วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 18:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=8



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญิกา กล่าวรวม นะเฟื่องฟ้า
ใช้มรรคา อริยะละ สังโยชน์นั่น
เชิญทุกท่าน ร่วมสนทนา แล้วพากัน
ศึกษา สังโยชน์นั้น ให้แจ้งใจ

กระทู้เดิม นั้นยืดยาว มามากมาย
ได้อธิบาย ให้รู้จัก หลักอนุสัย
สังโยชน์ต่ำ ทั้งห้า ที่ย้อมใจ
เชิญขึ้นมา กระทู้ใหม่ ขยายความ

จะนำเอา อุบายละ สังโยชน์ต่ำ
สัทธรรมล้ำ เลิศค่าเด่น เป็นคำถาม
เพื่อเผยแผ่ ปฏิปทา ที่งดงาม
หลุดจากกาม หยุดวัฏฏะ ละกงกรรม

สังโยชน์หรือ คือกิเลส ที่ผูกมัด
ที่ผูกสัตว์ ไว้กับทุกข์ ผูกติดมั่น
เข้าผูกกรรม ไว้กับผล ยลทั่วกัน
สองส่วนนั้น แบ่งไว้ ให้ติดตาม

“โอรัมภาคิยสังโยชน์” สังโยชน์ต่ำ
จิตถลำ ยังวนเวียน เวียนภพสาม
สักกายทิฏฐิ์ เห็นตัวตน ดลจิตตาม
มองรูปนาม เป็นเช่นตน ไม่พ้นจริง

วิจิกิจฉา ความลังเล และสงสัย
ไม่แน่ใจ ในบาปบุญ ที่หนุนยิ่ง
ให้สงสัย ในความดี ที่ทำจริง
จะพาสิ่ง เป็นกุศล ดลได้ฤา

สีลัพพตฯ ยึดสีลา พาเหนียวแน่น
ดุจยางแกน ของแก่นไม้ ให้ยืดถือ
สังวรระวัง มิยอมให้ ใครร่ำลือ
ด้วยยึดถือ สิ่งที่ทำ ตามกันมา

สังโยชน์สาม ที่หิ่งห้อย กล่าวมานั้น
บัณฑิตเพียร จึงหลุดพลัน หายกังขา
สู่อริยะ ภูมิที่หนึ่ง “พระโสดาฯ”
ที่เฟื่องฟ้า ปุจฉามา ขอตอบความ


เจริญในธรรมเจ้าค่ะ

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 16:10
โพสต์: 298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำดีไป่เลือกเว้น
ผู้ใด ใดเฮย
ผูกแต่ไมตรีไป
รอบข้าง
ทำคุณอุดหนุนใน
การชอบ ธรรมนา
ไร้ศัตรูปองมล้าง
กลับซ้องสรรเสริญ :b16:

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:


ขอเข้ามาช่วยครับ... :b16: :b16:

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย
ทสก-เอกาทสกนิบาต

สังโยชนสูตร
[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการ
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สักกายทิฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลพัตตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการนี้
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการ นี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๓


สังโยชน์ คือกิเลสเครื่องร้อยรัดที่เป็นตัวพันธนาการจองจำ ผูกพันจิตให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารแห่งนี้มี ๑๐ อย่าง ได้แก่

๑. ความหลงมั่นและยึดมั่นในกาย หลงสมมุติ (สักกายทิฏฐิ)
๒. ความลังเลสงสัยในพระพุทธเจ้า ในหลักธรรม (วิจิกิจฉา)
๓. การไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง หลงงมงาย (สีลัพพตปรามาส)
๔. ความหลงในกาม พอใจในกาม (กามราคะ)
๕. ความหงุดหงิด โกรธ ขัดเคือง อาฆาตพยาบาท (ปฏิฆะ)
๖. ความหลงในรูป มีรูปร่าง หลงในวัตถุกาม (รูปราคะ)
๗. ความหลงในอรูป ในสิ่งไม่มีรูปร่าง อารมณ์หรือธรรมารมณ์ (อรูปราคะ)
๘. ความมีอหังการและนมังการ การเปรียบเทียบ ทิฐิ (มานะ)
๙. ความฟุ้งซ่าน ว้าวุ่นใจ (อุทธัจจะ)
๑๐.ความมืดบอด ที่ครอบงำโลกและชีวิต ไม่รู้จักตนไม่รู้จักธรรม (อวิชชา)

สังโยชน์ระดับต่ำ เรียกว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ และปฏิฆะ
สังโยชน์ระดับสูง เรียกว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ได้แก่ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา

:b43: :b43: :b43:

เพื่อความเข้าใจ และเพื่อให้ได้อรรถรสในกวีธรรม จึงขออธิบายความและยกข้อความในพระไตรปิฏก มาวางไว้เล็กน้อย ท่านหิ่งห้อยน้อย (เจ้าของบทกวี) จะอิงพระไตรปิฏกตลอด ขออนุญาตคุณ dhama และขออนุโมทนาด้วยครับ

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:


:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร