วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 14:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2021, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ปฐมเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร


สมเด็จพระสังฆราชพระองค์เดียว
ที่ทรงเคยครองเรือนมีครอบครัวมาก่อน


:b8: :b8: :b8:

รูปภาพ

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ แม้จะทรงมีพระชาติกำเนิดมาจากสามัญชน
แต่ด้วยความรู้ความสามารถทำให้ทรงเป็นที่ยอมรับจากพระมหากษัตริย์ถึง ๒ รัชกาล
ด้วยการเป็นศิษย์หลวงในรัชกาลที่ ๔ และสมเด็จพระสังฆราชคู่พระทัยในรัชกาลที่ ๕

พระองค์นับเป็นปราชญ์หรืออัจฉริยบุคคลท่านหนึ่ง
ทรงสอบได้เปรียญ ๙ ประโยคตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร
นับเป็นสามเณร ๙ ประโยครูปแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ก่อนจะทรงถวายตัวเป็น “ศิษย์หลวง” ของพระวชิรญาณภิกขุ
(พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔)


ต่อมา แม้จะได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระอมรโมลี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
แต่แล้วพระองค์กลับทรงตัดสินใจลาสิกขาออกไปครองชีวิตฆราวาส
เป็นมหาสาอยู่ระยะหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าทรงลาสิกขาในปีใด

เล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระราชประสงค์จัดงานฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ทรงโปรดให้อาราธนาพระภิกษุที่มีความสามารถมาถวายพระธรรมเทศนา
พร้อมกับตั้งพระทัยถวายเครื่องไทยธรรม
และเงินติดกัณฑ์เทศน์เป็นจำนวนมากถึง ๑๐ ชั่ง
(เงินจำนวนนี้มากอักโขในสมัยนั้น ใครมีเท่ากับเป็นเศรษฐี)
ครั้งแรกทรงอาราธนาพระเทพโมลี (ผึ้ง) วัดราชบุรณะ
ผู้มีความสามารถในการเทศนาและแต่งหนังสือไทย “ปฐมมาลา”
อย่างแตกฉานในสมัยนั้น จนเป็นที่นับถือชื่อเสียงเลื่องลือ
แต่พระเทพโมลี (ผึ้ง) ไม่ปรารถนาปัจจัยจำนวนมากมายเช่นนั้นจึงลาสิกขาไปก่อน
โดยท่านคิดจะลาสึกอยู่ก่อนแล้ว พอรู้ข่าวล่วงหน้าก็คิดว่า
ถ้ารับนิมนต์ไปเทศน์ได้เงินไทยทานมา แล้วไปขอถวายพระพรลาสึก ก็คงไม่งาม
อาจจะถูกหาว่า เอาเงินกัณฑ์เทศน์สึกจากพระไปตั้งตัว ก็ร้อนใจ
เตรียมการจะขอเข้าไปถวายพระพรลาสึก
ทำให้ทรงต้องอาราธนาพระอมรโมลี (สา) คือเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ซึ่งมีความสามารถทัดเทียมกัน แต่ก็เกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกัน
คือได้เข้าถวายพระพรขอลาสึก เป็นรูปที่สอง


รูปภาพ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


รูปภาพ
พระพรหมมุนี (แย้ม อุปวิกาโส)
เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม รูปที่ ๓
หนึ่งในศิษย์ผู้ใกล้ชิดของสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)


รูปภาพ
พระเทพเมธากร หรือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิโม)
เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม รูปที่ ๔


รูปภาพ
พระพรหมวัชราจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก ป.ธ.๘)
เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม รูปที่ ๕ รูปปัจจุบัน

:b49: :b47: :b49:

เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงลาสิกขาไปใช้ชีวิตในเพศฆราวาสนั้น
เป็นช่วงที่เรื่องราวของพระองค์มิได้ถูกกล่าวถึงอย่างเป็นทางการ
มีเพียงเรื่องเล่าในหมู่ศิษยานุศิษย์ใกล้ชิด
หรือพระภิกษุสงฆ์ในวัดราชประดิษฐ์บางรูปเท่านั้น
ดังที่ ทองอินทร์ แสนรู้ ซึ่งศึกษาวิชาโหราศาสตร์กับ
ท่านเจ้าคุณพระเทพเมธากร (ทิม อุฑาฒิโม)
(ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์)
เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม รูปที่ ๔
และได้ทราบเรื่องช่วงชีวิตฆราวาสของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
จากคำบอกเล่าของท่านเจ้าคุณพระเทพเมธากร
ว่าทรงเคยเป็นนักเลงแถวหน้าโรงหวยอยู่พักหนึ่ง


“ข้าพเจ้ายกครูเรียนโหรจากท่านเจ้าคุณพระเทพเมธากร (ทิม อุฑาฒิโม)
เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐ์ องค์ปัจจุบัน
ศิษย์เอกผู้สืบต่อตำราของท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี (แย้ม อุปวิกาโส)
ท่านได้พร่ำสอนข้าพเจ้าเสมอว่า วัดราชประดิษฐ์นี้มีอาถรรพ์
สึกออกไปแล้วไม่เสือผู้หญิงก็นักเลงชั้นยอด
ท่านไม่เคยให้เหตุผล
แต่ท่านชอบเล่าอดีตเหมือนผู้ใหญ่ทั้งหลาย
เคยเล่าให้ข้าพเจ้าฟังถึงความเป็นนักเลงของสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
ว่า เคยสำเร็จเป็นเปรียญ ๙ ประโยค แล้วสึกออกไปเป็นนักเลงแถวหน้าโรงหวย
จนในหลวงรัชกาลที่ ๔ จับบวช และแต่งตั้งให้เป็นพระสังฆราชในกาลต่อมา”


และยังมีเรื่องเล่าอีกว่า ในเพศฆราวาสนั้น มหาสาได้ออกไปครองเรือนมีครอบครัว
ท่านมีภรรยา ๒ คน จึงเป็นที่มาของสองนามสกุล คือ “ปุสสเทโว” และ “ปุสสเด็จ”
ซึ่งทั้งสองนามสกุลนี้ยังมีผู้สืบสกุลในท้องที่จังหวัดนนทบุรีที่ล้วนเป็นเครือญาติกัน
ถ้าเป็นดังข้อมูลนี้ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) น่าจะเป็น
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์เดียวที่ทรงเคยครองเรือนมีครอบครัวมาก่อน

ซึ่งนับเป็นความพิเศษอีกประการหนึ่งในพระประวัติ


ทว่าสุดท้าย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก็ทรงติดตามให้มหาสา หรืออดีตพระอมรโมลี (สา)
กลับมาอุปสมบทใหม่อีกครั้งที่วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ ซึ่งตรงกับปีแรกในรัชสมัยของพระองค์


รูปภาพ
พระรูปหล่อในท่านั่งแสดงพระธรรมเทศนา
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ประดิษฐาน ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม


รูปภาพ
เจดีย์บรรจุอัฐิของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิโม)
ประดิษฐาน ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม


รูปภาพ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงฉลองพระองค์ด้วยพระภูษาขาว ทรงสมาทานอุโบสถศีล

ทรงประทานพระธรรมเทศนาแก่ข้าราชบริพารฝ่ายในเนื่องในวันธรรมสวนะ
ในวงวิชาการเชื่อกันว่าภาพถ่ายภาพนี้
เป็นภาพเดี่ยวที่ทรงฉายเป็นภาพสุดท้ายในพระชนมชีพ
ทรงฉายเมื่อปีเถาะ พุทธศักราช ๒๔๑๐
สันนิษฐานว่าถ่ายโดย พระยากษาปณ์กิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)
เจ้ากรมกษาปณ์สิทธิการ ชาวไทยคนแรกที่ถ่ายรูปเป็น


รูปภาพ
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๕


:b8: :b8: :b8: คัดลอกเนื้อหามาจาก...พระประวัติและปฏิปทา
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=21489

:b49: วัดประจำรัชกาลที่ ๔ : วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19383

:b49: ประมวลพระรูป “สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=50368

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2021, 08:40 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
Kiss


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร