ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

••o•• ประวัตินักธรรม โดยสังเขป
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=81&t=54967
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  กุหลาบสีชา [ 19 ส.ค. 2009, 17:45 ]
หัวข้อกระทู้:  ••o•• ประวัตินักธรรม โดยสังเขป

รูปภาพ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค) วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



ป ร ะ วั ติ นั ก ธ ร ร ม โ ด ย สั ง เ ข ป

การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม หรือที่เรียกกันว่า นักธรรม
เกิดขึ้นตามพระดำริของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค) วัดบวรนิเวศวิหาร

เป็นการศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาไทย
เพื่อให้ภิกษุสามเณรผู้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา
สามารถศึกษาพระธรรมวินัยได้สะดวกและทั่วถึง
อันจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่สัมมาปฏิบัติ
ตลอดจนเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างไกลออกไป


การศึกษาพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยแต่โบราณมา
นิยมศึกษาเป็นภาษาบาลี ที่เรียกว่า การศึกษาพระปริยัติธรรม
ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ยากสำหรับภิกษุสามเณรทั่วไป

จึงปรากฏว่า ภิกษุสามเณรที่มีความรู้ในพระธรรมวินัยอย่างทั่วถึงมีจำนวนน้อย
เป็นเหตุให้สังฆมณฑลขาดแคลนพระภิกษุผู้มีความรู้ความสามารถ
ที่จะช่วยกิจการพระศาสนาทั้งในด้านการศึกษา การปกครอง
และการแนะนำสั่งสอนประชาชน

ดังนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
จึงได้ทรงพระดำริวิธีการเล่าเรียนพระธรรมวินัยในภาษาไทยขึ้น
สำหรับสอนภิกษุสามเณรวัดบวรนิเวศวิหารเป็นครั้งแรก
นับแต่ทรงรับหน้าที่ปกครองวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ เป็นต้นมา

โดยทรงกำหนดหลักสูตรการสอน
ให้ภิกษุสามเณรได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา
ทั้งด้านหลักธรรม พุทธประวัติ และพระวินัย
ตลอดถึงหัดแต่งแก้กระทู้ธรรม

เมื่อทรงเห็นว่า การเรียนการสอนพระธรรมวินัยเป็นภาษาไทยดังนี้ได้ผล
ทำให้ภิกษุสามเณรมีความรู้กว้างขวางขึ้น เพราะเรียนรู้ได้ไม่ยาก

จึงทรงดำริที่จะขยายแนวทางนี้ไปยังภิกษุสามเณรทั่วไปด้วย
ประกอบกับใน พ.ศ. ๒๔๔๘ ประเทศไทยเริ่มมีพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร
ซึ่งภิกษุทั้งหมดจะได้รับการยกเว้น
ส่วนสามเณรจะยกเว้นให้เฉพาะสามเณรผู้รู้ธรรม

ทางราชการได้ขอให้คณะสงฆ์ช่วยกำหนดเกณฑ์ของสามเณรผู้รู้ธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงทรงกำหนดหลักสูตรองค์สามเณรรู้ธรรมขึ้น

ต่อมาได้ทรงปรับปรุงหลักสูตรองค์สามเณรรู้ธรรมนั้นเป็น “องค์นักธรรม”
สำหรับภิกษุสามเณรชั้นนวกะ (คือผู้บวชใหม่) ทั่วไป
ได้รับพระบรมราชานุมัติ เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔
และโปรดให้จัดการสอบในส่วนกลางขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน
โดยใช้วัดบวรนิเวศวิหาร วัดมหาธาตุ และวัดเบญจมบพิตร เป็นสถานที่สอบ


(มีต่อ)

เจ้าของ:  กุหลาบสีชา [ 19 ส.ค. 2009, 17:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ประวัตินักธรรมโดยสังเขป

รูปภาพ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



การสอบครั้งแรกนี้ มี ๓ วิชา
คือ ธรรมวิภาคในนวโกวาท แต่งความแก้กระทู้ธรรม
และแปลภาษามคธเฉพาะท้องนิทานในอรรถกถาธรรมบท

พ.ศ. ๒๔๕๕ ทรงปรับปรุงหลักสูตรองค์นักธรรม
ให้เหมาะสมสำหรับภิกษุสามเณรทั่วไปจะเรียนรู้ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

โดยแบ่งหลักสูตรเป็น ๒ อย่างคือ

อย่างสามัญ

เรียนวิชาธรรมวิภาค พุทธประวัติและเรียงความแก้กระทู้ธรรม และ

อย่างวิสามัญ

เพิ่มแปลอรรถกถาธรรมบทมีแก้อรรถ บาลีไวยากรณ์และสัมพันธ์
และวินัยบัญญัติที่ต้องสอบทั้งผู้ที่เรียนอย่างสามัญและวิสามัญ

พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงปรับปรุงหลักสูตรองค์นักธรรมอีกครั้งหนึ่ง
โดยเพิ่มหลักธรรมหมวดคิหิปฏิบัติเข้าในส่วนของธรรมวิภาคด้วย
เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการครองชีวิตฆราวาส
หากภิกษุสามเณรรูปนั้นๆ มีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกไป
ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งเรียกว่า นักธรรมชั้นตรี

การศึกษาพระธรรมวินัยแบบใหม่นี้
ได้รับความนิยมจากหมู่ภิกษุสามเณรอย่างกว้างขวาง
และแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว
เพียง ๒ ปีแรกก็มีภิกษุสามเณรสมัครเข้าสอบสนามหลวงเกือบพันรูป

เมื่อทรงเห็นว่าการศึกษานักธรรมอำนวยคุณประโยชน์
แก่พระศาสนาและภิกษุสามเณรทั่วไป
ในเวลาต่อมาจึงทรงพระดำริขยายการศึกษานักธรรมให้ทั่วถึงแก่ภิกษุทุกระดับ

คือ ทรงตั้งหลักสูตร นักธรรมชั้นโท
สำหรับภิกษุชั้นมัชฌิมะ คือ มีพรรษาเกิน ๕ แต่ไม่ถึง ๑๐

และ นักธรรมชั้นเอก
สำหรับภิกษุชั้นเถระ คือมีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป
ดังที่เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะสงฆ์สืบมาตราบถึงทุกวันนี้

ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

ทรงพิจารณาเห็นว่า การศึกษานักธรรมมิได้เป็นประโยชน์ต่อภิกษุสามเณรเท่านั้น
แม้ผู้ที่ยังครองฆราวาสวิสัยก็จะได้รับประโยชน์จากการศึกษานักธรรมด้วย
โดยเฉพาะสำหรับเหล่าข้าราชการครู

จึงทรงตั้งหลักสูตรนักธรรมสำหรับฆราวาสขึ้น เรียกว่า “ธรรมศึกษา”
มีครบทั้ง ๓ ชั้น คือ ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก
ซึ่งมีเนื้อหาเช่นเดียวกันกับหลักสูตรนักธรรมของภิกษุสามเณร
เว้นแต่วินัยบัญญัติที่ทรงกำหนดใช้เบญจศีลเบญจธรรมและอุโบสถศีลแทน


ได้เปิดสอบธรรมศึกษาตรีครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒
และเปิดสอบครบทุกชั้นในเวลาต่อมา
มีฆราวาสทั้งหญิงและชายเข้าสอบเป็นจำนวนมาก
นับเป็นการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

ปัจจุบัน การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมนี้
มี สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตโต) วัดบวรนิเวศวิหาร
เป็นแม่กองธรรมสนามหลวง เน้นการพัฒนาศาสนทายาท
ให้มีคุณภาพสามารถดำรงพระศาสนาไว้ได้ด้วยดี
ทั้งถือว่าเป็นกิจการของคณะสงฆ์ส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่ง
ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยมาตั้งแต่ครั้งอดีตถึงปัจจุบัน


รูปภาพ
สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตโต) วัดบวรนิเวศวิหาร
ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) แม่กองธรรมสนามหลวง



:b8: :b8: :b8:

ที่มา : http://www.gongtham.org

เจ้าของ:  Duangtip [ 13 ก.พ. 2020, 12:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ••o•• ประวัตินักธรรม โดยสังเขป

:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  sirinpho [ 23 พ.ย. 2021, 09:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ••o•• ประวัตินักธรรม โดยสังเขป

:b8: :b8: :b8:
Kiss

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/