วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 02:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=8



กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 01:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สมาธิ เป็นฌาน ความสงบ
ทรงให้พบ ควาผาสุข อย่าสงสัย
เป็นธรรมเพื่อ อยู่สงบ ในวินัย
ธรรมหาใช่ ขัดเกลา กิเลสมาร


ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุ(บางรูป)นั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ

*** ส่วนคำว่า ภิษุบางรูป นั้นหมายถึง บางรูปที่เข้าใจผิดติดว่าฌานเป็นเครื่องขัดเกลา

พิศให้ดี ตอบสองที่ คนละนัย
อ่านเท่าไร คนละหมาย นะท่านเอ๋ย
ยอมเสียหน้า ไม่เสียธรรม กลับละเลย
ท่าน Supareak เอ๋ย จะเฉลย อย่างไร ให้ถูกความ

:b10: :b10: :b10: :b10: :b6:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 05 พ.ย. 2009, 01:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 01:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง อกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อท่านละ ราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหารเหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ



เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชาและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ


จะย้อนความ ตามที่เรา ได้เคยถาม
อันเป็นความ เกิดประโยชน์ ทุกแห่งหน
หากชาวพุทธ ได้ค้นคว้า จะได้ยล
โสดา ปัตติผล ชาตินี้เอย

อวิชชา มีอะไร เป็นแดนเกิด
ถือกำเนินด ในที่ แห่งหนใหน
อวิชชา มีอะไร เป็นปัจจัย
และสุดท้าย มีอะไร เป็นศัตรู?

อันมัคคา ท่านแบ่ง ไว้เป็นสอง
โปรดคิดตรอง เพื่อจะได้ ไม่หลงใหล
ว่าตัวมรรค เบื้องต่ำ คืออะไร
มรรคเบื้องสูง ท่านมีไว้ ทำไมกัน?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 01:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


การสละอุปธิที่เป็นรากเหง้าแห่งทุกข์

… ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะอันที่เป็นกระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิพ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ เปรียบเหมือนภาชนะมีน้ำดื่มเต็มเปี่ยม ถึงพร้อมด้วยสี ด้วยกลิ่น ด้วยรสแต่ระคนด้วยยาพิษ เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุข เกลียดทุกข์ พึงมาถึงเข้าดูกรสุนักขัตตะ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงดื่มน้ำที่เต็มเปี่ยมภาชนะนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ดื่มแล้วจะเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ ฯ

สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะอันเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่าอุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดูกรสุนักขัตตะ เปรียบเหมือนงูพิษ มีพิษร้ายแรง เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุขเกลียดทุกข์ พึงมาถึงเข้า ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือ หัวแม่มือให้แก่งูพิษ ที่มีพิษร้ายแรงนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ถูกงูกัดแล้ว จะเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ ฯ

สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิพ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ

(พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค สุนักขัตตสูตร)

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 04:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




669669.jpg
669669.jpg [ 16.85 KiB | เปิดดู 3011 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: tongue

Supareak Mulpong เขียน:
สมาธิ เป็นฌาน ความสงบ
ทรงให้พบ ควาผาสุข อย่าสงสัย
เป็นธรรมเพื่อ อยู่สงบ ในวินัย
ธรรมหาใช่ ขัดเกลา กิเลสมาร

(มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สัลเลขสูตร)

ฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม (เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส) เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ (ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม)


ความตอนท้ายสูตร
ดู ก่อนจุนทะ เหตุแห่งสัลเลขธรรม เราได้แสดงแล้วเหตุแห่งจิตตุปบาท เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งภาวะเบื้องสูง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับทุกข์เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้.


กระบี่ไร้เงา เขียน:
ฉ. น หิ อธิมานิกสฺส ภิกฺขุโน ฌานํ สลฺเลโข วา สลฺเลขปฏิปทา วา โหติ

ฌานของภิกษุผู้มีมานะยิ่ง ไม่เป็นสัลเลขธรรมหรือสัลเลขปฏิปทา.

:b48: นำมาอ้าง ทั้งที ดูบาลี ด้วย
ไม่งั้นฉวย ความผิด ติดมิจฉา
พระสูตรนี้ กล่าวภิกษุมี "มานะ"มา
จึงตรัสว่า "บางรูป" เท่านั้นหนา ที่ตรัสลง


:b48: อย่ายก เพียงบางคำ ตัดประโยค
เท่ากับโยก ความจริงไป ให้เป็นหลง
จะยกธรรม ยกอรรถมา ต้องยกตรง
เพื่อดำรง องค์ธรรม พระสัมมาฯ

:b48: มิเช่นนั้น เท่ากับจิต คิดแปลงสาร
ดั่งกับมาร จองผลาญ พระศาสนา
ยกให้ตรง ยกให้ครบ ไตรปิฎกมา
ท่านผู้อ่าน มีปัญญา พิจารณาเอา


:b48: ถ้าจะยก อรรถกถา มาให้อ่าน
อย่าแค่ผ่าน เลือกเฉพาะมา จะพาเขลา
เพราะปัญญา ปุถุชน คน ท่าน เรา
ปัญญาเยาว์ อย่าเทียบเขา พระสุเมรุ

:b8: ขอบคุณท่าน มหาราชันย์ นำพระสูตร
แทนการพูด มาแสดงชัด จัดให้เห็น
เพื่อผู้อ่าน พิจารณาได้ ตรงประเด็น
กระบี่ฯ นั้น จะขอเน้น ที่กล่าวมา


Quote Tipitaka:
[๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ


:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:


:b48: พระอริยะ ท่านละ กิเลสแล้ว
จิตท่านใส ดังแก้ว ไร้ตัณหา
ไม่ต้องขัด ไม่ต้องเกลา กิเลสนานา
จึงอาศัย ฌานนั้นหนา ที่พำนัก


Quote Tipitaka:
[๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ






:b48: ที่กระบี่ฯ ยกของเก่า มาตั้งใหม่
จะได้ไม่ ย้อนกลับไป ให้กังขา
ท่านผู้อ่าน จะได้ พิจารณา
ว่ากระบี่ฯ กล่าวมา ว่าอย่างไร


รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 04:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Love-comment-70.gif
Love-comment-70.gif [ 46.13 KiB | เปิดดู 3004 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: tongue

Supareak Mulpong เขียน:

รูปฌาน อรูปฌาน ก็มีเหตุ
เป็นประเภท ที่เราเรียก ธรรมกุศล
พยายาม มั่นเพียรฝึก สั่งสมจน
อกุศล มิกำเริบ อหังการ

แต่ด้วยตัว ของบุคคล เป็นคนดิบ
เพียงนับหนึ่ง ถึงเลขสิบ อาขยาน
จิตก็คิด อกุศล จนแก่กาล
ปฏิญาณ อย่างไร จึงได้ฌาน

ก็คือศีล ทั้งห้าข้อ ถึงที่สุด
จะได้รุด ถึงความ ตามประสาน
อยู่ในเมือง จะถือศีล ไห้ได้การ
ก็พบพาล สิ่งล่อ ให้ท้อใจ

อย่ากระนั้น ตัวเราจง ตรงเข้าป่า
ขอเทวา ช่วยรักษา ด้วยมั่นหมาย
จะถือศีล บริสุทธิ์ จนวันตาย
เพื่อจะได้ มีไอ้ฌาน อภิญญา

เราจักตั้ง หมายอารมณ์ ไว้เพียงหนึ่ง
จะนึกถึง ได้มิห่าง มิหรรษา
จะวางใจ ไม่ให้ทุกข์ สุขอุรา
ทำจนกว่า จะได้ฌาน อย่างตั้งใจ

พุทธองค์ ท่านบอกว่า มิใช่สุข
เพียงหลบทุกข์ ใช่ความสุข เที่ยงแท้ไม่
ด้วยว่าฌาน ให้สงบ อย่างตั้งใจ
แต่หาได้ ให้ปัญญา ฆ่าอุปทาน


แต่เหตุกลับ ให้มายึด ความสงบ
มิได้จบ อันวงจร น่าสงสาร
กว่าจะฝึก สมาธิ จนได้ฌาน
ก็พบพาน เพียงความสุข เพียงเดี๋ยวเดียว


หากท่านสร้าง ตัวปัญญา เพื่อดับทุกข์
พบความสุข อันถาวร เป็นรากฐาน
เจริญจิต ให้สงบ จนได้ฌาน
จะพบพาล ธรรมชาติ แสนอัศจรรย์

พุทธองค์ ท่านสั่งสอน คนให้คิด
ให้มีจิต รู้ฉันทา รู้สังสาร
ไม่ศึกษา พระธรรม ควรแก่กาล
จะพบพาล ความสุข ได้อย่างไร

คำสอนท่าน ต้องศึกษา เอาให้จบ
ใช่ว่าพบ เพียงบางส่วน ด่วนใจหมาย
ก็เร่งรีบ ปฏิบัติ ให้ถึงปลาย
หารู้ไม่ เดินผิด พิฆาตตน





:b48: ที่กระบี่ฯ ยกของเก่า มาตั้งใหม่
จะได้ไม่ ย้อนกลับไป ให้กังขา
ท่านผู้อ่าน จะได้ พิจารณา
ว่า Supareak กล่าวมา ว่าอย่างไร

:b48: การนำความ จากไตรปิฎก มาอิงอ้าง
โปรดอย่าวาง เฉพาะตน เข้าใจไซร้
เพราะเท่ากับ บิดเบือน ธรรมภูวนัย
ที่กระบี่ฯ กล่าวไว้ ให้พิจารณา

:b48: นำมาอ้าง ทั้งที ดูบาลี ด้วย
ไม่งั้นฉวย ความผิด ติดมิจฉา
พระสูตรนี้ กล่าวภิกษุมี "มานะ"มา
จึงตรัสว่า "บางรูป" เท่านั้นหนา ที่ตรัสลง


:b48: อย่ายก เพียงบางคำ ตัดประโยค
เท่ากับโยก ความจริงไป ให้เป็นหลง
จะยกธรรม ยกอรรถมา ต้องยกตรง
เพื่อดำรง องค์ธรรม พระสัมมาฯ

:b48: มิเช่นนั้น เท่ากับจิต คิดแปลงสาร
ดั่งกับมาร จองผลาญ พระศาสนา
ยกให้ตรง ยกให้ครบ ไตรปิฎกมา
ท่านผู้อ่าน มีปัญญา พิจารณาเอา


:b48: ถ้าจะยก อรรถกถา มาให้อ่าน
อย่าแค่ผ่าน เลือกเฉพาะมา จะพาเขลา

เพราะปัญญา ปุถุชน คน ท่าน เรา
ปัญญาเยาว์ อย่าเทียบเขา พระสุเมรุ




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




6fafdc5965.jpg
6fafdc5965.jpg [ 77.23 KiB | เปิดดู 2994 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: tongue

Supareak Mulpong เขียน:

แต่ด้วยตัว ของบุคคล เป็นคนดิบ
เพียงนับหนึ่ง ถึงเลขสิบ อาขยาน
จิตก็คิด อกุศล จนแก่กาล
ปฏิญาณ อย่างไร จึงได้ฌาน

ก็คือศีล ทั้งห้าข้อ ถึงที่สุด
จะได้รุด ถึงความ ตามประสาน
อยู่ในเมือง จะถือศีล ไห้ได้การ
ก็พบพาล สิ่งล่อ ให้ท้อใจ

อย่ากระนั้น ตัวเราจง ตรงเข้าป่า
ขอเทวา ช่วยรักษา ด้วยมั่นหมาย
จะถือศีล บริสุทธิ์ จนวันตาย
เพื่อจะได้ มีไอ้ฌาน อภิญญา

เราจักตั้ง หมายอารมณ์ ไว้เพียงหนึ่ง
จะนึกถึง ได้มิห่าง มิหรรษา
จะวางใจ ไม่ให้ทุกข์ สุขอุรา
ทำจนกว่า จะได้ฌาน อย่างตั้งใจ

พุทธองค์ ท่านบอกว่า มิใช่สุข
เพียงหลบทุกข์ ใช่ความสุข เที่ยงแท้ไม่
ด้วยว่าฌาน ให้สงบ อย่างตั้งใจ
แต่หาได้ ให้ปัญญา ฆ่าอุปทาน



มหาราชันย์ เขียน:

:b41: สวัสดี :b42: ศุภฤกษ์ :b42: ผู้กล้าหาญ
ผู้คัดค้าน :b42: ธรรมเทศนา :b42: พระพุทธเจ้า
ไม่กลัวบาป :b42: กลัวกรรมยิ่ง :b42: จริงนะเรา
มุ่งแต่เอา :b42: ทิฏฐิตน :b42: ดลผิดทาง

:b41: จนป่านนี้ :b42: ยังไม่ยอม :b42: รับความผิด
เอาความคิด :b42: มิจฉา :b42: มาขัดขวาง
พระธรรมเทศนา :b42: กลับไม่เชื่อ :b42: ว่าถูกทาง
คิดจะสร้าง :b42: กรรมหนัก :b42: สักเท่าใด ?

:b41: ดูพระไตร :b42: ในด้านล่าง :b42: บ้างนะครับ
คุณยอบรับ :b42: ธรรมเทศนา :b42: ดังว่าไหม ?
ผู้สอนสั่ง :b42: ทางผิดนี้ :b42: นี่คือใคร ?
หรือคุณได้ :b42: คิดค้น :b42: ด้วยตนจริง ?

:b41: คุณรู้ผิด :b42: คิดผิด :b42: แล้วละนะ
พระพุทธะ :b42: แสดงธรรม :b42: งามล้ำยิ่ง
พระสัจจะ :b42: เทศนา :b42: เป็นของจริง
ทรงตรัสสิ่ง :b42: ที่เลิศ :b42: ประเสริฐแล



กระบี่ไร้เงา เขียน:

:b48: ถ้าจะยก อรรถกถา มาให้อ่าน
อย่าแค่ผ่าน เลือกเฉพาะมา จะพาเขลา
เพราะปัญญา ปุถุชน คน ท่าน เรา
ปัญญาเยาว์ อย่าเทียบเขา พระสุเมรุ

:b8: ขอบคุณท่าน มหาราชันย์ นำพระสูตร
แทนการพูด มาแสดงชัด จัดให้เห็น
เพื่อผู้อ่าน พิจารณาได้ ตรงประเด็น
กระบี่ฯ นั้น จะขอเน้น ที่กล่าวมา

:b48: พระอริยะ ท่านละ กิเลสแล้ว
จิตท่านใส ดังแก้ว ไร้ตัณหา
ไม่ต้องขัด ไม่ต้องเกลา กิเลสนานา
จึงอาศัย ฌานนั้นหนา ที่พำนัก


s002

:b48: ท่านก็ยัง ดึงดัน ไม่ใส่ใจ
ยังชี้นก ดึงไม้ ให้ประจักษ์
ยิ่งยกมา ยิ่งถลำ จนสำลัก
ยิ่งจมปลัก ที่ตน ดลขุดไว้

:b48: ถ้าเช่นนั้น ต้องขอยืม กลอนของท่าน
กลับมาสอน ให้อ่าน กระจ่างใส
ก่อนที่จะ ดึงดัน กันต่อไป
ท่านคงไม่ คิดกล่าวหา ว่ายืมมา


Supareak Mulpong เขียน:

แต่ด้วยตัว ของบุคคล เป็นคนดิบ
เพียงนับหนึ่ง ถึงเลขสิบ อาขยาน
จิตก็คิด อกุศล จนแก่กาล
ปฏิญาณ อย่างไร จึงได้ฌาน

พุทธองค์ ท่านสั่งสอน คนให้คิด
ให้มีจิต รู้ฉันทา รู้สังสาร
ไม่ศึกษา พระธรรม ควรแก่กาล
จะพบพาล ความสุข ได้อย่างไร

คำสอนท่าน ต้องศึกษา เอาให้จบ
ใช่ว่าพบ เพียงบางส่วน ด่วนใจหมาย
ก็เร่งรีบ ปฏิบัติ ให้ถึงปลาย
หารู้ไม่ เดินผิด พิฆาตตน



:b48: โปรดจงอ่าน พระไตรฯ ข้างล่างนี้
อาจช่วยชี้ ให้ท่าน หายสับสน
แม้ต้องการ รู้พระสูตรไหน ใคร่จะยล
โปรดจงค้น เล่มสิบสี่ นี้ชี้นัย


Quote Tipitaka:
[๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว
จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เข้าทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่

เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

ดูกรพราหมณ์
ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค

ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะ อย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้อยู่นั้น
เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้

ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว
พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบนั้น
ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติ สัมปชัญญะ ฯ


tongue
Supareak Mulpong เขียน:
คำสอนท่าน ต้องศึกษา เอาให้จบ
ใช่ว่าพบ เพียงบางส่วน ด่วนใจหมาย
ก็เร่งรีบ ปฏิบัติ ให้ถึงปลาย
หารู้ไม่ เดินผิด พิฆาตตน



รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


โสดาปัตติมรรค ไม่ใช่ มรรคจิตดวงที่ ๑

โสดาปัตติมรรค คือ ทางเดินหรือการปฏิบัติเพื่อที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล อันได้แก่ การชำระอินทรีย์ การละอุปทาน หรือ การพิจารณา ขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖

มรรคจิตดวงที่ ๑ เกิดเพียงขณะเดียวเมื่อจิตเปลี่ยนภพ ในพระอภิธรรมแสดงส่วนประกอบของมรรคจิต เป็นลักษณะของ properties sheet

โลกุตรอัปปนาวิถี ( มรรควิถี ) = ภ น ท มโน บริ อุป อนุ โคตรภู มรรค ผล ผล ภ



Quote Tipitaka:
ชานสูตร
(พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิตอวุตตก-สุตตนิบาต)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายของภิกษุผู้รู้เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ของภิกษุผู้ไม่รู้ไม่เห็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้อะไร เห็นอะไร อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปเมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่นี้ทุกขสมุทัย อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกขนิโรธอาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป ฯ

ปฐมญาณ (คืออนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์) ย่อมเกิดขึ้นแก่พระเสขะผู้ศึกษาผู้ปฏิบัติตามทางตรง ในเพราะโสดาปัตติมรรคอันเป็นเครื่อง ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึง (คืออัญญินทรีย์) อันยอดเยี่ยม ย่อมเกิดขึ้นในลำดับแต่ปฐมญาณนั้น แต่ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึง คือ อัญญินทรีย์นั้นไป วิมุตติญาณอันสูงสุด ย่อมเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พ้นวิเศษแล้ว ญาณในอริยมรรคอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะและสังโยชน์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นว่า สังโยชน์ทั้งหลายสิ้นไปแล้ว คนพาลผู้เกียจคร้าน ไม่รู้แจ้ง ไม่พึงบรรลุนิพพานอันเป็นที่ปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงนี้ได้เลย ฯ


โสดาปัตติมรรค -> ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป -> อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ -> โสดาปัตติผล -> อัญญินทรีย์ -> อรหันตผล (พระขีณาสพ) -> วิมุตติญาณ -> บรรลุนิพพาน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 05 พ.ย. 2009, 09:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ฉ. น หิ อธิมานิกสฺส ภิกฺขุโน ฌานํ สลฺเลโข วา สลฺเลขปฏิปทา วา โหติ

ฌานของภิกษุผู้มีมานะยิ่ง ไม่เป็นสัลเลขธรรมหรือสัลเลขปฏิปทา.

ข้อความนี้หมายถึง ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ถึงเป็นพระอริยะ ก็ยังมีทิฏฐิมานะ เข้าใจผิดคิดว่า ฌาน เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส :b23:

ที่ยกมา บอกเพียงหัวเรื่อง ให้ไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเอาเอง ถ้าจะตัดลงมันจะเยอะมาก ถึงบอกให้ไปอ่านเอาเอง โดยเฉพาะ มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม เป็นมรรคาปฏิปทา แสดงทั้งโดยย่อ โดยพิศดาร ยกกรณีศึกษา อ่านจบ รับรองไม่มีหลง ลองอ่านสัก ๒-๓ รอบ แล้วลองบูณาการดู

พระอภิธรรม เป็นการบันทึกของพระอรหันต์โดยพระอรหันต์เพื่อพะรอรหันต์ อย่าได้เข้าใจไปเองว่าเข้าใจ อ่านพระสูตรให้แตกฉานก่อน

อ้างคำพูด:
พระอริยะ ท่านละ กิเลสแล้ว
จิตท่านใส ดังแก้ว ไร้ตัณหา
ไม่ต้องขัด ไม่ต้องเกลา กิเลสนานา
จึงอาศัย ฌานนั้นหนา ที่พำนัก

พระอริยะยังมีพระเสขะ กับพระอเสขะ

อ้างคำพูด:
ดูกรพราหมณ์
ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค
ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะ อย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้อยู่นั้น
เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้

พระเสขะ คือ พระโสดาบัน ถึง พระอนาคามี คำสอนส่วนนี้สำหรับอริยบุคคล ที่กิเลสยังไม่หมด

หากแยกคำสอนของพระพุทธองค์ไม่ได้ว่าสอนผู้ใด สอนบุคคลธรรมดา สอนพระเสขะะ หรือสอนพระอรหันต์ ไปเอาคำสอนมาปนกัน ปฏิบัติผดปฏิบัติถูก เป็นการปฏิบัตะธรรมผิดธรรม ผลออกมาไม่มีทางถูก

“ถ้าท่านพลาดโสดาปัตติมรรค คือ ความแน่นอนแห่งสัทธรรมในศาสนานี้ท่านจะต้องเดือดร้อนใจในภายหลังสิ้นกาลนาน” (เสรีววาณิชชาดก)

สิ่งที่เรา เพียรนัก ซ้ำพร่าบอก
อย่าออกนอก หนทาง ที่สร้างสรรค์
อันโสดา ปัตติมัคค นั้นเป็นทาง
ที่เริ่มสร้าง คุณธรรม ให้แก่ตน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จะย้อนความ ตามที่เรา ได้เคยถาม
อันเป็นความ เกิดประโยชน์ ทุกแห่งหน
หากชาวพุทธ ได้ค้นคว้า จะได้ยล
โสดา ปัตติผล ชาตินี้เอย

อวิชชา มีอะไร เป็นแดนเกิด
ถือกำเนินด ในที่ แห่งหนใหน
อวิชชา มีอะไร เป็นปัจจัย
และสุดท้าย มีอะไร เป็นศัตรู?

อันมัคคา ท่านแบ่ง ไว้เป็นสอง
โปรดคิดตรอง เพื่อจะได้ ไม่หลงใหล
ว่าตัวมรรค เบื้องต่ำ คืออะไร
มรรคเบื้องสูง ท่านมีไว้ ทำไมกัน?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
เอวัง ก็หลงทาง ถึงที่สุด
จะดึงฉุด อย่างไร ไม่มีหวัง
อภิธรรม ต่อกันมั่ว พรุงพรัง
ก็เพียงหวัง ว่าท่าน ไม่ตั้งใจ

ทดสอบดู สิ่งที่เกิด ในดวงจิต
มีอะไร มาสะกิด ให้โทโส
มีอะไร มาทำ ร้องให้โฮ
แล้วท่านโต้ สิ่งที่เกิด ได้อย่างไร




คำว่าฌาน นั้นหาใช่ ว่าฌานจิต
เพราะท่านคิด แต่เรื่องฌาน ฌานวสี
คำว่าฌาน แท้จริง ความหมายมี
คือจิตที่ มั่นคง ควรแก่งาน




เจริญมรรคปฏิปทา -> สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม -> บรรลุ ปฐมฌาน

เจริญฌาน อันมิใช่ โลกียะ
เพื่อที่จะ บรรลุฌาน ตามอรรถา
ตัวฌานจิต จึงเป็นผล ใช่เหตุพา
ท่านจงโปรด พิจารณา ให้เข้าใจ




วรตี เจตสิก มันก็เกิด
แต่โปรดเถิด ใช้ปัญญา ลองศึกษา
ในขณะ ที่กำลัง ภาวนา
ท่านจะได้ พูดจา กับใครกัน




วิตก วิจาร ในนิมิตเช่นกสิณ หรือบทพระธรรมเทศนา เป็นวจีสังขาร เรียกว่า สัมมาวาจาครับ


รู้จัก กายสังขาร วิจีสังขาร และจิตตสังขารให้ดีครับคุณศุภฤกษ์



จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
โสดาปัตติมรรค ไม่ใช่ มรรคจิตดวงที่ ๑

โสดาปัตติมรรค คือ ทางเดินหรือการปฏิบัติเพื่อที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล อันได้แก่ การชำระอินทรีย์ การละอุปทาน หรือ การพิจารณา ขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖

มรรคจิตดวงที่ ๑ เกิดเพียงขณะเดียวเมื่อจิตเปลี่ยนภพ ในพระอภิธรรมแสดงส่วนประกอบของมรรคจิต เป็นลักษณะของ properties sheet


โลกุตรอัปปนาวิถี ( มรรควิถี ) = ภ น ท มโน บริ อุป อนุ โคตรภู มรรค ผล ผล ภ




ยังไม่รู้ตัวอีกหรือครับ ว่าแสดงธรรมผิดน่ะครับ หน้ากับหลังของคุณไม่ตรงกันแล้วครับ


จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?



โลกุตรอัปปนาวิถี ( มรรควิถี ) = ภ น ท มโน บริ อุป อนุ โคตรภู มรรค....ใช่โสดาปัตติมัคคจิตหรือไม่ ? ผล......ใช่โสดาปัตติผลจิตหรือไม่ ? ผล ภ

ยกสิ่งอ้างอิงมาสนับสนุนผมก็ได้ ขอบคุณครับ

แล้วคุณแสดงว่า โสดาปัตติมรรค ไม่ใช่ มรรคจิตดวงที่ ๑.. :b35: :b35: :b35:


จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?

จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?

จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 05 พ.ย. 2009, 10:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
โสดาปัตติมรรค -> ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป -> อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ -> โสดาปัตติผล -> อัญญินทรีย์ -> อรหันตผล (พระขีณาสพ) -> วิมุตติญาณ -> บรรลุนิพพาน



Supareak Mulpong เขียน:
โสดาปัตติมรรค ไม่ใช่ มรรคจิตดวงที่ ๑

โสดาปัตติมรรค คือ ทางเดินหรือการปฏิบัติเพื่อที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล อันได้แก่ การชำระอินทรีย์ การละอุปทาน หรือ การพิจารณา ขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖

มรรคจิตดวงที่ ๑ เกิดเพียงขณะเดียวเมื่อจิตเปลี่ยนภพ ในพระอภิธรรมแสดงส่วนประกอบของมรรคจิต เป็นลักษณะของ properties sheet


โลกุตรอัปปนาวิถี ( มรรควิถี ) = ภ น ท มโน บริ อุป อนุ โคตรภู มรรค ผล ผล ภ




สภาวะธรรมต่าง ๆ เกิดภายนอกจิต ไม่เป็นองค์ประกอบของจิตได้ด้วยหรือครับ ??

สุดยอดของความเพี้ยน บิดเบือนคำสอนเอาดังใจนึก

ยังไม่รู้ตัวอีกว่าแสดงธรรมผิด

จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?



[๒๑๕] อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้งนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ มีในสมัยนั้น

อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ถึงซึ่งฐานะ ๑ คือเป็นองค์ธรรมในโสดาปัตตมัคคจิต




[๒๗๔] อัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างเหมือนปัญญา ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง
ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัญญินทรีย์


อัญญินทรีย์ ถึงซึ่งฐานะ ๖ คือเป็นองค์ธรรมในโสดาปัตติผลจิต สกทาคามีมัคคจิต สกทาคามีผลจิต อนาคามีมัคคจิต อนาคามีผลจิต และอรหัตตมัคคจิต




[color=#008000] [๔๗๑]..
อัญญาตาวินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?


ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด ซึ่งธรรมทั้งหลายที่รู้ทั่วถึงแล้วนั้นๆ ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ มีในสมัยนั้น [/color]


อัญญาตาวินทรีย์ ถึงซึ่งฐานะ 1 คือเป็นองค์ธรรมในอรหัตตผลจิต



จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?

จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?

จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
โสดาปัตติมรรค -> ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป -> อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ -> โสดาปัตติผล -> อัญญินทรีย์ -> อรหันตผล (พระขีณาสพ) -> วิมุตติญาณ -> บรรลุนิพพาน



-> ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป.....อยู่ของมันลอย ๆ ภายนอกมัคคจิตได้หรือครับ ??
-> อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์.....อยู่ของมันลอย ๆ ภายนอกมัคคจิตได้หรือครับ ??

สภาวะธรรมต่าง ๆ เกิดภายนอกจิต ไม่เป็นองค์ประกอบของจิตได้ด้วยหรือครับ ??


ยังไม่รู้ตัวอีกว่าแสดงธรรมผิด

จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?







จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?

จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?

จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




258566s5d6px3azb.gif
258566s5d6px3azb.gif [ 69.24 KiB | เปิดดู 2940 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: tongue

Supareak Mulpong เขียน:
พระเสขะ คือ พระโสดาบัน ถึง พระอนาคามี คำสอนส่วนนี้สำหรับอริยบุคคล ที่กิเลสยังไม่หมด


:b48: พระอริยะ ท่านละ กิเลสแล้ว
จิตท่านใส ดังแก้ว ไร้ตัณหา
ไม่ต้องขัด ไม่ต้องเกลา กิเลสนานา
จึงอาศัย ฌานนั้นหนา ที่พำนัก

:b8: ขอบพระคุณ ที่ท่านเอ่ย เรื่องอริยะ
อเสขะ และเสขะ ให้ประจักษ์
ดังกระบี่ฯ ต้องการ ให้ท่านทัก
เพื่อรู้จัก สองคำนี้ ที่ต่างไป


Supareak Mulpong เขียน:
หากแยกคำสอนของพระพุทธองค์ไม่ได้ว่าสอนผู้ใด
สอนบุคคลธรรมดา สอนพระเสขะะ หรือสอนพระอรหันต์
ไปเอาคำสอนมาปนกัน ปฏิบัติผดปฏิบัติถูก
เป็นการปฏิบัตะธรรมผิดธรรม ผลออกมาไม่มีทางถูก


สาธุ......

:b41: ที่ท่านกล่าว มานั้น พลันชอบยิ่ง
เอาความจริง มาแจ้ง แถลงไข
ท่านคิดว่า โสดาบัน เป็นอย่างไร
หรือภูมิที่หนึ่ง นี่ไซร้ ไม่อยู่เรือน

:b41: ท่านสามารถ แยกผู้อ่าน ออกเชียวหรือ
ว่าใครคือ อริยะ หรือ เสมือน
คำพูดท่าน สบประมาท ผู้ครองเรือน
พูดเลอะเลือน แบกหน้า ไม่น่าดู

:b41: ผู้สัทธา เข้ามา ลานธรรมจักร
หมายประจักษ์ ธรรมรส กลับอดสู
ด้วยคำพูด ของคน ชนชั้นครู
แบ่งชั้นให้ ผู้อ่านอยู่ ไม่ควรธรรม

:b41: ผู้ที่มีจิต สัทธา ไตรรัตน์มั่น
ไม่ไหวหวั่น ใคร่ได้ฟัง ทางสู่สัมม์
กลับต้องพบ ธรรมพื้นๆ ให้กระทำ
เร่งสร้างกรรม ดีดีไว้ เท่านั้นพอ

:b41: ความคิดนี้ ไม่แคบไป หน่อยหรือท่าน
ท่านผู้อ่าน ผู้ผ่านมา มากมายหนอ
กินได้มาก รับได้มาก หลากหลายกอ
ปัญญาธรรม แตกหน่อ หรือไม่ดี

:b41: ทรงสอนไว้ ในธรรมรวม ใช่ไหมทั่น(ท่าน)
ใครที่บั่น ลดกิเลส เหตุสิ้นศรี
ย่อมบรรลุ ตามเหตุ – ปัจจัยมี
ใยสกัด ความรู้ที่ แค่ปุถุชน

:b41: ในการแสดง ธรรมทุกครั้ง องค์พุทธะ
ผู้ฟังละ กิเลสได้ ไม่สับสน
ได้มีตา เห็นธัมมา แม้ไม่ทุกคน
แต่ก็มี ปุถุชน ลุโสดาฯ

:b41: เมื่อต้องการ เผยแผ่ธรรม จากพระไตรฯ
เหตุไฉน ไม่นำพุทธ สาสนา (คำสอน)
ที่ตรัสไว้ ทั้งพระสูตร เสนอมา
ใยจึงนำ เอามา แค่ตามใจ


.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




665385gnefc5h9ve.gif
665385gnefc5h9ve.gif [ 101.06 KiB | เปิดดู 2937 ครั้ง ]
Supareak Mulpong เขียน:
พระอภิธรรม เป็นการบันทึกของพระอรหันต์
โดยพระอรหันต์เพื่อพะรอรหันต์ (คงจะหมายถึงพระอรหันต์)
อย่าได้เข้าใจไปเองว่าเข้าใจ
อ่านพระสูตรให้แตกฉานก่อน




:b48: ประโยคเหล่านี้ ท่านกล่าว ได้ถูกต้อง
เป็นทำนอง ถ่องแท้ แก่นิสัย
จะอ้างอิง เนื้อธรรม ตามพระไตรฯ
ต้องยกให้ ตามธรรมที่ บันทึกมา

:b48: อย่าไปตี ความเอง ด้วยเก่งกาจ
อวดฉลาด ตัดสินเอง เกรงบาปหนา
ยกเนื้อธรรม ตามความ ที่ตรัสมา
ท่านผู้อ่าน ใช้ปัญญา พินิจเอง

:b48: อ่านพระสูตร ให้แตกฉาน ก่อนมากล่าว
รู้เรื่องราว กล่าววาจา อย่าข่มเหง
ตะแบงไป ธรรมไม่ใช่ เป็นเนื้อเพลง
ดนตรีบรรเลง มั่วเนื้อเพลง ยังไพเราะ

:b48: เพราะเพลงโลก นั้นต่างกับ เพลงธัมมา
เพลงโลกหนา ร้องอย่างไร ก็เสนาะ
แต่เพลงธรรม เนื้อเพลง นั้นจำเพาะ
จะเสนาะ เฉพาะที่ มีสัทธา

:b48: อันที่จริง กระบี่สัทธา ท่านมาก่อน
ที่คิดสอน ใช้พระไตรฯ ตอบปุจฉา
แต่ท่านกลับ ตีความ ของศาสดา
ตามปัญญา ของท่านนั้น ไม่ควรทำ

:b48: ทั้งเราท่าน ต่างกำลัง ศึกษาอยู่
เพื่อเรียนรู้ สู่ทางใส ในทางสัมม์
แล้วใยใช้ ความแหล่งอื่น มาเปื้อนธรรม
นำมายำ ผสมมั่ว เกลือกกลั้วไป


Supareak Mulpong เขียน:
ที่ยกมา บอกเพียงหัวเรื่อง ให้ไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเอาเอง
ถ้าจะตัดลงมันจะเยอะมาก ถึงบอกให้ไปอ่านเอาเอง

โดยเฉพาะ มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม เป็นมรรคาปฏิปทา
แสดงทั้งโดยย่อ โดยพิศดาร ยกกรณีศึกษา
อ่านจบ รับรองไม่มีหลง
ลองอ่านสัก ๒-๓ รอบ แล้วลองบูณาการดู (คงหมายถึงบูรณาการ)



:b48: กระบี่ฯ เข้าใจ ธรรมที่ท่าน นำมาแสดง
กระจ่างแจ้ง เพราะ บูรณาการ การศึกษา
ใช้ปัญญา ปุถุชน คนธรรมดา
นำคาถา องค์สัมมา สรุปจาร

:b48: แสดงว่า ปัญญาสูง กว่าพุทธะ
สูงส่งกว่า อริยะ เชียวนะท่าน
เอาปัญญา พระภูมี ที่งามตระการ
ผสมผสาน บรูณาการ จารขึ้นมา

เฮ้ออออออ ...กรรม




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron