วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2013, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ในภาพ...แถวนั่งหน้าสุด องค์ที่ ๕ จากซ้าย :
เมื่อครั้งทรงเป็น “พระมหาเจริญ สุวฑฺฒโน”
ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระภิกษุสามเณรวัดเทวสังฆาราม
หรือวัดเหนือ ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี


รูปภาพ

ในภาพ...แถวที่ ๓ จากข้างหน้า องค์ซ้ายมือสุด :
เมื่อครั้งทรงเป็น “พระมหาเจริญ สุวฑฺฒโน”
ในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๗๗-๒๔๗๘
ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาสันสกฤต
กับ “สวามี สัตยานันทปุรี เวทานตประทีป”
นักพรตชาวอินเดียที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปี
ซึ่งเป็นผู้มีความแตกฉานในคัมภีร์พราหมณ์
มีความเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษและภาษาสันสกฤตเป็นอย่างดี
ตลอดถึงสามารถพูดเขียนภาษาไทยได้ด้วย
ครั้งนั้นมีพระเปรียญหนุ่มจากวัดต่างๆ ร่วมเรียนด้วยกันหลายรูป


รูปภาพ

รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงเป็นพระมหาเจริญ สุวฑฺฒโน เปรียญธรรม ๘ ประโยค
ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระภิกษุและสามเณรเปรียญ
ณ สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๒


รูปภาพ

แถวหน้า พระภิกษุรูปที่ ๔ จากซ้าย : สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน ป.ธ.๙)

พระภิกษุรูปที่ ๘ จากซ้าย : พระอริยเวที (หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล ป.ธ.๙)

ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ พระอริยเวที (หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล)
ท่านสอบไล่ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค
ณ สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร พร้อมกันกับ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

แม้ท่านทั้งสองต่างเพียรศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมจนแตกฉาน
แต่ก็ให้ความสนใจและใฝ่ใจในภาคปฏิบัติ
การเจริญจิตตภาวนา จนได้ภูมิธรรมเป็นตัวอย่างอันน่ากราบไหว้
และให้การยกย่องเทิดทูนไว้เหนือเกล้า

พระภิกษุรูปที่ ๕ จากซ้าย : พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร ป.ธ.๕)


:b44: :b47: :b44:

ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=19528

รูปภาพ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ
ในพระราชทินนามที่ พระโศภณคณาภรณ์
(มีความหมายว่า ผู้เป็นอาภรณ์หรือเครื่องประดับของหมู่คณะอันงาม)
ซึ่งเป็นพระราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่
สำหรับพระราชทานแด่เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นรูปแรก

ทรงได้รับเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษเป็น “พระอภิบาล” (พระพี่เลี้ยง)
ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
ในระหว่างที่เสด็จออกทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
ในระหว่างวันจันทร์ที่ ๒๒ ตุลาคม ถึง วันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙


:b44: :b47: :b44:

“สองธรรมราชา” ในหลวง กับ สมเด็จพระสังฆราช
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=45825

รูปภาพ

เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นผู้ที่รักการศึกษา
และมักทรงศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ
แม้ปัญหาพระพลานามัยก็ไม่ได้บั่นทอนความใฝ่ศึกษาของพระองค์
พระรูปนี้เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ
ในพระราชทินนามที่ พระโศภณคณาภรณ์
ณ พระตำหนักคอยท่าปราโมช คณะเหลืองรังษี


รูปภาพ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
[องค์ที่ประทับนั่งบนเก้าอี้]

พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ลำดับที่ ๕
[แถวยืนที่ ๑ จากข้างหน้า - องค์ใส่แว่นตาดำ]

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ
ในพระราชทินนามที่ พระโศภณคณาภรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร
[แถวยืนที่ ๒ จากข้างหน้า - องค์ที่ ๑ จากซ้าย]

สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) วัดราชบพิธ
[แถวยืนที่ ๒ จากข้างหน้า - องค์ที่ ๓ จากซ้าย]

สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) วัดเทพศิรินทราวาส
[แถวยืนที่ ๒ จากข้างหน้า - องค์ที่ ๔ จากซ้าย]

พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร) วัดบวรนิเวศวิหาร
[แถวยืนที่ ๒ จากข้างหน้า - องค์ขวาสุด]

ในการประสาทปริญญาบัตรศาสนศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๑
บันทึกภาพร่วมกัน ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2013, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม
ในพระราชทินนามที่ พระธรรมวราภรณ์
(มีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาภรณ์คือเครื่องประดับอันประเสริฐ)
ซึ่งเป็นพระราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่
สำหรับพระราชทานแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ เป็นรูปแรก


รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม
ในพระราชทินนามที่ พระธรรมวราภรณ์
ทรงฉายพระรูปร่วมกับ “พระเทพมงคลรังษี (หลวงพ่อดี พุทฺธโชติ)”
พระอุปัชฌาย์ในคราวอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย
- นั่งกลาง
และ “พระโสภณสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ)”
พระกรรมวาจาจารย์ในคราวอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย
- นั่งซ้าย
ณ วัดเทวสังฆาราม หรือวัดเหนือ ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี


รูปภาพ

:b39: แถวหน้าสุด :
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ทรงฉายพระรูปร่วมกับ “คณะสังฆมนตรี พุทธศักราช ๒๕๐๓” จำนวน ๑๐ รูป
(นับเป็นคณะสังฆมนตรีชุดสุดท้ายในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย)


:b39: แถวที่ ๒ จากซ้าย :
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)
วัดสามพระยา วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมคุณาภรณ์
ขณะเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา ฝ่ายมหานิกาย


สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสโก)
วัดสังเวชวิศยาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมรัตนากร
ขณะเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง ฝ่ายมหานิกาย


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
ขณะทรงเป็นสังฆนายก (ฝ่ายธรรมยุต)


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวโรดม
ขณะทรงเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่ ฝ่ายมหานิกาย


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
ขณะทรงเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ ฝ่ายธรรมยุต


:b39: แถวหลังสุด จากซ้าย :
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร) กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวราภรณ์
ขณะทรงเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง ฝ่ายธรรมยุต


พระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส)
วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
ขณะเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การสาธารณูปการ ฝ่ายมหานิกาย


สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร)
วัดราชผาติการาม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปาโมกข์
ขณะเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา ฝ่ายธรรมยุต


สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมจินดาภรณ์
ขณะเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การเผยแผ่ ฝ่ายธรรมยุต


พระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีโร)
วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมมหาวีรานุวัตร
ขณะเป็นสังฆมนตรี ฝ่ายมหานิกาย


--------------------------------------------

:b45: หมายเหตุ : โดย สาวิกาน้อย แห่งลานธรรมจักร

(ก) วันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓
สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ)
ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก”

วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺฐายี) เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “สังฆนายก”

วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺฐายี) สังฆนายก
ได้ลงนามแต่งตั้ง “คณะสังฆมนตรี” ชุดใหม่ จำนวน ๙ รูปดังกล่าว

(ข) องค์กรปกครองคณะสงฆ์ คือ สังฆสภา คณะสังฆมนตรี คณะวินัยธร
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔

- สังฆสภา มีสมาชิกไม่เกิน ๔๕ รูป ประกอบด้วย พระเถระชั้นธรรมขึ้นไป
พระคณาจารย์เอก พระเปรียญเอก
มีอำนาจบัญญัติสังฆาณัติ (กฎข้อบังคับของคณะสงฆ์)
และควบคุมการใช้สังฆาณัติของคณะสังฆมนตรี

- คณะสังฆมนตรี ประกอบด้วย สังฆนายก ๑ รูป และสังฆมนตรีไม่เกิน ๙ รูป
มีอำนาจบริหารคณะสงฆ์ โดยมีองค์การรองรับอีก ๔ องค์การคือ
องค์การปกครอง องค์การศึกษา องค์การเผยแผ่ และองค์การสาธารณูปการ

- คณะวินัยธร ประกอบด้วย ประธานคณะวินัยธร และคณะวินัยธรชั้นต่างๆ
ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกา
มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นในคณะสงฆ์

องค์กรทั้ง ๓ ได้รวมกันเป็น “มหาเถรสมาคม - มส.” ในปัจจุบัน
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕

สังฆสภา เทียบได้กับ รัฐสภา ของฝ่ายอาณาจักร
คณะสังฆมนตรี เทียบได้กับ คณะรัฐมนตรี ของฝ่ายอาณาจักร
คณะวินัยธร เทียบได้กับ คณะตุลาการ ของฝ่ายอาณาจักร

(ค) คณะสังฆมนตรีชุดสุดท้ายในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทยชุดนี้
มีวาระอยู่ในตำแหน่งในระหว่างวันที่สมเด็จฯ จวน อุฏฺฐายี สังฆนายก
ได้ลงนามแต่งตั้ง “คณะสังฆมนตรี” ชุดนี้ จำนวน ๙ รูปแล้ว
(แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓)
และก่อนมีการยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔
เพื่อมาประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่แทน
คือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕
อันมีผลทำให้มีการยกเลิก สังฆสภา คณะสังฆมนตรี และคณะวินัยธร ทั้งหมด
(ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๐๖)


:b44: :b47: :b44:

• “คณะสังฆมนตรี” ชุดสุดท้ายในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย
ในยุคสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) เป็นสังฆนายก

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=49524

• การถอดและการคืนสมณศักดิ์ของ ๒ พระมหาเถระ
พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) และพระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี)
กับ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=57293

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง
ในพระราชทินนามที่ พระสาสนโสภณ
(มีความหมายว่า ผู้งามในพระศาสนาหรือผู้ยังพระศาสนาให้งาม)


:b44: :b47: :b44:

• ความอัศจรรย์แห่งสมณศักดิ์ “พระสาสนโสภณ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=50748

รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง
ในพระราชทินนามที่ พระสาสนโสภณ
ในงานศพนางกิมน้อย คชวัตร พระชนนี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๐


:b44: :b47: :b44:

• เรื่อง “นั่นของโยมแม่ เอาไว้ที่เดิม”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=50684

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2013, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

ทรงฉายพระรูปร่วมกับ “พระเทพมงคลรังษี (หลวงพ่อดี พุทฺธโชติ)”
พระอุปัชฌาย์ในคราวอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย
ในพิธีสมโภชหิรัณยบัฏ พระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง
ในพระราชทินนามที่ พระสาสนโสภณ ณ พระอุโบสถ วัดเทวสังฆาราม
ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๕


รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง
ในพระราชทินนามที่ พระสาสนโสภณ
ทรงฉายพระรูปร่วมกับ “พระเทพมงคลรังษี (หลวงพ่อดี พุทฺธโชติ)”
พระอุปัชฌาย์ในคราวอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย
พร้อมทั้งพระภิกษุสามเณรวัดเทวสังฆาราม
หรือวัดเหนือ ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี


รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง
ในพระราชทินนามที่ พระสาสนโสภณ
ทรงฉายพระรูปร่วมกับ “พระเทพมงคลรังษี (หลวงพ่อดี พุทฺธโชติ)”
พระอุปัชฌาย์ในคราวอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย
ณ วัดเทวสังฆาราม หรือวัดเหนือ ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี


รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง
ในพระราชทินนามที่ พระสาสนโสภณ ทรงถวายเครื่องไทยธรรม
แด่สมเด็จพระยอดแก้ว พุทธชิโนรสสกลมหาสังฆปาโมกข์
(บุญทัน ธมฺมญาโณ บุปผรัตน์) สมเด็จพระสังฆราชแห่งพระราชอาณาจักรลาว
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
ในคราวทรงเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะอาคันตุกะ
ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลไทย
ในระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐


รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ
ในพระราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร ทรงถวายเครื่องไทยธรรม
แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ในภาพ...พระคุณเจ้าองค์ที่นั่งข้างหลังสมเด็จพระญาณสังวรฯ
คือ สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร


รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ
ในพระราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ขณะทรงปฏิบัติหน้าที่กรรมการตรวจบาลีสนามหลวงกองที่ ๑ (ป.ธ.๙)
ณ วัดสามพระยา วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ในระหว่างวันที่ ๑๐-๑๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๗


รูปภาพ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ทรงเสด็จเปิดการประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)
เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕
ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร


รูปภาพ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ทรงอำนวยพรเเก่นายจำเนียร คชวัตร น้องชายของพระองค์

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เเด่
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


รูปภาพ

ทรงใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาอยู่เสมอ จึงทรงมีความรู้รอบด้าน
และได้มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งถวาย
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระองค์


รูปภาพ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน ป.ธ.๙)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระราชาคณะและกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร
ในคราวจัดพิมพ์ “หนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร”
ฉลองพระชนมายุครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๘


:b44: :b47: :b44:

แถวหน้า จากซ้าย : - พระเทพสารเวที (บุญยนต์ ปุญฺญาคโม น.ธ.โท)
- พระพรหมมุนี (วิชมัย ปุญฺญาราโม ป.ธ.๖)
- สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
- พระราชบัณฑิต (แจ่ม ธมฺมสาโร ป.ธ.๔)
- พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺติสาโร ป.ธ.๕)

แถวหลัง จากซ้าย : - สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.๙)
- พระราชกวี (ลาภ ธนสาโร ป.ธ.๙)
- พระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล นนฺทโก ป.ธ.๙)
- พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก ป.ธ.๕)
- พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล ป.ธ.๕)
- พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ ป.ธ.๖)


รูปภาพ

รูปภาพ

ทรงฉายพระรูปร่วมกับคณะศิษย์ฆราวาสที่รับใช้ใกล้ชิด

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช

รูปภาพ

พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี นำดอกไม้ธูปเทียนแพ
ไปถวายสักการะสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมทั้งถวายฎีกา
อาราธนาไปเข้ารับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๒


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ขึ้นเป็น
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เมื่อวันศุกร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็งเอกศก จุลศักราช ๑๓๕๑
ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๒
ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ท่ามกลางมหาสังฆนิบาติ พระบรมวงศานุวงศ์
และข้าราชการทหารพลเรือน เป็นแบบแผนพระราชพิธีที่ปฏิบัติต่อมา
นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
และเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต สืบต่อจาก
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
เริ่มด้วยการจารึกพระสุพรรณบัฏ
ภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันแรก

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถวายน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวัตร
พระสุพรรณบัฏ พระตราตำแหน่ง พัดยศ และเครื่องสมณศักดิ์ ฯลฯ
แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


รูปภาพ

รูปภาพ

เครื่องประกอบสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระสังฆราช
- บาตรพร้อมด้วยฝาพร้อมเชิงบาตรถมปัด
- พานพระศรี ประกอบด้วย มังสี ๒
ตลับพู่ ๑ จอก ๑ ซองพลู ๑ (พร้อมพลู)
- ถาดสรงพระพักตร์
- หีบตราจักรี (หีบหลังเจียด)
- หีบพระโอสถหลังนูน
- คณโฑ
- กาทรงกระบอก
- หม้อลักจั่น
- ปิ่นโตกลม ๔ ชั้น
- สุพรรณราช
- สุพรรณศรี
- ขันน้ำพานรองมีจอกคลุมตาดรูปฝาชี
- พัดยศสมณศักดิ์


:b44: :b47: :b44:

• ประวัติตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชไทย •
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=19521

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

พัดยศสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่เพื่อถวายแด่
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
โดยมีตราพระราชลัญจกรประจํารัชกาลที่ ๙ อยู่ที่กลางพัดยศ


รูปภาพ

รูปภาพ

พัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย

มีลักษณะเป็นพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ทำด้วยงาแกะตลอดทั้งเล่ม
พื้นพัดสลักเป็นลายโปร่งอย่างประณีตประดับพลอย

พัดยศสมณศักดิ์เล่มนี้ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี บุรณศิริ)
(ต้นสกุลบุรณศิริ ผู้สร้างวัดบุรณศิริมาตยาราม)
ได้ทำขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
เพื่อพระราชทานแด่

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ให้ทรงถือเป็นพัดยศประจำพระองค์
[ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๔]

พ.ศ.๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ได้ถวายพัดแฉกงาพิเศษประดับพลอยเล่มนี้แด่
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
[ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖]

ครั้นเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สิ้นพระชนม์
พ.ศ.๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
เป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
และสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้ถวายพัดแฉกงาพิเศษประดับพลอยเล่มนี้
เป็นพัดยศประจำพระองค์ ให้ทรงถือสืบต่อมาตลอดพระชนมายุ

พ.ศ.๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ ๙ โปรดเกล้าฯ ถวายแด่
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
[ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐]

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
[ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๑]
ไม่ได้รับการถวายพัดแฉกงาพิเศษประดับพลอยแต่อย่างใด

เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๑ ในคราวที่
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจริญพระชนมายุครบ ๙๐ พรรษา
โปรดเกล้าฯ ถวายพัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย
พร้อมกับ “พัดรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร. ชั้น ๑”
[ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕]

จึงทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชจากสามัญชน มิใช่พระราชวงศ์
พระองค์แรกในรัชกาลที่ ๙ ที่ได้รับการถวายพัดยศพิเศษ
คือ พัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย
ที่เคยใช้ถวายเฉพาะแด่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
ที่เป็นพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่


ต่อมาเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ในคราวที่
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา
โปรดเกล้าฯ ถวายพัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย
พร้อมกับ “พัดรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร. ชั้น ๑”
[ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒]


ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๐ ในคราวที่
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจริญพระชนมายุครบ ๙๐ พรรษา
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐
ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
โปรดเกล้าฯ ถวายพัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย
ศาสนศิลป์งามวิจิตรสุดล้ำค่า มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี
[ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เมื่อ พ.ศ.๒๕๖๐]

ทั้งนี้ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๗
และเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระองค์ที่ ๓
ที่ได้ทรงครองพัดยศพิเศษเล่มนี้


เหล่านี้นับว่าสมเด็จพระสังฆราช
(ที่ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตด้วย)
ทั้งสามพระองคนี้ได้รับการถวายพระเกียรติยศ
ที่สมเด็จพระสังฆราชจากสามัญชน
มิใช่พระราชวงศ์ จะพึงได้รับอย่างสูงที่สุด
ในประวัติศาสตร์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทีเดียว


ฉะนั้น จึงมีสมเด็จพระสังฆราชที่ได้รับพระราชทาน
พัดยศพิเศษเล่มนี้ทั้งสิ้นจำนวน ๗ พระองค์


พัดแฉกงาพิเศษประดับพลอยเล่มนี้ อายุกว่า ๑๐๐ ปี
นับเป็นศิลปวัตถุอันล้ำค่าชิ้นหนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ซึ่งใช้เฉพาะในวันงานพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
และในวันงานรับพระกฐินหลวง เพียง ๒ งานเท่านั้น


โดยอาจจะพอกล่าวได้ว่า
เป็นพัดยศประจำตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
ถึงแม้ว่าจากประวัติจะไม่ได้เป็นพัดยศพิเศษที่ใช้ถวายแด่
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตทุกองค์ก็ตาม
อีกทั้งไม่ได้เป็นพัดยศพิเศษที่ใช้ถวายในวันที่โปรดเกล้าฯ
สถาปนาเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตทุกองค์ก็ตาม


⊰⊱⊰⊱⊰⊱
:b50: :b50: จากกระทู้...พัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย
พัดยศประจำตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=46178

:b47: พัดรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๙
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=51604

:b47: รัชกาลที่ ๔ พระบูรพาจารย์แห่งวงศ์พระธรรมยุต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=45383

:b47: ประวัติคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=47044

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


พระศาสนกิจในด้านวิเทศสัมพันธ์
(พระภารกิจที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ)


รูปภาพ

รูปภาพ

ทรงรับแขกที่บริเวณลานด้านหน้าพระตำหนักคอยท่าปราโมช
ในคราวที่ผู้นำคณะสงฆ์แห่งเมียนมาร์เข้าเฝ้าถวายพระพร
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติพระชันษา ๙๐ ปี
วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
พระคุณเจ้าที่นั่งอยู่ขวามือของเจ้าประคุณสมเด็จฯ
คือ พระราชรัตนมงคล (มนตรี อภิมนฺติโก)
ส่วนพระคุณเจ้าที่นั่งอยู่ซ้ายมือของเจ้าประคุณสมเด็จฯ
คือ พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (พระดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย)

:b50: :b50: หมายเหตุ : สมัยก่อนเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงรับแขก
ที่ห้องรับแขก พระตำหนักคอยท่าปราโมช ชั้นล่างบ้าง
ที่ห้องกระจก ใต้กุฏิไม้หลังใหญ่ ด้านหน้าพระตำหนักคอยท่าปราโมชบ้าง
เมื่อประมาณหลังปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมา
แต่ละวันจะมีประชาชนเดินทางมาเข้าเฝ้ากราบนมัสการเป็นจำนวนมาก
เนื่องด้วยทั้งพระตำหนักฯ ชั้นล่าง และในห้องกระจกดังกล่าวคับแคบ
จึงเปลี่ยนมาทรงรับแขกที่บริเวณลานด้านหน้าพระตำหนักฯ ซึ่งเป็นพื้นที่โล่ง
เชื่อมต่อระหว่างพระตำหนักฯ กับกุฏิไม้หลังใหญ่ที่ชั้นล่างเป็น “ห้องกระจก”


รูปภาพ

เรน สวามี อวเรศานนท์ มหาราช อาจารยะมหามณฑเลศวร
นิกายชูนา ศาสนาฮินดู จากประเทศอินเดีย เข้าเฝ้าถวายสักการะ
เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔


รูปภาพ

นายราซูล อิสลามี (H.E. Mr. Rasoul Eslami)
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจำประเทศไทย
เข้าเฝ้าถวายสักการะ เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓


รูปภาพ

คณะสงฆ์ศรีลังกา เข้าเฝ้าถวายสักการะอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓


รูปภาพ

นายเร่อตี้ (Mr. Re Di)
ประธานสภาผู้แทนประชาชนเขตปกครองตนเองทิเบต
สาธารณรัฐประชาชนจีน
เข้าเฝ้าถวายสักการะ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

ทรงถวายการต้อนรับเจ้าชายฟิลิป มกุฎราชกุมารแห่งเบลเยี่ยม
เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒

หมายเหตุ : ปัจจุบัน เจ้าชายฟิลิป มกุฎราชกุมารแห่งเบลเยี่ยม
ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา
เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
มีพระนามว่า สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิป แห่งเบลเยี่ยม

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2013, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

:b49: :b50: จากซ้าย : พระดร.เกียวเซ เอ็นชินโจ (Most Ven.Dr.Kyuse Enshinjoh)
ผู้นำนิกายเนนบุทซุซูแห่งญี่ปุ่น
ประธานสุดยอดผู้นำชาวพุทธ
จากการประชุมสุดยอดพุทธศาสนิกแห่งโลก

องค์ทะไลลามะ (Dalai Lama) ประมุขแห่งศาสนจักรธิเบต...และ

“สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ณ เมืองเกียวโต (Kyoto) ประเทศญี่ปุ่น ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑


สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทรงมีมิตรภาพที่น่าประทับใจยิ่งกับองค์ทะไลลามะ
ดังเห็นได้เมื่อครั้งที่องค์ทะไลลามะเสด็จเยือนที่วัดบวรนิเวศวิหาร
ได้กล่าวทักทายสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ว่า “พี่ชายคนโตของข้าพเจ้า”


รูปภาพ

:b49: :b50: จากซ้าย : องค์ทะไลลามะ (Dalai Lama) ประมุขแห่งศาสนจักรธิเบต

“สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์...และ

พระดร.เกียวเซ เอ็นชินโจ (Most Ven.Dr.Kyuse Enshinjoh)
ผู้นำนิกายเนนบุทซุซูแห่งญี่ปุ่น
ประธานสุดยอดผู้นำชาวพุทธ
จากการประชุมสุดยอดพุทธศาสนิกแห่งโลก

ณ เมืองเกียวโต (Kyoto) ประเทศญี่ปุ่น ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑


รูปภาพ

รูปภาพ

องค์ทะไลลามะ (Dalai Lama) ประมุขแห่งศาสนจักรธิเบต ทรงประคอง
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ณ เมืองเกียวโต (Kyoto) ประเทศญี่ปุ่น ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑


:b42: -------------------------------- :b42:

“พี่ชายคนโตของข้าพเจ้า”

องค์ทะไลลามะ ประมุขแห่งศาสนจักรธิเบต
เคยเสด็จเยือนราชอาณาจักรไทยหลายครั้งหลายหนด้วยกัน
นับแต่วาระแรก คือเมื่อเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๐
ได้เสด็จเยือนวัดบวรนิเวศวิหารด้วย
ครั้งนั้นองค์ทะไลลามะทรงปรารภกับ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
ว่าทรงสนพระทัยอยากศึกษาการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานแบบเถรวาท
เจ้าหน้าที่จัดการรับเสด็จจึงจัดให้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
ถวายคำแนะนำในการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานแบบเถรวาท
แก่องค์ทะไลลามะตามพระประสงค์ ณ สำนักสงฆ์แห่งหนึ่ง

หลังจากนั้น องค์ทะไลลามะได้เสด็จเยือนประเทศไทยอีกหลายครั้ง
และทุกครั้งจะต้องเสด็จเยือนวัดบวรนิเวศวิหาร
และทรงพบปะสนทนากับสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ด้วย
พระองค์จึงทรงคุ้นเคยกับสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ เป็นอย่างดี

ในการเสด็จประเทศไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๖
ทรงประทับแรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร
คำแรกที่องค์ทะไลลามะตรัสทักทายสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
เมื่อทรงพบกันในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ก็คือ
“พี่ชายคนโตของข้าพเจ้า”
อันแสดงถึงความเคารพนับถือว่าทรงมีต่อกันเพียงไร


:b8: คัดเนื้อหามาจาก...หนังสือ “พระผู้สำรวมพร้อม”
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก)


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
ทรงรับเสด็จองค์ทะไลลามะ (Dalai Lama)
ประมุขแห่งศาสนจักรธิเบต
เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๕
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)


:b49: :b50: ในภาพ...พระคุณเจ้าที่นั่งถัดจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
คือ พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร)
พระพรหมมุนี (วิชมัย ปุญญาราโม)
พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก) ตามลำดับ

และพระคุณเจ้าที่นั่งข้างหลังสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
คือ พระสุธรรมาธิบดี (แบน กิตฺติสาโร)


:b42: -------------------------------- :b42:

องค์ทะไลลามะ (Dalai Lama) ประมุขแห่งศาสนจักรธิเบต
ได้ทรงเคยกล่าวชื่นชมและยกย่อง
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ไว้ว่า
“ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าฯ พระองค์ และได้รู้สึกเคารพนับถือ ชื่นชมอย่างสุดซึ้ง
ต่อวิถีทางที่พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบ
ที่มีต่อพระศาสนาได้สมบูรณ์ยิ่ง ตลอดพระชนม์ชีพอันยาวนาน”


:b39:

Supreme Patriarch of Thai Buddhism dies at 100
The Washington Post :: October 24, 2013

Somdet Phra Nyanasamvara, who headed Thailand’s order of Buddhist monks for more than two decades and was known as the Supreme Patriarch, died Oct. 24, 2013 at a hospital in Bangkok. He was 100.

Doctors at Chulalongkorn Memorial Hospital announced the death and said the immediate cause was septicemia, a severe blood infection.

After he was admitted to the hospital in 2002, the Supreme Patriarch was able to perform leadership duties for a time, but in 2004, a senior Buddhist monk was appointed to work on his behalf. That monk died this year, raising speculation about who the Supreme Patriarch’s successor will be.

His successor will be formally appointed by Thai King Bhumibol Adulyadej.

Thailand is the world’s most heavily Buddhist country, with more than 90 percent of its 67 million people followers of the religion. As the head of the religion, the patriarch has legal authority to oversee different sects of Buddhism.

The Supreme Patriarch promotes Buddhism and leads the Sangha Supreme Council, which oversees the country’s Buddhist monks and novices of all sects. The council’s job is to make sure monks follow Buddha’s teachings and do not violate the rules set by the council.

The Supreme Patriarch was a friend of the Dalai Lama of Tibet, who called the Thai monk “my elder brother.” The Dalai Lama paid several visits to Thailand since his first state visit in 1967, and each time, he would visit the temple where the Supreme Patriarch resided to have a discussion.

The Supreme Patriarch was born Charoen Gajavatra on Oct. 3, 1913, in Thailand’s western province of Kanchanaburi, the eldest of the three sons. He was still a boy when his father died, and he was raised by his aunt.

He became gravely ill as a boy, and his family made a promise to sacred spirits that he would become a monk if he recovered. He did, and he became a novice when he turned 14.

The future Supreme Patriarch moved to Bangkok in 1929 to a well-respected Buddhist temple to continue his religious studies.

He returned briefly to his home town to get ordained and became a monk in 1933. He was named Suvaddhano - “one who prospers well” - by the Supreme Patriarch of the time, and rose through the ranks of the monkhood. In 1956, when King Bhumibol spent 15 days as an ordained monk, the future patriarch taught and supervised him.

He served as secretary of the Supreme Patriarch who preceded him and was appointed the top Buddhist monk in 1989, when he took on the name Somdet Phra Nyanasamvara - “a person of great insight.”


:b47: :b40: :b47:

:b49: สถาปนา ๒ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ครั้งประวัติศาสตร์ !!
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57885

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2013, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ณ เมืองเกียวโต (Kyoto) ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๕๔๑

รูปภาพ

คณะสงฆ์ญี่ปุ่น นำพาโดย พระดร.เกียวเซ เอ็นชินโจ
(Most Ven.Dr.Kyuse Enshinjoh)
ผู้นำนิกายเนนบุทซุซูแห่งญี่ปุ่น
ประธานสุดยอดผู้นำชาวพุทธ
จากการประชุมสุดยอดพุทธศาสนิกแห่งโลก
เข้าเฝ้าถวายสักการะ เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑


รูปภาพ

รูปภาพ

เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะพระสมณทูตสำนักวาติกัน
เข้าเฝ้ากราบทูลเชิญเสด็จสำนักวาติกัน กรุงโรม ประเทศอิตาลี


รูปภาพ

รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง
ในพระราชทินนามที่ พระสาสนโสภณ
ทรงไปดูการพระศาสนา ณ ประเทศออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๑๑


รูปภาพ

รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง
ในพระราชทินนามที่ พระสาสนโสภณ
ทรงรับเสด็จ “เจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินเบอระ”
พระสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ แห่งอังกฤษ
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๐


รูปภาพ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระสาสนโสภณ”
ในคราวเสด็จไปนมัสการสังเวชนียสถาน ณ ประเทศอินเดีย
ทรงสวดมนต์เพื่อน้อมรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ด้านหน้า “ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร)” เชิงเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์
อันเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา
ชื่อว่า “เวทนาปริคคหสูตร” พระสูตรว่าด้วยการกำหนดเวทนา
ให้ “ทีฆนขปริพาชก” หรือนักบวชเล็บยาว
(ซึ่งเป็นหลานของพระสารีบุตร) ฟัง
หลังจากทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ๙ เดือน
ยังผลให้ทีฆนขปริพาชก บรรลุเป็นพระโสดาบัน
และพระสารีบุตร ซึ่งนั่งเบื้องหลังถวายงานพัดพระพุทธองค์อยู่
บรรลุเป็นพระอรหันต์ ผู้หมดกิเลสาสวะโดยสิ้นเชิง
ในตอนกลางวันของวันมาฆบูชา วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
หลังจากพระสารีบุตร “พระธรรมเสนาบดี” อุปสมบทได้ ๑๕ วัน


:b44: :b47: :b44:

:b50: :b49: ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร) ณ เชิงเขาคิชฌกูฏ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=41350

:b50: :b49: พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
: สถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39377

รูปภาพ

รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช
ในพระราชทินนามที่ พระโศภณคณาภรณ์
ทรงไปร่วมสมโภชพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ
ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา พ.ศ. ๒๔๙๕

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2013, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

“บาทหลวงโอเลก เชเรพานิน (Oleg Cherepanin)”
ผู้แทนพิเศษ His Holiness Alexy II แห่งรัสเซีย
เข้าเฝ้าถวายสักการะ เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ
ในพระราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงฉายพระรูปกับ “พระมหาปรัชญานันทะมหาเถระ”
พระสังฆมหานายกแห่งเนปาล ในพิธีบรรพชากุลบุตรศากยะ ๗๓ รูป
ณ วัดนครมณฑปศรีกีรติวิหาร เมืองกิรติปูร ประเทศเนปาล
เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๘


รูปภาพ

เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงเสด็จไปเป็นพระอุปัชฌาย์
ในพิธีบรรพชากุลบุตรศากยะ ๗๓ รูป แล้วทรงนำผู้บวชใหม่บิณฑบาต
ณ วัดนครมณฑปศรีกีรติวิหาร เมืองกิรติปูร ประเทศเนปาล
เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๘

ในภาพ...พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (พระดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย)
พระอุปัฏฐากในขณะนั้น ตามเสด็จมาด้วย


รูปภาพ

รูปภาพ

ในคราวเสด็จเยือนประเทศเนปาล ปี พ.ศ. ๒๕๒๘
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงเสด็จทอดพระเนตรเสาศิลาจารึกพระเจ้าอโศก
ที่มีจารึกไว้ว่าบริเวณนั้นเป็นเมืองของพระโกนาคมนพุทธเจ้า
เป็นเสาศิลาจารึกที่หักเป็นสองท่อน ท่อนหนึ่งจมดินอยู่บนเนินเล็กๆ
ท่อนปลายล้มอยู่บนพื้นดินใกล้ๆ กัน
นับเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
เสาศิลาจารึกดังกล่าวอยู่กลางทุ่งนา หมู่บ้านนิคลิหะวา ใกล้เมืองกบิลพัสดุ์
การเดินทางไปดูเสาศิลาจารึกพระเจ้าอโศก
หนทางค่อนข้างลำบากเพราะไม่มีถนนตัดผ่าน
ต้องเดินผ่านทุ่งนาและเดินบนคันนาเป็นระยะทางไกลกว่าจะถึงที่หมาย
ทำให้คณะที่ตามเสด็จพากันอ่อนล้า เมื่อถึงที่หมายจึงประทับกับพื้นหญ้า
กลางทุ่งนาแบบไม่มีพิธีรีตอง เป็นอีกพระอิริยาบทหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นผู้วางตนเรียบง่ายและไม่ถือพระองค์

ในภาพ...พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล)
เจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก [นั่งด้านหลัง]
และพระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (พระดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย)
พระอุปัฏฐากในขณะนั้น [นั่งพนมมืออยู่ด้านหน้า] ตามเสด็จมาด้วย


:b47: :b44: :b47:

ตั้ง ๒ เจ้าคุณใหม่ (กรณีพิเศษ) ฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=46508

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2014, 04:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ
ในพระราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงเสด็จเยือนหอนาฬิกาบิ๊กเบน
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. ๒๕๒๓

ในภาพ...พระพรหมมุนี (วิชมัย ปุญญาราโม) - องค์ใส่แว่นตา
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม
ในพระราชทินนามที่ พระธรรมดิลก ตามเสด็จมาด้วย


รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ
ในพระราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงเสด็จเยือนหอไอเฟล กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓


รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ
ในพระราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร ทรงบันทึกภาพร่วมกับ
“จุฬาราชมนตรีประเสริฐ มะหะหมัด (อะหมัด บินมะหะหมัด)”
และ “พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู” พระคาร์ดินัลชาวไทย
มุขนายกกิตติคุณ แห่งเขตปกครองกรุงเทพมหานคร


รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ
ในพระราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ในคราวทรงเสด็จเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรป
ได้ทรงเสด็จไปยังที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
หรือสมเด็จย่า ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. ๒๕๒๓

ในภาพ...พระพรหมมุนี (วิชมัย ปุญญาราโม) - องค์ใส่แว่นตา
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม
ในพระราชทินนามที่ พระธรรมดิลก ตามเสด็จมาด้วย

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2014, 04:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

เมื่อครั้งทรงเสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ
ในระหว่างวันที่ ๒๐ มิถุนายน-๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
มีพระภิกษุจีนและประชาชนมาร่วมกันถวายการต้อนรับ
และชื่นชมพระบารมีกันอย่างเนืองแน่น


รูปภาพ

ในระหว่างทรงสนทนากับ “ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน”
เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๖
ณ ทำเนียบประธานาธิบดี กรุงปักกิ่ง (Beijing) สาธารณรัฐประชาชนจีน
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ทรงมีพระปฏิสันถาร
กล่าวฝากพระพุทธศาสนาในประเทศจีนกับท่านประธานาธิบดีไว้ว่า
“...และโดยที่พระพุทธศาสนานั้น ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน
และความเสื่อมแก่ประเทศไทย ประเทศจีน และทั้งสองประเทศ
จึงขอฝากพระพุทธศาสนาแก่ท่านประธานาธิบดี
ให้การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาตามสมควรด้วย...”


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

เสด็จทรงเยี่ยมชมวัดลามะหย่งเหอกง ณ กรุงปักกิ่ง (Beijing)
สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งวัดแห่งนี้เคยเป็นพระราชวังมาก่อน
เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๖


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

ในภาพ...พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (พระดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย)
พระอุปัฏฐากในขณะนั้น ตามเสด็จมาด้วย


รูปภาพ

เสด็จทรงเยี่ยมชมกำเเพงเมืองจีน
เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๖


รูปภาพ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2014, 04:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พระฉายาบัตรในคราวทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ

รูปภาพ

หนังสือสำคัญแสดงการขอจดทะเบียนนามสกุล “คชวัตร”

รูปภาพ

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ พระชนมายุ ๒๙ พรรษา
ทรงสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค


รูปภาพ

ลายพระหัตถ์ขณะเป็นสามเณรที่ทรงบันทึกเทศนากัณฑ์แรก
เรื่องอริยทรัพย์ ๗ ประการ ไว้ในสมุดบันทึกส่วนพระองค์


รูปภาพ

ลายพระหัตถ์ที่ทรงบันทึกคติพจน์

รูปภาพ

ลายพระหัตถ์ที่ทรงบันทึกเตรียมการสอนพระภิกษุใหม่
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๕
แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ในการสอน
โดยมีการเตรียมการสอนอย่างดีก่อนทุกครั้ง


รูปภาพ

ถนนบริเวณบ้านเดิมของเจ้าประคุณสมเด็จฯ
ณ บ้านวัดเหนือ ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
(บ้านของเจ้าประคุณสมเด็จฯ อยู่ขวามือสุด)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2019, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

ภายในพระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร ในงานบำเพ็ญกุศลพระศพ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


:b39:

ขวามือสุด : “พระมหาสมณอาสน์”
กั้นเบญจปฎลเศวตฉัตร (ฉัตรขาว) ๕ ชั้น
หรือ “พระแท่นเบญจปฎลเศวตฉัตร”
ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้ประดิษฐาน “พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ปางรำพึง”
(พระประจำวันศุกร์) ของ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ซึ่งเดิมเคยประดิษฐานอยู่เหนือพระแท่นบรรทมของพระองค์
มาโดยตลอดตราบจนกระทั่งสิ้นพระชนม์
บันทึกภาพ ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร
ในงานบำเพ็ญกุศลพระศพเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ


รูปภาพ

“พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ปางรำพึง” (พระประจำวันศุกร์)
ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

His Holiness Somdet Phra Nyanasamvara,
the Supreme Patriarch's Buddha image
(in the posture of thinking-the posture associated with Friday)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร