วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 23:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2011, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 19:55
โพสต์: 146


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ขึ้นชื่อว่า "ความทุกข์" ไม่น่าจะมีใครไม่รู้จัก แต่พอลองสอบถามเข้าจริงๆ ก็ได้คำตอบที่ชวนฉงนว่า แม้แต่คนใกล้ตัวก็ยังมีคนที่ไม่เคยเห็นหน้าค่าตาความทุกข์ ไม่รู้วิธีจัดการกับความทุกข์ เลยปล่อยให้ความทุกข์เข้าๆ ออกๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมงราวกับว่าเป็นเซเว่นฯ ก็ไม่ปาน...วันนี้เราจึงได้กราบเรียนถามพระอาจารย์มานพ เกี่ยวกับเรื่องทุกข์ๆ มาดูกันว่าเรื่องธรรมดาของความทุกข์ เรารู้จักดีแค่ไหน

พุทธศาสนามีการแบ่งประเภทของความทุกข์อย่างไรบ้างคะ

ถ้าพูดในภาพรวม ความทุกข์เป็นเรื่องที่เราต้องเจอะเจอกันทุกคน ดังคำกล่าวที่ว่า "ชาติปิ ทุกขา ชะ
ราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง" ทุกข์เพราะการเกิด ทุกข์เพราะความแก่ ทุกข์เพราะความตาย หรือจะ
เรียกว่าทุกข์ประจำก็ได้ นอกจากนั้นความทุกข์ก็ยังมีทุกข์จร เช่น ทุกข์เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วย
ทุกข์เพราะความไม่สบายกายไม่สบายใจ หวังแล้วไม่ได้สิ่งที่หวัง เป็นต้น

แต่ถ้าจะลงรายละเอียด อรรถของทุกข์มี 3 อย่างเรียกว่า ทุกขตา 3 อย่าง คือ หนึ่ง ทุกขทุกข์ คือสภาพ
ของความทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ สอง วิปริณามทุกข์ คือเป็นทุกข์ที่เกิดจากความแปร
ปรวน และสาม สังขารทุกข์ คือความทุกข์เพราะสังขาร ตัวสภาวะของสังขาร กล่าวคือสิ่งทั้งปวงเกิด
จากปัจจัยปรุงแต่ง ที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายไป ทำให้คงสภาพอยู่ไม่ได้ พร่องอยู่เสมอ
และทำให้เกิดทุกข์แก่ผู้ที่ยึดถือ เช่น หากยังยึดกาย ก็ทุกข์กาย หากยึดใจ ก็ยังเป็นทุกข์ทางใจนั่นเอง

ถ้าอย่างนั้นความทุกข์ก็เป็นสิ่งที่คู่กับมนุษย์
แต่ทำไมหลายๆ คนจึงนั่งยันยืนยันว่า เขาไม่มีความทุกข์


นั่นเป็นเพราะเขาไม่รู้จักความทุกข์ ถ้าเขารู้จักความทุกข์ เขาจะเข้าใจว่าชีวิตเป็นทุกข์ ใครบ้างไม่เคย
เจ็บป่วย ใครบ้างไม่เคยผิดหวัง ใครบ้างไม่เคยรู้สึกขัดใจ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นทุกข์ หรือถ้าจะดูอาการ
ยืน เดิน นั่ง นอน ใครบ้างเดินแล้วไม่เมื่อย ใครบ้างนั่งแล้วไม่เมื่อย หรือต่อให้นอน ก็ไปดูเถอะว่า
นอนไม่กี่ชั่วโมงยังพอไหว แต่ถ้าให้นอนสักสองวัน คงไม่มีใครทนได้ การเปลี่ยนแปลงนี้ก็คือ
ความทุกข์ แม้แต่คนที่ร่ำรวยมากๆ บางคนก็อาจจะทุกข์ยิ่งกว่าคนธรรมดาด้วยซ้ำไป เพราะคนไม่
มีสตางค์จะมีความอดทนเป็นธรรมดา แต่คนมีสตางค์ มีคนคอยเอาใจอยู่ตลอด จะรู้สึกขัดใจง่าย
อะไรนิดอะไรหน่อยก็ขัดใจ หงุดหงิด รำคาญ ฟุ้งซ่าน ขัดเคือง ใจยังเร่าร้อน ยังทุรนทุราย ยังกวัด
แกว่ง และยังหนีความทุกข์ไม่พ้นเหมือนกันบางคนอาจรู้สึกว่าทุกข์กายทนได้ยากกว่าทุกข์ใจ

อันที่จริงทุกข์ทางกายยังพอทนได้ แต่ทุกข์ทางใจ เวลาเจอจังๆ มันหมดเลยนะ ต่อให้มีสมบัติร้อย
ล้านพันล้าน ก็ไม่อยากจะครองสมบัติร้อยล้านพันล้านนั้น ต่อให้เป็นพระราชามหากษัตริย์ ถ้าลอง
ผิดหวังขึ้นมาละก็ อาจจะไม่อยากอยู่ในพระราชบัลลังก์อีกต่อไป

แต่ความทุกข์ใจ แม้ว่าจะไม่ได้เข้าไปบริหารจัดการ เมื่อเวลาผ่านไปก็จางไปเอง ความทุกข์ทางกาย
เสียอีกยิ่งนานวัน อาการก็มีแต่จะแย่ลง จะทุกข์กายหรือทุกข์ใจ ถ้าปล่อยให้กาลเวลาผ่านไประยะหนึ่ง
ก็เจือจางไปได้ คนที่เจอความทุกข์ใหม่ๆ ต้องอาศัยความอดทนอดกลั้น ต้องพยายามทำใจให้สงบ
ให้ได้ก่อน ความทุกข์เป็นของทนได้ยาก แต่ถ้าฝึกฝนไว้ล่วงหน้าก็จะช่วยให้ทนได้ง่ายขึ้น แม้จะเป็น
ทุกข์ทางกาย ก็ไม่จำเป็นว่าใจจะต้องทุกข์ตามไปด้วย คนที่ไม่เคยฝึกใจ พอกายทุกข์ ใจก็ทุกข์ กลาย
เป็นทุกข์ซ้อนทุกข์


จริงอยู่ทุกข์ใจ เราดับที่ใจได้ แต่ก็มีคนมากมายที่ดับทุกข์ไม่ทัน ชิงฆ่าตัวตายไปก่อน เราจะเห็นว่า
คนที่ฆ่าตัวตายก็เพราะมีความทุกข์ทางใจกันทั้งนั้น ทั้งๆ ที่คนย่อมเห็นชีวิตของตัวเองน่ารักที่สุด
น่าหวงแหนที่สุด แต่ความทุกข์ทางใจกลับทำให้คนเรายอมสละชีวิตของตัวเองได้ ที่จริงความทุกข์
ทางใจนี่แหละที่เราต้องเข้าไปรู้จักมันให้มากๆ ทางที่ถูกควรจะตีสนิทกับความทุกข์ไปเลย ไปทำ
ความคุ้นเคยกับความทุกข์ ไปอยู่กับความทุกข์ แล้วเราจะใช้ทุกข์ดับทุกข์ได้

ไปขลุกอยู่กับความทุกข์แล้วใจจะไม่หมองเศร้ากันไปใหญ่เหรอคะ

เวลาใจอยู่กับความทุกข์ ก็จะไม่ไปอยู่กับสิ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์ เวลาคนเราเป็นทุกข์ก็ต้องมีสาเหตุ
มีสิ่งที่ทำให้ใจเป็นทุกข์ ยกตัวอย่างความทุกข์ที่เกิดจากคนรักจากเราไป เวลาคิดถึงคนรัก ใจก็เป็น
ทุกข์ใช่ไหม แต่ถ้าเรา "มองใจ"ที่มันเป็นทุกข์ "อยู่กับใจ" ที่เป็นทุกข์ "ดูใจ" ที่เป็นทุกข์ ใจก็จะไม่
คิดถึงคนรัก เมื่อไม่คิดถึง ใจก็คลายจากความทุกข์ได้เอง

ถ้าถามว่าความทุกข์ดีหรือไม่ ก็คงต้องตอบว่า ไม่ดี ใครๆ ก็ไม่อยากได้ แต่ถ้าเราสามารถเข้าไป
"มองดูรู้ทัน" ความทุกข์นั้นก็มีประโยชน์ เอาทุกข์มาดู มาเป็นมุมมองจนรู้เท่าทัน ก็ทำให้ใจเราพ้น
จากความทุกข์ได้

รูปภาพ


เราจะพ้นทุกข์โดยไม่ต้องทุกข์เลยไม่ได้เหรอคะ

ถ้าไม่ทุกข์ เราก็คงไม่คิดถึงการพ้นทุกข์ แต่เกิดมาแล้วไม่มีทุกข์เลย คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเมื่อเกิด
มา เราก็ได้ร่างกายและจิตใจมา ร่างกายและจิตใจเป็นตัวทุกข์อยู่แล้ว ถ้าเราเข้าใจว่าชีวิตคือความ
ทุกข์ ก็จะอยากหาวิธีบรรเทาทุกข์ จะว่าไปแล้วตัวทุกข์ก็เป็นแรงบันดาลใจให้เราตะเกียกตะกาย
ไปสู่การพ้นทุกข์นั่นเอง

ในอริยสัจสี่เริ่มด้วยทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การบรรลุในอริยสัจธรรม ก็คือเข้าไปรู้ เข้าไปเห็น
เข้าไปแจ้งในอริยสัจสี่ประการ ถ้าไปดูเรื่องการปฏิบัติธรรม เราจะเห็นว่า ต้องนำตัวทุกข์ซึ่งก็คือ
ตัวกายตัวใจของเรามาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา เห็นทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ มรรคเกิดขึ้นครบ
บริบูรณ์ นั่นคือหนทางแก้ทุกข์ที่ได้ผลอย่างแท้จริง

แก้ทุกข์ด้วยอริยสัจสี่

อริยสัจ 4 หมายถึงความจริงอันประเสริฐ 4 ประการได้แก่ ทุกข์ สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) นิโรธ
(ความดับทุกข์) มรรค (หนทางแห่งการดับทุกข์) เราจะดับทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อได้ทำหน้าที่อันพึงทำต่อ
อริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่


หน้าที่ต่อทุกข์ คือการกำหนดรู้ ศึกษาทำความเข้าใจความทุกข์ตามสภาพความเป็นจริง (ปริญญา)

หน้าที่ต่อสมุทัย คือ การละ วิเคราะห์วินิจฉัยมูลเหตุของปัญหา เพื่อให้สามารถแก้ไขหรือกำจัดให้
หมดสิ้นไป (ปหานะ)

หน้าที่ต่อนิโรธ คือ การทำให้แจ้ง เข้าถึงสภาวะที่ปราศจากปัญหาหรือเห็นภาพจุดหมายที่ต้องการ
เพื่อให้ตระหนักว่าการแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ (สัจฉิกิริยะกิจ)

หน้าที่ต่อมรรค คือ การเจริญ คือการฝึกอบรม และลงมือปฏิบัติตามทางแห่งการดับทุกข์หรือมรรค
มีองค์ 8 ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ (ภาวนา)


รูปภาพ
ขอขอบคุณ : นิตยสาร Secretผู้สนับสนุนเนื้อหา

.....................................................
เก็บธรรมใส่กล่อง.....เรียนรู้จากบัณฑิต.....คบหากัลยาณมิตร.....จิตอ่อนน้อมในพระธรรม


แก้ไขล่าสุดโดย กล่องธรรม เมื่อ 13 ต.ค. 2011, 08:52, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2011, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 19:55
โพสต์: 146


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ที่สุด จะหลุดได้อย่างไร ??
บทความจาก...คุณหมอจักรแก้ว กัลยาณมิตร

รูปภาพ

“อย่ากลัวว่าความทุกข์นั้นจะมีตลอดไป...อย่าคิดว่าไม่มีทางแก้ไข...หนทางที่เร็วที่สุดคือ เปลี่ยนอารมณ์...”

เมื่อเราเกิดมาย่อมได้รับทั้งสุขและทุกข์ปะปนกันไปอยู่แล้ว แต่เมื่อทุกข์ที่สุดเราควรจะทำอย่างไร ปัจจุบันเราได้ยินข่าวเรื่องการฆ่าตัวตายบ่อยมาก ในชีวิตของความเป็นหมอ ก็เจอคนที่ฆ่าตัวตายบ่อยมาก ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ หมอได้พูดได้คุยกับคนเหล่านี้มากมาย คำถามที่น่ารู้ก็คือ

การฆ่าตัวตายเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ควรกระทำหรือไม่ และเราควรจะทำอย่างไรดี

บทความนี้จะไม่สนใจว่าการกระทำอย่างนั้นจะมีผลในอนาคตอย่างไร ทำลายตนเองจะบาปมากแค่ไหน ต้องเกิดมาฆ่าตัวตายใช้กรรมอีก 500 ชาติจริงหรือ เพราะถ้าบอกไป ต้องใช้ความเชื่อและศรัทธาในตัวศาสนามาพูดคุยกัน แต่ต้องการจะบอกว่า การทำลายตนเอง เป็นสิ่งที่น่าเสียดายนัก เสียดายโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีอีกมากที่จะตามมา และเสียดายแทนญาติมิตรที่เกี่ยวข้องที่จะต้องได้รับผลกระทบกายและใจตลอดไป

ในเรื่องความทุกข์ที่สุดนี้ ธรรมะในพระพุทธศาสนาสอนให้เราแก้เรื่องนี้ได้ทันที ด้วยความเข้าใจ ด้วยความรู้ที่เราไตร่ตรองเองได้ และด้วยประสบการณ์ในอดีตของเราทุกคน ในกาลามสูตรพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่อด้วยเหตุ 10 อย่าง เช่นด้วยเหตุผลว่าผู้สอนเป็นครูของเรา และอื่นๆ รวมสิบประการ แต่จะให้เชื่อก็ต่อเมื่อไตร่ตรองรู้ได้ด้วยตนเองจึงเชื่อ การจะไตร่ตรองให้รู้ได้ด้วยตนเอง จะมีได้ก็ต่อเมื่อเรามีประสบการณ์ในเรื่องนั้นมาแล้ว ดังนั้นประสบการณ์ในอดีตจึงเป็นธรรมะที่เราตรึกตรองได้เช่นกัน

เมื่อความทุกข์ที่สุดมาถึง สิ่งที่ควรระลึกถึงมีสองสามอย่างคือ หนึ่ง อย่ากลัวว่าความทุกข์นั้นจะมีตลอดไป เพราะมันจะไม่คงอยู่ตลอดไป เดี๋ยวมันก็จางไป สอง อย่าคิดว่าไม่มีทางแก้ไขให้ดีขึ้นได้ เพราะจะมีทางแก้ไขเสมอ เพียงแต่ตอนนี้ยังนึกไม่ออกเท่านั้น สาม อย่านึกว่าต่อไปนี้เราจะไม่ได้รับสิ่งดีๆ อีก เพราะเมื่อทุกข์ผ่านไป เราจะยังมีความสุข สนุกสนาน ได้อย่างเดิมแน่นอน และสุดท้ายคือ ให้นึกถึงคนข้างหลัง ที่เขาจะต้องเศร้า ได้รับการกระทบกระเทือน จากการกระทำด้วยอารมณ์ของเรา เมื่อทุกข์ที่สุดมาถึงสิ่งที่เราต้องทำทันที ในขณะที่ยังตั้งตัวปรับใจไม่ทันก็คือ รีบหาทางเปลี่ยนอารมณ์ เมื่อเราไปเจอคนอื่นทุกข์สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือช่วยเปลี่ยนอารมณ์เขาก่อน จากนั้นสติจึงจะตามมา

ความทุกข์ที่มากสุดจะแก้ได้เร็วและง่ายที่สุด ด้วยการเปลี่ยนอารมณ์ ดึงอารมณ์ออกจากสถานการณ์นั้นก่อน อาจง่ายๆ เพียงแค่ทำอะไรที่ชอบ ฟังเพลง ดูหนัง หาของอร่อยกิน ชวนเพื่อนไปเที่ยว ชวนคุยเรื่องอื่น ลืมเรื่องทุกข์ไปชั่วคราวก่อน บางทีก็เบาบางได้เอง ที่สำคัญถ้ามีเพื่อนดี จะเบาบางไปได้มากที่สุด ที่ไม่ควรทำคือดื่มสุรา หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ควรหันไปดื่มเหล้าเบียร์ เพราะการกินเหล้าก็ดับทุกข์ได้ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่จะมีข้อเสียกว่าคือ จะยิ่งโกรธง่าย น้อยใจง่ายและโมโหง่ายกว่าเดิม และไม่มีสติยับยั้งความโกรธ หรืออารมณ์ที่รุนแรงเหล่านั้น เมื่อเปลี่ยนอารมณ์ได้ ใจจะเข็มแข็งมากพอที่จะแก้ในขั้นต่อไป

ขั้นต่อไปคือพยายามตั้งใจใช้สติคิดว่าจะแก้ได้อย่างไร อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล สายไปแค่ไหนแล้วและแก้ได้หรือไม่ ทำให้ดีขึ้นได้หรือไม่ ถ้าแก้ไม่ได้ ขั้นสุดท้ายคือ ทำให้ใจของเรายอมรับสิ่งนั้นให้ ได้ ใจของเราจะยอมรับได้ คิดได้ ปลงตกได้ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ

ท่านพุทธทาสภิกขุ สอนว่า โดยสรุปรวมในธรรมะของพระพุทธเจ้า อาจสรุปเป็นแบบหนึ่งได้ว่า “สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” นั่นเป็นเพราะในความเป็นจริง สิ่งทั้งหลายย่อมไม่ได้ดั่งใจเรา มีความไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลาด้วยเหตุและปัจจัย จึงไม่สมควรที่จะไปหลงยึดมั่นหมายว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นของของเรา สิ่งทั้งหลายไม่ได้ดั่งใจทั้งนั้น ไม่ว่าเราจะเป็นใคร รวยเพียงใด อำนาจล้นฟ้าขนาดไหน ต่างก็มีความทุกข์ประจำตัวประจำอยู่ทุกคนทั้งสิ้น

เมื่อคนคนหนึ่งประสพอุบัติเหตุขาขาดสองข้าง เขาจะรู้สึกอยากตายไม่อยากอยู่ จะรู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่มีอะไรเหลืออีกแล้ว แต่ผ่านไปสักสองปี ไปดูอีกทีกำลังหัวเราะอยู่เพราะดูละคร ส่วนเรื่องขาขาดก็นั่งรถเข็นเอา และก็ชินเสียแล้ว ไม่เสียใจมากเหมือนตอนขาขาดใหม่ๆ บางคนแฟนตายไปเสียใจแทบตายตาม ผ่านไป 3 ปี มีแฟนใหม่แล้ว มีความสุขดีมากเลย ความทุกข์จึงเป็นของไม่เที่ยงเสมอ เช่นเดียวกับความสุข เพียงแต่ว่าตอนทุกข์ ให้ผ่านวันเวลาไปได้ ไม่ด่วนตายไปเสียก่อน เมื่อทุกข์ผ่านไป จะมีสิ่งดีๆ ตามมาได้แน่นอน

และเมื่อมองย้อนไป ความทุกข์เหล่านั้นมันก็เท่านั้นเอง เมื่อเราอ่านมาถึงตอนนี้ ก็ขอให้ลองใช้เวลานี้ นึกถึงอดีตที่มีทั้งทุกข์และสุขของเราดู อดีตนั่นแหละที่จะสอนตัวเราในความจริงแห่งธรรมะ ในกาลามสูตรพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ แต่สอนว่าเมื่อเราพิจารณาได้เอง ว่านี้เป็นสิ่งดีหรือไม่ดีแก่จิตใจจึงค่อยเชื่อ การจะพิจารณาได้อย่างนั้น จะต้องมีประสบการณ์ในความรู้สึก แบบนั้นในอดีตมาก่อน อดีตจึงเป็นธรรมะที่สอนใจได้เป็นอย่างดี

ทุกข์ที่สุดจะเกิดจาก ความยึดมั่นถือมั่นที่สุด สิ่งใดที่เรารักมากยึดมากว่าเป็นตัวเราหรือของเรา สิ่งนั้นถ้าขาดหายไปจะทำให้ทุกข์ถึงที่สุด ถ้าเรารักความสวยงาม เมื่อเสียโฉมจะทุกข์ที่สุด ถ้าเรารักสามีหรือภรรยา เมื่อเขานอกใจ หรือเสียเขาไปจะทุกข์ที่สุด ถ้ารักลูก ลูกหายหรือพิการหรือตายจะทุกข์ที่สุด ถ้ารักยศถาบรรดาศักดิ์เมื่อสูญเสียจะทุกข์ที่สุด ถ้ารักตนเอง เมื่อทราบว่าตนป่วยเป็นมะเร็ง เป็นเอดส์ หรือโรคที่รักษาไม่หายก็จะทุกข์ที่สุด

แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งนั้นเลย ก็ไม่มีอะไรจะทุกข์กับสิ่งนั้น ไม่มีลูกก็ไม่ทุกข์กับลูก ไม่มีแฟนก็ไม่มีทุกข์จากแฟน ไม่มีทรัพย์สิน ก็ไม่ทุกข์กับทรัพย์สิน หรือถ้าเรามีแต่ทำใจไว้เสมือนไม่มี หรือทำใจไว้ว่าของที่มีมันไม่เที่ยงย่อมแปรปรวนไป ก็จะทุกข์น้อยลง ยิ่งยึดมั่นได้น้อยลงเท่าไรก็ทุกข์น้อยลงเท่านั้นเป็นสัดส่วนไป เมื่อไม่ยึดมั่นก็ไม่ทุกข์เลย หมายความว่าไม่มีอะไรทำให้ทุกข์ใจได้อีกเลย แต่ความเจ็บปวดยังมีตราบเท่าที่มีสังขารร่างกายอยู่ เพียงแต่ความทุกข์กายอันนั้น จะไม่สามารถมากินใจให้ทุกข์ใจได้เลย

ความทุกข์ที่เกิดขึ้น มักเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนคิดจะทำความดี เพราะธรรมชาติของเราจะหลงลืมและเพลินในสุข ซึ่งความสุขส่วนมากที่เราชอบ มักจะตั้งอยู่บนความไม่เที่ยงทั้งสิ้น พระพุทธองค์เห็นข้อนี้จึงสละทุกสิ่งออกบวชแสวงหาธรรมะ แต่อย่างเราๆ มักจะไม่คิดเรื่องนี้จนกว่าจะทุกข์ เสียก่อน เราจึงพบว่าคนจำนวนมาก ได้ประพฤติธรรมะ ได้ทำสิ่งดีๆ แก่ตนและผู้อื่นเพราะประสพกับความทุกข์มาแล้ว ดังนั้นเมื่อมีทุกข์นั่นคือเราได้อยู่ใกล้ธรรมะแล้ว ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้ก็มักจะมีสิ่งดีโอกาสดี และเราเองก็จะดำรงอยู่ในความดีมากขึ้น ความทุกข์และความสุขเป็นของคู่โลกเช่นนี้มาตลอด

เมื่อเราทุกข์หรือพบคนที่ทุกข์ อย่าลืมเปลี่ยนอารมณ์ ตั้งสติหาทางแก้ไข ใช้ความดีเอาชนะสิ่งไม่ดี ทุกข์ย่อมไม่เที่ยง ย่อมผ่านไป เป็นธรรมดา และเราก็มีโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดี ได้ปรับปรุงตนเป็นคนดีเสมอ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน พบกันฉบับหน้าครับ


ที่มา... http://www.whitemedia.org/ :b8:

.....................................................
เก็บธรรมใส่กล่อง.....เรียนรู้จากบัณฑิต.....คบหากัลยาณมิตร.....จิตอ่อนน้อมในพระธรรม


แก้ไขล่าสุดโดย กล่องธรรม เมื่อ 13 ต.ค. 2011, 09:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2011, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 19:55
โพสต์: 146


 ข้อมูลส่วนตัว


วัฏฏสงสาร

รูปภาพ

วัฏฏวน คนหลง ในสงสาร
อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
สร้างตัวตน ยึดแน่น ไร้แก่นสาน
จึงท่องใน วัฏฏจักร อันยาวนาน ๛


***************************


สังสารวัฏนี้ หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก
สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อยๆ และการเกิดบ่อยๆ นั้น
คถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมา
ก็คือ ความแก่ชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย
ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็ฯที่รัก ความต้องประสบกับสิ่ง
อันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์
ใจ ความคับแค้นใจ
อุปมาเปมือนโค ซึ่งเทียมเกวียนแล้ว จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง
สัตว์โลกเกิดมา ก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบอยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว



ขอบคุณที่มา : คุณน้ำใส กัลยาณมิตรแห่งเวบธรรมมะไทย
ขอให้เจริญด้วยปัญญาแห่งธรรมสืบไป

http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=1988

.....................................................
เก็บธรรมใส่กล่อง.....เรียนรู้จากบัณฑิต.....คบหากัลยาณมิตร.....จิตอ่อนน้อมในพระธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2011, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 19:55
โพสต์: 146


 ข้อมูลส่วนตัว


สุดยอดของความทุกข์.....ท่านพุทธทาสภิกขุ
(ถ่ายทอดโดย:ท่านธรรมะรักโข อัฏฐมะ)

รูปภาพ

แม้คนที่ปฏิบัติกิจถึงขั้นพระอรหันต์ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า"ถึงที่สุดแห่งทุกข์".....ยังไม่เรียกความ
สุขอยู่นั่นเอง

เรียกว่า....ปฏิบัติจนจิตหลุดพ้นจากความทุกข์.....ท่ านตรัสว่า"ถึงที่สุดของความทุกข์....พอถึงตรงนั้น
แล้ว ทุกข์มันก็"ดับ"ไปเลยที่สุดอยู่ตรงนั้น ไม่เรียกว่าเป็น'ความสุข' เพราะความสุขนั้นมันเป็นของปรุง
แต่ง ไม่มันคงอะไร

แฉ่บางครั้งต้องการให้ชาวบ้านเข้าใจ จึงใช้ภาษาว่า'สุข'บ้างเช่นตรัสว่า....'พระนิพพานเป็นสุขอย่าง
ยิ่ง' ก็เพื่อให้ชาวบ้านที่ติดในความสุขเข้าใจในคำว่าสุขนี้ จะได้รู้ว่านิพพานนั่นมันเป็นสุขอย่างยิ่ง

ไม่ใช่สุขอย่างธรรมดาๆที่เรามีเราเป็นอยู่สุข เพราะการได้เงินได้ข้าวของ ได้ลาภ ได้ยศ...อย่างนี้ชาว
บ้านรู้ว่าเป็นความสุข แต่นั่นมันไม่ใช่สุขชั้นยอด พระองค์ต้องการให้คนเข้าใจว่า....."พระนิพพานนั้น

เป็นสุขชั้นยอด คือความดับทุกข์ได้...พูดอย่างนั้นก็เพื่อให้เข้าใจความหมายอันเป็นความสุขอีกแบบ
หนึ่ง แต่ที่แท้ก็คือ....'ถึงที่สุดของการดับทุกข์' นั่นเอง

"ทุกข์นี้เป็นสิ่งธรรมดาที่มีอยู่แก่คนทุกคน" แต่ว่าทุกข์มันก็มี'เหตุ' ไม่มีเหตุก็เกิดขึ้นไม่ได้ พระองค์จึง
ได้สอนเรื้องเหตุของความทุกข์

ให้เราเข้าใจต่อไป แล้วก็สอนว่า...'ทุกข์นี้ เป็นเรื่องดับได้'...แล้วสอนต่อไปอีกว่า'จะดับทุกข์ได้โดยวิธี
ใด'....เท่ากับสอนให้เรารู้ว่า เรามีโรค... แล้วก็สอนให้รู้ว่า

โรคมันเกิดจากอะไร...แล้วก็สอนให้รู้ว่าโรคนี้มันรัก ษาได้...รักษาได้โดยวิธีใด...บอกไว้แจ่มแจ้งชัด
เจน...ตั้งแต่เบื้องต้น..ท่ามกลาง. .ที่สุด เป็นคำสอนที่สมบูรณ์

เพื่อความดับทุกข์ดับร้อนของชาวโลกโดยแท้......."ถ้าเรานำหลักเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวัน เราก็
จะพ้นไปได้...จากความทุกข์ความเดือดร้อนได้"


ด้วยความระลึกถึงพระอุปัชฌาย์...จากศิษย์ ธรรมะรักโข


จากคำเทศน์ของหลวงพ่อ...12 ก.ค. 2536

.....................................................
เก็บธรรมใส่กล่อง.....เรียนรู้จากบัณฑิต.....คบหากัลยาณมิตร.....จิตอ่อนน้อมในพระธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวอย่างสั้นๆ
ความทุกข์ แท้จริงแล้ว ก็คือ " ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ " แต่เป็น ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ที่ไม่ทำให้เกิด ความสบายใจ มีความเศร้าหมองในจิตใจโดยไม่รู้ตัวบ้าง เจ็บปวดร่างกายบ้าง และความรู้สึกอื่นๆอีกมากมาย เช่น อิจฉา ริษยา โดยที่ตัวเองไม่ได้คิดว่าเป็นการ อิจฉา ริษยา แต่คิดแบบเข้าข้างตัวเองว่า ทำไมไม่รวยอย่างเขา ทำไมไม่มีอย่างเขา อย่างนี้เป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 19:55
โพสต์: 146


 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
กล่าวอย่างสั้นๆ
ความทุกข์ แท้จริงแล้ว ก็คือ " ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ " แต่เป็น ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ที่ไม่ทำให้เกิด ความสบายใจ มีความเศร้าหมองในจิตใจโดยไม่รู้ตัวบ้าง เจ็บปวดร่างกายบ้าง และความรู้สึกอื่นๆอีกมากมาย เช่น อิจฉา ริษยา โดยที่ตัวเองไม่ได้คิดว่าเป็นการ อิจฉา ริษยา แต่คิดแบบเข้าข้างตัวเองว่า ทำไมไม่รวยอย่างเขา ทำไมไม่มีอย่างเขา อย่างนี้เป็นต้น


กล่าวสั้นเข้าไปอีก

ความทุกข์ คือ "การดำเนินไปของสรรพชีวิตตามวังวนแห่งวัฏสงสาร"

และสั้นสุดๆ

ความทุกข์ คือ "ชีวิต"


ยินดีที่ได้ร่วมสนทนาครับ

.....................................................
เก็บธรรมใส่กล่อง.....เรียนรู้จากบัณฑิต.....คบหากัลยาณมิตร.....จิตอ่อนน้อมในพระธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 72 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร