วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 19:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2009, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโมฆราช เป็นลูกศิษย์ของพราหมณ์พาวรี

คำถามทั้งหมดนี่ เรียกว่า โสฬสธรรม

พราหมณ์พาวรี ได้ส่งลูกศิษย์ไป ๑๖ คน ตั้งคำถามๆพระพุทธเจ้า

คนที่ ๑ อชิตมาณพ ทูลถามปัญหา ๔ ข้อ

ถาม โลก คือ หมู่สัตว์ใหญ่ อันอะไรปิดบังไว้ จึงหลงอยู่ในที่มืด? เพราะอะไรเป็นเหตุ จึงไม่มีปัญญาเห็นปรากฏ? พระองค์ทรงตรัสว่า อะไรเป็นเครื่องฉาบไล้ให้สัตว์โลกติดอยู่ และอะไรเป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลกนั้น?

ตอบ โลก คือ หมู่สัตว์ใหญ่ อันอวิชชาคือ ความไม่รู้แจ้ง ปิดบังไว้แล้ว จึงหลงดุจอยู่ในที่มืด เพราะ ความอยากมีประการต่างๆ และความประมาทเลินเล่อ จึงไม่มีปัญญาเห็นปรากฏ เรากล่าวว่า ความอยากเป็นเครื่องฉาบไล้สัตว์โลกให้ติดอยู่และกล่าวว่า ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลกนั้น

ถาม ขอทรงตรัสบอกว่า อะไรเป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องกันความอยาก อันเป็นดุจกระแสน้ำ หลั่งไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ความอยากนั้นจะละได้ เพราะธรรมอะไร?

ตอบ เรากล่าวว่า สติ เป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องกันความอยากนั้น และความอยากนั้นจะละได้เพราะ ปัญญา

ถาม ปัญญา สติกับนามรูป จะดับไป ณ ที่ไหน?

ตอบ เราจะแก้ปัญหาที่ท่านถามถึงที่ดับนามรูปสิ้นเชิง ไม่มีเหลือแก่ท่าน เพราะ วิญญาณดับไปก่อน นามรูปจึงดับไป ณ ที่นั้นเอง

ถาม ชนผู้มีธรรมได้พิจรณาเห็นแล้ว และชนยังผู้ศึกษาอยู่ 2 พวกนี้ มีอยู่ในโลกเป็นอันมาก ข้าพระเจ้าขอทูลถามถึงความประพฤติของชน 2 พวกนั้น พระองค์มีพระปัญญาแก่กล้า ขอจงตรัสบอกแก่ข้าพระเจ้าเถิด

ตอบ ภิกษุผู้มีธรรมได้พิจรณาเห็นแล้ว และชนผู้นั้นยังต้องศึกษาอยู่ ต้องเป็นคนไม่กำหนัดในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติอยู่ทุกอริยาบท

คนที่ ๒ ติสสเมตยยมาณพ ถามปัญหาเป็นคนที่ ๒ ว่า
ถาม ใครเป็นคนชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ คือเต้มความประสงค์ในโลกนี้ ความอยากซึ่งเป็นเหตุทะเยอทะยานอยากดิ้นรนของใครไม่มี ใครรู้ส่วนข้างปลายทั้งสอง ( คืออดีตกับอนาคต ) ด้วยปัญญาแล้วไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง ( คือปัจจุบัน ) พระองค์ตรัสว่า ใครเป็นมหาบุรุษ ใครล่วงความอยากอันผูกใจในสัตว์โลกนี้ ดุจด้ายเป็นเครื่องเย็บผ้าให้ติดกันไปได้

ตอบ ภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ สำรวมในกามทั้งหลาย ปราศจากความอยากแล้ว มีสติระลึกได้ทุกเมื่อ พิจรณาเห็นโดยชอบแล้ว ดับเครื่องกระวนกระวายได้เสียแล้ว ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ คือเต็มความประสงค์ในโลกนี้ ความอยากซึ่งเป็นเหตุทะเยอทะยานดิ้นรนของภิกษุนั้นแลไม่มี ภิกษุนั้นแล รู้ส่วนข้างปลายทั้งสองด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรากล่าวว่า ภิกษุนั้นแลเป็นมหาบุรุษ ล่วงความอยากอันผูกใจสัตว์ไว้ในโลกนี้ ดุจด้ายเป็นเครื่องเย็บผ้าให้ติดกันไปได้

คนที่ ๓ ปุณณกมาณพ ทูลถามว่า บัดนี้มีปัญหามาถึงพระองค์ผู้หาความหวาดหวั่นมิได้ รู้เหตุที่เป็นรากเง่าของสิ่งทั้งปวง
ถาม ข้าพเจ้าขอทูลถาม หมู่มนุษย์ในโลกนี้ คือฤษี กษัตริย์ พราหมณ์ เป็นอันมาก อาศัยอะไร จึงบูชาบวงสรวงเทวดา

ตอบ หมู่มนุษย์เหล่านั้น อยากได้ของที่ตนปรารถนา อาศัยของที่มีชราเสื่อมโทรม จึงบูชาบวงสรวงเทวดา

ถาม หมู่มนุษย์เหล่านั้น ถ้าไม่ประมาทในยัญของตน จะข้ามพ้นชาติชราได้หรือไม่

ตอบ หมู่มนุษย์เหล่านั้น มุ่งลาภที่ตนหวัง จึงพูดสรรเสริญการบูชายัญ รำพันถึงสิ่งที่ตนรักใคร่ ดังนั้นก็เพราะอาศัยลาภ เรากล่าวว่าผู้บูชายัญเหล่านั้น ยังเป็นคนกำหนัดยินดีในกาม ไม่ข้ามพ้นชาติชราไปได้

ถาม ถ้าบูชาเหล่านั้น ข้ามพ้นชาติชราเพราะยัญของตนไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครเล่าในเทวโลกหรือมนุษย์โลก ข้ามพ้นชาติชรานั้นได้แล้ว

ตอบ ความอยากซึ่งเป็นเหตุทะเยอทะยาน ดิ้นรนในโลกไหนๆของผู้ใดไม่มี เพราะได้พิจรณาเห็นธรรมที่ยิ่งและหย่อนในโลก เรากล่าวว่า ผู้นั้นสงบระงับแล้ว ไม่มีทุจริต ความประพฤติชั่วอันจะทำให้มัวหมองดุจควันไฟอันจับเป็นเขม่า ไม่มีกิเลสอันจะกระทบจิต หาความอยากทะเยอทะยานมิได้ ข้ามพ้นชาติชราได้แล้ว

คนที่ ๔ เมตตาดูมาณพทูลถามปัญหาว่า
ถาม ทุกข์ในโลกหลายประการ ไม่ใช่แต่อย่างเดียว มีมาแล้วแต่อะร?

ตอบ ท่านถามเราถึงเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เราจะบอกแก่ท่าตามรู้ตามเห็น ทุกข์ในโลกนี้ มีอุปธิคือกรรมและกิเลสเป็นเหตุ ล้วนเกิดมาก่อนแต่อุปธิ ผู้ใดเป็นคนเขลา ไม่รู้แล้วกระทำอุปธิให้เกิดขึ้น ผู้นั้นย่อมถึงทุกข์เนืองๆ เหตุนั้น เมื่อรู้เห็นว่า อุปธิ เป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ อย่ากระทำให้เกิดมี

ถาม อย่างไรผู้มีปัญญาจึงข้ามพ้นห้วงทะเลใหญ่ คือ ข้ามชาติชราและโศกพิไรรำพันเสียได้

ตอบ ที่บุคคลได้ทราบแล้ว จักเป็นผู้มีสติดำเนินข้ามความอยาก อันให้ติดอยู่ในโลกนี้เสียได้แก่ท่าน ท่านรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง ในส่วนเบื้องบน ( คือ อนาคต ) ในส่วนเบื้องต่ำ ( คือ อดีต ) ในส่วนท่ามกลาง ( คือ ปัจจุบัน ) จงบรรเทาความเพลิดเพลิน ความยึดมั่นในส่วนเหล่านี้เสีย วิญญาณของท่านจักไม่ตั้งอยู่ในภพ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติไม่เลินเล่อ ได้ทราบแล้ว ละความถือมั่นว่าของเราเสียได้แล้ว จักละทุกข์ คือ ชาติชราและโศกพิไรรำพันในโลกนี้ได้

ผู้ใดเป็นพราหมณ์ ถึงที่สุดจบไตรเพท ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ติดข้องกามภพ ผู้นั้นแล ข้ามล่วงเหตุแห่งทุกข์ดุจห้วงทะเลอันใหญ่นั้นได้แน่แล้ว ครั้นข้ามถึงฝั่งแล้ว เป็นคนไม่มีกิเลสอันตรึงจิต สิ้นความสงสัย ผู้นั้นครั้นรู้แล้ว ถึงที่สุดจบไตรเพท ในศาสานานี้ ละธรรมที่เป็นเหตุติดข้องอยู่ในภพน้อย ภพใหญ่ เสียได้แล้ว เป็นคนที่มีความอยากสิ้นแล้ว ไม่มีกิเลสอันจะกระทบจิต หาความอยากทะเยอทะยานมิได้ เรากล่าวว่า ผู้นั้นแลข้ามพ้นข้ามชาติชราได้แล้ว

คนที่ ๕ โธตกมานพ

ถาม จะศึกษาข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องดับกิเลสของตน

ตอบ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเป็นคนมีปัญญา มีสติ ทำความเพียรในศาสนานี้เถิด

ถาม ข้าพองค์ได้เห็นพระองค์ผู้เป็นพราหมณ์ หากังวลมิได้ เที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก เหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ขอพระองค์ทรงเปลื้องข้าพเจ้าออกจากความสงสัยเถิด

ตอบ เราจะเปลื้องใครๆในโลก ผู้ยังมีความสงสัยอยู่ไม่ได้ เมื่อท่านรู้ธรรมอันประเสริฐ ก็จักข้ามห้วงทะเลใหญ่คือ กิเลสอันนี้เสียได้เอง

ถาม ขอพระองค์ จงทรงพระกรุณาแสดงธรรมอันสงัดจากกิเลสที่ข้าพเจ้าควรจะรู้ สั่งสอนข้าพเจ้าให้เป็นคนโปร่ง ไม่ขัดข้อง ดุจอากาศ สงบระงับกิเลสเสียได้ ไม่อาศัยสิ่งหนึ่งสิ่งใดเที่ยวอยู่ในโลกนี้

ตอบ เราจะบอกอุบายเครื่องสงบ ระงับกิเลส ซึ่งจะเห็นเอง ไม่ต้องเชื่อตามตื่นข่าว ที่บุคคลได้ทราบแล้ว จักมีสติ ข้ามความอยากที่ตรึงใจในโลกเสียแก่ท่านได้ ถ้าท่านรู้ว่า ความทะยานอยากทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ ท่ามกลาง เป็นเหตุให้ติดข้องอยู่ในโลก ท่านอย่าทำความทะยานอยากเพื่อจะเกิดในภพน้อยภพใหญ่

คนที่ ๖ อุปสีวมาณพ

ถาม ลำพังข้าพเจ้าผู้เดียวไม่ได้อาศัยอะไรแล้ว ไม่อาจข้ามห้วงทะเลใหญ่ คือกิเลสได้ ขอพระองค์ตรัสบอกอารมณ์ที่หน่วงเหนี่ยว อันข้าพเจ้าจะควรอาศัยข้ามห้วงนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด

ตอบ ท่านจงเป็นผู้มีสติเพ่งอากิญจัญญายตนฌาน อาศัยอารมณ์ว่า ไม่มีๆ ดังนี้ ข้ามห้วงเสียเถิด ท่านจงละกามทั้งหลายเสีย เป็นคนเว้นจากความสงสัย เห็นธรรมที่สิ้นไปแห่งความทะยานอยากให้ปรากฏชัดทั้งกลางคืนและกลางวันเถิด

ถาม ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลายทั้งปวงแล้ว ล่วงฌานอื่นได้แล้ว อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน ( คือความเพ่งในใจว่า ไม่มีอะไร เป็นอารมณ์ ) น้อมใจแล้วในอากิญจัญญายตนฌาน อันเป็นธรรมที่เปลื้องสัญญาอย่างประเสริฐที่สุด ผู้นั้นจะต้องอยู่ในอากิญจัญญายตนฌาน ไม่มีเสื่อมบ้างหรือ

ตอบ เปลวไฟอันกำลังลมเป่าแล้วดับไปไม่ถึง ความนับว่าได้ไปแล้วข้างทิศไหนฉันใด ท่านผู้รู้พ้นไปแล้วจากกองนามรูป ย่อมดับไม่มีเชื้อเหลือ ( คือดับไปพร้อมกับกิเลสทั้งขันธ์ ) ไม่ถึงความนับว่าไปเกิดเป็นอะไรฉันนั้น


คนที่ ๗ นันทมาณพ

ถาม ชนทั้งหลายกล่าวว่า มุนีมีอยู่ในโลกดังนี้ ข้อนี้เป็นอย่างไร เขาเรียกคนถึงพร้อมด้วยญาณหรือถึงพร้อมด้วยการเลี้ยงชีวิตว่าเป็นมุนี

ตอบ ผู้ฉลาดในโลกนี้ ไม่กล่าวว่าคนเป็นมุนี ด้วยความเห็น ด้วยความสดับ หรือด้วยความรู้ เรากล่าวว่า คนใดทำตนให้ปราศจากกองกิเลส เป็นคนหากิเลสมิได้ ไม่มีความหวังทะยานอยากเที่ยวอยู่ ผู้นั้นแล ชื่อว่า มุนี

ถาม สมณพรามหณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง กล่าวความบริสุทธิ์ ด้วยความเห็น ด้วยความฟัง ด้วยศิลและพรต และด้วยวิธีเป็นอันมาก สมณพราหมณ์เหล่านั้น ประพฤติในวิธีเหล่านั้น ตามที่ตนเห็นว่าเป็นเครื่องบริสุทธิ์ ข้ามพ้น ข้ามชาติชราได้แล้วบ้างหรือหาไม่

ตอบ สมณพราหมณ์เหล่านั้น แม้ถึงประพฤติอย่างนั้น เรากล่าวว่า ข้ามพ้นชาติชราไม่ได้แล้ว

ถาม ถ้าพระองค์ตรัสว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นข้ามห้วงไม่ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครเล่าในเทวโลกหรือในมนุษยโลก ข้ามพ้นชาติชราได้แล้ว

ตอบ เราไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ อันชาติชราครอบงำแล้วหมดทุกคน แต่เรากล่าวว่า สณพราหมณ์

เหล่าใดในโลกนี้ ละอารมณ์ที่ตนได้เห็น ได้รู้ ได้ฟังและศิลพรตกับวิธีเป็นอันมากเสียทั้งหมด กำหนดรู้ตัณหาว่าเป็นโทษควรละแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล ข้ามห้วงได้แล้ว

คนที่ ๘ เหมกมาณพ

ถาม ในปางก่อนแต่ศาสนาของพระองค์ อาจารย์ทั้งหลายได้ยืนยันว่า อย่างนั้นได้เคยมีมาแล้ว อย่างนี้จักมีต่อไปข้างหน้า ดำเนินล้วนเป็นแต่ว่าอย่างนี้แลๆๆ สำหรับแต่จะทำความตรึกฟุ้งให้มากขึ้น ข้าพเจ้าไม่พอใจในคำนั้นเลย ขอพระองค์ตรัสบอกธรรมเป็นเหตุถอนตัณหาที่ข้าพเจ้าทราบแล้ว จะพึงเป็นคนมีสติ ข้ามล่วงพ้นตัณหาอันให้ติดอยู่ในโลก แก่ข้าพเจ้าเถิด

ตอบ ชนเหล่าใด ได้รู้ว่าพระนิพพานเป็นที่บรรเทาความกำหนัดพอใจในอารมณ์ที่รัก ซึ่งได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว ได้ดมแล้ว ได้ชิมแล้ว ได้ถูกแล้ว และได้รู้แล้วด้วยใจ และเป็นธรรมไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นแล้วเป็นคนมีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับกิเลสได้แล้ว ชนผู้ระงับกิเลสได้แล้วนั้น ข้ามล่วงพ้นตัณหาอันให้ติดอยู่ในโลกนี้ได้แล้ว

คนที่ ๙ โตเทยยมาณพ
ถาม กามทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในผู้ใด ตัณหาของผู้ใดไม่มี และผู้ใดข้ามล่วงความสงสัยเสียได้ ความพ้นของผู้นั้นจะเป็นเช่นไร
ตอบ ความพ้นของผู้นั้นที่จะเป็นอย่างอื่นอีกมิได้มี (อธิบายว่า ผู้นั้นพ้นจากกาม จากตัณหา จากความสงสัยเสียแล้ว กามก็ดี ตัณหาก็ดี ความสงสัยก็ดี จะกลับเกิดขึ้น ผู้นั้นจักต้องเพียรพยายามเพื่อจะทำตนให้พ้นไปอีก หามีไม่ ความพ้นของผู้นั้นเป้นอันคงที่ ไม่แปรผันเป็นอื่น )
ถาม ผู้นั้นเป็นคนมีความหวังทะเยอทะยานหรือไม่ เป็นคนมีปัญญาแท้หรือเป็นแต่ก่อตัณหาและทิฏฐิให้เกิดขึ้นด้วยปัญญา ข้าพเจ้าจะรู้จักท่านมุนีนั้นได้ด้วยวิอย่างไร?
ตอบ ผู้นั้นเป็นคนไม่มีความหวังทะเยอทะยาน จะเป็นคนมีความหวังทะเยอทะยานก็หาไม่ เป็นคนมีปัญญาแท้ จะเป็นคนก่อตัณหาและทิฏฐิให้เกิดด้วยปัญญาก็หาไม่ ท่านจงรู้จักมุนีว่า คนไม่มีกังวล ไม่ติดอยู่ในกามภพอย่างนี้เถิด

คนที่ ๑๐ กัปปมาณพ
ถาม ขอพระองค์ตรัสบอกธรรมอันเป็นที่พึ่งพำนักของชนอันชราและมรณะถึงรอบข้าง ดุจเกาะอันเป็นที่พำนักอาศัยของชนผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลางสาคร เมื่อคลื่นเกิดที่น่ากลัวใหญ่แก่ข้าพเจ้า อย่าให้เกิดทุกข์นี้ได้อีก
ตอบ เรากล่าวว่า นิพพานอันไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่มีตัณหาเครื่องถือมั่น เป็นที่สิ้นแห่งชราและมรณะนี้แลเป็นดุจเกาะหาใฃ่ธรรมอื่นไม่ ฃนเหล่าใดรู้นิพพานนั้นแล้ว เป็นคนมีสติมีธรรมอันเห็นแล้ว ดับกิเลสได้แล้ว ชนเหล่านั้นไม่ต้องตกอยู่ในอำนาจของมาร ไม่ต้องเดินไปในทางของมารเลย

คนที่ ๑๑ ชตุกัณณีมาณพ
ถาม ข้าพเจ้าได้ทราบว่าพระองค์มิใช่ผู้ใคร่กาม ข้ามล่วงห้วงกิเลสเสียได้แล้ว จึงมาเฝ้าเพื่อจะทูลถามพระองค์ผู้หากิเลสมิได้ ขอพระองค์จงแสดงธรรมอันระงับแก่ข้าพเจ้าโดยถ่องแท้ เหตุว่าพระองค์ทรงผจญกิเลสกามให้แห้งหายได้ ตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติชราในอัตภาพนี้ที่ข้าพเจ้าควรจะทราบด้วยเถิด
ตอบ ท่านจงนำความกำหนัดในกามเสียให้สิ้น เห็นความออกไปจากกามโดยเป็นความเกษมเถิด กิเลสเครื่องกังวลที่ท่านยึดไว้ด้วยตัณหาและทิฏฐิ ซึ่งควรจะสละเสีย อย่าเสียดแทงใจของท่านได้ กังวลใดได้มีแล้วในปางก่อน ท่านจงให้กังวลนั้นเหือดแห้งเสีย กังวลในภายหลังอย่าให้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอากังวลในท่านกลาง ท่านจักเป็นคนสงบระงับกังวลได้เที่ยวอยู่ อาสวะ( กิเลส ) ซึ่งเป็นเหตุถึงอำนาจมัจจุราชของชนผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูปโดยอาการทั้งปวงมิได้

คนที่ ๑๒ ภัทราวุธมาณพ
ข้าพเจ้าทุลขออราธนาพระองค์แล้ว ผู้ทรงอาลัยตักตัณหาเสียได้ไม่หวั่นไหว( เพราะโลกธรรม ) ละความเพลิดเพลินเสียได้ ข้ามห้วงกิเลสพ้นไปได้แล้ว ละธรรมเป็นเครื่องให้ดำริ(ไปต่างๆ )คือ ตัณหาและทิฏฐิได้แล้ว มีพระปรีชาญาณอันดีแล้ว ชนที่อยู่ชนบทต่างๆอยากจะฟังพระวาจาของพระองค์มาพร้อมกันแล้วจากชนบทนั้นๆ ได้ฟังพระวาจาของพระองค์แล้วจักกลับไปจากที่นี่ ขอพระองค์ทรงแก้ปัญหาเพื่อชนเหล่านั้น เพราะว่าธรรมนั้นพระองค์ได้ทรงทราบแล้ว
ตอบ หมู่ชนนั้นควรนำตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นในส่วนเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง คือท่ามกลางทั้งหมดให้สิ้นเชิง เพราะเขาถือมั่นสิ่งใดๆในโลก มารย่อมติดตามเขาได้โดยสิ่งนั้นๆ เหตุนั้น ภิกษุเมื่อรู้อยู่ เมื่อเห็นหมู่สัตว์ผู้ติดอยู่ในวัฏฏะเป็นด้าวแห่งมารนี้ว่า ติดอยู่เพราะความถือมั่นดังนี้ พึงเป็นคนมีสติไม่ถือมั่นกังวลในโลกทั้งปวง

คนที่ ๑๓ อุทยมาณพ
ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะทูลถามปัญหา จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงทำกิจที่จะต้องทำเสร็จแล้ว บรรลุถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ขอพระองค์จงทรงแสดงธรรมเป็นเครื่องพ้น ( จากกิเลส ) ที่ควรรู้ทั่วถึง เป็นเครื่องทำลายอวิชชาความเขลาไม่รู้แจ้งเสีย
ถาม โลกมีอะไรผูกพันไว้ อะไรเป็นเครื่องสัญจรของโลก ท่านกล่าวกันว่า นิพพานดังนี้ๆ เพราะละอะไรได้
ตอบ โลกมีความเพลิดเพลินผูกพันไว้ ความตรึกเป็นเครื่องสัญจรของโลกนั่น ท่านกล่าวกันว่า นิพพานดังนี้ๆเพราะละตัณหาเสียได้
ถาม เมื่อบุคคลมีสติระลึกอย่างไร วิญญาณจึงจะดับ ข้าพระเจ้าทั้งหลายมาเฝ้าแล้ว เพื่อจะทูลถามพระองค์ ขอให้ได้ฟังพระวาจาของพระองค์เถิด
ตอบ เมื่อบุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนาทั้งหลายภายในภายนอก มีสติระลึกอย่างนั้น วิญยาณจึงจะดับ

คนที่ ๑๔ โปสาลมาณพ
ถาม ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะทูลถามปัญหา จึงได้มาเฝ้าพระองค์ ผู้ทรงสำแดงพระปรีชาญารในกาลเป็นอดีต ไม่ทรงหวั่นไหว ( เหตุสุขทุกข์ ) มีความสงสัยอันตัดเสียได้แล้ว บรรลุถึงฝั่งธรรมทั้งปวงข้าพเจ้าขอทูลถามถึงญาณของบุคคลผู้มีความกำหนัดหมายในรูปแจ้งชัด ( คือได้บรรลุรูฌาณแล้ว ) ละรูปารมณืทั้งหมดได้แล้ว ( คือล่วงรูปฌานขึ้นไปแล้ว ) เห็นอยู่ได้ทั้งภายในภายนอกว่าไม่มีอะไรสักน้อยนิด ( คือได้บรรลุอรูปเนที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ ) บุคคลเช่นั้นควรจะแนะนำสั่งสอนให้ทำอย่างไรต่อไป
ตอบ พระตถาคตเจ้าทรงทราบภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณทั้งหมด จึงทราบบุคคลผู้เช่นนั้นแม้ยังตั้งอยู่ในโลก มีอัธยาศัยน้อมไปในอากิญจัญญายตนภพ มีอากิญจัญญายตนภพเป็นที่ไปในเบื้องหน้า บุคคลเช่นนี้รู้ว่ากรรมเป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพมีความเพลิดเพลินยินดีเป็นเครื่องประกอบดังนี้แล้ว ลำดับนั้นย่อมพิจรณาเห็นสหชาตธรรมในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ( คือธรรมที่เกิดพร้อมกับฌานนั้น ) แจ้งชัดโดยลักษณะ ๓ ( คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว ) ข้อนี้เป็นญาณอันถ่องแท้ของพราหมณ์เช่นนั้น ผู้มีพรหมจรรย์ได้ประพฤติจบแล้ว

คนที่ ๑๕ พระโมฆราช
หมายเหตุ ที่อชิตมาณพทูลถามคนที่ ๑ จบแล้ว โมฆราชปรารภหาจะทุลถามปัญหา ได้ยินว่าโมหราชนั้นถือตนว่าเป็นคนมีปัญญามากกว่ามาณพทั้ง ๑๕ คน คิดจะทูลถามก่อน แต่เห็นว่าอชิตมาณพเป็นผู้ใหญ่กว่าจึงยอมให้ทูลถามก่อน ครั้นอชิตทูลถามแล้ว จึงปรารภทูลถามเป็นครั้งที่ ๒ พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นอาการอย่างนั้นแล้ว จึงตรัสห้ามว่า โมฆราชท่านรอให้มาณพอื่นถามก่อนเถิด โมฆราชก็หยุดนั่งอยู่ มาครั้งนี้โมฆราชกราบทูลว่า ข้าพระเจ้าได้ยินว่า ถ้าทุลถามถึง ๓ ครั้งแล้ว พระองค์ทรงแก้ครั้นอย่างนี้แล้ว ทูลถามปัญหาเป็นคำรบที่ ๑๕
ถาม โลกนี้ก็ดี โลกอื่นก็ดี พรหมโลกพร้อมทั้งเทวโลกก็ดี ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์ เหตุฉะนี้จึงมีปัญหามาถึงพระองค์ผู้ทรงพระปรีชายิ่ง เห็นล่วงสามัญชนทั้งปวงอย่างนี้ ข้าพเจ้าจักพิจรณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราช ( ความตาย ) จึงจักไม่แลเห็น คือว่าจักตามไม่ทัน
ตอบ ท่านจงเป็นคนมีสติ พิจรณาเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ถอนตามความเห็นว่าตัวของเราเสียทุกเมื่อเถิด ท่านจักข้ามล่วงมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายอย่างนี้ ท่านพิจรณาเห็นโลกอย่างนี้แล มัจจุราชจึงไม่แลเห็นท่าน

คนที่ ๑๖ ปิงคยมาณพ
ถาม ข้าพเจ้าเป็นคนแก่แล้ว ไม่มีกำลัง มีผิวพรรณสิ้นไปแล้ว ดวงตาของข้าพเจ้าก็เห็นไม่กระจ่าง หูก็ฟังไม่สะดวก ขอข้าพเจ้าอย่าเป็นคนหลงฉิบหายเสียในระหว่างเลย ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมที่ข้าพเจ้าควรรู้เป็นเครื่องละชาติชราในอัตตาภาพนี้เสีย
ตอบ ท่านเห็นว่าชนทั้งหลายผู้ประมาทแล้วย่อมเดือดร้อนเพราะรูปเป็นเหตุ เพราะฉะนั้น ท่านจงเป็นคนไม่ประมาท ละความพอใจในรูปเสีย จะได้ไม่เกิดอีก
ถาม ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ เป็น ๑๐ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องต่ำที่พระองค์ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ฟังแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้รู้แล้ว แม้น้อยหนึ่ง มิได้มีในโลก ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมที่ข้าพเจ้าควรรู้ เป็นเครื่องละชาติชราในอัตตาภาพนี้เสีย
ตอบ เมื่อท่านเห็นหมู่มนุษย์ อันตัณหาครอบงำแล้ว มีความเดือดร้อนเกิดแล้ว อันชราถึงรอบข้างแล้ว เหตุนั้น ท่านจงเป็นคนไม่ประมาท ละตัณหาเสีย จะได้ไม่เกิดอีก
ในกาลที่สุดแห่งปัญหา ที่พระศาสดาพยากรณ์แก่ตนๆมาณพ ๑๕ คน เว้นไว้แต่ปิงคยมาณพ ส่งใจไปตามธรรมเทศนาก็มีจิตพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปทาน ส่วนปิงคยะ เป็นแต่ญาณเห็นธรรม ได้ยินว่า ปิงคยมาณพนั้น คิดถึงพราหมณ์พาวรีผู้เป็นอาจารย์ ในระหว่างที่นั่งฟังพระธรรมเทศนาว่า ลุงของเราหาได้ฟังพระธรรมเทศนาที่ไพเราะอย่างนี้ไม่ อาศัยดทษที่ฟุ้งซ่านเพราะความรักอาจารย์นั้น จึงไม่อาจทำจิตให้สิ้นอาสวะ มาณพ ๑๖ คนทั้งบริวารนั้นทุลขออุปสมบท พระศาสดาก็ทรงอนุญาติให้เป็นภิกษุด้วยวาจาว่า ท่านทั้งหลายเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านทั้งหลายประพฟติพรหมจรรย์เถิด ดังนี้. ฝ่ายพระปิงคิยะทูลลาพระศาสดา กลับไปแจ้งข่าวแก่พราหมณ์พาวรีผู้อาจารย์แล้วแสดงพระธรรมเทศนาแก้ปัญหา ๑๖ ข้อนั้นให้ฟัง ภายหลังได้สดับโอวาทที่พระศาสดาตรัสสั่งสอน จึงทำให้จิตใจให้พ้นจากอาสวะได้ ส่วนพราหมณ์พาวรีอาจารย์ บรรลุธรรมาภิสมัยแต่เพียงชั้นเสขภูมิ

จากหนังสืออนุพุทธประวัติ (หลักสูตรนักธรรมโท) ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๖

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2009, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2009, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุค่ะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

:b53: cool :b53:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร