ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

"ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=64610
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 24 ธ.ค. 2023, 05:22 ]
หัวข้อกระทู้:  "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

.
"ความสำคัญตนผิด"

" .. ความสำคัญตนผิด ความขาดแคลนที่สำคัญมาก อย่างหนึ่ง ที่คนไม่ค่อยคิดถึงนัก คือความขาดแคลนความรู้จักตนเอง อันทำให้เกิดความสำคัญตนผิด โดยมากนักจะสำคัญตนว่า ดีว่าสมควรยิ่งไปกว่าความจริง

แต่ที่สำคัญตนว่า เลวไปกว่าความจริงก็มี เมื่อเป็นความสำคัญตนที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ก็เรียกว่า เป็นความสำคัญตนมิดไปทั้งนั้น บางคนยังชอบคุยยกตนทับถมผู้อื่นอีกด้วย

เข่น ยกตนว่าดีวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ ส่วนคนนั้นเสียหายอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่ง ผู้ฟังบางที่ก็รู้ว่าไม่ดีวิเศษไปสักเท่าไร แต่ไม่อยากขัดคอหรีอเกรงใจก็ทนฟังไป แต่บางคนฟังแล้วอาจจะเคลิบเคลิ้มตามไปก็ได้

การยกตนข่มท่านนี้อาจเกิดจากความสำคัญของตนผิด หรืออาจเกิดจากนิสัยที่ชอบทำดังนั้น .. "

"คู่มือปัญญา"
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร


:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
1สมเด็จพระงฆราชเจ้า (4).jpg
1สมเด็จพระงฆราชเจ้า (4).jpg [ 73.69 KiB | เปิดดู 3453 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 15 ก.พ. 2024, 05:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

รูปภาพ
ในวาระโอกาสที่เสด็จมาเยือนสวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี
ครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๒

.
"กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม
ผู้ดีจะเดินตรอก ขี้ครอกจะเดินถนน"


" .. คำพยากรณ์แต่โบราณนานมานี้ "น่าจะบอกว่ายุคมืดจะมาถึง คือยุคที่คนดีจะถูกเหยียบย่ำ คนชั่วจะได้รับยกย่อง" ซึ่งต้องเป็นผลของกรรมที่ได้ทำกันมา ทั้งกรรมชั่ว และทั้งกรรมดี กรรมที่เอื้อมมือมาถึงแล้ว

อย่างไรก็ตาม "เราทุกคนพึงหลีกให้พ้นการเป็นมือแห่งกรรมชั่ว ที่จะเหยียบย่ำคนดีและหลีกให้พ้นจากการเป็นมือแห่งกรรมดี ที่จะยกย่องคนชั่ว" เพราะจะเป็นการร่วมสร้างบ้านเมืองของตนให้สิ้นความงดงาม ที่จะเกิดจากกำลังใจของคนดี ที่จะเกิดจากกำลังความสามารถของคนดี

"บ้านเมืองจะเต็มไปด้วยความเลวร้าย ที่เกิดจากกำลังใจของคนชั่ว ที่จะเกิดจากกำลังความสามารถของคนชั่ว" พึงรอบคอบในการดูให้รู้จริง ว่าใครดี ใครชั่ว รอบคอบในการฟังเสียงบอกเล่า จึงจะช่วยประเทศชาติให้สวัสดีได้ และช่วยตนให้พ้นบาปได้ .. "

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=81&t=52820

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 16 ก.พ. 2024, 05:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

.
"การปฏิบัติ คือการทวนกระแส"

" .. "การปฏิบัตินั่นคือทวนกระแส ทวนกระแสนํ้าใจของเราเอง" ทวนกระแสของกิเลส อะไรที่ เป็นของทวนกระแสแล้วมันลำบาก พายเรือทวนกระแสก็ลำบาก "สร้างคุณงามความดีนั่นก็ลำบาก" เสียหน่อยหนึ่งเพราะว่าคนเรามีกิเลสไม่อยากจะทำ ไม่อยากจะยุ่งยากไม่อยากจะอดทน

อยากจะปล่อยไปตามอารมณ์เสียเป็นส่วนใหญ่ "เหมือนน้ำน่ะแหละ มันก็ไหลไปตามเรื่องของมัน ถ้าปล่อยให้ไหลไปตามนํ้าก็สบาย" แต่ว่านั่นไม่ใช่ลักษณะปฏิบัติ "ลักษณะปฏิบัติต้องฝืน ต้องฝืนกิเลสฝืนใจของ ตัวเอง ข่มจิตเจ้าของ" ทำความอดทนให้มากขึ้น มันจึงเป็นการปฏิบัติทวนกระแสนํ้า .. "

"อุปลมณี"
หลวงปู่ชา สุภัทโท


:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
3หลวงปู่ชา สุภทฺโท (13).jpg
3หลวงปู่ชา สุภทฺโท (13).jpg [ 107.28 KiB | เปิดดู 1187 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 17 ก.พ. 2024, 05:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

.
"คติธรรมคำสอน"

" .. "พวกเราเป็นชาวพุทธ อย่าไปคอยแต่อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ในสากลโลก" ให้มาช่วยตนให้มีความสุข ความเจริญต่าง ๆ นานา "อย่างนี้ไม่มีหรอกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลกนี้ ที่จะช่วยบุคคลผู้ประมาท จะช่วยแต่บุคคลผู้ไม่ประมาท"

"ผู้สั่งสมบุญกุศล ผู้มีศีลธรรมอันดีงาม" แม้ว่าไปเกิดอุปสรรคความขัดข้องอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา "แล้วผู้นั้นอธิษฐานจิต ถึงบุญถึงคุณที่ตนบำเพ็ญมา" หากบุญคุณของตน ที่บำเพ็ญมามันมากพอ "ม้นก็จะไปดลจิตดลใจของเทวดาอินทร์พรหมให้ล่วงรู้ว่า" ..

โอ้ .. "คนมีบุญ ผู้นั้นกำลังประสบอุปสรรค ขัดข้องอย่างใดอย่างหนึ่งเราจำเป็นต้องลงไปช่วย" ไม่ใช่เทวดาก็พญาอินทร์ ไม่ใช่ก็ท้าวมหาพรหมลงมาช่วย "มาช่วยแก้ไขอุปสรรคของผู้นั้นให้ลุล่วงไปด้วยดี" ผู้นั้นก็ถึงซึ่งความสุข ความเจริญนี่ "การที่เทวดาอินทร์พรหมจะช่วยมนุษย์เราน่ะ มนุษย์เรา ต้องช่วยตนเองให้เต็มที่เสียก่อน ต้องสั่งสมบุญให้มากซะก่อน" .. "

พระสุธรรมคณาจารย์
(หลวงป่เหรียญ วรลาโภ)


:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
3หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ (3).jpg
3หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ (3).jpg [ 59.26 KiB | เปิดดู 1120 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 18 ก.พ. 2024, 05:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

.
"เป็นของสัตว์เดียรัจฉานเหมือนกัน"

" .. มีชายหนุ่มจากต่างจังหวัดไกลสามสี่คนเข้าไปหาหลวงปู่ ขณะที่ท่านนั่งพักผ่อนอยู่ที่มุขศาลาการเปรียญ ดูอากัปกิริยาของเข้าแล้วคงคุ้นเคยกับ พระนักเลงองค์ใดองค์หนึ่งมาก่อนแล้ว ลังเกตุจากการนั่ง การพูดเขานั่งตามสบาย พูดถามถนัด ยิ่งกว่านั้นเขาคงเข้าใจว่า "หลวงปู่องค์นี้คงสนใจกับเรื่องเครื่องรางของขลังอย่างดี" เขาพูดถึงชื่อเกจิอาจารย์อื่น ๆ ว่า ให้ของดีของวิเศษแก่ตนหลายอย่าง

"ในที่สุดก็งัดเอาของมาอวดกันเอง" ต่อหน้าหลวงปู่ "คนหนึ่งมีเขี้ยวหมูตัน คนหนึ่งมีเขี้ยวเสือ อีกคนมีนอแรด" ต่างคนต่างอวดอ้างว่าของตนดีวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ มีคน หนึ่งเอ่ยว่า "หลวงปู่ฮะ อย่างไหนแน่ดีวิเศษกว่ากันฮะ"

หลวงปู่ก็อารมณ์รื่นเป็นพิเคษยิ้ม ๆ แล้วว่า ..
"ไมมีดี ไม่มีวิเศษอะไรหรอก เป็นของสัตว์เดียรัจฉานเหมือนกัน"

"หลวงปู่ฝากไว้"
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล


:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
หลวงป่ดูลย์ อตุโล (8).jpg
หลวงป่ดูลย์ อตุโล (8).jpg [ 98.79 KiB | เปิดดู 1099 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 19 ก.พ. 2024, 05:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

.
"ญาท่าน"

" .. "ศิษย์บางองค์ของท่านพระอาจารย์มั่นเป็นคนป่าก็มีนะ ชาวบ้านเขาไปไล่จับเอาในป่าโน้นเอามาเลี้ยงไว้" แล้วเห็นเจ้าเมืองไม่มีลูก "เลยเอาไปถวายเป็นลูกบุญธรรมเจ้าเมือง เจ้าเมืองก็รับเอาเจ้าเมืองให้นอนอยู่ใต้ถุนบ้านท่าน"

ก็นอนอยู่ใต้ถุนนั่นแหละ ชื่อ "ญาท่านก่ำ" ชื่อคนป่านะ "ท่านเป็นคนขยัน คนซื่อสัตย์ เจ้าเมืองก็รักเหมือนลูก ก็ให้ขึ้นนอนบนบ้าน ท่านไม่ยอมขึ้น" ท่านถือว่าท่านเป็นข่อย เป็นข้า "พอเติบใหญ่มา ท่านก็อยากได้บุญด้วย จะให้ไปบวช ท่านก็ไปบวช" บวชแล้วพระท่านสอนให้เดินจงกรม "ท่านก็เดินจงกรม เดินจงกรมเหนื่อยแล้วก็ขึ้นไหว้พระสวดมนต์นั่งสมาธิ" ท่านก็ทำอยู่นั่นแหละ

พอท่านบวชได้อายุพรรษามากแล้ว "ท่านอยากไปอยู่องค์เดียวของท่าน ก็ไม่มีใครไปเยี่ยมดูแลแหละเป็นคนป่า ไม่มีความรู้" พอมีคนคิดถึงท่าน ว่าท่านอยู่องค์เดียว ที่อยู่ของท่านจะรกหรือเปล่า "ไปดูท่านก็พูดธรรมะเก่ง ตอนที่ท่านเป็นเด็ก เป็นคนป่านะ คนเขาไล่ โดนเถาวัลย์เกี่ยวขาล้ม" เขาเลยจับเอา

"ท่านเดินธุดงค์ไปที่ไหนถ้ามีเถาวัลย์ ท่านจะนอนหันหัวมาหาเถาวัลย์นั่นแหละ ท่านเคารพเถาวัลย์ เพราะว่านั่นเป็นอาจารย์ใหญ่ของท่าน" มีบุญคุณต่อท่าน" ถ้าเถาวัลย์ไม่เกี่ยวขาท่าน ท่านจะไม่ได้มาเป็นคนอย่างนี้ "ญาท่านก่ำ"

"ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านพระอาจารย์เสาร์" คนโบราณทางนี้เรียก "ญาท่าน" ญาท่านนี้เป็นผู้มีคุณธรรมสูง "ญาท่านก่ำที่เป็นคนป่า นี่มีคุณธรรมสูง" ท่านคงจะไม่มาเกิดอีกแหละ "ได้ยินหลวงปู่อ่อนท่านเล่า" แต่อาตมา (หลวงปู่อว้าน) ไม่ทันหรอก

ยกขึ้น "ญาท่านเหมือนกับพระยานั่นแหละ" คนทางนี้ "เรียกท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่นว่า ญาท่านเสาร์ ญาท่านมั่น ผู้มีคุณธรรม" ทางเมืองอุบลราชธานีเขาเรียก "ญาท่าน" .. "

"ชีวประวัติ มุตโตทัย ธรรมเทศนา"
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



ไฟล์แนป:
IMG_7400.JPG
IMG_7400.JPG [ 106.2 KiB | เปิดดู 1043 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 20 ก.พ. 2024, 05:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

.
"อวิชชาขาดกระเด็นออกจากใจ"

" .. เย็นวันหนึ่งเมื่อปัดกวาดเสร็จ "ท่านออกจากที่พักไปสรงน้ำ ได้เห็นข้าวในไร่ชาวเขากำลังสุกเหลืองอร่าม" ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาในขณะนั้นว่า "ข้าวมันงอกขึ้นมาเพราะมีอะไรเป็นเชื้อพาให้เกิด" ใจที่พาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุดก็น่าจะมีอะไรเป็นเชื้ออยู่ภายในเช่นเดียวกับเมล็ดข้าว

"เชื้อนั้นถ้าไม่ถูกทำลายเสียที่ใจให้สิ้นไป จะต้องพาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด" ก็อะไรเป็นเชื้อของใจเล่า "ถ้าไม่ใช่กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน" คิดทบทวนไปมา "โดยถืออวิชชาเป็นเป้าหมายแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ พิจารณาย้อนหน้าถอยหลัง อนุโลมปฏิโลม" ด้วยความสนใจอยากรู้ตัวจริงแห่งอวิชชา นับแต่หัวค่ำจนดึก "ไม่ลดละการพิจารณาระหว่างอวิชชากับใจ"

จวนสว่างจึงตัดสินกันลงได้ด้วยปัญญา "อวิชชาขาดกระเด็นออกจากใจไม่มีอะไรเหลือ" การพิจารณาข้าวก็มายุติกันที่ข้าวสุกหมดการงอกอีกต่อไป "การพิจารณาจิตก็มายุติกันที่อวิชชาดับ กลายเป็นจิตสุกขึ้นมาเช่นเดียวกับข้าวสุก"

"จิตหมดการก่อกำเนิดเกิดในภพต่างๆ อย่างประจักษ์ใจ" สิ่งที่เหลือให้ชมอย่างสมใจคือความบริสุทธิ์แห่งจิตล้วน ๆ ในกระท่อมกลางเขา มีชาวป่าเป็นผู้อุปัฏฐากดูแล ขณะที่จิตผ่านดงหนาป่ากิเลสวัฏฏ์ไปได้แล้ว

"เกิดความอัศจรรย์อยู่คนเดียวตอนสว่าง" พระอาทิตย์ก็เริ่มสว่างบนฟ้า ใจก็เริ่มสว่างจากอวิชชาขึ้นสู่ธรรมอัศจรรย์ถึงวิมุตติหลุดพ้นในเวลาเดียวกันกับพระอาทิตย์อุทัยช่างเป็นฤกษ์งามยามวิเศษเอาเสียจริง ๆ .. "

"อนาลโย ผู้ไม่มีความอาลัย"
(หลวงปู่ขาว อนาลโย)


:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
1หลวงปู่ขาว (16).jpg
1หลวงปู่ขาว (16).jpg [ 28.09 KiB | เปิดดู 1004 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 21 ก.พ. 2024, 05:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

.
"ผู้มีความเพียรพ้นทุกข์ได้"

" .. จิตใจหรือว่า "จิตคนเรานั้นต้องฝึกฝนอบรมจึงจะเป็นไปได้" ให้ใจมันมีความเพียร ความหมั่น "ความขยันไม่ให้เกียจคร้าน" ไม่ว่าจะเป็นการท่องบ่นสาธยายพระธรรมคำสั่งสอน ก็ไม่ให้เกียจคร้าน ให้หมั่น

"ความเพียรนั้นคือว่าหมั่น" ขยัน กราบพระ ไหว้พระ สวดมนต์ ก็อย่าเพียงหมายแต่ว่ามารวมในหมู่ในคณะกราบพระไหว้พระ "เราอยู่คนเดียวก็กราบได้ไหว้ได้ นั่งสมาธิภาวนาได้ สวดมนต์ภาวนาได้ เดินจงกรมได้"

ความเพียรนี่แหละท่านว่า เป็นอุปกรณ์สำคัญ "วิริเยน ทุกฺข มจฺเจติ" พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ผู้มีความพากเพียรพยายามแล้ว กิจกรรมการงานใด ๆ ไม่เหลือวิสัย "ผู้มีความเพียรพ้นทุกข์ได้"

แต่ผู้มาภาวนาตั้งใจปฏิบัติไม่มีความเพียร "แต่อยากให้จิตใจของตนพ้นจากความทุกข์ความเร่าร้อนต่าง ๆ นานา" ทำอย่างไรใจข้าพเจ้าจะสงบระงับ มีอุบายอะไร "ก็อุบายไม่ขี้เกียจนั่นแหละ"

"ความเพียร"
พระญาณสิทธาจารย์
(หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)


:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร (5).jpg
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร (5).jpg [ 34.62 KiB | เปิดดู 969 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 22 ก.พ. 2024, 05:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

.
"ภาวนาเลือกอารมณ์ของจิต"

" .. ชีวิตของคนเรานี่นะ ไม่ว่าพูดถึงดวงจิตโดยตรง "มันมีทั้งดีมีทั้งชั่วอยู่ในดวงจิตอันนี้" ดังนั้น พระศาสดาจึงได้ทรงสอน "ให้ภาวนาคัดเลือกอารมณ์ของจิตนี้" อันใดที่เป็นความคิดความเห็นที่เป็นไปทางบาปอกุศลแล้ว "กำหนดละทิ้งไปเลย ไม่คิดไม่ปรุงแต่งมันต่อไป"

หรือว่าความคิดอันใด "มันเป็นไปเพื่อความรัก ความใคร่ ความโกรธ ความพยาบาท" ต่าง ๆ หมู่นี้นะ "เป็นความคิดที่เป็นอกุศล เราต้องพยายามกำหนดใจละเรื่อยไป" แล้วก็ไม่สร้างมันขึ้นมา ต่อไปอีก

"ความคิดอันใดซึ่งประกอบไปด้วยเมตตากรุณาคิดช่วยเหลือเกื้อกูลตนเองด้วย ผู้อื่นด้วย" ให้พ้นจากทุกข์จากภัยในสงสาร ไม่คิดล้างผลาญ เบียดเบียนใคร "อย่างนี้เป็นความคิดที่เป็นกุศล"

คิดอีกอย่างหนึ่งเป็นความดำริที่ว่า "ทำไฉนหนอ เราจึงจะพ้นอำนาจแห่งกามตัณหาอันนี้ไปได้" ทำไฉนหนอ เราจึงจะพ้นจากรูปตัณหาต่าง ๆ "หมู่นี้ดำริเข้าไป"

เพราะรูปกายอันนี้ มันเป็นของไม่เที่ยง "ถ้าจิตยังผูกพันมันอยู่ตราบใดแล้ว มันก็เป็นทุกข์อยู่อย่างนี้แหละ" .. "

พระสุธรรมคณาจารย์
(หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)


:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
2FA14B7D.jpeg
2FA14B7D.jpeg [ 102.76 KiB | เปิดดู 952 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 23 ก.พ. 2024, 05:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

.
"กรรมชั่วละได้ด้วยกุศล"

" .. กรรมชั่วที่บุคคลใดทำไว้แล้ว
ย่อมละได้ด้วยกุศล

บุคคลนั้นย่อมส่องโลกให้สว่าง
เหมือนอย่างดวงจันทร์ที่พ้นจากหมอก .. "

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร


:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
1สมเด็จพระงฆราชเจ้า (5).jpg
1สมเด็จพระงฆราชเจ้า (5).jpg [ 60.15 KiB | เปิดดู 902 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 24 ก.พ. 2024, 05:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

.
"ทรัพย์ภายในนี้มั่นคงถาวร"

" .. ทรัพย์ อ่านว่า ซับ "ทรัพย์ภายนอกคือ โลกียทรัพย์ ทรัพย์ภายในคือ โลกุตตรทรัพย์" และก็เป็นอริยทรัพย์ที่เจริญก้าวหน้าสูงส่งตรงไปนิพพาน "มีศรัทธาทรัพย์ เป็นต้น เชื่อในพระพุทธศาสนาคือ พุท ธัม สงฆ์" พร้อมด้วยพระสติปัญญาสมดุลย์กันแบบแยบคาย เป็นนายหน้าหัวจักรเบื้องต้น

"เมื่อมีทรัพย์เบื้องหน้าเป็นนายกแล้ว ทรัพย์อื่น ๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น" ผู้ที่เคารพรักปฏิบัติพระพุทธศาสนา ใจย่อมรักษาและพยายามสร้างขึ้นทำขึ้น

ให้เกิดให้มีในขันธสันดานดวงใจ เพราะไม่เป็นของหนัก หาบหิ้วได้เหมือนทรัพย์ภายนอก "โจรลักปล้นจี้ไปไม่ได้ เพราะเอาฝากคลังมหาสมบัติไว้อยู่ที่เมืองใจ กรุงใจ" และก็เป็นทรัพย์สินที่อบอุ่นของใจชั่วนิรันดรด้วย เรียกว่า "ทรัพย์ภายในนี้มั่นคงถาวร" .. "

"ธรรมเป็นของกลาง"
(หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต)

วัดบรรพตคีรี จ. มุกดาหาร


:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
hfea595d.jpg
hfea595d.jpg [ 31.38 KiB | เปิดดู 862 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 25 ก.พ. 2024, 05:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

.
"ความยินดีตามมีตามได้"

" .. ความยินดีตามมีตามได้ "ท่านบอกว่าเป็นสมบัติ อันลํ้าค่าหาประมาณมิได้" อะไรทั้งหมดก็เหมือนกัน "ไม่ว่าธรรม ไม่ว่าของภายนอก" มีน้อยแล้วไม่พอใจมักจะเสียหาย

"พอใจกับธรรมที่มีอยู่เป็นอยู่ในตัวของเรา" เช่น "เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา" เห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาเป็นทุกข์ด้วยกัน ทั้งนั้น แล้วเอาทุกข์นั้นมาเทียบกับทุกข์หรือสุขของเรา แล้วจะเห็นว่า "ทุกข์หรือสุขของเขานั้นจะเทียบกันไม่ได้"

ในเมื่อเรามีความสุข เอาทุกข์ของเขามาเทียบกับเรา หรือในเมื่อเรามีความทุกข์ก็ดี "จะเอาความทุกข์ของเขามาเทียบกับของเราก็ไม่ได้เหมือนกัน" ความสุขและความทุกข์ของสัตว์ที่เกิดมาย่อมมีเหมือนกัน

"แต่ทุกข์มากหรือทุกข์น้อย เพราะความเข้าไปยึดถือต่างหาก" เราเกิดมาอยู่ในโลกอันนี้ ทุก ๆ คนจำเป็นจะต้องได้ประสบด้วยกันทั้งนั้น "ผู้คิดเห็นเช่นนั้นจิตย่อมไม่มีอคติใด ๆ ในสัตว์มนุษย์ทั่วไป"

"มีแต่ความเมตตาปรารถนาอยาก จะให้เขาเหล่านั้นได้รับแต่ความสุขถ่ายเดียว" เมื่อเขาเหล่านั้นได้รับความสุขพ้นจากทุกข์แล้ว "ก็พอใจอิ่มเอิบใจ เบิกบาน หรรษา หน้าตาผ่องแผ้วอยู่เป็นสุข"

"มันเลยกลายเป็นพรหมวิหารฌานไปในตัว" นี่แหละความพอใจในธรรมที่มีอยู่ในตัวย่อมเกิดผลประโยชน์อย่างนี้ ฉะนั้น "จึงไม่ควรดูถูกว่าเป็นสิ่งเล็กน้อย" .. "

"เทสรังสีอนุสรณ์"
พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)



ไฟล์แนป:
009.jpg
009.jpg [ 79.56 KiB | เปิดดู 828 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 26 ก.พ. 2024, 05:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

.
"เห็นธรรม เห็นธรรมชาติ"

" .. "เมื่อความสุขเกิดขึ้นมาแล้ว ความสุขนั้นก็ตั้งอยู่ เมื่อความสุขตั้งอยู่แล้ว ความสุขก็แปรไป เมื่อความสุขแปรไปแล้ว ความสุขมันก็สลายไปหมด" ก็ไม่มีอะไร "มันเป็นของมันอยู่อย่างนี้ทุกกาลเวลา" ทั้งของภายใน คือนามรูปนี้ก็เป็นอยู่อย่างนี้

"ทั้งของภายนอก คือต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์ เหล่านี้ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้" นี่เรียกว่า "สัจธรรม" ถ้าใครเห็นธรรมชาติก็เห็นธรรมะ "ถ้าใครเห็นธรรมะก็เห็นธรรมชาติ" ถ้าผู้ใดเห็นธรรมชาติ เห็นธรรมะ "ผู้นั้นก็เป็นผู้รู้จักธรรมะนั่นเอง" ไม่ใช่อยู่ไกล .. "

"๘๔ พระธรรมเทศนา"
พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท)


:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
3หลวงปู่ชา สุภทฺโท (2).jpg
3หลวงปู่ชา สุภทฺโท (2).jpg [ 104.49 KiB | เปิดดู 809 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 27 ก.พ. 2024, 05:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

.
"อุปนิสัย"

" .. คำว่า "อุปนิสัย" นี้คือ "เชื้อแห่งคุณงามความดีอันสำคัญที่อยู่ภายในใจ อุปนิสัยฝังแล้ว ที่จะสำเร็จมรรคผลนิพพานมีอยู่เต็มที่แล้ว" เป็นแต่เพียงยังไม่เบิกกว้างให้ธรรมชาตินี้แสดงตัวออก พอเราสร้างเหตุคือคุณงามความดี "มีการภาวนาเป็นต้นขึ้นมารองรับ สิ่งที่เคยสั่งสมมาที่เรียกว่าอุปนิสัยนี้ก็จะแสดงตัวออกมาทันที"

"อุปนิสัย" นี้จะเกิดขึ้นมาได้ "ด้วยจากการให้ทาน การรักษาศีล การเจริญเมตตาภาวนาและคุณงามความดีประเภทต่าง ๆ ทั้งหลายนั่นแหละเป็นเครื่องหนุน" หนุนเข้าไป ๆ มากเข้า ๆ หนุนขึ้นสูงขึ้น

พอเต็มที่แล้วมองดูอะไร ๆ ที่ไหน ๆ ก็จะเป็นเครื่องสร้างความกังวลไปหมด "เป็นเหตุสร้างความวุ่นวายไปหมด นั่นก็เพราะอำนาจแห่งบุญแห่งกุศลความดีพอแล้ว จึงทำให้เห็นเป็นอย่างนั้น"

มองดูอะไร ๆ ดูวุ่นวาย ดูยุ่งไปหมดทุกอย่าง ดูคับแคบตีบตันไปหมด "ไม่ยุ่งแต่ทางที่จะออกปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์โดยถ่ายเดียวนั่นล่ะ" ออกเลยนั่นอย่างนั้นล่ะนะ

"นี่อุปนิสัยมันแก่แล้ว มันจะแก่อย่างนั้นได้ก็มาจากการสร้างคุณงามความดีเรื่อย ๆ มานี่แหละ" สร้างไม่หยุดไม่ถอย สร้างไป ๆ เพิ่มเข้าไป ๆ พอมันพอแล้วก็อย่างนั้นแหละ

"จะตัดมาบ่มหรือไม่ตัดมาบ่ม มันก็จะสุกหลุดจากขั้วได้อย่างผลไม้" นี่ถึงเวลาแล้วมันก็จะหลุดหักออกจากขั้วไป "ออกบวชไป ภาวนาไป บรรลุธรรมปึ๋ง".. "

(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
จากหนังสือ "ชีวประวัติ หลวงปู่ลี กุสลธโร"


:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
2หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (9).jpg
2หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (9).jpg [ 125.59 KiB | เปิดดู 798 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธรรมโฆษ [ 28 ก.พ. 2024, 05:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ความสำคัญตนผิด" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

.
"เป็นได้แค่สะพาน"

" .. "ปริยัติธรรมทั้งหมด ก็เป็นได้แค่สะพาน" หรือเชือกสายโยง อาศัยสาว หรือเดินข้ามฟาก ถ้าหากว่าเราจะรื้อเอาสะพาน หรือเชือกเหล่านั้นติดตัวไป "ก็ไม่มีประโยชน์อะไรแก่เรา นอกจากความหนักหน่วงให้วกเวียนเท่านั้น"

ฉะนั้นปริยัติทั้งหมดที่จดจำไว้ "เมื่อถึงขั้นเอาจริงแล้ว เป็นเรื่องรับผิดชอบตนเองทั้งสิ้น จะแพ้หรือชนะ จะละหรือวางได้ เป็นเรื่องของดวงจิตตนเองที่มีภูมิธรรมที่สร้างขึ้น"

ฉะนั้น "ท่านจึงสอนอย่าให้ติดตำรา" ติดสมมุติบัญญัติ "ปฏิบัติตนให้พ้นทั้งหมด จึงจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ้สะอาด" .. "

พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
(ท่านพ่อลี ธมฺมธโร )


:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
1พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร.jpg
1พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร.jpg [ 136.48 KiB | เปิดดู 779 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/