วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 01:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=8



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0013.jpg
0013.jpg [ 48.19 KiB | เปิดดู 3622 ครั้ง ]
........ เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่ระงับ
ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรไว้ว่า คนโน้นด่าเรา
คนโน้นได้ตีเรา คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักสิ่งของๆ เรา ดังนี้
เวรของชนเหล่านั้นย่อมระงับ

....ในกาลไหนๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย
แต่ย่อมระงับเพราะความไม่จองเวร
ธรรมนี้เป็นของเก่า ก็ชนเหล่าอื่นไม่รู้สึกว่า
พวกเราย่อมยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้
ส่วนชนเหล่าใดในท่ามกลางสงฆ์นั้น
ย่อมรู้สึก ความหมายมั่นย่อมระงับจากชนเหล่านั้น

....มารย่อมรังควาญบุคคลผู้มีปรกติเห็นอารมณ์ว่างาม
ผู้ไม่สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่รู้ประมาณในโภชนะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลว
เหมือนลมระรานต้นไม้ที่ทุรพล ฉะนั้น

....มารย่อมรังควาญไม่ได้ซึ่งบุคคลผู้มีปรกติเห็นอารมณ์ว่าไม่งามอยู่
สำรวมดีแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
รู้ประมาณในโภชนะ มีศรัทธา ปรารภ ความเพียร
เหมือนลมระรานภูเขาหินไม่ได้ ฉะนั้น

....ผู้ใดยังไม่หมดกิเลสดุจน้ำฝาดปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งห่มผ้ากาสายะ
ผู้นั้นไม่ควรเพื่อจะนุ่งห่มผ้ากาสายะ
ส่วนผู้ใดมีกิเลสดุจน้ำฝาดอันคายแล้ว
ตั้งมั่นแล้วในศีลประกอบด้วยทมะและสัจจะ
ผู้นั้นแลย่อมควรเพื่อจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ

....ชนเหล่าใดมีความรู้ในธรรมอันหาสาระมิได้ว่าเป็นสาระ
และมีปกติเห็นในธรรมอันเป็นสาระ ว่าไม่เป็นสาระ
ชนเหล่านั้นมีความดำริผิดเป็นโคจร
ย่อมไม่บรรลุธรรมอันเป็นสาระ
ชนเหล่าใดรู้ธรรมอันเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ
และรู้ธรรมอันหาสาระมิได้ โดยความเป็นธรรมอันหาสาระมิได้
ชนเหล่านั้นมีความดำริชอบเป็นโคจร
ย่อมบรรลุธรรมอันเป็นสาระ


เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



รูปภาพสาธุ ..... เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




R802-6.gif
R802-6.gif [ 9.91 KiB | เปิดดู 3595 ครั้ง ]

รูป อุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ
เวทนา อุปมาด้วยฟองน้ำ
สัญญา อุปมาด้วยพยับแดด
สังขาร อุปมาด้วยต้นกล้วย และ
วิญญาณ อุปมาด้วยกล

ภิกษุย่อมเพ่งพิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นโดยแยบคายด้วยประการใดๆ
เบญจขันธ์นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่าด้วยประการนั้นๆ

ก็การละธรรม ๓ อย่าง
อันพระพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน
ปรารภกายนี้ทรงแสดงแล้ว
ท่านทั้งหลายจงดูรูปอันบุคคลทิ้งแล้ว.

อายุ ไออุ่น และวิญญาณย่อมละกายนี้เมื่อใด
เมื่อนั้น กายนี้อันเขาทอดทิ้งแล้วย่อมเป็นเหยื่อแห่งสัตว์อื่น
หาเจตนามิได้ นอนทับถมแผ่นดิน.


นี้เป็นความสืบต่อเช่นนี้ นี้เป็นกลสำหรับหลอกลวงคนโง่
เบญจขันธ์เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง
เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีในเบญจขันธ์นี้.



ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน.

ภิกษุเมื่อปรารถนาบทอันไม่จุติ
พึงละสังโยชน์ทั้งปวง
พึงกระทำที่พึ่งแก่ตน
พึงประพฤติ ดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้.



:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b48: :b41: :b41: :b41: :b48: :b48:


รูปภาพสาธุ ..... เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0312.gif
0312.gif [ 327.08 KiB | เปิดดู 3559 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: tongue


:b48: เอวเมว โข ได้ตรัสไว้
รูปนั้นไซร้ กลุ่มฟองน้ำ ใช่แก่นสาร
ล้วนเป็นทุกข์ มิคงอยู่ คู่ตามกาล
ต้องแหลกราญ เพราะมิมี ที่ตัวตน

:b48: เริ่มจากเท่า เมล็ดพุทรา น่าขันยิ่ง
มิพ้นไปจาก ความจริง ยิ่งสับสน
บ้างขยาย ใหญ่คล้าย ดังหัวคน
แต่ไม่พ้น แตกดับ ลับลงไป

:b48: เวทนา ดั่งฟองน้ำ ที่เกิดได้
ต้องอาศัย หยด ละออง พื้นน้ำไหล
ยามลมพัด รวมตัวกัน ขึ้นฉันใด
เกิดเวทนา เพราะปัจจัย เช่นเดียวกัน

:b48: เพราะเกิดจาก อายตนะ ใน นอก ไซร้
ผัสสะเกิด ทันใด อารมณ์นั่น
ระลอกกิเลส รวมผสม ผสานกัน
เกิดก่อเป็น เวทนานั้น ไม่ต่างไป

:b48: ได้ตรัสเปรียบ สัญญาดั่ง พยับแดด
มีแต่แผด เผาให้ยับ จับไม่ได้
บางครั้งลวง ล่อให้หลง ดั่งดงไฟ
หาสาระ ไม่ได้ คือสัญญา

:b48: สังขารทรง อุปมา ดั่งต้นกล้วย
จะหยิบฉวย สร้างเรือนบ้าง ตังปรารถนา
ไม่สามารถ ใช้ได้ ดั่งจินตนา
ไร้สาระ ไร้ราคา มิน่าชม

:b48: วิญญาณ ทรงอุปมา ดั่งมายา
กลมายา ล่อให้มี ที่ขื่นขม
บางครั้งลวง ล่อให้จิต ได้ชิดชม
ร้าวระบม สลับสุข ทุกวันคืน

:b48: อุปทาน ขันธ์ทั้งห้า ไร้แก่นสาร
ดั่งมือมาร เพชฌฆาต ไม่อาจฝืน
ดุจอัคคี ไหม้ศีรษะ ทุกวันคืน
ต้องกล้ำกลืน ทนฝืนไป ในวัฏฏา






รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2009, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวดังนี้ว่า :- อวิชชาก็อีกนั่นแล มีสิ่งนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ เรากล่าวว่า

๑. อวิชชามีอาหาร อาหารของอวิชชา คือ นิวรณ์ ๕
๒. นิวรณ์ ๕ มีอาหาร........... คือ ทุจริต ๓
๓. ทุจริต ๓ มีอาหาร ........ คือ การไม่สำรวมอินทรีย์
๔. การไม่สำรวมอินทรีย์ มีอาหาร ...... คือ การขาดสติสัมปชัญญะ
๕. การขาดสติสัมปชัญญะ มีอาหาร........ คือ การขาดโยนิโสมนสิการ
๖. การขาดโยนิโสมนสิการ มีอาหาร........ คือ การขาดศรัทธา
๗. การขาดศรัทธา มีอาหาร........ คือ การไม่ได้สดับสัทธรรม
๘. การไม่ได้สดับสัทธรรม มีอาหาร........ คือ การไม่ได้เสวนาสัปบุรุษ
การไม่ได้เสวนาสัปบุรุษอย่างบริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ได้ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การไม่ได้ฟังสัทธรรมอย่างบริบูรณ์ ย่อมทำความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
ฯลฯ

นิวรณ์ ๕ บริบูรณ์ ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชา มีอาหาร และมีความบริบูรณ์ อย่างนี้

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 22:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๔๔๒] พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว
จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปว่าเราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า กระดูกของบุคคลคนหนึ่งที่สะสมไว้กัปหนึ่ง
พึงเป็นกองเท่าภูเขา ก็ภูเขาที่เรากล่าวนั้น คือ ภูเขาใหญ่ชื่อเวปุลละ
อยู่ทิศเหนือของภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์ อันมีภูเขาล้อมรอบ
เมื่อใดบุคคลเห็นอริยสัจ
คือทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์
ความล่วงพ้นทุกข์
และอริยมรรคมีองค์ ๘
อันยังสัตว์ให้ถึงความสงบทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ
เมื่อนั้น เขาท่องเที่ยว ๗ ครั้งเป็นอย่างมาก
ก็เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสิ้นสัญโญชน์ทั้งปวง ดังนี้แล ฯ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 02:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา สาธุ ด้วยครับ ทุกท่าน :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนา สาธุครับ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจตนา ๖ หมวดนี้คือ
รูปสัญเจตนา
สัททสัญเจตนา
คันธสัญเจตนา
รสสัญเจตนา
โผฏฐัพพสัญเจตนา
ธรรมสัญเจตนา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสังขาร.
ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
ความดับแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ยิ่งซึ่งสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ความวนเวียนเพื่อปรากฏ ย่อมไม่มี แก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 04 ม.ค. 2010, 21:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้คือ
จักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ.
ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป
ความดับแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้
รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้
รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้
ปฏิบัติแล้ว เพื่อความหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
ชนเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้
รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้
รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้
เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน
ความวนเวียนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2010, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยศีลที่เป็นกุศล มีอะไรเป็นผลเป็นอานิสงส์


[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์.


อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อวิปปฎิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์.
พ. ดูก่อนอานนท์ อวิปปฎิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์.
พ. ดูก่อนอานนท์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์.
พ. ดูก่อนอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์.
พ. ดูก่อนอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์.
พ. ดูก่อนอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์.
พ. ดูก่อนอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์.
พ. ดูก่อนอานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทาวิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์.
พ. ดูก่อนอานนท์ นิพพิทาวิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผลมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

:b41: ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์
:b41: อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผลมีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล
:b41: มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์
:b41: ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์
:b41: สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์
:b41: สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
:b41: ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์
:b41: นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้


ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหัตโดยลำดับด้วยประการดังนี้แล.



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: ทั้งการพูด :b42: และการติ :b42: มีไว้บ้าง
พูดเพื่อสร้าง :b42: ความเข้าใจ :b42: ให้แจ่มแจ้ง
ติเพื่อก่อ :b42: ตรงวัจนะ :b42: พระแสดง
สอนขัดแย้ง :b42: หรือตรงทาง :b42: สร้างนิพพาน

:b41: เมื่อมองคน :b42: เรามองธรรม :b42: ที่นำมา
ตรวจทานว่า :b42: ธรรมะนี้ :b42: มีหลักฐาน
หรือกล่าวอ้าง :b42: อย่างเลื่อนลอย :b42: ผิดถ้อยการ
พึงเตือนท่าน :b42: ถึงสิ่งถูก :b42: ปลูกสัทธา

:b41: ผิดคนอื่น :b42: ถือเสมือน :b42: เพื่อนสนิท
คอยสกิด :b42: ชี้ทางแก้ :b42: ถูกแน่น่า
หากรักเขา :b42: เราเตือนเขา :b42: เอาเมตตา
และกรุณา :b42: มาให้เพื่อน :b42: ตักเตือนกัน

:b41: เรื่องคนอื่น :b42: กับเรื่องตน :b42: พึงขวนขวาย
อย่าดูดาย :b42: ไม่แก้ไข :b42: ในผิดนั้น
เขาจักว่า :b42: ท่านใจดำ :b42: คำแบ่งปัน
มีให้กัน :b42: แนะผิดถูก :b42: ปลูกไมตรี

:b41: เราทั้งหลาย :b42: หญิงชาย :b42: หมายใฝ่รู้
มัวนิ่งอยู่ :b42: ดูดาย :b42: ได้ไงพี่
เพราะบัณฑิต :b42: ย่อมรับฟัง :b42: ระวังวจี
คำเตือนติ :b42: มีค่ายิ่ง :b42: อิงอรรถธรรม



บัณฑิตย่อมเห็นประโยชน์ผู้อื่นเทียมเท่าประโยชน์ตน
บัณฑิตย่อมมุ่งแก้ไขสิ่งผิดผู้อื่นเทียมเท่าการแก้ไขสิ่งผิดของตน
พระสมณะโคดมมีความรักในพระราหุลอย่างไรย่อมมีความรักในพระเทวทัตอย่างนั้น



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร