วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 11:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=8



กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: สวัสดี :b42: ศุภฤกษ์ :b42: ผู้พากเพียร
มาร่วมเรียน :b42: สนทนา :b42: ศึกษาไว้
กล่าวอย่างนี้ :b42: ค่อยน่าชื่น :b42: รื่นรมย์ใจ
ข้อสงสัย :b42: ผมยินดี :b42: นำชี้แจง

:b41: คุณเข้าใจ :b42: ว่าฌานหรือ :b42: คือผลจิต
เชื่อมาผิด :b42: อย่างไร :b42: ได้แถลง
ฌานเป็นเหตุ :b42: ฌานเป็นผล :b42: ดลแสดง
เป็นฌานแห่ง :b42: โลกุตตระ :b42: โลกียะนัย

:b42: ฌานนั้นเป็น :b42: เจตสิกธรรม :b42: นำเจือจิต
แนบสนิท :b42: เนื้อเดียว :b42: หลอมเกี่ยวไว้
เป็นขันธ์สาม :b42: ตามสัญญา :b42: เวทนาใน
สังขารได้ :b42: ปรุงแต่ง :b42: แห่งนามกาย

:b41: ฌานนั้นแบ่ง :b42: มากมาย :b42: มีหลายอย่าง
เป็นรูปบ้าง :b42: อรูปบ้าง :b42: อย่างหลากหลาย
มีนิมิต :b42: ไร้นิมิต :b42: ในจิตนาย
อธิบาย :b42: ได้อย่างนี้ :b42: นี่คือฌาน








:b41: " ความรู้เรื่องสมาธิ "


สมาธินั้นมี 2 อย่าง

1.มิจฉาสมาธิ คือสภาวะของจิตปุถุชน ที่ยังพัวพันอยู่ในกามหรือยังประกอบอยู่ด้วยอกุศลธรรม
2.สัมมาสมาธิ คือสภาวะที่จิตนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย



1.มิจฉาสมาธิ ไม่ได้หมายถึงสมาธิที่ไม่ดีเสมอไป เป็นสมาธิที่ดีก็มีเช่นสมาธิในการเขียนหนังสือตัวบรรจง สมาธิในการเหนี่ยวไกปืน
สมาธิในการขับรถ สมาธิในการทำงานของปุถุชน สมาธิในการร้องเพลง สมาธิในการอ่านหนังสือ

สมาธิเหล่านี้เป็นสมาธิที่ดีของปุถุชน มีประโยชน์ต่อปุถุชน แต่จิตนั้นยังประกอบด้วยกามยังประกอบด้วยอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ จึงจัดเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์




2.สัมมาสมาธิ คือสภาวะที่จิตนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้แก่ฌานสมาบัติ 8 และมัคค 4 ผล 4

สัมมาสมาธินั้นมี 2 อย่าง


2.1.สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ เรียกว่ากุศล
สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ ก็แบ่งเป็น 2 อย่าง

2.1.1.สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุที่เป็นโลกียะ
ได้แก่รูปาวจรกุศลจิต ในจตุถฌาน หรือปัญจมฌาน
และอรูปาวจรกุศลจิต ในอรูปฌาน 4
แม้รูปฌาน และอรูปฌานจะได้ชื่อว่าโลกียะก็จริงอยู่ แต่คุณสมบัติของจิตเหล่านั้นเป็นจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย


2.1.2.สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุที่เป็นโลกุตตระ
ได้แก่ โสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และอรหัตตมัคค
อริยมัคคทั้ง 4 นี้ เป็นสภาวะธรรมที่จิตประกอบด้วยองค์ฌานเดียวกันแต่ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสต่างกัน

โสดาปัตติมัคค ประกอบด้วยปฐมฌานและปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส

สกทาคามีมัคค ประกอบด้วยปฐมฌานและปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส และความสามารถในการ ทำกามราคะและพยาบาทให้บางเบา

อนาคามีมัคค ประกอบด้วยปฐมฌานและปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส กามราคะและ ปฏิฆะ ได้หมดสิ้น

อรหัตตมัคค ประกอบด้วยปฐมฌานและปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้หมดสิ้น

สัมมาสมาธิในมรรคมีองค์ 8 ในฌาน 1 - 4 คือสัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ และเป็นโลกุตตระฌาน โลกุตตระกุศล


การบรรลุธรรมโดยไม่เอาฌาน ไม่เอาเหตุ ไม่ทำจิตให้สงัดจากกาม จิตไม่สงัดจากอกุศลธรรม ไม่ปฏิบัติไปตามแนวทางแห่งมรรคมีองค์ 8 ให้ครบถ้วน แล้วกล่าวว่าตนบรรลุธรรมย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะองค์ธรรมคือปัญญาต้องเกิดร่วมเกิดพร้อมกับสัมมาสมาธิคือฌานเท่านั้น

ปัญญาวิมุติก็ต้องมีฌานเป็นบาทฐาน




2.2.สัมมาสมาธิที่เป็นผล เรียกว่ากุศลวิบาก
สัมมาสมาธิที่เป็นผล ก็แบ่งเป็น 2 อย่าง


2.2.1.สัมมาสมาธิที่เป็นผลที่เป็นโลกียะ
ได้แก่ผลจากการบรรลุจตุตตถฌาน หรือปัญจมฌาน ในรูปฌาน เรียกว่า รูปาวจรกุศลวิบาก
และผลจากการบรรลุอรูปฌาน 4 เรียกว่า อรูปาวจรกุศลวิบาก



2.2.2.สัมมาสมาธิที่เป็นผลที่เป็นโลกุตตระ

ได้แก่ โสดาปัตติผล สกทาคามีผล อนาคามีผล และอรหัตตผล
อริยผลทั้ง 4 นี้ เป็นสภาวะธรรมที่จิตประกอบด้วยองค์ฌาน ต่างกันแต่ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เหมือนกัน

โสดาปัตติผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาสได้เหมือนกัน

สกทาคามีผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาสและความสามารถในการ ทำกามราคะและพยาบาทให้บางเบาได้เหมือนกัน

อนาคามีผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส กามราคะและ ปฏิฆะ ได้หมดสิ้นได้เหมือนกัน

อรหัตตผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้หมดสิ้นได้เหมือนกัน




คนที่บรรลุธรรมก็คือคนที่จิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ
จิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ ก็เรียกว่าจิตนั้นเป็นสัมมาสมาธิและเป็นฌานตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป

การเจริญวิปัสสนาให้ได้ปัญญาญาณต่าง ๆ จึงต้องใช้วิธี
สร้างจิตเหตุที่ประกอบด้วยสัมมาสมาธิคือฌานที่เป็นเหตุหรือเป็นบาท
เพราะปัญญาญาณย่อมเกิดในจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น
ถ้าไม่เป็นฌานไม่เป็นสัมมาสมาธิญาณปัญญาทางธรรมย่อมไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้.



มีหลาย ๆ คนที่ปฏิบัติธรรมผิดแนวทางสืบ ๆ กันมา โดยไม่ได้เรียนปริยัติควบคู่กันไปด้วย

1.เชื่อผิดเข้าใจผิดคิดว่าสมาธิไม่ใช่ฌานบ้าง ฌานไม่ใช่สมาธิบ้าง
ฌานเป็นผลบ้าง...คุณศุภฤกษ์ก็เชื่อว่าฌานคือผลอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ความจริงสมาธิคือชื่อเรียก รวม ๆ ของฌาน ฌานเป็นความละเอียดอ่อนที่แตกต่างกันของสมาธิ
เหมือนกับคำว่า ป.1 ป.2 เป็นชื่อของความต่างของเด็ก นักเรียนเป็นชื่อรวมของเด็กที่ได้รับการศึกษา

2.เชื่อผิดเข้าใจผิดคิดว่าสมาธิ ไม่ใช่คุณภาพจิตที่เปลี่ยนแปลงไป ตามหลักไตรลักษณ์
แต่เข้าผิดคิดว่าสมาธิ คือสภาวะธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องมีการเข้าการออก

ความจริงคือ สมาธิคือคุณภาพจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นจิตที่เป็นกุศลหรือกุศลวิบาก

การออกจากสมาธิ ก็คือการเปลี่ยนคุณภาพจิตที่เป็นกุศลให้กลับมาสู่จิตที่เลว คือพัวพันในกามหรือพัวพันในอกุศลธรรม ซึ่งสอนขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้า
จงละบาปอกุศลทั้งปวง
จงยังกุศลให้ถึงพร้อม
จงทำจิตใจให้ผ่องแผ้วจากกิเลส

เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ได้ฌานแล้ว จิตเป็นฌานกุศลและฌานกุศลวิบากแล้วต้องรักษาเอาอย่าให้เสื่อมเพราะกุศลจิตนั้นเป็นสมบัติอันล้ำค่าที่จะต้องรักษาเอาไว้

3.ต้องการบรรลุธรรมโดยไม่ปฏิบัตติไปในแนวทางแห่งมรรคมีองค์ 8
เช่น ไม่เอาฌานในสัมมาสมาธิ ไม่ทำจิตให้ตั้งในกุศล ไม่ทำจิตให้สงัดจากกาม และอกุศลธรรม
แต่คิดค้นวิธีปฏิบัติธรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาตามความเชื่อความเห็นของตน ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า


ปฏิบัติไปด้วยศึกษาพระไตรปิฎกไปด้วยควบคู่กันไปก็ไม่เสียเวลามามายอะไรหรอกครับ
แล้วท่านจะได้รู้จักเหตุที่ถูกต้อง และผลที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างไร


เจริญในธรรมครับ.


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 02 พ.ย. 2009, 20:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
สมาธิ เป็นฌาน ความสงบ
ทรงให้พบ ควาผาสุข อย่าสงสัย
เป็นธรรมเพื่อ อยู่สงบ ในวินัย
ธรรมหาใช่ ขัดเกลา กิเลสมาร




มหาราชันย์ เขียน:
ผมอบรมจิตด้วยคาถาธรรมบทบ่อย ๆ
และปฏิบัติตามคาถาธรรมบทนั้น ๆ
สำรวมจิตใจไว้ที่ฌาน 2 ได้นาน
เป็นฌานที่ไม่มีนิมิตนะครับ มีธรรมบทเป็นอารมณ์ ก็จะมีปีติสุขตั้งอยู่ในทุกขณะ
เมื่อมีอะไรมากระทบจับแล้วก็วางไปครับ...
ทำงานก็ตาม หรืออริยาบทในชีวิตประจำวันก็ตาม ทรงฌาน 2 บ่อย ๆ ก็มีปีติสุขครับ



สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์

ผมยก 2 คำกล่าวมาเปรียบเทียบให้คุณเห็น ว่าคูณรู้ผิดเข้าใจผิดอย่างไร คุณอ่านไม่รอบคอบอย่างไร ?

ผมเน้นย้ำไปแล้วว่า..
เป็นฌานที่ไม่มีนิมิตนะครับ มีธรรมบทเป็นอารมณ์ ก็จะมีปีติสุขตั้งอยู่ในทุกขณะ


ซึ่งฌานที่ผมเจริญแล้วบอกแก่คุณเอรากอนนี้ เป็นลักขณูปณฺชฌาน ไม่ใช่อารัมณูปณิชฌานหรือ รูปฌาน อรูปฌานแต่อย่างใด เป็นความเบาปัญญาตีความผิดของคุณ เพื่อสบประมาทความรู้ความสามารถของผู้อื่น
คุณรู้จักแต่เพียงว่าฌานนั้นมีแต่รูปฌาน และอรูปฌานเท่านั้น


แต่ฌานที่ผมกล่าวหมายถึงฌานอย่างนี้ครับ


ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ
ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน...จากสมาธิ 3 อย่างข้างบนครับ



นอกจากนี้นะครับคุณศุภฤกษ์


ฌานสมาบัติ 8 ผมก็สามารถเจริญได้ด้วยครับ
ผมรู้จักทั้งอารัมณูปณิชฌาน และลักขณูปณิชฌานครับคุณศุภฤกษ์



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
(มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สัลเลขสูตร)
ฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม (เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส) เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ (ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม)


รูปาวจรกูศล 5 เป็นเหตุ รูปาวจรกุศลวิบาก 5 เป็นผล....ข้อนี้ย่อมไม่ใช่อริยมัคค 4 จริง

อรูปาวจรกูศล 4 เป็นเหตุ รูปาวจรกุศลวิบาก 4 เป็นผล....ข้อนี้ย่อมไม่ใช่อริยมัคค 4 จริง


เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหารแก่ภิกษุจริง เพราะเป็นโลกียะฌาน

แต่ที่ผมกล่าวถึงฌานนั้นคือ ลักขณูปณิชฌาน ซึ่งได้แก่ วิปัสสนาจิต อริยะมัคคจิต และอริยะผลจิต

ผมเจริญลักขณูปณิชฌานในชีวิตประจำวันครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อณึ่ง พิจารณา ถึงวิเวก
อันเป็นเหตุ ของฌาน ควรศึกษา
ร้อยเรียง เป็นอรรถ เป็นตำรา
พิจารณา ให้ตรง ทรงข้อความ



ข้อนี้ก็เป็นความเบาปัญญาของคุณศุภฤกษ์ครับ

คุณต้องรู้จักขันธ์เหตุหรือจิตเหตุ และขันธ์ผลหรือจิตผลเสียก่อนครับคุณศุภฤกษ์

วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในจิต วิเวกธรรมเกิดขึ้นมาลอย ๆ โดยไม่มีจิตเป็นไปไม่ได้ครับ

วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในจิตที่เป็นกุศลก่อน จึงจะเป็นเหตุให้ได้กุศลวิบากจิตที่เป็นผลขึ้นมาได้



วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในปฐมฌานรูปาวจรกุศลจิตก่อน จึงจะเป็นเหตุของปฐมฌานรูปาวจรกุศลวิบากจิตที่เป็นผลได้
วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในทุติยฌานรูปาวจรกุศลจิตก่อน จึงจะเป็นเหตุของทุติยฌานรูปาวจรกุศลวิบากจิตที่เป็นผลได้
วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในตติยฌานรูปาวจรกุศลจิตก่อน จึงจะเป็นเหตุของตติยฌานรูปาวจรกุศลวิบากจิตที่เป็นผลได้
วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในจตุตถฌานรูปาวจรกุศลจิตก่อน จึงจะเป็นเหตุของจตุตถฌานรูปาวจรกุศลวิบากจิตที่เป็นผลได้



วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในอากาสานัญจายตนอรูปาวจรกุศลจิตก่อน จึงจะเป็นเหตุของอากาสานัญจายตนอรูปาวจรกุศลวิบากจิตที่เป็นผลได้

วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในวิญญานัญจายตนอรูปาวจรกุศลจิตก่อน จึงจะเป็นเหตุของวิญญานัญจายตนอรูปาวจรกุศลวิบากจิตที่เป็นผลได้

วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในอากิญจัญญายตนอรูปาวจรกุศลจิตก่อน จึงจะเป็นเหตุของอากิญจัญญายตนอรูปาวจรกุศลวิบากจิตที่เป็นผลได้

วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนอรูปาวจรกุศลจิตก่อน จึงจะเป็นเหตุของเนวสัญญานาสัญญายตนอรูปาวจรกุศลวิบากจิตที่เป็นผลได้




วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในโลกุตตระกุศลจิตก่อน จึงจะเป็นเหตุของโลกุตตระกุศลวิบากจิตที่เป็นผลได้

วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในโสดาปัตติมัคคโลกุตตระกุศลจิตก่อน จึงจะเป็นเหตุของโสดาปัตติผลโลกุตตระกุศลวิบากจิตที่เป็นผลได้

วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในสกทาคามีมัคคโลกุตตระกุศลจิตก่อน จึงจะเป็นเหตุของสกทาคามีผลโลกุตตระกุศลวิบากจิตที่เป็นผลได้

วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในอนาคามีมัคคโลกุตตระกุศลจิตก่อน จึงจะเป็นเหตุของอนาคามีผลโลกุตตระกุศลวิบากจิตที่เป็นผลได้

วิเวกธรรมเป็นเจตสิกธรรมที่เจืออยู่ในอรหัตตมัคคโลกุตตระกุศลจิตก่อน จึงจะเป็นเหตุของอรหัตตผลโลกุตตระกุศลวิบากจิตที่เป็นผลได้




หวังว่าคงพอเข้าใจเรื่องวิเวกนะครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
สมาธิ เป็นฌาน ความสงบ
ทรงให้พบ ควาผาสุข อย่าสงสัย
เป็นธรรมเพื่อ อยู่สงบ ในวินัย
ธรรมหาใช่ ขัดเกลา กิเลสมาร

(มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สัลเลขสูตร)
ฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม (เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส) เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ (ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม)




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



๘. สัลเลขสูตร
ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

[๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมหาจุนทะออกจากที่พักผ่อน แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะนั่งเรียบร้อยแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิเหล่านี้มีประการต่างๆ ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตาบ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก เมื่อภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้นหรือ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมจะมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้หรือ พระเจ้าข้า

[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ ทิฏฐิเหล่านี้มีหลายประการ ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตาบ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก ก็ทิฏฐิเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ใด นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ใด และท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์ใด เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นอารมณ์นั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นมิใช่ของเรา เรามิใช่นั่น นั่นมิใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้.


รูปฌาน ๔

[๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือทุติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือตติยฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ

[๑๐๓] ดูกรจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุดเพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลา

[๑๐๔] ดูกรจุนทะ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลากิเลสในข้อเหล่านี้แล คือ เธอทั้งหลาย พึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการลักทรัพย์.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเสพเมถุนธรรม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักประพฤติพรหมจรรย์.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวเท็จ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวส่อเสียด.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำเพ้อเจ้อ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวเพ้อเจ้อ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีจิตพยาบาท.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเห็นชอบ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความดำริชอบ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวาจาชอบ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีการงานชอบ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีอาชีพชอบ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเพียรผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเพียรชอบ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสติชอบ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสมาธิผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสมาธิชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีญาณชอบ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวิมุติชอบ.



เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักปราศจากถีนมิทธะ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักห้ามพ้นจากวิจิกิจฉา.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความโกรธ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก
ไม่ผูกโกรธไว้.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักยกตนเทียมท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ยกตนเทียมท่าน.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีมารยา.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดื้อด้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดื้อด้าน.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่ดูหมิ่นท่าน.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ว่าง่าย.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีกัลยาณมิตร.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนประมาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนไม่ประมาท.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนไม่มีศรัทธา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนมีศรัทธา.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีหิริในใจ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีโอตตัปปะ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสุตะมาก.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนเกียจคร้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปรารภความเพียร.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสติดำรงมั่น.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนมีปัญญาทราม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนถึงพร้อมด้วยปัญญา.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย.

[๑๐๕] ดูกรจุนทะ เราย่อมกล่าวแม้จิตตุปบาทว่า มีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็จะต้องกล่าวไปไยในการจัดทำให้สำเร็จ ด้วยกาย ด้วยวาจาเล่า เพราะเหตุนั้นแหละ จุนทะ ในข้อนี้ เธอทั้งหลายพึงให้จิตเกิดขึ้นว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน.

ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยากในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่ายว่าด้วยทางหลีกเลี่ยงคนชั่ว

[๑๐๖] ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนทางที่ไม่เรียบ ก็พึงมีทางเส้นอื่นที่เรียบ สำหรับหลีกทางที่ไม่ราบเรียบนั้น อนึ่ง เปรียบเหมือนท่าที่ไม่ราบเรียบ ก็พึงมีท่าอื่นที่ราบเรียบ สำหรับหลีกท่าที่ไม่ราบเรียบนั้น ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เบียดเบียน

การงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.
การงดเว้นจากอทินนาทาน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลักทรัพย์.
การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เสพเมถุน.
การงดเว้นจากมุสาวาท เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเท็จ.
การงดเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้กล่าวส่อเสียด.
การงดเว้นจากผรุสวาจา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้กล่าวคำหยาบ.
การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ.
ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง.
ความไม่พยาบาท เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
ความเห็นชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเห็นผิด.
ความดำริชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความดำริผิด.
การกล่าววาจาชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีวาจาผิด.
การงานชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการงานผิด.
การเลี้ยงชีพชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีอาชีพผิด.
ความเพียรชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเพียรผิด.
ความระลึกชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความระลึกผิด.
ความตั้งใจชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตั้งใจผิด.
ความรู้ชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความรู้ผิด.
วิมุตติชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีวิมุตติผิด.
ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลถูกถีนมิทธะครอบงำ.
ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.
ความเป็นผู้ข้ามพ้นจากความสงสัย เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความสงสัย.
ความไม่โกรธ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักโกรธ.
ความไม่เข้าไปผูกโกรธ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เข้าไปผูกโกรธ.
ความไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักลบหลู่คุณท่าน.
ความไม่ยกตนเทียมท่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักยกตนเทียมท่าน.
ความไม่ริษยา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ริษยา.
ความไม่ตระหนี่ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตระหนี่.
ความไม่โอ้อวด เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้โอ้อวด.
ความไม่มีมารยา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมารยา.
ความเป็นคนไม่ดื้อด้าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดื้อด้าน.
ความไม่ดูหมิ่นท่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.
ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ว่ายาก.
ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมิตรชั่ว.
ความไม่ประมาท เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ประมาท.
ความเชื่อ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา.
ความละอายต่อบาป เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความละอายต่อบาป.
ความสะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป.
ความเป็นพหูสูต เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการสดับน้อย.
การปรารภความเพียร เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เกียจคร้าน.
ความเป็นผู้มีสติดำรงมั่น เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีสติหลงลืม.
ความถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
ความเป็นผู้ไม่ลุบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และบุคคลอื่นให้สละคืนได้โดยง่าย เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และบุคคลอื่นให้สละคืนได้โดยยาก.

[๑๐๗] ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องล่าง กุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องบน ฉันใด ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้เบียดเบียน.

การงดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์
การงดเว้นจากอทินนาทาน ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้ลักทรัพย์ ฯลฯ
ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยง่ายเป็นทางสำหรับความเบื้องบนของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก



ว่าด้วยอุบายบรรลุนิพพาน

[๑๐๘] ดูกรจุนทะ ผู้ที่ตนเองจมอยู่ในเปือกตมอันลึกแล้ว จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้.

ผู้ที่ตนเองไม่จมอยู่ในเปือกตมอันลึก จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปลือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

ผู้ที่ไม่ฝึกตน ไม่แนะนำตน ไม่ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้.

ผู้ที่ฝึกตน แนะนำตน ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด.

ดูกรจุนทะ ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล ย่อมเป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เบียดเบียน.

การงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.
การงดเว้นจากอทินนาทาน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลักทรัพย์.
การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เสพเมถุนธรรม.
การงดเว้นจากมุสาวาท เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้พูดเท็จ.
การงดเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้กล่าวส่อเสียด.
การงดเว้นจากผรุสวาจา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้กล่าวคำหยาบ.
การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ.
ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง.
ความไม่พยาบาท เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
ความเห็นชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความเห็นผิด.
ความดำริชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความดำริผิด.
การกล่าววาจาชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีวาจาผิด.
การงานชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีการงานผิด.
การเลี้ยงชีวิตชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีอาชีพผิด.
ความเพียรชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความเพียรผิด.
ความระลึกชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความระลึกผิด.
ความตั้งใจชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความตั้งใจผิด.
ความรู้ชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความรู้ผิด.
ความพ้นชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความพ้นผิด.
ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ถูกถีนมิทธะครอบงำ.
ความเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.
ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความสงสัย.
ความไม่โกรธ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มักโกรธ.
ความไม่ผูกโกรธ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ผูกโกรธ.
ความไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน.
ความไม่ยกตนเทียมท่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ยกตนเทียมท่าน.
ความไม่ริษยา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ริษยา.
ความไม่ตระหนี่ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ตระหนี่.
ความไม่โอ้อวด เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้โอ้อวด.
ความไม่มีมารยา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีมารยา.
ความเป็นคนไม่ดื้อด้าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ดื้อด้าน.
ความไม่ดูหมิ่นท่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.
ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ว่ายาก.
ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีมิตรชั่ว.
ความไม่ประมาท เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ประมาท.
ความเชื่อ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่ศรัทธา.
ความละอายต่อบาป เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่มีความละอายต่อบาป.
ความสะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป.
ความเป็นพหูสูต เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีการสดับน้อย.
การปรารภความเพียร เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เกียจคร้าน.
ความเป็นผู้มีสติดำรงมั่น เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีสติหลงลืม.
ความถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก.


[๑๐๙] ดูกรจุนทะ เหตุแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งจิตตุปบาทเราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับสนิท เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ดูกรจุนทะ กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เอ็นดูอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึงทำ กิจนั้นเราทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว ดูกรจุนทะ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจเถิด อย่าประมาทอย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Glitter_012842680.jpg
Glitter_012842680.jpg [ 41.68 KiB | เปิดดู 2879 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: tongue

อ้างคำพูด:
สมาธิ เป็นฌาน ความสงบ
ทรงให้พบ ควาผาสุข อย่าสงสัย
เป็นธรรมเพื่อ อยู่สงบ ในวินัย
ธรรมหาใช่ ขัดเกลา กิเลสมาร

(มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สัลเลขสูตร)

ฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม (เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส) เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ (ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม)


ความตอนท้ายสูตร
ดู ก่อนจุนทะ เหตุแห่งสัลเลขธรรม เราได้แสดงแล้วเหตุแห่งจิตตุปบาท เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งภาวะเบื้องสูง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับทุกข์เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้.


ฉ. น หิ อธิมานิกสฺส ภิกฺขุโน ฌานํ สลฺเลโข วา สลฺเลขปฏิปทา วา โหติ

ฌานของภิกษุผู้มีมานะยิ่ง ไม่เป็นสัลเลขธรรมหรือสัลเลขปฏิปทา.

:b48: นำมาอ้าง ทั้งที ดูบาลี ด้วย
ไม่งั้นฉวย ความผิด ติดมิจฉา
พระสูตรนี้ กล่าวภิกษุมี "มานะ"มา
จึงตรัสว่า "บางรูป" เท่านั้นหนา ที่ตรัสลง


:b48: อย่ายก เพียงบางคำ ตัดประโยค
เท่ากับโยก ความจริงไป ให้เป็นหลง
จะยกธรรม ยกอรรถมา ต้องยกตรง
เพื่อดำรง องค์ธรรม พระสัมมาฯ

:b48: มิเช่นนั้น เท่ากับจิต คิดแปลงสาร
ดั่งกับมาร จองผลาญ พระศาสนา
ยกให้ตรง ยกให้ครบ ไตรปิฎกมา
ท่านผู้อ่าน มีปัญญา พิจารณาเอา


:b48: ถ้าจะยก อรรถกถา มาให้อ่าน
อย่าแค่ผ่าน เลือกเฉพาะมา จะพาเขลา
เพราะปัญญา ปุถุชน คน ท่าน เรา
ปัญญาเยาว์ อย่าเทียบเขา พระสุเมรุ

:b8: ขอบคุณท่าน มหาราชันย์ นำพระสูตร
แทนการพูด มาแสดงชัด จัดให้เห็น
เพื่อผู้อ่าน พิจารณาได้ ตรงประเด็น
กระบี่ฯ นั้น จะขอเน้น ที่กล่าวมา


Quote Tipitaka:
[๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ


:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:


:b48: พระอริยะ ท่านละ กิเลสแล้ว
จิตท่านใส ดังแก้ว ไร้ตัณหา
ไม่ต้องขัด ไม่ต้องเกลา กิเลสนานา
จึงอาศัย ฌานนั้นหนา ที่พำนัก


Quote Tipitaka:
[๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ



รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 03 พ.ย. 2009, 00:53, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 15:54
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อืม..ดุเดือด..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อณึ่ง พิจารณา ถึงวิเวก
อันเป็นเหตุ ของฌาน ควรศึกษา
ร้อยเรียง เป็นอรรถ เป็นตำรา
พิจารณา ให้ตรง ทรงข้อความ

(มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ มหามาลุงโกฺยวาทสูตร รูปฌาน ๔)
ดูกรอานนท์ มัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ ...

อุปธิ = ความยึดมั่นและการปรุงแต่งทั้งปวง
วิเวก = ไม่มี สงบ สิ้นไป

อุปธิวิเวก ทำให้ ละกุศลธรรมได้
เพราะละกุศลธรรมได้ ทำให้ บรรลุปฐมฌาน
บรรลุปฐมฌาน ทำให้ มีปีติและสุข



ขอบคุณครับคุณศุภฤกษ์ ที่ยกพระสูตรนี้มาสนับสนุนคำตอบของผม

:b35: :b35: :b35:



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์



๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕


[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วได้หรือไม่?

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว.

ดูกรมาลุงกยบุตร ก็เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วว่าอย่างไร?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอย่างนี้.

[๑๕๔] ดูกรมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้ ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แก่ใครหนอ?

ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้ ย่อมมีแก่เด็ก กุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนสักกายทิฏฐิอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนวิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนสีลัพพตปรามาสอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนยังนอนหงายอยู่ ก็กามฉันทะในกามทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนกามราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนพยาบาทอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียงด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กอ่อนนี้ได้มิใช่หรือ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เวลานี้เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต เวลานี้เป็นกาลสมควรที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.

ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงฟัง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว

ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.


อุบายเครื่องละสังโยชน์

[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ปุถุชนนั้นมีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉานั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์. ปุถุชนนั้นมีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพตปรามาส
ครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง สีลัพพตปรามาสนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้วชื่อว่า เป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ปุถุชนนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กามราคะนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์. ปุถุชนนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง พยาบาทนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ดูกรอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้

อริยสาวกนั้นมีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉาพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้ อันสีลัพพตปรามาสย่อมครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้ อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กามราคะพร้อมทั้งอนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ อันพยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.


มัคคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์

[๑๕๖] ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ไม่ถากเปลือก ไม่ถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นมีแก่น แล้วจักถากแก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้นก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมัคคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นั้นได้ เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ถากเปลือก ถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นมีแก่น แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมัคคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย พึงมาด้วย หวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้เขาจะไม่อาจว่าย ตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน จิตของผู้นั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่มั่นคง ไม่พ้น ฉันนั้นเหมือนกัน. บุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น ฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงโดยสวัสดี ดังนี้ เขาอาจจะว่ายตัดขวางกระแสแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเพื่อดับความเห็นว่า กายของตน จิตของตน จิตของผู้นั้นแล่นไปเลื่อมใส มั่นคง พ้น ฉันนั้นเหมือนกันแล. บุรุษมีกำลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.


รูปฌาน ๔

[๑๕๗] ดูกรอานนท์ มัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของมิใช่ตัวตน. เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อม
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕
ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์


อรูปฌาน
[๑๕๘] ดูกรอานนท์ ภิกษุบรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นคือ เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบากเป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่มีตัวตน. เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธาตุอันเป็นอมตะว่านั้นมีอยู่ นั่นประณีต คือสงบสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ ดับสนิท นิพพาน เธอตั้งอยู่ในฌานนั้น ย่อมบรรลุการสิ้น ถ้าไม่บรรลุ จะเป็นโอปปาติกะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ด้วยความเพลิดเพลินในธรรมนั้น ด้วยความยินดีในธรรมนั้นแล ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้ปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

ดูกรอานนท์ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่. เธอพิจารณาธรรมเหล่านั้นคือเวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์. อานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ บรรลุอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งย่อมไม่มีอยู่. เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในอรูปฌานนั้น โดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า ไม่มีตัวตน. เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น เธอครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธรรมธาตุอันเป็นอมตะว่า นั่นมีอยู่นั่นประณีต คือการสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งปวง ตัณหักขยะ วิราคะ นิโรธ นิพพาน ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงการสิ้นอาสวะ ถ้าไม่ถึงการสิ้นอาสวะ จะเป็นโอปปาติกะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เพราะความเพลิดเพลินในธรรม เพราะความยินดีในธรรมนั้นนั่นแล. ดูกรอานนท์มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕


[๑๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุติท บางพวกเป็นปัญญาวิมุติเล่า.

ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

จบ มหามาลุงโกฺยวาทสูตร ที่ ๔.



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2009, 00:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




good_night_066.gif
good_night_066.gif [ 151.01 KiB | เปิดดู 2842 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: tongue
Quote Tipitaka:
[๑๕๖] ดูกรอานนท์
ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b41: :b48:

[๑๕๗] ดูกรอานนท์ มัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เพราะอุปธิวิเวก เพราะละกุศลธรรมได้
เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง
บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้
เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของมิใช่ตัวตน.
เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ
ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด
เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้.
เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อมบรรลุ ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น
และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕

ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.


ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข.

ดูกร อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b41: :b48:

[๑๕๘] ดูกรอานนท์
ภิกษุบรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน ด้วย บริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด
เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นคือ เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น
โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบากเป็นไข้ เป็นอื่น
เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่มีตัวตน.
เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหา
ธาตุอันเป็นอมตะว่านั้นมีอยู่ นั่นประณีต คือสงบสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา
ปราศจากราคะ ดับสนิท นิพพาน เธอตั้งอยู่ในฌานนั้น ย่อมบรรลุการสิ้น ถ้าไม่บรรลุ
จะเป็นโอปปาติกะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ด้วยความเพลิดเพลินในธรรมนั้น ด้วยความยินดีในธรรมนั้นแล
ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้ปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

ดูกรอานนท์ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน
ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่. เธอพิจารณาธรรมเหล่านั้นคือเวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น ฯลฯ
เพื่อละสังโยชน์.

อานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วย มนสิการว่า หน่อยหนึ่งย่อมไม่มีอยู่.
เธอพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในอรูปฌานนั้น
โดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น
เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า ไม่มีตัวตน.
เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น เธอครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหา
ธรรมธาตุอันเป็นอมตะว่า นั่นมีอยู่นั่นประณีต คือการสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งปวง
ตัณหักขยะ วิราคะ นิโรธ นิพพาน ดังนี้.


เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงการสิ้นอาสวะ ถ้าไม่ถึงการสิ้นอาสวะ จะเป็นโอปปาติกะ
ปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เพราะความเพลิดเพลินในธรรม เพราะความยินดีในธรรมนั้นนั่นแล.
ดูกรอานนท์มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕



[๑๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร
ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุติ บางพวกเป็นปัญญาวิมุติเล่า


ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.


:b48: จะแสดงธรรม อย่าบิดเบือน พุทธพจน์
ที่กำหนด แล้วอริยะ บันทึกไว้
อย่าชูธรรม ที่เลือนจาก พุทธพจน์ไป
แล้วยัดไส้ ใส่ลงไป ในพระธรรม

:b48: อ่านกระทู้ เหมือนกับ อัคคีโหม
เปลวเลียโลม อีกทั้ง พายุกระหน่ำ
ทั้งเราท่าน ต้องมาปะ ดั่งเล่นคำ
ให้บอบช้ำ เพื่อกระทำ ให้เข้าใจ

:b48: การที่ยก
มหามาลุงโกฺยวาทสูตรมา
เท่ากับท่าน ยอมรับมา แล้วใช่ไหม
ว่า
ฌานนั้น ทรงตรัส สอนเข้าไว้
บันทึกใน พระไตร ปิฎกธรรม

:b48: การเสียหน้า ดีกว่า เสียสัจจะ
ที่เคยสะ สมบ่มเพาะ เพราะถลำ
บารมี ที่สร้างไว้ ให้หมองระกำ
เพราะถลำ จาบจ้วงธรรม พระสัมมาฯ

:b48: ขอคารวะ ด้วยการ มอบพระสูตร
แทนคำพูด แทนเทียบ ให้สิกขา
เพื่อเป็นกรอบ เตือนจิต คิดสนทนา
ปฏิบัติตาม พระวาจา รักษาธรรม

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต อนาคตสูตรที่ ๓

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่บังเกิดในปัจจุบัน แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น

ภัยในอนาคต ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

แม้กุลบุตรเหล่านั้น ก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
ก็จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา

เพราะเหตุดังนี้แล
การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

อีกประการหนึ่ง
ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
ก็จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา

เพราะเหตุดังนี้แล
การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

อีกประการหนึ่ง
ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อแสดงอภิธรรมกถา เวทัลลกถา หยั่งลงสู่ธรรมที่ผิด ก็จักไม่รู้สึก

เพราะเหตุดังนี้แล
การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

อีกประการหนึ่ง
ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
พระสูตรต่างๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้ง เป็นโลกุตระ
ประกอบด้วยสุญญตาธรรม เมื่อพระสูตรเหล่านั้นอันบุคคลแสดงอยู่ ก็จักไม่ฟังด้วยดี
จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ จักไม่ใฝ่ใจในธรรม เหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน
แต่ว่าสูตรต่างๆ ที่นักกวีแต่งไว้ ประพันธ์เป็นบทกวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย
เป็นพาหิรกถา เป็นสาวกภาษิต

เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่ ก็จักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักตั้งจิตเพื่อรู้
จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน


เพราะเหตุดังนี้แล
การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

อีกประการหนึ่ง
ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในความล่วงละเมิด
ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนรุ่นหลังก็จักถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง

แม้ประชุมชนนั้นก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในความล่วงละเมิด
ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

เพราะเหตุดังนี้แล
การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภัยในอนาคต ข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ฯ




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 03 พ.ย. 2009, 00:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2009, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จะว่าความ ก็ที่ตาม ท่านมหา
ยกออกมา ชี้แจง แถลงไข
เป็นจริยา อริยะ โดยทั่วไป
คุณอย่างน้อย ที่ท่านได้ คือโสดา

อนุโมทนา ท่านบอกว่า เรียนมามาก
จึงใคร่อยาก จะสอบถาม หายสงสัย
ท่อง "พุทโธ" ความเป็นมา มีอย่างไร?
โปรดท่านได้ ชี้แจง แถลงการณ์

อ้างคำพูด:
คุยกันภาษาธรรมดาก้ยากอยู่แล้วนะ คุยกันไม่ค่อยรู้เรื่องอยู่แล้ว
ยังต้องไปเข้ารหัสให้มันยากเข้าไปอีก
ขออณุญาตใช้สิทธิ์นั้น … เดี๋ยวนี้

อ้างคำพูด:
คนที่บรรลุธรรมก็คือคนที่จิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ
จิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ ก็เรียกว่าจิตนั้นเป็นสัมมาสมาธิและเป็นฌานตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป
นิยามนี้เป็นของโสดาปัตติผล อย่างที่ท่านก็บอก คือ บรรลุแล้ว สงัดแล้ว ก็คือสำเร็จเป็นพระอริยะแล้ว สมาธิที่เกิดเรียกว่า อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ผู้ที่ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม นั้นมีแต่อริยบุคคลเท่านั้น เพราะอาศัยอุปธิวิเวก เป็นผู้ได้ผลสมาบัติ มีฌานสมาบัติ มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา อันเป็นของพระอริยะ (จนบรรลุ สมาธิ มีวิชชา)

คำว่า "ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม" ... หมายถึงพระอริยตั้งแต่โสดาบันเป็นต้นไป

ฌานเจตสิก? ไม่รู้มาจากตำราไหน เพิ่งเคยได้ยิน ถ้าท่านจะพยายามบอกว่า ฌาน(เจตสิก) ไม่ใช่อัปนาสมาธิ ก็กรุณาอย่าได้เอามาใช้ปนกันกับ ขณิกสมาธิ เพราะจะทำให้เกิดความสับสน

สัมมาสมาธิ ในมรรค ๘ สำหรับโสดาปัตติมัคค ไม่ใช่อัปนาสมาธิ เป็นขณิกสมาธิ หรือ เอกกัคคาจิต ที่เกิดปกติกับจิตทุกดวง เมื่อประกอบด้วยอโมหะเจตสิก จึงจะเป็นสัมมาสมาธิ

โสดาปัตติมัคค ไม่ประกอบด้วยฌาน หากประกอบด้วยฌานเป็นโสดาปัตติผล

อ้างคำพูด:
การเจริญวิปัสสนาให้ได้ปัญญาญาณต่าง ๆ จึงต้องใช้วิธีสร้างจิตเหตุที่ประกอบด้วยสัมมาสมาธิคือฌานที่เป็นเหตุหรือเป็นบาท
เพราะปัญญาญาณย่อมเกิดในจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น
ถ้าไม่เป็นฌานไม่เป็นสัมมาสมาธิญาณปัญญาทางธรรมย่อมไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้.
จิตสร้างไม่ได้ วิปัสสนาคือการควบคุมปัจจัยการเกิดของเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตเท่านั้น ปัญญาอย่างเดียวที่ต้องการ คือ อโมหะเจตสิก ซึ่งเป็นตัวต้นเหตุทำให้จิตเป็นกุศล เป็นธรรมหนึ่งที่เป็นเหตุของกุศลธรรมทั้งปวง (อยู่ในกุศลเหตุ ๓) ทำให้สมาธิที่เกิดตามมาเป็นสัมมาสมาธิ สมาธิจึงเป็นผลเพราะเกิดร่วมกับอโมหะเจตสิก เกิดทีหลังปัญญา

วิปัสสนาภาวนา (ในระดับโสดาปัตติมรรค) คือ การกระทำที่เหตุ หรือคือ การทำให้เกิด อโลภะ อโทสะ อโมหะ ให้เกิดร่วมกับชวนจิต ทุกครั้งที่จิตเกิดขึ้นมาเสวยอารมณ์ เมื่อจิตเกิดร่วมกับธรรมที่เป็นกุศลเหตุทั้ง ๓ สมาธิที่เกิดตามมาจึงเป็นสัมมาสมาธิ (เอกกัคตาหรืออุเบกขาเจตสิก) เมื่อจิตประกอบด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็เรียกได้ว่า สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แม้นเป็นเพียงชั่วขณะเดียว ก็ถือว่าดับอวิชชาไปได้ชั่วขณะหนึ่งแล้ว ต้องภาวนา คือทำให้มาก เจริญให้มาก ซึ่งธรรมอันเป็นกุศลทั้งหลาย (อโลภะ อโทสะ อโมหะ) จึงจะบรรลุผลสมาบัติ ใช้เวลาไม่เกิน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี แต่ต้องทำทุกวันติดต่อกัน

ในขณะโสดาปัตติมรรค ใช้มรรคเพียงองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คือ เห็นถูก คิด ถูก ทำถูก ระลึกถึงเรื่องที่ถูก จึงสงบชอบ เพราะฉะนั้น การวิปัสสนาในโสดาปัตติมรรค จึงใช้เพียงโยนิโสมนสิการ และฐานความรู้จากธรรมของสัตบุรุษเท่านั้น

พระสูตรใน มูลปริยายวรรค ต้องอ่านให้หมดทุกสูตร เรื่องราวเรียบเรียงมาเป็นหมวดเดียวกัน บูรณาการเข้าด้วยกัน อย่าได้แยกอ่าน จึงจะเข้าใจ (ถ้าว่างก็อ่านให้จบทั้งเล่ม เพราะยังอยู่ในหมวดไกล้เคียงกัน)

อุปธิวิเวก คือ ละกิเลสได้แล้ว ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับวิเวกธรรม ส่วนวิธีการละ แสดงไว้ใน มูลปริยายวรรค สัพพาสวสังวรสูตร ว่าด้วยการสังวรในอาสวะทั้งปวง ซึ่งคือการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของอุบาสกอุบาสิกาและสมมุติสงฆ์

เมื่อบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว เกิดมรรค ๘ แล้ว จึงเจริญ สติปัฏฐาน ที่แสดงในสติปัฏฐานสูตรต่อไป จะพิจารณาอะไรในสมาบัติต่อก็ทำได้ เพราะได้ได้ผลสมาบัติแล้ว บรรลุเป็นอริยะบุคคลแล้ว เหลือกิเลสเพียงเล็กน้อยในใจให้กำจัดต่อด้วยมรรคเบื้องสูง

ผมเคยบอกท่านแล้วว่า ท่านไปเริ่มจับปฏิปทาของพระอริยะ หรือผู้ที่สงัดจากกาม หรือสงัดจากอกุศลธรรมได้แล้ว หากท่านยังยืนกรานต่อไป คือท่านพลาดจากโสดาปัตติมัคค ไม่มีทางที่ท่านจะบรรลุโสดาปัตติผล ไม่ได้โสดาปัตติผลท่านก็ไม่มีทางได้ถึงอรหัตผล ได้แต่หลบทุกข์ไม่ได้ดับทุกข์ สมัครเรียนใหม่ก็ต้องเข้า ป.๑ ท่าโดดไปเรียนกับ ป.๔ แล้วจะไปได้หรือ?

ลองศึกษาการสร้างปัญญาและการวิปัสสนาภาวนาจากพระสูตรเหล่านี้เพิ่มเติมดู

๑) มหาเวทัลลสูตร การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ แสดงการเกิดของปัญญา หรือ สัมมาทิฏฐิ
๒) พระมหากัจจานะแสดงอุเทศโดยพิสดาร ใน มธุปิณฑิกสูตร แสดงกระบวนการของการวิปัสสนาภาวนา

PS: ถึงท่านกระบี่ ผมแสดงว่า พระพุทธองค์ไม่ได้สอนให้ใช้ฌานเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล ไม่ได้บอกว่าพระพุทธองค์ไม่สอนเรื่องฌาน ส่วนคำว่า ภิษุบางรูป นั้นหมายถึง บางรูปที่เข้าใจผิดติดว่าฌานเป็นเครื่องขัดเกลา

...

จะย้อนความ ตามที่เรา ได้เคยถาม
อันเป็นความ เกิดประโยชน์ ทุกแห่งหน
หากชาวพุทธ ได้ค้นคว้า จะได้ยล
โสดา ปัตติผล ชาตินี้เอย

อวิชชา มีอะไร เป็นแดนเกิด
ถือกำเนินด ในที่ แห่งหนใหน
อวิชชา มีอะไร เป็นปัจจัย
และสุดท้าย มีอะไร เป็นศัตรู?

อันมัคคา ท่านแบ่ง ไว้เป็นสอง
โปรดคิดตรอง เพื่อจะได้ ไม่หลงใหล
ว่าตัวมรรค เบื้องต่ำ คืออะไร
มรรคเบื้องสูง ท่านมีไว้ ทำไมกัน?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2009, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
นิยามนี้เป็นของโสดาปัตติผล อย่างที่ท่านก็บอก คือ บรรลุแล้ว สงัดแล้ว ก็คือสำเร็จเป็นพระอริยะแล้ว สมาธิที่เกิดเรียกว่า ผู้ที่ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม นั้นมีแต่อริยบุคคลเท่านั้น


สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์

ในกาลนี้เป็นกาลที่คุณแสดงธรรมอะไรมา คุณจะต้องมีที่อ้างอิงมาด้วยนะครับ
ไม่ใช่ใส่ความคิดเห็นไปล้วน ๆ แบบนี้

จนกระทั่งป่านนี้ คุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดทาง คุณก็ยังไม่ยอมรับ
ยังคงดื้อรั้นแสดงธรรมผิด ๆ อีกต่อไป


ฌานจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นเหตุที่ถูกต้องเป็นอย่างนี้ครับคุณศุภฤกษ์



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์



จตุกกนัย

[๑๓๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.


[๑๔๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ภายในผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ จิตถึงความเป็นธรรมชาติ ผุดขึ้นดวงเดียวไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ


[๑๔๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย พระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญบุคคลนั้นว่า เป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ เพราะฌานใด บรรลุตติยฌานนั้น ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ



[๑๔๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ







Supareak Mulpong เขียน:
เพราะอาศัยอุปธิวิเวก เป็นผู้ได้ผลสมาบัติ มีฌานสมาบัติ มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา อันเป็นของพระอริยะ (จนบรรลุ สมาธิ มีวิชชา)

คำว่า "ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม" ... หมายถึงพระอริยตั้งแต่โสดาบันเป็นต้นไป




โสดาปัตตมัคค จึงจะมี
อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์
โสดาปัตติผลนั้นมี อัญญินทรีย์ ครับ


ดูที่อ้างอิงของจริงเป็นอย่างนี้ครับ


โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑

[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล




คราวนี้จะยอมรับไหมครับคุณศุภฤกษ์ ว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดทาง ??


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2009, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




895361j7nf2zc3uu.gif
895361j7nf2zc3uu.gif [ 140.35 KiB | เปิดดู 2804 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b45: tongue

Supareak Mulpong เขียน:
PS: ถึงท่านกระบี่ ผมแสดงว่า พระพุทธองค์ไม่ได้สอนให้ใช้ฌานเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล ไม่ได้บอกว่าพระพุทธองค์ไม่สอนเรื่องฌาน



มหาราชันย์ เขียน:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์

จตุกกนัย

[๑๓๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

s006

:b48: จากคำตอบ ของท่าน มหาราชันย์
มายืนยัน คำที่ท่าน กล่าวแล้วหนา
กระบี่ฯ คง ไม่ต้อง วิสัชนา
เพราะธัมมา ท่านกล่าวมา ไร้ที่อิง

wink

Supareak Mulpong เขียน:
สมาธิ เป็นฌาน ความสงบ
ทรงให้พบ ควาผาสุข อย่าสงสัย
เป็นธรรมเพื่อ อยู่สงบ ในวินัย
ธรรมหาใช่ ขัดเกลา กิเลสมาร



Supareak Mulpong เขียน:
ส่วนคำว่า ภิษุบางรูป นั้นหมายถึง บางรูปที่เข้าใจผิดติดว่าฌานเป็นเครื่องขัดเกลา

s006

:b48: พิศให้ดี ตอบสองที่ คนละนัย
อ่านเท่าไร คนละหมาย นะท่านเอ๋ย
ยอมเสียหน้า ไม่เสียธรรม กลับละเลย
ท่าน Supareak เอ๋ย จะเฉลย อย่างไร ให้ถูกความ



รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 03 พ.ย. 2009, 21:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2009, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ฌานเจตสิก? ไม่รู้มาจากตำราไหน เพิ่งเคยได้ยิน



สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์

มาจากพรตะไตรปิฎกที่คุณท้าทายให้ผมไปอ่านมานี่แหละครับ

เป็นธรรมดาที่คุณเพิ่งเคยได้ยินครับ
เพราะคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิด
เมื่อคุณได้เห็นสิ่งที่ถูกต้องเป็นครั้งแรกย่อมตื่นเต้นสงสัยเป็นธรรมดาครับ



องค์ฌานได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข อุเบกขา และเอกคตารมณ์
องค์ฌานอันได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข อุเบกขา และเอกคตารมณ์นี้คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ครับ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์



[๙๔๔] เจตสิกธรรม เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เจตสิกธรรม.

อเจตสิกธรรม เป็นไฉน?
จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อเจตสิกธรรม



จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์



Supareak Mulpong เขียน:
ถ้าท่านจะพยายามบอกว่า ฌาน(เจตสิก) ไม่ใช่อัปนาสมาธิ ก็กรุณาอย่าได้เอามาใช้ปนกันกับ ขณิกสมาธิ เพราะจะทำให้เกิดความสับสน



คนที่พยายามจะทำความสับสนคือคุณศุภฤกษ์ครับไม่ใช่ผมแน่นอนครับ

ขณิกสมาธิ ไม่มีในคำสอนของพระสมณะโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ
ขณิกสมาธิ เป็นจิตประเภทไหนครับ ??
ขณิกสมาธิ อยู่ตรงส่วนไหนของพระไตรปิฎกครับคุณศุภฤกษ์ ?? หามาอ้างอิงกันหน่อยสิครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2009, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
สัมมาสมาธิ ในมรรค ๘ สำหรับโสดาปัตติมัคค ไม่ใช่อัปนาสมาธิ เป็นขณิกสมาธิ หรือ เอกกัคคาจิต ที่เกิดปกติกับจิตทุกดวง เมื่อประกอบด้วยอโมหะเจตสิก จึงจะเป็นสัมมาสมาธิ

โสดาปัตติมัคค ไม่ประกอบด้วยฌาน หากประกอบด้วยฌานเป็นโสดาปัตติผล



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์



[๒๖๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล
เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.


จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?





Supareak Mulpong เขียน:
จิตสร้างไม่ได้ วิปัสสนาคือการควบคุมปัจจัยการเกิดของเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตเท่านั้น ปัญญาอย่างเดียวที่ต้องการ คือ อโมหะเจตสิก ซึ่งเป็นตัวต้นเหตุทำให้จิตเป็นกุศล เป็นธรรมหนึ่งที่เป็นเหตุของกุศลธรรมทั้งปวง (อยู่ในกุศลเหตุ ๓) ทำให้สมาธิที่เกิดตามมาเป็นสัมมาสมาธิ สมาธิจึงเป็นผลเพราะเกิดร่วมกับอโมหะเจตสิก เกิดทีหลังปัญญา



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒วิภังคปกรณ์



[๑๖๘] สัมมาวายามะ เป็นไฉน

ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อป้องกันอกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด ฯลฯ

เพื่อละอกุศลบาปธรรมที่เกิดแล้ว ฯลฯ ...


เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด...

ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความดำรงอยู่ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ


จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?






Supareak Mulpong เขียน:
วิปัสสนาภาวนา (ในระดับโสดาปัตติมรรค) คือ การกระทำที่เหตุ หรือคือ การทำให้เกิด อโลภะ อโทสะ อโมหะ ให้เกิดร่วมกับชวนจิต ทุกครั้งที่จิตเกิดขึ้นมาเสวยอารมณ์ เมื่อจิตเกิดร่วมกับธรรมที่เป็นกุศลเหตุทั้ง ๓ สมาธิที่เกิดตามมาจึงเป็นสัมมาสมาธิ (เอกกัคตาหรืออุเบกขาเจตสิก) เมื่อจิตประกอบด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็เรียกได้ว่า สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แม้นเป็นเพียงชั่วขณะเดียว ก็ถือว่าดับอวิชชาไปได้ชั่วขณะหนึ่งแล้ว ต้องภาวนา คือทำให้มาก เจริญให้มาก ซึ่งธรรมอันเป็นกุศลทั้งหลาย (อโลภะ อโทสะ อโมหะ) จึงจะบรรลุผลสมาบัติ ใช้เวลาไม่เกิน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี แต่ต้องทำทุกวันติดต่อกัน




Supareak Mulpong เขียน:
ในขณะโสดาปัตติมรรค ใช้มรรคเพียงองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คือ เห็นถูก คิด ถูก ทำถูก ระลึกถึงเรื่องที่ถูก จึงสงบชอบ เพราะฉะนั้น การวิปัสสนาในโสดาปัตติมรรค จึงใช้เพียงโยนิโสมนสิการ และฐานความรู้จากธรรมของสัตบุรุษเท่านั้น



โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑

[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล




ในพระไตรปิฎกใช้ มรรคมีองค์ 8 ขณะแห่งโสดาปัตติมัคคจิตครับ

จะยอมรับความจริงว่าคุณแสดงธรรมผิด รู้มาผิด ปฏิบัติมาผิดได้แล้วหรือยังครับคุณศุภฤกษ์ ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 01:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เอวัง ก็หลงทาง ถึงที่สุด
จะดึงฉุด อย่างไร ไม่มีหวัง
อภิธรรม ต่อกันมั่ว พรุงพรัง
ก็เพียงหวัง ว่าท่าน ไม่ตั้งใจ

ทดสอบดู สิ่งที่เกิด ในดวงจิต
มีอะไร มาสะกิด ให้โทโส
มีอะไร มาทำ ร้องให้โฮ
แล้วท่านโต้ สิ่งที่เกิด ได้อย่างไร

อ้างคำพูด:
เจริญฌานเป็นโลกุตตระ

คำว่าฌาน นั้นหาใช่ ว่าฌานจิต
เพราะท่านคิด แต่เรื่องฌาน ฌานวสี
คำว่าฌาน แท้จริง ความหมายมี
คือจิตที่ มั่นคง ควรแก่งาน

อ้างคำพูด:
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

เจริญมรรคปฏิปทา -> สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม -> บรรลุ ปฐมฌาน

เจริญฌาน อันมิใช่ โลกียะ
เพื่อที่จะ บรรลุฌาน ตามอรรถา
ตัวฌานจิต จึงเป็นผล ใช่เหตุพา
ท่านจงโปรด พิจารณา ให้เข้าใจ

อ้างคำพูด:
ในพระไตรปิฎกใช้ มรรคมีองค์ 8 ขณะแห่งโสดาปัตติมัคคจิตครับ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

วรตี เจตสิก มันก็เกิด
แต่โปรดเถิด ใช้ปัญญา ลองศึกษา
ในขณะ ที่กำลัง ภาวนา
ท่านจะได้ พูดจา กับใครกัน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 05 พ.ย. 2009, 01:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 60 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร