วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 14:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2017, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎกมีการรักษาสืบทอดมาถึงเราได้อย่างไร

การสังคายนาหรือสังคีติ ครั้งที่ ๑ นี้ ย่อมเป็นสังคายนาครั้งสำคัญที่สุด เพราะพุทธพจน์ที่รวบรวมประมวลมาทรงจำเป็นแบบแผนหรือเป็นมาตรฐานไว้ครั้งนี้ มีเท่าใด ก็คือได้เท่านั้น ต่อจากนั้น ก็มีแต่จะต้องทรงจำรักษาพุทธพจน์ที่รวมได้ในสังคายนาครั้งที่ ๑ นี้ไว้ให้ถูกต้องแม่นยำ บริสุทธิ์หมดจด และครบถ้วนที่สุด

พูดสั้นๆ ว่าบริสุทธิ์บริบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ ในเวลาต่อมาหลังจากนี้ พระเถระผู้รักษาพุทธพจน์จึงเน้นวิธีการรักษาด้วยการสาธยาย และการมอบหมายหน้าที่ในการทรงจำแต่ละหมวดหมู่ เป็นต้น

โดยนัยดังกล่าว การสังคายนาที่มีความหมายเป็นการรวบรวมพุทธพจน์แท้จริง ก็มีแต่ครั้งที่ ๑ นี้ การสังคายนาครั้งต่อๆมา ก็คือการที่พระเถระผู้ทรงจำรักษาพุทธพจน์ทั้งหลายมาประชุมกัน ซักซ้อม ทบทวนทานพุทธพจน์ ที่รักษาต่อกันมาตั้งแต่สังคายนาครั้งที่ ๑ นั้น ให้คงอยู่บริสุทธิ์บริบูรณ์ที่สุด คือ ครบถ้วนแม่นยำและไม่มีแปลกปลอม

เนื่องจากต่อมามีภาระเพิ่มขึ้นในด้านป้องกันคำสอนและการประพฤติปฏิบัติแปลกปลอม การทรงจำรักษาพุทธพจน์จึงเน้นเพิ่มขึ้นในแง่การนำพุทธพจน์ที่ทรงจำรักษาไว้นั้นมาเป็นมาตรฐานตรวจสอบคำสอนและการปฏิบัติทั้งหลาย ที่อ้างว่าเป็นของพระพุทธศาสนา เป็นเหตุให้คำว่า สังคายนา ในภาษาไทยมีนัยขยายหรืองอกออกไป คือ ความหมายว่าเป็นการชำระสะสางคำสอนและวิธีปฏิบัติที่แปลกปลอม

ยิ่งกว่านั้น ในกาลนานต่อมา คนบางส่วนยึดเอาความหมายงอกนี้เป็นความหมายหลักของการสังคายนา จนถึงกับลืมความหมายที่แท้ของการสังคายนาไปเลยก็มี จนกระทั่งสมัยปัจจุบันนี้ บางทีบางคนไปไกลมากถึงกับเข้าใจผิดว่า ผู้ประชุมสังคายนามาช่วยกันตรวจสอบคำสอนในพระไตรปิฎกว่า มีทัศนะหรือความเห็นที่ผิดหรือถูก ซึ่งเท่ากับมาวินิจฉัยว่าพระพุทธเจ้าสอนไว้ผิดหรือถูก ที่นั่นที่นี่ แล้วจะมาปรับแก้กัน ฉะนั้น จึงจำเป็นว่าจะต้องเข้าใจความหมายของ สังคายนา ให้ถูกต้อง ให้แยกได้ว่า ความหมายใด เป็นความหมายที่แท้ ความหมายใดเป็นนัยที่งอกออกมา

การสังคายนา หรือสังคีติ ในความหมายแท้ ที่เป็นการประชุมกันซักซ้อมทบทวนรักษาพุทธพจน์เท่าที่มีมาถึงเราไว้ ให้ครบถ้วนแม่นยำบริสุทธิ์บริบูรณ์ที่สุดนี้ มีความเป็นมาแยกได้ ๒ ช่วง คือ

ช่วงแรก ท่องทวนด้วยปากเปล่า เรียกว่า มุขปาฐะ และ

ช่วงหลัง จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่า โปตถกาโรปนะ

ช่วงต้น หรือยุคแรก นับแต่พุทธกาลตลอดมาประมาณ ๔๖๐ ปี พระเถระผู้รักษาพระศาสนาทรงจำพุทธพจน์กันมาด้วยปากเปล่า เรียกว่า มุขปาฐะ เรียกง่ายๆ ว่า “ปากบอก” คือ เรียน - ท่อง - บอกต่อด้วยปาก ซึ่งเป็นการรักษาไว้กับตัวคน

ในยุคนี้ มีข้อดี คือ เนื่องจากพระสงฆ์รู้ตระหนักถึงความสำคัญสูงสุดของการรักษาพุทธพจน์ จึงทำให้มีความไม่ประมาท โดยระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะให้มีการจำพุทธพจน์ไว้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ ถือว่าการรักษาพุทธพจน์นี้เป็นกิจสำคัญสูงสุดของการรักษาพระพุทธศาสนา

การรักษาโดยมุขปาฐะ หรือมุขบาฐ นี้ ใช้วิธีสาธยาย ซึ่งแยกได้เป็น ๔ ระดับ คือ

ก. เป็นความรับผิดชอบของสงฆ์หมู่ใหญ่สืบกันมาตามสายอาจารย์ที่เรียกว่า อาจริยปรัมปรา (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เถรวงส์) โดยพระเถระที่เป็นต้นสายตั้งแต่สังคายนาครั้งแรกนั้น เช่น พระอุบาลีเถระ ผ้เชียวชาญด้านพระวินัย ก็มีศิษย์สืบสายและมอบความรับผิดชอบในการรักษาสั่งสอนอธิบายสืบทอดกันมา

ข. เป็นกิจกรรมหลักในวิถีชีวิตของพระสงฆ์ ซึ่งจะต้องเล่าเรียนปริยัติ เพื่อเป็นฐานของการปฏิบัติที่ถูกต้อง อันจะนำไปสู่ปฏิเวธ และการเล่าเรียนนั้นจะให้ชำนาญส่วนใด ก็เป็นไปตามอัธยาศัย ดังนั้น จึงเกิดมีคณะพระสงฆ์ที่คล่องแคล่วเชียวชาญพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกต่างหมวดต่างส่วนกันออกไป เช่น มีพระสงฆ์กลุ่มที่คล่องแคล่วเชียวชาญในทีฆนิกาย พร้อมทั้งคำอธิบาย คือ อรรถกถาของทีฆนิกายนั้น เรียกว่า ทีฆภาณกะ แม้ มัชฌิมภาณกะ สังยุตตภาณกะ อังคุตตรภาณกะ และขุททกภาณกะ เป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน

ค. เป็นกิจวัตรของพระภิกษุทั้งหลายแต่ละวัดแต่ละหมู่ ที่จะมาประชุมกัน และกระทำคณสาธยาย คือสวดพุทธพจน์พร้อมๆกัน (การปฏิบัติอย่างนี้อาจจะเป็นที่มาของกิจวัตรในการทำวัตรสวดมนต์เช้า - เย็น หรือ เช้า - ค่ำ อย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน)

ง. เป็นกิจวัตร หรือข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวันของพระภิกษุแต่ละรูป ดังปรากฏในอรรถกถาเป็นต้นว่า พระภิกษุเมื่อว่างจากิจวัตรอื่น เช่น เมื่ออยู่ผู้เดียว ก็นั่งสาธยายพุทธพจน์ เท่ากับว่าการสาธยายพุทธพจน์นี้เป็นส่วนหนึ่งแห่การปฏิบัติธรรมของท่าน

เนื่องจากพระภิกษุทั้งหลายมีวินัยสงฆ์กำกับให้ดำเนินชีวิตในวิถีแห่งไตรสิกขา อีกทั้งอยู่ในบรรยากาศแห่งการเล่าเรียนถ่ายทอดและหาความรู้เพื่อนำไปสู่สัมมาปฏิบัติ จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ทำให้เกิดมีการรักษาคำสอนด้านการสาธยายทบทวนตรวจสอบกันอยู่เป็นประจำอย่างเป็นปกติตลอดเวลา

------------

ต่อ

ข้อควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ “พระไตรปิฎก”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=54932

พระไตรปิฎกเกิดขึ้นได้อย่างไร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=54987

พระไตรปิฎกมีการรักษาสืบทอดมาถึงเราได้อย่างไร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=54988

พระไตรปิฎก กับ ไตรสิกขา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=54962

พระไตรปิฎก กับ พระรัตนตรัย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=54951

พระไตรปิฎก กับ พุทธบริษัท ๔
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=54952

พระไตรปิฎก กับ พระสัทธรรม ๓
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=54955

การสังคายนา คืออะไร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=54963

ปฐมสังคายนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=54964

พระพุทธศาสนาไม่ใช่ปรัชญา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=54930

พระพุทธพจน์ : แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=54931

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร