วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ธรรมจักษุ" หรือดวงตาเห็นธรรมนั้น ก็คือการเห็นอริยสัจ ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงบรรลุโสดาปัตติมรรค แต่กว้างออกไปหมายถึงมรรคทั้ง ๓ ระดับใดระดับหนึ่ง ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค ไปจนถึงอนาคามิมรรค แต่บางแห่งหมายถึงมรรค ๔ ผล ๔ ได้ทั้งหมด คือตั้งแต่โสดาปัตติมรรค ถึงอรหันตผล (เช่น ม.อ.4/250/ สํ.อ.3/43 วินย.ฎีกา.4/76)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไป ธรรมกายเจริญเอง


แม้วรกาย หรือที่บาลีเรียกว่า รูปกายของพระพุทธเจ้าจะจากไปแล้ว แต่นามกายของพระองค์ในส่วนที่เรียกว่า ธรรมกาย ก็ยังคงอยู่



พระพุทธเจ้าตรัสไว้มีใจความว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา แต่ผู้ใดใจมากด้วยกิเลส ไม่เห็นธรรม แม้จะเกาะชายสังฆาฎิติดตามเราไป ตลอดเวลา ผู้นั้น กับเราก็ชื่อว่าอยู่ห่างกัน (สํ.ข.17/216 ขุ.สุ.25/272)


เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเห็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริง เราก็ต้องเข้าถึงธรรม


พูดถึงตอนนี้ ก็เลยมีกาย ๒ อย่าง ดังที่บอกว่ารูปกายของพระพุทธเจ้าจากไปแล้ว แต่ธรรมกายหาจากไปไม่


เราเห็นรูปกายของพระองค์ด้วยตาเนื้อ แต่เราจะสามารถเห็นพระองค์ที่แท้จริง คือพระธรรมกาย ด้วยดวงตาปัญญา

รูปกายของพระองค์นั้น เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แตกสลายไปเป็นธรรมดา เพราะเป็นรูปธรรม แต่ธรรมกายนั้นคงอยู่ ถึงแม้รูปกายของพระองค์จะแตกสลายแล้ว ธรรมกายก็ยังหาแตกสลายไปด้วยไม่


รูปกายของพระองค์กลายเป็นเถ้าเป็นอัฐิไปแล้ว แต่ธรรมกายยังคงอยู่ พระองค์ได้สอนเราไว้แล้วว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"


หมายความว่า ถึงแม้ใครจะเกาะชายสังฆาฎิติดพระองค์ไป ก็เห็นแค่รูปกาย เราจะต้องมองเห็นธรรม จึงจะเห็นธรรมกายของพระองค์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


แต่คำว่า รูปกาย และ ธรรมกาย นั้น จะต้องทำความเข้าใจกันใช้ชัดเจน


คำว่า กาย แปลว่า กอง คือ ที่ชุมนุม หรือที่ประชุม หมายความว่าเป็นที่มารวมกันของสิ่งต่างๆ เช่น รถกาย คือกองรถ พลกาย คือกองพล หรือกองทหาร เป็นต้น


เพราะฉะนั้น รูปธรรมทั้งหลาย มีธาตุต่างๆ อย่างที่เรียกกันว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม มาประชุมกันเข้า ก็รวมเป็นกาย เรียกว่ารูปกาย


รูปกาย คือกองแห่งรูป หรือที่ประชุมแห่งรูปธรรม มีดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น มารวมกันอยู่

ส่วนนามกาย ก็คือ กองแห่งธรรม หรือ ชุมนุมแห่งธรรม หรือประชุมแห่งธรรม หรือที่มารวมกันของธรรมทั้งหลาย


พระพุทธเจ้านั้น ด้วยรูปกาย คือ พระวรกายของพระองค์ปรากฎอยู่ คนทั้งหลายก็เข้าไปเฝ้า ได้เข้าไปพบเห็น ได้ดู ได้ฟัง


ส่วนธรรมกายของ พระองค์ ก็หมายความว่า พระพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้ค้นพบธรรมแล้ว พระองค์ก็กลายเป็นที่ประชุมแห่งธรรม หรือที่ชุมนุมของธรรม เป็นที่ที่ธรรมทั้งหลายมากมายมารวมกันอยู่


เมื่อ พระองค์แสดงธรรมที่ตรัสรู้นั้นออกไป พระองค์ก็กลายเป็นแหล่ง ที่เปล่ง ที่หลั่งไหล ที่เผยแพร่ออกไปแห่งธรรมทั้งหลาย พระพุทธเจ้าก็จึงเป็นธรรมกาย ดังที่พระองค์ตรัสว่า


"ดูกร วาเสฏฐะและภารัทวาช เธอทั้งหลาย มีชาติ-ชื่อ-โคตร-ตระกูล ต่างๆกัน ออกจากเรือนบวชเปนอนาคาริก ...เป็นสมณศากยบุตรเสมอกัน ผู้ใดมีศรัทธาที่ปลูกฝังลงแล้วในตถาคต...ก็สามารถกล่าวได้ว่า เราเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดจากธรรม เป็นธรรมนิรมิต (ผู้ที่ธรรมสร้าง) เป็นธรรมทายาท (ทายาทแห่งธรรม) ข้อนั้น เพราะเหตุไร ? ก็เพราะว่า คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี นี้เป็นชื่อของตถาคต"

(ที.ปา.11/55)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ



พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ใดแม้จะเกาะมุมผ้าสังฆาฎิของพระองค์ติดตามพระองค์ไปตลอดเวลา แต่จิตใจถูกกิเลสครอบงำ ก็ไม่ชื่อว่าเห็นพระองค์ ส่วนผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นพระองค์

เมื่อพระอรรถกถาจารย์จะอธิบายพุทธพจน์นี้ ก็ต้องใช้คำว่า รูปกาย กับ ธรรมกาย มาเทียบกัน คือ

> เมื่อตามเสด็จเฝ้าดูองค์พระพุทธเจ้า ก็หมายถึงตามดูรูปกายของพระองค์ ด้วยตาเนื้อธรรมดา

> เมื่อมองเห็นคือเข้าใจธรรมที่พระองค์ตรัสสอน ก็เท่ากับเห็นธรรมกายของพระองค์ ด้วยตาปัญญา


การมองเห็นธรรมกายด้วยตาปัญญา ก็มีความหมายทำนองเดียวกับคำว่าได้ดวงตาเห็นธรรม หรือธรรมจักษุนั้นเอง

"ธรรมจักษุ" หรือดวงตาเห็นธรรมนั้น ก็คือการเห็นอริยสัจ ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงบรรลุโสดาปัตติมรรค แต่กว้างออกไปหมายถึงมรรคทั้ง ๓ ระดับใดระดับหนึ่ง ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค ไปจนถึงอนาคามิมรรค แต่บางแห่งหมายถึงมรรค ๔ ผล ๔ ได้ทั้งหมด คือตั้งแต่โสดาปัตติมรรค ถึงอรหันตผล

(เช่น ม.อ.4/250/ สํ.อ.3/43 วินย.ฎีกา.4/76)


การเห็นธรรมกายในกรณีอย่างนี้ ก็คือการบรรลุโลกุตรธรรม ๙ ขั้นใดขั้นหนึ่ง หมายความว่า เห็นธรรมกาย คือโลกุตรธรรม ๙ (สํ.อ.2/343) ด้วยตาปัญญา ที่เห็นอริยสัจนั่นเอง (อุ.อ.333 วินย.ฎีกา. 4/246)

ธรรมกาย ไม่ใช่ศัพท์จำเพาะที่มีความหมายเจาะจง แต่เป็นคำสำหรับใช้อธิบายความหมายพิเศษในบางกรณี ดังที่ตัวศัพท์เองก็มีความหมายกว้างว่า กองธรรม หรือชุมนุมธรรม อาจจะเป็นโสดาปัตติมรรคก็ได้ หรือขั้นหนึ่งขั้นใดในโลกุตรธรรม ๙ ก็ได้ ตลอดจนถึงนิพพาน


บางแห่งใช้ในความหมายกว้างมาก ตรงตามศัพท์ที่แปลว่า “กองธรรม” เช่น หมายถึงธรรมขันธ์ (แปลว่า กองธรรมเหมือนกัน) คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ เป็นต้น (เถร.อ.1/167) แต่รวมแล้วก็คือว่า ธรรมกาย เป็นคำศัพท์ที่ใช้บ้างเพียงน้อยแห่ง (ในพระไตรปิฎก มีใช่เพียง ๔ แห่งเท่านั้น) เพราะจะใช้ต่อเมื่อต้องการความหมายเชิงเปรียบเทียบบางอย่าง โดยเฉพาะในกรณีที่เทียบคู่กับรูปกาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


อนึ่ง ธรรมกาย ในพระไตรปิฎก ที่ว่ามีใช่เพียง ๔ ครั้งนั้น

> ใช้ในพุทธพจน์ที่ตรัสว่าเป็นพระนามหนึ่งของพระองค์ เป็นความร้อยแก้วครั้งเดียว (ที่ยกมากลาวแล้วข้างต้น)

> นอกนั้นใช้ในคำประพันธ์ร้อยกรอง คือ เป็นคาถาพรรณนาคุณความดี (อยู่ในคัมภีร์อปทานทั้งหมด) ดังนี้

- แห่งหนึ่ง กล่าวถึงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้มีจิตเป็นอิสระ มีธรรมกายมากมาย (คือมีสภาวะแห่งธรรมอเนกประการ เป็นดังเรือนร่าง - ขุ.อป.32/2 อป.อ.1/245)

- อีกแห่งหนึ่ง เป็นคำพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ เช่นว่า ทรงเป็นแหล่งแหงรัตนะ และทรงแสดงธรรมกาย ฯลฯ (ขุ.อป.32/134)

- อีกแห่งหนึ่ง เป็นคำดำรัสของพระนางมหาปชาบดีโคตรมีที่จะพูดถึงต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อมาหลังพุทธกาลหลายร้อยปี พุทธศาสนามหายานได้ตั้งหลักเรื่องตรีกาย (กาย ๓) ขึ้นมา ว่า พระพุทธเจ้ามีพระกาย ๓ อย่าง คือ

๑) ธรรมกาย ไดแก่ กายธรรม หรือตัวธรรม หรือตัวความจริงแท้ที่เป็นสภาวะ อันเป็นสาระแห่งสรรพสิ่งทั่วสากล (ที่จริงก็คือธรรมดา หรือธรรมธาตุ หรือตถตา เป็นต้นนั่นเอง)

๒) สัมโภคกาย ได้แก่ กายเสวยสุข หมายถึงพระกายอันประณีตในพุทธเกษตร ที่แผ่ธรรมแก่พระโพธิสัตว์ และ

๓) นิรมานกาย ได้แก่ กายนิรมิต ที่เป็นกายหยาบ กายเนื้อ มีการเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ อันปรากฏในโลกมนุษย์ เพื่อสั่งสอนธรรมแก่ชาวโลก ดังเช่นพระพุทธเจ้าศากยมุนีนี้


หลักตรีกายนี้ ปรากฏในพระสูตรต่างๆ ของมหายาน เช่น ลังกาวตารสูตร เป็นต้น ซึ่งปราชญ์มหายานทราบกันดีว่าเป็นพระสูตรที่แต่งขึ้นภายหลัง (Christmas Humphreys นายกพุทธสมาคมลอนดอน ผู้ล่วงลับ เขียนไว้ใน Dictionary ของเขา ใช้คำว่า “จับใส่พระโอฐ”) และการอธิบายความหมายของกายทั้ง ๓ นี้ ก็ยังแปลกกันไปตามทัศนะของนิกายย่อยต่างๆ ของมหายาเอง

แต่เรื่องนี้เอามาเล่าเป็นความรู้ไว้เท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมกาย (ตามความหมายเดิม) คือ กองธรรม หรือชุมนุมแห่งธรรมนี้ ย่อมเกิดแก่บุคคลทุกคนที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์จนกระทั่งตนเองเป็นที่ชุมนุมแหงธรรมต่างๆ

หมายความหว่า ธรรมทั้งหลาย คือมรรค ผล นิพพาน มาประชุมหรือชุมนุมกัน ในผู้ใด ด้วยวงตาปัญญาที่มองเห็นอริยสัจ ก็เกิดเป็นธรรมกายขึ้นในผู้นั้น เหมือนอย่างที่พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ตรัสแก่พระพุทธเจ้า เมื่อทูลลาจะปรินิพพานว่า

พระรูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้เลี้ยงดู ให้เจริญเติบโตมา ส่วนธรรมกายของหม่อมฉันนี้พระองค์ได้ช่วยให้เจริญเติบโตขึ้นแล้ว” (ข. อป.33/157)

เป็นอันว่า ธรรมกายนั้นเข้าถึงได้ ด้วยปัญญาที่มองเห็นธรรมแล้วก็ถึงตัวธรรม ธรรมที่รู้ที่บรรลุแล้วก็เหมือนดังมาประชุมกันอยู่ ก็เป็นธรรมกายขึ้นมา ก็เท่านั้นเอง

แต่ว่า เท่านั้นเองนี่แหละ ยากนักหนา แม้กระนั้นก็ไม่ยากเกินไปสำหรับผู้มีศรัทธา และตั้งใจประพฤติปฏิบัติ

ถ้าเราประพฤติปฏิบัติจนเกิดปัญญาเห็นธรรมขึ้นมา เราก็เข้าถึงธรรมกาย เราปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไป ธรรมต่างๆ เกิดมีเพิ่มขึ้นๆ ธรรมกายก็เจริญเติบใหญ่ขึ้นในเรา

เมื่อเราเห็นความจริงแห่งธรรมทั้งหลาย ล่วงทะลุผ่านประรูปธรรมที่เป็นรูปกาย ก็คือ “เห็นธรรมกาย” พูดสั้นๆว่า “เห็นธรรม”

เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า เมื่อเราเห็นธรรม ก็คือ เห็นองค์แท้ของพระพุทธเจ้า ตามคำตรัสที่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น เห็นเรา”

เราได้จาริกกันมา จนกระทั่งถึงสังเวชนียสถานอันดับสุดท้ายในลำดับของพุทธประวัติแล้ว และก็ได้มาถึงที่เป็นที่สิ้นสุดแห่งรูปกายของพระพุทธเจ้า

เราก็ได้ระลึกได้ว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนไว้แล้วว่า ธรรมนั้นไม่สูญสลายไปด้วยกับรูปกายของพระองค์

เมื่อเราน้อมเอาธรรมที่องค์ทรงสั่งสอน เรียกว่า “หลั่งไหลออกจากธรรมกาย” ของพระองค์นี้มาประพฤติปฏิบัติ ให้ก่อขึ้น ให้มาชุมนุมขึ้น เป็นธรรมกายที่งอกงามเติบใหญ่ขึ้นในตัวเราสืบต่อไป

............

จาริกบุญ จารึกธรรม หน้า ๒๗๓ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ครั้งแสวงบุญ สังเวชนียสถาน ณ ปท. อินเดีย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2014, 23:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:18
โพสต์: 105

สิ่งที่ชื่นชอบ: การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง
อายุ: 0
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




ผู้ใดเห็นธรรม  ผู้นั้นเห็นเรา.jpg
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา.jpg [ 13.66 KiB | เปิดดู 4099 ครั้ง ]
cry ผู้ใดเห็นธรรม ผู้เห็นเรา ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นเห็นธรรม cry

:b49: กราบอนุโมทนาบุญ พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา ท่านใดมีทุกข์ขอให้พ้นทุกข์ ท่านมีความสุขขอให้มีความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะเจ้าค่ะ สาธุอนุโมทามิ tongue tongue tongue Kiss

.....................................................
“การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง”

เราต่างเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา...เพราะพระพุทธศาสนาจริง ๆ
ดีได้เพียงนี้ ไม่ดีน้อยกว่านี้...เพราะพระพุทธศาสนา
ร้ายเพียงเท่านี้ ไม่ร้ายไปกว่านี้...เพราะพระพุทธศาสนา
เราจะไม่เป็นเช่นนี้
“ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี”
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร