วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 15:11
โพสต์: 240

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาระธรรมบรรยาย พระครูเกษมธรรมทัต
เรื่อง “ แนวทางพ้นทุกข์ ”
วันอาทิตย์ที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ณ ห้องปฏิบัติธรรม ชั้น ๔ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ


นมัสสุ รัตนะตะยะสะ ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขอความผาสุกความเจริญในธรรมจงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
นั่งสบายแบบมีสติ รู้เนื้อรู้ตัวในการฟังธรรม การปฏิบัติต้องอาศัยความสบายด้วย
ความสัปปายะ ความเหมาะสม ถ้าเราทำให้สบายได้ สมาธิก็เกิดขึ้นตามมาเอง
เวลาที่เราจะปฏิบัติเราต้องปรับกาย ใจ ของเราให้สบายก่อน
ร่างกายไม่เกร็งไม่เคร่งเครียด จิตใจให้สบาย สละละความนึกคิด
ความกังวลเรื่องราวต่างๆ วางไว้ก่อน ใส่ใจอยู่กับการฟังธรรม

ในสมัยพุทธกาลเราจะเคยได้ฟังเรื่องราวว่า เมื่อพุทธองค์แสดงธรรมจบลง
ก็มีผู้บรรลุธรรมเกิดขึ้น ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นโสดาบันบ้าง
เป็นสกทาคามิกบุคคลบ้าง สูงสุดก็ขั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งๆที่ยังอยู่ในเพศของฆราวาส
อย่างยสะกุลบุตร เป็นพระอรหันต์ยังอยู่ในเพศฆราวาส ที่หนีออกจากคฤหาส์ยามดึก
บ่นไปว่าที่นี่วุ่นวาย เดินไปถึงที่พระพุทธเจ้าประทับ ในที่สุดได้ฟังธรรม ได้บรรลุธรรม
ฟังครั้งแรกบรรลุเป็นโสดาบัน ฟังรอบที่สองที่พระองค์แสดงให้กับบิดายสะที่ตามมา
ก็ได้เป็นพระอรหันต์

ดูเหมือนว่าสมัยนั้นบรรลุธรรมกันง่าย ฟังธรรมแล้วบรรลุธรรมหมด
การที่จะบรรลุธรรมไม่ได้อยู่แค่การฟัง ต้องเข้าถึงการปฏิบัติ
ถ้าไม่ผ่านการปฏิบัติ ไม่ผ่านการเจริญภาวนา ไม่ผ่านการเจริญสติที่จะระลึกรู้
ไม่ได้เจริญองค์มรรคในขณะนั้น จะเข้าถึงความพ้นทุกข์ไม่ได้

แสดงว่าในขณะนั้นที่ท่านฟังไป ท่านต้องปฏิบัติไปด้วย
มีการฟังพร้อมกับการปฏิบัติ เพราะฉะนั้น หากว่าได้ฟังจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
ความศรัทธามีมากอยู่แล้ว ทำให้สมาธิตั้งมั่น
เราจะเคยได้ฟังภิกษุเป็นพันรายล้อมพระพุทธเจ้าไม่มีเสียงคุย
อยู่ในป่าที่ พระเจ้าอาชาตศัตรูไปเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก
ได้หมอชีวกโกมารภัทรพาไป พอเสด็จลงจากพาหนะ เดินพระบาทเข้าไป
เกิดความสะดุ้งใจ หมอชีวกจะหลอกเรามาปลงพระชนม์ชีพ เพราะเงียบไปหมด
ภิกษุเป็นพันเงียบไปหมด พอเข้าไปใกล้ก็เห็นว่านี่ภิกษุจำนวนมากนั่งสงบนิ่ง
มีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น นี่แสดงให้เห็นว่า
ความศรัทธาเกิดความตั้งมั่น เกิดความสงบไปในตัว มีสมาธิไปในตัว
แล้วโดยเฉพาะพระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่เหมือนกับดวงอาทิตย์ เมื่อส่องแสงลงมา
ใครจะอยู่จุดไหน ก็เหมือนพระอาทิตย์ส่องมาเฉพาะเรา
เหมือนเรานั่งรถขับไปตรงไหนๆดวงอาทิตย์ก็ตามเราไป
คำสอนที่พระพุทธองค์ทรงสอนแสดงออกไป ก็เหมือนสอนบุคคลนั้น
คนที่ฟังธรรมแต่ละคนมีความรู้สึกสอนมาที่เรา

เพราะว่าพระพุทธเจ้านั่นเป็นผู้รอบรู้ในธรรม ถ้าพระองค์จะโปรดบุคคลใด
ก็จะหยั่งรู้กำพืชของบุคคลนั้น มีอัธยาศัยเป็นมาอย่างไรในอดีต สะสมมาอย่างไร
จะสอนแบบไหนอย่างไรให้เหมาะสม พระสารีบุตรยังเคยให้กรรมฐานพลาดได้เหมือนกัน
ขนาดพระอัครสาวกผู้มีปัญญาเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ท่านให้กรรมฐานกับพระบวชใหม่
ให้ไปพิจารณาเรื่องอาการ ๓๒ ภิกษุนั้นก็ไม่ได้เห็นธรรมกลับมาให้ไปปฏิบัติ
ขยายความให้ฟังก็ยังไม่บรรลุธรรม ในที่สุดก็มาฟังพระพุทธเจ้า
พระองค์รู้กำพืชของภิกษุนั้นเคยเป็นช่างทอง เคยหลอมทองเคยทำทองมา
พระองค์เลยเนรมิตดอกบัวทองให้ไปพิจารณา ภิกษุรับไปรู้สึกว่ามันชื่นใจมันสุขใจ
รู้สึกว่ามันตรงใจตัวเอง ได้ความสบายความสัปปายะ จิตสงบเห็นธรรมบรรลุธรรม

การฟังธรรมนั้นสามารถที่จะปฏิบัติพร้อมกันในขณะที่ฟังได้
แต่ว่าถ้าเราจะฟังให้รู้เรื่อง เราต้องแบ่งใจในการฟังด้วย
ไม่ใช่รู้เฉพาะในกายในใจตัวเอง เอาแค่ได้ยินๆ เอาแต่รู้ใจตัวเอง
ก็ไม่รู้ว่าพระพูดอะไรเหมือนกัน อย่างนี้เรียกว่าปิดประตูอยู่ในบ้านตัวเองเท่านั้น
แต่ว่าการฟังที่จะให้รู้เรื่องด้วย เราต้องฟังว่าอะไร หมายความว่าอย่างไร
ฟังแล้วปฏิบัติด้วยไม่ใช่ฟังอย่างเดียว ถ้าฟังอย่างเดียวมันจะลืมกาย ใจ ตัวเอง
นั่นหมายถึงไม่ได้ปฏิบัติ บุคคลทั่วๆไปที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรม
เวลาคุย เวลาฟัง เวลาคิดทำอะไร ก็จะลืมตัวไปหมด
ทำอะไรก็ไปในเรื่องที่ทำ ไปในเรื่องที่คิด ไปในเรื่องที่เห็น
จิตส่งออกนอกหมด แต่เมื่อเรามาปฏิบัติธรรม เราจะต้องฟังธรรมไปกับพร้อมการปฏิบัติ
หรือว่าการพูดคุย ให้พร้อมกับการปฏิบัติ การคิดให้เป็นไปพร้อมกับการปฏิบัติ
การดูการมองก็ให้เป็นไปพร้อมกับการปฏิบัติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ้าเราเข้าใจแล้ว
เราฝึกหัดเราสามารถจะทำได้

เวลาเรามองเราแลดูอะไร ส่วนหนึ่งเรามองเห็นว่าอะไรเป็นอะไร
แต่ว่าส่วนหนึ่งจะกลับมารู้ข้างในตัวเอง รู้สภาวะว่ากายเป็นอย่างไร ใจเป็นอย่างไร
เห็นแล้วมองแล้วรู้สึกว่ากายใจเราเป็นอย่างไร ใจรู้สึกว่าเลื่อมใส ใจรู้สึกศรัทธา อิ่มเอิบ
หรือกายอยู่อย่างนี้ หายใจอยู่แต่เราก็ฟังไปด้วย ดูไปด้วย มองไปแต่ไม่ใช่ออกไปหมด
เรียกว่ามองเห็นข้างนอกแต่ก็รู้ข้างใน ฟังก็เหมือนกัน ฟังข้างนอกแต่ก็รู้ข้างใน
ฟังไปพูดอะไรหมายความว่าอย่างไร แต่ว่าสติส่วนหนึ่งจะระลึกเข้ามาที่กาย ใจตัวเอง
เพราะฉะนั้นเวลาพระพุทธเจ้าแสดงธรรม ปกติคำสอนของพระพุทธองค์
ก็จะชี้ลงไปที่ความจริงในตัวอยู่แล้ว ชี้ความจริงในตัวว่าสังขารนี้มันไม่เที่ยงไม่ใช่ตัวตน
ผู้ฟังก็ดูตาม พอดูตามก็เห็นจริง เหมือนกับเราไปเที่ยวที่ต่างๆ ถ้าเรามีไกด์นำทาง
คอยอธิบายมันจะสบาย เราไม่ต้องจำอะไรเลย ดูอย่างเดียวคอยบอกคอยอธิบายอย่างเดียว
อันนี้ก็เหมือนกัน ผู้แสดงก็เหมือนเป็นไกด์บอกนำทาง เราก็ดูอย่างเดียวก็เห็นแจ้งขึ้นมาได้

แต่ถ้าเราฟังจนจบเรียบร้อยทุกอย่างแล้วไปปฏิบัติ พอไปถึงจริงๆ มันลืมมันจำไม่ได้
ฟังแล้วปฏิบัติ ฟังแล้วเจริญสติ จะลืมตาอยู่ก็ตาม จะหลับตาก็ตาม
สื่อรับของเราก็จะมีเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่จะเป็นเครื่องรับสิ่งที่มากระทบ
มีสีมากระทบตา มีเสียงมากระทบหู มีกลิ่นมากระทบจมูก มีรสมากระทบลิ้น
เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง มากระทบกาย มีธรรมารมณ์มากระทบใจ
ก็เกิดการรับรู้เกิดขึ้น เกิดวิญญาณเกิดการรับรู้ พอเกิดการรับรู้
มันก็จะแปรสิ่งที่รับอะไรเป็นอย่างไร ถ้าแปรไปในทางไม่ดีมันก็จะเกิดความไม่พอใจ
เกิดความรักความใคร่ เกิดความพอใจไม่พอใจ

หรือถ้าแปรดี เรียกว่าโยนิโสมะนะสิการ การพิจารณาในความแยบคาย
มันก็จะเกิดจิตที่ดีงาม เกิดศรัทธา เกิดเมตตา เกิดกรุณา เกิดมุทิตา เกิดอุเบกขา
เกิดสติปัญญา มันเป็นกระบวนการ เป็นธรรมชาติ ชีวิตก็เป็นระบบของธรรมชาติ
ที่มันเป็นเหตุเป็นผล เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันอยู่
การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกับการมาศึกษาธรรมชาติ ความเป็นจริงของชีวิต
ให้เห็นไปตามความเป็นจริงว่ามันเกิดสิ่งนี้มา ให้เกิดสิ่งนี้ สิ่งนี้หมดไปเพราะสิ่งนี้หมดไป
ฉะนั้นผู้ที่บรรลุธรรมท่านจึงแรกอุทานว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็มีความดับไปโดยธรรมดา

บุคคลที่เข้าไปรู้ธรรมจะเห็นความเป็นธรรมดา เห็นสังขารเห็นชีวิตเป็นเรื่องธรรมดา
เห็นความไม่เที่ยงเป็นเรื่องธรรมดา เห็นความทุกข์เป็นเรื่องธรรมดา
เห็นความบังคับบัญชาไม่ได้เป็นเรื่องธรรมดา ธรรมดาอย่างไร
เพราะว่ามันเป็นไปตามเหตุปัจจัย เหตุคือสิ่งที่ทำให้ผลเกิดขึ้นโดยตรง ปัจจัยคือส่วนประกอบ
เพราะว่าเวลาสิ่งทั้งหลายจะทำให้สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ไม่ได้ทำแค่สิ่งหนึ่งมันต้องประกอบหลายสิ่ง
เหมือนอย่างที่ได้เห็นภาพชมทางจอภาพ ก็ต้องมีประกอบกันอยู่มีภาพ มีจอ
มีคนเอากล้องมาถ่ายมีสายไฟ มีกระบวนการประกอบกันขึ้นมาเกิดเป็นภาพให้มองเห็น
ฉะนั้นภาพที่มองเห็นเหล่านี้ เกิดจากเหตุปัจจัยที่ประกอบกัน
ถ้าเกิดว่าเหตุปัจจัยมันหมดไป ภาพเหล่านี้ก็จะหมดไป ฉะนั้นทุกอย่างจึงไม่เที่ยง
เพราะว่าตัวเหตุปัจจัยชีวิตร่างกายประกอบด้วยเหตุปัจจัย
ทุกอย่างไม่ว่าจากการเห็น ได้ยิน รู้รส ได้กลิ่น ทุกอย่างร่างกายเรานี้มันเป็นธรรมชาติ
ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุปัจจัยประกอบๆกันมา แล้วเหตุปัจจัยก็ก่อให้เกิด เวลาหมดไปก็ดับไป
เพราะฉะนั้นมันจึงไม่เที่ยง และความไม่เที่ยงก็ไม่เที่ยงธรรมดา คือเหตุปัจจัยเกิดขึ้นมา
เมื่อเหตุปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นไปตามเหตุดังนี้

พระสารีบุตรตอนที่ยังไม่ได้บวชมาถามพระอัสสชิว่าพระศาสดาของท่านมีปกติสอนอะไร
พระอัสสชิก็บอกว่า พระองค์ตรัสว่า ธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ และเมื่อจะดับก็ดับที่เหตุ
พระสารีบุตรก็เกิดดวงตาเห็นธรรม เข้าใจแจ่มแจ้งเลย เข้าใจเรื่องเหตุเรื่องผล
สังขารชีวิตมันไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย ฉะนั้นกองทุกข์ทั้งหลาย
มันจะพ้นทุกข์จะดับทุกข์ต้องไปดับที่เหตุ เราจะมาดับที่ทุกข์ไม่ได้ มาดับที่ทุกข์ ทุกข์ก็ไม่ดับ
เหมือนต้นไม้ต้นหญ้า เราจะทำให้มันตาย เราจะไปเด็ดยอด มันไม่ตายหรอก
ต้องไปเอาเหตุมันออกคือ ถอนรากมันขึ้นมา เหมือนกองทุกข์ทั้งหลาย
เราจะดับ เราจะพ้นทุกข์ เราต้องไปดับที่เหตุ ต้องไปทำลายเหตุเท่านั้น
พระพุทธเจ้าก็แสดงธรรมอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล ความทุกข์เป็นธรรมที่เป็นผล
ตัวตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มรรคเป็นเหตุที่จะให้เข้าถึงความพ้นทุกข์
ตัวสภาพพ้นทุกข์คือความสิ้นเหตุแห่งทุกข์ ความทุกข์เกิดจากเหตุ
เมื่อดับเหตุได้ก็ถึงความดับทุกข์ เหมือนกระบวนการภาพต่างๆ ถ้าเราตัดเหตุปัจจัย
เราดึงสายกล้องออกก็ดับแล้ว ความทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นต้องดับที่เหตุ

การจะดับเหตุแห่งทุกข์ทำอย่างไร ต้องทำ ข้อปฏิบัติดับเหตุแห่งทุกข์เกิดขึ้น เรียกว่า มรรค
หรือมรรคสัจจะ ความจริงคือข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ให้เกิดขึ้น ได้แก่ความเห็นชอบเกิดขึ้น
ความดำริชอบเกิดขึ้น ความระลึกชอบเกิดขึ้น ความเพียรชอบเกิดขึ้น ความตั้งมั่นชอบเกิดขึ้น
และการพูดการกระทำการดำรงชีวิตในปัจจัยสี่ที่ถูกต้อง เป็นมรรค ต้องทำให้ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมา

สิ่งเหล่านี้เกิดจากการที่เข้าไปรู้ทุกข์ เข้าไปพิจารณาทุกข์ อาศัยความทุกข์
ที่จะไปหาเหตุแห่งทุกข์ ตัวการปฏิบัติจะปฏิบัติกับทุกข์ มรรคจะปฏิบัติด้วยการเข้าไปรู้ทุกข์
แล้วจึงสามารถละเหตุแห่งทุกข์ได้ เพราะฉะนั้นต้องรู้จักทุกข์ ตัวมรรครู้จักทุกข์
เข้าไปพิจารณาทุกข์ จนกระทั่งละเหตุแห่งทุกข์ เมื่อละเหตุแห่งทุกข์คือสมุทัย
ก็จะถึงความดับทุกข์ ที่เรียกว่านิพพาน เป็นสภาพที่สิ้นตัณหา ความที่ตัณหาสิ้นไป
คือสิ้นเหตุแห่งทุกข์ ฉะนั้นจะต้องเจริญข้อปฏิบัติให้เกิดขึ้น เราพูดย่อๆว่าเจริญสติให้เกิดขึ้น
เข้าไประลึกรู้ทุกข์ สัมมาทิฐิเข้าไปถึงทุกข์ ระลึกพิจารณาต่อทุกข์ สมาธิต้องตั้งมั่นกับเรื่องทุกข์
เราก็มาพิจารณาดูว่าพระพุทธเจ้าได้แสดงเรื่องทุกข์ไว้ได้อย่างไรว่าโดยย่อว่า อะไรทุกข์
ที่จริงพระพุทธเจ้าก็เกริ่นมาก่อน ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์
ความเศร้าโศก ความพิลัยรำพรรณ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งไม่พึงปรารถนาเป็นทุกข์
การพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจเป็นทุกข์ เป็นทุกข์ที่เกริ่นมาให้เราพิจารณา
ให้เราเกิดความสลด สังเวช มองเห็นเหตุจริง แต่ว่าทุกข์ที่ว่าด้วยองค์ธรรมตัวจริงๆ
ตัวสภาวะได้แก่อะไร

พุทธองค์ก็ตรัสแสดงว่าได้แก่ อุปาทานะขันธ์ สังกิจเจนะปัจจุปะ ปะทานะขันธ์ ขันธ์ทาทุขันธ์
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ การจะพ้นทุกข์ต้องรู้จักทุกข์ ต้องรู้ในขันธ์ ๕
ตัวที่จะรู้ขันธ์ ๕ คือตัวมรรค มรรคจะเข้าไปกำหนดรู้ทุกข์ ทุกข์คือขันธ์ ๕
ได้แก่ รูป เวทนา สัญญาณ สังขาร วิญญาณ

เมื่อลงละเอียดถึงตัวรูป เวทนา สัญญาณ สังขาร วิญญาณ เป็นอย่างไร
จะต้องเข้าไปรู้จัก ในการแสดงธรรมที่พระองค์ตรัสว่า กิจหรือหน้าที่ ที่จะกระทำต่อทุกข์
ไม่ใช่ประหารแต่เป็นการไปรอบรู้ ไปกำหนดรู้ทุกข์ บางทีเราปฏิบัติ เรามักจะไปทำลายทุกข์
เช่น มันฟุ้ง ก็จะทำลายฟุ้ง ฟุ้งไม่เอาจะเอาสงบ พอเกิดปวดก็จะทำลายปวด
เกิดไม่สบายจะทำลายความไม่สบาย นี่คือไม่ตรงคำสอน คำสอนที่พระองค์ตรัส
คือการกำหนดรู้ ไม่ใช่ละ ไม่ใช่เราไปทำลายให้หายปวด แต่กำหนดรู้
และกิจที่จะกระทำต่อเหตุให้เกิดทุกข์คือสมุทัย ไม่ใช่ไปทำให้มันเกิดขึ้น
แต่เรามักจะเจริญตัณหา พอนั่ง(ภาวนา)ไปแล้วก็อยากสงบ เมื่อไหร่จะสงบ
อยากหายฟุ้ง อยากสบายนี่กำลังเจริญตัณหา คำสอนพระพุทธเจ้าสอนว่า
จิตที่กระทำต่อสมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ คืออะไร คือประหารนะกิจ
ประหารคือละตัณหา ให้รู้ทุกข์ ให้ละตัณหา

ทำอย่างไร รู้ทุกข์อย่างไรถึงจะเป็นการละตัณหา
รู้ทุกข์อย่างไรถึงจะรู้ว่าไม่เจริญตัณหา
รู้ทุกข์สักแต่ว่ารู้ คืออย่าเข้าไปยินดียินร้ายต่อทุกข์
รู้แค่ว่ารู้ไม่ไปทำลายทุกข์ จะไม่เป็นการเจริญตัณหา
ถ้ารู้ทุกข์แบบทำลายทุกข์มันจะเป็นการเจริญตัณหา
ถ้ารู้ทุกข์สักแต่ว่ารู้มันจะเป็นการละตัณหาไปในตัว
ระลึกรู้ทุกข์อย่างสักแต่ว่ารู้ตัณหาไม่เกิด ก็ค่อยๆเจริญไปทีละขณะๆ
จนกว่าความรู้จะสมบูรณ์แบบก็ละตัณหาไป

จิตที่จะกระทำต่อความดับทุกข์ก็คือการทำให้ถึง ทำให้แจ้ง
จิตที่ทำต่อมรรคคือ ภาวนาจิตให้เกิดขึ้น ทำความเห็นชอบให้เกิดขึ้น
ทำสมาธิให้เกิดขึ้น ต้องเพียรให้เกิดขึ้น
เกิดมารู้ทุกข์ เกิดมาพิจารณาต่อความทุกข์ แล้วพิจารณาทุกข์
พิจารณาสักแต่ว่า รู้ทุกข์อย่างวางเฉย ไม่รู้ทุกข์อย่างยินดียินร้าย
ทำหน้าที่อยู่อย่างนี้ ปฏิบัติต้องเข้าใจในสภาวะแห่งทุกข์
ต้องระลึกลงรายละเอียดลงไป ต้องมีปริญญาการปฏิบัติเหมือนกัน
เราจะจบการศึกษา เราก็ต้องทำปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก
เราจะจบการศึกษาการปฏิบัติ ถ้าถึงปริญญาเอกเป็นพระอรหันต์
ปริญญาตรีขั้นรู้จัก ปริญญาโทรู้ขั้นพิจารณา
ปริญญาเอกรู้ทุกข์ขั้นละเหตุแห่งทุกข์ได้ ก็ดับทุกข์
เราต้องมาทำความรู้จักทุกข์ว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร
ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ คือรูป เวทนา สัญญาณ สังขาร วิญญาณ
เป็นอย่างไรมีลักษณะอย่างไร ย่อมาแล้วพูดสั้นๆ คือรูปธรรม นามธรรม
เราจะเคยได้ยินว่าเจริญวิปัสสนารูป นาม ขยายออกไปคือรูปนามขันธ์ ๕
ซึ่งเป็นองค์ธรรมของรูปนั่นเอง คือกำหนดทุกข์ รู้ทุกข์นั่นเอง

ต้องมีญาตวิญญาณขั้นเข้าไปรู้จักลักษณะของรูป อย่างรูปที่ปรากฏที่กาย
ก็ให้มีการระลึกรู้ ให้ตรงลักษณะของรูป รูปดิน น้ำ ไฟ ลม มีลักษณะอย่างไร
เราสังเกตไปที่กายไปที่ใจ ไปที่ความเข้มแข็ง เราสังเกตดูที่ขากระทบพื้น
มือกระทบกัน ขากระทบกัน เราจะรู้สึกเข้มแข็ง แต่ถ้าเราขยับตัวไปกระทบฟ้า
จะรู้สึกแข็งน้อยอ่อนๆ ความตึงความหย่อนความไหว ลักษณะที่ตึงๆหย่อนๆ
เป็นลักษณะของรูปลม ธรรมชาติของลมทำให้ตึง
เช่นหายใจเข้าไปจะดันหน้าอกตึง พอหายใจออกลมก็ตึงน้อยๆ ก็หย่อน
จะต้องใส่ใจในสภาวะของรูปลม คือสังเกตไปที่ความตึง หย่อนๆ ไหวๆ
เท่ากับกำหนดรู้ทุกข์ เพราะรูปคือทุกข์ รูปลม รูปดิน รูปไฟที่มาปรากฏที่กาย
ไฟเป็นอย่างไร ไฟจะมีลักษณะร้อน ถ้าร้อนน้อยก็เป็นเย็น
อย่างขณะนี้เราสัมผัสว่าเย็นแต่มันคือร้อน อุณหภูมิที่ต่ำลงมา เหลือ ๒๐ องศา
แต่ก็ยังเป็นอุณหภูมิ จะเป็นความร้อนความเย็นก็เป็นไฟ

การระลึกก็ระลึกให้จับความรู้สึก หายใจเข้าไม่ใช่มีเพียงลมเท่านั้น
ยังมีดิน น้ำ ลม ไฟ ทั้งสี กลิ่น รสอาหาร หายใจเข้าไป
ส่วนที่เป็นธาตุไฟจะรู้สึกเย็น พอไปเผาไหม้หายใจออกอย่างนี้อย่างอุ่นๆ
เราต้องสังเกตว่ามีเย็น มีอุ่น มีตึง มีหย่อน มีไหว หายใจเข้าหน้าอกหน้าท้องมันตึง
รู้สึกว่ามันตึง หย่อน ไหว การเข้าไปรู้ลักษณะของรูปเรียกว่าเข้าไปรู้จัก
เป็นการทำปริญญาอย่างหนึ่ง ทำความรอบรู้ ความจริง

แล้วยังมีเวทนา ลักษณะของเวทนาคือ การเสวยอารมณ์ที่ปรากฏที่กาย
เวทนาจะมีความรู้สึกต่ออารมณ์ รู้สึกสบายถ้าได้การสัมผัสที่เหมาะสม
แต่ถ้าได้สัมผัสที่ไม่ดี ตึงเกินไปเย็นเกินไป ร้อนเกินไป จะรู้สึกไม่สบาย
จะต้องเจริญสติเป็นการเข้าไปรู้เวทนาซึ่งเป็นทุกข์ เราอย่าลืมว่า
ทุกหนทางของทุกข์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
แม้ความสบายก็เป็นทุกข์ ความเฉยๆก็เป็นทุกข์
ทุกข์คือความที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
แปรสภาพทั้งหมดไป เรียกว่าเข้าไปเห็นทุกข์ ไม่ได้หมายถึงว่าเห็นความเจ็บความปวด
เข้าไปเห็นว่าปวดเปลี่ยนแปลงเกิดดับ สบายก็เปลี่ยนแปลงเกิดดับ
เฉยๆก็เปลี่ยนแปลงเกิดดับ เรียกว่าพิจารณา เมื่อเกิดญาตปริญญาแล้ว
พอเข้าขั้นไปพิจารณาลักษณะของสภาวะ ความเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนไปดับไป
และที่สุดเข้าไปแจ่มแจ้งในความเป็นจริง เข้าถึงกิเลส เหตุให้เกิดทุกข์นั้นได้
เราต้องทำความรู้จักทุกข์ทางกายที่เอ่ยมานี้มี เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
ความสบาย-ไม่สบาย นี่คือตัวทุกข์ เราต้องเจริญองค์มรรคคือเข้าไปกำหนดรู้
ส่วนทางใจมีสัญญา สังขาร วิญญาณ และเวทนาประกอบกับใจ

เราต้องเจริญองค์มรรคเข้าไปทำความรู้จัก สัญญาความจำได้
สังขารความที่ปรุงแต่งจิตใจเกิดความรัก-ชัง พอใจ-ไม่พอใจ
ในขณะแต่ละขณะที่ปรากฏ โดยใส่ใจให้เข้าไปตรงตำแหน่งของใจ
สังเกตอาการของมัน เพราะขณะนี้เกิดความพอใจ ขณะนี้มันไม่พอใจ
ขณะนี้มันสงสัย ขณะนี้รู้สึกมันอิ่มเอิบใจ มันสุขใจ สบายใจ สงบใจ ไม่สงบใจ
เข้าไปรู้จัก เมื่อเข้าไปรู้จักเจอเสมอๆ การที่เพียรให้มรรคเกิดขึ้น ไปเจอเรื่อยๆ
ไปดูเขาอยู่เรื่อยๆ สภาวะทางกายใจ ตลอดทั้งวิญญาณเป็นสภาพรู้อารมณ์
วิญญาณทางใจก็จะมีความเข้าไปรับรู้อารมณ์นึกคิด เช่นมันเปลี่ยนอารมณ์อยู่เรื่อยๆ
เดี๋ยวขึ้นมารับทางตาไปเห็น ขึ้นมาทางหูไปได้ยิน ขึ้นมาทางจมูกไปได้กลิ่น คือวิญญาณ
ต้องไปตามพิจารณาสิ่งเหล่านี้ที่เป็นตัวทุกข์สัจจะอยู่ เข้าไปรู้จัก

ถ้าเราพูดย่อๆ คือเข้าไปรู้ถึงสภาวะความรู้ทางกาย ใจ
หรือตลอดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รู้ตรงๆต่อสภาพธรรมเหล่านี้
จนเกิดความเข้าใจ จนรู้ว่าความจริงมันเป็นอย่างนี้ มันเปลี่ยนแปลงอยู่
บังคับไม่ได้ เราจะเข้าใจว่าความสมมุติตัวของเรา
เป็นตัวสมมุติชื่อภาษา ตัวตนรูปร่างเป็นสมมุติตัวแทนตัวความจริง
สักแต่ว่าเป็นสิ่งเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นธรรมดา
คือแนวทางของความพ้นทุกข์ คือการเจริญองค์มรรคให้เกิดขึ้น
องค์มรรคเหล่านี้ สัมมาทิฐิ สัมมาสมาธิมรรค เข้าไปกำหนดรู้ทุกข์ด้วยการเข้าไปรู้จัก
พิจารณาถึงขั้นละหรือประหารเหตุให้เกิดทุกข์ เมื่อปัญญาเข้าไปแจ่มแจ้ง
ปัญญาก็จะทำลายอวิชชาความไม่รู้ เหมือนเมื่อเปิดแสงไฟขึ้นมา
ความมืดก็อันตรธานหายไป ตัณหาก็จะดับ กิเลสต่างๆมันก็อาศัยความไม่รู้เกิดขึ้น
พอความรู้ทำลายความไม่รู้ ตัณหาดับก็สิ้นทุกข์ ถึงความดับทุกข์
นั่นคือแนวทางของการพ้นทุกข์ ซึ่งได้แสดงเรายละเอียดฟังปลีกย่อยแต่ละเรื่องให้ชัด
ในเวลาที่เราสนใจการปฏิบัติ เราฟังทีเดียวทั้งหมด มันก็เกินกำลัง
แต่เรามองให้เห็นภาพเป็นอย่างไร เจริญองค์มรรคให้เกิดขึ้น
โดยมรรคจะเข้าไปรู้ถึงความทุกข์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือรูปนาม
แจ่มแจ้งในทุกข์จนละ ละเหตุแห่งทุกข์ได้ ก็เข้าถึงความพ้นทุกข์ได้

วันนี้ก็ใช้เวลามาครบ ตามกำหนดขอยุติไว้เพียงเท่านี้

--------------------------------------------------------

ขออนุโมทนากับทุกท่านที่ศึกษาและปฏิบัติธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย kaveebsc เมื่อ 21 ก.ค. 2010, 21:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: ขออนุโมทนาสาธุการด้วยค่ะ ท่าน kaveebsc :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มี.ค. 2010, 20:10
โพสต์: 70

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาด้วยอีกคนหนึ่งค่ะ ยังไม่พ้นจากทุกข์เลยค่ะจะพยายามค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 21:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโมทนาสาธุด้วยครับ..ที่นำธรรมมาเผยแผ่..เป็นธรรมทาน..แก่ผู้ที่ยังไม่รู้ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนา สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 23:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณ kaveebsc

:b48: ธรรมรักษาค่ะ :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร