วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1210063875.jpg
1210063875.jpg [ 79.14 KiB | เปิดดู 10561 ครั้ง ]
“๑๐ อุบาสิกา ผู้เป็นเลิศ”

เพื่อชูเชิด ความดี ที่เลิศล้ำ
ต่างลีลา ชีวิต พิชิตกรรม
ขอน้อมนำ เล่าสู่ ผู้ศรัทธา
ฝากบุคลา- ธิษฐาน ท่านเหล่านี้

สุชาดา สามาวดี วิสาขา
ขุชชุตตรา อุตตรา สุปปิยา
สุปปวาสา นกุลมารดา กาติยานี
และกาฬี ๑๐ อุบาสิกา ล้วนอริยะ

เอตทัคคะ ผู้เลิศ ประเสริฐศรี
พุทธองค์ ทรงยกย่อง ครองความดี
หลายพันปี คงอยู่ “ผู้ไม่ตาย”

๑๐ อุบาสิกาที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องในความดีงามอันยิ่งใหญ่
อุบาสิกาเอตทัคคะในพระพุทธศาสนา๑๐ พระองค์

๑. นางสุชาดาเอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน
แก้บนด้วยข้าวมธุปายาส /ลูกชายหาย / ยสะบรรลุอรหัตผล / อุบาสิกาคนแรก

๒. นางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา
๗ขวบสำเร็จโสดาบัน / หญิงงามเบญจกัลยาณี / ชน ๔ พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งาม /ธนญชัยเศรษฐีให้โอวาทลูกสาว / อานิสงส์การทำบุญแล้วแถม / นางวิสาขาตำหนิพ่อผัว / พ่อผัวยกย่องวิสาขาให้ฐานะมารดา / คุณสมบัติพิเศษประจำตัวนางวิสาขา /ร้องไห้อาลัยหลาน /วิสาขาสร้างวัด / เพราะพระเปลือยกายจึงถวายผ้าอาบน้ำฝน /พระภิกษุคิดว่านางเป็นบ้า

๓. นางขุชชุตตราเอตทัคคะในฝ่ายผู้แสดงธรรม
สาวพิการหลังค่อม / โฆสกเศรษฐีสร้างวัดถวาย /นางขุชชุตตราบรรลุโสดาบัน /เป็นอาจารย์สอนธรรม / บุพกรรมล้อเลียนพระ

๔. นางสามาวดีเอตทัคคะในฝ่ายผู้อยู่ด้วยเมตตา
เศรษฐีตกยาก / ได้นามว่าสามาวดี /นางสามาวดีบรรลุโสดาบัน /
นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระศาสดา /จ้างนักเลงด่าพระพุทธองค์ /
นางสามาวดีถูกใส่ความเรื่องไก่ /ถูกใส่ความเรื่องงู / อานุภาพแห่งเมตตาธรรม /นางสามาวดีถูกเผาทั้งเป็นพร้อมหญิงสหาย / ชดใช้กรรมเก่า / กรรมใหม่ให้ผลทันตา

๕. นางอุตตรานันทมารดาเอตทัคคะในฝ่ายผู้เพ่งด้วยฌาน
ขี้ไถกลายเป็นทอง /นางอุตราถูกน้ำมันเดือดราดศีรษะ

๖. พระนางสุปปวาสาเอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายของมีรสอันประณีต
ตั้งครรภ์นานเกือบ ๘ ปี /ให้อาหารชื่อว่าให้สิ่งประเสริฐ ๕ ประการ


๗. นางสุปปิยาเอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้
เฉือนเนื้อตัวเองถวายพระ /ทรงบัญญัติห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์

๘. นางกาติยานีเอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง
โจรขุดอุโมงค์เข้าบ้าน / พาโจรบวช

๙. นางกาฬีกุรรฆริกาเอตทัคคะในฝ่ายผู้ได้ความเลื่อมใสตามเขา
การคลอดบุตรในเรือนของบุคคลอื่นนั้น เป็นการไม่สมควร

๑๐.นางนกุลมารดาคหปตานีเอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระศาสดา
กล่าวตู่ว่าพระพุทธองค์เป็นลูก /แม้ทางใจก็ไม่เคยคิดชั่ว

คัดจาก http://www.84000.org

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 16 ก.ย. 2009, 21:43, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1210063921.jpg
1210063921.jpg [ 54.53 KiB | เปิดดู 10555 ครั้ง ]
๑.นางสุชาดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน

นางสุชาดา เป็นธิดาของเสนิยกุฏุมพี (กุฏุมพี = เศรษฐี ผู้มีทรัพย์มาก) ในหมู่บ้านเสนา
นิคม แห่งตำบลอุรุเวลา เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยสาวนางได้ทำพิธีบวงสรวงต่อเทพยดาที่สิงสถิต ณ
ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งใกล้บ้านของนาง โดยได้ตั้งปณิธานความปรารถนาไว้ ๒ ประการ คือ:-
๑. ขอให้ข้าพเจ้าได้สามีที่มีบุญ มีทรัพย์สมบัติ และมีชาติสกุลเสมอกัน
๒. ขอให้ข้าพเจ้ามีบุตรคนแรกเป็นชาย
ถ้าความปรารถนาของข้าพเจ้าทั้ง ๒ ประการ สำเร็จสมบูรณ์แล้ว ข้าพเจ้าจะทำพลีกรรม
แก่ท่านด้วยของอันมีค่าหนึ่งแสนหกปณะ
ครั้นการต่อมา ความปรารถนาของนางสำเร็จทั้งสองประการ โดยได้สามีเป็นเศรษฐีมี
ฐานะเสมอกัน และได้บุตรคนแรกเป็นชายนามว่า “ยสะ” นางได้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปจนลูก
ชายแต่งงานแล้ว จึงปรารภที่จะทำพลีกรรมบวงสรวงสังเวยเทพยดาด้วยข้าวมธุปายาส เมื่อถึงวัน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ นางได้ประกอบพิธีหุงข้าวมธุปายาสเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นางทาสีสาวให้
ไปปัดกวาดทำความสะอาดบริเวณโคนต้นไทรนั้น

* แก้บนด้วยข้าวมธุปายาส
ขณะนั้น พระสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์ หลังจากเลิกการทรมานร่างกายหันมาเสวยพระ
กระยาหารหวังจะบำเพ็ญเพียรทางจิต ประทับนั่งพักผ่อนที่ใต้ร่มไทรนั้น ผินพระพักตร์ทอดพระ
เนตรไปทางทิศปราจีน (ตะวันออก) มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายเป็นปริมณฑลดูงามยิ่ง
นัก นางทาสีสาวใช้เห็นแล้วก็ตระหนักแน่ในจิตคิดว่า คงจะเป็นเทพยดาเจ้า มานั่งคอยท่ารับ
เครื่องพลีกรรม จึงมิได้เข้าไปทำความสะอาดดังที่ตั้งใจมา รีบกลับไปแจ้งแก่นางสุชาดา โดยด่วน
ฝ่ายนางสุชาดา จึงเรียบแต่งกายด้วยเครื่องอาภรณ์อันงดงามเป็นที่เรียบร้อย แล้วยกถาดข้าว
มธุปายาสขึ้นทูนศีรษะ ออกจากบ้านพร้อมด้วยบริวารไปยังต้นไทรนั้น ครั้นได้เห็นพระโพธิสัตว์
งดงามเช่นนั้น ก็เกิดโสมนัสยินดีสำคัญว่าเป็นรุขเทวดามานั่งคอยรับเครื่องพลีกรรม จึงน้อมนำ
เข้าไปถวายพร้อมทั้งถาดทองคำ
เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ ทรงรับและเสวยข้าวมธุปายาสแล้ว เสด็จไปประทับที่โคนต้น
พระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตและได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญู
พุทธเจ้าในวันนั้น หลังจากได้ประทับเสวยวิมุติสุข คือ สุขอันเกิดจากการตรัสรู้บริเวณใกล้ ๆ นั้น
เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ รวม ๔๙ วัน แล้วได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี

* ลูกชายหาย
ในที่ไม่ไกลจากป่าอิสิปตนมฤคทายวันมากนัก ตระกูลครอบครัวของนางสุชาดา ได้ตั้ง
อยู่บริเวณนั้น เพราะเป็นตระกูลเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติมาก แต่มีบุตรชายเพียงคนเดียว จึงเอาอก
เอาใจบำรุงบำเรอบุตรด้วยกามคุณ ๕ อย่าง พร้อมสรรพ ด้วยหวังจะให้บุตรชายเป็นทายาทสืบ
สกุล ได้สร้างปราสาท ๓ หลัง สำหรับเป็นที่อยู่ใน ๓ ฤดู อีกทั้งมีสาวงามคอยขับร้องประโคม
ดนตรีขับกล่อมตลอดเวลา
คืนหนึ่ง ยสะนอนหลับก่อนบริวารและสาวขับร้อง ท่ามกลางแสงประทีปส่องสว่างอยู่
บรรดาหญิงนักขับร้องประโคมดนตรีทั้งหลายเห็นยสะนอนหลับแล้วจึงคิดว่า บัดนี้เจ้านายก็หลับ
แล้วพวกเราจะขับร้องประโคมดนตรีกันไปเพื่อประโยชน์อะไร จึงพากันเอนกายลงนอนหลับ
ใหลไม่ได้สติ
สยะตื่นขึ้นมายามดึกเห็นอาการอันวิปริตต่าง ๆ ของหญิงนักดนตรีเหล่านั้นนอนกันไม่
เป็นระเบียบ บ้างก็นอนบ่นละเมอเพ้อพึมพำ บ้างก็นอนกรน ดังดูจเสียงกา บ้างก็เลื้อยกายไม่มี
ผ้าปิด บ้างก็อ้าปากน้ำลายไหล ฯลฯ ไม่เป็นที่เจริญจิตเจริญใจดังแต่ก่อน ภาพเหล่านี้ปรากฏแก่
ยสะดุจซากศพ ในป่าช้าผีดิบ เกิดความรู้สึกสลดรันทดใจ และเบื่อหน่ายรำคาญเป็นที่สุด จึงเดิน
ออกจากห้องเดินพลางบ่นพลางว่า “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” ออกจากห้องลงบันไดเดิน
ไปอย่างไม่มีจุดหมาย บังเอิญได้เดินไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์
เสด็จเดินจงกรมอยู่ ได้สดับเสียงของยสะเดินบ่นมาเช่นนั้น จึงตรัสว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัด
ข้อง เธอจงเข้ามาที่นี่เราจะแสดงธรรมให้ฟัง”
ยสะจึงถอดรองเท้าแล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ ได้สดับพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถา
และอริยสัจ ๔ จบแล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

* ยสะบรรลุพระอรหัตผล
ฝ่ายทางบ้าน พอรู้ว่าลูกชายหายไปจึงรีบส่งคนออกติดตามทั่วทุกทิศ บิดาเองก็ออกติด
ตามด้วยและบังเอิญเดินไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เห็นรองเท้าลูกชายก็จำได้จึงเข้าไปกราบ
ทูลถามพระพุทธองค์ว่าเห็นลูกชายมาทางนี้บ้างหรือไม่ พระพุทธองค์ทรงดำริว่า “ถ้าพ่อลูกได้
เห็นหน้ากันก็จะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรม” จึงทรงบันดาลด้วยฤทธิ์มิให้พ่อลูกเห็นกัน
ตรัสแก่เศรษฐีว่า “ท่านจงนั่งลงก่อนแล้วท่านจะได้เห็นลูกชายของท่าน” แล้วทรงแสดง
อนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ ให้ท่านเศรษฐี ฟัง ส่วน ยสะก็ได้ฟังอีกครั้งหนึ่ง เมื่อจบลงเศรษฐีได้
บรรลุพระโสดาบัน ส่วนยสะได้บรรลุพระอรหัตผล พระพุทธองค์ทรงทราบว่า ยสะได้บรรลุ
พระอรหัต ไม่หวนกลับไปครองเพศฆราวาสอีกต่อไปแล้ว จึงทรงคลายฤทธิ์ให้พ่อลูกได้เห็นกัน
เศรษฐีเห็น ยสะลูกชายก็ดีใจ อ้นวอนให้กลับบ้าน ด้วยคำว่า “ยสะ มารดาของเจ้าเศร้าโศกยิ่งนัก
เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าด้วยเถิด” แต่พอทราบว่า ยสะบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็อนุโมทนา
และขอแสดงคนเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก ตลอดชีวิต ได้ชื่อว่า “เป็น
อุบาสกคนแรก ที่ถึงพระรัตนตรัย” แล้วกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยยสะให้ไป
รับอาหารบิณฑบาตที่เรือนของตนในเช้าวันนั้น และเมื่อทราบว่าพระพุทธองค์ทรงรับอาราธนา
แล้ว จึงกราบทูลลากลับบ้านแจ้งแก่ภรรยาและบริวารในบ้านให้จัดเตรียมอาหาร เพื่อถวายพระ
บรมศาสดาและ ยสะ ฝ่ายยสะ เมื่อบิดากลับไปแล้วกราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรง
ประทานด้วยพระดำรัสว่า

“เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด” โดยไม่มีคำว่า
“เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ” เหมือนกับที่ประทานแก่พระปัญจวัคคีย์ เพราะว่ายสะได้สำเร็จเป็น
พระอรหันต์ ตั้งแต่ก่อนบวชนั่นเอง การอุปสมบทแบบนี้เรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา”
เช้าวันนั้น พระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระยสะเสด็จไปยังเรือนของเศรษฐีตามคำ
อาราธนา ประทับบนอาสนะที่จัดเตรียมไว้ มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะได้ช่วยกันถวาย
ภัตตาหาร เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ ให้สตรีทั้งสอง
ฟัง เมื่อจบลงเธอทั้งสองก็ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบันในพระพุทธศาสนา แสดง
ตนเป็นอุบาสิกา ขอถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต เธอทั้งสองได้ชื่อว่า “เป็นอุบาสิกาคนแรกหรือรุ่น
แรกที่ถึงพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนา”
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องนางสุชาดา (มารดาของพระยสะ) ในตำแหน่ง
เอตทัคคะ ว่าเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อนอุบาสิกาทั้งปวง

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 13 ก.ย. 2009, 19:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1210063828.jpg
1210063828.jpg [ 56.63 KiB | เปิดดู 10555 ครั้ง ]
๒.พระนางสามาวดี ... ผู้เป็นเลิศฝ่ายอยู่ด้วยเมตตา

นางสามาวดี เป็นธิดาของเศรษฐีนามว่าภัททวดีย์ แห่งเมืองภัททวดีย์ เดิมชื่อว่า “สามา”
และบิดาของนางเป็นสหายที่ไม่เคยเห็นหน้ากันกับโฆสกเศรษฐี แห่งเมืองโกสัมพี

* เศรษฐีตกยาก
ครั้นต่อมา เกิดโรคอหิวาต์ระบาดในเมืองภัททวดีย์ เศรษฐีภัททวดีย์ ต้องพาภรรยาและ
ลูกสาวอพยพหนีโรคร้ายไปยังเมืองโกสัมพี เพื่อขอพักอาศัยกับโฆสกเศรษฐีผู้เป็นสหาย แต่
บังเอิญโชคร้ายประสบเคราะห์กรรมซ้ำเข้าอีก คือ เมื่อเดินทางมาถึงเมืองโกสัมพีแล้ว ด้วยสภาพ
ร่างกายที่อดอาหารมาหลายวัน อีกทั้งความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการเดินทางไกล ทำให้ไม่
กล้าไปพบสหายด้วยสภาพอย่างนั้น จึงพักอาศัยในศาลาใกล้ ๆ โรงทานของโฆสกเศรษฐีนั้น ตั้ง
ใจว่าเมื่อร่างกายแข็งแรงดีแล้วจึงจะเข้าไปหาเพื่อน
วันรุ่งขึ้น ให้ลูกสาวเข้าไปรับอาหารที่โรงทานของโฆสกเศรษฐี เมื่อได้มาแล้วภัททวดีย์
เศรษฐีกับภรรยาบริโภคอาหารเกินพอดี ไฟธาตุไม่สามารถจะย่อยได้จึงถึงแก่ความตายทั้งสอง
คน เหลือแต่นางสามา เป็นกำพร้าพ่อแม่อยู่แต่ผู้เดียว

* ได้นามว่าสามาวดี
ต่อมา โฆสกเศรษฐีได้พบนางสามา ได้ทราบประวัติความเป็นมาของนางโดยตลอดแล้ว
เกิดความรักความสงสาร จึงรับนางไว้เลี้ยงดูดุจลูกสาวแท้ ๆ ของตน และยกนางไว้ในฐานะธิดา
คนโต อีกทั้งได้มอบหญิงบริวารให้อีก ๕๐๐ คน
ตามปกติที่บ้านของโฆสกเศรษฐี เมื่อเวลาแจกทานจะมีเสียงเซ็งแซ่จากการยื้อแย่งของผู้
มาขอรับแจกทาน ท่านเศรษฐีก็ฟังทุกวนจนเคยชิน แต่เมื่อนางสามาเข้ามาอยู่ในบ้านของท่าน
เศรษฐีแล้ว เห็นความไม่เรียบร้อยดังกล่าว จึงคิดหาทางแก้ไข นางจึงให้คนทำรั้วมีประตูทางเข้า
และประตูทางออกให้ทุกคนเรียงแถวตามลำดับเข้ารับแจกทาน ทุกอย่างก็เรียบร้อยไม่มีเสียง
เซ็งแซ่เหมือนแต่ก่อนโฆสกเศรษฐีพอใจเป็นอย่างยิ่งกล่าวยกย่องชมเชยในความฉลาดของนาง
เป็นอันมาก หลังจากนั้น นางจึงได้ชื่อว่า “สามาวดี” (วดี = รั้ว) และต่อจากนั้นไม่นาน นางก็ได้
รับการอภิเษกเป็นอัครมเหสี ของพระเจ้าอุเทน แห่งเมืองโกสัมพีนั้น

* นางสามาวดีบรรลุโสดาปัตติผล
ในบรรดาหญิงบริวารของนางสามาวดี ๕๐๐ คนนั้น หญิงคนหนึ่งชื่อนางขุชชุตตรา รับ
หน้าที่จัดซื้อดอกไม้มาให้นางสามาวดีทุกวัน ต่อมาวันหนึ่ง ขณะที่นางไปซื้อดอกไม้ตามปกตินั้น
ได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาในบ้านของนายสุมนมาลาการผู้ขายดอกไม้
จนได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เมื่อนำดอกไปให้นางสามาวดีแล้ว ได้แสดงธรรมที่ตนฟังมานั้นแก่
นางสามาวดี พร้อมทั้งหญิงบริวาร จนได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด
ต่อจากนั้น นางสามาวดี พร้อมด้วยบริวารมีจิตศรัทธาเลื่อมใสตั้งมั่นอยู่ในพระรัตนตรัย
พากันสนใจในการฟังธรรม ปฏิบัติธรรม และสมาทานรักษาศีลอุโบสถป็นประจำ
ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าอุเทนได้พระนางวาสุลทัตตา พระราชธิดาของ
พระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี มาอภิเษกเป็นมเหสีองค์ที่สอง และได้นางมาคันทิยา สาว
งามแห่งแคว้นกุรุ มาอภิเษกเป็นมเหสีองค์ที่สาม และด้วยความงามเป็นเลิศทำให้
พระเจ้าอุเทนทรงสิเนหา นางมาคันทิยายิ่งนักได้พระราชทานหญิงบริวาร ๕๐๐ คนไว้คอยรับใช้นาง

* นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระศาสดา
ก่อนที่นางมาคันทิยา จะได้รับการอภิเษกเป็นมเหสีของพระเจ้าอุเทนนั้น เดิมทีนางเป็น
ธิดาของเศรษฐีในแคว้นกุรุ เนื่องจากนางมีรูปงามดุจนางเทพอัปสร จึงมีเศรษฐี คฤหบดี ตลอด
จนพระราชา จากเมืองต่าง ๆ ส่งสารมาสู่ขอมากมาย แต่บิดามารดาของนางก็ปฏิเสธทั้งหมดด้วย
คำว่า “พวกท่านไม่คู่ควรแก่ธิดาของเรา” นางจึงครองความเป็นโสดเรื่อยมา
พระบรมศาสดาทรงพิจารณาเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของสองสามีภรรยา จึงเสด็จมายังแคว้น
กุรุ ฝ่ายพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของนางออกไปธุระนอกบ้าน พบพระศาสดาในที่ไม่ไกลจากบ้าน
ของตนนัก เห็นพระลักษณะถูกตาต้องใจและคิดว่า “บุรุษผู้นี้แหละคู่ควรกับลูกสาวของเรา”
พราหมณ์จึงเข้าไปกราบทูลพระบรมศาสดาให้คอยอยู่ตรงนี้ก่อนตนจะกลับไปบอกนาง
พราหมณีภรรยาและนำลูกสาวมายกให้ จากนั้นก็รีบกลับไปบ้านแจ้งแก่ภรรยาว่าพบชายผู้คู่ควร
กับลูกสาวแล้ว ขอให้รีบแต่ตัวลูกสาวแล้วพาออกไปโดยด่วน
ฝ่ายพระบรมศาสดามิได้ประทับอยู่ตรงที่เดิม แต่ได้อธิษฐานประทับรอยพระบาทไว้
แล้วเสด็จไปประทับในที่ไม่ไกลจากที่นั้น สองสามีภรรยาพร้อมด้วยลูกสาวมาคันทิยา มาถึงที่
นั้น ไม่เห็นพระพุทธองค์ในที่นั้นก็มองหาจนพบรอยพระบาท พราหมณ์ผู้สามีจึงกล่าวว่า “นี่
แหละคือรอยเท้าของชายคนนั้น” เนื่องจากนางพราหมณีผู้ภรรยามีความเชียวชาญเรื่องมนต์
ทำนายลักษณะฝ่าเท้า จึงบอกแก่สามีว่า
“รอยเท้านี้มิใช่รอยเท้าของคนเสพกามคุณ เพราะธรรมดารอยเท้าของคนที่มีราคะ จะมี
รอยเท้ากระหย่งคือเว้าตรงกลาง คนที่มีโทสะ รอยเท้าจะหนักส้น คนที่มีโมหะ รอยเท้าจะหนัก
ที่ส่วนปลาย แต่รอยเท้านี้เป็นรอยเท้าของคนไม่มีกิเลส ดังนั้น เจ้าของรอยเท้านี้จะไม่มีความยินดี
ในกามคุณ”
ฝ่ายพราหมณ์ผู้สามีไม่เชื่อคำนำนายของภรรยา พยายามมองหาจนพบพระบรมศาสดา
แล้วกล่าวกับภรรยาว่า “ชายคนนี้แหละเป็นเจ้าของรอยเท้านั้น เป็นผู้ที่คู่ควรกับลูกสาวของเรา”
แล้วเข้าไปกราบทูลว่า:-
“ท่านสมณะ ข้าพเจ้าจะยกธิดาให้เป็นคู่ชีวิตแก่ท่าน”
พระผู้มีพระภาค ตรัสห้ามแล้วตรัสต่อไปว่า:-
“ดูก่อนท่านพราหมณ์ เมื่อตถาคตตรัสรู้ใหม่ ๆ ธิดามาร ๓ คน ซึ่งมีร่างกายเป็นทิพย์สวย
งามกว่าลูกสาวของท่านหลายเท่านัก มาประเล้าประโลมเราที่โคนต้นอชปาลนิโครธ เรายังไม่
สนใจไม่พอใจ เหตุไฉนจะมาพอใจยินดีในลูกสาวของท่านที่ร่างกายเต็มไปด้วยมูตรและกรีส
(ปัสสาวะและอุจจาระ) ถ้าเท้าของเราเปื้อนฝุ่นธุลีมา และลูกสาวของท่านเป็นผ้าเช็ดเท้า เรายังไม่
ปรารถนาจะถูกต้องลูกสาวของท่านแม้ด้วยเท้าเลย”
เมื่อตรัสดังนี้แล้ว ทรงแสดงธรรมโปรดสองสามีภรรยาจนได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
แล้วกราบทูลขออุปสมบทปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งสอง ท่าน
ฝ่ายนางมาคันทิยา ได้ยินพระดำรัสของพระศาสดาโดยตลอด รู้สึกโกรธที่พระพุทธองค์
ตำหนิประณามว่าร่างกายของนางเต็มไปด้วยอุจจาระปัสสาวะ ไม่ปรารถนาจะสัมผัสถูกต้องแม้
ด้วยเท้า จึงผูกอาฆาตของเวรต่อพระศาสดา เมื่อบิดามารดาออกบวชหมดแล้ว นางจึงได้ไปอยู่
อาศัยกับน้องชายของบิดาผู้เป็นอา ต่อมาอาของนางคิดว่าหลานสาวผู้มีความงามเป็นเลิศอย่างนี้
ย่อมคู่ควรแก่พระราชาเท่านั้น จึงนำไปถวายเป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน

* จ้างนักเลงด่าพระพุทธองค์
สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จมายังเมืองโกสัมพี มีพระอานนท์เถระตามเสด็จมาด้วย
พระนางมาคันทิยา ได้โอกาส จึงว่าจ้างทาส กรรรมกร และนักเลงพวกมิจฉาทิฏฐิ ผู้ไม่เลื่อมใส
ในพระรัตนตรัย ให้ติดตามด่าพระพุทธองค์ไปในทุกหนทุกแห่งทั่วทั้งเมืองด้วยคำด่า ๑๐
ประการ คือ เจ้าเป็นโจร เป็นคนพาล เป็นคนบ้า เป็นอูฐ เป็นลา เป็นวัว เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์
ดิรัจฉาน สุคติของเจ้าไม่มี เจ้ามีแต่ทุคติอย่างเดียว พระอานนท์เถระได้ฟังแล้วสุดที่จะทนไหว
จึงกราบทูลให้พระพุทธองค์เสด็จไปยังเมืองอื่น พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า:-
“อานนท์ ถ้าคนที่เมืองนั้นด่าเราอีก เราจะทำอย่างไร ?”
“ก็เสด็จไปที่เมืองอื่นต่อไปอีก พระเจ้าข้า”
“ถ้าคนที่เมืองนั้นด่าเราอีก เราจะทำอย่างไร ?”
“ก็เสด็จไปที่เมืองอื่นต่อไปอีก พระเจ้าข้า”
“ดูก่อนอานนท์ ถ้าทำอย่างนั้นเราก็จะหนีกันไม่สิ้นสุด ทางที่ถูกนั้นอธิกรณ์เกิดขึ้นในที่
ใด ก็ควรให้อธิกรณ์สงบระงับในที่นั้นก่อนแล้วจึงไป”
พระพุทธองค์ตรัสต่อไปอีกว่า:-
“ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาอธิกรณ์เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วย่อมไม่เกิน ๗ วัน ก็
จะสงบระงับไปเอง”

* นางสามาวดีถูกใส่ความเรื่องไก่
พระนางมาคันทิยา เมื่อไม่สามารถจะทำให้พระพุทธองค์อับอายจนหนีไปยังเมืองอื่นได้
ก็ยิ่งโกรธแค้นมากขึ้น จึงคิดอุบายใส่ความแก่พระนางสามาวดีและบริวารผู้มีศรัทธาในพระพุทธ
องค์ โดยส่งข่าวไปบอกแก่อาของตนขอให้ส่งไก่เป็น ที่ยังมีชีวิตมาให้ ๘ ตัว และไก่ตายอีก ๘
ตัว เมื่อได้ไก่มาตามต้องการแล้วจึงเข้ากราบทูลพระเจ้าอุเทนว่า:-
“ข้าแต่สมมติเทพ ท่านปุโรหิตส่งไก่มาเป็นบรรณาการแด่พระองค์ เพคะ”
“ผู้ใด มีความชำนาญในการแกงอ่อมไก่บ้าง ?” พระราชาตรัสถาม
“พระนางสามาวดีกับหญิงบริวาร เพคะ” พระนางมาคันทิยา กราบทูล
จึงรับสั่งให้ส่งไก่ไปให้พระนางสามาวดีเพื่อจัดการแกงมาถวาย พระนางมาคันทิยา ส่ง
ไก่เป็นไปให้ ส่วนพระนางสามาวดีเห็นว่าไก่ยังมีชีวิตอยู่จึงไม่ทำถวาย เพราะว่าตนสมาทานศีล
๘ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์จึงส่งไก่กลับคืนไปพระนางมาคันทิยา ได้กราบทูลแนะนำต่อพระสวามีอีกว่า:-
“ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงรับสั่งให้ส่งไก่ไปใหม่พร้อมทั้งบอกว่าให้แกงไปถวายแก่
พระสมณโคดม”
พระราชาทรงกระทำตามที่พระนางแนะนำ แต่พระนางมาคันทิยาได้เปลี่ยนเอาไก่ที่ตาย
แล้วส่งไปให้ พระนางสามาวดีเห็นว่าเป็นไก่ที่ตายแล้ว และเป็นการแกงเพื่อนำไปถวาย
พระสมณโคดม จึงช่วยกันรีบจัดการแกงไปถวายด้วยความปีติและศรัทธา
พระนางมาคันทิยา รู้สึกดีใจที่เหตุการณ์เป็นไปตามแผน จึงกราบทูลยุยงว่า การกระทำ
ของพระนางสามาวดีไม่น่าไว้วางใจดูประหนึ่งว่าเอาใจออกห่างพระองค์ปันใจให้พระสมณโคดม
เวลาใช้ให้แกงมาถวายพระองค์ก็ไม่ทำ แต่พอบอกให้แกงไปถวายพระสมณโคดมกลับทำให้
อย่างรับด่วน
พระเจ้าอุเทน ได้สดับคำของพระนางมาคันทิยา แล้วทรงอดกลั้นนิ่งเฉยไว้อยู่ จนกระทั่ง
พระนางมาคันทิยา ต้องคิดหาอุบายร้ายด้วยวิธีอื่นต่อไป

* ถูกใส่ความเรื่องงู
ตามปกติ พระเจ้าอุเทนจะเสด็จไปประทับที่ปราสาทของพระมเหสีทั้ง ๓ คือ
พระนางสามาวดี พระนางวาสุลทัตตา และ พระนางมาคันทิยา ตามวาระแห่งละ ๗ วัน ครั้นอีก
๒-๓ วัน จะถึงวาระเสด็จไปประทับที่ปราสาทของพระนางสามาวดี พระนางมาคันทิยา ได้วาง
แผนส่งข่าวไปถึงอา ให้ส่งงูพิษที่ถอนเขี้ยวพิษออกแล้วมาให้นางโดยด่วน เมื่อได้มาแล้วจึงใส่งู
เข้าไปในช่องพิณซึ่งพระเจ้าอุเทนทรงเล่นและนำติดพระองค์เป็นประจำแล้วนำช่อดอกไม้ปิดช่อง
พิณไว้ก่อนที่พระเจ้าอุเทนจะเสด็จไปยังปราสาทของพระนางสามาวดีนั้น พระนางมาคันทิยา ได้
ทำทีเป็นกราบทูลทัดทานว่า “ขอพระองค์ อย่าเสด็จไปเลย เพราะว่าเมื่อคืนนี้ หม่อมฉันฝันไม่เป็น
มงคล เกรงว่าพระองค์จะได้รับอันตราย” เมื่อพระราชาไม่เชื่อคำทัดทานจึงขอติดตามเสด็จไป
ด้วย ขณะที่พระนางสามาวดีและหญิงบริวารปรนนิบัติพระเจ้าอุเทนอยู่ และทรงวางพิณไว้บน
พระแท่นบรรทมนั้น พระนางมาคันทิยา ก็ทำเป็นเดินไปเดินมาใกล้ ๆ บริเวณนั้น เมื่อไม่มีใคร
สังเกตเห็นจึงดึงช่อดอกไม้ที่ปิดช่องพิณออก และงูที่อดอาหารมาหลายวันได้เลื้อยออกมาพ่นพิษ
แผ่พังพาน พระราชาทอดพระเนตรเห็นงูก็ตกพระทัยกลัวมรณภัยจะมาถึง จึงด่าตวาดพระนางสา
มาวดีที่คิดปลงพระชนม์ และตำหนิพระองค์เองที่ไม่เชื่อคำทัดท่านของพระนางมาคันทิยา ด้วย
เพลิงแห่งความโกรธจึงตัดสินพระทัยประหารชีวิตพระนางสามาวดีและหญิงบริวารด้วยพระองค์เอง,

* อานุภาพแห่งเมตตาธรรม
พระเจ้าอุเทนทรงยกคันธนูประจำพระองค์ขึ้นสายแล้วพาดลูกศรอาบยาพิษโก่งคันธนูเล็ง
เป้าไปที่พระอุระของพระนางสามาวดี ซึ่งประทับอยู่ข้างหน้าแห่งหญิงบริวาร ก่อนที่ลูกศรจะ
แล่นออกจากคันธนูนั้น พระนางสามาวดีได้ให้โอวาทแก่หญิงบริวารว่า:-
“แม่หญิงสหายทั้งหลาย ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี เธอทั้งหลายจงเจริญเมตตาจิตให้สม่ำเสมอ
ส่งไปให้แก่พระราชา แก่พระเทวีมาคันทิยา และแก่ตนเอง อย่าถือโทษโกรธต่อใคร ๆ เลย”
ครั้นให้โอวาทจบลง หญิงเหล่านั้นก็ปฏิบัติตาม เมื่อพระราชาปล่อยลูกศรออกไป แทน
ที่ลูกศรจะพุ่งเข้าสู่พระอุระพระนางสามาวดี แต่หวนกลับพุ่งเข้าหาพระอุระของพระองค์เสียอง
จึงสะดุ้งตกพระทัยพลางดำริว่า:-
“ธรรมดาลูกศรนี้ย่อมแทงทะลุแม้กระทั่งแผ่นหิน บัดนี้ สิ่งที่เป็นวัตถุที่จะกระทบใน
อากาศก็ไม่มี เหตุใดลูกศรจึงหวนกลับเข้าหาเรา ลูกศรนี้แม้จะไม่มีชีวิตจิตใจ แต่ก็ยังรู้จักคุณของ
พระนางสามาวดี เราเสียอีกแม้เป็นมนุษย์กลับไม่รู้คุณของพระนาง”
ทันใดนั้น ท้าวเธอทิ้งคันธนูแล้วประนมหัตถ์ประคองอัญชลี กราบที่พระบาทของพระ
นางสามาวดี อ้อนวอนให้พระนางยกโทษให้ และขอถึงพระนางเป็นที่พึ่งตลอดไป
พระนางสามาวดีกราบทูลให้พระราชาทรงถึงพระบรมศาสดาเป็นสรณที่พึ่งเหมือนอย่างที่นาง
กระทำอยู่ ตั้งแต่นั้นมา พระเจ้าอุเทนทรงมีศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ทรงรักษาศีลฟังธรรม
ร่วมกับพระนางสามาวดีตามกาลเวลาและโอกาสอันสมควร

* พระนางสามาวดีถูกเผาทั้งเป็นพร้อมหญิงสหาย
ความจริงแล้ว พระนางมาคันทิยา มีความโกรธแค้นต่อพระบรมศาสดาที่ทรงประณาม
ว่า “นางมีร่างกายเต็มไปด้วยอุจจาระปัสสาวะ ไม่ปรารถนาจะสัมผัสแม้ด้วยเท้า” และนางก็ได้
ชำระความแค้นด้วยการว่าจ้างนักเลงให้ตามด่าพระพุทธองค์ไปส่วนหนึ่งแล้ว ในส่วนของพระ
นางสามาวดีนั้น ที่นางต้องโกรธแค้นด้วยก็เพราะสาเหตุหนึ่งเป็นพระมเหสีคู่แข่ง แต่ที่สำคัญก็
คือพระนางมีศรัทธาในพระสมณโคดม เมื่อแผนการทำลายพระนางสามาวดี ที่ทำไปหลายครั้ง
แล้วนั้น ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ครั้งหลังสุดยังทำให้พระเจ้าอุเทนพระสวามีไปมีศรัทธาเลื่อมใส
ในพระสมณโคดมอีกด้วย ยิ่งทำให้พระนางมาคันทิยาเพิ่มความโกรธแค้นยิ่งขึ้นแล้วแผนการอัน
โหดเหี้ยมของพระนางก็เกิดขึ้น
วันหนึ่งขณะที่พระเจ้าอุเทนเสด็จประพาสราชอุทยาน พระนางมาคันทิยาสั่งคนรับใช้ให้
เอาผ้าชุบน้ำมันแล้วนำไปพันที่เสาทุกต้น ในปราสาทของพระนางสามาวดี พูดเกลี้ยกล่อมให้
พระนางและบริวารเข้าไปรวมอยู่ในห้องเดียวกันแล้วจึงลั่นกลอนข้างนอกแล้วจุดไฟเผาพร้อมทั้ง
ปราสาท
พระนางสามาวดี ขณะเมื่อไฟกำลังลุกลามเข้ามาใกล้ตัวอยู่นั้น มีสติมั่นคงไม่หวั่นไหว
ให้โอวาทแก่หญิงบริวารทั้ง ๕๐๐ ให้เจริญเมตตาไปยังบุคคลทั่ว ๆ ไปแม้ในพระนางคันทิยา ให้
ทุกคนมีสติ ไม่ประมาท ให้มีจิตตั้งมั่นในเวทนาปริคคหกัมมัฏฐานอย่างมั่นคง บางพวกบรรลุ
อนาคามิผล ก่อนที่จะถูกไฟเผาผลาญกระทำกาละถึงแก่กรรม ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ด้วย
กันทั้งหมด

* ชดใช้กรรมเก่า
ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมหัตครองราชย์สมบัติในกรุงพาราณสี ได้ถวายภัตตาหาร
แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์เป็นประจำ และนางสามาวดีกับหญิงสหาย ๕๐๐ คน ก็เกิดอยู่ใน
พระราชนิเวศน์นั้นด้วย ได้ช่วยทำกิจบำรุงเลี้ยงพระปัจเจกพุทธะทั้ง ๘ นั้น ต่อมาพระปัจเจก
พุทธะองค์หนึ่งได้ปลีกตัวไปเข้าฌานสมาบัติในดงหญ้าริมแม่น้ำ ส่วนพระราชาได้พาหญิงเหล่า
นั้นไปเล่นน้ำกันทั้งวัน พวกผู้หญิงพออาบน้ำนาน ๆ ก็หนาว จึงพากันขึ้นมาก่อไฟที่กองหญ้าผิง
พอไฟไหม้กองหญ้าหมดก็เห็นพระปัจเจกพุทธะถูกไฟไหม้ ต่างพากันตกใจ เพราะเป็นพระ
ปัจเจกพุทธะของพระราชาด้วยเกรงว่าจะถูกลงโทษจึงช่วยกันทำลายหลักฐานด้วยการช่วยกันหา
ฟืนมาสุมจนท่วมองค์พระปัจเจกพุทธะจนแน่ใจว่าหมดฟืนนี้ พระปัจเจกพุทธะก็คงจะถูกเผาไม่
เหลือซาก แล้วก็พากันกลับพระราชนิเวศน์
ความจริง บุคคลแม้จะนำฟืนตั้ง ๑,๐๐๐ เล่มเกวียนมาสุมก็ไม่อาจทำให้พระปัจเจกพุทธะ
เกิดความรู้สึกแม้สักว่าอุ่น ๆ ได้ ดังนั้น ในวันที่ ๗ พระปัจเจกพุทธะออกจากสมาบัติแล้วก็เสด็จ
ไปตามปกติ ส่วนหญิงเหล่านั้นเมื่อตายแล้วถูกไหม้ในนรกหลายพันปี พ้นจากนรกแล้วถูกเผา
อย่างนี้อีก ๑๐๐ ชาติ นี้เป็นผลกรรมของพระนางสามาวดีกับหญิงสหาย
กรรมใหม่ให้ผลทันตา
พระเจ้าอุเทนทรงรู้สึกสลดพระทัยเป็นอย่างยิ่งที่พระนางสามาวดี ประสบเคราะห์กรรม
เช่นนี้ ทรงมีพระดำริว่า ถ้าจะคุกคามถามพระนางมาคันทิยาก็คงจะไม่ยอมรับ จึงออกอุบายตรัส
ปราศรัยกับอำมาตย์ทั้งหลายว่า:-
“ท่านทั้งหลาย เมื่อก่อนนี้เราจะลุกจะนั่งจะไปในที่ใด ๆ ก็หวาดระแวงสงสัยกลัวภัยอยู่
รอบข้าง ด้วยพระนางสามาวดีคิดประทุษร้ายต่อเราเป็นนิตย์ บัดนี้พระนางตายแล้ว เรารู้สึกสบาย
ใจไม่ต้องหวาดระแวงอีกแล้ว และการกระทำอันนี้ก็คงเป็นการกระทำของคนที่รักและห่วงใยใน
ตัวเรา ปรารถนาดีต่อเราอย่างแน่นอน”
“พระนางมาคันทิยา ประทับอยู่ในที่นั้นด้วย เมื่อได้ยินพระดำรัสนั้นแล้วจึงกราบทูลว่า:-
“ข้าแต่สมมติเทพ ใครอื่นจะกล้ากระทำ การงานนี้เหม่อมฉันได้สั่งให้อาของหม่อมฉัน
ลงมือกระทำ เพคะ”
พระราชาจึงตรัสว่า “ขึ้นชื่อว่าบุคคลผู้มีความรักในเรา เสมอกับเจ้านี้ไม่มีอีกแล้ว เราจะ
ให้พรแก่เธอ ขอให้เธอจงเรียกญาติของเธอมารับพรจากเราเถิด”
พระราชา พระราชทานสิ่งของรางวัลอันมีค่า แก่บรรดาญาติ ๆ ของพระนางมาคันทิยาผู้
มาถึงก่อน แม้คนอื่นพอทราบข่าวก็ติดสินบนขอเป็นญาติกับพระนางคันทิยา มาขอรับรางวัลด้วย
พระราชารับสั่งให้จับบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดให้ขุดหลุมฝังแค่สะดือ ใช้ฟางข้าวคลุมปิดข้างบน
จุดไฟเผาทั้งเป็นแล้ว ใช้ไถเหล็กไถซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ส่วนพระนางมาคันทิยาผู้เป็นต้นเหตุ พระ
องค์รับสั่งให้เฉือนเนื้อของพระนาง นำไปทอดน้ำมันเดือดแล้วนำมาให้พระนางกิน ทรงกระทำ
อย่างนี้ จนกระทั่งพระนางสิ้นพระชนม์ไปบังเกิดในทุคติ ซึ่งกล่าวได้ว่าพระนาง ได้รับผลแห่ง
กรรมในอัตภาพนี้เหมาะสมแล้ว
ส่วนพระนางสามาวดี ผู้มีปกติอยู่ประกอบด้วยเมตตา (เมตตาวิหาร) ได้รับยกย่องจาก
พระบรมศาสดา ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้อยู่ด้วยเมตตา

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 13 ก.ย. 2009, 19:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1210064177.jpg
1210064177.jpg [ 61.81 KiB | เปิดดู 10561 ครั้ง ]
๓.นางขุชชุตตรา เอตทัคคะในฝ่ายผู้แสดงธรรม

นางขุชชุตตรา เป็นลูกสาวของหญิงแม่นมในเรือนโฆสกเศรษฐี ในกรุงโกสัมพี เป็น
หญิงพิการหลังค่อม ต่อมาเมื่อโฆสกเศรษฐีได้ยกนางสามาวดีผู้เป็นหญิงกำพร้าให้อยู่ในฐานะ
เป็นธิดาของตนแล้ว ได้มอบหญิง ๕๐๐ คน ให้เป็นบริวารของนางอีกด้วย และนางขุชชุตตราก็
ได้เป็นบริวารของนางด้วยเช่นกันเมื่อนางสามาวดีได้รับการอภิเษกเป็นมเหสีของพระเจ้าอุเทน
แห่งเมืองโกสัมพี หญิงบริวารทั้งหมดก็ติดตามเข้าไปรับใช้นางในพระราชนิเวศน์ด้วย และ
พระเจ้าอุเทนได้พระราชทานทรัพย์ ๘ กหาปณะ แก่นางขุชชุตตรา เพื่อจัดซื้อดอกไม้ให้แก่
นางสามาวดีทุกวัน

* โฆสกเศรษฐีสร้างวัดถวาย
ในกรุงโกสัมพีนั้นมีเศรษฐี ๓ คน คือ โฆสกเศรษฐี กุกกุฎเศรษฐี และ ปาวาริกเศรษฐี
ทั้ง ๓ ท่านนี้เป็นสหายกันต่างก็มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ฟังพระธรรมเทศนาจนได้
บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกัน และได้สร้างวัดขึ้นท่านละหนึ่งวัด โดยของ โฆสกเศรษฐีชื่อว่า
โฆสิตาราม ของกุกกุฏเศรษฐี ชื่อว่า กุกกฏาราม และของปาวาริกเศรษฐีชื่อว่า ปาวาริการาม
เศรษฐีทั้ง ๓ ท่านนี้มีคนรับใช้ชื่อนายสุมนะเป็นผู้จัดการตกแต่งสวนดอกไม้ เนื่องจากเขามีความ
ฉลาดความสามารถในด้านนี้ จึงได้ชื่อว่า “สุมนมาลาการ” แม้นางขุชชุตตราก็มาซื้อดอกไม้จาก
นายสุมนะนี้ทุกวัน

* นางขุชชุตตราบรรลุโสดาบัน
ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จมายังเมืองโกสัมพี โดยมีพระอานนท์เถระ เป็นปัจฉา
สมณะตามเสด็จมาด้วย พระพุทธองค์ประทับ ณ อารามของเศรษฐีทั้ง ๓ ท่านและเสด็จเข้าไป
เสวยภัตตาหารที่บ้านของเศรษฐีทั้ง ๓ ท่านนั้นโดยผลัดเปลี่ยนไปตามวาระ ตามที่ท่านเศรษฐีได้
กราบทูลอาราธนา
วันหนึ่ง นายสุมนะขอโอกาสแก่ท่านเศรษฐีเพื่อกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเสด็จ
ไปเสวยภัตตาหารที่บ้านของตน เมื่อเศรษฐีอนุญาตให้สมประสงค์แล้ว จึงจัดการตกแต่ง
เสนาสนะและภัตตาหาร ขณะที่เขากำลังจัดเตรียมการอยู่นั้น นางขุชชุตตราก็มาถึง นายสุมนะ
กล่าวกับเธอว่า “วันนี้ขอให้รออยู่ก่อน เพราะตนได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดามาเสวย
ภัตตาหารที่บ้าน และขอให้นางช่วยเหลือในการจัดภัตตาหารด้วย เมื่อเสร็จแล้วจึงค่อยรับดอกไม้
ไป” ซึ่งนางขุชชุตตรา ก็ตอบรับด้วยความยินดี
เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุโมทนานางขุชชุตตรา
ก็ได้มีโอกาสฟังธรรมเทศนานี้ด้วย นางส่งกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนา เมื่อจบลงก็ได้
บรรลุโสดาปัตติผล
ตามปกติในวันอื่น ๆ ที่แล้วมา นางขุชชุตตรา จะซื้อดอกไม้เพียง ๔ กหาปณะ และเก็บ
เอาไว้เอง ๔ กหาปณะ แต่วันนี้นางซื้อดอกไม้ทั้ง ๘ กหาปณะ นางสามาวดีเห็นว่าวันนี้ได้ดอกไม้
มากกว่าทุก ๆ วัน จึงถามนางขุชชุตตรา ขึ้นว่า
“ทำไมวันนี้จึงได้ดอกไม้มากกว่าปกติ”
นางขุชชุตตรา ได้บอกตามความเป็นจริงว่า “เมื่อก่อนนั้นได้ยักยอกเงินไว้เพื่อตนเองครึ่ง
หนึ่ง แต่วันนี้หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาจนบรรลุอมตธรรมแล้ว เห็นว่า
การกระทำอย่างนั้นไม่ควร จึงได้ซื้อดอกไม้ทั้ง ๘ กหาปณะ”

* เป็นอาจารย์สอนธรรม
นางสามาวดี เมื่อทราบความโดยตลอดแล้วก็มิได้ว่ากล่าวติเตียนต่อนางขุชชุตตรา แต่
ประการใด กลับขอให้นางได้แสดงธรรมที่ได้ฟังมาจากพระบรมศาสดาให้ตนและบริวารอื่น
ๆได้ฟังบ้าง ซึ่งนางขุชชุตตรา ก็ตอบรับด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง แต่ขอโอกาสอาบน้ำชำระร่าง
กายและประดับตกแต่งร่างกายพอสมควรแก่ฐานะแล้วนั่งบนอาสนะที่สูงกว่าหญิงทั้งปวง แสดง
ธรรมไปโดยลำดับตามที่ตนได้ฟังมาจากพระบรมศาสดา เมื่อจบลงแล้ว หญิงเหล่านั้นทั้งหมดมี
นางสามาวดีเป็นหัวหน้า ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันพร้อม ๆ กัน
หลังจากนั้น นางขุชชุตตราได้รับการยกฐานะจากการเป็นทาสีคอยรับใช้นางสามาวดี ให้
ดำรงอยู่ในฐานะมารดาและอาจารย์ ของนางสามาวดีและหญิงบริวารเหล่านั้น มีหน้าที่ไปรับฟัง
พระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาแล้วนำมาแสดงให้นางสามาวดีกับบริวารฟัง นางขุชชุตตรา
กระทำดังนั้นจนนางเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก

* บุพกรรมล้อเลียนพระ
สมัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลถามพระบรมศาสดาว่า:-
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะกรรมอะไร นางขุชชุตตราจึงเป็นหญิงหลังค่อม
พระเจ้าข้า ?”
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตชาติ พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเป็นผู้มีสภาพร่างกายเป็น
คนค่อมนิดหน่อยมาฉันภัตตาหารในราชสำนักเป็นประจำ นางกุมาริกานางหนึ่งแสดงอาการเป็น
คนค่อมล้อเลียนแบบพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยความคึกคะนองต่อหน้าเพื่อนกุมาริกาทั้งหลาย
เพราะกรรมนั้น จึงส่งผลให้เธอเป็นคนค่อมในอัตภาพนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะกรรมอะไร นางขุชชุตตรา จึงเป็นทางทาสีของบุคคลอื่น
พระเจ้าข้า ?”
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในอดีตครั้งที่พระพุทธเจ้านามว่ากัสสปะ นางได้เกิดในตระกูล
เศรษฐีในเมืองพาราณสี มีภิกษุณีผู้เป้นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ซึ่งมีความคุ้นเคยกับตระกูลของนาง
มาเยี่ยมเยือนที่บ้าน ขณะนั้นนางกำลังแต่งตัวอยู่ ได้ออกปากขอให้พระเถรีช่วยหยิบกระเช้า
เครื่องประดับส่งให้ พระเถรีนั้นคิดว่า
“ถ้าเราไม่หยิบส่งให้ นางก็จักโกรธอาฆาตเรา เพราะกรรมนี้เมื่อนางตายไปแล้ว ก็จะไป
เกิดในนรก แต่ถ้าเราหยิบส่งให้ นางก็จักเกิดเป็นหญิงรับใช้คนอื่น เพราะกรรมที่ใช้พระอรหันต์
นางภิกษุณีจึงเลือกกรรมสถานเบาเพื่อเป็นการอนุเคราะห์ต่อนาง จึงได้หยิบกระเช้าส่งให้ เพราะ
กรรมนี้นางจึงเกิดเป็นหญิงรับใช้บุคคลอื่น”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะกรรมอะไร นางขุชชุตตราจึงมีปัญญามากและบรรลุพระ
โสดาปัตติผล ?”
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตชาติครั้งเดียวกันนั้น พระราชาได้ถวายข้าวปายาสที่ยังร้อน
อยู่ลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าต้องเปลี่ยนมือถือบาตรกลับไป
กลับมาด้วยความร้อน นางจึงถอดกำไลที่ทำด้วยงาจากข้อมือ ๘ อัน ถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้า
ใช้สำหรับรองมือกันความร้อนด้วยผลแห่งกรรมที่นางถวายกำไลข้อมือ และกรรมที่ช่วยบำรุง
อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้าครั้งนั้น ทำให้นางมีปัญญามาก และได้บรรลุพระโสดาปัตติผล”
เพราะความที่นางขุชชุตตราเป็นผู้มีปัญญามา สามารถแสดงธรรมได้อย่างไรไพเราะลึก
ซึ้งดีกว่าอุบาสิกาคนอื่น ๆ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องนางในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า
อุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้แสดงธรรม

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 13 ก.ย. 2009, 19:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1210063794.jpg
1210063794.jpg [ 76.74 KiB | เปิดดู 10560 ครั้ง ]
๔.นางอุตตรานันทมารดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เพ่งด้วยฌาน

นางอุตตรา เกิดเป็นลูกสาวของนายปุณณะ ซึ่งเป็นคนรับใช้อยู่ในเรือนของสุมมเศรษฐี
ในกรุงราชคฤห์ เขาเป็นคนขยันในการทำงาน แม้ในวันเทศกาล งานนักขัตฤกษ์ พวกทาสและ
กรรมกรอื่น ๆ พากันหยุดงานเพื่อฉลองนักขัตฤกษ์กัน แต่นายปุณณะก็ยังคงไปทำการไถนาตาม
หน้าที่ของตนตามปกติ
ขณะที่เขากำลังไถนาอยู่นั้น พระสารีบุตรเถระเมื่อจากออกจากนิโรธสมาบัติแล้วได้ถือ
บาตรเที่ยวเดินภิกขาจารผ่านมายังทุ่งนาที่นายปุณณะกำลังไถอยู่นั้น นายปุณณะพอเห็นพระเถระ
ก็หยุดไถแล้วเข้าไปกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วถวายน้ำบ้วนปากและไม้สีฟัน พระเถระทำ
กิจสีฟันและบ้วนปากแล้วเดินภิกขาจารต่อไป นายปุณณะคิดว่า “เหตุที่พระเถระมาทางนี้ในวัน
นี้ก็คงจะมาสงเคราะห์เรา ถ้าภริยาของเราได้พบพระเถระแล้ว ขอให้นางได้อาหารที่นำมาให้เรา
ลงในบาตรของพระเถระด้วยเถิด”
ส่วนภริยาของเขาเมื่อนำอาหารไปส่งให้เขาที่นาในระหว่างทางได้พบพระเถระจึงคิดว่า
“วันอื่น ๆ เราพบพระเถระแต่ไทยธรรมของเราไม่มี ส่วนในวันที่มีไทยธรรมก็ไม่ได้พบพระเถระ
แต่วันนี้ทั้งสองอย่างของเรามีพร้อมแล้ว เราควรถวายอาหารที่เตรียมไปให้สามี แก่พระเถระก่อน
แล้วจึงกลับไปทำมาใหม่” เมื่อนางคิดดังนี้แล้วก็ใส่โภชนาหารลงในบาตรของพรเถระแล้วกล่าว
ว่า “ด้วยอานิสงส์แห่งทานนี้ ขอให้ชีวิตขอดิฉันพ้นจากความยากจนด้วยเถิด” พระเถระกล่าว
อนุโมทนาให้ความปรารถนาของนางสำเร็จตามที่ต้องการแล้วก็กลับไปสู่วิหาร
เมื่อนางได้ถวายอาหารแก่พระเถระแล้ว ก็รีบกลับบ้านเพื่อจัดหาอาหารมาให้สามีของ
ตน ฝ่ายนายปุณณะไถนาเรื่อยไปจนเวลาสาย ภริยาก็ยังไม่นำอาหารมาส่งเช่นทุกวัน รู้สึกหิวเป็น
กำลังจึงหยุดไถแล้วนอนพักที่ใต้ร่มไม้ เมื่อภริยามาถึงนา ก็เกรงว่าสามีจะโกรธที่มาช้า จึงรีบพูด
กับสามีขึ้นก่อนว่า “ท่านอย่าเพิ่งโกรธ ขอให้ฟังดิฉันก่อน” แล้วนางก็เล่าเหตุที่มาช้าให้สามีฟัง
โดยตลอด นายปุณณะกล่าวว่า “เธอทำดีแล้ว แม้ฉันเองก็ได้ถวายน้ำบ้วนปากและไม้สีฟันแก่
พระเถระเหมือนกัน วันนี้นับว่าเป็นบุญของเราเหลือเกิน” ทั้งสองสามีภรรยานั้นต่างก็ปีติอิ่มเอิบ
ในการกระทำของตน

* ขี้ไถกลายเป็นทอง
นายปุณณะ กินอาหารเสร็จแล้วก็นอนหนุนตักภริยาแล้วก็หลับไปครู่หนึ่ง พอตื่นขึ้นมา
มองไปที่ทุ่งนา เห็นก้อนดินที่ตนไถมีสีเหมือนทองคำเต็มทั่วท้องนา จึงบอกให้ภริยาดูด้วย ภริยา
เมื่อมองดูก็เห็นมีแต่ก้อนดินจึงพูดขึ้นว่า “ท่านคงจะเหน็ดเหนื่อย และหิวจนตาลาย” แต่เมื่อเขา
ลุกไปหยิบมาให้ภริยาดู ต่างก็เห็นเป็นทองเหมือนกัน
สองสามีภรรยาเก็บทองใส่ถาดจนเต็มแล้ว นำไปถวายพระราชาพร้อมทั้งกราบทูลให้ส่ง
คนไปขนทองคำ ที่ทุ่งนาของตนนั้นมาเก็บไว้ในท้องพระคลังพระราชาสั่งราชบุรุษพร้อมเกวียน
ไปบรรทุกทองคำตามที่นายปุณณะ กราบทูลราชบุรุษทั้งหลาย ในขณะที่กำลังขนทองคำใส่
เกวียนนั้นพากันพูดว่า “บุญของพระราชา” ทันใดนั้นทองคำก็กลายเป็นดินขี้ไถเหมือนเดิม
พวกราชบุรุษจึงกลับไปกราบทูลให้ทรงทราบ พระราชารับสั่งว่า “พวกท่านจงไปขนมาใหม่
พร้อมกับจงพูดว่า บุญของนายปุณณะ” พวกราชบุรุษทำตามรับสั่ง ก็ปรากฏว่าได้ทองคำมา
หลายเล่มเกวียน นำมากองที่หน้าพระลานหลวง พระราชารับสั่งถามว่า ในพระนครนี้ ใครมี
ทรัพย์มากเท่านี้บ้าง เมื่อได้สดับว่าไม่มี จึงพระราชทานตำแหน่งเศรษฐีแก่นายปุณณะได้นามว่า
“ธนเศรษฐี” พร้อมทั้งมอบทองคำทั้งหมดให้แก่นายปุณณะด้วย
นายปุณณะเศรษฐี เมื่อทำการมงคลฉลองตำแหน่งเศรษฐี ได้กราบอาราธนาพระบรม
ศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์มาเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านเป็นเวลา ๗ วัน พระบรมศาสดา
ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุโมทนาทาน นายปุณณเศรษฐีพร้อมด้วยภริยาและธิดาได้บรรลุ
โสดาปัตตผล

* นางอุตตราถูกน้ำมันเดือดราดศรีษะ
ในกาลต่อมา ราชคหเศรษฐี ได้ส่งคนไปสู่ขอนางอุตตราธิดาของนายปุณณะ เพื่อทำอา
วาหมงคลกับบุตรของตน เมื่อนายปุณณะ ไม่ขัดข้องจึงได้จัดพิธีอาวาหมงคลเป็นที่เรียบร้อยนาง
ได้มาอยู่ในตระกูลของสามีเมื่อถึงฤดูกาลเข้าพรรษานางกล่าวกับสามีว่า ปกตินางจะอธิษฐานองค์
อุโบสถเดือนละ ๘ วัน ขอให้สามีอนุญาตให้นางด้วย แต่สามีไม่อนุญาต นางจึงส่งข่าวไปถึงบิดา
มารดาว่า นางถูกส่งตัวให้ไปอยู่ในที่คุมขัง ไม่สามารถจะอธิษฐานองค์อุโบสถแม้สักวันเดียว ขอ
ให้บิดามารดาช่วยส่งทรัพย์ไปให้นางจำนวน ๑๕,๐๐๐ กหาปณะด้วยเถิด
เมื่อนางได้ทรัพย์ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว ก็ได้ไปหานางสิริมา ซึ่งเป็นหญิงโสเภณี
ประจำนครนั้น ได้เจรจาติดตามขอให้ช่วยเป็นตัวแทนในการบำรุงบำเรอสามีของนางเองเป็น
เวลา ๑๕ วัน แล้วมอบทรัพย์ให้นาง ๑๕,๐๐๐ กหาปณะ นางสิริมาก็ตกลงยอมรับ และสามีของ
นางก็พอใจอนุญาตให้นางอธิษฐานองค์อุโบสถได้ตามความปรารถนา
เมื่อสามีอนุญาตแล้ว นางอุตตราจึงได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาและพระภิกษุ
สงฆ์ เพื่อเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านของตน เป็นเวลา ๑๕ วัน นางพร้อมด้วยทาสีผู้เป็นบริวาร
ช่วยกันจัดของเคี้ยวของฉันอันควรแก่สมณบริโภคน้อมนำเข้าไปถวายพระบรมศาสดาพร้อมด้วย
พระภิกษุสงฆ์ อธิษฐานองค์อุโบสถ ครบกำหนดกึ่งเดือนโดยทำนองนี้
ในวันสุดท้ายของการรักษาอุโบสถ ขณะที่นางอัตตรากำลังขวนขวายจัดแจงภัตตาหาร
อยู่นั้น สามีของนางกับนางสิริมายืนดูอยู่ที่หน้าต่างบนปราสาทพลางคิดว่า “นางอัตตราหญิงโง่
คนนี้ คงจะเกิดมาจากสัตว์นรก ชอบทำการงานสกปรกเหมือนทาสีทั้งหลาย ทรัพย์สมบัติก็มีอยู่
มากมายแต่กลับไม่ยินดี นางทำอย่างนี้ไม่สมควรเลย” คิดดังนี้แล้วก็แสดงอาการยิ้มแย้มเป็นเชิง
เยาะเย้ย
ส่วนนางอุตตราผู้เป็นภริยาก็คิดว่า “บุตรเศรษฐีผู้เป็นสามีของเรานี้ มีปกติประมาท โง่
เขลา สำคัญว่าทรัพย์สมบัติของตนเหล่านี้เป็นของยั่งยืนถาวรตลอดไป” แล้วนางก็แสดงอาการ
แย้มยิ้มบ้าง
นางสิริมา ซึ่งยืนอยู่กับบุตรเศรษฐีนั้น เห็นสองสามีภรรยายิ้มแย้มด้วยกันดังนั้นก็โกรธ
จึงรีบลงมาจากปราสาทเพื่อจะทำร้ายนางอุตตรา แม้นางอุตตราเห็นกิริยาอาการของนางสิริมานั้น
แล้วก็ทราบดีว่าจะเกิดอะไรขึ้น นางจึงเข้าฌานทั้ง ๆ ที่กำลังยืนอยู่ เจริญเมตตาจิตเป็นอารมณ์ แผ่
เมตตาไปยังนางสิริมานั้น
นางสิริมา ได้จับกระบวยตักน้ำมันที่กำลังเดือดอยู่ในกระทะแล้ว เทราดลงบนศีรษะของ
นางอุตรา ที่กำลังเข้าฌานและแผ่เมตตาจิตอยู่ ด้วยอำนาจแห่งเมตตาฌานบันดาลให้น้ำมันที่กำลัง
ร้อนจัดนั้นได้ปราศจากความร้อน และไหลตกไปประหนึ่งน้ำตกจากใบบัว นางสิริมาเห็นเช่น
นั้น จึงตกใจกลับได้สติสำนึกตัวว่าเป็นผู้มาอยู่เพียงชั่วคราว จึงกราบลงแทบเท้านางอุตตรา
วิงวอนขอให้ยกโทษให้แต่นางอุตตรากล่าวว่า “ฉันจะยกโทษให้ ก็ต่อเมื่อบิดาของฉันคือพระ
บรมศาสดายกโทษให้เธอก่อนเท่านั้น”
เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาพร้อมภิกษุสงฆ์ ประทับบนพุทธอาสน์เพื่อเสวยภัตตาหาร
ณ ที่บ้านนของนางอุตตราในเช้าวันนั้น นางสิริมาได้กราบทูลกิริยาที่ตนกระทำต่อนางอุตตราให้
ทรงทราบโดยตลอดแล้ว กราบทูลขอให้ทรงยกโทษให้ เมื่อพระบรมศาสดาทรงยกโทษให้แล้วก็
เข้าไปหานางอุตราให้ยกโทษให้อีกครั้งหนึ่ง
พระบรมศาสดาเมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุโมทนา ตรัสพระคาถา
ภาษิตว่า:-
พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ
พึงชนะคนไม่มีด้วยความดี
พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้
พึงชนะคนพูดเท็จด้วยคำจริง ฯ
เมื่อจบพระธรรมเทศนา นางสิริมาได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แสดงตนเป็นอุบาสิกาให้
ทานรักษาศีลและฟังธรรมตามกาลเวลา พระบรมศาสดาอาศัยเหตุที่นางอุตตราเป็นผู้เชี่ยวชาญใน
การเข้าฌาน จึงประกาศยกย่องให้นางเป็นเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้
เพ่งด้วยฌาน หรือผู้เข้าฌาน

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 13 ก.ย. 2009, 18:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1210063733.jpg
1210063733.jpg [ 84.65 KiB | เปิดดู 10592 ครั้ง ]
๕.พระนางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายของมีรสอันประณีต

* ตั้งครรภ์นานเกือบ ๘ ปี
พระนางสุปปวาสา เป็นพระธิดาของกษัตริย์พระนครโกลิยะ ทรงเจริญวัยแล้วได้อภิเษก
สมรสกับศากยราชกุมารพระองค์หนึ่ง จากนั้นไม่นานนักก็ทรงครรภ์ แต่การทรงครรภ์ของพระ
นางนั้นผิดกว่าหญิงอื่น ๆ เพราะพระนางทรงครรภ์ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน จึงประสูติพระ
โอรสออกมาพระนามว่า “สีวลี” (เรื่องของพระสีวลีนั้น ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น)
พระนางได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาครั้งแรก ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์จบ
แล้ว ก็ดำรงอยู่ในอริยภูมิเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบัน
หลังจากพระนางประสูติราชโอรสแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์จบแล้ว
ก็ดำรงอยู่ในอริยภูมิเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบัน

* ให้อาหารชื่อว่าให้สิ่งประเสริฐ ๕ ประการ
พระพุทธองค์เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เมื่อทรงกระทำอนุโมทนาได้ตรัสพระธรรม
เทศนาแก่พระนางสุปปวาสาว่า:-
“ดูก่อนสุปปวาสา บุคคลผู้ถวายโภชนาหารแก่ปฏิคาหก (ผู้รับ) ชื่อว่าให้สิ่งอันประเสริฐ
ทั้ง ๕ ประการ คือ ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ และให้ปฏิภาณ”
“ดูก่อนสุปปวาสะ บุคคลผู้ให้ของเช่นไรก็ย่อมได้ของเช่นนั้น คือ ผู้ให้อายุ ก็ย่อมเป็นผู้มี
ส่วนแห่งอายุ ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นต้น ผู้ให้สิ่งอื่น ๆ ก็พึงทราบโดยนัย
เดียวกัน"
สีวลีกุมารแม้จะประสูติได้ไม่กี่วัน แต่ก็มีพระวารกายแข้งแรงเหมือนกุมาร ผู้มีพระชนม์
๗ พรรษา ได้ช่วยพระบิดาพระมารดาขวนขวายจัดแจงกิจต่าง ๆ ในการถวายภัตตาหารแก่พระ
บรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ พระสารีบุตรเถระได้สังเกตดูสีวลีกุมารตั้งแต่วันแรก รู้สึกพอใจ
ในอัธยาศัยของกุมารน้อยนี้ ในวันที่ ๗ อันเป็นวันสุดท้าย พระเถระได้ชักชวนให้เธอมาบวช สี
วลีกุมารผู้มีจิตน้อมไปในการบวชอยู่แล้ว เมื่อพระบิดาพระมารดาอนุญาตแล้ว จึงได้บวชใน
สำนักของพระสารีบุตรเถระ และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอริยสาวกสำคัญในพระ
พุทธศาสนา
ต่อมา พระบรมศาสดาขณะประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมื่อทรงสถาปนา
อุบาสิกาทั้งหลายในตำแหน่งต่าง ๆ ก็ได้ทรงสถาปนาพระนางสุปปวาสาโกลิยธิดานี้ไว้ใน
ตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้ถวายของมีรสอันประณีต

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 13 ก.ย. 2009, 18:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1210064316.jpg
1210064316.jpg [ 67.05 KiB | เปิดดู 10587 ครั้ง ]
ู๖.นางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา

นางวิสาขา เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ บิดาชื่อว่า ธนญชัย
มารดาชื่อว่าสุมนาเทวี และปู่ชื่อเมณฑกเศรษฐี ขณะที่เธอมีอายุอยู่ในวัย ๗ ขวบ เป็นที่รักดุจแก้ว
ตาดวงใจของเมณฑกะผู้เป็นปู่ยิ่งนัก

* ๗ ขวบบรรลุโสดาบัน
เมื่อเมณฑกเศรษฐีได้ทราบข่าวว่า พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนมากกำลัง
เสด็จมาสู่เมืองภัททิยะ ท่านเมณฑกเศรษฐี จึงได้มอบหมายให้เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร
ออกไปทำการรับเสด็จที่นอกเมือง ขณะที่พระพุทธองค์ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถอยู่นั้น เด็ก
หญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร เข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่อันสมควรแก่ตน พระพุทธ
องค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้พวกเธอฟัง เมื่อจบลงก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้ง
หมด
ส่วนเมณฑกเศรษฐี เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาถึงแล้วจึงรีบเข้าไปเฝ้าได้ฟังพระธรรม
เทศนาก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกัน แล้วกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์ที่ติดตามเสด็จทั้งหมดเข้าไปรับอาหารบิณฑบาต ณ ที่บ้านของตนตลอดระยะเวลา ๑๕ วันที่
ประทับอยู่ที่ภัททิยนครนั้น
สมัย พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งเมืองสาวัตถี และพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์ มี
ความเกี่ยวข้องกันโดยต่างก็ได้ภคินี (น้องสาว) ของกันและกันมาเป็นมเหสี แต่เนื่องจากในเมือง
สาวัตถีของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ไม่มีเศรษฐีตระกูลใหญ่ ๆ ผู้มีทรัพย์สมบัติมากเลย และได้
ทราบว่าในเมืองราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสารนั้น มีเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติขนานนับไม่ถ้วนอยู่
ถึง ๕ คน

ดังนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเสด็จมายังเมืองราชคฤห์ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารแล้วแจ้ง
ความประสงค์ที่มาในครั้งนี้ ก็เพื่อขอพระราชทานตระกูลเศรษฐีในเมืองราชคฤห์นี้ไปอยู่ในเมือง
สาวัตถีสักหนึ่งตระกูล
พระเจ้าพิมพิสารได้สดับแล้วตรัสตอบว่า “การโยกย้ายตระกูลใหญ่ ๆ เพียงหนึ่งตระกูลก็
เหมือนกับแผ่นดินทรุด” แต่เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีต่อกันไว้หลังจากที่ได้ปรึกษากับอำมาตย์ทั้ง
หลายแล้ว เห็นพ้องต้องกันว่าสมควรยกตระกูลธนญชัยเศรษฐี ให้ไปอยู่เมืองสาวัตถีกับพระเจ้าป
เสนทิโกศล
ธนญชัยเศรษฐีได้ขนย้ายทรัพย์สมบัติพร้อมทั้งบริวารและสัตว์เลี้ยงทั้งหลายเดินทางสู่
พระนครสาวัตถีพร้อมกับพระเจ้าปเสนทิโกศล และเมื่อเดินทางเข้าเขตแคว้นของ
พระเจ้าปเสนทิโกศล แล้ว ขณะที่พักค้างแรมระหว่างทางก่อนเข้าเมืองธนญชัยเศรษฐีเห็นว่าภูมิ
ประเทศบริเวณที่พักนั้นเป็นชัยภูมิเหมาะสมดี อีกทั้งตนเองก็มีบริวารติดตามมาเป็นจำนวนมาก
ถ้าไปตั้งบ้านเรือนภายในเมืองก็จะคับแคบ จึงขออนุญาตพระเจ้าปเสนทิโกศลก่อตั้งบ้านเมืองลง
ณ ที่นั้น และได้ชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “สาเกต” ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์

* หญิงงามเบญจกัลยาณี
ในเมืองสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีตระกูลหนึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า มิคารเศรษฐี มีบุตรชายชื่อ
ปุณณวัฒนกุมาร เมื่อเจริญวัยสมควรที่จะมีภรรยาได้แล้ว บิดามารดาขอให้เขาแต่งงานเพื่อสืบ
ทอดวงศ์ตระกูล แต่เขาเองไม่มีความประสงค์จะแต่งเมื่อบิดามารดารบเร้ามากขึ้น เขาจึงหาอุบาย
เลี่ยงโดยบอกแก่บิดามารดาว่า ถ้าได้หญิงที่มีความงามครบทั้ง ๕ อย่าง ซึ่งเรียกว่า เบญจกัลยาณี
แล้วจึงจะยอมแต่งงาน

เบญจกัลยาณี ความงามของสตรี ๕ อย่าง คือ
๑. เกสกลฺยาณํ ผมงาม คือ หญิงที่มีผมยาวถึงสะเอวแล้วปลายผมงอนขึ้น
๒. มงฺสกลฺยาณํ เนื้องาม คือหญิงที่มีริมฝีปากแดงดุจผลตำลึงสุกและเรียบชิดสนิทกันดี
๓. อฏฺฐิกลฺยาณํ กระดูกงาม คือหญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์ และเรียบเสมอกัน
๔. ฉวิกลฺยาณํ ผิวงาม คือหญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดำก็ดำดังดอกบัวเขียว ถ้าขาวก็ขาวดัง
ดอกกรรณิกา
๕. วยกลฺยาณํ วัยงาม คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง ๑๐ ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่างกายสาวสวยดุจ
คลอดครั้งเดียว

บิดามารดาเมื่อได้ฟังแล้วจึงให้เชิญพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านอิตถีลักษณะมาถามว่า
หญิงผู้มีความงามดังกล่าวนี้มีหรือไม่ เมื่อพวกพราหมณ์ตอบว่ามี จึงส่งพราหมณ์เหล่านั้นออก
เที่ยวแสวงหาตามเมืองต่าง ๆ พร้อมทั้งมอบพวงมาลัยและเครื่องทองหมั้นไปด้วย

* ชน ๔ พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งาม
พวกพราหมณ์เที่ยวแสวงหาไปตามเมืองต่าง ๆ ทั้งเมืองเล็กเมืองใหญ่ จนมาถึงเมือง
สาเกต ได้พบนางวิสาขามีลักษณะภายนอกถูกต้องตามตำราอิตถี ลักษณะครบทุกประการ ขณะ
ที่นางพร้อมทั้งหญิงบริวารออกมาเที่ยวเล่นน้ำกันที่ท่าน้ำ ขณะนั้นฝนตกลงมาอย่างหนัก หญิง
บริวารทั้งหลายพากันวิ่งหลบหนีฝนเข้าไปในศาลา แต่นางวิสาขายังคงเดินด้วยอาการปกติ ทำ
ให้พวกพราหมณ์ทั้งหลายรู้สึกแปลกใจประกอบกับต้องการจะเห็นลักษณะฟันของนางด้วยจึง
ถามนางว่า “ทำไม เธอจึงไม่วิ่งหลบหนีฝนเหมือนกับหญิงอื่น ๆ” นางวิสาขาตอบว่า ชน ๔ พวก
เมื่อวิ่งจะดูไม่งาม ได้แก่
๑. พระราชา ผู้ทรงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์พร้อมสรรพ
๒. บรรพชิต ผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์
๓. สตรี ผู้ชื่อว่าเป็นหญิงทั้งหลาย นอกจากจะดูไม่งานแล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุจน
เสียโฉม หรือพิการ จะทำให้เสื่อมเสียและหมดคุณค่า
๔. ช้างมงคล ตัวประดับด้วยเครื่องอาภรณ์สำหรับช้าง
พวกพราหมณ์ได้เห็นปัญญาอันชาญฉลาด และคุณสมบัติ เบญจกัลยาณี ครบทุกประการ
แล้ว จึงขอให้นางพาไปที่บ้านเพื่อทำการสู่ขอต่อพ่อแม่ตามประเพณี เมื่อสอบถามถึงชาติตระกูล
และทรัพย์สมบัติก็ทราบว่า มีเสมอกัน จึงสวมพวงมาลัยทองให้นางวิสาขาเป็นการหมั้นหมาย
และกำหนดวันวิวาหมงคล
ธนญชัยเศรษฐี ได้สั่งให้ช่างทองทำเครื่องประดับ ชื่อ มหาลดาปสาธน์ เพื่อมอบให้แก่
ลูกสาว ซึ่งเป็นเครื่องประดับชนิดพิเศษ เป็นชุดยาวติดต่อกันตั้งแต่ ศีรษะจรดปลายเท้า ประดับ
ด้วยเงินทองและรัตนอันมีค่าถึง ๙ โกฏิกหาปณะ ค่าแรงฝีมือช่างอีก ๑ แสน เป็นเครื่องประดับที่
หญิงอื่น ๆ ไม่สามารถจะประดับได้เพราะมีน้ำหนักมาก นอกจากนี้ ธนญชัยเศรษฐี ยังได้มอบ
ทรัพย์สินเงินทองของใช้ต่าง ๆ รวมทั้งข้าทาสบริวารและฝูงโคอีกจำนวนมากมายมหศาล อีกทั้ง
ส่งกุฏุมพีผู้มีความชำนาญพิเศษด้านต่าง ๆ ไปเป็นที่ปรึกษาดูแลประจำตัวอีก ๘ นายด้วย

* ธนญชัยเศรษฐีให้โอวาทลูกสาว
ก่อนที่นางวิสาขาจะไปสู่ตระกูลของสามี ธนญชัยเศรษฐีได้อบรมมารยาทสมบัติของ
กุลสตรีผู้จะไปสู่ตระกูลของสามี โดยให้โอวาท ๑๐ ประการ เป็นแนวปฏิบัติ คือ
โอวาทข้อที่ ๑ ไฟในอย่านำออก หมายความว่า อย่านำความไม่ดีของพ่อผัวแม่ผัวและสามี
ออกไปพูดให้คนภายนอกฟัง
โอวาทข้อที่ ๒ ไฟนอกอย่านำเข้า หมายความว่า เมื่อคนภายนอกตำหนิพ่อผัวแม่ผัวและสามี
อย่างไร อย่านำมาพูดให้คนในบ้านฟัง
โอวาทข้อที่ ๓ ควรให้แก่คนที่ให้เท่านั้น หมายความว่า ควรให้แก่คนที่ยืมของไปแล้วแล้วนำ
มาส่งคืน
โอวาทข้อที่ ๔ ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายความว่า ไม่ควรให้แก่คนที่ยืมของไปแล้ว แล้วไม่
นำมาส่งคืน
โอวาทข้อที่ ๕ ควรให้ทั้งแก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายความว่า เมื่อมีญาติมิตรผู้ยากจนมาขอ
ความช่วยเหลือพึ่งพาอาศัย เมื่อให้ไปแล้วจะให้คืนหรือไม่ให้คืน ก็ควรให้
โอวาทข้อที่ ๖ พึงนั่งให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่นั่งในที่กีดขวางพ่อผัว แม่ผัวและสามี
โอวาทข้อที่ ๗ พึงนอนให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่ควรนอนก่อนพ่อผัวแม่ผัวและสามี
โอวาทข้อที่ ๘ พึงบริโภคให้เป็นสุข หมายความว่า ควรจัดให้พ่อผัว แม่ผัวและสามีบริโภค
แล้ว ตนจึงบริโภคภายหลัง
โอวาทข้อที่ ๙ พึงบำเรอไฟ หมายความว่า ให้มีความสำนึกอยู่เสมอว่า พ่อผัว แม่ผัวและสามี
เป็นเหมืองกองไฟ และพญานาคที่จะต้องบำรุงดูแล
โอวาทข้อที่ ๑๐ พึงนอบน้อมเทวดาภายใน หมายความว่า ให้มีความสำนึกอยู่เสอมว่า พ่อผัว แม่
ผัว และสามีเป็นเหมือนเทวดาที่จะต้องให้ความนอบน้อม

* อานิสงส์ของการทำบุญแล้วแถม
ธนญชัยเศรษฐี ให้เวลาถึง ๔ เดือนในการเตรียมทรัพย์สมบัติเพื่อมอบให้แก่นางวิสาขา
สำหรับใช้สอยเมื่อไปอยู่ในตระกูลของสามี เฉพาะเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์เพียงอย่างเดียว
ก็ใช้เวลาทำถึง ๔ เดือน เช่นกัน เมื่อถึงกำหนดนางวิสาขาได้ออกเดินทางไปยังตระกูลของสามี
พร้อมด้วยข้าทาสบริวารทรัพย์สินเงินทองของใช้อเนกอนันต์ และโคกระบืออีกมากมายมหาศาล
ที่บิดาจัดการมอบให้
แม้กระนั้น โคกระบือที่อยู่ในคอกยังทำลายคอกวิ่งออกตามขบวนของนางวิสาขาไปอีก
จำนวนมาก ทั้งนี้ด้วยอานิสงส์แห่งการทำบุญถวายทานที่นางทำไว้ในอดีตชาติ คือ ในครั้งที่นาง
วิสาขาเดิมเป็นธิดาของพระเจ้ากิกิ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ นางได้ถวายอาหารแก่
พระภิกษุสามเณรเป็นประจำ และทั้ง ๆ ที่พระภิกษุสามเณรกล่าวว่า “พอแล้ว ๆ” ก็ยังตรัสว่า
“พระคุณเจ้าสิ่งนี้อร่อย สิ่งนี้น่าฉัน” แล้วก็ถวายเพิ่มขึ้นอีก ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายเพิ่มนี้
บันดาลให้โคเหล่านั้นแม้จะมีคนห้ามมีคอกกั้นอยู่ก็ยังโดดออกจากคอกวิ่งตามขบวนของนาง
วิสาขาไปอีกจำนวนมาก

* นางวิสาขาตำหนิพ่อผัว
เมื่อนางวิสาขา เข้ามาสู่ตระกุลของสามีแล้ว เพราะความที่เป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอน
เป็นอย่างดีตั้งแต่วัยเด็ก และเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีน้ำใจเจรจาไพเราะ ให้ความเคารพผู้
ที่มีวัยสูงกว่าตน จึงเป็นที่รักใคร่และชอบใจของคนทั่วไป ยกเว้นมิคารเศรษฐีของสามี ซึ่งมีจิต
ฝักใฝ่ในนักบวชอเจลกชีเปลือย โดยให้ความเคารพนับถือว่าเป็นพระอรหันต์ และนิมนต์ให้มา
บริโภคโภชนาหารที่บ้านของตนแล้ว สั่งให้คนไปตามนางวิสาขามาไหว้พระอรหันต์ และให้มา
ช่วยจัดเลี้ยงอาหารแก่อเจลกชีเปลือยเหล่านั้นด้วย
นางวิสาขา ผู้เป็นพระอริยสาวิกาชั้นโสดาบันพอได้ยินคำว่า อรหันต์ ก็รู้สึกปีติยินดีรีบ
มายังเรือนของมิคารเศรษฐี แต่พอได้เห็นอเจลกชีเปลือย ก็ตกใจจึงกล่าวว่า “ผู้ไม่มีความละอาย
เหล่านี้ จะเป็นพระอรหันต์ไม่ได้” พร้อมทั้งกล่าวติเตียนมิคารเศรษฐีแล้วกลับที่อยู่ของตน
ต่อมาอีกวันหนึ่ง ขณะที่มิคารเศรษฐีกำลังบริโภคอาหารอยู่ โดยมีนางวิสาขาคอย
ปรนนิบัติอยู่ใกล้ ๆ ได้มีพระเถระเที่ยวบิณฑบาตผ่านมาหยุดยืนที่หน้าบ้านของมิคารเศรษฐี
นางวิสาขาทราบดีว่าเศรษฐีแม้จะเห็นพระเถระแล้วก็ทำเป็นไม่เห็น นางจึงกล่าวกับพระเถระว่า
“นิมนต์พระคุณเจ้าไปข้างหน้าก่อนเถิด ท่านเศรษฐีกำลังบริโภคของเก่าอยู่”
เศรษฐี ได้ฟังดังนั้นแล้วจึงโกรธเป็นที่สุด หยุดบริโภคอาหารทันทีแล้วสั่งให้บริวารมา
จับและขับไล่นางวิสาขาให้ออกจากบ้านไป แต่ก็ไม่มีใครกล้าเข้ามาจับนางวิสาขาขอชี้แจงแก่
กุฎุมพี ๘ นายที่คุณพ่อได้ส่งมาช่วยดูแลนางก่อน และเมื่อมิคารเศรษฐีให้คนไปเชิญกุฎุมพีมาแล้ว
แจ้งโทษของนางวิสาขาให้ฟัง ซึ่งนางก็แก้ด้วยคำว่า “ที่ดิฉันกล่าวอย่างนั้น หมายถึง มิคารเศรษฐี
บิดาของสามีกำลังบริโภคบุญเก่าอยู่ มิใช่บริโภคของบูดเน่าอย่างที่เข้าใจ” กุฎุมพีทั้ง ๘ จึงกล่าว
กับเศรษฐีว่า “เรื่องนี้นางวิสาขาไม่มีความผิด”

* พ่อผัวยกย่องนางวิสาขาในฐานะมารดา
เมื่อมิคารเศรษฐี ฟังคำชี้แจงของลูกสะใภ้แล้วก็หายโกรธขัดเคือง และกล่าวขอโทษนาง
พร้อมทั้งอนุญาตให้นางนิมนต์พระบรมศาสดาพร้อมภิกษุสงฆ์มารับอาหารบิณฑบาตในเรือน
ของตน ขณะที่นางวิสาขาจัดถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์อยู่นั้น ก็ได้ให้คน
ไปเชิญมิคารเศรษฐีมาร่วมถวายภัตตาหารด้วย แต่เศรษฐีเมื่อมาแล้วไม่กล้าที่ออกไปสู่ที่เฉพาะ
พระพักตร์พระศาสดา เพราะไม่มีศรัทธาเลื่อมใสจึงแอบนั่งอยู่หลังม่าน เมื่อเสร็จภัตกิจแล้วพระ
บรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา ส่วนมิคารเศรษฐีแม้จะหลบอยู่หลังม่านก็มีโอกาสได้ฟัง
ธรรมด้วยจนจบ และได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคลในพุทธศาสนาเป็นสัมมาทิฎฐิบุคคลตั้งแต่
นั้นเป็นต้นมา
ทันใดนั้น มิคารเศรษฐีได้ออกมาจากหลังม่านแล้วตรงเข้าไปหานางวิสาขาใช้ปากดูดถัน
ของลูกสะใภ้ และประกาศให้ได้ยินทั่วกัน ณ ที่นั้นว่า “ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปขอเธอจงเป็นมารดา
ของข้าพเจ้า” และตั้งแต่นั้นมานางวิสาขาก็ได้นามว่า “มิคารมารดา” คนทั่วไปนิยมเรียกนางว่า
“วิสาขามิคารมารดา”

* คุณสมบัติพิเศษประจำตัวนางวิสาขา
ในบรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย นางวิสาขานับว่าเป็นผู้มีบุญสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติมากเป็น
พิเศษกว่าอุบาสิกาคนอื่น ๆ หลายประการ เช่น
๑. ลักษณะของผู้มีวัยงาม คือ แม้ว่านางจะมีอายุมาก มีลูกชาย-หญิง ถึง ๒๐ คน ลูก
เหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางก็มีหลานนับได้ ๔๐๐ คน หลานเหล่านั้นแต่งงานมี
ลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางวิสาขามีเหลนนับได้ ๘๐๐๐ คน ดังนั้น คนจำนวน ๘๔๒๐ คน มีต้น
กำเนิดมาจากนางวิสาขา นางมีอายุยืนได้เห็นหลานได้เห็นเหลนทุกคน แม้นางมีอายุถึง ๑๒๐ ปี
แต่ขณะเมื่อนางนั่งอยู่ในกลุ่มของลูก หลาน เหลน นางจะมีลักษณะวัยใกล้เคียงกับคนเหล่านั้น
คนพวกอื่นจะไม่สามารถทราบได้ว่านางวิสาขาคือคนไหน แต่จะสังเกตได้เมื่อเวลาจะลุกขึ้นยืน
ธรรมดาคนหนุ่มสาวจะลุกได้ทันที แต่สำหรับคนแก่จะต้องใช้มือยันพื้นช่วยพยุงกาย และจะยก
ก้นขึ้นก่อน นั่นแหละจึงจะทราบว่านางวิสาขาคือคนไหน
๒. นางมีกำลังมากเท่ากับช้าง ๕ เชือกรวมกัน ครั้งหนึ่งพระราชามีพระประสงค์จะ
ทดลองกำลังของนาง จึงรับสั่งให้ปล่อยช้างพลายตัวที่มีกำลังมากเพื่อให้วิ่งชนนางวิสาขา นาง
เห็นช้างวิ่งตรงเข้ามา จึงคิดว่า “ถ้ารับช้างนี้ด้วยมือข้างเดียวแล้วผลักไป ช้างก็จะเป็นอันตรายถึง
ชีวิต เราก็จะเป็นบาป ควรจะรักษาชีวิตช้างไว้จะดีกว่า” นางจึงใช้นิ้วมือเพียงสองนิ้วจับช้างที่
งวงแล้วเหวี่ยงไปปรากฏว่าช้างถึงกับล้มกลิ้งแต่ไม่เป็นอันตราย
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้ชนทั้งหลายเมื่อขจัดงานมงคลในบ้านเรือนของตนจึงพากันเชิญ
นางวิสาขาให้ไปเป็นประธานในงาน มอบให้นางเป็นผู้นำในพีธีต่าง ๆ แม้แต่อาหารก็ให้นางทาน
ก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคล จนนางวิสาขาไม่มีเวลาดูแลปฏิบัติพระภิกษุที่มาฉันในบ้านของตน
ต้องมอบให้ลูก ๆ หลาน ๆ ดำเนินการให้

* นางวิสาขาร้องไห้อาลัยหลาน
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารบุพพาราม ซึ่งนางวิสาขาเป็นผู้สร้าง
ถวายใกล้กรุงสาวัตถี ขณะนั้นหลานสาวชื่อว่าสุทัตตีผู้เป็นที่รักเป็นที่พอใจอย่างยิ่งของนางได้ถึง
แก่กรรมลง ทำให้นางเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้รำพันถึงหลานรัก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคทั้ง ๆ
ที่กำลังร้องไห้อยู่ด้วยพระพุทธองค์ตรัสถามเหตุแห่งความเศร้า ทรงทราบโดยตลอดแล้ว จึงตรัส
ถามว่า
“ดูก่อนวิสาขา ในพระนครสาวัตถีนี้ เธอต้องการบุตรหลานสักกี่คน ?”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ต้องการบุตรหลานในพระนครนี้ทั้งหมด พระเจ้าข้า”
“ดูก่อนวิสาขา ก็ในพระนครสาวัตถีนี้ มีคนตายวันละเท่าไร ?”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในพระนครสาวัตถีนี้ มีคนตายวันละ ๑ คนบ้าง ๒ คนบ้าง ถึงวัน
ละ ๑๐ คนบ้าง พระเจ้าข้า”
“ดูก่อนวิสาขา ถ้าคนเหล่านั้นเป็นบุตรหลานของเธอจริง เธอก็คงมีหน้าเปียกชุ่มด้วยน้ำ
ตาโดยไม่มีวันแห้งเหือด วิสาขา คนในโลกนี้ ผู้ใดมีสิ่งเป็นที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็จะมีทุกข์ถึง ๑๐๐ ผู้
ใดมีสิ่งเป็นที่รัก ๕๐ ผู้นั้นก็จะมีทุกข์ถึง ๕๐ เช่นกัน
“ดูก่อนวิสาขา เราขอบอกเธอว่า ความทุกข์ ความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ที่คนทั้ง
หลายประสบกันอยู่ในโลกนี้ ก็เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ถ้าไม่มีสัตว์หรือสัตว์อัน
เป็นที่รักแล้ว ความทุกข์ ความเศร้าโศก ความพิไรรำพันเหล่านั้นก็ไม่มี ผู้นั้นก็จะมีแต่ความสุข
ดังนั้น ผู้ปรารถนาความสุขให้กับตนเอง ก็ไม่ควรทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก”
นางวิสาขา เมื่อได้ฟังพระพุทธดำรัสตรัสสอนจบลงแล้ว ก็คลายจากความเศร้าโศก แต่
เพราะความที่นางมีลูกหลานหลายคน ซึ่งต่อจากนั้นอีกไม่นานนักหลานสาวอีกคนหนึ่ง ที่นางได้
มอบหมายหน้าที่การปฏิบัติดูแลพระภิกษุสงฆ์ซึ่งนิมนต์มาฉันที่บ้านเป็นประจำก็ได้ถึงแก่ความ
ตายลงอีก นางวิสาขาก็ต้องเสียน้ำตาร่ำไห้ด้วยความรักความอาลัยต่อหลานสาวเป็นครั้งที่สอง
และพระพุทธองค์ก็ทรงเทศนาโปรดนางให้คลายความเศร้าโศกลงดุจเดียวกับครั้งก่อน

* นางวิสาขาสร้างวัด
โดยปกตินางวิสาขาจะไปวัดวันละ ๒ ครั้ง คือ เช้า-เย็น และเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่า ถ้า
ไปเวลาเช้าก็จะมีของเคี้ยวของฉันเป็นอาหารไปถวายพระ ถ้าไปเวลาเย็นก็จะถือน้ำปานะไปถวาย
เพราะนางมีปกติทำอย่างนี้เป็นประจำ จนเป็นที่ทราบกันดีทั้งพระภิกษุสามเณร และอุบาสก
อุบาสิกาทั้งหลาย แม้นางเองก็ไม่กล้าที่จะไปวัดด้วยมือเปล่า ๆ เพราะละอายที่พระภิกษุหนุ่ม
สามเณรีน้อยต่างก็จะมองดูที่มือว่านางถืออะไรมา และก่อนที่นางจะออกจากวัดกลับบ้าน นางจะ
เดินเยี่ยมเยือนถามไถ่ความสุข ความทุกข์ และความประสงค์ของพระภิกษุสามเณร และเยี่ยม
ภิกษุไข้จนทั่วถึงทุก ๆ องค์ก่อนแล้วจึงกลับบ้าน
วันหนึ่งเมื่อนางมาถึงวัด นางได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ มอบให้หญิงสาวผู้
ติดตามถือไว้ เมื่อเสร็จกิจการฟังธรรมและเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรแล้ว ขณะเดินกลับบ้าน
นางได้บอกให้หญิงรับใช้ส่งเครื่องประดับให้ แต่หญิงรับใช้ลืมไว้ที่ศาลาฟังธรรม นางจึงให้กลับ
ไปนำมา แต่สั่งว่าถ้าพระอานนท์เก็บรักษาไว้ก็ไม่ต้องเอาคืนมาให้มอบถวายท่านไปเลย เพราะ
นางคิดว่าจะไม่ประดับเครื่องประดับที่พระคุณเจ้าถูกต้องสัมผัสแล้ว ซึ่งพระอานนท์ท่านก็มักจะ
เก็บรักษาของที่อุบาสกอุบาสิกาลืมไว้เสมอ และก็เป็นไปตามที่นางคิดไว้จริง ๆ แต่นางก็กลับคิด
ได้อีกว่า “เครื่องประดับนี้มีประโยชน์แก่พระเถระ” ดังนั้นนางจึงขอรับคืนมาแล้วนำออกขายใน
ราคา ๙ โกฏิ กับ ๑ แสนกหาปณะ ตามราคาทุนที่ทำไว้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดมีทรัพย์พอที่จะซื้อไว้ได้
นางจึงซื้อเอาไว้เอง ด้วยการนำทรัพย์เท่าจำนวนนั้นมาซื้อที่ดินและวัสดุก่อสร้างดำเนินการสร้าง
วัดถวายเป็นพระอารามประทับของพระบรมศาสดา และเป็นที่อยู่อาศัยจำพรรษาของพระภิกษุ
สงฆ์สามเณร พระบรมศาสดารับสั่งให้พระมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้อำนวยการดูแลการก่อสร้าง
ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาท ๒ ชั้น มีห้องสำหรับพระภิกษุพักอาศัยชั้นละ ๕๐๐ ห้อง โดยใช้เวลาใน
การก่อสร้างถึง ๙ เดือน และเมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นามว่า
“พระวิหารบุพพาราม”

* เพราะพระเปลือยกายจึงถวายผ้าอาบน้ำฝน
โดยปกตินางวิสาขา จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มาเสวยและ
ฉันภัตตาหารที่บ้านของนางเป็นประจำ เมื่อการจัดเตรียมภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยพร้อมแล้ว ก็จะ
ให้สาวใช้ไปกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปยังบ้านของนาง
วันหนึ่ง สาวใช้ได้มาตามปกติเหมือนทุกวัน แต่วันนั้นมีฝนตกลงมาพระสงฆ์ทั้งหลาย จึง
พากันเปลือยกายอาบน้ำฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจเพราะความที่ตนมีปัญญาน้อยคิดว่าเป็น
นักบวชชีเปลือย จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางวิสาขาว่า
“ข้าแต่แม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นมีแต่ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน้ำ กันอยู่”
นางวิสาขาได้ฟังคำบอกเล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคลชั้น
โสดาบัน เป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใส มีความใกล้ชิดกับพระภิกษุสงฆ์ จึง
ทราบ เหตุการณ์โดยตลอดว่า พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีผ้าสำหรับใช้สอย
เพียง ๓ ผืน คือ ผ้าจีวรสำหรับห่ม ผ้าสังฆาฎิสำหรับห่มซ้อน และผ้าสบงสำหรับนุ่ง ดังนั้นเมื่อ
เวลาพระภิกษุจะอาบน้ำจึงไม่มีผ้าสำหรับผลัดอาบน้ำ ก็จำเป็นต้องเปลือยกายอาบน้ำ
อาศัยเหตุนี้ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับที่บ้านและเสร็จภัตกิจแล้ว นางวิสาขา จึง
ได้เข้าไปกราบทูลขอพร เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ประทานอนุญาต
ตามที่ขอนั้น และนางวิสาขาก็เป็นบุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์

* พระภิกษุคิดว่านางเป็นบ้า
นางวิสาขา ได้ชื่อว่าเป็นมหาอุบาสิกาผู้ยิ่งใหญ่ เป็นยอดแห่งอุปัฏฐายิกา ทะนุบำรุงพระ
พุทธศาสนาด้วยวัตถุจตุปัจจัยไทยทานต่าง ๆ ทั้งที่ถวายเป็นของสงฆ์ส่วนรวม และถวายเป็นของ
ส่วนบุคคลคือแก่พระภิกษุแต่ละองค์ ๆ การทำบุญของนางนับว่าครบถ้วนทุกประการตามหลัก
บุญกิริยาวัตถุ ดังคำที่นางเปล่งอุทานในวันฉลองวิหาร คือ วัดบุพพาราม ที่นางสร้างถวายนั้นด้วย
คำว่า
“ความปรารภนาใด ๆ ที่เราตั้งไว้ในกาลก่อน ความปรารถนานั้น ๆ ทั้งหมดของเราได้
สำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ทุกประการแล้ว
ความปรารถนาเหล่านั้น คือ
๑. ความปรารถนาที่จะสร้างปราสาทฉาบด้วยปูนถวายเป็นวิหารทาน
๒. ความปรารถนาที่จะถวายเตียง ตั่ง ฟูก หมอน และเสนาสนภัณฑ์
๓. ความปรารถนาที่จะถวายสลากภัตเป็นโภชนาทาน
๔. ความปรารถนาที่จะถวายผ้ากาสาวพัสตร์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย เป็น จีวรทาน
๕. ความปรารถนาที่จะถวายเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นเภสัชทาน

ความปรารถนาเหล่านั้นของนางวิสาขาสำเร็จครบถ้วนทุกประการ สร้างความเอิบอิ่มใจ
แก่นางยิ่งนัก นางจึงเดินเวียนรอบปราสาทอันเป็นวิหารทานพร้อมทั้งเปล่งอุทานดังกล่าว
พระภิกษุทั้งหลายได้เห็นกิริยาอาการของนางวิสาขาแล้ว ต่างก็รู้สึกประหลาดใจ ไม่
ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับนาง จึงพร้อมใจกันเข้าไปกราบทูลถามพระบรมศาสดาว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตั้งแต่ได้พบเห็นและรู้จักนางวิสาขาก็เป็นเวลานานพวกข้าพระ
องค์ทั้งหลาย ไม่เคยเห็นนางขับร้องเพลงและแสดงอาการอย่างนี้มาก่อนเลย แต่วันนี้ นางอยู่ใน
ท่ามกลางการแวดล้อมของบรรดาบุตรธิดาและหลาน ๆ ได้เดินเวียนรอบปราสาทและบ่นพึมพำ
คล้ายกับร้องเพลง เข้าใจว่าดีของนางคงจะกำเริบ หรือไม่นางก็คงจะเสียจริตไปแล้วหรืออย่างไร
พระเจ้าข้า ?”
พระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ธิดาของเรามิได้ขับร้องเพลงหรือเสียจริตอย่างที่พวกเธอเข้าใจหรอก แต่ที่
ธิดาของเราเป็นอย่างนั้นก็เพราะความปีติยินดีที่ความปรารถนาของตนที่ตั้งไว้นั้นสำเร็จลุล่วง
สมบูรณ์ทุกประการ นางจึงเดินเปล่งอุทานออกมาด้วยความอิ่มเอมใจ
ด้วยเหตุที่นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์ และได้ถวายวัตถุจตุปัจจัยในพระ
พุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ดังกล่าวมา พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงประกาศยกย่องนางใน
ตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้เป็นทายิกา

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 13 ก.ย. 2009, 18:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1210064213.jpg
1210064213.jpg [ 68.18 KiB | เปิดดู 10585 ครั้ง ]
๗.นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้

นางสุปปิยา เกิดในตระกูลหนึ่ง ในกรุงพาราณสี เมื่อเจริญวัยแล้วได้สามีผู้มีฐานะใกล้
เคียงกัน นางเป็นผู้มีอุปนิสัยศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่
ต่อมา เมื่อพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จจาริกไปยังกรุงพาราณสี
นางได้ทราบข่าวการเสด็จมาจึงเข้าเฝ้าพร้อมกับพุทธบริษัทอื่น ๆ ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วได้
บรรลุโสดาปัตติผล
วันหนึ่งนางได้ไปฟังธรรมที่วัด และก่อนที่จะกลับบ้านได้เดินเยี่ยมเยือนพระภิกษุภายใน
วัดนั้น พบพระภิกษุอาพาธรูปหนึ่ง ได้ถามอาการของท่านแล้วจึงถามต่อไปว่า:-
“ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้าต้องการสิ่งใดบ้าง ?”
“อุบาสิกา อาตมาต้องการอาหารที่มีเนื้อจ้ะ”
“เอาเถาะ พระคุณเจ้า ดิฉันจะจัดมาถวายตามที่พระคุณเจ้าต้องการ”

* เฉือนเนื้อตัวเองถวายพระ
วันรุ่งขึ้น นางได้ใช้ให้ทาสีไปหาซื้อเนื้อที่ตลาด ปรากฏว่าวันนั้นทั่วทั้งตลาดไม่มีเนื้อ
เหลืออยู่เลย นางทาสีจึงกลับมามือเปล่า อุบาสิกาเมื่อไม่มีเนื้อจะปรุงอาหารถวายพระก็ร้อนใจ
ว่า:-
“เราได้บอกกับพระคุณเจ้าไว้ว่า จะจัดอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อมาถวาย ถ้าเราไม่มีส่งไป
พระคุณเจ้าก็จะลำบาก ควรที่เราจะส่งเนื้ออย่างใดอย่างหนึ่งไปถวาย”
เมื่อนางคิดดังนั้นแล้วก็เข้าไปในห้อง ใช้มีดเฉือนเนื้อที่ขาของตนเองออกมาก้อนหนึ่ง
แล้วส่งให้นางทาสีจัดการปรุงอาหาร พร้อมทั้งสั่งให้นำไปถวายพระคุณเจ้าที่วัด ถ้าพระคุณเจ้า
ถามถึงก็ให้บอกว่าอุบาสิกาเป็นไข้
นางทาสีก็ทำตามที่อุบาสิกาผู้เป็นนายสั่งทุกประการ
พระบรมศาสดาเมื่อทรงทราบว่านางสุปปิยาไม่สบาย ครั้นวันรุ่งขึ้นจึงพร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์เป็นบริวารเสด็จไปยังบ้านของนางสุปปิยาอุบาสิกา นางเมื่อทราบว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จ
มา ได้ปรึกษากับสามีว่า ตนไม่สามารถที่จะเข้าเฝ้าถวายการต้อนรับได้ ขอให้สามีจัดการกราบทูล
อาราธนาพระบรมศาสนาให้ประทับนั่ง ณ ที่อันควรแล้วถวายพระกระยาหาร
พระบรมศาสดา เสด็จมาถึงบ้านของนางสุปปิยา ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่จัดไว้แล้ว
ตรัสถามถึงนางสุปปิยาว่า:-
“อุบาสก นางสุปปิยาไปไหน ?”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางเป็นไข้นอนอยู่ในห้อง พระเจ้าข้า”
“จงเรียกนางมาเถิด อุบาสก”
นางสุปปิยา นอนอยู่ในห้องได้ยินพระพุทธดำรัสที่ตรัสกับสามีโดยตลอดจึงคิดว่า “พระ
บรมศาสดา ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสงเคราะห์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งปวง คงจะทรงทราบเหตุ
เรื่องราวของเราแล้วจึงรับสั่งเรียกหา” เมื่อคิดดังนี้แล้ว เกิดปีติปราบปลื้มลืมความเจ็บปวด จึงรีบ
ลุกขึ้นจากเตียง โดยเร็วด้วยหวังจะเข้าเฝ้า ทันใดนั้น เหตุอัศจรรย์อันเกิดจากพุทธานุภาพ บาด
แผลที่ขาของนางก็หายสนิท ผิวราบเรียบไม่มีร่องรอยของบาดแผล ผิวพรรณผ่องใสยิ่งกว่าเดิม
นางยิ่งเกิดปีติศรัทธามากขึ้น รีบจัดแจงแต่งกายเรียบร้อยแล้วออกมาเข้าเฝ้า กราบถวายยังคมด้วย
เบญจางคประดิษฐ์แล้วนั่ง ณ ที่อันควรแก่นตน
พระพุทธองค์ทรงพระดำริว่า “อุบาสิกานี้ไม่สบายด้วยเหตุอุไรหนอ” ดังนี้แล้วจึงได้
ตรัสถาม นางสุปปิยา ก็ได้กราบทูลเรื่องราวที่ตนกระทำทั้งหมดให้พระพุทธองค์ได้ทรงทราบ

* ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์
พระบรมศาสดาครั้งเสร็จกิจแล้วเสด็จกลับพระวิหารรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วทรงตำหนิ
ภิกษุรูปนั้นเป็นอย่างมากแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ตั้งแต่บัดนั้น
เป็นต้นมา

ต่อมาพระบรมศาสดาขณะประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมื่อทรงสถาปนา
อุบาสิกาทั้งหลายในตำแหน่งต่าง ๆ ได้ทรงปรารภอุปนิสัยศรัทธาของนางสุปปิยาแล้ว ได้ทรง
สถาปนานางไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่า อุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้

เนื้อที่ภิกษุฉันไมได้ ๑๐ อย่าง
๑. เนื้อมนุษย์
๒. เนื้อช้าง
๓. เนื้อม้า
๔. เนื้อสุนัข
๕. เนื้องู
๖. เนื้อราชสีห์
๗. เนื้อหมี
๘. เนื้อเสือโคร่ง
๙. เนื้อเสือดาว
๑๐. เนื้อเสือเหลือง

สัตว์ที่ภิกษุไม่ควรฉัน ๔ ประเภท
๑. สัตว์ที่เห็นเขาฆ่า
๒. สัตว์ที่ได้ยินเขาฆ่า
๓. สัตว์ที่เขาจงใจฆ่าให้ฉัน
๔. สัตว์ที่เลี้ยงไว้เอง

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 13 ก.ย. 2009, 18:49, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




020.jpg
020.jpg [ 25.43 KiB | เปิดดู 10574 ครั้ง ]
๘.นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง

นางกาติยานี เกิดในกุกรรฆรนคร เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่
เยาว์วัย มีหญิงสหายคนหนึ่งชื่อนางกาฬี เป็นชาวกุรรฆรนคร เช่นกัน
ในยามราตรีคืนหนึ่ง ขณะที่พระโกฆิกัณณโสณเถระ กำลังแสดงธรรมโปรดโยมมารดา
และเป็นเหตุให้โยมมารดานั้นเป็นพระอริยกายสักขี (โสดาปัตติผลถึงอรหัตมรรค) ขณะนั้น นาง
กาติยานีกับนางกาฬีผู้เป็นสหาย ก็ได้ร่วมฟังธรรมอยู่ข้างท้ายพุทธบริษัทนั้นด้วย

* โจรขุดอุโมงค์เข้าบ้าน
ในคืนวันนั้น โจรประมาณ ๙๐๐ คน ได้ทำการขุดอุโมงค์จากมุมหนึ่งของตัวเมือง เข้าไป
โผล่ทะลุที่บ้านของนางกาติยานี ตามแผนการที่วางไว้ ส่วนหัวหน้าโจรได้ไปร่วมอยู่กับพุทธ
บริษัทที่ฟังธรรม เพื่อทราบว่าชนพวกนี้มาประชุมกันด้วยเรื่องอะไร และเป็นการบังเอิญที่ยืนอยู่
ใกล้กับนางกาติยานีนั้น
เวลานั้น นางกาติยานี ได้ใช้ให้ทาสีกลับไปบ้านเพื่อนำน้ำมันมาเติมประทีปให้เกิดแสง
สว่างในบริเวณโรงธรรม นางทาสีไปถึงบ้านก็พบโจรขุดอุโมงค์ด้วยความตกใจไม่ทันได้นำน้ำ
มันออกมารีบกลับไปบอกกับเจ้านายหญิงว่า:-
“ข้าแต่แม่นาย ขณะนี้มีพวกโจรขุดอุโมงค์เข้าไปขโมยของเรือน เจ้าค่ะ”
หัวหน้าโจรซึ่งยืนอยู่ใกล้ ๆ ได้ยินคำที่ทาสีบอกแก่เจ้านายหญิงเช่นนั้น ก็คิดว่า “ถ้าหญิง
นี้เชื่อคำทาสีแล้วกลับบ้านเราจะเอาดาบฟันทางให้ขาดเป็นสองท่อน แต่ถ้าไม่กลับและยังคงฟัง
ธรรมต่อไป เราจะคืนทรัพย์สินทั้งหมดที่โจรขโมยมา จากบ้านของนางให้แก่นาง”
นางกาติยานี เมื่อฟังคำของทาสีแล้วกล่าวว่า “นี่แม่คุณ อย่างทำเสียงดังเลย ธรรมดาพวก
โจรทั้งหลายเมื่อจะลักขโมยของก็จะเลือกเอาแต่ทรัพย์สินที่ตนเห็นว่ามีประโยชน์มีคุณค่าเท่านั้น
ส่วนเวลาที่ข้าจะได้ฟังธรรมเหมือนเช่นวันนี้หาได้ยากยิ่งนัก เจ้าอย่าทำลายเวลาฟังธรรมของข้า
เลย”
หัวหน้าโจร เมื่อได้ยินคำพูดของนางกาติยานีโดยตลอดแล้วคิดว่า “โอ! หนอ พวกเรา
ทำกรรมหนักเสียแล้ว พวกเราพากันลักขโมยทรัพย์สินของหญิงผู้มีศรัทธามั่นคงอย่างนี้อาจถึงกับ
ธรณีสูบได้” ทันใดนั้น เขาได้สั่งให้ลูกน้องนำทรัพย์สินของนางกลับไปคืนไว้ที่เดิมทั้งหมดแล้ว
พากันมายืนฟังธรรมอยู่ข้างท้ายบริษัทเมื่อจบเทศนาของพระเถระแล้ว นางกาติยานีก็ดำรงค์อยู่ใน
โสดาปัตติผล

* พาโจรบวช
ครั้นรุ่งอรุณ หัวหน้าโจรได้พาลูกน้องทั้งหมด กราบหมอบแทบเท้าของนางกาติยานี
อุบาสิกา พร้อมกับกล่าวอ้อนวอนว่า:-
“ข้าแต่แม่เจ้า ขอโปรดยกโทษให้พวกเราด้วยเถิด”
“อะไรกันพวกท่านทำผิดอะไรกับฉันไว้หรือ ? ”
“ข้าแต่แม่เจ้า พวกเราขุดอุโมงค์เข้าไปลักขโมยทรัพย์สินในเรือนของท่าน”
“เอาเถอะ ฉันยกโทษให้พวกท่านทั้งหมด”
“ข้าแต่แม่เจ้า ถ้าท่านยกโทษให้พวกเราจริงก็ขอให้ท่านพาพวกเราไปบวช ในสำนักของ
พระโกฏิกัณณโสณเถระด้วยเถิด”
นางกาติยานีอุบาสิกา ได้พาพวกโจรเหล่านั้นไปบวชตามต้องการในสำนักของพระเถระ
แล้ว และก็ได้บรรลุพระอรหัตผลด้วยกันทั้งหมด
ต่อมา พระบรมศาสดาขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร เมื่อทรงสถาปนา
อุบาสิกาทั้งหลายในตำแหน่งต่าง ๆ ได้ทรงพิจารณาปรารภความมีศรัทธาเลื่อมใสอย่างแน่น
แฟ้นในพระรัตนตรัยของนางกาติยานีอุบาสิกาแล้ว ทรงสถาปนาแต่งตั้งนางไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้เลื่อมใสมั่นคง

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 13 ก.ย. 2009, 18:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




645328_1231649411.jpg
645328_1231649411.jpg [ 31.32 KiB | เปิดดู 10566 ครั้ง ]
๙.นางกาฬีกุรรฆริกา เอตทะคคะในฝ่ายผู้ได้ความเลื่อมใสตามเขา

นางกาฬกุรรฆริกา เกิดในเมืองราชคฤห์ เมื่อเจริญวัยแล้วได้มีสามีอยู่ในกรุงกุกรรฆรนคร ต่อ
มานางได้ตั้งครรภ์ รักษาบริหารครรภ์จนครบกำหนดแล้วคิดว่า “การคลอดบุตรในเรือนของ
บุคคลอื่นนั้น เป็นการไม่สมควร” จึงกลับไปบังเรือนบิดามารดาของตนที่กรุงราชคฤห์
ในเวลาเที่ยงคืนของคืนหนึ่ง นางกาฬีได้ยินเสียงของพวกสาตาคิรยักษ์และเหมวตยักษ์
ซึ่งยืนอยู่ในอากาศเหนือปราสาทของตน กล่าวพรรณนาพระคุณของพระรัตนตรัยแล้วเกิด
ความเลื่อมใสที่ได้ยินเสียงสรรเสริญพระคุณของพระรัตนตรัยนั้น จนได้ดำรงอยู่ในดาปัตติผล
โดยที่ยังไม่ได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาเลย และต่อมานางได้คลอดบุตรโดยสวัสดี
พระพุทธองค์ทรงปรารภเหตุนี้ เมื่อทรงสถาปนาบรรดาอุบาสิกาทั้งหลายในตำแหน่ง
ต่าง ๆ ได้ทรงสถาปนาแต่งตั้งนางกาฬีอุบาสิกาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกา
ทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้ได้ความเลื่อมใสตามเขา คือ เลื่อมใสโดยฟังตามคนอื่นหรือตามกันมา

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




G3524932-51.jpg
G3524932-51.jpg [ 92.25 KiB | เปิดดู 10564 ครั้ง ]
๑๐.นางนกุลมารดาคหปตานี เอตทะคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระศาสดา

นางนกุลมารดา เกิดในตระกูลเศรษฐีในเมืองสุงสุมารคิรี แคว้นภัคคะ เมื่อเจริญวัย
ได้แต่งงานอยู่ครองเรือนตามฆราวาสวิสัย มีความสุขตามสมควรแก่ฐานะเมื่อบิดามารดาล่วง
หลับไปแล้วได้ครอบครองดูแลทรัพย์สมบัติสืบไป

* กล่าวตู่ว่าพระพุทธองค์เป็นลูก
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมติตามเสด็จจาริกไปถึงพระนคร
สุงสุมารคิรี แล้วเสด็จเข้าประทับ ณ เภสกลาวัน
ขณะนั้น นกุลเศรษฐีและภริยาพร้อมด้วยเหล่าชาวเมืองสุงสุมารคิรีได้พากันไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคะเจ้า ณ ที่ประทับ ทันทีที่เศรษฐีและภริยาได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเท่านั้นความรัก
ประหนึ่งว่าพระพุทธองค์เป็นบุตรในอุทรของตนก็เกิดขึ้นสองสามีภริยาหมอบลงแทบพระยุคล
บาทของพระบรมศาสดาแล้วกราบทูลว่า
“ลูกเอ๋ย เจ้าทิ้งพ่อแม่ไปสิ้นกาลช้านาน บัดนี้เจ้าไปอยู่ ณ ที่ใดมา ?”
จากอาการกิริยาและคำพูดของเศรษฐีและภรรยานั้น สร้างความสับสนฉงนสนเท่ห์แก่
ภิกษุสงฆ์และพุทธบริษัทในสมาคมนั้น เพราะต่างก็ทราบดีว่าพระพุทธองค์เสด็จออกบรรพชา
จากศากยสกุล กรุงกบิลพัสดุ์ และชาวเมืองสุงสุมารคิรี ก็ทราบดีว่าเศรษฐีสองสามีภรรยามี
ญาตร่วมสายโลหิตและทายาทกี่คน เหตุไฉนท่านจึงกล่าวตู่ว่าพระผู้มีพระภาคเป็นบุตรของตน
แม้พระบรมศาสดา ก็มิได้ตรัสห้ามประณามเศรษฐีสองสามีภรรยานั้นแต่ประการใด
เลย ด้วยเศรษฐีทั้งสองมีสติเต็มไปด้วยความรักและปีติสุดที่จะยับยั้งได้ พระพุทธองค์ทรงรอ
โอกาสเมื่อพวกเขากลับได้สติวางใจเป็นกลางแล้ว จึงทรงแสดงธรรมตามสมควรแก่อัธยาศัย
ยังบุคคลทั้งสองให้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล แล้วทรงยกเรื่องในอดีตชาติ มาประกาศใน
ท่ามกลางพุทธบริษัทให้ทราบทั่วกันว่า
“ในอดีตชาติ เศรษฐีสองสามีภรรยานี้เคยเป็นบิดามารดาของตถาคต ๕๐๐ ชาติ เคย
เป็นปู่ เป็นย่า ๕๐๐ ชาติ เคยเป็นลุง เป็นป้า ๕๐๐ ชาติ เคยเป็นอาเป็นน้า ๕๐๐ ชาติ ดังนั้นเพราะ
ความรักความผูกพันที่ติดตามมาตลอดช้านานนี้พอได้เห็นตถาคตจึงสุดที่จะอดกลั้นความรัก
นั้นไว้ได้”
พระบรมศาสดา ครั้นได้ประทานสุขสมบัติในเทวโลกและสุขสมบัติในอริยภูมิแก่ชาว
สุงสุมารคิรีแล้ว เสด็จจาริกไปยังคามนิคมอื่น ๆ โดยลำดับ

* แม้ทางใจก็ไม่เคยคิดชั่ว
ครั้นกาลต่อมา พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์แวดล้อมตามเสด็จมายังพระนคร
สุงสุมารคิรีอีก เศรษฐีและภรรยาซึ่งทั้งสองเข้าสู่วัยชราภาพแล้ว ได้ทราบข่าวการเสด็จมาของ
พระผู้มีพระภาค จึงพากันไปเฝ้ากราบวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ได้กราบอาราธนาเพื่อ
เสวยพระกระยาหารในวันรุ่งขึ้น พระพุทธองค์ทรงรับด้วยดุษณีภาพ เมื่อได้เวลาทรงพาภิกษุ
สงฆ์เสด็จไปยังบ้านของนกุลเศรษฐี ซึ่งสองสามีภรรยานั้นได้อังคาสถวายภัตตาหารแด่พระ
พุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พากันเข้าไปนั่งใกล้ ๆ ณ ที่อันสมควรแก่ตนนาง
นกุลมารดาคหปตานีได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์กับนกุลบิดาคฤหบดีนี้ แต่งงานกันมาตั้งแต่ครั้งอยู่
ในวัยหนุ่มสาว ตราบจนบัดนี้ ข้าพระองค์มิได้รู้สึกเลยว่า นกุลบิดาคฤหบดีผู้สามีจะนอกใจแม้
ทางใจ ดังนั้น เขาจะนอกใจทางกายได้อย่างไร ข้าพระองค์ปรรถนาจะพบกันและกัน ทั้งใน
ปัจจุบันทั้งในภายภาคหน้าพระเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ฯ นครสุงสุมารคิรี ตามสมคารแก่พระอัธยาศัยแล้วทรงพา
หมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จจาริกโปรดเวไนยสัตว์ ตามคามนิคมชนบทอื่น ๆ โดยลำดับ
ต่อมาพระพุทธองค์ขณะประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงสถาปนา
นกุลมารดาคหปตานี ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่าย
ผู้มีความคุ้นเคยในพระศาสดา

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




01-aa-54040.gif
01-aa-54040.gif [ 256.41 KiB | เปิดดู 10549 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b35: :b35: :b35: :b35:

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย เพลิง. เมื่อ 22 ก.ย. 2009, 15:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2009, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ...ทุกท่านที่ให้ความสนใจ...ขอบคุณค่ะ tongue

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2009, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ส.ค. 2009, 01:54
โพสต์: 124

อายุ: 44
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาพดอกบัวคุณสวยแปลกตาดีครับ..ชอบครับ :b35: :b35:

.....................................................
"อักษรพาใจให้สดชื่น..มิต้องการคำตอบหรือวิจารย์..ดอกหนาเยาว์มาลย์"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร