วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ประวัติ พระกุมารกัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร

พระกุมารกัสสปะ เป็นบุตรของธิดาเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ เดิมชื่อว่า “กัสสปะ” แต่เพราะท่านได้รับการบำรุงเลี้ยงดูจากพระเจ้าเสนทิโกศล ดังนั้นประชาชน จึงเรียกท่านว่า“กุมารกัสสปะ” ประวัติชีวิตของท่าน มีดังต่อไปนี้:-

มารดาภิกษุณีตั้งท้อง

ขณะเมื่อมารดาของท่านยังเป็นสาวรุ่นอยู่นั้น มีศรัทธาปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา แต่บิดามารดาไม่อนุญาต อยู่ต่อมาจนกระทั่งนางได้แต่งงานมีสามีอยู่ครองเรือนระยะหนึ่ง นางได้ปฏิบัติต่อสามีเป็นอย่างดีจนสามารถเกิคความพอใจ แล้วได้อ้อนวอนขออนุญาตบวชสามีก็ไม่ขัดใจอนุญาตให้นางบวชตามความปรารถนา นางจึงไปขอบวชในสำนักของนางภิกษุณี ผู้เป็นศิษย์ของพระเทวทัต ครั้นบวชแล้วได้ไม่นานปรากฏว่าครรภ์ของนางโตขึ้น จึงเป็นที่รังเกียจสงสัยของเพื่อนนางภิกษุณีทั้งหลาย และได้นำเรื่องนี้ไปแจ้งแก่พระเทวทัต เพื่อให้ตัดสินความ พระเทวทัตได้ตัดสินให้เธอสระสมณเพศสึกออกไปเสียจากสำนัก นางได้ฟังคำตัดสินเกิดความเสียใจเป็นอย่างมาก ได้พูดอ้อนวอนขอร้องให้โปรดอย่า ลงโทษเธอถึงขนาดนั้นเลย เพราะนางมิได้ประพฤติชั่วทำผิดพระธรรมวินัยเลย เมื่อคำอ้อนวอนของนางไม่เป็นผล นางจึงกล่าวว่า:-

“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดิฉันมิได้บวชอุทิศตนต่อพระเทวทัต แต่ดิฉันบวชอุทิศตนต่อพระบรมศาสดา ดังนั้น ขอท่านทั้งหลายจงพาดิฉันไปสู่สำนักของพระบรมศาสดาด้วยเถิด”

พระอุบาลีตัดสินคดีภิกษุณีท้อง

นางภิกษุณีทั้งหลายจึงพานางไปเข้าเฝ้ากราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบโดยลำดับตั้งแต่ต้น แม้พระผู้มีพระภาคจะทรงทราบอย่างแจ่มชัด ด้วยพระองค์เองแล้วว่า “นางตั้งครรภ์มาตั้งแต่ก่อนบวช” แต่เพื่อให้เนื้อความนี้แจ่มชัด ขจัดความสงสัยของชนทั้งหลายให้สิ้นไป จึงรับสั่งให้พระอุบาลีเถระดำเนินการชำระอธิกรณ์เรื่องนี้ให้ชัดเจน พระอุบาลีเถระได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มาร่วมกันพิสูจน์ โดยมีพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นประธาน มีนางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถปิณฑิกะเศรษฐี และตระกูลอื่น เป็นต้น นางวิสาขาให้ขึงผ้าม่านโดยรอบแล้ว เรียกนางภิกษุณีเข้าไป แล้วตรวจดูมือ เท้า สะดือ และลักษณะของครรภ์แล้วนับวันนับเดือนสอบประวัติย้อนหลังโดยละเอียดแล้วก็ทราบชัดเจนว่า “นางตั้งครรภ์มาตั้งแต่ก่อนบวช” พระอุบาลีเถระ จึงได้ประกาศตัดสินอธิกรณ์ในท่ามกลางพุทธบริษัททั้ง ๔ ว่า นางภิกษุณีรูปนี้ยังมีศีลบริสุทธิ์อยู่ แล้วกราบทูลเนื้อความให้พระบรมศาสดาทรงทราบ พระพุทธองค์ได้ตรัสอนุโมทนาสาธุการแก่พระเถระว่า ชำระความได้ถูกต้องยุติธรรม


พระเจ้าปเสนทิโกศลขอบุตรนางภิกษุณีไปเลี้ยง

ครั้นเวลาล่วงเลยไป ครรภ์ของนางได้โตขึ้นเป็นลำดับ จนครบกำหนดได้คลอดบุตรออกมา นางได้เลี้ยงดูอยู่ในสำนักของนางภิกษุณีนั้น วันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จผ่านมาได้สดับเสียงทารกร้องในห้องของนางภิกษุณีจึงตรัสถามได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ทรงมีพระเมตตาขอรับทารกไปบำรุงเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม นำไปชุบเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง ประทานนามว่า “กัสสปะ” แต่เพราะพระองค์ทรงชุบเลี้ยงประดูจราชกุมาร จึงเรียกกันว่า “กุมารกัสสปะ”เมื่อกุมารกัสสปะ เจริญเติบโตขึ้น ได้วิ่งเล่นกับราชกุมารอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน เมื่อขัดใจกันขึ้นกุมารกัสสปะก็มักจะใช้มือตีเพื่อน ๆ เหล่านั้น แล้วถูก เพื่อน ๆ ติเตียนว่า “พวกเราถูกเด็กไม่มีพ่อแม่ตี”

กุมารกัสสปะ เกิดความสงสัย จึงกราบทูลถามพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งพระองค์ก็ได้พยายามบ่ายเบี่ยง ปกปิดมาโดยตลอด แต่เมื่อถูกอ้อนวอนรบเร้าหนักขึ้น ก็ไม่สามารถจะปกปิดได้ จึงตรัสบอกความจริงกุมารกัสสปะ ได้ทราบความจริงแล้วรู้สึกสลดใจในชะตาชีวิตของตนจึงกราบทูลขออนุญาตบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อได้รับอนุญาตแล้วได้ไปบวชเป็นสามเณรในสำนักพระบรมศาสดา ศึกษาพระกรรมฐานและพระธรรมวินัยจากพระบรมศาสดาและอาจารย์ทั้งหลาย จวบจนอายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว กราบทูลลาพระผู้มีพระภาค เพื่อไปทำความเพียร บำเพ็ญสมณธรรมในป่า ได้บรรลุคุณพิเศษเบื้องต้นแล้ว จึงกลับมาศึกษาพระกรรมฐานในระดับสูงยิ่ง ๆ ขึ้นแล้วเข้าไปสู่ป่าอันธวัน บำเพ็ญเพียรอย่างอุกฤษฎ์ต่อไปครั้งนั้นได้มีพรหมชั้นสุทธาวาส ผู้ซึ่งในอดีตชาติเคยเป็นสหายปฏิบัติสมณธรรมร่วมกันกับท่านพระกุมารกัสสปะ ในครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ได้บรรลุเป็นพระอนาคามีแล้วจุติไปเกิดเป็นพรหมในชั้นสุทธาวาสนั้นเห็นท่านพระกุมารกัสสปะบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก ก็ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล จึงลงมาช่วยเหลือด้วยการแก้ปัญหา ๑๕ ข้อ แนะนำให้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ให้ ท่านได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของพระหรหมนั้นปัญหา ๑๕ ข้อนั้นคือ

๑. จอมปลวก ๒. กลางคืนเป็นควัน ๓. กลางวันเป็นไฟ ๔. พราหมณ์ ๕. สุเมธผู้เป็นศิษย์ ๖. จอบ ๗. เครื่องขุด ๘.ลูกสลัก ๙.อึ่งอ่าง ๑๐. ทาง ๒ แพร่ง ๑๑. กระบอกกรองน้ำ ๑๒. เต่า ๑๓ เขียง ๑๔. ชิ้นเนื้อ ๑๕. นาค

พระบรมศาสดาทรงสดับปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อแล้วตรัสแก้ว่า ดูก่อนภิกษุคำว่า จอมปลวก นั้นหมายถึง อัตภาพร่างกายนี้ เพราะว่า จอมปลวกเกิดจากตัวปลวก นำดินมาผสมกับน้ำลายเหนียว ๆ แล้วก่อขึ้นเป็นจอมปลวก ฉันใด อัตภาพร่างกายนี้ ก็เกิดขึ้นเพราะมีพ่อแม่เป็นแดนเกิด ฉันนั้น จอมปลวกมีรูพรุน มีตัวปลวกอยู่อาศัย ร่างกายก็มีรูพรุนคือ ทวารทั้ง ๙ และรูขุมขนทั่วตัว เป็นที่อยู่อาศัยของหมู่หนอนและเชื้อโรคต่าง ๆ จอมปลวกต้องแตกสลาย แม้ร่างกายก็ต้องเน่าเปื่อยเช่นกันคำว่า กลางคืนเป็นควัน นั้นหมายถึง วิตก คือการคิดนึก และวิจารณ์ คือการพิจารณาใคร่ครวญถึงการงานที่จนทำเมื่อตอนกลางวันว่า มีคุณมีโทษอย่างไรและใคร่ครวญถึงวันรุ่งขึ้นว่าจะทำอะไรต่อไป การคิดใคร่ครวญอย่างนี้มีอาการดุจควันไฟที่คุกรุ่นอยู่คำว่า กลางวันเป็นไฟ หมายถึง การทำงานตามที่คิดไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืนต้องรีบเร่ง ร่างกายเหน็ดเหนื่อย ท่านจึงเปรียบเหมือนไฟที่ลุกโพลงคำว่า พราหมณ์ หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านเรียกว่าพราหมณ์ เพราะพราหมณ์มีประเพณีลอยบาปด้วยการลงอาบน้ำในแม่น้ำคงคา ชำระบาปคือ ความชั่วออกจากกาย ส่วนที่เรียกพราหมณ์ คือ พระพุทธองค์นั้น เพราะพระองค์ทรงชำระบาปทั้ง ๗ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สี ลัพพัตตปรามาส ได้โดยไม่เหลือคำว่า สุเมธ หมายถึง พระภิกษุผู้ยังเป็นเสขะ ผู้มีปัญญากำลังศึกษาในไตรสิกขาคำว่า จอบ หมายถึง ปัญญาเป็นเครื่องขุดความโง่ทิ้ง ขุดจนสามารถตักรากเง่าของความโง่ออกได้หมดคำว่า การขุด หมายถึงความเพียร คือ เพียรเจริญสติปัฏฐาก ๔ พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ให้เห็นว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอนคำว่า ลูกสลัก หมายถึง อวิชชา ความไม่รู้ เป็นเครื่องกั้นตัว วิชชา คือความรู้ไม่ให้เกิดขึ้น อวิชชา จึงเปรียบดังลูกสลักหรือกลอนประตูที่ไม่ยอมให้ประตูเปิดคำว่า อึ่งอ่าง ได้แก่ ความโกรธ เพราะความโกรธมีลักษณะทำให้ใจพองขึ้นเหมือน อึ่งอ่างคำว่า ทาง ๒ แพร่ง ได้แก่ วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเล เหมือนทาง ๒ แพร่งที่คนไม่รู้ว่าจะเดินไปทางไหนดีคำว่า กระบอกน้ำ หมายถึง นิวรณ์ ๕ ประการ มีกามฉันทะ เป็นต้น คนที่มีนิวรณ์ทั้ง ๕ อยู่ในใจ ไม่สามารถจะแสวงหากุศลธรรมให้ติดตัวอยู่ได้เหมือนกระบอกกรองน้ำที่ไม่สามารถจะเก็บน้ำไว้ได้ คำว่า เต่า หมายถึง อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเหมือนกับเต่าที่มี ๔ ขา มีหัว ๑ รวมเป็น ๕ ท่านสอนให้ตัดความรักใคร่พอใจในอุปาทานขันธ์นั้นเสียค่ำว่า เขียง ได้แก่ กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่รักใคร่พอใจ ดุจคนวางชิ้นเนื้อไว้บนเขียงแล้วเชือดชำแหละด้วยมีด ฉันใด กิเลสทั้งหลาย ฆ่าหมู่สัตว์แล้ววางไว้บนเขียง คือ กามคุณทั้ง ๕ แล้วเชือดชำแหละ ฉันนั้น พระพุทธองค์ทรงสอนให้ละกามคุณทั้ง ๕ นั้นเสียคำว่า ชิ้นเนื้อ ได้แก่นันทิราคะ ความรักใคร่เพลิดเพลินอยู่ในกามคุณทั้งหลาย อันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ในภายหลังคำว่า นาค หมายถึงภิกษุผู้สิ้นกิเลสแล้ว เป็นพระอรหันต์ เว้นจากการทำความชั่วทั้งปวง จึงเรียกว่า นาค แปลว่าผู้ประเสริฐพระกุมารกัสสปะ ส่งกระแสจิตไปตามลำดับแห่งคำพยากรณ์แก้ปัญหานั้น เมื่อจบข้อสุดท้ายท่านก็บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย

พระเถระต่อว่ามารดา

ฝ่ายนางภิกษุณีผู้เป็นมารดาของพระกุมารกัสสปะ ตั้งแต่วันที่พระเจ้าปเสนทิโกศล รับเอาบุตรของนางไปชุบเลี้ยงเป็นต้นมา น้ำตาของนางก็ได้ไหลหลั่งเพราะความทุกข์เกิดจากการพลัดพรากจากบุตรผู้เป็นที่รัก เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี แม้ต่อมาจะทราบว่าบุตรชายของนางมาบวชแล้วก็ตาม แต่นางก็ยังมิได้เห็นหน้าพระลูกชายเลย จนกระทั่งเช้าวันหนึ่ง นางได้พบท่านพระกุมารกัสสปะกำลังออกเดินรับบิณฑบาตอยู่ ด้วยความดีใจสุดจะยับยั้ง นางได้ร้องเรียกขึ้นว่า “ลูก ลูก” แล้ววิ่งเข้าไปหาเพื่อสวมกอดพระลูกชาย แต่เพราะว่านางรีบร้อนเกินไป จึงได้สะดุดล้มลงเสียก่อน

พระกุมารกัสสปะคิดว่า “ถ้าหากว่าเราพูดกับมารดาด้วยถ้อยคำอันไพเราะแล้ว นางก็ยิ่งเกิดความสิเนหารักใคร่ในตัวเรามากยิ่งขึ้น และจะเป็นเหตุทำให้นางเสื่อมเสียโอกาสบรรลุอมตธรรมได้ ควรที่เราจะกล่าวคำพูดที่ทำให้นางหมดอาลัยในตัวเราแล้ว นางก็จะได้บรรลุอมตธรรม” ดังนี้แล้ว จึงกล่าวแก่นางว่า “ท่านมัวทำอะไรอยู่ จึงตัดไม่ได้แม้กระทั่งความรัก” ถ้อยคำของพระกุมารกัสสปะทำให้นางรู้สึกน้อยใจและเสียใจเป็นอย่างยิ่ง นางคิดว่า “เราร้องไห้เพราะคิดถึงลูกชายนานถึง ๑๒ ปี เมื่อพบลูกชายแล้วกลับถูกลูกชายพูดจาตัดเยื่อใยให้ต้องช้ำใจอีก” ด้วยความน้อยใจเช่นนี้ นางจึงตัดรักตัดอาลัย หมดความสิเนหาในตัวลูกชายอย่างสิ้นเชิง แล้วนางก็ได้ตั้งใจปฏิบัติวปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนั้นนั่นเอง

ได้รับยกย่องว่าแสดงธรรมอย่างวิจิตร

พระกุมารกัสสปะนั้นท่านได้เป็นกำลังช่วยเหลือกิจการพระศาสนาเต็มกำลังความสามารถ ท่านมีความสามารถพิเศษในการแสดงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร ทั้งข้ออุปมาอุปไมยเปรียบเทียบให้ผู้ฟังรู้แจ้งเห็นจริง เข้าใจอย่างง่ายดายครั้งหนึ่ง ท่านได้แสดงธรรมโปรดพระเจ้าปายาสิ ผู้ครองนครเสตัพยะ ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดว่าโลกหน้าไม่มี กรรมดีกรรมชั่วไม่มีผล นรกสวรรค์ก็ไม่มี เมื่อได้ฟังธรรมจากพระเถระแล้วกลับเป็นสัมมทิฏฐิ ประกาศตนเป็นอุบาสก นับถือพระรัตนตรัยตลอดพระชนม์ชีพด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตรท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 11:39
โพสต์: 316

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b18: :b18: :b18: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b16: :b16: :b16:

.....................................................
คิดดี พูดดี ทำดี มองเเต่ดีเถิด...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 04:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอกราบนอบน้อม พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปักเจกพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระธรรม และ พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ขอให้ข้าพเจ้ามีส่วนในธรรมของพระอริยเจ้าทั้งหลาย

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

:b44: :b44: :b44:

รูปภาพ

ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะอธิษฐาน
ด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศลทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้ตั้งใจปฏิบัติไว้ดีแล้ว
จงเป็นพลวปัจจัย เป็นนิสัยตามส่งให้ข้าพเจ้าเกิดความสุข ความเจริญ
และเกิดปัญญาญาณทั้งในชาตินี้ ชาติหน้าตลอดชาติอย่างยิ่ง
จนบรรลุถึงพระนิพพานในอนาคตกาลนั้น เทอญ.


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร