วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

๑. วันมาฆบูชาเพิ่งจะถูกจัดให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ นี้เอง

๒. วันๆ นี้ที่ว่ากันว่าพระอรหันต์จำนวน ๑๒๕๐ รูป
มาประชุมโดยมิได้นัดหมายกันมาก่อน หาใช่เหตุการณ์มหัศจรรย์แต่อย่างใด
เนื่องจากวันเพ็ญเดือน ๓ (มาฆะ) นี้เป็น วันสำคัญที่เรียกว่า “ศีวราตรี”
ที่คนอินเดียในสมัยโบราณเขารู้สึกว่าน่าจะมาพบปะกันอยู่แล้ว

๓. การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมใหญ่มีชื่อเรียกว่า “มหาสันนิบาต”
จัดประชุมที่ วัดเวฬุวัน (ป่าไผ่) อันเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา

๔. วันมาฆบูชานี้เป็นวันพระพุทธองค์ทรงประกาศจุดยืนของพุทธศาสนา
ว่าแตกต่างจากศาสนาอื่นๆ อย่างไร ได้แก่

ก. พระพุทธองค์ทรงประกาศว่าการบำเพ็ญตบะนั้นหมายถึงเผากิเลส
ไม่ใช่การทำตัวเองให้ทุกข์กาย ลำบากลำบน (เช่น ลัทธิเชน เป็นต้น)

ข. ทรงประกาศว่าเป้าหมายสูงสุดของชาวพุทธ คือ นิพพาน
หาใช่การเข้าถึงพระพรหม แบบของศาสนาพราหมณ์ และ

ค. สองข้อสุดท้าย พระพุทธองค์ทรงย้ำว่าผู้ที่เป็นนักบวช
จะต้องไม่เป็นผู้เบียดเบียนใครทั้งสิ้น
(สมัยนั้นนักบวชพราหมณ์ถือตัวเองว่า เป็นตัวแทนของเทพเจ้า
มีการให้คุณให้โทษต่อเพื่อนมนุษย์
และ มีการประกอบพิธีบูชายันต์ฆ่าสัตว์ตายมากมาย
อย่างสมัยนี้ พระภิกษุที่ประพฤติมิชอบ
ออกเที่ยวเรี่ยไรขอบริจาคเงินทอง
ก็ถือว่าเป็นการเบียดเบียนผู้อื่นเช่นเดียวกัน)

๔. วาระต่อไปพระพุทธองค์จึงทรงประกาศหลักปฏิบัติ
อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
ได้แก่ ๑. การไม่ทำชั่ว
๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม
และ ๓. การชำระจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส

๕. ในตอนท้ายของการประชุม พระพุทธองค์จึงทรงวางหลักปฏิบัติตัว
สำหรับพระภิกษุสงฆ์ ให้ถือเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติสืบต่อไป ได้แก่
๑) ไม่กล่าวร้ายใคร
๒) ไม่ทำร้ายใคร
๓) ดำรงตนอยู่ในวินัยให้ดี
๔)บริโภคใช้สอยปัจจัยสี่อย่างพอดี
๕) ยินดีพอใจในที่อันสงัด
๖) บำเพ็ญเพียรทางจิตให้พัฒนาก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป

๖. สรุปวันสำคัญทางพุทธศาสนาในเมืองไทยทั้งสามวัน
มีความหมายที่จำกันได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

วันวิสาขบูชา
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ถือได้ว่า เป็น วันพระพุทธ
วันอาสาฬหบูชา
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นครั้งแรก ถือได้ว่า เป็น วันพระธรรม
วันมาฆบูชา
เป็นวันที่พระสงฆ์มาประชุมพร้อมเพรียงกัน รับฟังหลักการสำคัญ
เพื่อแยกย้ายกันไปเผยแผ่พระศาสนา จึงถือว่าเป็น วันพระสงฆ์

ย่อความ เรียบเรียง และ ปรับปรุงจาก...
หนังสือจาริกบุญ-จาริกธรรม หน้า ๗๓-๘๑ ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


คัดลอกจาก...http://www.budpage.com/maka.html


:b8: :b8: :b8:

:: รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “วันมาฆบูชา”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45501


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ..

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


โมทนาสาธุด้วยนะคะคุณลูกโป่ง :b8: :b1:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron