ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=80&t=54640
หน้า 2 จากทั้งหมด 3

เจ้าของ:  อายะ [ 22 ก.ย. 2011, 11:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

งานหลักคือคือยกจิตขึ้นวิปัสสนา เพื่อความหลุดพ้นจากวัฎฎะ
ผลพลอยได้อาจจะได้หรือไม่ได้ฌาณ
แต่คงน้อยคนนักที่จะได้ฌาณ
หลวงปู่มั่นท่านคงเตือนพระรูปใดรูปหนึ่งที่ได้ฌาณ มิใช่ห้ามผู้ปฏิบัติทั่วไปเจริญจิตจนถึงขั้นฌาณ
แต่ไฉนผู้ไม่เคยได้ฌาณมักกลัวติดฌาณ แล้วก็เที่ยวเตือนชาวบ้านระวังติดฌาณ
บางคนแม้อยากจะได้ฌาณทำทั้งชาติก็ไม่ได้
คนไม่ได้ฌาณกลัวติดฌาณ งงแท้ครับ

เจ้าของ:  อินทรีย์5 [ 22 ก.ย. 2011, 13:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

แต่ถ้าเปนสายหลวงพ่อฤาษี จะเน้นสงบจนเป็นฌานก่อน ถ้าข่มนิวรณได้ ก้เอาฌานได้ แต่ปกติ
จะจัดการความฟุ้งซ่านไม่ได้ เกิดความอยากตอนจิตเริ่มสงบ จิตเลยถอยออกจากฌานหรือได้ฌานแปลบๆก้
ตกจากฌาน แล้วก้ทำต่อไม่ได้อีก สิ่งที่ต้องระวังไม่ใช่ตัวฌานแต่เปนความพอใจและเพลินในการเข้า
ถึงความสุขของฌานนั้นๆ

เจ้าของ:  eragon_joe [ 22 ก.ย. 2011, 15:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

๑๐. อนุรุทธสูตร พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตตรนิกาย

[๑๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลามิคทายวัน
แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท
ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ
เกิดความปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า
1. ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย
มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก
2. ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ
3. ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
4. ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน
5. ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม
6. ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง
7. ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ฯ

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธะแล้ว
เสด็จจากเภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท
ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะที่วิหารปาจีนวังสทายวัน
เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว
แม้ท่านพระอนุรุทธะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า
ดีแล้วๆ อนุรุทธะ ถูกละ ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตก
ว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ...
ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า
ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า
มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า


ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร
เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุ จตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรจักปรากฏแก่เธอ
ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่หวาดเสียว
ด้วยความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดี หรือบุตรแห่งคฤหบดี
อันเต็มไปด้วยผ้าสีต่างๆ ฉะนั้น

ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ในกาลนั้น โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนข้าวสุก (หุงจาก) ข้าวสาลี คัดเอาดำออกแล้ว
มีแกงและกับหลายอย่าง ของคฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดี ฉะนั้น

ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ...
ในกาลนั้น เสนาสนะ คือ โคนไม้ จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนเรือนยอดของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉาบทาไว้ดีแล้ว
ปราศจากลม ลงลิ่มสลักมิดชิด ปิดหน้าต่างสนิท ฉะนั้น

ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
ในกาลนั้น ที่นอนที่นั่งอันลาดด้วยหญ้า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี
อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขนยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว
ลาดด้วยผ้าสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดี
ทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาดเพดานแดง มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉะนั้น

ดูกร อนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
ในกาลนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนเภสัชต่างๆ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉะนั้น ฯ

ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น
เธอพึงอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน
แคว้นเจดีย์นี้แหละ ต่อไปอีกเถิด
ท่านพระอนุรุทธะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนท่านพระอนุรุทธะด้วยพระโอวาทนี้แล้ว
เสด็จจากวิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นคร
ไปปรากฏที่ป่าเภสกลามิคทายวัน แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ
เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น

ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่จำพรรษา
ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นครนั้นนั่นแล ต่อไปอีก
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก
ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม
ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย
ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะบรรลุอรหัตแล้ว
ได้กล่าวคาถานี้ไว้ในเวลานั้นว่า

พระศาสดาผู้เป็นเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว
ได้เข้ามาหาเราด้วยฤทธิ์ทางพระกายอันสำเร็จแต่พระหฤทัย
พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่งกว่าความดำริของเราเท่าที่ดำริไว้
พระพุทธเจ้าผู้ยินดีแล้วในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ได้ทรงแสดงซึ่งธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีในศาสนาอยู่
เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้วโดยลำดับ
คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำแล้ว ฯ



:b55: :b54: :b55: :b54: :b55:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 22 ก.ย. 2011, 15:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย อนุรุทธสูตรที่ ๒

[๕๗๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า
ขอโอกาสเถิดท่านสารีบุตร
ผมตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ก็ผมปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม
กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา
เออก็ไฉนเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า
ดูกรท่านอนุรุทธะ การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า
เราตรวจดูตลอดพันโลก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ดังนี้
เป็นเพราะมานะของท่าน
การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า ก็เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
ตั้งสติมั่นไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา ดังนี้
เป็นเพราะอุทธัจจะของท่าน
ถึงการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เออก็ไฉนเล่า จิตของเรายังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้
ก็เป็นเพราะกุกกุจจะของท่าน
เป็นความดีหนอ ท่านพระอนุรุทธะจงละธรรม ๓ อย่างนี้
ไม่ใส่ใจธรรม ๓ อย่างนี้ แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุ


ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะต่อมาได้ละธรรม ๓ อย่างนี้
ไม่ใส่ใจถึงธรรม ๓ อย่างนี้ น้อมจิตไปในอมตธาตุ
ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว
เป็นผู้ไม่ประมาท มีตนอันส่งไปอยู่
ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม
ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องกันนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็แหละ ท่านพระอนุรุทธะ
ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ


:b48: :b47: :b48: :b47: :b48:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 22 ก.ย. 2011, 15:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

อินทรีย์5 เขียน:
แต่ถ้าเปนสายหลวงพ่อฤาษี จะเน้นสงบจนเป็นฌานก่อน
ถ้าข่มนิวรณได้ ก้เอาฌานได้ แต่ปกติ
จะจัดการความฟุ้งซ่านไม่ได้ เกิดความอยากตอนจิตเริ่มสงบ
จิตเลยถอยออกจากฌานหรือได้ฌาน
แปลบๆก็ตกจากฌาน แล้วก้ทำต่อไม่ได้อีก สิ่งที่ต้องระวังไม่ใช่ตัวฌานแต่เปนความพอใจและเพลิน
ในการเข้าถึงความสุขของฌานนั้นๆ


:b1: :b1: :b1:

อิอิ.... :b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  murano [ 22 ก.ย. 2011, 19:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

eragon_joe เขียน:
[color=#800040]๑๐. อนุรุทธสูตร พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตตรนิกาย

[๑๒๐]...
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ
เกิดความปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า
1. ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย
มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก
2. ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ
3. ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
4. ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน
5. ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม
6. ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง
7. ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ฯ


....
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า
ดีแล้วๆ อนุรุทธะ ถูกละ ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตก
ว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ...
ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม

ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า
ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า
มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า


...


ดีมากๆ เวรี่ตู้ด เจ้าเอกอน cool cool cool

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 23 ก.ย. 2011, 12:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

คือ...ลอกมาทั้งหลวงปู่มั่นและพระไตรปิฏก....ตัวมาตุคามน้อยและอีกหลายๆคนก้ยังได้หน้าลืมหลังกัน :b7:

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 23 ก.ย. 2011, 12:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

eragon_joe เขียน:
อินทรีย์5 เขียน:
แต่ถ้าเปนสายหลวงพ่อฤาษี จะเน้นสงบจนเป็นฌานก่อน
ถ้าข่มนิวรณได้ ก้เอาฌานได้ แต่ปกติ
จะจัดการความฟุ้งซ่านไม่ได้ เกิดความอยากตอนจิตเริ่มสงบ
จิตเลยถอยออกจากฌานหรือได้ฌาน
แปลบๆก็ตกจากฌาน แล้วก้ทำต่อไม่ได้อีก สิ่งที่ต้องระวังไม่ใช่ตัวฌานแต่เปนความพอใจและเพลิน
ในการเข้าถึงความสุขของฌานนั้นๆ


:b1: :b1: :b1:

อิอิ.... :b8: :b8: :b8:

พระองค์ทรงเรียกพระองค์เองว่าเป้นมหาฤาษี....พระองค์ทรงสอนว่าไม่ควรกลัวการติดสุขจากฌาณ..ๆลๆ
อย่ารวน!

Onion_L

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 23 ก.ย. 2011, 13:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

ดูๆแล้วหลายคนยังคิดว่าฌาณกับญาณเหมือนกัน :b14:
ฌาณเป้นชื่อเรียกระดับสมาธิ(มีหลายแบบ)ญาณเป้นก่ารหยั่งรู้(มีหลายแบบ)อาสักวักขยญาณก้ไม่ต้องเอากันแล้ว ธรรมเอก,ดวงธรรม,ดวงพุทโธหน่ะได้กันแล้วยัง

เจ้าของ:  eragon_joe [ 23 ก.ย. 2011, 13:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

อื้อ

:b1:

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 23 ก.ย. 2011, 22:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

หายใจเข้าพุทหายใจออกโธเอาให้เป็นเอกัคตาจิต(รีบๆทำนะอย่ามัวเล่นโทรศัพท์ถ่ายรูปเพลินล่ะ) :b4:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 23 ก.ย. 2011, 22:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

:b6: :b6:

อืมมม ไปลืมโทรศัพท์ไว้ไหนอีกแล้วก็ไม่รู้ด้วยจิ่ s006 s006

:b6: :b6: ต่อไปจะซื้อโทรศัพท์แบบรุ่นที่ไม่มีกล้องแล้ว

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 23 ก.ย. 2011, 23:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

.......... :b5: :b32:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 23 ก.ย. 2011, 23:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

พุท..ไม่เข้า
โธ..ก็หาย
โทรศัพท์ก็เสีย

ช่วงต่ำสุดของคลื่น...ธรรมชาติ
cry cry cry

เจ้าของ:  eragon_joe [ 23 ก.ย. 2011, 23:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ยินดีกับ “ญาณ” (พระอาจารย์มั่น)

กบนอกกะลา เขียน:
พุท..ไม่เข้า
โธ..ก็หาย
โทรศัพท์ก็เสีย

ช่วงต่ำสุดของคลื่น...ธรรมชาติ
cry cry cry


:b6: :b6: :b6: นี่มาซ้ำเติมเหร๋อ... :b6: :b6: :b6:

หน้า 2 จากทั้งหมด 3 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/