วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2022, 18:22 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


พระเจ้าจันทรคุปต์
พระอัยกาของพระเจ้าอโศกมหาราช
ศ.(พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก
:b45: :b47: :b45:

เมื่อพูดถึง พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ก็น่าจะพูดถึง “เสด็จปู่” ของพระองค์บ้าง เพราะมีปู่จึงมีหลาน

แม้ปู่จะไม่มีบทบาทในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ก็เห็นว่ามีประวัติน่าสนใจ ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ “กระซิบ” และประวัติศาสตร์จริงๆ

ถามว่าต่างกันอย่างไร ต่างกัน ประวัติศาสตร์จริงๆ มีบันทึกเป็นหลักเป็นฐาน แต่ประวัติศาสตร์กระซิบ มักกระซิบต่อๆ กันมา ใส่ไข่บ้าง ไม่ใส่บ้าง

ฟังแล้ว “มัน” กว่าอ่านประวัติศาสตร์จริงเสียอีก


เสด็จปู่ของพระเจ้าอโศกมหาราช พระนามว่า จันทคุตต์ (สันสกฤษเขียน จันทรคุปต์) เป็นลูกเต้าเหล่าใคร ไม่มีใครทราบ เพราะไม่ได้บันทึกไว้

เปิดหาประวัติในพจนานุกรมอสาธารณนาม (วิสามานยนาม) ฉบับที่อ้างอิงกันมาก รวบรวมและเรียบเรียงโดย ด๊อกเตอร์มาลาลา เสเกรา นักปราชญ์ชาวสิงหล มีพูดถึงจันทรคุปต์หน่อยเดียวเท่านั้น

จันทคุตต์หรือจันทรคุปต์ พระราชาแห่งชมพูทวีป ราชวงศ์โมริยะ และได้ปราบดาภิเษกเป็นพระราชา ด้วยความช่วยเหลือของปุโรหิต นามว่า จาณักกะ โดยสังหารพระเจ้านันทะและรัชทายาท พระนามว่า ปัพพตะ แห่งเมืองปาตลีบุตร

พระเจ้าจันทคุปต์ปกครองประเทศอยู่ ๒๔ ปี พระองค์มีพระราชโอรส นามว่า
พระเจ้าพินทุสาร เป็นพระอัยกา (ปู่) ของพระเจ้าอโศกมหาราช รัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ร่วมสมัยกับพระเจ้าปัณฑุกาภัยแห่งศรีลังกา พระเจ้าปัณฑุกาภัยได้เสด็จสวรรคตในปีที่ ๑๔ แห่งรัชกาลของพระเจ้าจันทรคุปต์

นอกจากนี้ ก็มีข้อความอีกเล็กน้อย อ้างจากมิลินทปัญหาว่าบิดาของพระเถระรูปหนึ่งไม่ถูกกับจันทรคุปต์ ถูกจาณักกะยุยงให้จับเขาขังคุก แสดงว่าบุคคลดังกล่าวนั้นคงเป็นคนสำคัญ แต่ไม่ได้บอกไว้ว่าชื่อเสียงเรียงใด

รายละเอียดในพจนานุกรมมีเพียงแค่นี้

เรื่องราวของจันทรคุปต์ มักจะมีเล่าในหนังสือประวัติศาสตร์อินเดีย เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกันกับ อเล็กซานเดอร์มหาราช (หรือที่ทางบาลีเรียกว่า “อลิกสุนทร”)

คือเมื่อครั้งสมัยที่ปาตลีบุตรถูกปกครองด้วยกษัตริย์ราชวงศ์นันทะ (พระนามพระมหากษัตริย์จะลงท้ายด้วย “นันทะ” หมดถึง ๙ ราชวงศ์)

ในพุทธศตวรรษที่ ๒ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้าตีอาณาจักรเปอร์เซียได้แล้ว ได้ยกทัพข้ามเขาฮินดูกูฏ เข้ามาทางเหนือของอินเดีย ยึดครองเมืองตักสิลาและแคว้นปัญจาปได้ ก็เดินทัพเรื่อยมาจนถึงลุ่มน้ำสินธุ หมายเข้าตีเมืองปาตลีบุตรแห่งราชวงศ์นันทะ


ในช่วงก่อนหน้านั้นเพียงเล็กน้อย มหาโจรผู้โด่งดังคนหนึ่ง นามว่า
จันทรคุปต์ ได้ซ่องสุมกำลังเข้าโจมตีเมืองปาตลีบุตรหลายครั้ง ไม่สำเร็จแม้แต่ครั้งเดียว

มหาโจรท่านนี้บางตำราก็ว่ามิใช่มหาโจร แต่เป็นข้าราชการในราชสำนักเมืองปาตลีบุตรนั้นเอง ด้วยความช่วยเหลือของพราหมณ์คนหนึ่ง นามว่า จาณักยะ จึงคิดการปฏิวัติแต่ก็ล้มเหลว

สองคน (อาจารย์กับศิษย์) ได้แตกทัพเร่ร่อนหลบซ่อนตัวในป่า ซ่องสุมกำลังพลได้มากพอแล้ว ก็ยกเข้ามาโจมตีเมืองปาตลีบุตรอีก พ่ายแพ้อีก แต่ทั้งสองก็ไม่ย่อท้อ คงพยายามเรื่อยมา


พอได้ข่าวว่าอเล็กซานเดอร์มหาราชจากกรีกบุกเข้ามาชมพูทวีป สองคนอาจารย์กับศิษย์ ก็ไปเจรจาขอให้อเล็กซานเดอร์มหาราชช่วยตีเมืองปาตลีบุตร แต่เจรจากันอีท่าใดไม่ทราบ เกิดผิดใจกับมหาราชกรีก ทั้งสองถูกจับขังคุก แต่ในที่สุดก็หนีออกไปได้

ว่ากันว่ากองทัพอเล็กซานเดอร์มหาราชจำต้องยกกลับ เพราะทหารหาญเกิดแข็งข้อ ไม่อยากเดินทัพต่อไป เนื่องจากมาไกลโขและก็เหนื่อยล้ากันมาก อเล็กซานเดอร์จำต้องถอยทัพกลับ ยังมิทันได้เข้าตีเมืองปาตลีบุตรเลย กษัตริย์หนุ่มต้องสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง (บางกระแสว่าถูกวางยาพิษ) ขณะพระชนมายุเพียง ๓๐ กว่าพรรษา (๓๓ ประมาณนั้น)


จาณักยะ กับ จันทรคุปต์ ได้โอกาสก็บุกเข้าโจมตีเมืองเล็กเมืองน้อยที่อเล็กซานเดอร์เคยได้ไว้ในครอบครอง ตีได้เรื่อยมา จนกระทั่งเข้าตีเมืองปาตลีบุตรสำเร็จ สถาปนาตนขึ้นเป็นพระเจ้าจันทรคุปต์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ นามว่า “โมริยะ” (หรือเมารยะ) จาณักยะผู้อาจารย์ได้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตแห่งราชวงศ์โมริยะ

ว่ากัน (อีกแล้ว) ว่า ก่อนที่จะพบอเล็กซานเดอร์มหาราช สองอาจารย์กับศิษย์ได้บุกเข้าโจมตีเมืองปาตลีบุตร แล้วพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ ต้องหนีกระเซอะกระเซิงแทบเอาตัวไม่รอด

ข้างฝ่ายจันทรคุปต์ผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้ยินเสียงแม่บ้านขนมเบื้องดุลูกสาวผู้กัดกินขนมเบื้องทั้งที่ยังร้อน จนต้องคายทิ้งเพราะความร้อนว่า “อีหน้าโง่ มึงนี่โง่เหมือนโจรจันทรคุปต์”

ได้ยินใครด่าตัวเองเข้าก็สะดุด จึงยืนแอบฟังอยู่ แม่ค้าขนมเบื้องกล่าวต่อว่า “มึงก็รู้ว่าขนมมันร้อน มึงก็กัดกินที่ขอบเข้ามาซีวะ เสือกกัดกร้วมทั้งอันมันก็ร้อน ไอ้โจรหน้าโง่นั่นก็เหมือนกัน จะตีเมืองทั้งทีเสือกไปตีกลางใจเมือง ทำไมไม่ตีโอบมาจากเมืองข้างนอก ไม่ตายห่าก็บุญแล้ว”

คำด่าลูกของแม่ค้าขนมเบื้องนั้น ทำให้จันทรคุปต์ “ฉุกคิด” ขึ้นมา จึงปรึกษาอาจารย์ว่าควรจะตีโอบมาจากรอบนอกแบบ “ป่าล้อมเมือง” (ไม่รู้ถูกหรือเปล่านะ) พอดีได้ข่าวว่าอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้ามาอินเดีย จึงได้ขอแรงให้ช่วยตีเมืองแต่เกิดแตกคอกันก่อน แผนการเลยล้มเหลว

แต่ในที่สุดจันทรคุปต์ก็ได้ราชบัลลังก์ตามประสงค์

เล่ามาทั้งหมด ไม่เห็นมีอะไรเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา นอกเสียจากว่า จันทรคุปต์เป็นพระอัยกาของพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้เป็นศาสนูปถัมภกองค์สำคัญเท่านั้น

เมื่อหลานมีอุปการคุณต่อพระศาสนาก็เท่ากับว่าปู่มีส่วนด้วย เพราะถ้าไม่มีปู่ก็ไม่มีหลาน จะพูดแค่นั้นก็คงได้ ไม่มีใครว่า เพราะความดีย่อมควรแบ่งปันกัน


แต่ที่อยากจะตั้งข้อสังเกตไว้ตรงนี้ก็คือ ประวัติศาสตร์กระซิบได้ว่า เมื่อครั้ง พระเจ้าวิฑูฑภะทำสงครามล้างโคตรพวกศากยวงศ์นั้น มีพวกศากยะที่หนีรอดคราวนั้นจำนวนหนึ่ง

หลังจากนั้นมาไม่นานก็มีบุคคลคนหนึ่งซ่องสุมกำลังเข้าโจมตีเมืองปาตลีบุตรสำเร็จ ตั้งตนเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะ และอ้างว่าตนคือเชื้อสายศากยะที่หนีรอดมาคราวนั้น

บุคคลนี้ คือ
จันทรคุปต์

ถ้าเป็นเรื่องจริง พระเจ้าจันทรคุปต์และพระเจ้าอโศกมหาราช ก็คือลูกหลานศากยวงศ์ หรือพูดให้ชัดก็คือลูกหลานของพระพุทธเจ้านั้นเอง



:b8: :b8: :b8: คัดมาจาก...หนังสือ พุทธสาวก พุทธสาวิกา
ประมวลประวัติพระเถระพระเถรี อุบาสกอุบาสิกาสมัยพุทธกาล
เรียบเรียงโดยศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต


:b45: :b47: :b45:

:b44: อุบาสก ในสมัยพุทธกาล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=71&t=46457


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2024, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร