วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2010, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

อาสาฬหบูชา

ประวัติความเป็นมา

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน
เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์
อาสาฬหเป็นชื่อเดือน ๘
อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่าอาสาฬหบูรณมีบูชา
แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘
ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง
ก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง


หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้ว
ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่า
ธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม
แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง
จึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภท(บัว 4 เหล่า) คือ

๑. อุคฆฏิตัญญู ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ

๒. วิปัจจิตัญญู ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ

๓. เนยยะ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ

๔. ปทปรมะ ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม



จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า
มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที
แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์
ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5
คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ
ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้า
เมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่
พระธรรมที่ พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้
มีชื่อ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร
ซึ่งมี อริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการได้แก่

๑. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ

๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์

๓. นิโรธ ความดับทุกข์

๔. มรรค ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์



และหลังจากแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว
ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นคนแรก

ได้กราบฑูลขอบวชและพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต
โดยทรงทำการอุปสมบทให้แบบ เอหิภิกขุอุปสัมปทา
นับเป็น"ปฐมสาวก" ของพระพุทธเจ้า


ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันแรกที่มี พระรัตนตรัยครบองค์สาม
คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงเทศนาเป็นกัณฑ์แรก
จึงเรียกเทศฯกัณฑ์นี้ว่า "ปฐมเทศนา"
หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่านับเป็นวันแรก
ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา


จะเห็นได้ว่า ปรากฏการณ์สำคัญ ๆ ในวันนี้มีถึง 4 ประการ ด้วยกันคือ

1. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา

2. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงได้ปฐมสาวก

3. เป็นวันแรกที่พระสงฆ์เกิดขึ้นในโลก

4. เป็นวันแรกที่บังเกิดรัตนะครบสาม
เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ


กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในวันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมทำบุญตักบาตรในตอนเช้า
และตลอดวันจะมีการบำเพ็ญบุญกุศลความดีอื่น ๆ เช่น ไปวัดรับศีล
งดเว้นการทำบาปทั้งปวง ถวายสังฆทาน ให้อิสระทาน
(ปล่อยนกปล่อยปลา) ฟังพระธรรมเทศนา
และไปเวียนเทียนรอบโบสถ์ในเวลาเย็น


โดยก่อนทำการเวียนเทียนพุทธศาสนิกชน
ควรร่วมกันกล่าวคำสวดมนต์และคำบูชาในวันอาสาฬหบูชา
โดยปกติตามวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการทำวัตรสวดมนต์
ก่อนทำการเวียนเทียน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมทำการเวียนเทียน
อย่างเป็นทางการ (โดยมีพระภิกษุสงฆ์นำเวียนเทียน)
ในเวลาประมาณ 20 นาฬิกา โดยบทสวดมนต์ที่พระสงฆ์นิยมสวด
ในวันอาสาฬหบูชาก่อนทำการเวียนเทียนนิยมสวด
(ทั้งบาลีและคำแปล) ตามลำดับดังนี้


บทบูชาพระรัตนตรัย (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อรหัง สัมมา ฯลฯ)

บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า (นะโม ฯลฯ ๓ จบ)

บทสรรเสริญพระพุทธคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อิติปิโส ฯลฯ)

บทสรรเสริญพระพุทธคุณ สวดทำนองสรภัญญะ
(บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:องค์ใดพระสัมพุทธ ฯลฯ)

บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สวากขาโต ฯลฯ)

บทสรรเสริญพระธรรมคุณ สวดทำนองสรภัญญะ
(บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:ธรรมมะคือ คุณากร ฯลฯ)

บทสรรเสริญพระสังฆคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สุปฏิปันโน ฯลฯ)

บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สวดทำนองสรภัญญะ
(บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:สงฆ์ใดสาวกศาสดา ฯลฯ)

บทสวดพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตรบาลี
(บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:เอวัมเม สุตัง เอกัง ฯลฯ)

บทสวดบูชาเนื่องในวันอาสาฬหบูชา
(บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:ยะมัมหะ โข มะยัง ฯลฯ)

จากนั้นจุดธูปเทียนและถือดอกไม้เป็นเครื่องสักการะบูชาในมือ
แล้วเดินเวียนรอบปูชนียสถาน 3 รอบ
โดยขณะที่เดินนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ
ด้วยการสวดบทอิติปิโส (รอบที่หนึ่ง)
ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขาโต (รอบที่สอง)
และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน (รอบที่สาม)
จนกว่าจะเวียนจบ 3 รอบ จากนั้นนำธูปเทียนดอกไม้
ไปบูชาตามปูชนียสถานจึงเป็นอันเสร็จพิธี


หลักธรรมในวันอาสาฬหบูชา

เนื่องด้วย วันอาสาฬหบูชา มีความเกี่ยวข้องอย่างมาก
กับพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้า
ได้ทรงแสดงขึ้นในโลก และได้ทรงแสดงเป็นครั้งแรก
ในวันอาสาฬหบูชานี้ หลักธรรมสำคัญในพระสูตรบทนี้
จึงเป็นธรรมะสำคัญที่พุทธศาสนิกชนควรนำไปพิจารณา
และทำความเข้าใจ และอาจจะเรียกได้ว่าหลักธรรมในพระสูตรดังกล่าว
เป็นหลักธรรมสำคัญในวันอาสาฬหบูชา
ซึ่งเนื้อหาในพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มี 3 ตอน ดังนี้


สิ่งที่ไม่ควรเสพสองอย่าง

ส่วนแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง คือ กามสุขัลลิกานุโยค
และ อัตตกิลมถานุโยค กล่าวคือทรงแสดงสิ่งที่ไม่ควรเสพสองอย่าง
อันได้แก่ การปฏิบัติตนย่อหย่อนสบายกายเกินไป (กามสุขัลลิกานุโยค)
และการปฏิบัติตนจนทรมานกายเกินไป (อัตตกิลมถานุโยค)
คือทรงแสดงการปฏิเสธลักษณะของลัทธิทั้งปวงที่มีในสมัยนั้นดังนี้


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ


การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1
การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1"


— พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค
ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
การที่พระพุทธองค์ตรัสปฏิเสธแนวทางสองอย่างดังกล่าวมา
ในขณะเริ่มปฐมเทศนา เพื่อแสดงให้รู้ว่า พระพุทธศาสนา
ไม่ใช่ศาสนาที่สอนให้พ้นจากทุกข์ด้วยการแก้ปัญหานอกกาย
คือ หนีความทุกข์ด้วยการมัวแต่แสวงหาความสุข
(หนีความทุกข์อย่างไม่ยั่งยืน
เพราะต้องแสวงหามาปรนเปรอตัณหาไม่สิ้นสุด)
หรือหาทางพ้นทุกข์ด้วยการกระทำตนให้ลำบาก
(สู้หรืออยู่กับความทุกข์อย่างโง่เขลา ขาดปัญญา
ทำตนให้ลำบากโดยใช่เหตุ)
เพื่อที่จะทรงขับเน้นหลักการที่พระพุทธองค์จะทรงแสดงต่อไปว่า
มีความแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากแนวคิดพ้นทุกข์เดิม ๆ
ซึ่ง เป็นการประกาศแนวทางพ้นทุกข์ใหม่แก่โลก
อันได้แก่การแก้ทุกข์ที่ตัวต้นเหตุ คือ แก้ที่ภายในใจของเราเอง
คือ มัชฌิมาปฏิปทา ของพระพุทธองค์


มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง)

หลักธรรมในพระธรรมจักกัปปวัตนสูตร
มีจุดเด่นคือเน้นทางสายกลาง ให้มนุษย์มองโลกตามความเป็นจริง
(แก้ทุกข์ที่ใจ) เพื่อพบกับความสุขที่ยั่งยืนกว่า
สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในปฐมเทศนาต่อมา
คือ มัชฌิมาปฏิปทา คือ หลังจากทรงกล่าวปฏิเสธแนวทางพ้นทุกข์
แบบเดิม ๆ แล้ว ได้ทรงแสดงเสนอแนวทางพ้นทุกข์ใหม่แก่โลก
คือ มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง
คือ การปฏิบัติที่ไม่สุดตึงด้านใดด้านหนึ่ง
อันได้แก่การดำเนินตามมรรคมีองค์ 8
ซึ่งควรพิจารณาจากข้อความจากพระโอษฐ์โดยตรง ดังนี้


"ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น
นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด
ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว
ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ให้เกิด ทำญาณให้เกิด
ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน นั้น เป็นไฉน?


ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ 8 นี้แหละ
คือปัญญาอันเห็นชอบ 1 ความดำริชอบ 1 เจรจาชอบ 1
การงานชอบ 1 เลี้ยงชีวิตชอบ 1พยายามชอบ 1
ระลึกชอบ 1 ตั้งจิตชอบ 1"


ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.


— พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค
ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


อริยสัจสี่

สุดท้ายทรงแสดงสิ่งที่ทำให้พระองค์ตรัสรู้
คือทรงแสดงอริยสัจ 4 ประการ และ "กิจ" ที่ควรทำ
ในอริยสัจ 4 ประการ เพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์
โดยแก้ที่สาเหตุของทุกข์ กล่าวคือ ทุกข์ ควรรู้ สมุทัย ควรละ
นิโรธ ควรทำให้แจ้ง มรรค ลงมือปฏิบัติ


โดยข้อแรกคือ ทุกข์ ในอริยสัจทั้งสี่ข้อนั้น
ทรงกล่าวถึงสิ่งเป็นความทุกข์ทั้งปวงในโลกไว้ดังนี้


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ
คือ ความเกิด ก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์
ความเจ็บไข้ ก็เป็นทุกข์ ความตาย ก็เป็นทุกข์
การเจอสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์
โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์"


— พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค
ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
จากนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าการ ยึดถือ ในสิ่งทั้งปวงนั่นเอง
เป็น "สาเหตุแห่งความทุกข์" คือ


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ "ตัณหา"
อันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน
มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา."


— พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค
ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
จากนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ทุกข์สามารถดับไปได้
โดยการ ดับที่ตัวสาเหตุแห่งทุกข์ คือ ไม่ยึดถือว่ามีความทุกข์
หรือเราเป็นทุกข์ กล่าวคือ สละถอนเสียซึ่งการถือว่ามีตัวตน
อันเป็นที่ตั้งของความทุกข์ (เมื่อไม่มีการยึดมั่นถือมั่นในใจ
ว่าตนนั้นมี "ตัวตน" ที่เป็นที่ตั้งของความทุกข์
ทุกข์ย่อมไม่มีที่ยึด จึงไม่มีความทุกข์) ดังนี้


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ
คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรคคือ "หมดราคะ"
"สละ" "สละคืน" "ปล่อยไป" "ไม่พัวพัน"."


— พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค
ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสถึงผลของการปฏิบัติกิจในศาสนาแล้ว
จึงได้ตรัสแสดงมรรค คือวิธีปฏิบัติตามทางสายกลางตามลำดับ 8 ขั้น
เพื่อหลุดพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง คือ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แหละ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ 1 ความดำริชอบ 1
เจรจาชอบ 1 การงานชอบ 1 เลี้ยงชีวิตชอบ 1พยายามชอบ 1
ระลึกชอบ 1 ตั้งจิตชอบ 1


— พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค
ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
โดยสรุป พระพุทธองค์ทรงตรัสเรียงวิธีแก้ทุกข์
โดยแสดงให้เห็นปัญหา (ทุกข์) สาเหตุของปัญหา (สมุทัย)
และจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาคือการดับทุกข์ (นิโรธ)
โดยทรงแสดงวิธีปฏิบัติ (มรรค) ไว้ท้ายสุด
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้ทราบจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติก่อน
เพื่อการเข้าใจไม่ผิด และจะได้ปฏิบัติโดยมุ่งไปยังจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
โดยไม่คลาดเคลื่อน


ที่มา... http://www.learntripitaka.com/History/asalha.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7% ... A%E0%B8%B2

:b48: :b8: :b48:

:b40: รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “วันอาสาฬหบูชา”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45499


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2010, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2010, 13:23
โพสต์: 7

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ. :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2010, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุ..ด้วยครับ smiley smiley smiley


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2010, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนา สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2010, 04:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2010, 01:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




26072010242.jpg
26072010242.jpg [ 76.73 KiB | เปิดดู 7725 ครั้ง ]
26072010245.jpg
26072010245.jpg [ 59.33 KiB | เปิดดู 7727 ครั้ง ]
26072010251.jpg
26072010251.jpg [ 72.55 KiB | เปิดดู 7726 ครั้ง ]
26072010255.jpg
26072010255.jpg [ 56.18 KiB | เปิดดู 7749 ครั้ง ]
26072010261.jpg
26072010261.jpg [ 44.38 KiB | เปิดดู 7721 ครั้ง ]
26072010252.jpg
26072010252.jpg [ 67.91 KiB | เปิดดู 7716 ครั้ง ]
วันนี้ไปทำบุญเวียนเทียนที่วัดเจดีย์หลวง กับนู๋กวางน้อย
ทำบุญถวายปัจจัยกองกฐินของวัดด้วย
(เอาภาพบรรยากาศบางส่วนมาฝาก)
เอาบุญมาฝากอนุโมทนานะจ๊ะน้องลูกโป่ง
ฝากคุณทักทายและทุกท่านด้วย

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2010, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
วันนี้ไปทำบุญเวียนเทียนที่วัดเจดีย์หลวง กับนู๋กวางน้อย
ทำบุญถวายปัจจัยกองกฐินของวัดด้วย
(เอาภาพบรรยากาศบางส่วนมาฝาก)
เอาบุญมาฝากอนุโมทนานะจ๊ะน้องลูกโป่ง
ฝากคุณทักทายและทุกท่านด้วย


:b8: :b4: :b8: :b4: :b8:

อนุโมทนากับท่านธรรมบุตร
และหนูกวางน้อยด้วยนะคะ
สาธุ...สาธุ...สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2010, 02:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุหลาบสีชา เขียน:
อ้างคำพูด:
วันนี้ไปทำบุญเวียนเทียนที่วัดเจดีย์หลวง กับนู๋กวางน้อย
ทำบุญถวายปัจจัยกองกฐินของวัดด้วย
(เอาภาพบรรยากาศบางส่วนมาฝาก)
เอาบุญมาฝากอนุโมทนานะจ๊ะน้องลูกโป่ง
ฝากคุณทักทายและทุกท่านด้วย


:b8: :b4: :b8: :b4: :b8:

อนุโมทนากับท่านธรรมบุตร
และหนูกวางน้อยด้วยนะคะ
สาธุ...สาธุ...สาธุ


:b45: :b45: :b45: เช่นกันครับคุณโรส.. :b46: :b46: :b46:
:b41: :b41: :b41: สาธุ..สาธุ..สาธุ.. :b8: :b8: :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร