วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=8



กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 15:01
โพสต์: 408

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้ ทุกข์ใจจัง แต่อ่านแล้วไม่ทุกข์ค่ะ

ขอชื่นชมกับบทกลอน บทกวี ที่ทุกๆ ท่านบรรจงแต่งและเขียน ขอชื่นชมกับสิ่งที่ทุกท่าน บรรจงบอก

ขอบอกว่า อ่านแล้วเพลิดเพลินมากๆ ค่ะ

:b35: :b35: :b35:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 12:17
โพสต์: 36

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




R1734-15.gif
R1734-15.gif [ 36.74 KiB | เปิดดู 4517 ครั้ง ]
ningnong เขียน:

ที่แท้วิญญาณขันธ์นั้นคือจิต
ปลุกความคิดดีแท้ให้แก่ฉัน
จิตที่ดีคงมีค่าคุณอนันต์
วิญญาณขันธ์คงผ่องใสไร้มลทิน

จิตที่ฝึกดีแล้วนำความสุข
ให้หมดทุกข์หมดโศกวิปโยคสิ้น
ให้สงบให้ผ่องใสไร้ราคิน
จะฝึกจินต์ฝึกจิตใจทำไงดี

.....วิธีการฝึกจิต อบรมจิต ทำอย่างไรครับ ?


ต้องใช้ พละ ๕

การฝึกจิต กระดังงาฯ ว่าแสนยาก
ช่างลำบาก เหมือนดั่ง ดังฝึกช้าง
คล้ายคุมม้า มิให้ออกออก นอกเส้นทาง
ต้องคอยขวาง ดึงไว้ มิให้รวน

อาศัยความ
สัทธา พามุ่งมั่น
ใช้
ความเพียร บากบั่น ขยันล้วน
มี
สติ เพื่อคอยตรึก นึกทบทวน
สิ่งใดควร หรือไม่ ให้ตรองดู


สมาธิ ต้องแน่วแน่ มิแปรเปลี่ยน
มี
ปัญญา ดุจแสงเทียน เพื่อเรียนรู้
การฝึกจิต ทางที่ดี ควรมีครู
หากคุดคู้ นอนนิ่ง ยิ่งยากนาน...กระดังงาลนไฟ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

สุภาษิตเกี่ยวกับการฝึกจิต
[๓๔๓] เราจักระวังจิตนั้นไว้ เหมือนนายหัตถาจารย์ กักช้างไว้ที่ประตูนคร
ฉะนั้น เราจักไม่ประกอบจิตไว้ในธรรมอันลามก จักไม่ยอมให้จิตตกลง
ไปสู่ข่ายแห่งกามอันเกิดในร่างกาย เจ้าถูกเรากักขังไว้แล้ว จักไปตาม
ชอบใจไม่ได้ เหมือนช้างได้ช่องประตู ฉะนั้น ดูกรจิตผู้ชั่วช้า บัดนี้
เจ้าจักขืนยินดีในธรรมอันลามกเที่ยวไปเนืองๆ ดังก่อนมิได้ นายควาญ-
ช้างมีกำลังแข็งแรง ย่อมบังคับช้างที่จับได้ใหม่ ยังไม่ได้ฝึก ให้อยู่ใน
อำนาจด้วยขอ ฉันใด เราจักบังคับเจ้าให้อยู่ในอำนาจ ฉันนั้น นาย
สารถีผู้ฉลาดในการฝึกม้าให้ดี เป็นผู้ประเสริฐ ย่อมฝึกม้าให้รอบรู้ได้
ฉันใด เราจักฝึกเจ้าให้ตั้งอยู่ในพละ ๕ ฉันนั้น จักผูกเจ้าไว้ด้วยสติ
จักฝึกจักบังคับเจ้าให้ทำธุระด้วยความเพียร เจ้าจักไม่ได้ไปไกลจาก
อารมณ์ภายในนี้ละนะจิต.


พละ ๕ ธรรมอันเป็นกำลัง เป็นธรรมที่มีกำลังในการปกป้องคุ้มครองจิตใจไม่ให้อกุศลเข้ามาครอบงำได้ หรือเป็นเกราะป้องกันจิต ไม่ให้กระทำในสิ่งที่ไม่ดีไม่งามทั้งหลาย ประกอบด้วย

๑. สัทธา ความเชื่อ
๒. วิริยะ ความเพียร
๓. สติ ความระลึกได้
๔. สมาธิ ความตั้งจิตมั่น
๕. ปัญญา ความรู้ทั่วชัด


แก้ไขล่าสุดโดย กระดังงาลนไฟ เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 18:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 00:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1784525s8fh5ymhcl.gif
1784525s8fh5ymhcl.gif [ 182.17 KiB | เปิดดู 4493 ครั้ง ]
:b48: :b48: tongue
กระดังงาลนไฟ เขียน:

อันว่าทุกข์ เกิดที่ใด ให้ดับที่นั่น
ให้รู้ทัน ก่อนความทุกข์ ลุกลามใหญ่
ฉันไม่รู้ หนทาง ทำอย่างไร
แม้หากใคร ช่วยตอบ ขอขอบคุณ


:b41: ทุกข์ที่เกิด เป็นผล ที่เกิดแล้ว
ไม่มีแผ่ว ไม่มีเพิ่ม เติมหรือหนุน
โดยมีเจ้า ตัณหา เป็นต้นทุน
คอยเกื้อหนุน ทุนไว้ ให้สร้างกรรม

:b41: ทุกข์ที่เกิด เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย
ชาติเกิดได้ เพราะภพ มาอุปถัมภ์
อุปาทาน ยึดมั่นขันธ์ อย่างครอบงำ
จึ่งถลำ สู่ทางทุกข์ สุขอย่างไร

:b41: ทุกข์ที่เกิด ไปดับ ตรงที่เกิด
ผลที่เกิด แล้วจะดับ ได้ไฉน
เกิดขึ้นมา แล้วก็ปล่อย ให้ดับไป
แต่ที่ใด เหตุมันเกิด ควรดับมัน

:b41: เหตุแห่งทุกข์ นั่นสิ ควรดับไป
เกิดที่ใด ต้องดับ ณ ที่นั่น
อายตนะหก นั้นควร ระวังพลัน
ตัณหานั้น เกิด ตั้ง อยู่ คู่จิตไป

:b41: ตา หู จมูก ลิ้น ใจ กาย
เป็นที่หมาย ที่ตั้ง ตัณหาไว้
แม้นต้องการ จะละ จะดับไป
จะดับได้ ต้องใช้ อริยะมรรค :b41: :b41: :b41:


:b48: :b48: เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: tongue


.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 12:17
โพสต์: 36

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

สวัสดี ท่านกระบี่ ที่ไร้เงา
อุตส่าห์เฝ้า เพียรตอบ ขอบคุณยิ่ง
ทางพ้นทุกข์ น่าศึกษา ค้นคว้าจริง
เหมือนตลิ่ง ที่เราเห็น เด่นสูงชัน


:b41: เหตุแห่งทุกข์ นั่นสิ ควรดับไป
เกิดที่ใด ต้องดับ ณ ที่นั่น
อายตนะหก นั้นควร ระวังพลัน
ตัณหานั้น เกิด ตั้ง อยู่ คู่จิตไป
:b41:

:b41:ตา หู จมูก ลิ้น ใจ กาย
เป็นที่หมาย ที่ตั้ง ตัณหาไว้
แม้นต้องการ จะละ จะดับไป
จะดับได้ ต้องใช้ อริยะมรรค
:b41:

ทางดับทุกข์ ในวิธี มีแปดอย่าง
เป็นหนทาง ควรนำไป ใช้เป็นหลัก
แต่ทว่า แสนลำบาก ยากยิ่งนัก
เมื่อใครเจอ อุปสรรค มักถอยพลัน

มี
สัมมา ทิฎฐิ ,ดำริชอบ ( สัมมาสังกัปปะ )
เพียรประกอบ
วาจา ดี ที่สร้างสรรค์ ( สัมมาวาจา )
สัมมา กัมมันตะ ละฆ่ากัน
สุขอนันต์ อยู่มิไกล ใกล้เอื้อมมือ

อีก
สัมมา อาชีวะ ละค้าชั่ว
สิ่งเมามัว อย่าวางไว้ ให้คนซื้อ
ถ้าเว้นได้ อย่าค้าขาย ควายกระบือ
อีกเครื่องมือ ใช้ฆ่าเข่น ก็เช่นกัน

อัน
สัมมา วายามะ อย่าละเว้น
เป็นมรรคเด่น ไฉไล ใกล้สวรรค์
เพียรกุศล เพื่อสร้างสุข ทุกๆวัน

สัมมาสติ ต้องคงมั่น หมั่นทบทวน

สมาธิ อีกสัมมา อย่ามองข้าม
สงัดกาม สงบใจ ไม่ผันผวน
นิวรณ์ห้า สิ่งนี้หนอ ตัวก่อกวน
พาจิตรวน เป็นอุปสรรค สู่มรรคา

วานกระบี่ ไร้เงา เข้าตรวจสอบ
ว่าคำตอบ มรรคแปดไซร้ ใช่มั้ยหนา
ทางทั้งแปด คือทางตรง องค์สัมมา
ท่านค้นหา ให้เราไว้ ใช้ดำเนิน...กระดังงาลนไฟ


:b41:

มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหนทาง 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลศ นิวรณ์อยู่เป็นปกติ

อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
:b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระดังงาลนไฟ เมื่อ 10 ต.ค. 2009, 12:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




stairway_to_heaven.jpg
stairway_to_heaven.jpg [ 35.55 KiB | เปิดดู 4459 ครั้ง ]
:b48: :b48: tongue
กระดังงาลนไฟ เขียน:

ทางดับทุกข์ ในวิธี มีแปดอย่าง
เป็นหนทาง ควรนำไป ใช้เป็นหลัก
แต่ทว่า แสนลำบาก ยากยิ่งนัก
เมื่อใครเจอ อุปสรรค มักถอยพลัน


:b41: คุณกระดังงา กล่าวมา นั้นชอบยิ่ง
หลักความจริง ที่เลิศ ประเสริฐนั้น
ทางพ้นทุกข์ ตรัสไว้ว่า ค่าอนันต์
แม้เพียรมั่น บากบั่นไว้ ย่่อมได้ทาง


:b41: ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
มรรคสัมมา ควรเดิน อย่าเมินหมาง
ชี้ให้เดิน พ้นทุกข์ไป ด้วยเส้นทาง
ทางสายกลาง สายประเสริฐ เลิศแห่งมรรค

:b41: ทั้งแปดอย่าง ต้องรวม ไว้เป็นหนึ่ง
ใช่แปดซึ่ง กล่าวมา พาประจักษ์
สัมม์ทั้งแปด เกิดร่วม เกิดพร้อมพรรค
ขาดเพียงหนึ่งจัก มิสำเร็จ เสร็จสมจินต์

:b41: หนึ่งขณะจิต ที่เกิด ประเสริฐแท้
จะช่วยแก้ ความเขลา ให้สูญสิ้น
สำรอกอวิชชา ตัดวัฏฏา สมดั่งจินต์
พาสู่ถิ่น นฤพาน นิพพานพลัน :b41: :b41: :b41: :b48:



:b48: :b48: เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: tongue


.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้ไม่เจตนา แต่ได้เกิดการสูญเสียชีวิตแล้ว

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 11:29
โพสต์: 15

แนวปฏิบัติ: พุทโธ
งานอดิเรก: หลายหลาก
อายุ: 0
ที่อยู่: ภาคอีสาน

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้ ของปราชญ์ ฉลาดล้ำ
ด้วยถ้อยคำ น้อยนิด คิดไต่ถาม
ถามง่ายง่าย ยากตอบ คอยติดตาม
รู้ทุกรูป ทุกนาม ตามเป็นจริง
ในลานนี้ มิใช่ จะไร้ปราชญ์
ทั้งฉลาดปริยัติ ทั้งปฏิบัติจริง ไม่สงสัย
หยาบ-กลาง-ละเอียด คละกันไป
จิตผ่องใส ปัญญาดี มีปะปน
สัมมาทิฐิชน คนเดินมรรค มีหลายหลาก
ล้วนแต่อยาก พ้นทุกข์จริง สิ้นสงสัย
สายอีสาน ตั้งนิ่ง นี้ ก็หลงมาเหมือนทรายวัย
อยากลงใจ ใคร่รู้ทุกข์ สมุทัย
ทั้งอยากมี สหาย กัลยาณมิตร
เมื่อยามติด คิดถาม คลายสงสัย
เกื้อหนุน ค้ำ นำกันไป
เพื่ออริยสัจ จะผ่องใส ในสันดาน
หวนคิดถึง เรื่องทุกข์ใจ ใครเป็นทุกข์
ทุกข์เพราะทุกข์ ทุกข์เพราะใจ ใคร่อยากถาม
คิดว่าทุกข์ รู้ว่าทุกข์ ลงใจว่าทุกข์ อยากรู้ตาม
กราบงามงาม ขอวาที มีแก่ตน
อีกทั้งเรื่อง สมุทัย ใคร่อยากละ
แต่จะละ อย่างไร ใครอยากถาม
อะไรหรือ คือสมุทัยสัจ ทั้งรูป-นาม
ที่สุดแล แท้จริง ในอริยสัจ
เหตุใดหรือ เทียวถามเรื่อง ปาท่องโก๋
หรือเพราะโง่ หมดปัญญา หาคิดไม่
ทุกข์สัจ สมุทัยสัจนี้ ชี้นำไป
จิตผ่องใสเป็นปัญญา เพราะไม่ ใช้ปัญญา

**เห็นพากันแต่งกลอนเพราะ ลองพยายามแต่งเต็มที่แล้วครับ ได้แค่นี้ละ **

.....................................................
..อือ ... อ้อ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 12:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 12:17
โพสต์: 36

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ทั้งอยากมี สหาย กัลยาณมิตร
เมื่อยามติด คิดถาม คลายสงสัย
เกื้อหนุน ค้ำ นำกันไป
เพื่ออริยสัจ จะผ่องใส ในสันดาน…สายอิสานตั้งนิ่ง

กระดังงา ลนไฟ ไม่ไร้มิตร
ทำให้จิต เลิกปรุง หายฟุ้งซ่าน
ก่อนหน้านั้น หัวใจท้อ ทรมาน
ดั่งไฟผลาญ ร้อนรุ่ม จนกลุ้มใจ

เมื่อกระบี่ ไร้เงา เข้าชี้ช่อง
หัวใจหมอง กลับกลายเป็น เช่นผ่องใส
เมื่อมีทุกข์ ให้สังเกต ดับเหตุไป
ใช้นิโรธ ตัดเยื่อใย อย่าให้ลาม

ฉันก็รู้ เพียงเท่านี้ เท่าที่เห็น
เหมือนจันทร์เพ็ญ ลางเลือน กลางเดือนสาม
วานกระบี่ ไร้เงา เข้าต่อความ
ตอบคำถาม ท่านอิสานฯ ผู้ผ่านมา...กระดังงาลนไฟ


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

สวัสดีสมาชิกและกัลยาณมิตรทุกท่าน ขอขอบคุณทุกท่านที่กรุณา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1881149ck7ng0r1km.gif
1881149ck7ng0r1km.gif [ 184.59 KiB | เปิดดู 4398 ครั้ง ]
:b48: :b48: tongue
อ้างคำพูด:

กระดังงา ลนไฟ ไม่ไร้มิตร
ทำให้จิต เลิกปรุง หายฟุ้งซ่าน
ก่อนหน้านั้น หัวใจท้อ ทรมาน
ดั่งไฟผลาญ ร้อนรุ่ม จนกลุ้มใจ

เมื่อกระบี่ ไร้เงา เข้าชี้ช่อง
หัวใจหมอง กลับกลายเป็น เช่นผ่องใส
เมื่อมีทุกข์ ให้สังเกต ดับเหตุไป
ใช้นิโรธ ตัดเยื่อใย อย่าให้ลาม



:b41: กระดังงา พาคำคม มาชมข้าฯ
ถ้ากระดังงา ไม่สัทธา ในแก้วสาม
ไม่ซาบซึ้ง ในสัทธรรม และทำตาม
จนงอกงาม บานหอม ในจินตนา

:b41: คำของกระบี่ฯ ก็จะ ไร้ความหมาย
คงกลับกลาย คลายไป ไรุ้คุณค่า
แต่นี่เพราะ ธรรมเต็มจิต กระดังงา
ถ้อยวาจา ของกระบี่ จึงมีคุณ

:b41: แต่ก็ยัง มีความ เข้าใจผิด
ที่สะกิด ให้กระบี่ฯ รี่นำหนุน
ขอแก้คำ อาจใช้ผิด คิดเจือจุน
ให้ผู้อ่าน ด้วยการุณ ด้วยดวงใจ


เมื่อกระบี่ ไร้เงา เข้าชี้ช่อง
หัวใจหมอง กลับกลายเป็น เช่นผ่องใส
เมื่อมีทุกข์ ให้สังเกต ดับเหตุไป
ใช้นิโรธ ตัดเยื่อใย อย่าให้ลาม
... กระดังงาลนไฟ


:b48: เพราะ
นิโรธ นั้นคือ ความดับทุกข์
บังเกิดสุข
เป็นผล อย่างล้นหลาม
ส่วน
เหตุกระทำตัดอวิชชาไป ไม่ให้ลาม
เรียกตามความ คือ
อริยมรรค มรรคอริยวงศ์ :b48: :b48: :b48:


:b48: :b48: เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: tongue

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 12:17
โพสต์: 36

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

อ้างคำพูด:
เพราะ นิโรธ นั้นคือ ความดับทุกข์
บังเกิดสุข เป็นผล อย่างล้นหลาม
ส่วนเหตุกระทำตัดอวิชชาไป ไม่ให้ลาม
เรียกตามความ คือ อริยมรรค มรรคอริยวงศ์


กระดังงาฯ พลาดไป อภัยด้วย
ดีที่ช่วย แก้ไข มิให้หลง
วานกระบี่ฯ ช่วยคลาย ให้หายงง
ช่วยนำธง กล่าวใหม่ ในเรื่องนี้

เริ่มจากทุกข์ มีปัจจัย ใครพาเกิด
และค่อยๆ ก่อกำเนิด เกิดโน่นนี่
ดุจฟันเฟือง หนุนรับกัน ในทันที
หลักธรรมนี้ ฉันเคยอ่าน แล้วผ่านเลย


ปฏิจ สมุปบาท ประหลาดเหลือ
ไม่น่าเชื่อ ที่พระองค์ ทรงเฉลย
สิ่งนี้เกิด อีกสิ่งนั้น พลันก่อเกย
ไม่นึกเลย ว่าเหล่านี้ มีปัจจัย

อวิชชา สังขาร วิญญาณ,รูป ( นามรูป )
กลายเป็นLoop สฬายตนะ ผัสสะไหว
เวทนา ตัณหา ก็พาไป
ท่านกระบี่ฯ ช่วยเรียงใหม่ ให้ฉันที

จะได้รู้ เพราะอะไร ใครก่อเหตุ
แยกประเภท ได้ไหม ในเรื่องนี้
กระดังงาฯ มองเห็น เป็นเรื่องดี
เสียดายที่ อธิบาย ไม่ง่ายเลย...กระดังงาลนไฟ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0236.jpg
0236.jpg [ 25.07 KiB | เปิดดู 4292 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: tongue

กระดังงาลนไฟ เขียน:

กระดังงาฯ พลาดไป อภัยด้วย
ดีที่ช่วย แก้ไข มิให้หลง
วานกระบี่ฯ ช่วยคลาย ให้หายงง
ช่วยนำธง กล่าวใหม่ ในเรื่องนี้

เริ่มจากทุกข์ มีปัจจัย ใครพาเกิด
และค่อยๆ ก่อกำเนิด เกิดโน่นนี่
ดุจฟันเฟือง หนุนรับกัน ในทันที
หลักธรรมนี้ ฉันเคยอ่าน แล้วผ่านเลย


:b47: มีแค่เพลง กระบี่ ที่ในฝัก
มิกล้าชัก ออกมา พาเฉลย
เพราะสัทธรรม นำมา อภิเปรย
แม้เฉลย เอ่ยผิดไป ใช่มีคุณ

:b47: จึงขอนำ พระธรรม จากพระไตรฯ
มากล่าวให้ กระดังงา พาเกื้อหนุน
เริ่มจากทุกข์ มีอะไร ใช้เป็นทุน
จึงได้หนุน ให้ทุกข์เศร้า เคล้าจิตใจ

:b47: ก่อนรู้จัก ต้นเหตุ เกิดทุกข์นั้น
มารู้จัก ทุกข์ก่อนกัน จะดีไหม
ว่าความทุกข์ อริยสัจ คืออะไร
เพื่อกระดังงาลนไฟ ได้ทัศนา :b48: :b48: :b48:



:b48: :b48: เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: tongue

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 14 ต.ค. 2009, 22:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 22:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหาเป็นกระแสแห่งเหตุให้เกิดทุกข์
กระแสแห่งเหตุให้เกิดทุกข์เหล่าใดในโลก

สติ เป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น.
เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
กระแสแห่งเหตุให้เกิดทุกข์เหล่านี้อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้.



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 12:17
โพสต์: 36

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




.jpg
.jpg [ 49.04 KiB | เปิดดู 4234 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
กระบี่ไร้เงา

ก่อนรู้จัก ต้นเหตุ เกิดทุกข์นั้น
มารู้จัก ทุกข์ก่อนกัน จะดีไหม
ว่าความทุกข์ อริยสัจ คืออะไร
เพื่อกระดังงาลนไฟ ได้ทัศนา


นั่งรอดู กระบี่งาม แต่ยามเช้า
ติดตามเฝ้า ด้วยมีใจ ใคร่ศึกษา
สองวันแล้ว ไฉนเลย ยังเฉยชา
หรือเพราะว่า เวลาน้อย ไม่ค่อยมี

ฉันเห็นท่าน นอนดึก คงฝึกหนัก
อยากให้พัก บ้างหนา นาทีนี้
ฝึกพระธรรม ควรทำแต่ แค่พอดี
วางกระบี่ ไว้ก่อน รีบร้อนใย


...ท่านคงตอบ การฝึกธรรม ล้ำค่านัก
ขืนมัวพัก รอรี หาดีไม่
อยากพ้นทุกข์ ต้องเพียรเคร่ง เร่งเร็วไว
ขืนชักช้า ร่ำไร ให้เสียการ...


บุคคลใด คิดร้าย ทำลายมิตร
มุ่งทุจริต ด้วยกายา วาจากร้าน
บุคคลนั้น เปรียบเป็น เช่นคนพาล
ไฟโทสะ ย่อมเผาผลาญ รานร้อนรน

ดุจกำฝุ่น ขว้างออกไป ในอากาศ
ละอองสาด ลมหวนลอย ฝุ่นถอยร่น
ละอองฝุ่น โปรยกลับมา เข้าตาตน
ในที่สุด ต้องร้อนรน ทนทุกข์เอง...กระดังงาลนไฟ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

[๗๘๖] บุรุษผู้กำฝุ่นไว้ในมือ พึงซัดฝุ่นไปในที่ทวนลม ละอองฝุ่นนั้น ย่อม
หวนกลับมากระทบบุรุษนั้นเอง เหมือนบุรุษถูกงูกัดตายแล้ว ฉะนั้น.
[๗๘๗] ผู้ใดประทุษร้ายคนผู้ไม่ประทุษร้ายตน เป็นคนบริสุทธิ์ ไม่มีความผิด
เลย บาปย่อมกลับมาถึงคนพาลผู้นั้นเอง เหมือนกับละอองละเอียด
ที่บุคคลซัดไปทวนลม ฉะนั้น.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




untitled.jpg
untitled.jpg [ 19.12 KiB | เปิดดู 4212 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: tongue


:b48: เพลงกระบี่ มีมากมาย หลายเพลงนัก
แต่ละเพลง ออกจากฝัก ช้าไม่ได้
เมื่อชักแล้ว ต้องกรีดกราด วาดลวดลาย
แต่ละเพลง ต้องละม้าย คล้ายแม่เพลง

:b48: ต่างเพลงธรรม แต่ละเพลง บรรเลงเพราะ
จะแค่เจาะ แค่เข้าใจ ใช่แค่เด่น
จะนำร้อง รำเต้น แต่ละเพลง
ดุจบรรเลง เพลงนี้ ที่เฉพาะ

:b48: แต่ละคาถา แห่งองค์ธรรม มีค่าเหลือ
ธรรมจะเอื้อ เมื่ออินทรีย์ นี้พอเหมาะ
จิตแต่ละดวง ล่วงรู้ธรรม นั้นเฉพาะ
จะพอเหมาะ ตาม พละ และอินทรีย์

:b48: จิตบางดวง ถูกถ่วง ด้วยฟุ้งไป
จิตจึงไร้ สัจธรรม นำวิถี
ให้ธรรมผิด เหมือนนักร้อง ร้องผิดคืย์
ธรรมภูมี จึงถูกแปลง ด้วยแรงปุถุชน




:b48: :b48: เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48:
tongue

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 02:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 01:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




sang_05.jpg
sang_05.jpg [ 17.95 KiB | เปิดดู 4195 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


มัวเพลิดเพลิน ขันธ์ห้า จะพาทุกข์
หมดสนุก หมดสุข ทุกข์ถามหา
มัวแต่เพลิน หลงรูปขันธ์ เวทนา
อีกสัญญา สังขาร วิญญาณตาม

หลงอัตตา มายา สิ่งลวงหลอก
ต้องช้ำชอก กี่ครั้ง ใคร่ขอถาม
ไม่ใช่เป็น ตัวตน เพียงรูป-นาม
แค่นิยาม สิ่งที่เห็น ไม่เป็นจริง

หากละได้ ในขันธ์ห้า น่าสรรเสริญ
จะเจริญ เกื้อกูลสุข เป็นที่ยิ่ง
ก่อประโยชน์ ยิ่งนัก ที่พักพิง
ได้แอบอิง วิมุติรส ช่างงดงาม


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

๘. อภินันทนสูตร

ว่าด้วยผลแห่งความเพลิดเพลินและไม่เพลิดเพลินในขันธ์ ๕

[๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเพลิดเพลินรูป ผู้นั้น ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์. ผู้ใดเพลิดเพลินเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ผู้นั้นชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์.

[๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแล ไม่เพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์. ผู้ใดไม่เพลิดเพลินเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ได้.

จบ สูตรที่ ๘.



เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร