วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=8



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 05:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 12:21
โพสต์: 637

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




.jpg
.jpg [ 66.34 KiB | เปิดดู 5332 ครั้ง ]
cool
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0095.gif
0095.gif [ 124.84 KiB | เปิดดู 5255 ครั้ง ]
รูปภาพ :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:



อิทธิ คือ ความสำเร็จ หรือความได้
บาทนั้นไซร้ คือฐาน งานทุกสิ่ง
อิทธิบาท คือจิตของ ผู้รู้จริง
แจ้งในสิ่ง เข้าถึง ซึ่งธัมมา

ความพอใจในธรรม นั่น ฉันทะ
ที่เพียรละอกุศลดลตัณหา
ระมัดระวังมิให้เกิดในจินตนา
เพราะจะพาจิตเจ้าเคล้าธรรมดำ

งานสิ่งใด ใช้ฉันทะ เป็นที่ตั้ง
ย่อมจะยัง จิตตั้งไว้ ในทางสัมม์
ปรารภเพียร ประคองจิตไว้ ในกุศลธรรม
เพียรละ บั่น อกุศล ที่ยลใจ

ฉันทะ เป็น ปธานสังขาร ในจินตนา
องค์ธรรมพา วิริยา ให้ผ่องใส
ทั้งจิตตะ วิมังสา เกิดร่วมใน
หลอมรวมไซร้ แจ้งประจักษ์ เอกัคคตา

Quote Tipitaka:
รูปภาพ

[๕๐๕] อิทธิบาท ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

[๕๐๘] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การสำเร็จ การสำเร็จด้วยดี
ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง
ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น

คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น

คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่านั้น
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท




รูปภาพ เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 31 ส.ค. 2010, 12:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




jpg.jpeg
jpg.jpeg [ 28.33 KiB | เปิดดู 5242 ครั้ง ]
รูปภาพ :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


การเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร



งานสิ่งใด ใช้ฉันทะ เป็นที่ตั้ง
ย่อมจะยัง จิตตั้งไว้ ในทางสัมม์
ปรารภเพียร ประคองจิตไว้ ในกุศลธรรม
เพียรละ บั่น อกุศล ที่ยลใจ


ฉันทะ เป็น ปธานสังขาร ในจินตนา
องค์ธรรมพา วิริยา ให้ผ่องใส
ทั้งจิตตะ วิมังสา เกิดร่วมใน
หลอมรวมไซร้ แจ้งประจักษ์ เอกัคคตา


Quote Tipitaka:
รูปภาพ



[๕๐๖] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขารเป็นอย่างไร

ถ้าภิกษุทำฉันทะให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต
สมาธิ นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ

ภิกษุนั้น
ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น

ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น

ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร

ฉันทสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน
ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า ฉันทสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้



:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

[๕๐๗] ในบทเหล่านั้น
ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความใคร่เพื่อจะทำ ความฉลาด ความพอใจในธรรม
นี้เรียกว่า ฉันทะ


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด
นี้เรียกว่า สมาธิ

ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม
ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย
ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระไว้ด้วยดี
วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันใด
นี้เรียกว่า ปธานสังขาร


ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยฉันทะ สมาธิ และ ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

[๕๐๘] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การสำเร็จ การสำเร็จด้วยดี
ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง
ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น

คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น

คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่านั้น
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท




รูปภาพ เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 01 ก.ย. 2010, 22:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8: ขออนุโมทนาสาธุการกับทุกท่านด้วยค่ะ :b20:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




d33684b166c22f7208230285.jpg
d33684b166c22f7208230285.jpg [ 20.45 KiB | เปิดดู 5183 ครั้ง ]
รูปภาพ :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


การเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร



แม้ใช้เพียร เป็นปธาน การณ์ที่ตั้ง
ฉันทะประดัง จิตตะ วิมังสา
ก็เกิดร่วม เกิดพร้อม ในจินตนา
รวมเป็นหนึ่ง เอกัคคตา แห่งจิตตน

การปรารภ ความเพียร ในดวงจิต
พาเข้าชิด ธัมมา พาสู่กุศล
กุศลใด ยังไม่เกิด ก่อให้ดล
ส่วนกุศล ที่เกิดแล้ว ให้แพร้วงาม


Quote Tipitaka:
รูปภาพ


[๕๐๙] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย วิริยสมาธิปธานสังขารเป็นอย่างไร

ถ้าภิกษุทำความเพียรให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต
สมาธินี้เรียกว่า วิริยสมาธิ ภิกษุนั้น

ภิกษุนั้น
ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น

ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น

ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร

วิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน
ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า วิริยสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้



:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


[๕๑๐] ในบทเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม
ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย
ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ
อินทรีย์คือวิริยะ วิริยะพละ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า วิริยะ


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด
นี้เรียกว่า สมาธิ

ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม
ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย
ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ
วิริยะพละ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยวิริยะ สมาธิ และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้
ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

[๕๑๑] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การสำเร็จ
การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง
ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น

คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น

คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่านั้น
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท




รูปภาพ เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 01 ก.ย. 2010, 21:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 12:21
โพสต์: 637

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาด้วยครับ

กลอนนี้แต่งมาเนิ่นนาน แต่เดิมคือ บทนี้ครับ


อิทธิบาท 4

อยากทำดี มีใจรัก คือฉันทะ
มิใช่จะ หวังแต่ได้ คือตัณหา
ในฉันทะ จะมุ่งสร้าง พัฒนา
ในตัณหา มุ่งรับผล ตนไม่ทำ

วิริยะ พากเพียร หมั่นประกอบ
ด้วยใจชอบ คือฉันทะ จึงบากบั่น
เอาธุระ ไม่ทิ้งทอด ตลอดวัน
ใจขยัน งานสู้ คู่กันมา

จิตตะ คือเอาจิต คิดฝักใฝ่
คอยใส่ใจ คอยคิดถึง คนึงหา
คิดแต่งาน ไม่กลบเกลื่อน เลื่อนเวลา
คิดจนกว่า งานเสร็จสิ้น สมดั่งใจ

วิมังสา ใช้ปัญญา คอยสอบสวน
ทั้งใคร่ครวญ ในเหตุผล จนแก้ไข
อาจทดลอง วางแผน แก้กันไป
ปรับปรุงให้ สำเร็จได้ ด้วยปัญญา

อิทธิบาทธรรม นำสู่ ความสำเร็จ
ประดุจเพชร เลิศล้ำ กลางเวหา
ไม่หวังพึ่ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฤทธินานา
ธรรมล้ำค่า ทำได้ ในมือเรา


ขอให้เพื่อนๆ มีความสุข เจริญในธรรมทุกท่านครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 00:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1115378716.jpg
1115378716.jpg [ 26.37 KiB | เปิดดู 5108 ครั้ง ]
รูปภาพ :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


การเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร



แม้ผู้ใดใช้จิตตเป็นประธาน
ขณะกาลย่อมเกิด ธรรมทั้งสาม
ทั้งฉันทะ วิริยะ พาพ้นกาม
วิมังสา ปัญญางาม ย่อมเจริญ



:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


การเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร



ใช้ ปัญญา วิมังสา ปรุงแต่งจิต
กุศลสนิท แนบชิด น่าสรรเสริญ
ทั้งฉันทะ วิริยะ จิตตเจริญ
ใช่บังเอิญ แต่เกิดร่วม เกิดพร้อมกัน


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


และนี่คือ รากฐาน งานยิ่งใหญ่
พาจิตให้ประสบผล ดลรังสรรค์

ทำเหตุใด ผลที่ได้ ย่อมตรงกัน

ขออนุญาต ร่วมรังสรรค์ .....กับ....จักรแก้วรัตนา
tongue


รูปภาพ เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 35 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร