วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 09:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2022, 12:34 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


คั ม ภี ร์ อ ภิ ธั ม มั ต ถ สั ง ค ห ะ
พระนิพนธ์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)

วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร) กรุงเทพมหานคร


รูปภาพ

อภิธรรม คัมภีร์นี้
ถ้าจะเรียนกันโดยลำดับให้ครบถ้วนก็จะต้องใช้เวลานาน
เพราะมีเนื้อความที่สลับซับซ้อนพิสดารมาก


ฉะนั้น ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปอยู่ในขนาดพันปี
ได้มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อท่าน อนุรุทธะ
ได้ประมวลเนื้อความของพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นี้
มาแต่งไว้โดยย่นย่อ เรียกว่า “คัมภีร์อภิธัมมัตสังคหะ”

แปลว่า สงเคราะห์ คือ สรุปความแห่งอภิธรรม ยกเป็นสี่หัวข้อ คือ

๑. จิต
๒. เจตสิก
๓. รูป
๔. นิพพาน


ท่านแต่งเป็นคาถาสลับร้อยแก้วแบ่งออกเป็น ปริจเฉท คือ ๙ ตอน
เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ไม่โตมาก

คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนี้เป็นที่นิยมกันมาก
เมื่อเรียนตามคัมภีร์นี้แล้ว ไปจับดูอภิธรรม ๗ คัมภีร์
ก็จะเข้าใจโดยง่ายโดยตลอด เป็นการเรียนลัด


พิจารณาดูตามหัวข้อที่ท่านวางไว้เป็นสี่นี้ตามความเข้าใจ

จิตนี้เป็นตัวยืน โดยปกติจิตก็มีดวงเดียว
จิตจะเป็นต่างๆ ก็เพราะมีเจตสิก แปลว่ามีธรรมที่มีในใจ


มีเจตสิกอย่างไร จิตก็เป็นอย่างนั้น
เจตสิกเป็นสิ่งที่ผสมอยู่ในจิต
เทียบเหมือนดั่งว่าน้ำกับสีที่ผสมอยู่ในน้ำ
น้ำโดยปกติก็เป็นอย่างเดียว
แต่เมื่อใส่สีลงไปในน้ำจึงเป็นน้ำสีนั้น น้ำสีนี้

ฉะนั้น พระอภิรรมที่แจกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวง
ก็ด้วยอำนาจของเจตสิกนี้เอง
ยกเจตสิกออกแล้ว จิตก็เป็นดวงเดียวท่านั้น
แจกออกไปเป็นอย่างไรมิได้


แต่ว่าทั้งจิตและเจตสิกก็อาศัยอยู่กับรูป
รูปที่อาศัยของจิตและเจตสิก
จะเทียบก็เหมือนอย่างว่าน้ำที่อาศัยอยู่ในขวดน้ำ
ถ้าหากว่ารูปตกทำลาย จิตก็สิ้นที่อาศัย
เหมือนอย่างว่าขวดน้ำแตก น้ำก็หมดที่อาศัย

และนิพพานนั้นก็เป็นธรรมที่สุดในเมื่อจิตได้ปฏิบัติจิตสูงขึ้นโดยลำดับ

เบื้องต้นก็เป็นกามวจรจิต จิตที่ท่องเที่ยวไปหรือหยั่งลงในกาม
เป็นรูปาวจรจิต จิตที่หยั่งลงในรูปหรือรูปฌาน
อรูปวจรจิตจิตที่หยั่งลงในอรูปฌาณ
โลกุตตรจิต จิตที่เป็นโลกุตตรคือมรรคผล
ก็บรรลุนิพพานเป็นที่สุด

เพราะฉะนั้น จึงประมวลหัวข้อเป็น จิต เจิตสิก รูป นิพพาน
แล้วก็จัดธรรมะในอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นั้น เข้าในหัวข้อทั้งสี่นี้

ทั้ง ๗ คัมภีร์นี้เราเรียกย่อกันว่า สัง, วิ, ธา, ปุ, กะ, ยะ, ปะ
คือเอาอักษรต้นที่เรียกว่าเป็นหัวใจพระอภิธรรม
เหมือนอย่าง จิต เจตสิก รูป นิพพาน เรียกว่า จิ, เจ, รุ, นิ
หรืออริยสัจ ก็เรียกว่า ทุ, ส, นิ, ม คือเอาอักษรแรก


ความจริงนั้นเพื่อกำหนดง่าย เมื่อจำได้เพียงเท่านี้ก็เป็นว่าเพียงพอ
แต่ก็มาเรียกกันว่าหัวใจ
เราก็ใช้เขียนลงในเหรียญในเครื่องรางต่างๆ
วัตถุประสงค์ในทีแรก
ก็เพื่อจะเป็นเครื่องกำหนดง่ายๆ เท่านั้น

คัมภีร์อภิธรรมตลอดจนอภิธัมมัตถสังคหะ
ตกมาถึงเมืองไทยก็มาใช้เกี่ยวกับงานศพเป็นพื้น
เช่นว่า สวดศพตอนกลางคืนก็สวดอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นี้เอง

และเมื่อเวลาที่จะบังสุกุลหรือจะสดับปรณ์
มีสวดมาติกา ก็คือว่ายกเอา “มาติกา” คือ แม่บท
จากคัมภีร์ที่หนึ่งมาสวดตอนที่หนึ่ง
ขึ้นต้นว่า กุสลา ธมฺมา เป็นต้น


และคัมถีร์อภิธัมมัตถสังคหะนั้น
ท่านแต่งเป็นคาถา ก็นำมาสวดเป็นสรภัญญะในการงานศพอีกเหมือนกัน

คือ ถ้าไม่สวดพระอภิธรรม คัมภีร์
ก็สวดอภิธัมมัตถสังคคหะ เป็นสรภัญญะ


ครั้นมาในตอนหลังนี้ได้มีผู้สนใจศึกษาอภิธรรมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ใน “ความรู้ทั่วไปเรื่องพระอภิธรรม”
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก,
มหามงกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๓๓-๓๕)

จาก... http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=29025

:b44: พระประวัติ “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=19822

:b44: รวมพระนิพนธ์ “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=43452

:b44: สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ กับ วงศ์พระกรรมฐาน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=43558


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร