วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 00:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=8



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระดังงาลนไฟ เขียน:
การถามถึงประโยชน์ตน ๑
การถามถึงประโยชน์ผู้อื่น ๑
การถามถึงประโยชน์ทั้งสองอย่าง ๑



:b41: สวัสดี :b49: กระดังงา :b49: เพลาค่ำ
กำลังทำ :b49: กิจใด :b49: ที่ไหนนั่น
ข้อคำถาม :b49: เป็นประโยชน์ :b49: ไร้โทษทัณฑ์
คำถามนั้น :b49: ประกอบมรรค :b49: จักสวัสดี

:b49: แม้ผู้ตอบ :b49: ก็ได้ถึง :b49: ซึ่งประโยชน์
ชำนาญโจทย์ :b49: ตอบความ :b49: ตามถามนี้
ได้ทบทวน :b49: ธัมมาบท :b49: กำหนดมี
ความรู้ที่ :b49: เข้าถึง :b49: พึงแสดง


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2009, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 12:17
โพสต์: 36

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




.jpg
.jpg [ 6.46 KiB | เปิดดู 4412 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
สวัสดี กระดังงา เพลาค่ำ
กำลังทำ กิจใด ที่ไหนนั่น
ข้อคำถาม เป็นประโยชน์ ไร้โทษทัณฑ์
คำถามนั้น ประกอบมรรค จักสวัสดี

แม้ผู้ตอบ ก็ได้ถึง ซึ่งประโยชน์
ชำนาญโจทย์ ตอบความ ตามถามนี้
ได้ทบทวน ธัมมาบท กำหนดมี
ความรู้ที่ เข้าถึง พึงแสดง...มหาราชันย์


สวัสดี ท่านมหาฯ เวลาบ่าย
สบายกาย หรือป่วย ช่วยแถลง
กระดังงาฯ ตอนนี้ไซร้ ไร้แมลง
ได้รับแสง ตะวันฉาบ อาบต้นใบ

เมื่อคำถาม นั้นดี มีประโยชน์
งั้นได้โปรด ชี้แจง แถลงไข
อันบาปบุญ เป็นมรดก ตกถึงใคร
จริงหรือไม่ ที่เขาว่า ชาติหน้ามี

มีคนกล่าว ว่าบาปกรรม ซ้ำถึงลูก
ผิดหรือถูก ช่วยเอ่ยมา นาทีนี้
แค่อยากรู้ ใช่คะนอง ใช่ลองดี
ท่านกระบี่ฯ อยากช่วยตอบ ก็ขอบคุณ...กระดังงาลนไฟ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2009, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0234.gif
0234.gif [ 47.2 KiB | เปิดดู 4408 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: tongue
กระดังงาลนไฟ เขียน:

เมื่อคำถาม นั้นดี มีประโยชน์
งั้นได้โปรด ชี้แจง แถลงไข
อันบาปบุญ เป็นมรดก ตกถึงใคร
จริงหรือไม่ ที่เขาว่า ชาติหน้ามี

มีคนกล่าว ว่าบาปกรรม ซ้ำถึงลูก
ผิดหรือถูก ช่วยเอ่ยมา นาทีนี้
แค่อยากรู้ ใช่คะนอง ใช่ลองดี
ท่านกระบี่ฯ อยากช่วยตอบ ก็ขอบคุณ...กระดังงาลนไฟ

:b48: สวัสดี กระดังงาฯ เวลาเย็น
ยกคำถาม มาเด่น น่านำหนุน
กระบี่ฯ กิน ใครอิ่ม กระบี่ฯ หรือคุณ
ใครกักตุน ความอิ่มไว้ นัยวิสัชนา

:b48: คนใดทำ คนนั้น ย่อมรับผล
อกุศล หรือกุศล มิต้องหา
เพราะผลนั้น จะปรากฏ กำหนดมา
เร็วหรือช้า ย่อมมีเหตุ สังเกตุตรอง

:b48: สัตว์ทั้งหลาย มีกรรม เป็นของตน
หนีไม่พ้น สิ่งที่ตน ทำหม่นหมอง
หรือทำดี ได้กรรมดี มาครอบครอง
วิบากต้อง แก่ผู้ทำ มิเปลี่ยนไป

:b48: ที่เข้าใจ ว่ามรดก ตกถึงลูก
ที่พันผูก ร่วมทุกข์สุข นั่นเป็นไฉน
เพราะเข้าใจ พุทธวาจา นั้นผิดไป
ได้ตรัสไว้ ว่าเป็น
ทายาทแห่งกรรม

:b48: คำ"ทายาท" นั้นหมาย ถึงผู้รับ
โปรดสดับ ให้ดี นะคมขำ
เมื่อบุคคล ต้องเป็น ทายาทแห่งกรรม
ที่ตนกระทำ ใช่ผู้อื่น ดาษดื่นไป

:b48: แต่ละคน ต่างก็มี วิบากตน
ที่จะดล ทั้งดี หรือร้ายให้
เพียงแต่เขา อาจรับ วิบากไซร้
ที่ดลให้ ผลได้ ใกล้เคียงกัน


Quote Tipitaka:
ดูกรมาณพ
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ



รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2009, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 12:17
โพสต์: 36

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




20070918News0801.jpg
20070918News0801.jpg [ 31.6 KiB | เปิดดู 4388 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
คำ"ทายาท" นั้นหมาย ถึงผู้รับ
โปรดสดับ ให้ดี นะคมขำ
เมื่อบุคคล ต้องเป็น ทายาทแห่งกรรม
ที่ตนกระทำ ใช่ผู้อื่น ดาษดื่นไป

แต่ละคน ต่างก็มี วิบากตน
ที่จะดล ทั้งดี หรือร้ายให้
เพียงแต่เขา อาจรับ วิบากไซร้
ที่ดลให้ ผลได้ ใกล้เคียงกัน...กระบี่ไร้เงา


สวัสดี ท่านกระบี่ฯ ที่ไร้เงา
ขอบคุณเจ้า ที่มีใจ ให้แก่ฉัน
คำตอบนี้ มีค่าหลาก มากอนันต์
อ้างพระไตรฯ ใช้ยืนยัน ฉันชอบจริง

คนฆ่าสัตว์ ปาณาติบาต เกิดชาติใหม่
ถ้าเป็นคน อายุขัย ให้สั้นยิ่ง
ใช้อาวุธ ไล่ล่า เที่ยวฆ่ายิง
สัตว์นอนกลิ้ง เป็นบาปกรรม ซ้ำติดตัว

แต่ถ้าใคร มีกรุณา เมตตาสัตว์
กรรมเด่นชัด เกิดใหม่ ไม่สลัว
ถ้าเป็นคน ชีวิตครอง มิหมองมัว
ไม่ต้องกลัว อายุนั้น สั้นไม่มี

คำสอนนี้ เจตนานั้น ฉันเดายาก
จึงขอฝาก คำถามไว้ ในที่นี้
กระบี่เอย ช่วยวิสัชนา ให้ข้าที
อย่ารอรี ช่วยบอกฉัน เพื่อมั่นใจ...กระดังงาลนไฟ


:b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41:

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

๕๘๒] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรมาณพ บุคคลบางคนใน
โลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน
เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์
มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขา
ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน
เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์
มีชีวิต ฯ
[๕๘๓] ดูกรมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ
ก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราได้
มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์
เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ
มีอายุยืนนี้ คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา
วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลใน
สรรพสัตว์และภูตอยู่ ฯ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2009, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: สวัสดี :b42: กระดังงา :b42: ลนไฟร้อน
ยกคำสอน :b42: พระภูมี :b42: ช่างดียิ่ง
เป็นธรรมบท :b42: เตือนใจ :b42: ได้ดีจริง
สาธุสิ่ง :b42: ยังกุศล :b42: พ้นบาปกรรม

:b41: ความมีศีล :b42: อย่างนี้ :b42: นี่ประเสริฐ
เป็นคุณเลิศ :b42: บุญญา :b42: มาอุปถัมภ์
สั่งสมมาก :b42: ซึ่งบุญตน :b42: กุศลธรรม
วิบากนำ :b42: สู่สุคติ :b42: ที่สำราญ

:b41: ผองกิเลส :b42: เหตุทุกข์ใจ :b42: ไม่สร้างเพิ่ม
ปัญญาเสริม :b42: ปุญญา :b42: ภิสังขาร
ให้ธุลี :b42: บางเบายิ่ง :b42: ยั่งยืนนาน
ลุนิพพาน :b42: คงอีกใกล้ :b42: ในเร็ววัน



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2009, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Love-comment-70.gif
Love-comment-70.gif [ 46.13 KiB | เปิดดู 4367 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: tongue

กรดังงาลนไฟ เขียน:

คนฆ่าสัตว์ ปาณาติบาต เกิดชาติใหม่
ถ้าเป็นคน อายุขัย ให้สั้นยิ่ง
ใช้อาวุธ ไล่ล่า เที่ยวฆ่ายิง
สัตว์นอนกลิ้ง เป็นบาปกรรม ซ้ำติดตัว

แต่ถ้าใคร มีกรุณา เมตตาสัตว์
กรรมเด่นชัด เกิดใหม่ ไม่สลัว
ถ้าเป็นคน ชีวิตครอง มิหมองมัว
ไม่ต้องกลัว อายุนั้น สั้นไม่มี

คำสอนนี้ เจตนานั้น ฉันเดายาก
จึงขอฝาก คำถามไว้ ในที่นี้
กระบี่เอย ช่วยวิสัชนา ให้ข้าที
อย่ารอรี ช่วยบอกฉัน เพื่อมั่นใจ...กระดังงาลนไฟ

คำสอนนี้ เจตนานั้น ฉันเดายาก
จึงขอฝาก คำถามไว้ ในที่นี้
กระบี่เอย ช่วยวิสัชนา ให้ข้าที
อย่ารอรี ช่วยบอกฉัน เพื่อมั่นใจ


:b48: ตรัสสอนกับ สุภมาณพ โตเทยยบุตร
เพื่อชี้จุด ให้กลับกลาย หายสงสัย
ว่ามนุษย์ ล้วนมี ที่ต่างไป
นั่นเพราะเหตุ เพราะปัจจัย ที่ทำมา

:b48: ว่ามนุษย์ มีทั้งเลว ทั้งประณีต
วิบากขีด กำหนดไว้ ไขปริศนา
สุภมานพ ถามไป ให้วิสัชนา
เหตุใดหนา ชีวา จืงสั้นลง

:b48: และเพราะเหตุ ทำสิ่งใด จืงยืนยาว
เป็นเรื่องราว อย่างไร ให้ลุ่มหลง
อีกกระทำ อย่างไร โรคดำรง
เพราะเหตุไร โรคาปลง ไม่เบียดเบียน

:b48: สิบสี่ประการ ที่ถามไว้ ให้ไขตอบ
ล้วนธรรมชอบ ควรนำมา ใช่พาเหียน
จูฬกัมมวิภังคสูตร ควรเล่าเรียน
เพื่อหมั่นเพียร กระทำ แต่กรรมดี

:b48: ทั้งศีล ทาน ภาวนา อย่าให้ขาด
หมู่บัณฑิต ผู้ฉลาด กระทำนี่
กุศลกรรมบถ ทั้งสิบนี้
สำรวมที่ กายา วาจา ใจ


Quote Tipitaka:
[๕๘๐] สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่
ปรากฏความเลวและความประณีต คือ
มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม
มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อย มีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดในสกุลต่ำ
เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต ฯ

[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรมาณพ
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ

ดูกรมาณพ
บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต


เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

ดูกรมาณพปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ
เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต ฯ

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืนนี้ คือ
ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราได้
มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ฯ


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

ดูกรมาณพปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ
เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือ ก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อยนี้ คือ
เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดินหรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

ดูกรมาณพปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้ คือ
เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง
พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ
เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง
ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้ คือ
มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย
ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้ คือ
มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย
ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ
ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป
แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้ คือ
ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้ คือ
เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา ฯ

ดูกรมาณพปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้ คือ
เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ
เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา ฯ

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทรามนี้ คือ
ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ
อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้ คือ
เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ
อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

[๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้
สุภมาณพ โตเทยยบุตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้วพระเจ้าข้า

พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ
หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น

ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ฯ


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ จูฬกัมมวิภังคสูตร


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=14&item=579&items=19



รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 04 พ.ย. 2009, 23:33, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 12:17
โพสต์: 36

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1397599p39febsh1r.gif
1397599p39febsh1r.gif [ 26.42 KiB | เปิดดู 4334 ครั้ง ]
สุจริต ๓

ทั้งราชันย์ ทั้งกระบี่ ที่ขานตอบ
รู้สึกชอบ ด้วยสว่าง กระจ่างแจ้ง
คำสั่งสอน พุทธองค์ ทรงแสดง
ล้วนแต่แฝง ด้วยนัยยะ ธรรมะล้วน

กรรมส่งผล ที่ดี มีค่าล้ำ
คือสามกรรม น่าตรองตรึก นึกถี่ถ้วน
สำรวมกาย วาจาใจ รู้ใดควร
ลองทบทวน ณ วันนี้ ดีหรือยัง ...กระดังงาลนไฟ


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค


๑. กายสุจริต [ความประพฤติชอบทางกาย]
๒. วจีสุจริต [ความประพฤติชอบทางวาจา]
๓. มโนสุจริต [ความประพฤติชอบทางใจ]
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0011.jpg
0011.jpg [ 20.34 KiB | เปิดดู 4302 ครั้ง ]
บัณฑิตเหล่าใด
เมื่อมนสิการรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
โดยอุบายอันแยบคาย
โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมเกิดปราโมทย์

เมื่อมนสิการรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
โดยอุบายอันแยบคาย
โดยความเป็นทุกข์
ย่อมเกิดปราโมทย์

เมื่อมนสิการรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
โดยอุบายอันแยบคาย
โดยความเป็นอนัตตา
ย่อมเกิดปราโมทย์

เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข
ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความพยาบาท
เพราะคลายความกำหนัด และพยาบาท

" จิตย่อมหลุดพ้น "

เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลสเครื่องกังวลใดมีอยู่ในกาลก่อน
เธอจงยังกิเลสเครื่องกังวลนั้น
ให้เหือดแห้งหายไป
กิเลสเครื่องกังวลใด
จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง
ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ในท่ามกลาง
ก็จักเป็นมุนีผู้สงบระงับแล้วเที่ยวไป....ดังนี้



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2009, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-............

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๒] เทวดานั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว ฯ

ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้ อย่างไรเล่า ฯ

พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ

เทวดานั้นกล่าวคาถานี้ว่า
นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสวพราหมณ์ผู้ดับรอบแล้ว ไม่พัก ไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก ฯ

[๓] เทวดานั้นกล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงอนุโมทนา ครั้งนั้นแลเทวดานั้นดำริว่า พระศาสดาทรงอนุโมทนาคำของเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วก็หายไป ณ ที่นั้นแล ฯ

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2009, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




stairway_to_heaven.jpg
stairway_to_heaven.jpg [ 35.55 KiB | เปิดดู 4265 ครั้ง ]
:b41: :b46: :b41: :b46: :b41: :b46: :b41: :b46: :b46: :b41: :b46: :b46: :b41: :b46: :b46: :b41: :b46: :b46: :b46: tongue

มหาราชันย์ เขียน:

ท่านผู้มีอายุ
เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้
เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้

ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เราไม่เพียร
ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ


รูปภาพ


:b48: ด้วยอำนาจแห่งห้วง :b47: :b47:อกุสลา
จิตผู้ใดดำเนินมา :b47: :b47: :b47: :b47: จมแน่
เพราะเหตุยังพักกายา :b47: :b47: พร้อมจิต
จมในห้วงอกุศลแท้ :b47: :b47: :b47: บ่ได้พ้นมาร

:b48: ด้วยอำนาจแห่งห้วง :b47: :b47:โลกีย์ กุศลเอย
จิตเจ้าเพียรทุกนาที :b47: :b47: :b47: เช้าค่ำ
ทาน ศีล ภาวนา มี :b47: :b47: :b47: ก่อเกิด ภพนา
จิตย่อมลอยอยู่ย้ำ :b47: :b47: :b47: เวียนว่ายสังสาร์

:b48: ด้วยอำนาจแห่งห้วง :b47: :b47: โลกุตระ ธรรมเอย
บาปบุญ จิตท่านละ :b47: :b47: :b47: แน่แท้
บัณฑิตผู้ข้ามโอฆะ :b47: :b47: :b47: จิตมั่น คงนา
เดินตามพุทธพจน์แท้ :b47: :b47: :b47: ร่วมน้อมโมทนา


รูปภาพ

บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมไม่ให้ทานเพราะเหตุแห่งสุข อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมให้ทาน เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานอันไม่มีภพอีกต่อไปโดยส่วนเดียว


บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมไม่รักษาศีลเพราะเหตุแห่งสุข อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมรักษาศีล เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานอันไม่มีภพอีกต่อไปโดยส่วนเดียว

บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมไม่เจริญฌานเพราะเหตุแห่งสุข อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมเจริญฌาน เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานอันไม่มีภพอีกต่อไปโดยส่วนเดียว



:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้นมุ่งนิพพาน
มีจิตเอนไปในนิพพาน
น้อมจิตไปในนิพพาน
ย่อมให้ทาน ย่อมรักษาศีล ย่อมเจริญฌาน

บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมเป็นผู้มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า
เหมือนแม่น้ำทั้งหลาย ย่อมไหลไปสู่ทะเล ..ฉะนั้น



รูปภาพสาธุ ..... เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนิมิตฺตญฺจ ภาเวหิ
มานานุสยมุชฺชห
ตโต มานาภิสมยา
อุปสนฺโต จริสฺสสิ



เธอจงเจริญอนิมิตตวิปัสสนา
(พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง)
จงละมานานุสัยเสีย
แต่นั้นเธอจักเป็นผู้เข้าไปสงบ
เที่ยวไปเพราะละมานะเสียได้ ดังนี้.



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2009, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




v41.gif
v41.gif [ 118.2 KiB | เปิดดู 4221 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: tongue


ราคะ แล โทสะ มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ
ความไม่ยินดี ความยินดี และความสยดสยอง
เกิดแต่อัตภาพนี้

ความตรึกในใจเกิดแต่อัตภาพนี้แล้ว
ดักจิตไว้ได้เหมือนพวกเด็กดักกา ฉะนั้น






รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


!!....เพราะฉันสวย....!!.


.... พระนันทาเถรี .
เอตทัคคะในฝ่ายผู้แพ่งด้วยฌาน

พระนันทาเถรี เป็นธิดาของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็น
กนิษฐภคินีของเจ้าชายนันทะ พระนามเดิมว่า “นันทา” แต่เพราะนางมีพระสิริโฉมงดงามยิ่งนัก น่าทัศนา น่ารัก น่าเลื่อมใส พระประยูรญาติจึงพากันเรียกว่า “รูปนันทา” บ้าง “อภิรูปนันทา” บ้าง “ชนปทกัลยาณี” บ้าง

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้นับเนื่องเป็นพระเชษฐาของนาง เสด็จออกบรรพชา ได้ตรัสรู้เป็น พระสัพพัญญูพุทธเจ้าแล้ว เสด็จมาโปรดพระประยุรญาติ ณ พระนครกบิลพัสดุ์ เทศนาสั่งสอนให้ได้บรรลุมรรคผลตามวาสนาบารมี ทรงนำพาศากยกุมารทั้งหลายมีพระนันทะ พระราหุลและพระภัททิยะ เป็นต้น ออกบรรพชา

ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชพุทธบิดา เสด็จเข้าสู่พระนิพพานแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตรมีพระมารดา และพระนางยโสธราพิมพาพระมารดาของพระราหุล ต่างก็พาสากิยกุมารีออกบวชในพระพุทธศาสนาด้วยกันทั้งสิ้น นางจึงมีพระดำรัสว่า “เหลือแต่เราเพียงผู้เดียว ประหนึ่งไร้ญาติขาดมิตร จะมีประโยชน์อะไรกับการดำรงชีวิตในฆราวาสวิสัย สมควรที่เราจะไปบวชตามพระประยูรญาติผู้ใหญ่ของเราจะประเสริฐกว่า”

........เพราะรักญาติจึงออกบวช
เมื่อพระนางมีพระดำริดังนี้แล้ว จึงจัดเตรียมผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จไปสู่สำนักพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี กราบแทบเท้ากล่าวขอบรรพชาอุปสมบท พระเถรี ก็โปรดให้บรรพชาตามปรารถนา .....แต่การบวชของพระนางนันทานั้นมิใช่บวชด้วยความศรัทธา แต่อาศัยความรักในหมู่ญาติจึงออกบวช ครั้นบวชแล้ว พระรูปนันทาเถรีได้ทราบว่า พระพุทธองค์ทรงตำหนิติเตียนเรื่องรูปกายจึงไม่กล้าไปเฝ้าพระศาสดา เพื่อรับพระโอวาท เมื่อถึงวาระที่ตนจะต้องไปรับโอวาทก็สั่งให้ภิกษุณีรูปอื่นไปรับแทน พระบรมศาสดาทรงทราบว่าพระนางหลงมัวเมาในพระสิริโฉมของตนเอง

จึงตรัสรับสั่งว่า:-
“ต่อแต่นี้ ภิกษุณีทั้งหลาย ต้องมารับโอวาทด้วยตนเอง จะส่งภิกษุณีรูปอื่นมารับแทนไม่ได้” ตั้งแต่นั้น พระรูปนันทาเถรี ไม่มีทางอื่นที่จะหลีกเลี่ยงไปได้ จึงจำเป็นและจำใจไปรับ พระโอวาท ทั้ง ๆ ที่ไม่ปรารถนา ไปเฝ้าพระบรมศาสดาพร้อมกับภิกษุณีทั้งหลาย แต่มิกล้าแม้กระทั่งจะนั่งอยู่แถวหน้า จึงนั่งหลบอยู่ด้านหลัง

พระพุทธองค์ ทรงเนรมิตรูปหญิงสาววัยรุ่นคนหนึ่งให้มีรูปสิริโฉมสวยงามสุดที่จะหาหญิงใดในปฐพีมาเปรียบได้ ให้หญิงนั้นดูประหนึ่งว่าถือพัดวีชนีถวายงานพัดอยู่เบื้องหลังของพระพุทธองค์ และให้สามารถมองเห็นเฉพาะพระพุทธองค์กับพระรูปนันทาเถรีเท่านั้น

พระรูปนันทาเถรี ได้เห็นหญิงรูปเนรมิตนั้นแล้วก็คิดว่า เราหลงผิดคิดมัวเมาอยู่ในรูปโฉมของตนเองโดยใช่เหตุ จึงมิกล้ามาเฝ้าพระพุทธองค์ หญิงคนนี้มีความสนิมสนมอยู่ในสำนักพระบรมศาสดา รูปโฉมของเรานั้นเทียบไม่ได้ส่วนเสี้ยวที่ ๑๖ ของหญิงนี้เลย ดูนางช่างงามยิ่งนัก ผมก็สวย หน้าผากก็สวย หน้าตาก็สวย ทุกสิ่งทุกอย่างช่างสวยงามพร้อมทั้งหมด


...........พอเบื่อหน่อยก็ได้สำเร็จ
เมื่อพระรูปนันทาเถรี กำลังเพลิดเพลินชื่นชมโฉมของรูปหญิงเนรมิตอยู่นั้น พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานให้รูปหญิงนั้นปรากฏอยู่ในวัยต่าง ๆ ตั้งแต่เป็นหญิงวัยรุ่น เป็นหญิงสาววัยมีลูกหนึ่งคน มีลูก ๒ คน จนถึงวัยกลางคน วัยชราและวัยแก่หง่อม ผมหงอก ฟันหัก หลังค่อม และล้มตายลงในขณะนั้น ร่างกายมีหมู่หนอนมาชอนไชเจาะกินเหลือแต่โครงกระดูก

พระพุทธองค์ทรงทราบว่าพระรูปนันทาเถรี เกิดความสังเวชสลดจิตเบื่อหน่ายในรูปกายที่ตนยึดถือแล้วจึงตรัสว่า:-

“ดูก่อนนันทา เธอจงดูอัตภาพร่างกายอันเป็นเมืองแห่งกระดูกนี้ (อฏฺฐีนํนครํ) อัน
กระสับกระส่าย ไม่สะอาด อันบูดเน่านี้เถิด เธอจงอบรมจิตให้แน่วแน่มั่นคง มีอารมณ์เดียวใน " อสุภกรรมฐาน " จงถอนมานะละทิฏฐิให้ได้


แล้วจิตใจของเธอก็จะสงบ
จงดูว่ารูปนี้เป็นฉันใด
รูปของเธอก็เป็นฉันนั้น
รูปของเธอเป็นฉันใด
รูปนี้ก็เป็นฉันนั้น
รูปอันมีกลิ่นเหม็นบูดเน่านี้
ย่อมเป็นที่เพลิดเพลินอย่างยิ่งของผู้โง่เขลาทั้งหลาย”


พระรูปนันทาเถรี ส่งกระแสจิตไปตามพระพุทธดำรัส เมื่อจบลงก็สิ้นกิเลสาสวะ บรรลุ พระอรหัตผลเป็นพระอเสขบุคคลในพระพุทธศาสนาปรากฏว่าเมื่อพระนางสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว " เป็นผู้มีความชำนาญพิเศษในการเพ่งด้วยฌาน " ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้แพ่งด้วยฌาน หรือ ผู้ทรงฌาน


ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มี ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ ปีติ สุข เอกัคคตา
๓. ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
๔. จตุถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา




:b41: ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ
ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก
พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น
พึงเข้าไปตัดความตรึก
และตัดธรรมที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2009, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




R802-6.gif
R802-6.gif [ 9.91 KiB | เปิดดู 4166 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: tongue


ชนเหล่าใดมีจิตสงบแล้ว
มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน มีสติ มีฌาน
ไม่มีความเพ่งเล็งในกามทั้งหลาย

ย่อมเห็นแจ้งธรรมโดยชอบ
เป็นผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาท
มีปรกติเห็นภัยในความประมาท
ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อมรอบ
ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานเทียว





รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร