วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 18:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 02:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:
cool
อุปมา...คนว่ายน้ำ ๗ ประเภท


การเวียนว่ายในวัฏสงสาร
คือการเวียนว่ายอยู่ในห้วงกิเลสความคิดความอยาก คำพระเรียก “โอฆะ”
เวียนว่ายอยู่ในกาม เรียก “กามโมฆะ”
เวียนว่ายอยู่ในความคิดอยากมีอยากเป็น เรียก “ภโวฆะ”
เวียนว่ายอยู่ในทิฏฐิ เรียก “ทิฏโฐฆะ”
เวียนว่ายอยู่ในความไม่รู้แจ้งที่สุดของทุกข์ เรียก “อวิชโชฆะ”

การบำเพ็ญตนเพื่อเป็นคนห่างไกลจากกิเลส เรียกว่า “อริยบุคคล”


เปรียบอุปมาได้กับการว่ายน้ำของคน ๗ ประเภท ดังนี้

(๑) ผู้จมน้ำหายไปเลย หมายถึง ผู้ที่จมอยู่ในความคิดความอยาก จมอยู่ในความทุกข์
ติดอารมณ์แล้วออกไม่ได้ ไม่มีโอกาสได้เห็นธรรมชาติภายในที่แท้จริงของตัวเอง

(๒) ผู้โผล่ขึ้นแล้วจม หมายถึง ผู้ได้สติออกจากความคิดได้แล้ว
แต่เมื่อคุณธรรมเสื่อมก็จมกลับเข้าไปอยู่ในความคิดอีก

(๓) ผู้โผล่ขึ้นแล้วลอยคออยู่ได้ หมายถึง ผู้ออกจากความคิดหยาบๆ ได้ ประคองสติได้ระดับหนึ่ง
แต่ยังไม่มีพลังพอส่งต่อสู่ญาณทัศนะแบบแจ่มแจ้ง ยังเป็นมรรคอยู่ ยังไม่ถึงความเป็นผล

(๔) ผู้โผล่แล้วมองเห็นฝั่ง หมายถึง ผู้ที่ออกจากความคิดได้ เห็นภาวะสุญญตาในจิต
เกิดปัญญาญาณทะลุ สังโยชน์ ในเบื้องต้นได้
เห็นความไม่ทุกข์ที่ไม่อิงอามิสว่ามีจริง เห็นฝั่งแห่งความไม่คิดปรุงแต่งตามผัสสะอายตนะได้
มีความมั่นใจศรัทธาในพุทธธรรมไม่คลอนแคลน นี่คือคุณธรรมของพระโสดาบัน

(๕) ผู้โผล่แล้วกำลังว่ายเข้าหาฝั่ง หมายถึง ผู้ที่เห็นธรรมชาติของจิตนั้นแล้วก็ตั้งใจเจริญคุณธรรม
เพื่อพัฒนาอินทรีย์ให้แก่กล้าแหลมคม สำหรับเชือดเฉือน ราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางได้
เป็นผู้ที่ตั้งใจว่ายเข้าสู่ภาวะที่ไร้การปรุงแต่ง ภาวะไม่มีตัณหารบกวน นี่คือคุณธรรมของพระสกิทาคามี

(๖) ผู้โผล่แล้วเข้าไปถึงที่ตื้นได้ หมายถึง ผู้ออกจากความคิดได้แล้ว พยายามว่ายออกมาอยู่ในที่ๆ มีกิเลสน้อย
ออกจากกิเลสอย่างหยาบได้ แต่มาอยู่ในกลุ่มของ อาสว ธรรม
ไม่ทุกข์จากเหตุภายนอกแต่เดือดร้อนเพราะ อนุสัย นี่คือคุณธรรมของพระอนาคามี

(๗) ผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามฝั่งได้ ขึ้นบนบกได้ หมายถึง ผู้ออกจากห้วงน้ำแห่งความคิดคืออวิชชาได้แล้ว
ทำลายสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ได้ เป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูกพันร้อยรัดได้อย่างสิ้นเชิง นี่คือคุณธรรมของพระอรหันต์

สังโยชน์ ๑๐

๑. สักกายทิฏฐิ ความสำคัญมั่นหมายว่าขันธ์ห้าเป็นของตน
คือ เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ
๓. สีลัพพตปรามาส ความยึดมั่นในศีล ข้อวัตร ประเพณีพิธีกรรมที่สมาทานอย่างงมงาย
๔. กามราคะ ความกำหนัด ความครุ่นคิดในกามราคะ
๕. ปฏิฆะ ความหงุดหงิดขัดเคือง
๖. รูปราคะ ความติดในรูป
๗. อรูปราคะ ความติดใจในสมาธิ หรือติดในอารมณ์ที่สุขสบาย
๘. มานะ ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่
๙. อุจธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา ความหลง ความไม่รู้จริง

ละสังโยชน์ ๓ คือคุณธรรมของพระโสดาบัน
ละสังโยชน์ ๓ และทำราคะ โทสะ โมหะ ให้บางเบาได้ คือคุณธรรมของพระสกิทาคามี
ละสังโยชน์ ๓ และทำราคะ โทสะ โมหะ และกามราคะ ปฏิฆะ สิ้นไปได้ คือคุณธรรมของพระอนาคามี
ละสังโยชน์ ๑๐ คือเป็นผู้ที่มีสติสมบูรณ์ เป็นคุณธรรมของพระอรหันต์


อนุสัย ๔

อนุสัย คือกิเลสที่นอนนิ่งอยู่ในสันดาน เป็นกิเลสที่นานๆ ที มีออกมาให้เห็น ได้แก่
๑. ปฏิฆานุสัย ความปฏิฆะ หงุดหงิดไม่พอใจ เจ้าอารมณ์
๒. ทิฏฐินุสัย ความยึดติดในความคิดความเห็นของตนเองเป็นใหญ่ เป็นคนที่ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น
๓. ราคานุสัย กามราคะ ความเป็นคนรักสวยรักงาม ชอบประณีต ชอบใช้สิ่งของราคาแพงๆ รสนิยมสูง
๔. อวิชชานุสัย ความรู้ไม่แจ้ง ความลืมตัว ความไม่รู้ตัว ความพลั้งเผลอสติ


อาสวะ ๓

อาสวะ คือกิเลสเครื่องหมักดองในจิต ซึ่งอาจเป็นนิสัยส่วนตัวเลยก็มี บางทีก็เรียกอาสวะกิเลส
คือกิเลสประเภทอาสวะ มักไหลออกมาเมื่อเหตุปัจจัยพร้อม

๑. กามาสวะ อาสวะคือกาม การติดใจในความใคร่ แม้การติดความคิดสงบในสมาธิก็เป็นกามอย่างหนึ่ง
๒. ภวาสวะ อาสวะคือภพ (ภูมิของจิต) หมายถึงเรื่องราวทางความคิด
ที่จิตชอบคิดหรืออารมณ์ที่จิตชอบไปเสวย หรือเรื่องที่จิตชอบเก็บนำมาปรุงแต่งอยู่เสมอ
๓. อวิชชาสวะ อาสวะคือความรู้ไม่แจ้งถึงอาสวะที่แฝงฝังอยู่ในจิต (รู้ไม่ถึงที่สุดของทุกข์ ปัญญายังไม่บริบูรณ์)

เรื่องของอนุสัยและอาสวะกิเลสนี้ เป็นงานเฉพาะหน้าของอริยบุคคลชั้นพระอรหัตตมรรค
มรรคที่นำไปสู่ความเป็นพระอรหันต์ หากสิ้นกิเลสอาสวะแล้ว ก็เท่ากับอยู่จบพรหมจรรย์


รูปภาพ


บางส่วนจาก...หนังสือการรู้ธรรมแบบรู้แจ้ง
โดย ส.มหาปัญโญภิกขุ (หลวงตาวัดป่าโสมพนัส สกลนคร)

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2011, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: :b8: :b48:

ขออนุญาตแบ่งปันนะคะ ^___^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2011, 04:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b20: :b8: ขอบคุณค่ะ อ่านแล้วได้พิจารณาตัวเองเยอะเลยนี่ พักนี้ยิ่งจิตเสื่อมอยู่ด้วย แหะๆ

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2011, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8: :b20:

ขออนุญาตนำไปโพสต์ลงใน fb. Savikanoi Dhammajak ด้วยนะค่ะ
http://www.facebook.com/profile.php?id=1219966611
http://www.facebook.com/people/Savikanoi-Dhammajak/1219966611

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2011, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

สวัสดีครับ :b12:
ขอยกบทความเพิ่มเติม มาให้ครับ
(ในหมวดนี้มีนิวรณ์ ๕ อาหารของอวิชชา มาร ๕ กิเลสที่ผูกมัดใจไว้กับทุกข์
และบทความก่อนหน้านี้คือ สังโยชน์ ๑๐ อุปมาคนว่ายน้ำ ๗ ประเภท อนุสัย ๔ และอาสวะ ๓)
จะได้ครบหมวด :b12: :b12:

:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

นิวรณ์ ๕ อาหารของอวิชชา

ธรรมที่เป็นอุปสรรคขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงปัญญาสูงสุด หรืออารมณ์ที่คอยรบกวนจิตไม่ให้อยู่ในภาวะปกติได้ เรียกว่า “นิวรณ์” ซึ่งถือว่าเป็นอาหารของอวิชชาโดยแท้ หากต้องการดับอวิชชาก็ต้องทำลายนิวรณ์ให้ได้ ซึ่งมีอยู่ ๕ อย่าง ได้แก่

๑. กามฉันท์ หมายถึง ความพอใจในกาม
๒. พยาปาทะ หมายถึง ความพยาบาท หงุดหงิด
๓. ถีนมิทธะ หมายถึง ความง่วงเหงาหาวนอน ไม่โปร่ง
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ คิดมาก
๕. วิจิกิจฉา หมายถึง ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ

แต่ในทำนองเดียวกัน นิวรณ์ที่ดำรงอยู่ได้ก็เพราะมีอาหารหล่อเลี้ยงอยู่เช่นกัน ได้แก่

๑. ทุจริต ๓ ได้แก่ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ มโนทุจริต ๓
๒. การไม่สำรวมอินทรีย์
๓. ไม่มีสติสัมปชัญญะ
๔. ไม่มีโยนิโสมนสิการ
๕. ไม่มีความศรัทธา
๖. ไม่ได้สดับธรรม
๗. ไม่คบสัตบุรุษ


มาร ๕

ธรรม (อารมณ์) ที่เป็นตัวขัดขวางการปฏิบัติ นอกจากนิวรณ์แล้ว หากผู้ปฏิบัติจะพึงสังเกตให้ละเอียด จะพบอารมณ์อีก ๕ กลุ่ม ที่เป็นตัวขัดขวางความเจริญก้าวหน้า เป็นอารมณ์ที่ละเอียดอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งผู้ปฏิบัติมักชะล่าใจในอารมณ์เหล่านี้ เรียก มาร ๕ ได้แก่

๑. ขันธมาร มารคือขันธ์ห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ผู้ปฏิบัติธรรมบางคนมักเข้าใจว่า ขันธ์ห้าเป็นตัวตน เป็นที่ตั้งแห่งความสุข บำรุงรักษายิ่งๆ ขึ้นไป ปฏิบัติเพื่อสุขภาพพลานามัยหายจากโรคภัยไข้เจ็บ อยากให้มันจีรังยั่งยืน โดยอ้างเหตุผลทางรูปกายไม่ต้องการเสวยเวทนา พยายามเน้นการบำรุงรักษา การไม่ให้มีโรคภัยไข้เจ็บ เลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ชอบออกกำลังกายสม่ำเสมอ ต้องการความสุขอันประณีต จนเป็นเหตุให้การปฏิบัติย่อหย่อน และหยุดความเพียรไปในที่สุด ขาดความก้าวหน้า รวมถึงความเจ็บไข้ได้ป่วยขณะทำการปรารภความเพียรจนจิตสะดุด ต้องหยุดความเพียรหันมาเอาใจใส่รูปขันธ์ ทั้งที่บางทีก็ไม่ได้เป็นอะไรมาก แต่มันก็หลอกผู้ไม่เฉลียวใจได้

๒. กิเลสมาร มารคือกิเลส หมายถึงความเศร้าหมองในจิตหากปรุงแต่งมากๆ อกุศลธรรมครอบงำจิตนานๆ ความคิด ความอยาก ก็จะติดค้างคาอยู่ในใจ ทำให้เกิดความขุ่นมัว เศร้าหมอง อารมณ์ปฏิบัติขาดความต่อเนื่อง มองไม่เห็นความก้าวหน้าของตนเอง ถึงกับต้องท้อแท้หยุดหรือเลิกราไปในที่สุด แม้ความผูกพันในครอบครัว ลูกหลาน ทรัพย์สมบัติ หน้าที่ การงาน อดีต อนาคต ตัดไม่ขาด สลัดไม่หลุด ครุ่นคิดห่วงหน้าพะวงหลัง ทั้งๆ ที่ตั้งใจเต็มที่แล้ว แต่พอเจอมารด่านนี้เข้าให้แล้ว ก็ต้องยอมกลับไปรับใช้กิเลสตามเดิม

๓. เทวปุตตมาร มารคือเทวดา หมายถึงความคิดดี ความหวังดีต่อญาติมิตรสังคม ซึ่งมักจะเกิดกับผู้ปฏิบัติมาบ้างแล้ว จิตจะปรุงแต่งแต่เรื่องดีๆ มีโครงการเกิดขึ้นมากมายหลากหลาย บางครั้ง เทวปุตตมารนี้ก็มาในรูปแบบสมมติเทพ หมายถึงเจ้าหน้าที่ผู้บริหารบ้านเมือง ผู้ปกครองผู้บังคับบัญชา ไม่ให้โอกาส ไม่เห็นด้วย ไม่อนุมัติ ไม่อนุญาต หรือผู้หวังดีนำข่าวคราวที่อยู่ในความคิดความหวังความสนใจมาบอก แสดงตนว่าเป็นคนห่วงใย อยากพูดคุย ทำให้หลุดจากอารมณ์ปัจจุบันได้ แม้จะเป็นอารมณ์ปฏิบัติก็ตาม หากเกินความถูกต้องพอดีก็อาจทำให้เกิดปัญหา ทำให้เราออกจากความคิดนั้นไม่ได้

๔. อภิสังขารมาร มารคือความคิดปรุงแต่งอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติที่จะก้าวมาถึงจุดนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่าย หากไม่ได้ผ่านมารทั้ง ๓ มาก่อนก็จะไม่มีโอกาสได้ประมือกับอภิสังขารมารเลย เพราะมารตัวนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติที่จิตหยั่งลงสู่วิปัสสนาแล้วเท่านั้น เพราะนั่นคือการเข้าสู่อาณาจักรของมารกลุ่มนี้ คือเมื่อเรามีสติที่สามารถประคองจิตให้อยู่กับปัจจุบันได้ระดับหนึ่ง ความรู้แจ้งที่เป็นวิปัสสนาอ่อนๆ หรืออารมณ์เบื้องต้นจะปรากฏขึ้น ทำให้เกิดปัญญารู้รูปนามที่เป็นปัจจุบันธรรมชัดเจนมาก เป็นการประจักษ์แจ้งทางจิต หรือประสบการณ์ครั้งแรกในชีวิตที่ได้พบเจอ ช่วงนี้จะเกิดปัญญา ความรู้ ความเข้าใจในธรรม ที่ไม่รู้ว่ามันหลั่งไหลมาจากไหน ทำให้หลงเข้าใจผิดคิดว่า ตัวเองได้บรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่ก้าวหน้าในวิปัสสนาญาณต่อไป

๕. มัจจุมาร มารคือความตาย ทุกชีวิตล้วนต้องเผชิญกับความตายด้วยกันทั้งนั้น การทำวิปัสสนาคือการเรียนรู้ชีวิตทั้งระบบ ทั้งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน และขณะกำลังสิ้นใจซึ่งกำลังเป็นบรรยากาศที่ต้องเผชิญกับมัจจุราช ผู้ปฏิบัติที่พัฒนาจิตได้ถึงระดับสูง จะไม่รู้สึกหวาดหวั่นพรั่นพรึงแต่อย่างใด กลับจะยินดีด้วยซ้ำ เพราะความยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตน หรือในปรากฏการณ์มายาทางจิตใดๆ ล้วนแจ่มแจ้งแล้ว ความตายจึงไม่มีผลต่อจิตและความรู้สึก บุคคลเหล่านี้จะสามารถเดินเข้าไปในความตายเสมือนหนึ่งไม่มีอะไรเกิดหรือตาย รู้วิธีตาย ความกลัวไม่มีในจิต ดูตัวเองตายได้เหมือนนั่งดูผู้อื่นตาย อีกนัยหนึ่ง ความตายทางด้านร่างกายก็เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมาย ขณะที่เรากำลังปรารภความเพียรยังไม่ไปหน้ามาหลัง กลับเกิดมัจจุราชเข้ามาช่วงชิงเอาชีวิตเราไปเสียก่อน ความตายที่เกิดกับจิตผู้ที่อยู่ระหว่างกำลังฝึก จะหมายถึงการเลิกล้มความตั้งใจ เปลี่ยนความคิด ท้อแท้ กลัวอารมณ์ หรือการพลัดหลงเข้าสู่สมาธิฌานสมาบัติแบบฤาษีดาบส หลงเสวยสุขอยู่ในสมาธิแบบสมถะ ซึ่งนี่ก็ถือเป็นการตายจากมรรคผลนิพพานเช่นกัน


กิเลสที่ผูกมัดใจไว้กับทุกข์

เรื่องของสังโยชน์ เป็นสภาวธรรมขั้นละเอียด ผู้เจริญสติปัฏฐานสี่อยู่เป็นประจำ หากพัฒนาได้ตามลำดับคือ กายานุปัสสนา ดูกายได้ เวทนานุปัสสนา ดูเวทนาก็ได้ จิตตานุปัสสนา ดูจิตก็ได้ ธัมมานุปัสสนา ดูสิ่งที่ปรากฏอยู่ในจิตก็ได้ พูดโดยสรุปคือ สามารถดูกายเคลื่อนไหว ดูใจนึกคิดได้ โดยไม่หลงอารมณ์ รู้รูปนาม รู้ไตรลักษณ์ รู้สมมติ รู้ปรมัตถ์ จิตมั่นคงอยู่กับปัจจุบัน อย่างห้าสิบเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป จึงจะหยั่งรู้อารมณ์ละเอียดเหล่านี้

สติที่รู้ปรมัตถ์ได้แล้วจะสามารถดูจิตในจิต ดูขันธ์ห้า ที่ปรากฏจากผัสสะทางอยาตนะได้ ส่วนมากจิตจะราบเรียบเหมือนทะเล หากมีคลื่นปรากฏบ้างก็เล็กน้อย เป็นช่วง เป็นบางจังหวะที่มีเหตุปัจจัยสิ่งเร้าเข้าประกอบให้เกิดอารมณ์บ้าง แต่ก็ง่ายต่อการดับ เพราะรู้เหตุปัจจัยชัดแล้ว ดังนั้นในช่วงนี้ผู้ปฏิบัติจึงค่อนข้างอิสระในการดูพอสมควร จิตไม่เพ่ง ไม่เผลอ ไม่อยาก ไม่ปวดหัวมึนศีรษะ หรือแน่นหน้าอกแต่อย่างใด จิตเป็นกลางๆ ในแต่ละอิริยาบถ เป็นสมาธิเองโดยธรรมชาติ รู้อริยสัจจ์ตามความเป็นจริง

รู้กิเลสที่ผูกใจคนไว้กับความทุกข์ที่เรียกว่าสังโยชน์ รู้อารมณ์ที่ดับได้แล้วและที่ดับไม่ได้ รู้อะไรดับง่าย อะไรดับยาก กิเลสส่วนไหนตั้งอยู่ได้ด้วยปัจจัยอะไร เพราะความหมักหมม ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน อยู่ในจิตมานาน หยั่งรู้เห็นได้ยาก จึงเรียกธรรมกลุ่มนี้ว่าสังโยชน์บ้าง อนุสัยบ้าง อาสวธรรมบ้าง

หากผู้ปฏิบัติขาดความละเอียดแยบคาย ไม่เคยผ่านอารมณ์วิปัสสนาระดับหนึ่งมาก่อน จะไม่รู้จักกิเลสกลุ่มนี้ได้เลย เพียงแค่อาจมีสติดูอารมณ์นั้นบ้างบางเวลา และทำได้ก็เฉพาะที่หยาบๆ เท่านั้น แต่จะไม่รู้แจ้งเด็ดขาดแบบอกุปธรรม หรืออาจอยู่ได้โดยใช้สมาธิข่มกิเลสไว้ อาศัยสมาธิข่มเวทนาไว้ อยู่ที่สงัดในวัดแค่เพียงผู้เดียวบ้างไปวันๆ


:b36: :b36: :b36: :b36: :b36: :b36: :b36: :b36: :b36:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2011, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: :b53: :b54: :b8: :b8: :b8: สาธุค่ะ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร