วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 05:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=8



กลับไปยังกระทู้  [ 53 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2009, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




1211821813.jpg
1211821813.jpg [ 61.28 KiB | เปิดดู 4344 ครั้ง ]

ธมฺโม รหโท อกทฺทโม
ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม

ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี
ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ

ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ กิตฺติ
เกียรติย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม

ธมฺเม ฐิตา เย น กโรนฺติ ปาปกํ
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป

ธมฺมํ จเร สุจริตํ
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต

นภญฺจ ทูเร ปฐวี จ ทูเร ปารํ สมุทฺทสฺส ตทาหุ ทูเร
ตโต หเว ทูรตรํ วทนฺติ สตญฺจ ธมฺโม อสตญฺจ ราช
เขากล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน และฝั่งทะเลก็ไกลกัน
แต่ธรรมของสัตบุรุษกับ อสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




awb_image47255154748.jpg
awb_image47255154748.jpg [ 117.01 KiB | เปิดดู 4195 ครั้ง ]

สร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น

อตฺตนาว กตํ ปาป อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ

อตฺตนา อกตํ ปาป อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย.

ทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง

ความหมดจดและความเศร้าหมองเป็นของเฉพาะตัว คนอื่นทำคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่


บาปเมื่อทำแล้ว ย่อมตกเป็นนมรดกแก่ผู้ทำนั่นเอง จะไปยื่นโยนโอนมอบให้แก่ผู้อื่นหาได้ไม่

หรือจะปัดเป่าชำระล้างโดยวิธีใดๆ ย่อมทำให้หมดไปไม่ได้เช่นเดียวกัน

เพราะบาปไม่ใช่มลทินของร่างกายหรือสิ่งโสโครก จะได้ชำระล้างให้หมดจดไปได้

เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ จิตฺตํ ราชรถถูปมํ

ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ

สูเจ้าทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้ อันตระการตาดุจราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องไม่


คำว่า " โลก " ในอรรถกถาหมายถึง อัตตภาพร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งขันธ์ ๕ คือ

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันวิจิตร งดงามด้วยเครื่องประดับมีผ้านุ่งห่มเป็นต้น

ส่วนพระมติของสมเด็จพระพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส หทรงอธิบายว่า โลก ในที่นี้

โดยตรงได้แก่แผ่นดินเป็นที่อาศัย โดยอ้อมได้แก่หมู่สัตว์ผู้อาศัย คนเขลาผู้ไม่รู้สัจธรรม

ย่อมหมกมุ่นอยู่กับโลก โดยหลงใหลว่า เป็นเรา เป็นของเรา เป็นต้น

ส่วนบัณฑิตผู้ฉลาดรู้เท่าทันในคติของธรรมดาแล้ว จึงไม่ข้องอยู่ในโลก

คลายความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตนเสียได้


เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.

ผู้ใดจักระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร

อาการสำรวมจิตมี ๓ อย่าง


๑. สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ มิให้ความยินดีครอบงำในเมื่อเห็นรูป

ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะอันน่าปรารถนา

๒. มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ คือ ..

อสุภะ และกายคตาสติ หรืออันยังใจให้สลดคือ มรณสติ

๓. เจริญวิปัสสนา คือ พิจรณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์

สันนิษฐานให้เห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

กิเลสกาม คือ เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ กล่าวคือ ตัณหา ความทะยานอยาก

ราคะ ความกำหนัด อรติ ความขึ้งเคียดเป็นอาทิ จัดว่าเป็นมาร

เพราะเป็นโทษล้างผลาญคุณความดีและทำให้เสียคน

วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นของน่าชอบใจ จัดเป็นบ่วงแห่งมาร ..

เพราะเป็นอารมณ์เครื่องผูกใจให้ติดแห่งมาร

บ่วงแห่งมารนี้ ผู้ที่สำรวมระวังจิตด้วยวิธีทั้ง ๓ วิธีดังกล่าวแล้ว

จึงจะสามารถหลุดพ้นจากอำนาจของมันได้


คำว่า พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องไม่ นั้นมีลักษณะอาการ และคุณโทษต่างกันอย่างไร?

พวกคนเขลาไม่เพียรพยายามพิจรณาให้เห็นจริงโดยถ่องแท้ ย่อมเพลิดเพลินในสิ่งอันให้โทษ

ย่อมระเริงจนเกินพอดีในสิ่งอันอาจให้โทษ ย่อมติดอยู่ในสิ่งอันเป็นอุปการะทั้งภายใน ภายนอก

เช่นนี้ชื่อว่า หมกอยู่ในโลกมีโทษคือ ย่อมเสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้างตามสิ่งนั้นๆจะพึงอำนวย

เหมือนปลาที่หลงกินเหยื่อที่เกียวติดอยู่กับเบ็ด ย่อมหาอิสระมิได้

ฝ่ายผู้รู้พิจรณารู้เห็นตามความเป็นจริงแห่งสิ่งนั้นๆ ว่าฉันใดแล้ว

ไม่ข้องไม่พอใจหรือพัวพันในสิ่งอันล่อใจ อันใครๆและอะไรๆ

ไม่อาจยั่วให้ติดด้วยประการใดๆ มีคุณ คือ ย่อมมีอิสระแก่ตนเอง ย่อมได้สุขที่ประณีต

สุขภายในอันยั่งยืน ไม่ต้องทุกข์เพราะเหตุไรๆ


ผ่อนคลาย สบาย สบาย ....

วางทุกอย่างทิ้งไป สบาย สบาย ....

หลับตาลง อมยิ้ม เบาสบาย .....

พักจิต พักใจ สบาย สบาย ....

ร่างกายผ่อนคลาย จิตใจเบาสบาย

หลับตาลง อมยิ้ม อย่างมีความสุข

หายใจ สบาย สบาย พร้อมกับภาวนาว่า

ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข

ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข

ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข

ใจเราน้อมรับความสุขด้วยรอยยิ้ม

กายเรายิ้ม .... ใจเรายิ้ม .....

ใจเราเต็มเปี่ยมไปด้วย .... รอยยิ้มแห่งความสุข ...

นำรอยยิ้มแห่งความสุข เผื่อแผ่ให้กับคนที่เรารักและเคารพ

ขอให้คนที่เรารักและเคารพมีความสุข ....

นำรอยยิ้มแห่งความสุขเผื่อแผ่ให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย

ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายมีความสุข

ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้เอิบอิ่มไปด้วยรอยยิ้มความสุข

ทุกคนยิ้มอย่างมีความสุข

ทุกคนยิ้มอย่างมีความสุข

ทุกคนยิ้มอย่างมีความสุข

http://www.imeem.com/horayoga/music/cJ1 ... ion/?rel=1

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 ก.ย. 2009, 20:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




p6213910n1.jpg
p6213910n1.jpg [ 48.11 KiB | เปิดดู 4141 ครั้ง ]

ใครจะชิงใครจะชังมันก็ช่างหัวเขา แค่ตัวเรารู้เราช่างเค้าประไร

ใครจะชักใครจะแช่งใครจะแกล้งใครจะหยัน ก็ให้ช่างหัวมันก็ให้ปล่อยเค้าไป

ใครจะชมใครจะเชิดว่าประเสริฐเลิศหรู ตัวเรารู้เราอยู่ปล่อยเค้าชมไป

ใครจะรักใครจะเกลียดใครจะเสียด ใครจะสีก็เรารู้ตัวดีปล่อยเค้าทำไป..



เกิดเป็นมนุษย์สิ้นสุดแค่ตาย เอาอะไรมากมายในความอนัตตา

โลภไปทำไมช่วงชิงแข่งขัน สุดท้ายเหมือนกันต้องไปป่าช้า

จะเอาอะไรแค่รักโลภโกรธหลง ไม่มีความมั่นคงบนกิเลสตัณหา

เกิดแก่เจ็บตายใยจะไปยึดมั่น สรรพสังขารล้วนอนิจจา



ปล่อยวางมันเสีย ทุกโขติณณา...



ใครจะเมินใครจะมองใยจะต้องไหวหวั่น ใครจะใส่ร้ายกันใยจะต้องสนใจ

ใครจะดีใครจะเลวมันก็เรื่องของเขา ใครจะนินทาเราใยจะต้องทุกข์ใจ

ใครจะล้อใครจะด่าใยจะต้องว่าตอบ ใครไม่สนใครไม่ชอบใยจะต้องใส่ใจ

ใครจะคิดใส่ความใยจะต้องวุ่นจิต หากตัวเราไม่ผิดจะไปคิดทำไม...



เกิดเป็นมนุษย์สิ้นสุดแค่ตาย ประดุจดังต้นไม้ล้มทับโลกา

หมดลมเมื่อไรหาประโยชน์ใดเล่า ล้วนต้องถูกเผาหามไปป่าช้า

ชีวิตยังมีสร้างความดีไว้เถิด ได้ไม่เสียชาติเกิด ได้ไม่ต้องอายหมา

อันว่าความตายคือสัจธรรมของเที่ยง สิ้นสรรพสำเนียงเน่าเหม็นขึ้นมา

จะเอาอะไร...จะเอาอะไรกันนักหนา...


http://www.imeem.com/novakatynick/music/X43SoFEX//

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 23 ก.ย. 2009, 23:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2009, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




1156935800.jpg
1156935800.jpg [ 17.81 KiB | เปิดดู 4099 ครั้ง ]

ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก

ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน

ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์

ปญฺญาชีวีชีวิตมาหุ เสฏฺฐํ

ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด

ปญฺญายตฺถํ วิปสฺสติ คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา

ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ
สีลํ สิรึ จาปิ สตญฺจ ธมฺโม อนฺวายิกา ปญฺญวโด ภวนฺติ

คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ประเสริฐ
กว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไปตามผู้มีปัญญา

ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน
อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ

คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่น

มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุข
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ

ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย
ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย

ปญฺญวนฺตํ ตถาวาทึ สีเลสุ สุสมาหิตํ
เจโตสมถมนุยุตฺตํ ตํ เว วิญฺญู ปสํสเร

ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา พูดจริง ตั้งมั่นในศีล
ประกอบความสงบใจนั้นแล

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2009, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




untitled0.bmp
untitled0.bmp [ 269.94 KiB | เปิดดู 4035 ครั้ง ]

ปัญหาข้อที่ ๓ ถามว่า กลางวันเป็นเปลว ได้แก่อะไร?

ตอบว่า ได้แก่ การประกอบการงาน คือ การงานน้อยใหญ่ ตามหน้าที่ของตนๆ
การงานนั้นแบ่งประเภท ๒ อย่างคือ

๑. การงานทางโลก

๒. การงานทางธรรม

๑. การงานทางโลก นั้น บุคคลย่อมพากันทำตามสมควรแก่ฐานะของตน เช่น
ชาวนาก็ต้องตากฝน ทนแดด ในการทำนา มีการคราด ไถ หว่าน เกี่ยว เก็บ เป็นต้น
ชาวสวน ก็ต้องลำบากในการทำสวน มีดายหญ้า รดน้ำต้นไม้ พรวนดิน เป็นต้น
พ่อค้าก็ต้องร้อนด้วยการวิ่งไปซื้อวิ่งขาย หรือนั่งร้านคอยหาลูกค้า เป็นต้น
ข้าราชการก็ต้องร้อนด้วยการทำงานตามหน้าที่ของตน

พูดโดยย่อก็คือ กลางวันร่างกายไม่ได้อยู่เป็นสุขเหมือนกลางคืน ต้องร้อนด้วยการ
ประกอบการงานทั้งเล็กทั้งใหญ่เสมอไป ซึ่งเปรียบเหมือนกับไฟอันลุกเป็นเปลวอยู่ ฉะนั้น

๒. การงานทางธรรม นั้น จำแนกออกเป็น ๔ อย่างคือ

๑. ปริมาณสีลขนฺธโรปนํ ได้แก่ การรักษาศิล ๕ - ๘ - ๑๐ - ๒๒๗

๒. อรญฺญวาโส ได้แก่ การอยู่ป่า ตามสมณวิสัยของผู้ปฏิบัติ
เพื่อกำจัดกิเลสให้ปราศจากขันธสันดานของตน ตามหน้าที่ของพุทธบุตร

๓. ธูตงฺคปริหรณํ การถือธุดงค์ ตามหลักของพุทธศาสนา

๔. ภาวนารามตา การเจริญสมถกรรมฐาน และการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
เพื่อให้ได้ฌาน และเพื่อให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน

ผู้ปฏิบัติจะต้องร้อน คือ ร้อนเพราะเหตุ ๓ ประการ คือ

๑. อาตาปี มีความเพียรเผากิเลสให้ร้อนทั่ว เผาให้ไหม้ ให้หมดไป ให้สิ้นไปจากขันธสันดานของตน

๒. สติมา ผู้ปฏิบัติต้องร้อน คือ รีบสังวรระมัดระวังมิให้กิเลสไหลเข้ามาทาง
ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ต้องรีบ ต้องร้อนต้องกัน ต้องปิดไว้ด้วยสติ

๓. สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะ คือ ความรู้อยู่ทุกๆขณะ รู้เท่าทันอารมณ์ และรูปนาม
อันได้แก่ ปัญญา นั่นเอง ซึ่งจำแนกออกเป็น ๔ อย่าง มีสาตถกสัมปชัญญะ เป็นต้น

รวมความว่า การงานทางธรรมก็ต้องร้อนเหมือนกันกับทางโลก แต่ต่างกันที่ภาวะคือ
ทางโลกร้อนนั้น ร้อนเพื่อร้อน

ทางธรรมนั้น ร้อนเพื่อเย็น ร้อนคือรีบร้อน เพื่อดับทุกข์ เพื่อตัดกิเลส
เพื่อดับไฟอันเป็นต้นตอของความร้อน

ในวัฏฏสงสาร ดังนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า " กลางวันเป็นเปลว " ได้แก่
การประกอบงาน ดังที่ได้บรรยายมาแล้วนั้น

จากหนังสือ วิปัสสนากรรมฐาน ภาค ๑ เล่ม ๑ หลวงพ่อโชดก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 07 ธ.ค. 2009, 22:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2009, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




1136648235.jpg
1136648235.jpg [ 49.64 KiB | เปิดดู 4007 ครั้ง ]

ความจริงแล้ว...

คนเราแทบจะไม่มีความหลัง หรือความหน้า

เป็นไปได้ไหมว่า คน... มีแต่ความใน
คือใจ... ที่แล่นไปผูกพัน กระทบ


นิ่ง... มิใช่เรื่องจะทำง่าย

แต่ถ้าทำได้ก็จะเป็นสิ่งวิเศษ

หัดนิ่งมากขึ้น สิ่งกระทบก็จะลดลง

ความผูกพันก็ค่อยคลาย

ความรู้สึกร้ายๆ ก็หายไป


วานิช สุนทรนนท์ นสพ.ฅนตรัง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2010, 00:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




109834.gif
109834.gif [ 50.18 KiB | เปิดดู 3914 ครั้ง ]




" ดับไม่เหลือ "

อย่าเข้าใจไปว่าต้องเรียนมาก

ต้องปฏิบัติลำบาก….จึงพ้นได้

ถ้ารู้จริงสิ่งเดียวก็ง่ายดาย

รู้ดับให้ไม่มีเหลือ….เชื่อก็ลอง

เมื่อเจ็บไข้….ความตายจะมาถึง

อย่าพรั่นพรึงหวาดไหวให้หม่นหมอง

ระวังให้ดีดี….นาทีทอง

คอยจดจ้องให้ตรงจุด….หลุดให้ทัน….

ถึงนาทีสุดท้าย…..อย่าให้พลาด

ตั้งสติไม่ประมาทเพื่อดับขันธ์

ด้วยจิตว่าง….ปล่อยวาง….ทุกสิ่งอัน

สารพันไม่ยึดครองเป็นของเรา

ตกกระไดพลอยโจนให้ดีดี

จะถึงที่มุ่งหมายได้ง่ายเข้า

สมัครใจดับไม่เหลือเมื่อไม่เอา

ก็ดับเรา….ดับตน….ดลนิพพาน…….


ท่านพุทธทาสภิกขุ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




1090386.gif
1090386.gif [ 41.41 KiB | เปิดดู 3887 ครั้ง ]
ความสุขที่แท้จริง

ความสุขที่แท้จริงเป็นไฉน?

ความสุขที่แท้จริง ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด
หากความสุขใดๆที่ยังเป็นเพียงความสุข ไม่ว่าจะเหตุจากสิ่งใดๆก็ตาม
นั่นยังไม่ใช่ " สุขที่แท้จริง "

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 53 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร