วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=8



กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




R1347-6.jpg
R1347-6.jpg [ 7.1 KiB | เปิดดู 5167 ครั้ง ]
เอรากอน เขียน:
พอดีจะมาท้วงท่าน มหา น่ะค่ะ
เสี่ยวจิ้ง ทิ้งคำถามไว้ที่กระทู้ นู๊ด ท่านยังไม่ยอมขยายความ หง่ะ



:b41: สวัสดี :b42: เอรากอน :b42: อย่าร้อนใจ
ถามมาใหม่ :b42: ได้ไหม :b42: กระทู้นุ้น
ผมไม่เห็น :b42: คำถาม :b42: ข้อความคุณ
โปรดการุณ :b42: ทำลิ้งค์ :b42: อ้างอิงมา

:b41: เพื่อบัณฑิต :b42: ในเว็ปนี้ :b42: มีใจช่วย
ร่วมตอบด้วย :b42: ในเวที :b42: จะดีกว่า
ได้ความรู้ :b42: ทั้งคุณ :b42: มิตรธัมมา
สละเวลา :b42: ตั้งคำถาม :b42: ตามอีกที

:b42: ขออภัย :b42: ที่ไม่เห็น :b42: เป็นตรงไหน
ที่คุณได้ :b42: ถามให้ :b42: ขยายที่
จึงขอตั้ง :b42: กระทู้รอ :b42: ขอไมตรี
ถามอีกที :b42: เอรากอน :b42: อย่าร้อนใจ


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 28 ต.ค. 2009, 17:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1484529dwvjizjxj6.gif
1484529dwvjizjxj6.gif [ 79.26 KiB | เปิดดู 5155 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: tongue


:b48: ขอติดตาม อ่านด้วย คงไม่ว่า
เอรากอน เปิดปุจฉา จะได้ไหม
กระบี่ไร้เงา จะได้ ขอเข้าไป
เพิ่มปัญญา ให้คงไว้ ในธัมมา

:b48: ขออนุญาต ท่านมหา ราชันย์เจ้า
กระบี่ฯ ขอเข้า ไปนั่งรอ ฟังปุจฉา
ของเอรากอน เพื่อรอ ฟัง วิสัชนา
จากมหา ราชา(ชันย์) ผู้ใจบุญ




รูปภาพ ขอเข้าฟังปุจฉา-วิสัชนา ด้วยค่ะ :b41: :b41: :b41: เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 28 ต.ค. 2009, 17:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุ๊ย...! อยากฆ่าคน... :b12:

คำถามเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่คุณเล่นมาเปิดกระทู้ซะ... :b14:

:b15: อย่างกะจับเรามาออกงานวัด :b32: :b32:

สืบเนื่องมาจากตรงนี้ค่ะ

มหาราชันย์ เขียน:
กำหนดแบบนี้บ้างสิครับ

จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใด อบรมได้ดั่งนี้
ความทุกข์จะมีมาแต่ที่ใดเล่า ?


เจริญในธรรมครับ


เราจึงถามคุณกลับไปว่า

คุณไม่เคยโกรธใครเลย มานานเท่าไรแล้วคะ
ประมาณว่าแม้แต่ใจก็ไม่ระคายเคืองเมื่อมี
สิ่งเร้ามากระทบน่ะค่ะ


คือที่สงสัย เพราะกระทู้นั้น ก็อย่างที่ว่า
เราไม่เคย และไม่นิยมในการ ทำสมาธิแนว ยุบหน๋อ พองหน๋อ อะไรประมาณนั้น
แต่โดยพื้นฐานนิสัย เราเป็นคนที่ช่างสังเกต
ดังนั้น เราจะสังเกต ปฏิกริยาทางกายเมื่อกระทบ
สังเกตปฏิกริยาทางเวทนา ที่เกิด และสังเกต สังเกต และสังเกต

อย่างตะกี๊ พอเห็นคนมือดี (น่าจับมาตี) มาตั้งกระทู้
คือ ตาเห็นรูป ร่างกายชาแว๊บนึง และความรู้สึกที่เกิดในจิตชั่วแว๊บ ๆ นั้นที่ตาม ๆ มา แต่ละระลอก
ก็สังเกตได้ และการนำธรรมมาพิจารณาในการเกิด ๆ ดับ ๆ
คือสายตาเรามองแยกย่อย และมองการต่อเนื่อง และการเกิดร่วม ที่สิ่งหนึ่งส่งผลต่อสิ่งหนึ่ง
(คือต้องของบอกไว้ก่อนว่าเราไม่ใช่ผู้เจริญเติบโตมาทางพุทธ
เราเจริญเติบโตมาทางสายตาที่มองทุกอย่างอย่างมีเหตุมีผลต่อกัน
ที่มั่ว ๆ มา คือเราสงสัย เราจึงชินกับการสังเกต)
ก็น่าจะพอเท่าทันอยู่นะคะ จิตไหว รู้ค่ะ เพราะเฝ้าสังเกตอยู่
จิตไหวไปในทางใด ก็หาธรรมที่เหมาะมาพิจารณาปรับค่ะ
เพื่อให้จิตเข้าสู่สภาวะค่อนข้างจะปกติศีล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ไม่ครอบงำ
อันนี้คือเราสุ่มสี่สุ่มห้า มั่วระเบิดเถิดเทิงทำมาค่ะ...
แต่ถามว่า จิตยังไหว หรือไม่ ก็ยังไหว แต่เท่าทันอยู่

จริง ๆ ก็ไม่ได้สงสัยอะไรค่ะ แต่คุณแนะนำ
กำหนดแบบนี้บ้างสิครับ

จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา


เราสนใจประโยคนี้...หน่ะ
เราก็เลยถามกลับไปว่า

คุณไม่เคยโกรธใครเลย มานานเท่าไรแล้วคะ
ประมาณว่าแม้แต่ใจก็ไม่ระคายเคืองเมื่อมี
สิ่งเร้ามากระทบน่ะค่ะ


คือถ้าคุณสภาวะใจของคุณไม่ระคายเคือง หวั่นไหว เลย
ถึงจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมปกติซึ่งมีการกระทบถี่ยิบ
นี่ค่ะ... ที่เราอยากจะทัศนากลวิธีในการกำหนด การอบรมจิตของคุณ...
ok เราเป็นคนที่รักษาสภาวะอารมณ์ได้ค่อนข้างดี ใคร ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ เรา ก็ว่าเช่นนั้น
แต่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ
เพราะเรารู้ตัวดี ว่าจิตเรายังไหว ใจเรายังไหว ถึงการไหวนั้นเราจะตามรู้ตามอบรมด้วยธรรมได้
เราก็แค่ อยากเรียนรู้ในสิ่งที่จะทำให้เราดูแล อบรมจิตตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น...หน่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 28 ต.ค. 2009, 18:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบี่ไร้เงา เขียน:

:b48: ขอติดตาม อ่านด้วย คงไม่ว่า
เอรากอน เปิดปุจฉา จะได้ไหม
กระบี่ไร้เงา จะได้ ขอเข้าไป
เพิ่มปัญญา ให้คงไว้ ในธัมมา

:b48: ขออนุญาต ท่านมหา ราชันย์เจ้า
กระบี่ฯ ขอเข้า ไปนั่งรอ ฟังปุจฉา
ของเอรากอน เพื่อรอ ฟัง วิสัชนา
จากมหา ราชา(ชันย์) ผู้ใจบุญ




ได้เลยค่ะ หนุกดี...หง่ะ
ช่วย ๆ ปรับกระบวนท่าเราหน่อยนะคะ บอกตรง ๆ ว่า มาแบบมั่ว ๆ ค่ะ :b12:
เพราะท่าทางคุณก็เป็นผู้ที่มีความรู้ดีค่ะ...
แต่ระวังเรื่องการใช้ศัพท์ยาก ๆ นะคะ ... :b12:

เสี่ยวจิ้งอุตสาห์ยอมมาโชว์ตัวงานวัดแล้ว
เชิญท่าน Nut ท่าน ชาติสยาม ท่าน ท่าน ท่าน Bud คริ คริ :b32: :b32:
ท่านไหน ๆ ที่ เสี่ยวจิ้ง ได้ทำให้หมั่นไส้เอาไว้ เชิญเลย...จ๊า...

แต่ขอให้มาให้ความรู้ได้รึเปล่าคะ ประมาณ ธรรมทาน หน่ะ
อย่าเอามีดมาจิ้ม เสี่ยวจิ้ง... :b12: :b12:

เสียดาย ท่าน อบ..อ๊บ ไม่อยู่
อยู่หน่อยก็ไม่ได้ รายนี้ไม่มีทางที่จะลืมอันเชิญเลย...
:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0281.gif
0281.gif [ 108.33 KiB | เปิดดู 5133 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: tongue


:b48: ขณะรอ ท่านมหาราชันย์ตอบ
อรหัตมรรคนี้ ข้าฯ ชอบ เป็นหนักหนา
เป็นคาถาธรรมบท ของศาสดา
เอ่ยเมื่อฟัง วาจา เถระมุนี

:b48: เปล่งอุทาน พระวาจา พาเด่นชัด
ให้กำจัด ความหวั่นไหว ในวิถี
ทั้งกำหนัด โทสา อย่าได้มี
แม้ทำได้ เป็น "มุนี" ของศาสดา

:b48: ข้าฯ กระบี่ น้อมอบรม เป็นเนืองนิตย์
ให้สถิต มั่นไว้ ในสิกขา
มั่นอบรมจิต ต่อเนื่อง เรี่องภาวนา
ใช้เพื่อเป็น มรรคา พาข้าฯ ไป

:b48: นี่มิใช่ คำตอบ ที่ท่านถาม
แต่กล่าวตาม สัจวาจา พาสดใส
เพราะว่าเป็น อรหัตมรรค ประจำใจ
กระบี่ฯ ใช้ อบรมใจ ของข้าฯ เอง

:b48: แม้สนใจ ว่าเมื่อไร ที่ตรัสไซร้
ในพระไตรฯ เล่ม ยี่สิบห้า พาเหมาะเหม็ง
ชุณหสูตร ข้อเก้าสิบสาม ตามเลบง
เอรากอน คนเก่ง โปรดติดตาม


Quote Tipitaka:

จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใด อบรมได้ดั่งนี้
ความทุกข์จะมีมาแต่ที่ใดเล่า




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ ท่านเอรากอน
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




A050.jpg
A050.jpg [ 39.25 KiB | เปิดดู 5081 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใด อบรมได้ดั่งนี้
ความทุกข์จะมีมาแต่ที่ใดเล่า ?




:b41: บทนี้เป็น :b41: คาถา :b42: ธรรมบท
อรรถรส :b42: อริยะ :b42: สัจจะสี่
แสดงโดย :b42: องค์พระ :b42: มหามุนี
สดุดี :b42: พระสารีบุตร :b42: สุดงดงาม

:b41: จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา
เป็นสัจจา :b42: ทางดับทุกข์ :b42: ที่เดินข้าม
ถ้าหวั่นไหว :b42: ใจไม่ตั้ง :b42: พลั้งเผลอตาม
ย่อมเกิดความ :b42: กำหนัด :b42: โกรธขัดเคือง

:b41: ความกำหนัด :b42: ความโกรธ :b42: เหตุโทษทุกข์
เข้ารุมรุก :b42: จิตใจ :b42: ให้เกิดเรื่อง
มีแต่ตรึก :b42: ฟุ้งซ่าน :b42: พาลขุ่นเคือง
จิตซึมเซื่อง :b42: เซาซบ :b42: ภพอารมณ์

:b42: ไม่กำหนัด :b42: ไม่โกรธ :b42: โทษทุกข์ดับ
บัณฑิตนับ :b42: ยกย่อง :b42: ต้องสุขสม
เป็นนิโรธ :b42: สัจจะ :b42: ละอารมณ์
ดับทุกข์ตรม :b42: ได้สิ้น :b42: ไม่ยินดี

:b41: บุคคลใด :b42: อบรมใจ :b42: ได้เช่นนี้
ทุกข์จะมี :b42: จากที่ใด :b42: ได้หรือนี่
สุขอันเกิด :b42: จากกำจัด :b42: ตัดธุลี
เรียกสุขที่ :b42: เป็นวิมุติ :b42: สุดยอดเอย



สวัสดีครับเอรากอน

ต้องขออภัยนะครับ ที่ผมเข้าไปตอบกระทู้คุณแล้วไม่ได้เข้าไปอ่านอีก
ท่องเที่ยวไปหลายกระทู้จำไม่ได้ว่าไปตอบที่ไหนบ้างกี่แห่ง
เมื่อคุณทวงถามเลยจำไม่ได้ จึงตั้งกระทู้ใหม่เพื่อถาม
ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ผมให้ความสำคัญเสมอครับ
การสะสมปัญญาทีละน้อยย่อมดีที่สุดครับ


เอรากอน เขียน:
คือถ้าคุณสภาวะใจของคุณไม่ระคายเคือง หวั่นไหว เลย
ถึงจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมปกติซึ่งมีการกระทบถี่ยิบ
นี่ค่ะ... ที่เราอยากจะทัศนากลวิธีในการกำหนด การอบรมจิตของคุณ...
ok เราเป็นคนที่รักษาสภาวะอารมณ์ได้ค่อนข้างดี ใคร ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ เรา ก็ว่าเช่นนั้น
แต่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ
เพราะเรารู้ตัวดี ว่าจิตเรายังไหว ใจเรายังไหว ถึงการไหวนั้นเราจะตามรู้ตามอบรมด้วยธรรมได้
เราก็แค่ อยากเรียนรู้ในสิ่งที่จะทำให้เราดูแล อบรมจิตตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น...หน่ะ


ผมอบรมจิตด้วยคาถาธรรมบทบ่อย ๆ
และปฏิบัติตามคาถาธรรมบทนั้น ๆ
สำรวมจิตใจไว้ที่ฌาน 2 ได้นาน
เป็นฌานที่ไม่มีนิมิตนะครับ มีธรรมบทเป็นอารมณ์ ก็จะมีปีติสุขตั้งอยู่ในทุกขณะ
เมื่อมีอะไรมากระทบจับแล้วก็วางไปครับ...
ทำงานก็ตาม หรืออริยาบทในชีวิตประจำวันก็ตาม ทรงฌาน 2 บ่อย ๆ ก็มีปีติสุขครับ


ที่คุณปฏิบัติอยู่ก็ถือว่าดีแล้ว
ขออนุโมทนาสาธุการด้วยความยินดีครับ


เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกระบี่ไร้เงาคะ
ขอบคุณน้ำใจไมตรีที่มีให้ค่ะ
บทธรรมที่คุณกล่าวถึง จะหาโอกาสไปศึกษาค่ะ..
ขอบคุณกับคำแนะนำดี ๆ จากบทกลอนงาม ๆ นะคะ

อ้างคำพูด:
สวัสดีครับเอรากอน

ต้องขออภัยนะครับ ที่ผมเข้าไปตอบกระทู้คุณแล้วไม่ได้เข้าไปอ่านอีก
ท่องเที่ยวไปหลายกระทู้จำไม่ได้ว่าไปตอบที่ไหนบ้างกี่แห่ง
เมื่อคุณทวงถามเลยจำไม่ได้ จึงตั้งกระทู้ใหม่เพื่อถาม
ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ผมให้ความสำคัญเสมอครับ
การสะสมปัญญาทีละน้อยย่อมดีที่สุดครับ


:b12: :b12:

ทุกคำกล่าวมักจะมีหลักการ และเหตุผลรอรับทัศนะของตนเสมอ
ประโยคที่ จิ้ง ขีดเส้นใต้ค่ะ...
ชอบค่ะ การมองเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่เป็นสิ่งที่สำคัญเสมอกัน
ช่วยแสดงขยายความทัศนะงาม ๆ ของคุณให้เสี่ยวจิ้งได้ชื่นชมได้รึเปล่าคะ

:b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:

ผมอบรมจิตด้วยคาถาธรรมบทบ่อย ๆ
และปฏิบัติตามคาถาธรรมบทนั้น ๆ
สำรวมจิตใจไว้ที่ฌาน 2 ได้นาน
เป็นฌานที่ไม่มีนิมิตนะครับ มีธรรมบทเป็นอารมณ์ ก็จะมีปีติสุขตั้งอยู่ในทุกขณะ
เมื่อมีอะไรมากระทบจับแล้วก็วางไปครับ...
ทำงานก็ตาม หรืออริยาบทในชีวิตประจำวันก็ตาม ทรงฌาน 2 บ่อย ๆ ก็มีปีติสุขครับ


และสงสัยตรงนี้ค่ะ
แสดงว่า ปกติ คนที่ปฏิบัติสมาธิ / หรือจำเป็นรึเปล่าคะที่ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติเท่านั้น
จึงจะสำรวมจิตไว้ที่ฌาน และดำรงอยู่ในทุกขณะ อริยาบทในชีวิตประจำวัน
และมี ฌาน อื่น ๆ รึเปล่าคะ ที่ผู้ปฏิบัติสามารถจะ ดำรงอยู่ได้ในทุกอริยาบทในชีวิตประจำวัน
ถ้ามี แล้วการดำรงแต่ละ ฌาณ มีลักษณะเช่นไร มีคุณอย่างไร และมีโทษอย่างไรรึเปล่าคะ
จะบอกว่าโทษก็ไม่เชิงนะคะ เอาเป็นว่า
การดำรง ฌาน แต่ละ ฌาน ในชีวิตประจำวัน เป็นอย่างไร และเหมาะ หรือไม่เหมาะอย่างไร
คือ สงสัยค่ะ เพราะ ฌาน เท่าที่พอจะรู้ ก็น่าจะมีตั้งหลาย ฌาน แต่ทำไมจึงเป็น ฌาน 2

:b12: :b12:

อ้างคำพูด:
ที่คุณปฏิบัติอยู่ก็ถือว่าดีแล้ว
ขออนุโมทนาสาธุการด้วยความยินดีครับ


เจริญในธรรมครับ


ขอบคุณค่ะ ที่คุณยังใจดีกล่าวชมในความเปิ่นของ เสี่ยวจิ้ง...

เจริญในธรรมค่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 29 ต.ค. 2009, 14:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ผมให้ความสำคัญเสมอครับ
การสะสมปัญญาทีละน้อยย่อมดีที่สุดครับ


เอรากอน เขียน:
ทุกคำกล่าวมักจะมีหลักการ และเหตุผลรอรับทัศนะของตนเสมอ
ประโยคที่ จิ้ง ขีดเส้นใต้ค่ะ...
ชอบค่ะ การมองเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่เป็นสิ่งที่สำคัญเสมอกัน
ช่วยแสดงขยายความทัศนะงาม ๆ ของคุณให้เสี่ยวจิ้งได้ชื่นชมได้รึเปล่าคะ



ผมตอบคำถามคุณเอรากอน เพราะคุณเอรากอนกล่าวอย่างนี้ครับ
แม้คำถามจะเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่การได้กัลยาณมิตรเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญเสมอครับ


เอรากอน เขียน:
อุ๊ย...! อยากฆ่าคน...

คำถามเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่คุณเล่นมาเปิดกระทู้ซะ...

อย่างกะจับเรามาออกงานวัด

สืบเนื่องมาจากตรงนี้ค่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 30 ต.ค. 2009, 00:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




glitterdee161.jpg
glitterdee161.jpg [ 34.52 KiB | เปิดดู 4988 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: tongue

อ้างคำพูด:
และสงสัยตรงนี้ค่ะ
แสดงว่า ปกติ คนที่ปฏิบัติสมาธิ / หรือจำเป็นรึเปล่าคะที่ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติเท่านั้น
จึงจะสำรวมจิตไว้ที่ฌาน และดำรงอยู่ในทุกขณะ อริยาบทในชีวิตประจำวัน
และมี ฌาน อื่น ๆ รึเปล่าคะ ที่ผู้ปฏิบัติสามารถจะ ดำรงอยู่ได้ในทุกอริยาบทในชีวิตประจำวัน
ถ้ามี แล้วการดำรงแต่ละ ฌาณ มีลักษณะเช่นไร มีคุณอย่างไร และมีโทษอย่างไรรึเปล่าคะ
จะบอกว่าโทษก็ไม่เชิงนะคะ เอาเป็นว่า
การดำรง ฌาน แต่ละ ฌาน ในชีวิตประจำวัน เป็นอย่างไร และเหมาะ หรือไม่เหมาะอย่างไร
คือ สงสัยค่ะ เพราะ ฌาน เท่าที่พอจะรู้ ก็น่าจะมีตั้งหลาย ฌาน แต่ทำไมจึงเป็น ฌาน 2

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

ทุกคำกล่าวมักจะมีหลักการ และเหตุผลรอรับทัศนะของตนเสมอ
ประโยคที่ จิ้ง ขีดเส้นใต้ค่ะ...
ชอบค่ะ การมองเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่เป็นสิ่งที่สำคัญเสมอกัน
ช่วยแสดงขยายความทัศนะงาม ๆ ของคุณให้เสี่ยวจิ้งได้ชื่นชมได้รึเปล่าคะ

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

ขอบคุณค่ะ ที่คุณยังใจดีกล่าวชมในความเปิ่นของ เสี่ยวจิ้ง...

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:
:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:



:b48: คำว่า "เปิ่น" คือกระทำ ต่างพวกไป
เหตุไฉน มองไม่เห็น เป็น "เปิ่น" นี่
ทั้งวาจา คารม คมคายดี
อักษรชี้ ให้เห็นจิต เป็นมิตรธรรม

:b48: ถ้อยคำถาม การจับความ ใช่ เปิ่น หรือ
ความชั้นครู เห็นอยู่ คือ ความคมขำ
แยกแยะความ จับประเด็น เด่นชัดนำ
แต่ละคำ ถามด้วยใจ ใฝ่รู้ดี

:b48: น่ายินดี กระบี่ฯ มีเพื่อนแล้ว ( :b29: ขอตู่หน่อยนะคะ :b16: )
จิตดังแก้ว รัตนา พาสู่ศรี
เอรากอน ผู้จิตงาม ใฝ่ธรรมดี
ขอตามอ่าน ในลานกวี ที่ผ่านมา

แนบไฟล์:
1180353947.jpg
1180353947.jpg [ 102.82 KiB | เปิดดู 4989 ครั้ง ]


:b48: ข้าวในนา คราออกรวง มีเมล็ดงาม
มิต้องถาม ก็มองเห็น เช่นปริศนา
ยิ่งเมล็ดงาม รวงยิ่งน้อม ติดคันนา
ดั่งวาจา เอรากอน น้อมถ่อมตน


.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 01:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




001.jpg
001.jpg [ 48.88 KiB | เปิดดู 4929 ครั้ง ]
เอรากอน เขียน:
และสงสัยตรงนี้ค่ะ
แสดงว่า ปกติ คนที่ปฏิบัติสมาธิ / หรือจำเป็นรึเปล่าคะที่ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติเท่านั้น
จึงจะสำรวมจิตไว้ที่ฌาน และดำรงอยู่ในทุกขณะ อริยาบทในชีวิตประจำวัน
และมี ฌาน อื่น ๆ รึเปล่าคะ ที่ผู้ปฏิบัติสามารถจะ ดำรงอยู่ได้ในทุกอริยาบทในชีวิตประจำวัน
ถ้ามี แล้วการดำรงแต่ละ ฌาณ มีลักษณะเช่นไร มีคุณอย่างไร และมีโทษอย่างไรรึเปล่าคะ
จะบอกว่าโทษก็ไม่เชิงนะคะ เอาเป็นว่า
การดำรง ฌาน แต่ละ ฌาน ในชีวิตประจำวัน เป็นอย่างไร และเหมาะ หรือไม่เหมาะอย่างไร
คือ สงสัยค่ะ เพราะ ฌาน เท่าที่พอจะรู้ ก็น่าจะมีตั้งหลาย ฌาน แต่ทำไมจึงเป็น ฌาน 2



:b41: การฝึกฌาน :b42: ท่านฝึกไป :b42: ใช่แค่ได้
แต่ฝึกให้ :b42: ชำนาญ :b42: ฌานวสี
ฝึกเข้าฌาน :b42: ออกฌาน :b42: เปลี่ยนทันที
จิตที่ดี :b42: ฝึกแล้วใช้ :b42: ในทุกวัน

:b41: ไม่ว่านั่ง :b42: ยืนเดิน :b42: เผชิญโลก
สุขหรือโศก :b42: ร้ายดี :b42: จิตมิพรั่น
คุ้มครองจิต :b42: ตั้งมั่น :b42: ไว้อย่างนั้น
กุศลอัน :b42: สงัดกาม :b42: ตามดุจเงา

:b41: เมื่อชำนาญ :b42: ย่อมทรงฌาน :b42: ทรงญาณได้
ฌานไม่หาย :b42: ไปจากใจ :b42: ไม่ร้อนเร่า
สงบเย็น :b42: เป็นตบะ :b42: จิตจะเบา
จะเลือกเอา :b42: ทรงฌานไหน :b42: คงได้แล

:b42: จะทรงหนึ่ง :b42: สองสามสี่ :b42: นี้ย่อมง่าย
เพราะฝึกไว้ :b42: ได้ชำนาญ :b42: ฌานจริงแท้
อริยาบท :b42: อย่างไรนั้น :b42: ที่ผันแปร
ตบะแน่ :b42: ฌานนั้นนั้น :b42: ตั้งมั่นคง

:b41: ฌานจิตนั้น :b42: เป็นกุศล :b42: ดลความสุข
ใช้ดับทุกข์ :b42: โลภโกรธ :b42: โทษความหลง
ฌานมีคุณ :b42: ไร้โทษหรอก :b42: บอกตามตรง
นำจิตทรง :b42: ฌานไว้เถิด :b42: ประเสริฐจริง

:b41: อริยะผล :b42: ต้องมีฌาน :b42: เป็นฐานรับ
ประกอบกับ :b42: กุศลธรรม :b42: นำญาณยิ่ง
จึงวิมุติ :b42: หลุดพ้นตัด :b42: วัฏฏะจริง
เพราะเป็นสิ่ง :b42: ไม่เปลี่ยนสร้าง :b42: ทางโลกแล

:b41: อริยะผล :b42: มีฌานสี่ :b42: นี่ฐานรับ
จะแปรกลับ :b42: เป็นจิตใด :b42: ไม่ได้แน่
ทรงฌานสี่ :b42: อริยะผลนั้น :b42: ไม่ผันแปร
ตบะแน่ :b42: จนดับขันธ์ :b42: ปรินิพพาน

:b41: ที่กล่าวว่า :b42: ทรงฌานสอง :b42: มองว่าเหมาะ
ก็เป็นเพราะ :b42: เปลี่ยนแปลงง่าย :b42: ได้หรอกท่าน
มาปฐมฌาน :b42: มีวิตก :b42: ทำการงาน
โดยเปลี่ยนฌาน :b42: ไปฌานใด :b42: ได้รวดเร็ว

:b41: ไปฌานสาม :b42: ฌานสี่ :b42: นี่ก็คล่อง
ใช้ปกป้อง :b42: ความตรึก :b42: นึกตกเหว
แห่งกามา :b42: พาตน :b42: เป็นคนเลว
ไม่ล้มเหลว :b42: ไม่ก่อเวร :b42: เวียนเกิดตาย

:b41: ในชีวิต :b42: ประจำวัน :b42: ท่านทรงฌาน
ก็ทำงาน :b42: ใดใด :b42: ได้หลากหลาย
ลองฝึกฌาน :b42: ละโลกีย์ :b42: ที่วุ่นวาย
ท่านอาจได้ :b42: โลกุตตระฌาน :b42: นั้นมาครอง


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 30 ต.ค. 2009, 09:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 05:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุกับกระทู้และทุกคำตอบด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบี่ไร้เงา เขียน:
น่ายินดี กระบี่ฯ มีเพื่อนแล้ว ( ขอตู่หน่อยนะคะ )
จิตดังแก้ว รัตนา พาสู่ศรี
เอรากอน ผู้จิตงาม ใฝ่ธรรมดี
ขอตามอ่าน ในลานกวี ที่ผ่านมา


:b3: :b3:
อดที่จะเขิ๋ลลล ไม่ได้ แต่ต้องปั้นหน้าหงบเหงี่ยมเอาไว้

ขอบคุณอีกหลาย ๆ รอบ สำหรับคุณกระบี่ ที่มิไร้เงาอย่างชื่อ และคุณมหาราชันย์

" ความเอื้ออาทร และกำลังใจจากกัลยาณมิตร เป็นเพชรงามอันล้ำค่า สำหรับผู้ปฏิบัติ "
คริ คริ ดูเหมือนเสี่ยวจิ้งจะเป็นนักบริหารชั้นเซียนน่ะค่ะ
ที่...ทำงานไม่เป็นหรอก แต่มอบหมายงานเก่ง :b4: :b4:
พอจะร่วมสนุกกับเสี่ยวจิ้งอีกสัก หนึ่งบทคำกลอนได้รึเปล่าคะ :b12:

:b8: :b8: :b8:

:b16: :b16: :b16:

วรานนท์ เขียน:
:b8: :b8: :b8:

สาธุกับกระทู้และทุกคำตอบด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:


คุณวรานนท์จ๊ะ ขอบคุณที่แวะเข้ามาค่ะ
แต่... แค่เนี๊ย..!
คุณหน่ะ มีเพชรเม็ดงามฝังอยู่ในใจ...
ลูกนก...เช่นไร...เติบใหญ่ก็ต้องบินเช่นนั้น...

:b55: :b55: :b55:

ผู้มีคุณธรรม..มีธรรมอันเป็นคุณอยู่ในใจ เมื่อเติบใหญ่ ต้องทำงาน เช่นนั้น
ตน...มิใช่เจ้าของตน ปฏิบัติธรรม หาใช่ตนพ้นทุกข์แต่เพียงฝ่ายเดียว
ธรรมอันเป็นคุณ คือ การดำรงไว้ซึ่งธรรม และการมอบธรรมอันเป็นคุณต่อสรรพสิ่ง...
สรรพสิ่งย่อมร่มเย็น สรรเสริญในธรรม แล้วธรรมใดจักเสื่อมไปได้...
เช่นไร สายตาพระพุทธรูป จึงมองลงมายังเบื้องล่าง...
และเช่นไร ผู้ที่กราบไหว้บูชา จึงทอดสายตายังเบื้องบน...
เช่นไร...ก็เช่นนั้น...

:b55: :b55: :b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1041.jpg
1041.jpg [ 46.31 KiB | เปิดดู 4894 ครั้ง ]
เอรากอน เขียน:
พอจะร่วมสนุกกับเสี่ยวจิ้งอีกสัก หนึ่งบทคำกลอนได้รึเปล่าคะ


:b41: ขออภัย :b42: ไม่ได้หวัง :b42: นั่งสนุก
แต่มอบสุข :b42: ทางปัญญา :b42: มาให้ท่าน
ผู้มาอ่าน :b42: ท่านได้เกิด :b42: ปัญญาญาณ
จากธรรมทาน :b42: ที่ผมมอบ :b42: ถามตอบไป

:b41: ผมแสดงธรรม :b42: โดยเคารพ :b42: นบบริบท
ตรงอรรถรส :b42: ธรรมนิรุติ :b42: ปฏิภาณให้
แก่บัณฑิต :b42: เพื่อยกธรรม :b42: นำใส่ใจ
กุศลได้ :b42: เกิดในจิต :b42: สนิทธรรม

:b41: แสดงธรรม :b42: เพราะเห็น :b42: เป็นประโยชน์
ตอบตามโจทย์ :b42: ยกสัจจะ :b42: มาอุปถัมภ์
ทรงตบะ :b42: อย่าประมาท :b42: พลาดก่อกรรม
จึงน้อมนำ :b42: จิตเมตตา :b42: มาเพื่อคุณ




ทุกข์อันไม่น่ายินดี
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี

ทุกข์อันไม่น่ารัก
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ารัก

ทุกข์อันเร่าร้อน
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นสุข



เจริญในธรรมครับ

.....................................................
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


บำเพ็ญฌาน ได้ญาณ สมาธิ
มีอิทธิ อภิญญา เป็นกุศล
มีเป็นบาท ไว้สำหรับ ฝึกฝนตน
จนได้ผล เป็นมรรค เป็นนิพพาน

อันความนี้ ศาสดา หาได้กล่าว
เป็นเรื่องราว เป็นความ ทำสับสน
เพียงปัญญา ความว่า รู้จักตน
ก็พาพ้น วัฏฏะ น่าอัศจรรย์

ปัญญาญาณ ในฌาน สมาบัติ
ว่ากำจัด กิเลสกาม ถึงมรรคผล
เป็นคำสอน ของพวกพราหมณ์ มาเจือปน
ให้สับสน หาใช่ สัทธรรม

สมาธิ กิจการ พาหลบทุกข์
หาเจอสุข ตลอดนาน ชั่วกาลไม่
ติดในฌาน สมาบัติ จักเป็นภัย
เหมือนปลาใหญ่ ติดในข้อง ต้องพิษตน

จักดินรน หากทางออก มานอกข้อง
อันหาต้อง พาลพบ พระสบผล
ติดตาข่าย ติดกับดัก เพราะใจตน
พุทธองค์ เรียกว่า กับดักพรหม

มรรคเบื้องสูง สำหรับ อริยะ
ผู้หลุดพ้น วัฏฏะ อย่าสับสน
ธรรมสำหรับ อริยะ ฝึกฝนตน
จนหลุดพ้น ถึงนิพพาน ชาตินี้เอย ... :b8:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 30 ต.ค. 2009, 12:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร