาธุครับ


:b1: cool :b1:

เจ้าของ:  pimz [ 26 พ.ค. 2009, 22:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตวิทยาแห่งการอยู่คนเดียว

ขอบคุณค่ะ :b8:

หน้า 2 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/