ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=80&t=54640
หน้า 1 จากทั้งหมด 3

เจ้าของ:  eragon_joe [ 05 ก.ย. 2011, 22:33 ]
หัวข้อกระทู้:  ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

พรรษาต่อมาพระอาจารย์มั่น ภูริทตโต ไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านค้อ
อำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี มีท่านอาจารย์สุวรรณ สุจินโณ ท่านอาจารย์สิงห์ ขนตยาคโม
ท่านอาจารย์ตื้อ ท่านอาจารย์แหวน สุจินโณ ท่านอาจารณ์หนูใหญ่ ติดตามมาปฏิบัติธรรมกับท่าน
พรรษานี้ท่านได้ให้คำแนะนำในข้อปฏิบัติแก่ศิษย์เพื่อความก้าวหน้าแห่งการ
ดำเนินจิตเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากท่านทุกรูปเหล่านั้นบำเพ็ญเพียรได้ผลทางปฏิบัติมาแล้ว
ขั้นต่อไปก็คืออบรมให้เกิดความแก่กล้ายิ่งขึ้น ข้อสำคัญคือ ความหลงในญาณ
ผู้ที่ต้องการพ้นทุกข์จริง ๆ จะต้องไม่หลงอยู่ในความเป็นไปเหล่านั้น
ท่านได้อธิบายว่า “ญาณ” คือความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นในระหว่างแห่งความสงบ
เป็นต้นว่าญาณระลึกชาติได้ ญาณรู้จักเหตุการณ์ในอดีต ญาณรู้จักเหตุการณ์ในอนาคต
รู้จักวาระจิต ความนึกคิดของบุคคลอื่นเป็นต้น เหล่านี้ล้วนแต่เป็นวิชาน่าอัศจรรย์ทีเดียว
แต่ถ้าหากว่าหลงและติดอยู่ในญาณเหล่านี้แล้ว จะทำให้เกิดความเนิ่นช้า
ในการปฏิบัติเพื่อเข้าสู่อริยสัจธรรม


:b54: :b54: :b54: :b54:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 05 ก.ย. 2011, 22:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

แต่ญาณเหล่านี้ ที่เป็นอุปกรณ์อย่าดีพิเศษ ในอันที่จะดำเนินจิตเข้าสู่อริยสัจ
หรือการทรมานบุคคลบางคน แต่ว่าจะว่ามันเป็น “ญาณ” อย่ายินดีหรือติดอยู่เพียงเท่านี้
เพราะเท่ากับว่ามันเป็นผลพลอยได้ เกิดจากการบำเพ็ญจิตเข้าสู่อริยสัจนั่นเอง
ถ้าหากว่าเราไปยินดีหรือไปติดอยู่เพียงเท่านี้แล้ว ก็จะก้าวไปสู่ความไปจากทุกข์ไม่ได้
แม้แต่พระเทวทัตในสมัยครั้งพุทธกาลก็สำเร็จญาณถึงห้าประการ
แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้สมกับความประสงค์ แต่หลงอยู่ในญาณของตน เกิดทิฐิมานะ
ว่าตนเก่งตนดี ถึงกับต้องการจะเป็นพระพุทธเจ้าแทนเอาเลยทีเดียว
แต่ที่ไหนได้ ในที่สุดโดยอาศัยความหลงญาณกลับต้องเสื่อมหมดทุกอย่าง
แต่ที่ไหนได้ ไม่เข้าถึงอริยสัจ แต่กลับตกนรกไปเลย
พระอาจารย์มั่นท่านเน้นว่า ญาณเหล่านี้มันน่าคิดจริง ๆ เพราะมัน
วิเศษแท้ ทั้งเยือกเย็น ทั้งสว่างผ่องใส ทั้งรู้อะไรที่เป็นอดีต อนาคต
ตามความประสงค์ ผู้ที่ไม่เข้าใจความจริงที่ไปติด ณ ที่นี้ เราจะสังเกต
เห็นได้ตรงที่เกิดทิฐิขึ้นมาอย่างหนึ่ง คือการถือตัวว่าดีกว่าใคร ๆ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็น
ครูบาอาจารย์ เพื่อนสหธรรมิก หรือ ศิษย์
หาว่าศิษย์สู้เราไม่ได้ ใครก็สู้เราไม่ได้ ทิฐิชนิดนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่รู้ตัว
ซึ่งท่านอาจารย์มั่นท่านเปรียบว่า มีจระเข้ตัวหนึ่งใหญ่เหลือเกินอยู่ในท้องทะเล
มันไม่รู้ว่าหางของมันอยู่ไหน เมื่อมันไม่รู้ มันไม่เห็นหางของมัน
มันก็กินหางของมัน กิน ๆ ไปจนเหลือแต่หัวเลยขม้ำซ้ำหมดเลย


:b48: :b48: :b48: :b48:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 05 ก.ย. 2011, 22:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

และท่านก็อธิบายว่า การหลงตัวด้วยญาณนี้มันละเอียดนัก
เราจะสังเกตได้อีกอย่างหนึ่งคือ การขาดจากความรอบคอบบางสิ่งบางประการ
เพราะความถือตัว เช่น กล่าวคำดูถูกดูหมิ่นต่อเพื่อนสหธรรมิกด้วยกัน
ต่อครูบาอาจารย์ของตน หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งตนไม่เห็นด้วยกับ
การดำเนินญาณทุกญาณ
พระอาจารย์มั่นกล่าวว่า มันต้องเสื่อม มันจะคงตัวอยู่ได้ตลอดไปหาได้ไม่
แต่ต่อไปก็เลือนเข้า ๆ กลับกลายเป็นความนึกคิดโดยอาศัยสัญญาเก่า
นี่คือความเสื่อมแห่งญาณ
ลูกศิษย์ก็มีหลายรูป ที่ต้องเสื่อมลงจากญาณเหล่านี้อย่างน่าเสียดาย
ดังนั้นเพื่อป้องกันการเสื่อม จึงต้องรีบดำเนินจิตเข้าสู่อริยสัจเสียเลย
เพราะความที่จิตเข้าสู่อริยสัจได้แล้ว มันก็ห่างจากความเสื่อมไปทุกที ๆ
ท่านยกตัวอย่างว่าท่านหนูใหญ่ อายุคราวเดียวกับท่านอาจารย์ฟั่น อาจาโร
ไม่พยายามดำเนินจิตเข้าสู่อริยสัจ แต่ว่ามีญาณแหลมคมดี เอาแต่ญาณภายนอก
อย่างเดียวจึงเสื่อมได้
ท่านอาจารย์หนูใหญ่รูปนี้มีวาสนาบำเพ็ญจิตได้ผลยิ่ง ปฏิบัติสมาธิ
ได้ผลเร็วก็เกิดญาณรู้ความจริงบางอย่างได้อย่างคล่องแคล่ว จึงเป็นที่ปรึกษา
หารือในหมู่คณะได้เป็นอย่างดี อีกทั้งมีความรู้พิเศษ เป็นที่น่าอัศจรรย์
เป็นที่เกรงขามแก่สหธรรมิกและหมู่คณะที่ร่วมสำนักเดียวกับท่าน
และแม้จะเป็นความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่านอาจารย์หนูใหญ่ก็จะรู้ทันที
ด้วยญาณของท่าน


:b39: :b39: :b39: :b39:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 05 ก.ย. 2011, 22:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

เช่นคราวหนึ่ง สามเณรจัดทำน้ำปานะ (อัฐบาน) ถวายพระเวลานั้น
พระอาจารย์หนูใหญ่กำลังนั่งสมาธิอยู่ ปรากฏในญาณของท่านเห็นพระภิกษุ
และสามเณรกำลังฉันอาหารกัน ท่านจึงออกจากสมาธิไปที่หมู่พวกพระภิกษุ
และสามเณรซึ่งกำลังฉันน้ำปานะอยู่ ท่านได้บอกพระทุกรูปว่ากำลังฉันสิ่งของ
ที่เจือด้วยอามิสแน่ ๆ เพราะมันไม่บริสุทธิสามเณรผู้ทำน้ำปานะมากับมือก็ยืนยัน
เสียงแข็งว่าไม่มีสิ่งใดเจือปนเด็ดขาดเพราะได้ระมัดระวังอย่างดีตลอด
แต่ท่านอาจารย์หนูใหญ่ก็ยืนยันเช่นเดิม จึงมีการสำรวจตรวจตรากัน
อย่างละเอียดอีกครั้ง ในที่สุดก็พบเมล็ดข้าวสุกติดอยู่กับภาชนะ
ที่ใช้ทำน้ำปานะจริง ๆ
ความเฉียบคมในกำลังญาณของท่านอาจารย์หนูใหญ่
เกิดประโยชน์แก่หมูคณะไม่น้อย เพราะเมื่ออยู่ใกล้ท่านต้องระมัดระวังตัว
ระวังความประพฤติและความนึกคิด จะออกนอกลู่นอกทางไม่ได้
เพราะท่านรู้เห็นตลอด ทำให้เกิดสติสัมปชัญญะควบคุมมาก
ไม่กล้ามีความเผลอไผลพลั้งพลาดง่าย ๆ ไม่พยายามเข้ามาหาท่านให้ท่าน
อบรมแนะนำบ่อย ๆ (ตรงนี้จะกล่าวว่าท่านอาจารย์หนูใหญ่ลืมตัว
เพราะหลงอยู่ในญาณหรือไม่ มิอาจทราบได้) ภายหลังญาณก็เสื่อมถอย
จากคุณธรรมส่วนนี้โดยไม่รู้สึกตัว ปักหลักยืนหยัดสู้กับกิเลสต่อไปไม่ไหว
ในที่สุดจำต้องลาสิกขาบท กลับคืนไปอยู่ในฆราวาสวิสัย เป็นทาสกิเลส
ต่อไปอีกอย่างน่าเสียดาย
ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวว่า บุคคลผู้ซึ่งปฏิบัติจนได้ญาณขั้นนี้
แต่ทำให้เสื่อมไป เปรียบได้กับมีสมบัติล้ำค่ามหาศาลอยู่กับตัวแต่รักษา
เอาไว้ไม่ได้ หรือไม่รู้จักใช้สอยให้เกิดประโยชน์ขึ้นมา ก็นับว่าเป็นเรื่อง
ที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง


:b46: :b46: :b46: :b46: :b46:

เจ้าของ:  murano [ 06 ก.ย. 2011, 21:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

มาช่วยย้ำตรงนี้...

eragon_joe เขียน:
พระอาจารย์มั่นท่านเน้นว่า ญาณเหล่านี้มันน่าคิดจริง ๆ เพราะมัน
วิเศษแท้ ทั้งเยือกเย็น ทั้งสว่างผ่องใส ทั้งรู้อะไรที่เป็นอดีต อนาคต
ตามความประสงค์ ผู้ที่ไม่เข้าใจความจริงที่ไปติด ณ ที่นี้ เราจะสังเกต
เห็นได้ตรงที่เกิดทิฐิขึ้นมาอย่างหนึ่ง คือการถือตัวว่าดีกว่าใคร ๆ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็น
ครูบาอาจารย์ เพื่อนสหธรรมิก หรือ ศิษย์
หาว่าศิษย์สู้เราไม่ได้ ใครก็สู้เราไม่ได้ ทิฐิชนิดนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่รู้ตัว
:b48: :b48: :b48: :b48:


eragon_joe เขียน:
และท่านก็อธิบายว่า การหลงตัวด้วยญาณนี้มันละเอียดนัก
เราจะสังเกตได้อีกอย่างหนึ่งคือ การขาดจากความรอบคอบบางสิ่งบางประการ
เพราะความถือตัว

เจ้าของ:  อินทรีย์5 [ 17 ก.ย. 2011, 16:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

ช่วยย้ำตรงนี้
อ้างคำพูด:
ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวว่า บุคคลผู้ซึ่งปฏิบัติจนได้ญาณขั้นนี้
แต่ทำให้เสื่อมไป เปรียบได้กับมีสมบัติล้ำค่ามหาศาลอยู่กับตัวแต่รักษา
เอาไว้ไม่ได้ หรือไม่รู้จักใช้สอยให้เกิดประโยชน์ขึ้นมา ก็นับว่าเป็นเรื่อง
ที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง

เจ้าของ:  eragon_joe [ 17 ก.ย. 2011, 21:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

eragon_joe เขียน:
พระอาจารย์มั่นกล่าวว่า มันต้องเสื่อม มันจะคงตัวอยู่ได้ตลอดไปหาได้ไม่
แต่ต่อไปก็เลือนเข้า ๆ กลับกลายเป็นความนึกคิดโดยอาศัยสัญญาเก่า
นี่คือความเสื่อมแห่งญาณ

ลูกศิษย์ก็มีหลายรูป ที่ต้องเสื่อมลงจากญาณเหล่านี้อย่างน่าเสียดาย
ดังนั้นเพื่อป้องกันการเสื่อม จึงต้องรีบดำเนินจิตเข้าสู่อริยสัจเสียเลย
เพราะความที่จิตเข้าสู่อริยสัจได้แล้ว มันก็ห่างจากความเสื่อมไปทุกที ๆ

ท่านยกตัวอย่างว่าท่านหนูใหญ่ อายุคราวเดียวกับท่านอาจารย์ฟั่น อาจาโร
ไม่พยายามดำเนินจิตเข้าสู่อริยสัจ แต่ว่ามีญาณแหลมคมดี เอาแต่ญาณภายนอก
อย่างเดียวจึงเสื่อมได้

:b39: :b39: :b39: :b39:


:b1: :b1: :b1:

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 17 ก.ย. 2011, 21:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

eragon_joe เขียน:
ภายหลังญาณก็เสื่อมถอย
จากคุณธรรม
ส่วนนี้โดยไม่รู้สึกตัว ปักหลักยืนหยัดสู้กับกิเลสต่อไปไม่ไหว
ในที่สุดจำต้องลาสิกขาบท กลับคืนไปอยู่ในฆราวาสวิสัย เป็นทาสกิเลส
ต่อไปอีกอย่างน่าเสียดาย


:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 21 ก.ย. 2011, 00:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

ต้องดูด้วยว่าขั้นไหน
มี!ดีกว่าไม่มีย้ำ!มีดีกว่าไม่มีอะไรเลย

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 21 ก.ย. 2011, 00:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

ใครไม่เอาผมขอญาณอยากได้ๆๆ :b2:

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 21 ก.ย. 2011, 10:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

ย้ำคนเดียวไม่ต้องการคนช่วย
มีดีกว่าไม่มี..อะไรเลยอยากได้ด้วย Kiss

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 21 ก.ย. 2011, 10:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

ไม่ได้ช่วย

แต่อยากได้...

เอาใว้ทำฝนตกหน้าแล้ง :b32: :b32:

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 21 ก.ย. 2011, 11:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

แปลกดี....มีพวกชอบโพสธรรมะของหลวงปู่มั่นจะเข้าสู่อริยะสัจ4กันแล้ว :b14: โดยที่ดวงพุทธโธยังไม่มีอะไรกันเลย...นี่ยังรังเกียจญาณกันอีก

เจ้าของ:  murano [ 21 ก.ย. 2011, 20:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

เขาบอกว่า อย่าหลงในญาณ ไม่ใช่บอกว่าญาณไม่ดี :b6: :b6: :b6:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 22 ก.ย. 2011, 04:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

หนับหนุน..คับ :b17:

หน้า 1 จากทั้งหมด 3 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/