วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 23:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2013, 21:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b36:
สมาธิสุข เพราะสมาธิ คือความตั้งมั่นอยู่กับที่ของจิต ทำให้จิตสงบ หยุดนึก หยุดคิด หยุดกวัดแกว่งฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว จนเป็นหนึ่ง จึงทำให้จิตได้หยุดพัก และเป็นสุข ชั่วคราว จะยาวนานมากน้อยได้เพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถ ในการทรงรักษา สมาธิไว้ได้ของผู้เจริญสมาธิแต่ละคน

ด้วยเหตุนี้ผู้คนตั้งแต่ครั้งโบราณกาลก่อนที่จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เสียอีก ได้พากันขวันขวายแสวงหาความสุขจากสมาธิ ด้วยการไปบำเพ็ญพรต บวชเป็นฤาษีชีไพรอยู่ในป่า หาความสุขจากการภาวนา ทำสมาธิ อย่างที่เห็นกันอยู่มากในเมืองอินเดียและแพร่หลายไปสู่ประเทศต่างๆ

วิธีทำให้เกิดสมาธิ

๑.โดยการผูกจิตไว้กับงานหรือกิจกรรมต่างๆ ที่มีอำนาจดึงดูดใจคน เช่น ดูหนัง ฟังเพง ตกปลา เล่นเกมส์ กีฬา เล่นไพ่ การพนัน ฯลฯ

๒.โดยการสวดมนต์ บริกรรม ท่องบ่นคาถา ดังเห็นเป็นที่นิยมกันทั่วทุกศาสนา ทุกลัทธิ ทั้งหลายในโลกทั้งอดีตและปัจจุบัน

๓.โดยการทำกรรมฐาน ดังเช่น การเจริญกรรมฐาน ๔๐ อย่างที่เราได้เรียนรู้กันอยู่ เรียกว่า“สมถะภาวนา”

๔.โดยการทำวิปัสสนาภาวนา อันนี้เป็นวิชาใหม่ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาสอน ในที่นี้จะแนะนำวิธีฝึกและทำให้เกิดสมาธิตามข้อ ๒, ๓ และ ๔ เพราะข้อ ๑ ทำเป็นกันทุกคนอยู่แล้ว

การทำสมาธิโดยการสวดมนต์

ท่องมนต์ บริกรรมภาวนา ท่องบ่นคาถา โดยการสวดมนต์ ท่องมนต์ บ่นคาถาวิธีนี้คงไม่ยากและไม่ต้องแนะนำ โดยการบริกรรม วิธีนี้มีตัวอย่างอยู่มาก เช่น การบริกรรมคำว่า “พุทโธ” ตามลมหายใจเข้าออก บริกรรมคำว่า “หนอ” “สัมมาอรหัง” “โอม นมัสศิวะ” “โอม มณีปัทวะฮุม” ฯลฯ โดยการท่องบ่นคาถา วิธีนี้ เป็นวิธีลัดที่จะทำให้เกิดสมาธิได้เร็วมาก นิยมใช้กันในหมู่นักไสยศาสตร์ คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยมทั้งหลายวิธีท่องคาถาให้เกิดสมาธิ

๑.ท่องแบบต่อเนื่อง เช่นท่องคาถาปลุกพระ “นะ มะ พะ ธะ นะ มะ นุ ลุ” ท่องถี่ๆ นานๆ จนเกิดสมาธิ มีปีติ ตัวเต้น ตัวสั่น รุนแรงนี่เรียกว่าปลุกพระขึ้น

๒.ท่องคาถาเป็นคาบๆ เช่นท่องคาถา หัวใจอิติปิโส “อิ สวา สุ” “สวา สุ อิ”

“สุ อิ สวา” “อิ สวา สุ”
ท่องกลับไปกลับมาครบ ๑ รอบ เรียกว่า ๑ คาบ วิธีนี้เกิดสมาธิอย่างนิ่มนวล แต่รวดเร็วและไม่รุนแรงอย่างการปลุกพระ สมัยขุนแผนชอบใช้วิธีนี้

การทำสมาธิโดยฝึกกรรมฐาน ๔๐ อย่าง

วิธีนี้ต้องไปศึกษากรรมฐานทั้ง ๔๐ อย่างแล้วเลือกเอากรรมฐานชนิดใดชนิดหนึ่งมาเจริญ ตามอุปนิสัย จริต ความชอบและความถนัดของแต่ละบุคคล กรรมฐาน ๔๐ อย่างมี กสิณ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อสุภกรรมฐาน ๑๐ พรหมวิหาร ๔ ธาตุวัตฐาน ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๒ คงต้องแยกศึกษาต่างหากต่อไป

การทำสมาธิโดยฝึกวิปัสสนาภาวนา

วิปัสสนาภาวนา มีหลักการสำคัญคือ ต้องเจริญสติและปัญญา ให้รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ และสังเกต พิจารณาปัจจุบันอารมณ์ ผู้ฝึกหัด ปฏิบัติ ต้องเข้าใจและรู้จักความหมาย และสภาวะจริงๆของปัจจุบันอารมณ์ให้ได้ดีๆก่อน การปฏิบัติจึงจะได้ผล

ปัจจุบันอารมณ์ หมายถึงสิ่งที่รู้ขึ้นในจิต เกิดขึ้นต่อหน้า ณ เวลาปัจจุบันเดี๋ยวนี้ อย่างชัดเจน มีกำลังแรง ดึงจิตไปใส่ใจได้มากเป็นอันดับหนึ่ง

เช่นขณะที่ดูทีวี ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จิตคิดถ้ารูปชัด รูปเป็นปัจจุบัน ถ้าเสียงชัด เสียงเป็นปัจจุบัน ถ้าจิตคิดนึกชัด จิตคิดนึกเป็นปัจจุบันความชัดจะย้ายสลับไปสลับมาตลอดเวลา ปัจจุบันอารมณ์ก็จะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน

“จิต นิ่งอยู่ กับอารมณ์ เป็น สมถะภาวนา”

จิต นิ่งรู้ อารมณ์ เป็นวิปัสสนาภาวนา”

การตั้งใจหรือใส่ใจ (มนสิการ) เอาสติ เอาปัญญา มาตั้งมั่นรู้ ตั้งมั่นสังเกต พิจารณา ที่ปัจจุบันอารมณ์ (โยนิโส) เป็นวิปัสสนาภาวนา เพราะปัจจุบันอารมณ์ ไม่อยู่นิ่ง ทนตั้งอยู่ไม่ได้ (ทุกขัง) เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง) และบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจปรารถนาไม่ได้ (อนัตตา) อารมณ์ที่ปรากฏเป็นปัจจุบัน ถ้าสติ ปัญญาเข้าไปจับรู้แล้ว มีปฏิกิริยาตอบโต้ อะไรเกิดขึ้นในกายและจิตเป็นยินดี ยินร้าย ชอบใจ ไม่ชอบใจ อยาก ไม่อยาก แต่ สติ ปัญญาคอยกำกับไว้ไม่ให้ กาย ใจ กระทำตามความต้องการเหล่านั้น จนอารมณ์นั้นดับไป อุปาทานที่เคยผูกยึดอารมณ์นั้นไว้ จะจางคลายหายไป หรือหมดไปจากใจในที่สุด ดังนั้นเมื่อมีผัสสะและอารมณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง จิตจะเฉย หมดความยินดียินร้าย ไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ จิตใจจึงสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิอย่างยิ่งด้วยไม่มีสิ่งรบกวน เป็นความนิ่งสงบเพราะหมดงานที่จะต้องทำ จึงเบาสบายและเป็นสุขยิ่งกว่าสมาธิที่ได้จากการผูกมัดจิตกับอารมณ์กรรมฐาน หรือสมถะภาวนา

การทำสมาธิ คือการเอาชนะกิเลสนิวรณ์ทั้ง ๕ ด้วยการ หลบ กลบ บัง ทับ ข่มนิวรณ์ธรรมไว้ด้วยอำนาจของสติ กรรมฐานและเหตุผล

การทำวิปัสสนาภาวนา เป็นการขุดถอนนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ออกจากจิตไปด้วยอำนาจของสติและปัญญา
สมถะภาวนา จะทำให้เกิดสมาธิและจิตสงบแบบชั่วคราว

วิปัสสนาภาวนา จะทำให้เกิดสมาธิและจิตสงบแบบถาวร เพราะถ้าใครเจริญวิปัสสนาภาวนาไปจนถึง อนาคามีมรรค และอรหัตมรรค เขาจะได้รับผลเป็นผู้มีสมาธิถาวร ทรงสมาธิ ปราศจากนิวรณ์อยู่ตลอดเวลา เป็นปกติวิสัย
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 00:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 20:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




budsta3b.jpg
budsta3b.jpg [ 26.74 KiB | เปิดดู 5186 ครั้ง ]
:b8:
สมาธิ หมายถึงความตั้งมั่นของจิต
อยู่กับกรรมฐาน งาน หรืออารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งทำให้เกิดความสงบ
อันเป็นสุขอย่างยิ่ง


คู่ปรับของสมาธิ คือนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕
๑.กามฉันทะ ความยินดี พอใจในสัมผัส
๒.พยาบาท ความยินร้าย ไม่พอใจในสัมผัส
๓.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน กุกุจจะ ความ
หงุดหงิด งุ่นง่าน ลำคาญใจ
๔.ถีนะ ความเกียจคร้าน หดหู่ ห่อเหี่ยว มิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน
๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย รู้ไม่จริง
สมาธิ เกิดได้โดย สมถะ และวิปัสสนาภาวนา

onion onion
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 03:39
โพสต์: 55

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Thank you very much. Keeping this article. Listening to his disciple (Ajaan Geoffrey) 's Dhamma talk everyday on my IPod. Reading from the teacher is like a breath of fresh air.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2013, 12:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
การตั้งใจหรือใส่ใจ (มนสิการ) เอาสติ เอาปัญญา มาตั้งมั่นรู้ ตั้งมั่นสังเกต พิจารณา ที่ปัจจุบันอารมณ์ (โยนิโส) เป็นวิปัสสนาภาวนา เพราะปัจจุบันอารมณ์ ไม่อยู่นิ่ง ทนตั้งอยู่ไม่ได้ (ทุกขัง) เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง) และบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจปรารถนาไม่ได้ (อนัตตา) อารมณ์ที่ปรากฏเป็นปัจจุบัน ถ้าสติ ปัญญาเข้าไปจับรู้แล้ว มีปฏิกิริยาตอบโต้ อะไรเกิดขึ้นในกายและจิตเป็นยินดี ยินร้าย ชอบใจ ไม่ชอบใจ อยาก ไม่อยาก แต่ สติ ปัญญาคอยกำกับไว้ไม่ให้ กาย ใจ กระทำตามความต้องการเหล่านั้น จนอารมณ์นั้นดับไป อุปาทานที่เคยผูกยึดอารมณ์นั้นไว้ จะจางคลายหายไป หรือหมดไปจากใจในที่สุด ดังนั้นเมื่อมีผัสสะและอารมณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง จิตจะเฉย หมดความยินดียินร้าย ไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ จิตใจจึงสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิอย่างยิ่งด้วยไม่มีสิ่งรบกวน เป็นความนิ่งสงบเพราะหมดงานที่จะต้องทำ จึงเบาสบายและเป็นสุขยิ่งกว่าสมาธิที่ได้จากการผูกมัดจิตกับอารมณ์กรรมฐาน หรือสมถะภาวนา


มันสงบเพราะกำลังสมาธิ.....นะครับ...
พอผัสสะใหม่อีกที...คนที่ชำนาญ...จิตเข้าไปสงบได้เร็ว...จึงมักจะคิดว่า..ตนตัดกิเลสได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2013, 18:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:
การตั้งใจหรือใส่ใจ (มนสิการ) เอาสติ เอาปัญญา มาตั้งมั่นรู้ ตั้งมั่นสังเกต พิจารณา ที่ปัจจุบันอารมณ์ (โยนิโส) เป็นวิปัสสนาภาวนา เพราะปัจจุบันอารมณ์ ไม่อยู่นิ่ง ทนตั้งอยู่ไม่ได้ (ทุกขัง) เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง) และบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจปรารถนาไม่ได้ (อนัตตา) อารมณ์ที่ปรากฏเป็นปัจจุบัน ถ้าสติ ปัญญาเข้าไปจับรู้แล้ว มีปฏิกิริยาตอบโต้ อะไรเกิดขึ้นในกายและจิตเป็นยินดี ยินร้าย ชอบใจ ไม่ชอบใจ อยาก ไม่อยาก แต่ สติ ปัญญาคอยกำกับไว้ไม่ให้ กาย ใจ กระทำตามความต้องการเหล่านั้น จนอารมณ์นั้นดับไป อุปาทานที่เคยผูกยึดอารมณ์นั้นไว้ จะจางคลายหายไป หรือหมดไปจากใจในที่สุด ดังนั้นเมื่อมีผัสสะและอารมณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง จิตจะเฉย หมดความยินดียินร้าย ไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ จิตใจจึงสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิอย่างยิ่งด้วยไม่มีสิ่งรบกวน เป็นความนิ่งสงบเพราะหมดงานที่จะต้องทำ จึงเบาสบายและเป็นสุขยิ่งกว่าสมาธิที่ได้จากการผูกมัดจิตกับอารมณ์กรรมฐาน หรือสมถะภาวนา


มันสงบเพราะกำลังสมาธิ.....นะครับ...
พอผัสสะใหม่อีกที...คนที่ชำนาญ...จิตเข้าไปสงบได้เร็ว...จึงมักจะคิดว่า..ตนตัดกิเลสได้

:b8:
ต่างกันมากครับคุณกบ มันมิใช่สงบด้วยกำลังสมาธิแต่เพียงอย่างเดียว มันสงบด้วยความที่งานที่ต้องทำมันหมดไป น้อยไป เบาบางไป ภาระที่ต้องแบกหาม หนี้วิบากกรรมมันถูกชดใช้จนเหลือน้อย........ไม่ต้องกำหนด กก ข่ม อารมณ์อันใด อาจเรียกว่ากิเลส ตัณหามันเบาบางไปก็ได้ครับ เมื่อได้ที่แล้วเขาจะไปถึงจุดที่สามารถหยุดความคิดนึกปรุงแต่งได้ชั่วคราวที่เรียกว่า "สังขารุเปกขาญาณ"ซึ่งจะเป็นความสงบระดับเดียวกับฌาณ 4 เป็นสมาธิสุขอย่างยิ่งจนบางท่านเรียกว่า"นิพพานชิมลอง หรือ นิพพานหลอก"
:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2013, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:
การตั้งใจหรือใส่ใจ (มนสิการ) เอาสติ เอาปัญญา มาตั้งมั่นรู้ ตั้งมั่นสังเกต พิจารณา ที่ปัจจุบันอารมณ์ (โยนิโส) เป็นวิปัสสนาภาวนา เพราะปัจจุบันอารมณ์ ไม่อยู่นิ่ง ทนตั้งอยู่ไม่ได้ (ทุกขัง) เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง) และบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจปรารถนาไม่ได้ (อนัตตา) อารมณ์ที่ปรากฏเป็นปัจจุบัน ถ้าสติ ปัญญาเข้าไปจับรู้แล้ว มีปฏิกิริยาตอบโต้ อะไรเกิดขึ้นในกายและจิตเป็นยินดี ยินร้าย ชอบใจ ไม่ชอบใจ อยาก ไม่อยาก แต่ สติ ปัญญาคอยกำกับไว้ไม่ให้ กาย ใจ กระทำตามความต้องการเหล่านั้น จนอารมณ์นั้นดับไป อุปาทานที่เคยผูกยึดอารมณ์นั้นไว้ จะจางคลายหายไป หรือหมดไปจากใจในที่สุด ดังนั้นเมื่อมีผัสสะและอารมณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง จิตจะเฉย หมดความยินดียินร้าย ไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ จิตใจจึงสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิอย่างยิ่งด้วยไม่มีสิ่งรบกวน เป็นความนิ่งสงบเพราะหมดงานที่จะต้องทำ จึงเบาสบายและเป็นสุขยิ่งกว่าสมาธิที่ได้จากการผูกมัดจิตกับอารมณ์กรรมฐาน หรือสมถะภาวนา


มันสงบเพราะกำลังสมาธิ.....นะครับ...
พอผัสสะใหม่อีกที...คนที่ชำนาญ...จิตเข้าไปสงบได้เร็ว...จึงมักจะคิดว่า..ตนตัดกิเลสได้

:b8:

ต่างกันมากครับคุณกบ มันมิใช่สงบด้วยกำลังสมาธิแต่เพียงอย่างเดียว มันสงบด้วยความที่งานที่ต้องทำมันหมดไป น้อยไป เบาบางไป ภาระที่ต้องแบกหาม หนี้วิบากกรรมมันถูกชดใช้จนเหลือน้อย........ไม่ต้องกำหนด กก ข่ม อารมณ์อันใด อาจเรียกว่ากิเลส ตัณหามันเบาบางไปก็ได้ครับ เมื่อได้ที่แล้วเขาจะไปถึงจุดที่สามารถหยุดความคิดนึกปรุงแต่งได้ชั่วคราวที่เรียกว่า "สังขารุเปกขาญาณ"ซึ่งจะเป็นความสงบระดับเดียวกับฌาณ 4 เป็นสมาธิสุขอย่างยิ่งจนบางท่านเรียกว่า"นิพพานชิมลอง หรือ นิพพานหลอก"




อ้างคำพูด:
มันมิใช่สงบด้วยกำลังสมาธิแต่เพียงอย่างเดียว มันสงบด้วยความที่งานที่ต้องทำมันหมดไป น้อยไป เบาบางไป ภาระที่ต้องแบกหาม


ขอชัดๆครับ

งานที่พูดนี้ งานอะไรครับ :b10:

"ภาระที่ยังต้องแบกต้องหาม" ภาระที่ว่านี้ หมายถึงอะไรครับ :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2013, 22:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ต่างกันมากครับคุณกบ มันมิใช่สงบด้วยกำลังสมาธิแต่เพียงอย่างเดียว มันสงบด้วยความที่งานที่ต้องทำมันหมดไป น้อยไป เบาบางไป ภาระที่ต้องแบกหาม หนี้วิบากกรรมมันถูกชดใช้จนเหลือน้อย........ไม่ต้องกำหนด กก ข่ม อารมณ์อันใด อาจเรียกว่ากิเลส ตัณหามันเบาบางไปก็ได้ครับ เมื่อได้ที่แล้วเขาจะไปถึงจุดที่สามารถหยุดความคิดนึกปรุงแต่งได้ชั่วคราวที่เรียกว่า "สังขารุเปกขาญาณ"ซึ่งจะเป็นความสงบระดับเดียวกับฌาณ 4 เป็นสมาธิสุขอย่างยิ่งจนบางท่านเรียกว่า"นิพพานชิมลอง หรือ นิพพานหลอก"
:b37:

ที่พูดเช่นนั้นเพราะ..อโสกะแสดงการโยนิโสที่ไม่ใช่การโยนิโส
ดูอีกทีนะครับ..
asoka เขียน:
การตั้งใจหรือใส่ใจ (มนสิการ) เอาสติ เอาปัญญา มาตั้งมั่นรู้ ตั้งมั่นสังเกต พิจารณา ที่ปัจจุบันอารมณ์ (โยนิโส) เป็นวิปัสสนาภาวนา เพราะปัจจุบันอารมณ์ ไม่อยู่นิ่ง ทนตั้งอยู่ไม่ได้ (ทุกขัง) เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง) และบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจปรารถนาไม่ได้ (อนัตตา) อารมณ์ที่ปรากฏเป็นปัจจุบัน ถ้าสติ ปัญญาเข้าไปจับรู้แล้ว มีปฏิกิริยาตอบโต้ อะไรเกิดขึ้นในกายและจิตเป็นยินดี ยินร้าย ชอบใจ ไม่ชอบใจ อยาก ไม่อยาก แต่ สติ ปัญญาคอยกำกับไว้ไม่ให้ กาย ใจ กระทำตามความต้องการเหล่านั้น จนอารมณ์นั้นดับไป อุปาทานที่เคยผูกยึดอารมณ์นั้นไว้ จะจางคลายหายไป
หรือหมดไปจากใจในที่สุด ดังนั้นเมื่อมีผัสสะและ อารมณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง จิตจะหมดความยินดียินร้าย ไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ
จิตใจจึงสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิอย่างยิ่งด้วยไม่มีสิ่งรบกวน เป็นความนิ่งสงบเพราะหมดงานที่จะต้องทำ จึงเบาสบายและเป็นสุขยิ่งกว่าสมาธิที่ได้จากการผูกมัดจิตกับอารมณ์กรรมฐาน หรือสมถะภาวนา


ทุกศาสนา....ใครๆก็รู้ว่า...เกิดมาก็ตาย..ไม่ได้อยู่ในอำนาจของมนุษย์....ทั้งนั้น...แต่ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากวัฏสงสารไปได้...ต่างจากพุทธเรา...

อโสกะลองตรวจดูการโยนิโสอีกทีนะครับ...
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2013, 03:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
มันสงบเพราะกำลังสมาธิ.....นะครับ...
พอผัสสะใหม่อีกที...คนที่ชำนาญ...จิตเข้าไปสงบได้เร็ว...จึงมักจะคิดว่า..ตนตัดกิเลสได้

:b8:
ต่างกันมากครับคุณกบ มันมิใช่สงบด้วยกำลังสมาธิแต่เพียงอย่างเดียว มันสงบด้วยความที่งานที่ต้องทำมันหมดไป น้อยไป เบาบางไป ภาระที่ต้องแบกหาม หนี้วิบากกรรมมันถูกชดใช้จนเหลือน้อย........ไม่ต้องกำหนด กก ข่ม อารมณ์อันใด อาจเรียกว่ากิเลส ตัณหามันเบาบางไปก็ได้ครับ เมื่อได้ที่แล้วเขาจะไปถึงจุดที่สามารถหยุดความคิดนึกปรุงแต่งได้ชั่วคราวที่เรียกว่า "สังขารุเปกขาญาณ"ซึ่งจะเป็นความสงบระดับเดียวกับฌาณ 4 เป็นสมาธิสุขอย่างยิ่งจนบางท่านเรียกว่า"นิพพานชิมลอง หรือ นิพพานหลอก"
:b37:

คุณโสกะไปกันใหญ่แล้ว ปรุงแต่งธรรมซะเละ เอาคำศัพท์มาพูดโดยขาดความเข้าใจในความหมาย
ขาดเหตุปัจจัย ที่มาที่ไปของคำศัพท์นั้นๆ

พูดมาได้ไงว่า "ความสงบด้วยกำลังสมาธิ" จะบอกให้ครับ........
จิตที่เป็นสมาธิ เขาเรียกว่า "ความสงบ" สมาธิกับความสงบมีความหมายเดียวกัน

ตัวที่เป็นศัตรูกับสมาธิหรือความสงบ เขาเรียก นิวรณ์
สิ่งที่สามารถมากดข่มนิวรณ์เขาเรียก.....สติ

ดังนั้นสติจึงเป็นกำลังทำให้เกิดความสงบหรือเป็นสมาธิ


นิวรณ์เป็นกิเลสที่ทำให้จิต ขาดสมาธิในงาน งานที่ว่าก็คือการตัดกิเลสสังโยชน์
จิตจะทำการตัดกิเลสสังโยชน์ได้นั้น จิตจะต้องปราศจากนิวรณ์มีความสงบ
เมื่อจิตเกิดความสงบเป็นสมาธิ จิตจึงจะเดินวิปัสสนาได้

สติที่ใช่กดข่มนิวรณ์...เรียกว่า ใช่สติปัฏฐานในส่วนของ สมถะกรรมฐาน
เมื่อจิตสงบเกิดสมาธิแล้ว จึงใช้สติเพื่อกรรมฐานต่อ เรียกกรรมฐานนี่ว่า วิปัสสนากรรมฐาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2013, 04:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
การตั้งใจหรือใส่ใจ (มนสิการ) เอาสติ เอาปัญญา มาตั้งมั่นรู้ ตั้งมั่นสังเกต พิจารณา ที่ปัจจุบันอารมณ์ (โยนิโส) เป็นวิปัสสนาภาวนา เพราะปัจจุบันอารมณ์ ไม่อยู่นิ่ง ทนตั้งอยู่ไม่ได้ (ทุกขัง) เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง) และบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจปรารถนาไม่ได้ (อนัตตา) อารมณ์ที่ปรากฏเป็นปัจจุบัน ถ้าสติ ปัญญาเข้าไปจับรู้แล้ว มีปฏิกิริยาตอบโต้ อะไรเกิดขึ้นในกายและจิตเป็นยินดี ยินร้าย ชอบใจ ไม่ชอบใจ อยาก ไม่อยาก แต่ สติ ปัญญาคอยกำกับไว้ไม่ให้ กาย ใจ กระทำตามความต้องการเหล่านั้น จนอารมณ์นั้นดับไป อุปาทานที่เคยผูกยึดอารมณ์นั้นไว้ จะจางคลายหายไป หรือหมดไปจากใจในที่สุด ดังนั้นเมื่อมีผัสสะและอารมณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง จิตจะเฉย หมดความยินดียินร้าย ไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ จิตใจจึงสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิอย่างยิ่งด้วยไม่มีสิ่งรบกวน เป็นความนิ่งสงบเพราะหมดงานที่จะต้องทำ จึงเบาสบายและเป็นสุขยิ่งกว่าสมาธิที่ได้จากการผูกมัดจิตกับอารมณ์กรรมฐาน หรือสมถะภาวนา


มันไม่ใช่เอาสติปัญญามาตั้งมั่นอยู่ การจะให้จิตตั้งมั่นรู้ต้องอาศัย.....ความเพียร(วิริยะ)

แล้วอีกอย่าง ปัญญาไม่ใช่บัญญัติ ปัญญาเป็นสภาวะที่จะต้องู้แจ้งด้วยตัวเอง

ปัญญาไม่ใช่ไปจำตัวหนังสือหรือคำศัพท์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
บัญญัติ๓ตัวนี้ ไม่ใช่ปัญญา

ปัญญาที่แท้คือการรู้แจ้งในอนิจจัง รู้แจ้งทุกขัง รู้แจ้งอนัตตา
การรู้เหตุปัจจัย หรือการรู้เหตุที่มาของบัญญัติ๓ตัวนี้
จึงจะรู้ด้วยปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 16:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




105 - Copy.JPG
105 - Copy.JPG [ 57 KiB | เปิดดู 5034 ครั้ง ]
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:
การตั้งใจหรือใส่ใจ (มนสิการ) เอาสติ เอาปัญญา มาตั้งมั่นรู้ ตั้งมั่นสังเกต พิจารณา ที่ปัจจุบันอารมณ์ (โยนิโส) เป็นวิปัสสนาภาวนา เพราะปัจจุบันอารมณ์ ไม่อยู่นิ่ง ทนตั้งอยู่ไม่ได้ (ทุกขัง) เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง) และบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจปรารถนาไม่ได้ (อนัตตา) อารมณ์ที่ปรากฏเป็นปัจจุบัน ถ้าสติ ปัญญาเข้าไปจับรู้แล้ว มีปฏิกิริยาตอบโต้ อะไรเกิดขึ้นในกายและจิตเป็นยินดี ยินร้าย ชอบใจ ไม่ชอบใจ อยาก ไม่อยาก แต่ สติ ปัญญาคอยกำกับไว้ไม่ให้ กาย ใจ กระทำตามความต้องการเหล่านั้น จนอารมณ์นั้นดับไป อุปาทานที่เคยผูกยึดอารมณ์นั้นไว้ จะจางคลายหายไป หรือหมดไปจากใจในที่สุด ดังนั้นเมื่อมีผัสสะและอารมณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง จิตจะเฉย หมดความยินดียินร้าย ไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ จิตใจจึงสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิอย่างยิ่งด้วยไม่มีสิ่งรบกวน เป็นความนิ่งสงบเพราะหมดงานที่จะต้องทำ จึงเบาสบายและเป็นสุขยิ่งกว่าสมาธิที่ได้จากการผูกมัดจิตกับอารมณ์กรรมฐาน หรือสมถะภาวนา


มันสงบเพราะกำลังสมาธิ.....นะครับ...
พอผัสสะใหม่อีกที...คนที่ชำนาญ...จิตเข้าไปสงบได้เร็ว...จึงมักจะคิดว่า..ตนตัดกิเลสได้

:b8:

ต่างกันมากครับคุณกบ มันมิใช่สงบด้วยกำลังสมาธิแต่เพียงอย่างเดียว มันสงบด้วยความที่งานที่ต้องทำมันหมดไป น้อยไป เบาบางไป ภาระที่ต้องแบกหาม หนี้วิบากกรรมมันถูกชดใช้จนเหลือน้อย........ไม่ต้องกำหนด กก ข่ม อารมณ์อันใด อาจเรียกว่ากิเลส ตัณหามันเบาบางไปก็ได้ครับ เมื่อได้ที่แล้วเขาจะไปถึงจุดที่สามารถหยุดความคิดนึกปรุงแต่งได้ชั่วคราวที่เรียกว่า "สังขารุเปกขาญาณ"ซึ่งจะเป็นความสงบระดับเดียวกับฌาณ 4 เป็นสมาธิสุขอย่างยิ่งจนบางท่านเรียกว่า"นิพพานชิมลอง หรือ นิพพานหลอก"




อ้างคำพูด:
มันมิใช่สงบด้วยกำลังสมาธิแต่เพียงอย่างเดียว มันสงบด้วยความที่งานที่ต้องทำมันหมดไป น้อยไป เบาบางไป ภาระที่ต้องแบกหาม


ขอชัดๆครับ

งานที่พูดนี้ งานอะไรครับ :b10:

"ภาระที่ยังต้องแบกต้องหาม" ภาระที่ว่านี้ หมายถึงอะไรครับ :b10:

:b16: :b16:
ตอบท่านกรัชกาย แฉลบไปถึงคุณกบด้วยครับ
:b12: :b12: :b12:
งานของจิต ระยะเริ่มต้น คือ....นิวรณ์ธรรมทั้ง 5

ระยะกลาง คือ อุปาทานต่างๆ ที่ผูกยึดไว้ในจิต ซึ่งมาแสดงออกในรูปของเวทนา และความฟุ้งคิดนึก เป็นตัวแทนของเจ้ากรรมนายเวร คือวิบากของกุศลและอกุศลต่างที่เคยทำไว้ในอดีต

ระยะปลาย คือ อัตตา มานะทิฏฐิ อวิชชา

ถ้าหมดงานเหล่านี้ไปตามลำดับ ความสงบสุขของจิตก็จะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

งานทั้งหมดนี้ถือเป็น ภาระด้วย ภาระอันสุดท้ายที่ต้องวาง คือขันธ์ 5

งานและภาระทั้งหมดนี้เปรียบเหมือนขยะใจ เอาออกทิ้งได้ด้วยวิปัสสนาภาวนา ตามหลักง่ายๆที่กล่าวสรุปไว้ข้างต้นว่า


อารมณ์ที่ปรากฏเป็นปัจจุบัน ถ้าสติ ปัญญาเข้าไปจับรู้แล้ว มีปฏิกิริยาตอบโต้ อะไรเกิดขึ้นในกายและจิตเป็นยินดี ยินร้าย ชอบใจ ไม่ชอบใจ อยาก ไม่อยาก แต่ สติ ปัญญาคอยกำกับไว้ไม่ให้ กาย ใจ กระทำตามความต้องการเหล่านั้น จนอารมณ์นั้นดับไป อุปาทานที่เคยผูกยึดอารมณ์นั้นไว้ จะจางคลายหายไป หรือหมดไปจากใจในที่สุด ดังนั้นเมื่อมีผัสสะและอารมณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง จิตจะเฉย หมดความยินดียินร้าย ไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ จิตใจจึงสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิอย่างยิ่งด้วยไม่มีสิ่งรบกวน เป็นความนิ่งสงบเพราะหมดงานที่จะต้องทำ จึงเบาสบายและเป็นสุขยิ่ง
:b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 16:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_20130419_181203_resize_resize_resize.jpg
IMG_20130419_181203_resize_resize_resize.jpg [ 81.41 KiB | เปิดดู 5032 ครั้ง ]
s005
โฮฮับ
อ้างคำพูด:
มันไม่ใช่เอาสติปัญญามาตั้งมั่นอยู่ การจะให้จิตตั้งมั่นรู้ต้องอาศัย.....ความเพียร(วิริยะ)

แล้วอีกอย่าง ปัญญาไม่ใช่บัญญัติ ปัญญาเป็นสภาวะที่จะต้องู้แจ้งด้วยตัวเอง

ปัญญาไม่ใช่ไปจำตัวหนังสือหรือคำศัพท์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
บัญญัติ๓ตัวนี้ ไม่ใช่ปัญญา

ปัญญาที่แท้คือการรู้แจ้งในอนิจจัง รู้แจ้งทุกขัง รู้แจ้งอนัตตา
การรู้เหตุปัจจัย หรือการรู้เหตุที่มาของบัญญัติ๓ตัวนี้
จึงจะรู้ด้วยปัญญา

Onion_L
สำหรับคุณโฮฮับ ชักจะออกนอกทางไปเรื่อยๆแล้วนะครับ

รู้จักปัญญา 3 ไหมครับ?

สุตตมยปัญญา เป็นบัญญัติล้วนๆ

จินตมยปัญญา เป็นบัญญั้ติผสมปรมัติ

ภาวนามยปัญญา เป็นปรมัตถ์ล้วนๆ

ปัญญาทั้ง 3 นี่เขาหนุนกันขึ้นมาตามลำดับโดยธรรม ไม่มีผุดเป็นภาวนามยปัญญาขึ้นมาโดยโดดๆ ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยนะครับ


แม้แต่การเจริญสติปัญญามาทำงานภาวนา คุณโฮฮับยังไม่เข้าใจ พยายามแต่จะเอาบัญญัติที่จดจำมามาอธิบายปรมัตถธรรม มันจึงดู ไขว้เขว วกวน สับสนและฟั่นเฟือน

นี่แหละที่เขาเรียกว่า "รู้มาก ยากนาน" ครับ
:b16: :b16:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2013, 10:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




ปัญญา สติ สมาธิ_resize_resize.jpg
ปัญญา สติ สมาธิ_resize_resize.jpg [ 43.75 KiB | เปิดดู 4939 ครั้ง ]
:b38:
สติ + สมาธิ ....กับ....ปัญญานี่เขาทำงานร่วมกัน เป็นคู่กันอยู่ตลอดเวลาอุปมาเหมือนวัวเทียมเกวียน

สติ+สมาธิเป็นวัวตัวซ้าย

ปัญญาเป็นวัวตัวขวา

จิต เป็นผู้ขับเกวียน

ถ้าเน้นสติ+สมาธิมาก เหมือนเร่งแต่วัวตัวซ้าย ถ้าวัวตัวขวาตามไม่ทัน เกวียนก็จะหมุนไปตกข้างทางด้านขวา

ในทำนองกลับกัน ถ้าเน้นปัญญามาก สติ+สมาธิตามไม่ทัน ก็เหมือนเร่งวัวตัวขวาจนวัวตัวซ้ายตามไม่ทัน ผลก็ทำให้เกวียนหมุนไปทางซ้าย เกวียนเลยวิ่งไม่ตรงทาง

ถ้าจะบังคับวัวให้ลากเกวียนขันธ์ 5 นี้ไปบนเส้นทางสายกลางคือมรรคมีองค์ 8 ต้องฉลาดในการบังคับวัวที่เทียมเกวียน ให้เหมาะสมกับสภาพของทาง

รู้จักดึงและเร่งวัว ตัวขวาและซ้ายให้เลี้ยว ซ้าย ขวา หรือเดินตรง ให้พอเหมาะพอดี ได้สัดส่วน สมดุลย์ จึงจะพาเกวียนไปได้ตลอดรอดฝั่ง

จึงขอให้เน้นทั้ง สติ+สมาธิ และ ปัญญาไปพร้อมๆกัน เด้อ บอกบอกต่อกันไปด้วยเน้อ

onion onion onion
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร