วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2008, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

การพิมพ์พระไตรปิฏกครั้งแรกของประเทศไทย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕


หลักฐานของการพิมพ์พระไตรปิฎก
ซึ่งเดิมเขียนเป็นอักษรขอมอยู่ในคัมภีร์ใบลานให้เป็นเล่มหนังสือขึ้นนี้
มีในหนังสือชุมนุมกฎหมายในรัชกาลที่ ๕
(หลวงรัตนาญัปติ์เป็นผู้รวบรวมพิมพ์) หน้า ๘๓๙
ว่าด้วยลักษณะบำรุงพระศาสนาในหัวข้อว่า
การศาสนูปถัมภ์ คือ การพิมพ์พระไตรปิฏก ประกาศการสังคายนา
และพระราชดำรัสแก่พระสงฆ์โดยพระองค์
ได้พิมพ์ไว้ส่วนหนึ่งในภาคผนวกแล้ว

สาระสำคัญที่ได้กระทำคือ
คัดลอกตัวขอมในคัมภีร์ใบลานเป็นตัวไทยแล้วชำระแก้ไข
และพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มหนังสือรวม ๓๙ เล่ม (เดิมกะว่าจะถึง ๔๐ เล่ม)
มีการประกาศการสังคายนา

แต่เพราะเหตุที่ถือกันว่า
การสังคายนาควรจะต้องมีการชำระสะสาง
หรือทำลายเสี้ยนหนามพระศาสนา
เพียงพิมพ์หนังสือเฉยๆ คนจึงไม่นิยมถือว่าเป็นการสังคายนา

แต่ได้กล่าวไว้แล้วว่า
จะเรียกว่าสังคายนาหรือไม่ไม่สำคัญ
ขอให้ได้มีการชำระตรวจสอบ
จารึกหรือจัดพิมพ์พระไตรปิฎกให้เป็นเล่มรักษาไว้เป็นหลักฐาน
ก็นับเป็นกิจอันควรสรรเสริญอย่างยิ่ง
เพราะเป็นการทำให้พระพุทธวจนะ
ดำรงอยู่เป็นหลักแห่งการศึกษาและปฏิบัติตลอดไป

มีข้อน่าสังเกตในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งแรกในประเทศไทย
ครั้งนี้ที่ขอเสนอไว้เป็นข้อๆ นี้คือ


๑. การชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๑
สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ จำนวน ๑,๐๐๐ ชุด
นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ได้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยอักษรไทย
เป็นการฉลองการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติครบ ๒๕ ปี

๒. เป็นการสละพระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(เทียบกับการพิมพ์พระไตรปิฎก ในรัชกาลที่ ๗
ซึ่งเป็นการสละพระราชทรัพย์ และทรัพย์ร่วมกันของพระมหากษัตริย์กับประชาชน)

๓. ในการพิมพ์ครั้งแรกนี้ พิมพ์ได้ ๓๙ เล่มชุด ยังขาดหายไปมิได้พิมพ์อีก ๖ เล่ม
และพิมพ์เพิ่มเติมในรัชกาลที่ ๗ จนครบ
ฉบับพิมพ์ในรัชกาลที่ ๗ รวม ๔๕ เล่ม จึงนับว่าสมบูรณ์
เป็นการช่วยเพิ่มเติมเล่มที่ขาดหายไป คือ


(๑) เล่ม ๒๖ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา
(๒) เล่ม ๒๗ ชาดก
(๓) เล่ม ๒๘ ชาดก
(๔) เล่ม ๓๒ อปทาน
(๕) เล่ม ๓๓ อปทาน พุทธวงศ์ จริยาปิฎก
(๖) เล่ม ๔๑ อนุโลมติกปัฏฐานภาค ๒ และ
(๗) ปัจจนียฐาน อนุโลมปัจจนียฐาน ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน


นอกจากนั้นยังได้เพิ่มเติมท้ายเล่ม ๔๔ ที่ขาดหายไปครึ่งหนึ่ง
อนุโลมติกติกปัฏฐาน และอนุโลมทุกทกปัฏฐานน ให้สมบูรณ์ด้วย
ตามจำนวนดังกล่าวนี้ เมื่อคิดเป็นเล่มจึงมีหนังสือหายไป
ต้องพิมพ์เพิ่มเติมใหม่ถึง ๗ เล่ม

แต่เพราะเหตุที่ฉบับพิมพ์ในครั้งรัชกาลที่ ๕
แยกคัมภีร์ยมกแห่งพระอภิธรรมปิฎกออกเป็น ๓ เล่ม
ส่วนในการพิมพ์ครั้งหลังรวมเป็นเพียง ๒ เล่ม
จำนวนเล่มที่ขาดหายจึงเป็นเพียง ๖ เล่ม

คือ ฉบับพิมพ์ในรัชกาลที่ ๕ มี ๓๙ เล่ม ฉบับพิมพ์
ด้วยพิมพ์ในรัชกาลที่ ๗ มี ๔๕ เล่มด้วยประการฉะนี้

อย่างไรก็ดี การพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มหนังสือนี้
แม้ในขั้นแรกจะไม่สมบูรณ์
แต่ก็เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาสะดวกยิ่งขึ้น
เป็นการวางรากฐานอย่างสำคัญแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
เป็นพระราชกรณียกิจอันควรสรรเสริญยิ่ง
แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


นับเป็นสมัยที่ ๓ ของไทยที่มีการชำระและพิมพ์เป็นเล่ม
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
(พ.ศ. ๒๔๓๑ - พ.ศ. ๒๔๓๖) ณ กรุงเทพมหานคร

:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : การสาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐,

หน้า ๔๐, กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร