วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 02:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




story-583-big.jpg
story-583-big.jpg [ 31.24 KiB | เปิดดู 3229 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

cool

เพื่อความสุขใจ (อาจารย์วศิน อินทสระ)

ความสุขใจเป็นพรอันประเสริฐของชีวิต เพราะทำให้ชีวิตสดชื่นรื่นรมย์ รู้สึกว่าชีวิตนี้มีความหมาย ความสุขกายมีระยะกาลสั้นกว่าความสุขทางใจ และสุขแล้วก็แล้วไปไม่หวนกลับมาอีก ส่วนความสุขทางใจมีระยะยาวนานกว่ามาก และหวนกลับมาครั้งแล้วครั้งเล่า ความสุขใดที่เกิดขึ้นแก่ใจแล้ว จะสถิตอยู่ยั่งยืนนานในส่วนลึกของใจ พร้อมที่จะขึ้นมาให้ความรื่นรมย์แก่เราอีกเมื่อระลึกถึง ความสุขทางใจจึงเป็นของทิพย์ ระหว่างสุขกายกับสุขใจนั้น ความสุขใจมีคุณค่าสูงกว่า ปลอดภัยกว่า หาได้ง่ายกว่า (สำหรับคนรู้จักหาและทำใจเป็น)

ทำอย่างไรจึงจะมีความสุขใจ ? คำตอบก็คือ ต้องรู้จักวิธีผ่อนคลายความทุกข์และเสริมสร้างความสุขทางใจให้เกิดขึ้น อันที่จริง ถ้าเราสามารถผ่อนคลายความทุกข์หรือทำลายความทุกข์ได้ ความสุขใจก็จะเกิดขึ้นเอง ดังพุทธภาษิตที่ว่า “การละทุกข์เสียได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง (สพฺพตฺถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ)...ธรรมบท ขุททกนิกาย ๒๕/๕๙)" กล่าวคือในที่ใด ในขณะใด เราสามารถละทุกข์ได้ความสุขก็เกิดขึ้นในที่นั้นในขณะนั้น ความสุขก็คือความทุกข์ที่ลดลงหรือเสื่อมสลายไป สุขทุกข์อยู่ใกล้ชิดกันมาก ขณะใดทุกข์ดับไปหรือสงบไป สุขก็เกิดขึ้น และความสุขจะเพิ่มทวีขึ้นตามอัตราส่วนแห่งความทุกข์ที่สงบไปดับไป ความขวนขวายพยายามของมนุษย์ที่เรียกกันว่าแสวงหาความสุขนั้น ที่แท้ก็คือ การพยายามดับทุกข์ที่เกิดติดต่อกันอยู่ไม่ขาดสายนั่นเอง ช่วงที่สามารถดับทุกข์ได้นั่นเอง คือช่องว่างสำหรับความสุข สำหรับท่านที่มีความสามารถสูงหรือสุขภาพจิตดี ช่องว่างสำหรับความสุขก็ยาวออกไป เหมือนคนที่สุขภาพกายดี ช่วงสำหรับความสุขกายก็ยาวออกไปเช่น ๖ ชั่วโมง ๑๐ ชั่วโมง เป็นต้น แต่ถ้าท่านมีสุขภาพกายไม่ดีความถี่ของความทุกข์มีมาก การต้องบำบัดทุกข์ก็ถี่เข้าเช่นกัน บำบัดทุกข์ได้ครั้งหนึ่ง ก็สมมติเรียกว่า “สุข” เสียครั้งหนึ่ง

เพื่อผ่อนคลายความทุกข์ และเพื่อเสริมสร้างความสุขทางใจ ขอเสนอวิธีการดังต่อไปนี้

๑. ทำงานอยู่เสมอ
๒. อย่าเอาเรื่องกับสิ่งเล็กน้อย
๓. อย่าเป็นทุกข์ล่วงหน้า
๔. ต้อนรับสิ่งที่หนีไม่พ้นด้วยความสงบ
๕. อย่ายอมเป็นทาสของอดีต
๖. หัดวิเคราะห์ทุกข์
๗. ค้นหาต้นเหตุของทุกข์แล้วกำจัดเสีย
๘. ทำจิตให้เป็นอิสระไม่ตกเป็นทาสของมายาธรรม
๙. ตระหนักแน่ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นไปตามเหตุปัจจัย
๑๐. ความเป็นผู้มีเหตุผล
๑๑. การเล็งเห็นคุณและโทษของสิ่งที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง
๑๒.พยายามมองบุคคลและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในแง่ดีตามสมควร
๑๓.การทำจิตให้สงบโดยวิธีสมาธิหรือสมถภาวนา
๑๔.การทำจิตให้สงบโดยวิธีวิปัสสนา

... .. . ให้พยายามสร้างนิสัยนักศึกษาขึ้นในตน คือมองสิ่งต่าง ๆ ในแง่ของการศึกษาว่า สิ่งนี้ให้ความรู้และประสบการณ์อะไรแก่เราบ้าง ชีวิตจะต้องเดินทางผ่านประสบการณ์เป็นอันมาก ความรู้ความเข้าใจในชีวิตนั้น เป็นวิทยาการอันสูงเยี่ยมยิ่งกว่าวิทยาการใด ๆ เมื่อเข้าใจชีวิตดีแล้ว จะเป็นผู้มีชีวิตอย่างมีทุกข์น้อยที่สุด หรือไม่มีทุกข์ทางใจเลย . .. ... :b16: :b16: :b16:

(จากหนังสือ “เพื่อความสุขใจ” ... อาจารย์วศิน อินทสระ)


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


แก้ไขล่าสุดโดย ningnong เมื่อ 20 ต.ค. 2010, 12:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2010, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 14:50
โพสต์: 69

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาครับ :b8:

หลักใหญ่ ๆ พอจะเข้าใจ แต่ ข้อ ๖. หัดวิเคราะห์ทุกข์ เป็นอย่างไร ต้องทำอย่างไรครับ อยากจะรู้จริงจริง :b10: นึกว่าช่วยคนรู้น้อยคนนี้ด้วยเถอะครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2010, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




1.jpg
1.jpg [ 24.09 KiB | เปิดดู 3048 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

สวัสดีครับ ท่าน saengthong :b16: :b16: :b16:

:b6: :b6: .............

ก่อนจะวิเคราะห์ทุกข์ ต้องเข้าใจก่อนว่าทุกข์พอที่จะแยกออกได้เป็น ๒ คือ

๑.ทุกขอริยสัจที่ดับไม่ได้ อันมี"ความเกิด๑ แก่๑ เจ็บ๑ ตาย๑ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น๑ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก๑ การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก๑" อันล้วนเมื่อเกิดหรือประสบเข้าแล้ว ย่อมยังให้เกิดทุกข์ธรรมชาติขึ้นจากการผัสสะขึ้นเป็นธรรมดาอีกด้วย กล่าวคือทุกขเวทนาที่เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิต กล่าวคือ เป็นทุกข์โดยธรรมชาติ ที่แม้เป็นทุกข์อย่างหนึ่งก็จริงอยู่และหลีกหนีไม่ได้ แต่สภาวะเดิมๆของทุกข์เหล่านี้ ไม่เร่าร้อนไม่เผาลน เหล่านี้คือทุกข์อริยสัจชนิดที่เป็นทุกข์ประจำชีวิตที่ยังคงต้องเกิด,ต้องมี,ต้องเป็นเช่นนั้น เป็นกระแสสภาวธรรม จึงควรกำหนดรู้ และทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง

สิ่งต่างๆเหล่านี้หรือทุกขอริยสัจ ซึ่งย่อมล้วนยังให้เกิดทุกข์ธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งขึ้นร่วมด้วย กล่าวคือเวทนาหรือทุกขเวทนานั่นเอง อันเป็นทุกข์ที่บังเกิดขึ้นโดยธรรมหรือธรรมชาติของชีวิต จึงยังคงต้องเกิดต้องมีต้องเป็นโดยธรรมชาติ อันเกิดแต่การที่เกิดทุกขอริยสัจดังกล่าวขึ้นมาจึงเกิดการผัสสะหรือกระทบสัมผัสที่ย่อมยังให้เกิดเวทนาเป็นสุข,เป็นทุกข์หรือเฉย อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดา แต่สามารถปฏิบัติทำให้ปราศจากกิเลสมาร้อยรัดได้ จนขาดการเผาลนเร่าร้อน เป็นเพียงแต่ทุกขเวทนาตามธรรมหรือธรรมชาติเท่านั้น

๒.ทุกข์ ชนิดที่ดับได้ คือ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นี้คือความทุกข์ที่เกิดจากทุกขอริยสัจดังข้างต้นเช่นกัน แต่มีกิเลส,ตัณหา,อุปาทาน อันยังให้เกิดอุปาทานทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนที่ควรดับให้สนิท จึงควรกําหนดรู้ และเข้าใจ นี่แหละคือทุกข์ ชนิดอุปาทานทุกข์ที่พระพุทธองค์ทรงเพียรพยายามสั่งสอนให้ดับสนิทไม่เหลือ ที่ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นล้วนเป็นเวทนูปาทานอันเร่าร้อนเผาลน

ทั้ง ๒ เป็นทุกข์ ที่ควรกำหนดรู้ คือทั้ง รู้เท่าทัน และ รู้อย่างเข้าใจ

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า

"เมื่อกล่าวสรุปให้สั้นอย่างที่สุดแล้ว เบญจขันธ์(ขันธ์ ๕)ที่มีอุปาทาน เป็นตัวทุกข์."
สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา


คําสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้น ล้วนเป็นคําสั่งสอนให้นําออกหรือดับอุปาทานทุกข์ หรือทุกข์ที่บังเกิดแก่ใจทั้งสิ้น และ "อุปาทานทุกข์" นี้แหละคือความทุกข์จริงๆที่มนุษย์ทั้งหลายกําลังเผชิญกันอยู่ทุกๆขณะจิต เพียงแต่ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าเป็นอุปาทานทุกข์, เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอน เพราะอวิชชาจึงพยายามปฏิบัติหาทางดับเวทนา อันเป็นทุกข์ธรรมชาติ หรือทุกข์ประจําขันธ์หรือชีวิต(กระบวนธรรมของชีวิต) อันเป็นสภาวธรรมชาติแท้ๆไปด้วย โดยไม่รู้ตัว, ที่แม้แต่พระพุทธองค์ก็ทรงยอมรับและประสบกับสภาวธรรมชาติเหล่านี้เช่นกัน, เมื่อไม่เข้าใจจึงก่อกลายเป็นอุปาทานทุกข์อันเป็นทุกข์แท้ๆให้เกิดขึ้นจากความไม่รู้ไม่เข้าใจเพิ่มขึ้นอีก จึงเกิดการเวียนวนไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติจนเหนื่อยอ่อน เพราะแน่นอนที่ย่อมไม่สามารถปฏิบัติให้ชนะธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ได้ตามความเชื่อ,ความเข้าใจผิดนั้นได้ จึงอุปมาดั่งวนเวียนไล่จับเงาตนเองอยู่ตลอดกาลสมัย ซึ่งย่อมไม่มีวันประสบความสําเร็จไม่ว่าจักนานไปถึงภพชาติใดๆก็ตาม

:b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12:

อาจารย์วศิน อินทสระ กล่าวถึงเรื่องหัดวิเคราะห์ทุกข์ว่า... ... ในชีวิตมนุษย์คนหนึ่ง ๆ นั้น ความทุกข์จริง ๆ ดูเหมือนว่าจะไม่มากเท่าความทุกข์อันเกิดจากอุปาทาน ความทุกข์จริง ๆ ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงเรียกว่า สภาวทุกข์ เช่น แก่ เจ็บ ตาย อันนี้พระอรหันต์ก็ยังต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของมัน เราหลีกไม่พ้นแน่ แต่ถ้าไม่มีอุปาทานเพิ่มลงไป ความทุกข์นั้นก็จะเป็นความทุกข์ตามสภาวะล้วน ๆ แต่พอมีอุปาทานเพิ่มลงไปด้วย ความทุกข์ก็จะเพิ่มกำลังมากขึ้น เช่น ความแก่ ถ้าปล่อยให้แก่ไปตามธรรมดาของสังขารก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่พอมีอุปาทานเข้าไปเพิ่ม คือกลัวแก่แล้วจะไม่สวยเหมือนสาว ๆ ความทุกข์เกิดมากขึ้นทันที

นอกจากนี้ยังมีความทุกข์อันเกิดจากอุปาทานล้วน ๆ อีก เช่น ยึดถือว่าเขาด่าเรา เขานินทาเรา เขาเคยยกย่องสรรเสริญเรา เวลานี้ทำไมเขาจึงเมินเฉยไปแล้วก็เกิดทุกข์ใจขึ้น ความทุกข์อย่างนี้ถ้าไม่คิดก็ไม่ทุกข์ พอคิดเข้าก็ทุกข์ ยิ่งคิดมากก็ทุกข์มาก พอเลิกคิดความทุกข์ก็ดับไป อย่างนี้เรียกว่าทุกข์เพราะอุปาทาน

เมื่อวิเคราะห์ได้แล้วว่าอันใดเป็นทุกข์เพราะอุปาทาน พอละอุปาทานหรือถอนอุปาทานเสียได้ ความทุกข์ก็จะดับไปทันที


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2010, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




Lotus433.jpg
Lotus433.jpg [ 3.48 KiB | เปิดดู 2960 ครั้ง ]
:b44: บัญญัติ 20 ประการเพื่อความสุขใจในการใช้ชีวิต :b44:

1. ทุก ๆ วันหลังตื่นนอน ให้ตั้งจิตมั่น แล้วนึกถึงสิ่งดี ๆ ที่เราจะทำ หรือสิ่งที่ดีส่วนตัวใด ๆ ที่เราจะทำ หรือสิ่งไม่ดีส่วนตัวใด ๆ ที่เราปรารถนาจะแก้ไข แล้วบอกกับตัวเองว่า วันนี้ฉันตั้งใจแน่วแน่ที่จะ....ให้สำเร็จให้ได้

2. เวลาแห่งชีวิตที่ดีที่สุดคือ วันนี้ควรใช้ชีวิตโดยทำทุกสิ่งตรงหน้าในวันนี้ให้ดีที่สุด อดีตที่ผ่านมา ไม่ว่าจะขมขื่นหรือหวานชื่นก็มิอาจหวนคืน อนาคตก็ไม่อาจคาดหวังได้

3. เพิ่มพูนประสบการการณ์ชีวิต เรียนรู้ทัศนคติและมุมมองใหม่ ๆ ด้วยการอ่านหนังสือ และพยายามเพิ่มปริมาณการอ่านและประเภทของหนังสือที่อ่านให้มากขึ้นเรื่อย ๆ

4. ใช้เวลา 15 - 30 นาที ต่อวัน ในการเดินอย่างผ่อนคลายไม่รีบเร่ง โดยเดินไปยิ้มไป เพื่อให้ร่างกายได้ใช้พลังงานส่วนเกินและจิตใจได้พักผ่อนบ้าง

5. ในแต่ละวันให้พยายามหาเวลาอยู่เงียบ ๆ คนเดียว ให้ได้อย่างน้อยที่สุด 10 นาที

6. ให้เวลากับตนเองในการสร้างความสงบทางใจ โดยการเจริญสมาธิ ฝึกโยคะ ฯลฯ เพื่อสร้างพลังชีวิต

7. ให้คุณค่ากับความสุขทางใจ เช่นสุขจากการเป็นผู้ให้ การเห็นความงามตามธรรมชาติของสรรพสิ่งรอบตัว เช่นรอยยิ้มของทารก กลิ่นหมอของดอกไม้ ฯลฯ มากกว่าความสุขที่เราคิดว่าความสมบูรณ์มั่งคั่งทางวัตถุจะนำมาให้ จนทำให้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งความมั่งคั่งทางวัตุจนลืมไปว่าความสุขที่แท้นั่นมาจากใจเราต่างหาก

8. หาโอกาสสนทนากับผู้สูงอายุและผู้เยาว์บ้าง เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในบุคคลซึ่งมีวัยและประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างจากเรา เพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองในการใช้ชีวิต

9. บางครั้งอาจดูเหมือนว่าเราโชคไม่ดี หรือพบแต่เรื่องไม่สมหวัง ผู้คนไม่เห็นคุณค่า จงบอกกับตนเองอย่างมั่นใจว่าในไม่ช้าก็จะมีสิ่งดี ๆ ผ่านเข้ามาในชีวิต เพราะสรรพสิ่งในโลกไม่มีอะไรที่จีรังยั่งยืน สิ่งที่มีอยู่คู่โลกคือความเปลี่ยนแปลง

10. ไม่เปรียบเทียบชีวิตของเรากับใคร เพราะแต่ละคนที่เกิดมามีเหตุปัจจัยที่ส่งผลให้เป็นเราเป็นเขาที่แตกต่างกันไปแม้พี่น้องร่วมท้อง หรือพี่น้องฝาแฝดก็มีวิถีชีวิตที่ไม่เหมือนกัน

11. ทุกสิ่งที่ผ่านเข้าในชีวิต ทั้งทุกข์และสุข ให้พิจารณาว่าเป็นแบบฝึกหัดที่อุบัติขึ้นเพื่อให้เราได้เรียนรู้ในมหาวิทยาลัยชีวิตพยายามมองทุกอย่างที่ได้ประสบอย่างวิเคราะห์เพื่อจะนำไปปฏิบัติต่อ หรือไม่ปฏิบัติอีกในวาระข้างหน้าเพื่อให้มีชีวิตที่ดีกว่า

12. เชื่อมั่นในพลังแห่งความดี และบอกตัวเองว่า ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไรต่อเรา เราจะไม่ย่นระย่อในการทำความดี

13. สร้างพลังแห่งความเมตตาให้เกิดขึ้นเป็นนิสัย โดยให้อภัยแก่ทุกคนที่ก่อปัญหาให้กับเรา ไม่ว่าปัญหาเหล่านั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม

14. ใช้เวลาในชีวิตที่แสนสั้นอย่างมีคุณค่า ไม่ทำให้เวลาที่มีค่าของชีวิตหมดไปกับการพูดที่ไม่สร้างสรรค์ เช่นการนินทา การพูดเพ้อเจ้อไม่เกิดประโยชน์แก่ใคร ในทางกลับกัน ไม่ควรเสียเวลาและรู้สึกเสียอกเสียใจ เมื่อรับรู้ว่าเราถูกนินทาว่าร้าย

15. จงพึงใจในคุณลักษณะต่าง ๆ ทีเรามี เราเป็น ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร รวมทั้งพอใจและภูมิใจในสิ่งต่าง ๆ ที่เราครอบครองหรือเป็นเจ้าของซึ่งเราสร้างสรรค์มาด้วยน้ำพักน้ำแรงของเราเอง (ดูข้อ 10 ด้วย)

16.หมั่นติดต่อเยี่ยมเยียนญาติมิตร เพื่อนฝูง เพื่อรักษาสายสัมพันธ์ที่มีมาก่อน และเป็นการสร้างโอกาสในการให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลเหล่านั้นในวาระที่เขาเดือดร้อน และรับความช่วยเหลือบ้างเมื่อเรามีปัญหา

17. บริโภคอาหารโดยคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการที่จะเกิดต่อร่างกาย มากกว่าการคำนึงถึงรสชาติ และความหรูหราของสถานที่ที่เข้าไปรับประทานอาหาร

18. ใช้ชีวิตด้วยความพอเพียง ทำงานเต็มประสิทธิภาพและพักผ่อนตามควร โดยหาโอกาสให้ตนเองอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่แท้จริง ในที่ที่อากาศบริสุทธิ์บ้างเท่าที่โอกาสและปัจจัยจะอำนวย

19. สิ่งที่น่าจะยึดเป็นแสงส่องทางในการใช้ชีวิตอย่างเข้าใจผู้อื่น ผ่อนคลายเมื่อสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามความคาดหมายและห่างไกลจากความทุกข์ คือ “เอาใจเขา มาใส่ใจเรา”

20. ก่อนที่จะหลับไปในแต่ละคืน ให้นึกทบทวนถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชิวิตะวันนี้ทั้งดีและไม่ดี เพื่อการทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป หรือไม่ทำอีกต่อไป ที่สำคัญคือน้อมรำลึกถึงบุญคุณของสรรพสิ่งในจักรวาลที่เอื้ออำนวยให้มีเรา ให้เราเป็นเราในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นปวงเทพเทวาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่พิทักษ์คุ้มครองสากลจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัย บุรพมหากษัตริย์ทุกพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ บรรพบุรุษ บุพการี ญาติพี่น้อง ครูบาอาจารย์ที่อบรมสั่งสอน ตลอดจนผู้มีพระคุณ ผู้เกื้อหนุนส่งเสริมชีวิตเราทุก ๆ ท่านและสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อมตัวเราที่ช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้

จาก หนังสือพิมพ์ สังฆทานนิวส์ ประจำวันที่ 2 -15 พฤษภาคม 2551 ปีที่ 1 ฉบับที่ 28
วัดสังฆทาน 100/1 หมู่ 3 ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี

ที่มา :: บ้านมหาดอทคอม

กราบอนุโมทนาบุญกับผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านค่ะ tongue tongue tongue

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร