วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 20:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=8



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2009, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ถวายบังคม...แด่พ่อของแผ่นดิน
kk031.jpg
kk031.jpg [ 33.73 KiB | เปิดดู 4121 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

พ่อ-แม่
โย มาตรํ ปิตรํ วา ............ ชิณฺณกํ คตโยพฺพนํ
ปหุสนฺ น ภรติ ................ ตํ ปราภวโต มุขํ ........( สุตตนิบาต ขุททกนิกาย )
( หมายถึง : พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ปราภวสูตร คำแปล... คนใดสามารถแต่ไม่เลี้ยงมารดาหรือบิดาผู้แก่เฒ่า ซึ่งผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม )

o แม้มีทรัพย์ยิ่งทั้ง...........ยศถา
พ่อแม่แก่ชรา.................บ่เลี้ยง
เป็นสุขแต่อาตมา............บริโภค
จัก"ฉ"หายวายเพี้ยง..........โทษท้าวลงทัณฑ์ ..( สำนวนเก่า )

o คนใดละพ่อทั้ง............มารดา
อันทุพลชรา....................ภาพแล้ว
ขับไล่ไป่มีปรา.................นีเนตร
คนดั่งนี้ฤาแคล้ว..............คลาดพ้นไภยัน ....( สมเด็จพระเดชาฯ )

ธรรมทั้งหลาย
มนสา เจ ปสนฺ ................ ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมเนฺวติ ........... ฉายาว อนุปายินี ฯ
มนสา เจ ปทุฎฺ เฐน ......... ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ ......... จกฺกว วหโต ปทํ ฯ ....( ธรรมบท )
... ( จาก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ยมกวรรค
คำแปล... ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ ถ้าบุคคลมีใจอันประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม บุคคลนั้น ทุจริตนั้นเหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไป ) ....

o ทำบุญบุญแต่งให้ ........ เป็นผล
คือดั่งเงาตามตน ............ คิดแท้
ผู้ทำสิ่งอกุศล ................ กรรมติด ตามนา
ดุจจักรเกวียนเวียนแล้ ..... ไล่ต้อนตีนโค .........( สมเด็จพระเดชาฯ )

สีโห นาม ชิฆจฺฉาปิ ............. ปณฺณาทีนิ น ขาทติ
สีโห นาม กีโสจาปิ .............. นาคมํสํ น ขาทติ .....( โลกนิติ )
{ โลกนิติปกรณ์ : สุชนกัณฑ์ บทที่ ๔๕
คำแปล....ขึ้นชื่อว่าราชสีห์ แม้อดอยาก ก็ไม่ยอมกินใบไม้
ขึ้นชื่อว่าราชสีห์แม้จะผอมหิว ก็ย่อมไม่กินเนื้อช้าง ( ไม่ขายชาติ / lek Isara ) }

o ไกรสรมาตรแม้นอยาก........... อาหาร
ฟางหญ้าใบไม้ตาล................... ไป่ต้อง
ซูบกายกำลังราญ .................... โรยร่วง
เนื้อช้างไป่ปองสร้อง ............... แต่เบื้องบรรพมา ..... ( สำนวนเก่า )

o หัวล้านไป่รู้มัก ..................... มองกระจก
ผอมฝิ่นไป่อยากยก ................ ถอดเสื้อ
นมยานไป่เปิดอก .................... ออกที่ ประชุมนา
คนบาปไป่เอี้อเฟื้อ ................... สดับถ้อยธรรมกวี ........ ( สมเด็จพระเดชาฯ )
( บาทที่สามนั้น คงหมายถึง การให้นมลูกน่ะครับ / อย่าคิดมาก ตอนผมเด็กๆ เคยเห็นบ่อยๆ แม้ตามที่สาธารณะ เช่นร้านค้าเป็นต้น )

o หัว หูดูชั่วช้า....................... ไฉไล
ล้าน เลื่อมแลเงาใส ................. เกือบแก้ว
ได้ ส่องกระจกใจ ................... เจียนขาด
หวี แต่จับจ้องแล้ว ................. ลูบโอ้อายเอง ....... ( สมเด็จพระเดชาฯ )
( บทนี้ขออภัย คนผมน้อยด้วยนะครับ เพียงอยากให้เห็นว่าโคลงโลกนิตินี้ จะใกล้ชิดกับสังคมรอบๆตัวเรามากครับ )


.. เกี่ยวกับความรักครับ
o รูป ชั่วแต่ชอบแล้ว ............... ใดปาน
รส รักผักว่าหวาน ................... หล่อนต้ม
กลิ่น อบจบดินดาล ................. บ่ดุจ เจ้านา
เสียง ก็จับใจหล้ม ................... โลกล้วนฤามี .............. ( สมเด็จพระเดชาฯ )

.... คำพังเพย
o ไป่เห็นน้ำ หน้าด่วน ................ ชวนกัน
ตัดกระบอก แบ่งปัน ................ ส่วนไซร์
ไป่เห็นกระรอก อวดขัน ............. มือแม่น
ขึ้นหน้าไม้ ไว้ให้ ................... หย่อนแท้เสียสาย . ( สมเด็จพระเดชาฯ )

ถ้าเพื่อนๆ มีบทใดที่ประทับใจก็โปรดคัดมานำเสนอได้นะครับ...

. การครองเรือน
o เมียดีดุจทาสรู้ ..................... การเรือน รอบแฮ
อายแก่สามีเหมือน ................... ดั่งน้อง
เป็นที่ปรึกษาเตือน .................. ดัดดุจ มดายนา ..... ( มดาย = แม่ )
ยามเมื่อผัวเคืองข้อง .............. อดกลั้นกลัวเกรง . ( สมเด็จพระเดชาฯ )


: อิตถีกัณฑ์ บทที่ ๑๐๓
หญิงใดน่ารักเหมือนแม่ ในเวลาบริโภคอาหาร และในเวลาแต่งตัว
มีความละอายดังน้องสาวเมื่ออยู่ในที่ลับ
ประกอบกิจการเรียบร้อยดีเหมือนทาสีในการหางานและในการหาอาหาร
เป็นที่ปรึกษาได้เวลามีภัย ชอบนอนเบื้องซ้ายในที่นอน
ศึกษาในการแต่งตัว อดกลั้นในเวลาผัวโกรธ
หญิงนั้นบัณฑิตกล่าวว่านางประเสริฐ
เมื่อทำลายชีวิตินทรีย์ไปแล้ว พึงไปเกิดในสวรรค์

ภุตฺเตสุ มณฺเฑสุ ขนีว กนฺตินี
คุยฺเหสุ ฐาเนสุ ภคินี ว หิรี
กมฺเมสุ ภตฺเต สุกรีว ทาสินี
ภเยสุ มนฺตี สยเนสุ รมฺมติ
รูเปสุ สิกฺขี อุปฺปเนสุ รมฺมติ
รูเปสุ สิกฺขี อุปฺปเนสุ ขมนี
สา นารี เสฏฐีติ วทนฺติ ปณฺฑิตา
กายสฺส เภทา จ ทิเว ภเวยฺย สา

o วิชาควรรักรู้ ................. ฤาขาด
อย่าหมิ่นศิลปศาสตร์ ........... ว่าน้อย
รู้จริงสิ่งเดียวอาจ ................ มีมั่ง
เลี้ยงชีพช้าอยู่ร้อย ............... ชั่วลื้อเหลนหลาน .. ( สมเด็จพระเดชาฯ )

ความคิดเห็นเพิ่มเติม :
นาคีมีพิษเพื้ยง................สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช................แช่มช้า
พิษน้อยหยิ่งโยโส.............แมลงป่อง
ชูแต่หางเองอ้า...............อวดอ้างฤทธี

บทนี้ก็เป็นอีกบทที่มีความหมายดีนะครับ

ความคิดเห็นเพิ่มเติม :
o เจ็บไฉนเพราะงูเงี้ยว......ขบสกนธ์
เจ็บยิ่งทุรชน ..............ปักษ์ร้าย
เจ็บงูเคี่ยวยามนต์ .........พิษผ่อน พ่ายแฮ
เจ็บเขี้ยวคนร้ายบ้าย .......แบ่งแก้กลไฉน ... ( สำนวนเก่า )

หามาให้อ่านประดับความรู้ครับ
“วรานนท์ คนชนบท”


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2009, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โคลงใหม่



:b41: กาลใดกายจิตตั้ง :b42: :b42: เป็นหนึ่ง :b42: เดียวกัน
กำหนดกายที่พึ่ง :b42: :b42: :b42: จิตได้
อบรมจิตมาซึ่ง :b42: :b42: :b42: นายแห่ง :b42: กายา
สองร่วมกายจิตไว้ :b42: :b42: :b42: แน่นแฟ้นหนึ่งเดียว

:b41: ตั้งกายในจิตไว้ :b42: :b42: กาลใด :b42: พี่เฮย
เป็นหนึ่งรวมกายใจ :b42: :b42: :b42: ครบถ้วน
ก้าวลงสู่สุขไว้ :b42: :b42: :b42: เร็วยิ่ง :b42: ยวดแฮ
เบาจิตเบากายล้วน :b42: :b42: :b42: จิตตั้งอภิญญา

:b41: อภิญญาจิตผู้ :b42: :b42: ฝึกตน :b42: ไว้ดี
พละก่อกำลังดล :b42: :b42: :b42: แก่กล้า
อบรมยิ่งญาณตน :b42: :b42: :b42: เกิดก่อ :b42: ปัญญา
รู้ยิ่งพิเศษอ้า :b42: :b42: :b42: :b42: แจ่มแจ้งวิธี

:b41: ร่วมมือกายจิตได้ :b42: :b42: หนึ่งเดียว :b42: นาพ่อ
มิส่ายมิลดเหลียว :b42: :b42: :b42: ซ่านฟุ้ง
กายจิตมั่นคงเทียว :b42: :b42: :b42: สองร่วม :b42: มือกัน
ญาณแจ่มดุจสีรุ้ง :b42: :b42: :b42: เพริดแพร้วพรรณราย



" กายก็ดีจิตก็ดีย่อมมีการกำหนดอย่างเดียวกัน

ความเข้าใจว่าเป็นสุขและเร็วพลันมีอยู่

การทำกายและจิตให้เป็นอันหนี่งอันเดียวกัน

เรียกว่า " อิทธิวิธีญาณ " ญาณนำมาซึ่งความสำเร็จ


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 24 พ.ย. 2009, 17:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2009, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: อินทรีย์แปดนี่ตั้ง :b42: :b42: เป็นหนึ่ง :b42: กาลใด
พละเจ็ดย่อมถึง :b42: :b42: :b42: แก่กล้า
อินทรีย์ร่วมพละจึ่ง :b42: :b42: :b42: ผูกแน่น :b42: จิตกาย
ฌานมั่นญาณสถิตอ้า :b42: :b42: :b42: มั่นล้วนศิลา



จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใดอบรมได้ดั่งนี้
ความทุกข์จักมีมาจากที่ใดเล่า


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 24 พ.ย. 2009, 17:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2009, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุกับท่านมหาราชันย์ด้วยครับ

เยี่ยมยุทธ จริง ๆ ครับ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร