วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=8



กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 02:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ขอได้โปรด พิจารณา ว่าวิเวก
ว่าเป็นเหตุ บำบัดใจ กิเลสหนา
จนบรรลุ สมาธิ มีวิชชา
ถามท่านว่า อันวิเวก คืออะไร?





Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะอบรม ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เจริญสติสัมโพชฌงค์

อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ
น้อมไปในความสละลง เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
เจริญปิติสัมโพชฌงค์ ...
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...
เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์...

อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ
น้อมไปในความสละลง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่อบรมธรรม
อันใดอันหนึ่ง

อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้อบรมอยู่อย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะอบรม.

[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุว่า ..
อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเห็น อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นได้แล้วเพราะการเห็น
อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะการสังวร อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการสังวร อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการพิจารณาเสพ
อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะความอดกลั้น
อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่านั้นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว เพราะการเว้นรอบ
อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะการบรรเทา อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการบรรเทา

อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการอบรม อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการอบรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้สำรวมด้วยความสังวรในอาสวะทั้งปวงอยู่ ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้ปราศไปแล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะโดยชอบ.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสังวรปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.




:b41: สวัสดี :b42: ศุภฤกษ์ :b42: ผู้กล้าหาญ
ผู้คัดค้าน :b42: ธรรมเทศนา :b42: พระพุทธเจ้า
ไม่กลัวบาป :b42: กลัวกรรมยิ่ง :b42: จริงนะเรา
มุ่งแต่เอา :b42: ทิฏฐิตน :b42: ดลผิดทาง

:b41: จนป่านนี้ :b42: ยังไม่ยอม :b42: รับความผิด
เอาความคิด :b42: มิจฉา :b42: มาขัดขวาง
พระธรรมเทศนา :b42: กลับไม่เชื่อ :b42: ว่าถูกทาง
คิดจะสร้าง :b42: กรรมหนัก :b42: สักเท่าใด ?


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 01 พ.ย. 2009, 02:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 02:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0217.jpg
0217.jpg [ 19.05 KiB | เปิดดู 2569 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: tongue

Supareak Mulpong เขียน:
ขอได้โปรด พิจารณา ว่าวิเวก
ว่าเป็นเหตุ บำบัดใจ กิเลสหนา
จนบรรลุ สมาธิ มีวิชชา

ถามท่านว่า อันวิเวก คืออะไร?

:b48: ขณะรอ ท่าน Supareak ตอบปุจฉา
กระบี่ฯ ขอ พิจารณา คำถามใหม่
ก่อนจะตอบ ว่าวิเวก เหตุบำบัดใจ
คือวิเวก ชนิดใด ให้งุนงง

:b48: เคยอ่านความ ท่านค้าน มาหาราชันย์
ว่าฌานนั้น ของฤาษีไพร ให้ใหลหลง
ไม่สามารถ บรรลุธรรม ซ้ำพางง
อาจพาหลง เข้าพง ผิดทางไป

:b48: จนบรรลุ สมาธิ มีวิชชา

เป็นวาจา ที่ขัดกัน ใช่หรือไม่
และที่ถาม ว่าวิเวก บำบัดใจ
คงหมายถึง ชนิดใด ให้วิสัชนา (ใช่ไหมคะ)

:b48: ถามท่านว่า อันวิเวก คืออะไร?

คงไม่ใช่ ถามความหมาย นั่นหรอกหนา
และจะให้ ตอบเพียงชื่อ วิเวกมา
หรือจะให้ ยกธัมมา ตามพระไตรฯ




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 01 พ.ย. 2009, 03:03, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 03:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
บำเพ็ญฌาน ได้ญาณ สมาธิ
มีอิทธิ อภิญญา เป็นกุศล
มีเป็นบาท ไว้สำหรับ ฝึกฝนตน
จนได้ผล เป็นมรรค เป็นนิพพาน

อันความนี้ ศาสดา หาได้กล่าว
เป็นเรื่องราว เป็นความ ทำสับสน
เพียงปัญญา ความว่า รู้จักตน
ก็พาพ้น วัฏฏะ น่าอัศจรรย์


:b41: สวัสดี :b42: ศุภฤกษ์ :b42: ผู้กล้าหาญ
ผู้คัดค้าน :b42: ธรรมเทศนา :b42: พระพุทธเจ้า
ไม่กลัวบาป :b42: กลัวกรรมยิ่ง :b42: จริงนะเรา
มุ่งแต่เอา :b42: ทิฏฐิตน :b42: ดลผิดทาง

:b41: จนป่านนี้ :b42: ยังไม่ยอม :b42: รับความผิด
เอาความคิด :b42: มิจฉา :b42: มาขัดขวาง
พระธรรมเทศนา :b42: กลับไม่เชื่อ :b42: ว่าถูกทาง
คิดจะสร้าง :b42: กรรมหนัก :b42: สักเท่าใด ?

:b41: ดูพระไตร :b42: ในด้านล่าง :b42: บ้างนะครับ
คุณยอบรับ :b42: ธรรมเทศนา :b42: ดังว่าไหม ?
ผู้สอนสั่ง :b42: ทางผิดนี้ :b42: นี่คือใคร ?
หรือคุณได้ :b42: คิดค้น :b42: ด้วยตนจริง ?

:b41: คุณรู้ผิด :b42: คิดผิด :b42: แล้วละนะ
พระพุทธะ :b42: แสดงธรรม :b42: งามล้ำยิ่ง
พระสัจจะ :b42: เทศนา :b42: เป็นของจริง
ทรงตรัสสิ่ง :b42: ที่เลิศ :b42: ประเสริฐแล





Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเทวดาหรือมนุษย์เหล่าใด สักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นพึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับ ทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงอยู่ ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใส ของญาติและสาโลหิตเหล่านั้น พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีและความยินดีได้ อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำย่ำยี ความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้ อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัวและความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้นเพราะจิตยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนาพึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว เป็นธรรมไม่มีรูปสงบระงับอยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นโสดาบันเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นพระสกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ [และ] เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง พึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นอุปปาติกสัตว์ เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงได้ยินเสียงทั้ง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิเมื่อตายไป เขาถึงเข้าอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง " ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

คำใด ที่เรากล่าวแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันถึงพร้อม มีปาติโมกข์อันถึงพร้อมแล้วอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อยสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้ คำนั้น อันเราอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้กล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 04:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน


ผู้บรรลุรูปฌาน และอรูปฌาน ก็สามารถเจริญวิปัสสนาให้บรรลุมัคค 4 ผล 4 ได้ครับ

เพราะฌานเป็นเจตสิกธรรม เป็นนามกายแห่งจิต และเป็นนามขันธ์

ขณะละเขาไม่ได้ละรูปฌานและ อรูปฌาน หรือละจิตหรอกครับ

จิตยังมีอยู่ ฌานยังมีอยู่

แต่ที่เขาละคือละสังโยชน์ที่ชื่อ รูปราคะ และอรูปราคะที่มีในฌานจิตเหล่านั้นครับ

ละกิเลสที่มีในขันธ์ครับ ไม่ใช่ละขันธ์โดยเป็นการฆ่าตัวตาย


พระธรรมเทศนามีอย่างนี้ครับ




Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต



ฌานสูตร
[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาสนัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะ อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วย
หญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสานัญจาตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพานเธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจาตนฌาน ... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ


ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้างดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย


ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติและฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ


จบสูตรที่ ๕




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 04:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ขอได้โปรด พิจารณา ว่าวิเวก
ว่าเป็นเหตุ บำบัดใจ กิเลสหนา
จนบรรลุ สมาธิ มีวิชชา
ถามท่านว่า อันวิเวก คืออะไร?



สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน

และสวัสดีครับคุณศุภฤกษ์

คน ๆ หนึ่งอาจไม่มีวิเวกเลยก็ได้
มีกายวิเวกอย่างเดียวก็ได้
มีกายวิเวกด้วย จิตตวิเวกด้วยก็ได้
มีทั้งกายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวกด้วยก็ได้ครับ


ความรู้เรื่องวิเวกที่ถูกต้องเป็นอย่างนี้ครับ


เจริญในธรรมครับ





Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส



ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง

[๓๓] คำว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก มีความว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก.


กายวิเวกเป็นไฉน?

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งอยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว เที่ยว อยู่ เปลี่ยนอริยาบถ ประพฤติ รักษาเป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก.


จิตตวิเวกเป็นไฉน?

ภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์

บรรลุทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกและวิจาร

บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ

บรรลุจตุตตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์

บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา

บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา

บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา

บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา

เมื่อภิกษุนั้น เป็นโสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้น

เป็นสกทาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างหยาบ กามราคานุสัย
ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกันกามราคสังโยชน์อย่างหยาบ
เป็นต้นนั้น

เป็นอนาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น

เป็นอรหันตบุคคลมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก.



อุปธิวิเวกเป็นไฉน?

กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ.

อมตะ นิพพาน เรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก.

ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ

จิตตวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง

อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร.



คำว่า ไกลจากวิเวก มีความว่า นรชนนั้นใด เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำอย่างนี้ อันกิเลสมากปิดบังไว้อย่างนี้ หยั่งลงในที่หลงอย่างนี้

นรชนนั้นย่อมอยู่ไกลแม้จากกายวิเวก

ย่อมอยู่ไกลแม้จากจิตตวิเวก

ย่อมอยู่ไกลแม้จากอุปธิวิเวก

คืออยู่ในที่ห่างไกลแสนไกล มิใช่ใกล้
มิใช่ใกล้ชิด มิใช่เคียง มิใช่ใกล้เคียง.

คำว่า อย่างนั้น คือ ผู้หยั่งลงในที่หลง ชนิดนั้น เช่นนั้น ดำรงอยู่ดังนั้น แบบนั้น เหมือนเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เจรจา ว่าความ ตามปิฎก
จะหยิบยก ขยายความ ตามอรรถา
ขอท่านได้ ใช้วินิจ พิจารณา
ใช้ปัญญา ไขข้อข้อง เป็นประเด็น

ธรรมทั้งหลาย อันเพื่อคืน อุปปทิ
เป็นเหตุที่ เกิดสงัด อกุศล
มีสงบ เป็นผล ที่ได้ยล
แล้วตัวผล จะเป็นเหตุ ได้เช่นไร?

จะว่าความ ก็ที่ตาม ท่านมหา
ยกออกมา ชี้แจง แถลงไข
เป็นจริยา อริยะ โดยทั่วไป
คุณอย่างน้อย ที่ท่านได้ คือโสดา

ตามต่อไป เราจะตั้ง เป็นคำถาม
ให้ตอบตาม เพื่อคลาย ความสงสัย
เพื่อประโยชน์ ที่จะเกิด กับทั่วไป
เพื่อจะได้ มาแสดง ธรรมทาน

อวิชชา มีอะไร เป็นแดนเกิด
ถือกำเนินด ในที่ แห่งหนใหน
อวิชชา มีอะไร เป็นปัจจัย
และสุดท้าย มีอะไร เป็นศัตรู?

อันมัคคา ท่านแบ่ง ไว้เป็นสอง
โปรดคิดตรอง เพื่อจะได้ ไม่หลงใหล
ว่าตัวมรรค เบื้องต่ำ คืออะไร
มรรคเบื้องสูง ท่านมีไว้ ทำไมกัน?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: สวัสดี :b42: ศุภฤกษ์ :b42: ผู้หลงผิด
ยังจะคิด :b42: แก้ตัว :b42: มั่วอีกหรือ ?
ตอบคำถาม :b42: ผู้อื่นตั้ง :b42: ว่าดังฤๅ ?
ใครเชื่อถือ :b42: ความรู้ผิด :b42: จิตวกวน

:b41: ตอบประเด็น :b42: ที่ผมถาม :b42: ข้อความก่อน
ตามขั้นตอน :b42: ที่ปุจฉา :b42: อย่าสับสน
หาที่อ้าง :b42: ที่อิง :b42: คำพูดตน
รีบไปค้น :b42: มาตอบผม :b42: เสียก่อนไง

:b41: ที่คุณถาม :b42: เหตุผลอยู่ :b42: ผมรู้ดี
สามารถชี้ :b42: แจกแจง :b42: แถลงไข
คำถามผม :b42: คุณชี้แจง :b42: แสดงไง
คงไม่ใช่ :b42: แต่งกลอนตอบ :b42: ตามชอบใจ

:b41: ผมไม่ฟัง :b42: คำละเมอ :b42: เพ้อเจ้อคุณ
โปรดการุณ :b42: หาพระไตร :b42: อ้างได้ไหม
ผมรอคุณ :b42: มาหลายวัน :b42: นั่นแล้วไง
หรือคุณไม่ :b42: รู้จริงจริง :b42: ยอมรับมา


ตอบคำถามผมและหาที่อ้างอิงมาให้ได้เสียก่อนครับคุณศุภฤกษ์


เจริญในธรรมครับ




มหาราชันย์ เขียน:

สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์


สรุปที่ผมถามคุณศุภฤกษ์ไปมีดังนี้
1.คุณเข้าใจเรื่องฌานว่าฌานคืออะไร ?
2.ฌานที่คุณรู้จักในพระพุทธศาสนามีลักษณะอย่างไร ?
3.ฌานมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
4.สมาธิกับฌานเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ?
5.ฌานเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
6.ที่คุณบอกว่าฌานไม่มีประโยชน์ต่อการบรรลุมัคคผลนั้นคุณเอามาจากตำราไหน หรือใครสอนคุณ ?
7.ยกหลักฐานอ้างอิงมาให้ดูด้วยว่ามาจากพระไตรปิฎกเล่มไหน ข้อความว่าอย่างไร ?

8.ที่คุณบอกว่าพระศาสดาพระสมณะโคดมไม่ได้สอนเรื่องฌาน แต่ฌานเป็นของพราหมณ์นั้นอยู่ไนพระไตรปิฎกเล่มไหน ข้อความว่าอย่างไรบ้าง ?
9.ที่คุณบอกว่าฌานเป็นภัยแก่มัคคผล เป็นตาข่ายดักพรหมนั้นอยู่ไนพระไตรปิฎกเล่มไหน ข้อความว่าอย่างไรบ้าง ?
10.ถ้าคุณไม่ปฏิบัติโดยทำจิตให้เป็นฌาน คุณปฏิบัติอย่างไรเพื่อทำจิตให้บรรลุมรรคผล หลักฐานอ้างอิงอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มไหน ข้อความว่าอย่างไร?





ตอบมา 2 คำตอบยังไม่เห็นตอบคำถามผมเลยนะครับ หลักฐานอ้างอิงใด ๆ ก็ไม่มี มีแต่ความคิดเห็นส่วนตัวของคุณเพียงอย่างเดียว



ถ้าไม่ตอบ หรือตอบไม่ได้ หาหลักฐานมาให้เห็นไม่ได้....
ผมจะได้สรุปต่อไปว่า
1.คุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติผิด
2.ธรรมที่คุณแสดงผิดนี้เป็นการทำลายพระพุทธศาสนาโดยตรง


ผมให้โอกาสคุณตอบคำถามอีกครั้งหนึ่งครับ


เจริญในธรรมครับ



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 12:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ในฐานะ ที่เผอิญ เชิญเป็นแขก
ผมก็แลก ด้วยให้อ่าน เพิ่มศึกษา
บอกเรียนจบ เมื่อใหร่ แล้วจะมา
แก้กังขา ตอบความ ถามข้องใจ

อันคำถาม ที่ตัวท่าน ยกมากอง
เพราะมิต้อง พระสุตตะ จึงปราศัย
ถ้าเรียนจบ ไม่ว่าใคร หรือผู้ใด
ก็จะไม่ มีคำถาม เหล่านี้เลย

PS: เล่นตัวได้เต็มที่ในฐานะแขกรับเชิญ :b12:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0e89a8176a392d5486adb298c5d30d88.jpg
0e89a8176a392d5486adb298c5d30d88.jpg [ 128.27 KiB | เปิดดู 2522 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: tongue

Supareak Mulpong เขียน:
เจรจา ว่าความ ตามปิฎก
จะหยิบยก ขยายความ ตามอรรถา
ขอท่านได้ ใช้วินิจ พิจารณา
ใช้ปัญญา ไขข้อข้อง เป็นประเด็น

ธรรมทั้งหลาย อันเพื่อคืน อุปปทิ
เป็นเหตุที่ เกิดสงัด อกุศล
มีสงบ เป็นผล ที่ได้ยล
แล้วตัวผล จะเป็นเหตุ ได้เช่นไร?

จะว่าความ ก็ที่ตาม ท่านมหา
ยกออกมา ชี้แจง แถลงไข
เป็นจริยา อริยะ โดยทั่วไป
คุณอย่างน้อย ที่ท่านได้ คือโสดา

จะว่าความ ก็ที่ตาม ท่านมหา
ยกออกมา ชี้แจง แถลงไข
เป็นจริยา อริยะ โดยทั่วไป
คุณอย่างน้อย ที่ท่านได้ คือโสดา


:b8: สาธุธรรม ตามความ ท่านกล่าวมา
กระบี่ฯ น้อมโมทนา ที่กล่าวนั่น
แม้มิได้ ตามปุจฉา เนื้อความกัน
แต่นัยที่ เห็นนั้น
ย่อมชัดเจน

:b48: แต่เห็นกลอน ที่ท่านจาร อักษรา
ยอมรับมา ว่าฌาน ที่ท่านเห็น
ว่าเป็นพจน์ ศาสดา ตรงประเด็น
แต่ท่านเห็น ฌานเป็นผล จึงค้านมา

:b48: แต่ความที่ สำคัญ ใคร่อยากรู้
มือชั้นครู ถามไป ใคร่ศึกษา
ความเข้าใจ ของคำ ผู้ค้านมา
เพื่อสร้างความ สัทธา สาธุชน

:b48: มิให้เข้าใจผิด ดั่งท่านกล่าว
ตามเรื่องราว ที่สอนกัน พลันสับสน
ท่านควรอ้าง อรรถธรรม มาให้ยล
ประกอบผล ที่ท่าน กล่าวออกมา

:b48: โปรดอย่าใช้ ความคิด ของตนเอง
เป็นเลบง แล้วสอนไป ในตัณหา
เพื่อให้พ้น ว่า
ตู่คำ พระศาสดา
ท่าน Supareak โปรดนำมา แสดงกัน

:b48: เพื่อช่วยกัน เผยแผ่ พุทธพจน์
ที่กำหนด ในพระไตรฯ ให้สุขสันต์
นำมาเถิดท่าน นำมาแสดง ให้เห็นกัน
กระบี่ฯ ให้กำลังใจทั่น (ท่าน) นำมาแสดง

:b48: แต่ถ้าจะ นำมากล่าว เพื่อเล่นคำ
ท่านยิ่งถลำ เข้าเนื้อไป ให้แสยง
หรีอท่านไม่ สามารถนำมา เพื่อแสดง
ดั่งจะแกล้ง ให้ศาสนา พาล่มไป

รูปภาพ :b41: :b41: :b41: :b41: จะรออ่านค่ะ


Quote Tipitaka:

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต
ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา

พระสูตรต่างๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้ง เป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม
เมื่อพระสูตรเหล่านั้นอันบุคคลแสดงอยู่ ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้
จักไม่ใฝ่ใจในธรรม เหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน


แต่ว่าสูตรต่างๆ ที่นักกวีแต่งไว้ ประพันธ์เป็นบทกวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย
เป็นพาหิรกถา เป็นสาวกภาษิต

เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่ ก็จักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักตั้งจิตเพื่อรู้
จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน


เพราะเหตุดังนี้แล
การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ในฐานะ ที่เผอิญ เชิญเป็นแขก
ผมก็แลก ด้วยให้อ่าน เพิ่มศึกษา
บอกเรียนจบ เมื่อใหร่ แล้วจะมา
แก้กังขา ตอบความ ถามข้องใจ

อันคำถาม ที่ตัวท่าน ยกมากอง
เพราะมิต้อง พระสุตตะ จึงปราศัย
ถ้าเรียนจบ ไม่ว่าใคร หรือผู้ใด
ก็จะไม่ มีคำถาม เหล่านี้เลย

PS: เล่นตัวได้เต็มที่ในฐานะแขกรับเชิญ


:b35: :b35: เล่นตัวบนความอัปยศของตัวเองนะมันน่าอายครับคุณศุภฤกษ์


ผมไม่ได้สงสัยในพระธรรมเทศนาตามพระไตรปิฎกหรอกครับ

แต่สงสัยที่คุณบอกใคร ๆ ว่าฌานไม่ใช่การสอนของพระพุทธเจ้า
ถ้าฌานไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า อยู่ตรงส่วนไหนของพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกที่ผมอ่าน ได้แก่ฉบับของกรมการศาสนา มี 45 เล่ม ฉบับส.ธรรมภักดี 100 เล่ม
ฉบับของมหามกุฎราชวิทยาลัย 91 เล่ม และของฉบับ มจร. 45 เล่ม
ผมไม่ได้อ่านแค่เที่ยวเดียวครับ แต่อ่านจบทุกเล่มหลายเที่ยวครับ เปรียบเทียบความรู้จากแต่ละฉบับและไม่ได้อ่านอย่างเดียว ผมปฏิบัติตามพระไตรปิฎกด้วยครับ


ที่ผมอ่านไม่มีข้อความที่ว่า ฌานไม่ใช่คำสอนของพระสมณะโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ศาสดา พระศาสดาไม่สอนฌานแม้แต่ข้อความเดียว

แต่คุณยืนยันว่ามีในพระไตรปิฎก กล่าวว่าผมปฏิบัติผิดทางเป็นคำสอนของพวกโยคีฤาษี

เป็นการแสดงธรรมที่ผิด


ผมจึงถามที่อ้างอิงของคุณว่าอยู่ตรงไหน ให้คุณหามาแสดง
ผมให้คุณยกมาอ้างอิง
คุณกลับบอกให้ผมไปอ่านให้จบ
แสดงถึงการไม่รับผิดชอบต่อคำพูดของตนเอง




เมื่อคุณเล่นลิ้นหามาแสดงไม่ได้

ผมก็สรุปอย่างเมตตาต่อคุณได้ว่า คุณรู้มาผิด เรียนมาผิด ปฏิบัติผิด คุณคัดค้านคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คุณแสดงธรรมผิดมาตลอดเวลาครับ

เพราะผมอ่านผ่านตามาทุกเล่มทุกหน้า จึงกล้ารับรองยืนยันได้ว่าคุณรู้มาผิด แสดงธรรมผิดครับ
และสมัยนี้มีระบบค้นหาทางอินเตอร์เน็ตจากพระไตรปิฎก ยิ่งง่ายต่อการตรวจสอบครับ ว่าใครพูดจริงพูดเท็จ ใครรู้ผิดใครรู้ถูก

คุณศุภฤกษ์เริ่มศึกษาสิ่งที่ถูกต้องเสียใหม่เถิดครับ อย่าทำลายพระพุทธศาสนาอีกต่อไปเลย

ด้วยความปราถนาดีครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0237.jpg
0237.jpg [ 23.24 KiB | เปิดดู 2509 ครั้ง ]
:b41: :b46: :b41: :b46: :b41: :b46: :b46: :b41: :b46: :b46: :b41: :b46: :b46: :b41: :b46: :b46: :b46: tongue

Supareak Mulpong เขียน:
อันคำถาม ที่ตัวท่าน ยกมากอง
เพราะมิต้อง พระสุตตะ จึงปราศัย
ถ้าเรียนจบ ไม่ว่าใคร หรือผู้ใด
ก็จะไม่ มีคำถาม เหล่านี้เลย

PS: เล่นตัวได้เต็มที่ในฐานะแขกรับเชิญ

:b48: คำถามที่ ท่ีานมหาราชันย์ถาม
ใช่เป็นความ ที่ท่าน ต้องถามหา
เป็นคำถาม ที่ถามคุณ Supareak มา
เพราะเกี่ยวข้อง ข้อกล่าวหา พาขยายความ

:b48: เพราะท่านกล่าว โจมตีธรรม ท่านมหาฯ
ว่ามิใช่ ธรรมศาสดา จึ่งยกถาม
เพื่อให้ท่าน ได้กล่าวแก้ ระบิลความ
ตามคำถาม พร้อมหลักฐาน ได้อ้างมา

:b48: แต่ท่านกลับ ให้ไปอ่าน ไตรปิฎกฯ
ทั้งที่เขา นั้นยก ตอบปุจฉา
มันต่างกัน กับ Supareak ที่กล่าวมา
ล้วนวาจา กล่าวหา ไม่แก้ไป

:b48: แล้วออกไป ข้างข้างคู ใช่ประตูไม่
ดูอย่างไร เห็นคำตอบ ชอบลื่นไถล
น่าเสียดาย กล่าวไม่ชัด
ขัดพระไตรฯ
กระบี่ฯ เข้าใจ คำข้างคู
ตู่พุทธพจน์


รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรมครับทุกท่าน

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา ท่านบอกว่า เรียนมามาก
จึงใคร่อยาก จะสอบถาม หายสงสัย
ท่องพุทโธ ความเป็นมา มีอย่างไร
โปรดท่านได้ ชี้แจง แถลงการณ์

...

สมาธิ เป็นฌาน ความสงบ
ทรงให้พบ ควาผาสุข อย่าสงสัย
เป็นธรรมเพื่อ อยู่สงบ ในวินัย
ธรรมหาใช่ ขัดเกลา กิเลสมาร

(มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สัลเลขสูตร)
ฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม (เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส) เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ (ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม)

ความตอนท้ายสูตร
ดูก่อนจุนทะ เหตุแห่งสัลเลขธรรม เราได้แสดงแล้วเหตุแห่งจิตตุปบาท เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งภาวะเบื้องสูง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับทุกข์เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้.


อณึ่ง พิจารณา ถึงวิเวก
อันเป็นเหตุ ของฌาน ควรศึกษา
ร้อยเรียง เป็นอรรถ เป็นตำรา
พิจารณา ให้ตรง ทรงข้อความ

(มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ มหามาลุงโกฺยวาทสูตร รูปฌาน ๔)
ดูกรอานนท์ มัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ ...


อุปธิ = ความยึดมั่นและการปรุงแต่งทั้งปวง
วิเวก = ไม่มี สงบ สิ้นไป

อุปธิวิเวก ทำให้ ละกุศลธรรมได้
เพราะละกุศลธรรมได้ ทำให้ บรรลุปฐมฌาน
บรรลุปฐมฌาน ทำให้ มีปีติและสุข


... :b38:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 02 พ.ย. 2009, 16:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุยกันภาษาธรรมดาก้ยากอยู่แล้วนะ คุยกันไม่ค่อยรู้เรื่องอยู่แล้ว
ยังต้องไปเข้ารหัสให้มันยากเข้าไปอีก

บ่นเฉยๆนะ
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
คุยกันภาษาธรรมดาก้ยากอยู่แล้วนะ คุยกันไม่ค่อยรู้เรื่องอยู่แล้ว
ยังต้องไปเข้ารหัสให้มันยากเข้าไปอีก

บ่นเฉยๆนะ



:b41: สวัสดีครับ :b42: ชาติสยาม :b42: นามเสนาะ
ความไพเราะ :b42: แห่งภาษา :b42: น่ารู้ยิ่ง
นิรุติ :b42: ปฏิภาณ :b42: ท่านฝึกจริง
ย่อมเป็นสิ่ง :b42: เอื้อประโยชน์ :b42: โปรดทางธรรม

:b41: ย่อมมีบ้าง :b42: บางคติ :b42: สู่วิมุติ
ฟังนิรุติ :b42: วิสัชฌนา :b42: มาอุปถัมภ์
รู้ธรรมรส :b42: บทเทศนา :b42: แห่งพระธรรม
น้อมจิตนำ :b42: สู่มัคคผล :b42: พ้นโลกีย์

:b41: เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร