ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ประวัติความเป็นมา “วันมาฆบูชา”
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=88&t=53810
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  Duangtip [ 16 ก.พ. 2017, 11:11 ]
หัวข้อกระทู้:  ประวัติความเป็นมา “วันมาฆบูชา”

• ประวัติความเป็นมา “วันมาฆบูชา”
http://www.dhammajak.net/budday/maka.php


รูปภาพ
:b8: ผลงานการสร้างสรรค์ของอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต


◆◆◆◆ “วันมาฆบูชา” หรือ “วันจาตุรงคสันนิบาต”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=88&t=58602
:b47: :b44: :b47:

:b8: “วันมาฆบูชา” เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า “จาตุรงคสันนิบาต” เหตุการณ์อัศจรรย์ในวันมาฆบูชา ประการ ได้แก่

(๑) คืนนั้นเป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือเดือน ๔ ในปีที่มีอธิกมาส [คือมีเดือน ๘ สองหน]

(๒) พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมพร้อมกันที่วัดพระเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนเข้าพรรษาที่ ๒ หลักจากตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน (วัดพระเวฬุวัน เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาที่พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ สร้างถวายให้เป็นที่ประทับของพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์)

(๓) พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ทรงอภิญญา ๖ คือ หูทิพย์ ตาทิพย์ ระลึกชาติได้ แสดงฤทธิ์ได้ ล่วงรู้วาระจิตของผู้อื่น และทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป

(๔) พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็น “เอหิภิกขุ” ผู้ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า


พระพุทธองค์ทรงเห็นปรากฏการณ์พิเศษนี้ จึงทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่ที่ประชุมสงฆ์ เนื้อหาของโอวาทปาติโมกข์ คนส่วนมากมักจดจำกันเพียง ๓ ข้อ คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง, การทำความดีให้ถึงพร้อม, การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส เพราะโบราณไทยท่านบัญญัติให้เป็น “หัวใจ” หรือ “แก่น” ของพระพุทธศาสนา แต่ความจริงแล้ว โอวาทปาติโมกข์มีถึง ๑๓ หัวข้อ คือ

๑. ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นเครื่องเผากิเลสที่ยอดเยี่ยมที่สุด
๒. พระนิพพาน ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นยอด (เป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิต)
๓. ผู้ที่ฆ่าหรือทำร้ายคนอื่นอยู่ มิใช่บรรพชิต
๔. ผู้เบียดเบียนคนอื่นอยู่ มิใช่สมณะ
๕. ไม่ทำบาปทั้งปวง
๖. ทำความดีให้ถึงพร้อม
๗. ทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส
๘. ไม่ว่าร้ายคนอื่น
๙. ไม่เบียดเบียนคนอื่น
๑๐. เคร่งครัดในระเบียบข้อบังคับ
๑๑. อยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัด
๑๒. รู้จักประมาณในอาหารการกิน
๑๓. ฝึกจิตให้มีสมาธิขั้นสูง


พระโอวาทนี้จะเรียกว่า เป็นการปัจฉิมนิเทศแก่คณะธรรมทูตชุดแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจำนวน ๖๐ รูป (พระปัญจวัคคีย์ ๕ รูป + พระยสะและสหายพระยสะ ๕๕ รูป) ที่ส่งไปเผยแผ่ครั้งแรก และเป็นปฐมนิเทศแก่คณะธรรมทูตชุดที่สองที่จะส่งต่อไปก็ได้ เนื้อหาสามารถสรุปลงได้ ๔ ประเด็น ดังต่อไปนี้

๑. เน้นถึง อุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน (ข้อ ๒)

๒. พูดถึง หลักการทั่วไปของพระพุทธศาสนา คือ ไม่ทำบาปทั้งปวง, ทำความดีให้ถึงพร้อม, ทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส (ข้อ ๕, ๖, ๗)

๓. พูดถึง วิธีการเผยแผ่ คือ ให้ใช้ขันติ รู้จักประสานประโยชน์ ไม่ว่าร้ายเขา ไม่เบียดเบียนเขา (ข้อ ๑, ๓, ๔, ๘, ๙, ๑๐)

๔. พูดถึง คุณสมบัติของผู้เผยแผ่ จะต้องเป็นคนเคร่งครัดในพระวินัย คือ มีศีล, มีความประพฤติดีงาม, อยู่เรียบง่าย, ชอบที่สงบสงัด, ไม่เห็นแก่กิน และฝึกจิตจนได้สมาธิขั้นสูง (ข้อ ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๓)


อย่างไรก็ตาม ถึงโอวาทปาติโมกข์จะมีมากถึง ๑๓ ข้อ แต่หลักการทั่วไปมีเพียง ๓ ข้อ (คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง, การทำความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส) ก็ครอบคลุมเนื้อหาและเป็น “หัวใจ” หรือแก่นของพระพุทธศาสนาแล้ว เพราะพระอรรถกถาจารย์ (อาจารย์ผู้อธิบายพระไตรปิฎก) กล่าวว่า การไม่ทำบาปทั้งปวงนั้น หมายเอา ศีล, การทำความดีให้ถึงพร้อมนั้น หมายเอา สมาธิ, การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใสนั้น หมายเอา ปัญญา...ศีล สมาธิ และปัญญา ก็คือ ไตรสิกขา (หลักแห่งการฝึกฝนอบรม ๓ ประการ) อันเป็นสรุปความแห่งอริยมรรค มีองค์แปด นั้นเอง

และที่เราชาวพุทธควรจดจำไว้ก็คือ ในตอนกลางวันของ “วันมาฆบูชา” นั้น เป็นวันบรรลุธรรมขั้นสูงสุดของพระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นกำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านผู้นั้นก็คือ “พระอุปติสสะ” ซึ่งต่อมาเพื่อนพระภิกษุด้วยกันเรียกขานในนามว่า “พระสารีบุตร” หลังจากที่ได้ฟังพระธรรมเทศนา “เวทนาปริคคหสูตร” พระสูตรว่าด้วยการกำหนดเวทนา ขณะนั่งเบื้องหลังถวายงานพัดพระพุทธองค์อยู่ สถานที่ซึ่งพระสารีบุตรบรรลุเป็นพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสาสวะโดยสิ้นเชิง หลังจากท่านอุปสมบทได้ ๑๕ วัน คือ ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร) ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ เชิงเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

ผู้ที่มาเติมเต็มความสมบูรณ์ของกองทัพธรรม ก็คือ “พระสารีบุตร” ซึ่งเมื่อท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ถือได้ว่า “พระธรรมเสนาบดี” ได้บังเกิดขึ้น ดุจขุนพลแก้วบังเกิดแล้วแก่พระเจ้าจักรพรรดิ โดยท่านจะเป็นหัวเรือใหญ่ในการรับสนองนโยบายภารกิจนี้โดยตรง พระพุทธองค์จึงทรงทำการประชุมมหาสาวกสันนิบาต (การประชุมใหญ่ของพระสงฆ์สาวก) ทันทีในวันเดียวกันนั้นเอง โดยมิได้นัดหมายล่วงหน้า เพราะทรงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่กองทัพธรรมจะต้องเร่งรุดขยายให้ได้กว้างไกลที่สุด ฉะนั้น จำต้องมีทิศทางและยุทธศาสตร์ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน จึงได้ทรงประทาน “โอวาทปาติโมกข์” (คำสอนที่เป็นหัวใจหรือแก่นของพระพุทธศาสนา) เพื่อไว้ใช้เป็นแม่บทในการประกาศพระศาสนา


นอกจากนี้แล้ว ในวันดังกล่าวนี้ยังเป็นวันคล้ายวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้า “ทรงปลงอายุสังขาร” เป็นครั้งสุดท้าย กล่าวคือ ในพรรษาที่ ๔๕ พรรษาสุดท้ายแห่งการดำเนินพุทธกิจ พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่บ้านเวฬุวคาม แขวงเมืองไพศาลี (เมืองไวสาลี ในปัจจุบัน) แคว้นวัชชี ในระหว่างพรรษานี้พระพุทธองค์ทรงประชวรอย่างหนัก มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ครั้นถึงวันมาฆบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๓ ปีจอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงอายุสังขาร โดยตั้งพระทัยว่า “นับแต่นี้ต่อไปอีกสามเดือน วันเพ็ญในกลางเดือนหก (วิสาขะ) ปีจอ ตถาคตจักดับขันธปรินิพพานที่เมืองกุสินารา” การปลงอายุสังขารจึงมีความหมายในภาษาสามัญว่า การกำหนดวันตายไว้ล่วงหน้านั่นเอง การปลงอายุสังขารนี้มีขึ้น ณ ร่มไม้แห่งหนึ่งในปาวาลเจดีย์ บ้านเวฬุวคาม แขวงเมืองไพศาลี (เมืองไวสาลี ในปัจจุบัน) เวลากลางวัน

---------

:b50: :b50: รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “วันมาฆบูชา”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45501

:b50: :b50: โอวาทปาฏิโมกข์ (อาจารย์วศิน อินทสระ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=20317

:b50: :b50: “ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร)” ณ เชิงเขาคิชฌกูฏ
สถานที่พระสารีบุตรบรรลุเป็นพระอรหันต์ในวันมาฆบูชา

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=41350

เจ้าของ:  sirinpho [ 30 ม.ค. 2024, 13:28 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ประวัติความเป็นมา “วันมาฆบูชา”

:b8: :b8: :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/