วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 08:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจากหัวข้อนี้ => http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47863


คนไทยอธิษฐานเพื่อจะได้ - พระให้อธิษฐานเพื่อจะทำ


ย้อนกลับมาที่เรื่องอ้อนวอน กับ อธิษฐาน อีกครั้ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การอธิษฐานจิตนั้น เป็นการตั้งเป้าให้กับจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่การอธิษฐานนี้ต่างจากการอ้อนวอน คือเพียงแต่จับเอาตัวเนื้อแท้ที่เป็นสาระในการอ้อนวอนนั้นมาใช้ ไม่ใช่อยู่กับสิ่งที่เลื่อนลอย


การอ้อนวอน อยู่กับสิ่งที่เลื่อนลอยฝันเพ้อไป มีความเชื่อและโมหะเป็นฐาน แต่อธิษฐานโยงกับความจริง มุ่งไปหาสิ่งที่มองเห็นด้วยปัญญา


การ อ้อนวอนเป็นการขอให้เทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำให้ โดยตัวเองไม่ต้องทำ มุ่งไปที่การจะได้จะเอา ไม่โยงไปสู่การกระทำของตนเอง แต่อธิษฐาน มุ่งไปยังสิ่งที่จะทำ และนำไปสู่การกระทำ


สืบเนื่องจากข้อก่อน นั้น การอ้อนวอนก็คือต้องรอให้เขาทำให้ จึงนำไปสู่การงอเมืองอเท้า เกียจคร้าน และอ่อนแอ แต่อธิษฐานนำไปสู่ความเพียรพยายาม และความเข้มแข้ง

นอกจากนั้น การอ้อนวอนไม่โยงไปหาการพัฒนาตนเอง ไม่เกี่ยวกับการพัฒนาตน เพราะไปฝากความหวังไว้กับสิ่งภายนอก ให้ปัจจัยภายนอก เช่น เทพเจ้ามาช่วย แต่การอธิษฐานเป็นการพัฒนาตนเอง เพื่อจุดหมายที่ตนมองเห็นและตัดสินใจด้วยปัญญา เป็นการที่ทำให้เราก้าวหน้าต่อไปในการพัฒนาแห่งสิกขา ดังนั้น จึงต่างกันอย่างตรงข้าม


พูดสั้นๆว่า นักปรารถนานักอ้อนวอน เชื่อการบันดาล แต่ผู้อธิษฐาน เชื่อการกระทำ


แม้แต่พระโพธิสัตว์ก็มีอธิษฐานเป็นบารมีข้อหนึ่งใน ๑๐ เรียกว่า อธิษฐานบารมี ทั้งทีโดยทั่วไป พระโพธิสัตว์ก็ต้องมีปณิธานอยู่แล้ว คือ เวลาจะทำความดีอะไรอย่างหนึ่ง ก็มีปณิธานว่าจะต้องมุ่งมั่นทำอย่างแน่วแน่ และด้วยปณิธานนั้น ก็ทำให้พระองค์กระทำการได้สำเร็จ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างที่ได้บอกแล้วว่า มนุษย์เราทุกคนไม่สามารถทำความดี และทำจุดหมายทุกอย่างให้สำเร็จได้ทั้งหมดคราวเดียว อย่าว่าแต่เราเลย พระโพธิสัตว์ก็ทำไม่ได้


ความดีต่างๆ นั้นมีมากมายเหลือเกิน เราก็ต้องเลือกทำ และถ้าเราทำไปเรื่อยๆ เปื่อยๆ ก็จับจด แล้วก็ไม่ได้ผลเป็นชิ้นเป็นอัน


ฉะนั้น ในการทำความดี ถ้าเราเอาพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง ก็ต้องดูว่า พระองค์เมื่อก่อนที่จะตรัสรู้ คือยังเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ก็ใช้ปณิธานคือตั้งจิตมุ่งมั่นที่จะทำการนั้นๆ ให้สำเร็จ และในการตั้งปณิธานนั้น การอธิษฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก


อธิษฐานจิต คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่น ปักแน่วลงไปที่จุดเริ่มต้นว่า จะต้องทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ จะต้องทำความดีงามนี้ให้สำเร็จ แล้วอันนี้จะเป็นทางแห่งความสำเร็จที่แท้จริง เพราะจะเป็นแรงหรือพลังส่งที่รวมจิตเข้าไปอย่างที่ได้กล่าวแล้ว


ใน ราตรีแห่งวันที่จะตรัสรู้ เมื่อพระโพธิสัตว์ลงประทับนั่งใต้ร่มมหาโพธิ ก็ได้อธิษฐานใจว่า
ถ้าไม่บรรลุโพธิญาณ จะไม่ลุกขึ้น แม้ว่าเลือดเนื้อจะแห้งเหือดไป

(องฺ.ทุก.20/251)


อัน นี้เป็นเรื่องที่พูดแทรกเข้ามา เพื่อจะให้ผู้ศึกษาได้ประโยชน์จากเรื่องของการอธิษฐาน คืออย่าให้เลยไปเป็นการอ้อนวอน เพราะการอ้อนวอนนั้นเป็นการฝากความหวัง และฝากชีวิตไว้กับปัจจัยภายนอก แล้วก็นำไปสู่ความลุ่มหลง การไม่พัฒนาตน ความเป็นอยู่อย่างเลื่อนลอย และการกล่อมใจตัวไปวันๆ ทำให้งอมืองอเท้า ถ้าเป็นสังคมต่อไปก็เสื่อม


เวลานี้ คนไทยทั่วไปก็เข้าใจเคลื่อนคลาดผิดพลาดไปในความหมายของ "อธิษฐาน" มักนึกถึงอธิษฐานนั้น ในความหมายที่เป็นการอ้อนวอนปรารถนา เรื่องก็เลยกลายเป็นว่า อธิษฐานของคนไทย กับ อธิษฐานของพระ ไม่เหมือนกัน


พูดง่ายๆว่า คนไทยอธิษฐานเพื่อจะได้ แต่พระสอนให้อธิษฐานเพื่อจะทำ


คน ไทยอย่าถอยกลับไปเป็นเหมือนอย่างในศาสนาพราหมณ์ก่อนพระพุทธเจ้าอุบัติ ที่มนุษย์ฝากความหวังในความสำเร็จไว้กับการเซ่นสรวงอ้อนวอน เอาชีวิตไปฝากไว้กับการดลบันดาลของเทพเจ้า ทำให้เกินผลเสียทั้งแก่ชีวิตและสังคม เช่น


๑. คนทั้งหลายต่างก็มัวรอคอยผลจากการดลบันดาลขออำนาจเร้นลับภายนอก ตกอยู่ในความประมาท และไม่พัฒนาตัวเอง


๒.ใน ทางสังคม เมื่อแต่ละคนมองมุ่งออกไปหาความช่วยเหลือให้แก่ตนเองจากอำนาจบันดาลผลที่ อยู่นอกชุมชน ก็เลยลืมที่จะใส่ใจเหลียวมองดูเพื่อนมนุษย์ผู้อยู่ร่วมชุมชนและสังคม ไม่แสวงหาความร่วมมือ และคิดพึ่งพากันในหมู่มนุษย์ ทำให้ไม่มีการร่วมกันแก้ปัญหา และร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชนหรือสังคมของตน กลายเป็นเรื่องของแต่ละคนที่จะเอาตัวรอด


ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้น เพราะแต่ละคนก็หวังประโยชน์ส่วนตัว ทำอย่างไรฉันจะได้นั่นได้นี่จากเทพเจ้า ปัญหาของตัวก็รอให้เทวดาแก้ไข ปัญหาส่วนรวมก็ถูกทิ้งไว้


พระพุทธเจ้าเสด็จมาประกาศในทางที่ตรง กันข้าม พระองค์มาสอนว่า มนุษย์เราสามารถทำการให้สำเร็จได้ด้วยความเพียรพยายามของตนเอง แต่เราต้องรู้เหตุปัจจัย ต้องรู้ธรรม ต้องรู้ความจริงของกฎธรรมชาติ ด้วยการพัฒนาปัญญาขึ้นมา โดยเรียนรู้และฝึกฝนตนด้วยสิกขา เมื่อเรามีปัญญา รู้ธรรม รู้เหตุปัจจัย ก็ใช้ความเพียรพยายามทำการด้วยกรรม ให้ตรงตามเหตุปัจจัยนั้น ก็ได้ผลดี


สังคม ของเราๆก็มาช่วยกันสร้างสรรค์แก้ไขให้ดีได้ ชีวิตของเราๆก็ปรับปรุงให้ดีได้ เราแก้ไขปัญหาชีวิตและร่วมกันแก้ปัญหาสังคมของเราได้


แต่ถ้าเรา ไปหวังพึงปัจจุบันภายนอก ก็จบ ชีวิตของเราก็ไม่เพียรพยายามทำดี มัวแต่คอยหวังผลประโยชน์ส่วนตัวด้วยการอ้อนวอน แต่ละคนก็จะเอาเพื่อตน สังคมก็ยิ่งย้ำแย่ลงไปตามลำดับ


นี่เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงสอนไว้ให้แก่เราแล้ว ควรจะเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะว่าธรรมมีแง่มุมต่างๆ ที่เราจะต้องพิจารณาเยอะ ถ้าไปมองชั้นเดียวแล้วบางทีจะพลาด อย่างเรื่องสมาธิ เป็นต้น ที่พูดไปแล้ว ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย


อย่างน้อยพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงสั่งสอนไว้ ให้เรารู้จักมองทุกสิ่งทุกอย่างให้ตรงความจริงที่มีหลายแง่หลายมุม ที่เรียกว่า วิภัชชวาท แปลว่า คือรู้จักพิจารณาอย่างแยกแยะ เช่น มองเห็นว่าสิ่งทั้งมีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย แม้แต่กุศลธรรมที่เราว่าดีแล้ว มันก็มีแง่ที่จะให้คุณและแง่ที่จะให้โทษ อย่างสมาธิเป็นต้น ที่กล่าวไปแล้ว จึงจะต้องไม่มองในแง่เดียว ไม่ใช่ด้านดีอย่างเดียว หรือร้ายอย่างเดียว


การที่ว่า มันดีก็ได้ มันร้ายก็ได้ อย่างหนึ่งก็คือ การที่มันเป็นปัจจัยแก่กันและกันได้ อกุศลธรรมก็เป็นปัจจัยแก่กุศลได้ กุศลธรรมก็เป็นปัจจัยแก่อกุศลได้ จากนี้แหละสำคัญมาก


เพราะฉะนั้น จากสิ่งที่ไม่ดี ถ้าเราใช้เป็น เราก็เอาสิ่งที่ไม่ดีมาทำให้เป็นประโยชน์ได้ เอาอกุศลมาใช้เป็นปัจจัยแก่กุศลได้ กุศลธรรมถ้าเราใช้ไม่เป็น มันก็กลับเป็นปัจจัยแก่อกุศล อย่าไปภูมิใจหลงว่า เรานี้มีดีแล้ว ก็ดีนี่แหละมันจะกลับเป็นตัวก่อผลร้าย ทำให้เกิดโทษได้


เราใช้เป็น ไม่ประมาท เราใช้อกุศลทำให้เกิดผลดีขึ้นมาก็ได้ อย่างตัณหา พระพุทธเจ้าทรงเอามาใช้กับพระนันทะ เป็นอุบายชักจูงพระนันทะให้ตรัสรู้ ให้เป็นพระอรหันต์ได้


แต่ผู้ศึกษาที่มีศรัทธา หรือแม้แต่พระโสดาบัน ขนาดเป็นพระอริยบุคคลแล้ว ถ้าเกิดไปสันโดษผิดทางขึ้นมา สันโดษตัวนี้ ก็กลายเป็นทำให้พระโสดาบันประมาท เกิดเป็นอกุศลขึ้นมา ความสันโดษทำให้เกิดความประมาท


พระโสดาบันสันโดษในธรรมที่ได้บรรลุ พระพุทธเจ้าตรัสว่าท่านเป็น ปมาทวิหารี แปลว่า ผู้เป็นอยู่ด้วยความประมาท จะเป็นผู้เสื่อม ฉะนั้น ธรรมนี่จะต้องมองหลายๆแง่ และต้องมีหลักที่จะมองให้ถูกต้อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 74 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron