วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 02:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




buddha.jpg
buddha.jpg [ 6.31 KiB | เปิดดู 2765 ครั้ง ]
การฆ่า ในความหมายแห่งอริย วินัย

พระพุทธเจ้าทรงสนทนากับผู้ฝึกม้าชื่อเกสี
นายเกสีกราบทูลถึงวิธีการฝึกม้าของเขาว่าใช้วิธีละมุนละม่อมบ้าง
วิธีรุนแรงบ้าง ทั้งสองวิธีรวมกันบ้าง
ถ้าม้าตัวไหนฝึกไม่ได้ก็จะฆ่าทิ้ง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ใช้วิธีเดียวกับนายเกสี

บางครั้งก็ทรงใช้วิธีละมุนละม่อม บางครั้งใช้วิธีรุนแรง

บางครั้งทรงใช้ทั้งสองวิธี ถ้าใครฝึกไม่ได้ก็ทรงฆ่าทิ้งเสีย

เมื่อนายเกสีทูลถามว่า การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไม่ควรแก่พระองค์มิใช่หรือ

พระองค์ทรงอธิบายว่า
“การฝึกอย่างละมุนละม่อม หมายถึงชี้ให้เห็นสุจริต

การฝึกอย่างรุนแรง หมายถึงชี้ให้เห็นทุจริตและผลแห่งทุจริต

การฆ่าในความหมายแห่งอริยวินัยคือ การไม่ว่ากล่าวตักเตือน”


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


แก้ไขล่าสุดโดย แมวขาวมณี เมื่อ 16 มิ.ย. 2009, 11:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 พ.ค. 2009, 15:08
โพสต์: 162

ที่อยู่: ปราจีนบุรี

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ :b8:
สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถศึกษาพุทธศาสนาก็คือ ทิฏฐินี่เองครับ :b23:
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วก็ยากที่ใครจะแนะนำได้เสียแล้ว :b16:

.....................................................
สติคือธรรมคุ้มครองโลก

มีสติรู้กายและใจลงเป็นปัจจุบัน

เมื่อใดมีสติเมื่อนั้นมีความเพียร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณแมวขาวมณี

คนเราก็แบ่งเป็นหลายประเภท เหมือนบัวสี่เหล่า
เลยต้องใช้หลายๆวิธีเพื่อฝึก เพื่อสอน หรือต้องปล่อยวางนะคะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขออนุโมทนากับ คุณแมวฯ และทุกท่าน ด้วยนะคะ :b8: :b4:

พระสุตรดังกล่าวนี้ (เกสีสูตร ๒๑/๑๓๒) แสดงให้เห็น ว่า

แม้พระพุทธเจ้าเองก็ไม่สามารถจะฝึกคนได้ทุกคน
และบุคคลที่ทรงเห็นว่าจะฝึกไม่ได้
ก็จะไม่ยอมเสียเวลาแก่คนพวกนั้นต่อไป
จะทรงปล่อยวาง โดย "ตัดหางปล่อยวัด" ไปเลย

:b43: :b43: :b43:

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
อาจยังไม่ถึงเวลาของบุคคลประเภทนี้..กระมัง ?!? :b6: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นหัวข้อกระทู้แว่บแรก คิดในใจว่า โอ้ ทำไมโหดจัง :b12:
พอได้อ่านเนื้อความข้างในจึงกระจ่าง :b1:
สาธุด้วย ครับ คุณแมวขาวมณี :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 02:06
โพสต์: 811

อายุ: 0
ที่อยู่: มหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุด้วยครับ
บุคคลที่มีมานะทิฏฐิ

มักถือตัวถือตน ว่ารู้ดีกว่ากว่าผู้อื่น
ยากที่จะยอมรับคำพร่ำสอน ตักเตือน

เปรียบเสมือนแก้วน้ำที่เขาคว่ำไว้ ท่ามกลางสายฝน
ไม่มีวันที่จะรับหยดน้ำฉุ่มเย็นจากสายฝนได้

บุคคลประเภทนี้ ควรฆ่าทิ้งด้วยการนิ่งดูดายเสีย


:b8: :b8: :b1: :b27:

.....................................................
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันถูกต้องอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 148 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร