วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


เชิญประชาสัมพันธ์สถานที่ปฏิบัติ โดยการลงชื่อ-ที่อยู่ กำหนดการ-ระเบียบการ และเว็บไซต์ (ถ้ามี)
ของสถานที่ปฏิบัติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ ได้เลยครับ


เว็บไซต์จังหวัดเชียงใหม่
http://chiangmai.ect.go.th

.......

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่กระดานสนทนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=1


:b8:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
สมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ ณ ศาลาหอฉัน วัดถ้ำเมืองนะ
............................................................................



วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ)
ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 50170


พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า) เจ้าอาวาส

ขอแนะนำที่ถ้ำเมืองนะ มีกุฏิ หลายหลัง มีถ้ำให้ได้ปฏิบัติมากมาย กุฏิ กับถ้ำอยู่คนละที่ สามารถเข้าพักได้ ตลอดเวลา ตามที่เห็นเหมาะสม เวลาไปถึงก็ไปหาคนเก็บกุญแจกุฏิ แล้วเข้าพักได้เลย ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า

พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า) ศิษย์สายหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ท่านเมตตา บอกว่า ใครอยากมา ก็มา ใครอยากกลับก็กลับ จะถือศีลอะไรก็ได้ แล้วแต่กำลังใจ ถ้าโรคภัยมาก ศีล 5 ก็ดีแล้ว ไม่ต้องฝืนไปถือศีล 8 จะอยู่เป็นปี ท่านก็ให้อยู่ ไม่ว่าอะไร บางคนมาอยู่หลายเดือน มาทำสมาธิอย่างเดียว ไม่คุยกับหลวงตาม้า เลยก็มี

....ที่ตรงนี้ ห่างจากชายแดนพม่าประมาณ 1 กิโลเมตร

ขอแนะนำไว้ครับ สนใจติดต่อทางเมล์ของผมได้ครับ
visanu_te@yahoo.com

รูปภาพ

การเดินทางไปสำหรับผู้ที่อยู่ในเชียงใหม่ในกรณีนั่งรถบัสมาเอง

ระยะเวลาจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปวัดนั้นใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง การเดินทางไปวัดหากมาจากตัวเมืองเชียงใหม่ ให้มาขึ้นรถบัสสีแดงที่ไปเชียงดาวที่ขนส่งช้างเผือก แล้วไปลงแถวๆ คิวรถเหลืองสาย 2 ที่ อ.เชียงดาว (บอกกระเป๋ารถเขาจะรู้) จากนั้นบอกรถสองแถวสาย 2 ที่เชียงดาว ว่าไปวัดหลวงตาม้า เขาจะทราบ

การเดินทางหากนั่งรถบัสมาจากต่างจังหวัด

หากนั่งรถทัวร์มา พอรถทัวร์ลงที่ขนส่งอาเขตให้จ้างรถสามล้อเครื่องหรือมอไซค์รับจ้าง (ประมาณ 50-60 บาท) บอกให้มาขนส่งช้างเผือก พอมาถึงแล้วก็ให้มาขึ้นรถบัสสีแดงที่ไปเชียงดาวที่ขนส่งช้างเผือก แล้วไปลงแถวๆ คิวรถเหลืองสาย 2 ที่ อ.เชียงดาว (บอกกระเป๋ารถเขาจะรู้) จากนั้นบอกรถสองแถวสาย 2 ที่เชียงดาว ว่าไปวัดหลวงตาม้า เขาจะทราบ

สอบถามข้อมูลเส้นทางเพิ่มเติม-ติดต่อวัดถ้ำเมืองนะ
แม่ชีประภัสสร โทรศัพท์ 085-7203608
คุณศิวกร โทรศัพท์ 081-8178827


รูปภาพ
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

รูปภาพ
พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2443

ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=34732

ประมวลภาพ “หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” วัดสะแก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=34696

ประมวลภาพ “หลวงตาม้า (พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=26820

เว็บไซต์วัดถ้ำเมืองนะ
http://www.watthummuangna.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

นำข้อมูลมาจาก : คุณวิษณุ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดอรัญวิเวก (บ้านปง)
หมู่ 7 บ้านปง ต.อินทขิล
อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50150


พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป เจ้าอาวาส

วัดอรัญวิเวก (บ้านปง) เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

พระธรรมเทศนา เรื่อง หลักการทำสมาธิและปฏิบัติภาวนา
โดย พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป

http://www.childthai.org/e-book/mental/ ... tal001.htm

เว็บไซต์วัดอรัญวิเวก (บ้านปง)
http://www.panyapatipo.com/

รูปภาพ
พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9335

รวมคำสอน “พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=38758

เสียงธรรมบรรยายพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
http://www.dhammajak.net/audio/dhamma/files/plean.php

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร
หมู่ 2 ถ.เชียงใหม่-ฮอด หมายเลข 108
ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160
โทรศัพท์/โทรสาร 053-341-664, 053-826-869


วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 1 ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม

พระธรรมมังคลาจารย์ วิ. อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล) : เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่

ผู้เข้าปฎิบัติ : รับทุกเพศทุกวัย-รับชาวต่างประเทศด้วย

แนวปฎิบัติ : สติปัฏฐาน 4 (พองหนอ-ยุบหนอ) ตามแนวทางปฏิบัติของ
- ท่านมหาสีสะยาดอ
- พระอาจารย์ภัททันตะอาสภมหาเถระ
- ท่านพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ)
- คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย

การปฎิบัติ : สำหรับผู้เข้าปฎิบัติใหม่จะมีครูสอนการปฎิบัติให้
และพระวิปัสสนาจารย์ จำนวน 4 ท่านสำหรับสอบอารมณ์

เงื่อนไข :
1. ผู้ต้องการเข้าปฎิบัติ ต้องโทรศัพท์จองห้องก่อนล่วงหน้า 1-2 เดือน
ก่อนการปฏิบัติ (เนื่องจากห้องปฏิบัติจะเต็มเร็วมาก)
2. ผู้เข้าปฎิบัติต้องเขียนใบสมัครในวันที่ลงทะเบียนเข้าปฎิบัติ
3. นำบัตรประชาชนของผู้ปฏิบัติมาด้วย
4. นุ่งขาวห่มขาวพร้อมสไบ (หากไม่มีทางสำนักมีบริการให้ยืม)
5. ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ทางสำนักมีบริการให้ยืม (หรือจะนำมาเองก็ได้)

ด้านวิปัสสนาธุระ มีการสอน-ปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน ในแนวสติปัฏฐาน 4 (พองหนอ-ยุบหนอ) มีห้องพัก (กุฎิ) สำหรับพระภิกษุและผู้สนใจทั่วไปที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (โทร. ติดต่อจองห้องพักได้ที่เบอร์ 053-826-869, แม่ชีระวีวรรณ)

ด้านคันถธุระ มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์, งานประเพณีในเดือน 7 ใต้ ขึ้น 15 ค่ำ หรือตรงกับเดือน 9 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ และมีงานสรงน้ำพระบรมธาตุ 5 คืน 4 วัน เป็นประจำทุกๆ ปี

การเดินทาง :
จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปอำเภอจอมทอง ประมาณ 1-2 ชั่วโมง โดยนั่งรถทัวร์หรือรถไฟจากกทม. แล้วต่อรถสองแถวจากสถานีรถไฟ ไปประตูเมืองเชียงใหม่ (เหมาราคา 50-60 บาท ใช้เวลา 10-20 นาที) แล้วลงจากรถ มาต่อรถสองแถวสีเหลือง (ที่ไปจอมทอง) โดยไม่ต้องเหมานั่งไปพร้อมหลายๆ คน ราคา 20 บาท ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง


รูปภาพ

รูปภาพ
‘พระธาตุศรีจอมทอง’ สีทองอร่าม
............................................................................



• ประวัติวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร •

วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 เชียงใหม่-ฮอด ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 1994 โดยนายสร้อย นางเม็ง เป็นผู้สร้างขึ้นบนดอยจอมทอง จึงได้ชื่อว่า “วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง” สูงจากที่ราบ 10 เมตร อยู่ทางทิศใต้ของ จ.เชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาเรียกว่า “ดอยอินทนนท์” และลำน้ำแม่กลาง ตามประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 21 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ ภายในวัด ปรากฏว่าเป็นลักษณะของศิลปกรรมในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ วัดนี้สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

- ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน 94 ตารางวา น.ส. 3 เลขที่ 335

- ธรณีสงฆ์ มีจำนวน 7 แปลง เนื้อที่ 27 ไร่ 2 งาน 26 ตารางวา น.ส. เลขที่ 334, 336, 337, 676 และโฉนดเลขที่ 17416, 17434

- กัลปนา มีจำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน โฉนดเลขที่ 22565, 22565, 22565 อยู่ในพื้นที่อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

- ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพุทธศักราช 2470

- ได้รับพระราชทานยกฐานะวัดขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
เมื่อวันที่ 30 เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2506

- ได้รับเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี 2524 ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
(ปัจจุบันกรมการศาสนา สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม)

- ได้รับเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2538 ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

รูปภาพ
ประชาชนร่วมกันสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง

รูปภาพ
องค์พระธาตุเจดีย์ภายในพระอุโบสถ วัดพระธาตุศรีจอมทอง
............................................................................



พระธาตุศรีจอมทอง เป็นที่ประดิษฐานพระทักษิณโมลีธาตุ หรือพระธาตุส่วนที่เป็นพระเศียรเบื้องขวาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำหรับพระธาตุศรีจอมทองนั้นถือว่ามีความพิเศษ คือเป็นพระบรมธาตุเพียงแห่งเดียวที่สามารถสักการะและสรงน้ำได้โดยตรง และเห็นองค์พระบรมสารีริกธาตุได้ เพราะแม้จะมีเจดีย์ (พระธาตุ) อยู่ในวัด แต่องค์พระบรมธาตุแปลกกว่าที่อื่นๆ มาก เพราะมิได้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ แต่บรรจุอยู่ในผอบธาตุฯ ออกจากผอบทองคำลงในโกฏแก้ว ที่มีฝาครอบเป็นทองคำ พานรองเป็นเงิน มีสร้อยทองคำโยงลงมาจากฝาครอบทองคำมายังพานเงินทั้ง 4 ด้าน กล่าวคือ พระบรมธาตุประดิษฐานอยู่ภายในกู่ปราสาทปิดทอง ตั้งอยู่ในวิหารจัตุรมุขใกล้เคียงกับเจดีย์ เมื่อถึงวันวิสาขบูชาและวันมาฆบูชาของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุศรีจอมทอง โดยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกมาให้คนทั่วไปได้สักการะและสรงน้ำ

อาคารเสนาสนะ นอกจากนี้ยังมี พระอุโบสถ พระเจดีย์ หอพระไตรปิฏก หอสรงน้ำพระบรมธาตุฯ อาคารพิพิธภัณฑ์ ศาลาการเปรียญ โรงเรียนพระปริยัติธรรม กุฏิสงฆ์ สำนักปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน มีกุฏิสำหรับผู้ที่มาปฏิบัติ ศาลาสอบอารมณ์กรรมฐาน โรงครัว ห้องน้ำ-ห้องสุขา

ปูชนียวัตถุ มีพระพุทธรูปทองคำ เงิน-งาช้างแกะสลัก เครื่องนักรบโบราณ เครื่องชนช้างโบราณฝักดาบเงิน ฝักดาบทอง ช้อนเงิน ช้อนทองคำ แก้ว 7 สี มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชื่อว่า หลวงพ่อเพชร ซึ่งจำลองจากองค์จริงที่วัดท่าหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิจิตร และอื่นๆ ฯลฯ

เมื่อปี พ.ศ. 2554 พระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล) ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์จากรัฐบาลพม่าในฐานะเป็นผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สมณศักดิ์ที่ “อัคกา มหา กัมมัตตานา คาริยา” (Agga Maha Kammatthana Cariya) ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งสูงที่สุดที่รัฐบาลพม่าถวายแด่พระภิกษุต่างชาติสายวิปัสสนา โดยในปีนี้พระภิกษุต่างชาติที่ได้รับการถวายสมณศักดิ์นี้มีทั้งหมด 10 รูป อาทิ ไทย, อินเดีย, ศรีลังกา, เวียดนาม, เนปาล, บังกลาเทศ และสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ มีการเข้ารับสมณศักดิ์ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554 ณ พระเจดีย์อุปปตะสันติ นครเนปิดอว์ โดย พลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ผู้นำรัฐบาลพม่า จะถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุที่ได้รับการถวายสมณศักดิ์ด้วย

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2554 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระเทพสิทธาจารย์ วิ. (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร จ.เชียงใหม่ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ “พระธรรมมังคลาจารย์ วิ.”

รูปภาพ
พระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาพระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22210

เว็บไซต์วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
http://www.watchomtong.com/

โปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์พระเถรานุเถระ ๘๖ รูป ปี ๒๕๕๒
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=27437

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่
มูลนิธิศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่ ศูนย์ 1 วัดห้วยส้ม
ต.สันกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 50120
โทรศัพท์ 053-225-570, 053-835-893
โทรสาร 053-212-892


ศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่ ศูนย์ 1 มีการอบรมพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดปัญญาและสันติสุข (ปฏิบัติธรรมในแนวสติปัฏฐานสี่) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติรู้ทันปัจจุบัน ตามแนวของคุณแม่สิริ กรินชัย ในแต่ละครอสมีระยะเวลาอบรม 8 วัน 7 คืน โดยมีการจัดอบรมพัฒนาตลอดทั้งปี สถานที่สัปปายะและมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติธรรม และเรียนรู้แบบไม่หลงทางดีมาก

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่

ศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมของการปฏิบัติธรรมในแนวสติปัฎฐานสี่ เพื่อให้ชนทั้งหลายได้มีโอกาสเข้าถึงธรรมะของพระพุทธองค์ เพื่อศึกษาปฏิบัติและนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองและผู้อื่น สร้างคุณธรรมพื้นฐานให้เกิดขึ้นในจิตใจ เช่น มีสติในชีวิตประจำวัน มีความกตัญญูกตเวทิตาธรรม รู้คุณค่าชีวิตของตนและผู้อื่น สร้างความรักความเข้าใจระหว่างบุคคลในครอบครัวที่เป็นรากฐานสำคัญของสังคมไทย เสริมสร้างคนดีให้เกิดขึ้นในครอบครัว ในท้องถิ่น ในประเทศ และนำความสุขสันติสู่โลกในที่สุด

การเตรียมตัวและข้อปฏิบัติ

-- เสื้อผ้าสีขาวหรือสีสุภาพ เพียงพอสำหรับใช้ใน 7 วัน โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องซักรีด
-- นำผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม มาเอง (หน้าหนาวควรเตรียมผ้าที่หนาอบอุ่นพอ)
-- ไม่ควรนำข้าวของและเครื่องประดับมีค่าติดตัวมา ยกเว้นนาฬิกา
-- สตรีควรแต่งกายสุภาพ ไม่สวมกางเกงขาสั้น ชุดรัดรูป หรือเสื้อคอกว้าง
-- อาหารและของขบเคี้ยวที่นำติดตัวมา ต้องนำมาไว้รวมกันที่โรงอาหาร ไม่อนุญาตให้นำไปไว้ในห้องพัก
-- เตรียมกายและใจให้พร้อมในการปฏิบัติธรรม เพื่อลด ละ เลิก อบายมุขและสิ่งเสพติดต่างๆ
ซึ่งเกิดจากกิเลสในตนนั่นเอง ดังนั้นห้ามนำเอาสิ่งเสพติดเข้ามา เช่น เหล้า บุหรี่และสิ่งเสพติดอื่นๆ
-- งดพูดคุย ฟังวิทยุ เพลง อ่านและเขียนหนังสือ
-- งดใช้เครื่องมือสื่อสารทุกประเภท เพื่อให้ได้ความสงบทางจิตอย่างแท้จริง
-- ไม่รับผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต ผู้ที่ติดยาเสพติด หรือผู้ที่เป็นโรคสังคมรังเกียจ

กำหนดการเวลาการอบรม

04.00 - 04.30 น. ตื่นนอน ทำกิจส่วนตัว
04.30 - 05.30 น. ออกกำลังกาย จงกรม - สมาธิ
05.30 - 07.00 น. ไหว้พระสวดมนต์ ฟังธรรมบรรยาย
07.00 - 08.00 น. อาหารเช้า
08.00 - 11.30 น. ต่อระยะจงกรม - สมาธิ
11.30 - 12.30 น. อาหารกลางวัน
12.30 - 14.30 น. จงกรม - สมาธิ
14.30 - 15.00 น. น้ำปานะ
15.00 - 16.30 น. จงกรม - สมาธิ
16.30 - 18.00 น. อาบน้ำ ทำกิจส่วนตัว อาหารว่าง
18.00 - 19.30 น. ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังธรรมบรรยาย
19.30 - 21.30 น. จงกรม - สมาธิ
21.30 - 04.00 น. นอน

ผู้เข้ารับการอบรม ควรปฎิบัติตามตารางการอบรมอย่างเคร่งครัด เพื่อก่อให้เกิดผล
ของการปฏิบัติอย่างรวดเร็ว และดำเนินไปตามหลักการเจริญสติปัฎฐานสี่อย่างสมบูรณ์

ศึกษาระเบียบการ-ตารางการอบรม-แผนที่ จากเว็บไซต์
http://www.vipassanachiangmai.com/

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่
มูลนิธิศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่ ศูนย์ 2 หมู่บ้านสราญรมย์วิว
ต.ยุหว่า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 50120
โทรศัพท์ 053-212-892


ศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่ ศูนย์ 2 เป็นศูนย์ปฎิบัติธรรมของผู้ที่สนใจอยากจะพัฒนาตน ศึกษาธรรมะในแนวสติปัฏิฐานให้ยิ่งๆ ขึ้น ควรมีประสบการณ์ผ่านการอบรมพื้นฐานอย่างต่ำ 3 ครั้ง (รับเฉพาะโยคีเก่า) บางครอสมี “พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล)” วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นพระวิปัสสนาจารย์

สำหรับหลักสูตรพื้นฐานนั้น ทางศูนย์ฯ มีการอบรมพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดปัญญาและสันติสุข (ปฏิบัติธรรมในแนวสติปัฏฐานสี่) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติรู้ทันปัจจุบัน ตามแนวของคุณแม่สิริ กรินชัย ในแต่ละครอสมีระยะเวลาอบรม 8 วัน 7 คืน โดยมีการจัดอบรมพัฒนาตลอดทั้งปี สถานที่สัปปายะและมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติธรรม และเรียนรู้แบบไม่หลงทางดีมาก


วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่

ศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมของการปฏิบัติธรรมในแนวสติปัฏิฐานสี่ เพื่อให้ชนทั้งหลายได้มีโอกาสเข้าถึงธรรมะของพระพุทธองค์ เพื่อศึกษาปฏิบัติและนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองและผู้อื่น สร้างคุณธรรมพื้นฐานให้เกิดขึ้นในจิตใจ เช่น มีสติในชีวิตประจำวัน มีความกตัญญูกตเวทิตาธรรม รู้คุณค่าชีวิตของตนและผู้อื่น สร้างความรักความเข้าใจระหว่างบุคคลในครอบครัวที่เป็นรากฐานสำคัญของสังคมไทย เสริมสร้างคนดีให้เกิดขึ้นในครอบครัว ในท้องถิ่น ในประเทศ และนำความสุขสันติสู่โลกในที่สุด

การเตรียมตัวและข้อปฏิบัติ

-- เสื้อผ้าสีขาวหรือสีสุภาพ เพียงพอสำหรับใช้ใน 7 วัน โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องซักรีด
-- นำผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม มาเอง (หน้าหนาวควรเตรียมผ้าที่หนาอบอุ่นพอ)
-- ไม่ควรนำข้าวของและเครื่องประดับมีค่าติดตัวมา ยกเว้นนาฬิกา
-- สตรีควรแต่งกายสุภาพ ไม่สวมกางเกงขาสั้น ชุดรัดรูป หรือเสื้อคอกว้าง
-- อาหารและของขบเคี้ยวที่นำติดตัวมา ต้องนำมาไว้รวมกันที่โรงอาหาร ไม่อนุญาตให้นำไปไว้ในห้องพัก
-- เตรียมกายและใจให้พร้อมในการปฏิบัติธรรม เพื่อลด ละ เลิก อบายมุขและสิ่งเสพติดต่างๆ
ซึ่งเกิดจากกิเลสในตนนั่นเอง ดังนั้นห้ามนำเอาสิ่งเสพติดเข้ามา เช่น เหล้า บุหรี่และสิ่งเสพติดอื่นๆ
-- งดพูดคุย ฟังวิทยุ เพลง อ่านและเขียนหนังสือ
-- งดใช้เครื่องมือสื่อสารทุกประเภท เพื่อให้ได้ความสงบทางจิตอย่างแท้จริง
-- ไม่รับผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต ผู้ที่ติดยาเสพติด หรือผู้ที่เป็นโรคสังคมรังเกียจ

กำหนดการเวลาการอบรม

04.00 - 04.30 น. ตื่นนอน ทำกิจส่วนตัว
04.30 - 05.30 น. ออกกำลังกาย จงกรม - สมาธิ
05.30 - 07.00 น. ไหว้พระสวดมนต์ ฟังธรรมบรรยาย
07.00 - 08.00 น. อาหารเช้า
08.00 - 11.30 น. ต่อระยะจงกรม - สมาธิ
11.30 - 12.30 น. อาหารกลางวัน
12.30 - 14.30 น. จงกรม - สมาธิ
14.30 - 15.00 น. น้ำปานะ
15.00 - 16.30 น. จงกรม - สมาธิ
16.30 - 18.00 น. อาบน้ำ ทำกิจส่วนตัว อาหารว่าง
18.00 - 19.30 น. ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังธรรมบรรยาย
19.30 - 21.30 น. จงกรม - สมาธิ
21.30 - 04.00 น. นอน

ผู้เข้ารับการอบรม ควรปฎิบัติตามตารางการอบรมอย่างเคร่งครัด เพื่อก่อให้เกิดผล
ของการปฏิบัติอย่างรวดเร็ว และดำเนินไปตามหลักการเจริญสติปัฎฐานสี่อย่างสมบูรณ์

ศึกษาระเบียบการ-ตารางการอบรม-แผนที่ จากเว็บไซต์
http://www.vipassanachiangmai.com/

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดป่าหมู่ใหม่
หมู่ 2 บ้านป่าหมู่ใหม่ ต.แม่แตง
อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50150


หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร เจ้าอาวาส

หลวงพ่อประสิทธิ์ เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

วัดป่าหมู่ใหม่ เป็นวัดป่าสายธรรมยุติ เป็นวัดที่สงบเงียบ สงบเย็น ร่มรื่น สัปปายะ ตั้งอยู่ท่ามกลางป่าในเมือง และเป็นเนินเขาเตี้ยๆ ท่านพระอาจารย์ประสิทธิ์ ได้อนุรักษ์สภาพพื้นที่ และปลูกป่าและต้นไม้มาตลอด จนต้นไม้เติบใหญ่ กระทั่งปัจจุบันวัดมีสภาพสมบูรณ์ร่มรื่น เหมาะสมในการปฏิบัติภาวนาเป็นอย่างยิ่ง

วัดตั้งอยู่ด้านหลังสำนักงานชลประทานแม่แตงที่บ้านป่าหมู่ใหม่ ห่างจากสำนักงานไปประมาณ 1.5 กม. ภายในวัด พระภิกษุ สามเณร และญาติธรรมทั้งหลายได้อาศัยแสงไปฉาย, เทียนไข, ตะเกียงในช่วงยามค่ำคืน เป็นสิ่งที่หาดูได้ยากในวัดปัจจุบัน ทั้งๆ ที่วัดเองก็มีไฟฟ้าเข้ามาถึงด้านหน้าแล้ว ก็เพียงได้ใช้อาศัยเปิดเป็นบางจุด สำหรับศาลาด้านหน้า แต่กุฎิต่างๆ ภายในวัด ไม่ใช้ไฟฟ้า เพราะท่านอาจารย์ประสิทธิ์ ท่านไม่ต้องการให้มีไฟฟ้าในกุฎิ เพื่อที่พระภิกษุ สามเณร และญาติโยมสามารถปฏิบัติภาวนาได้โดยไม่มีสิ่งอื่นมาล่อใจหรือไขว้เขวได้

น้ำใช้สอยก็ไม่ขาดแคลน อาศัยน้ำจากชลประทานแม่แตง แต่ภายในวัดก็ยังมีบ่อน้ำสำหรับผู้ที่ ประสงค์จะใช้สอยได้ ซึ่งน้ำบ่อเก็เย็นและใส สะอาด สามารถใช้อาบ, สรงน้ำ หรือซักจีวรหรือเสื้อ ผ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งดูคล้ายวิถีการใช้ชีวิตของคนสมัยโบราณ ซึ่งหาดูได้ยากเต็มทีในปัจจุบัน น้ำดื่มก็ได้อาศัยน้ำฝน โดยเก็บในแท็งค์ปูนหรือภาชนะเก็บน้ำฝนตามจุดต่างๆ ภายในวัด องค์ประกอบต่างๆ นี้ ทำให้วัดป่าหมู่ใหม่ ทั้งที่อยู่ในเมือง ก็กลายเป็นวัดป่าที่ดูโบราณเก่าแก่ ดูศักดิ์สิทธิ์ และมีเสน่ห์ ต่อผู้เข้ามาสัมผัสและพบเห็น สมกับเป็นวัดป่าจริงๆ ที่พระภิกษุ สามเณร และญาติธรรมทั้งหลาย สามารถเข้ามาปฏิบัติกันเพื่อมรรค ผล นิพพาน อย่างแท้จริง

รูปภาพ
หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=21027

ประมวลภาพ “หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร” วัดป่าหมู่ใหม่
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=27858

เว็บไซต์วัดป่าหมู่ใหม่
http://www.geocities.com/watpamumai/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดป่าหมู่ใหม่
ต.แม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 07:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
อุโบสถวัดสันติธรรม จ.เชียงใหม่
............................................................................



วัดสันติธรรม นครเชียงใหม่
เลขที่ 13 ถ.หัสดิเสวี ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ 053-221-792, 087-193-3169,
086-187-3942, 081-602-7500


พระครูวิมลธรรมรัต (หลวงพ่อมหาศรีนวล วิมโล) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)
และพระนพีสีพิศาลคุณ (พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต) อดีตเจ้าอาวาส


วัดสันติธรรม เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร และพระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต

• ประวัติวัดสันติธรรม •

พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูสันติวรญาณ ได้ธุดงค์ไปในหลายจังหวัด อาทิเช่น วัดป่าสระคงคา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์, สำนักสงฆ์หมู่บ้านแม่ดอย (ต่อมาได้พัฒนาเป็นวัดชื่อว่า วัดป่าอาจารย์มั่น) อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ (ณ ที่วัดแห่งนี้หลวงปู่สิมได้พบ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากหลวงปู่มั่น จนการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่ก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก)

เมื่อแยกจากหลวงปู่มั่นแล้ว หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ได้เดินธุดงค์ไปทางอำเภอสันกำแพง เข้าพักที่วัดโรงธรรมสามัคคี นานถึง ๕ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสำนักชั่วคราว ที่วัดโรงธรรมสามัคคีแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ที่ครูอาจารย์หลายท่านเคยใช้พักจำพรรษา อาทิ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ, พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นต้น หลังจากนั้นย้ายไปจำพรรษาที่ถ้ำผาผัวะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในระหว่างนั้นหลวงปู่ได้รับรู้ความคับจิตคับใจของบรรดาชาวบ้านทั้งหลาย หลวงปู่ได้ปลุกปลอบใจของชาวบ้านที่กำลังสิ้นหวังให้กลับมีชีวิตชีวาขึ้น ด้วยการหยั่งพระสัทธรรมลงสู่จิตของพวกเขา

ในระหว่างออกพรรษา หลวงปู่สิมได้จาริกธุดงค์ไปบำเพ็ญเพียร ณ สถานที่วิเวกหลายแห่งในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ศิษย์อาวุโสชาวเชียงใหม่ท่านหนึ่งคือ เจ้าชื่น สิโรรส (วัย ๙๖ ปี) โดยในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เจ้าชื่น สิโรรส ได้อพยพครอบครัวหลบภัยสงครามไปอยู่ที่ถ้ำผาผัวะ ขณะที่หลวงปู่ธุดงค์ไปจำพรรษาที่ถ้ำผาผัวะนี้ ท่านเปรียบเสมือนที่พึ่งอันสูงสุดที่มีความหมายมากสำหรับคนที่อยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาดเนื่องจากสงคราม

ครั้นปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาใกล้จะยุติ เจ้าชื่น สิโรรส ซึ่งอพยพจากถ้ำผาผัวะกลับคืนตัวเมืองเชียงใหม่ ได้กราบอาราธนาหลวงปู่สิมให้ย้ายเข้ามาพำนักจำพรรษาที่ตึกของแม่เลี้ยงดอกจันทร์ กีรติปาล (คิวริเปอร์) ซึ่งตึกนั้นอยู่ติดกับถนนสุเทพ ตรงกันข้ามกับถนนไปสนามบินเมืองเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือที่ตั้งของศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ยังเป็นตึกที่ว่างไม่มีใครอยู่ นอกจากคนที่อยู่เฝ้าคอยดูแลรักษา เนื่องจากแม่เลี้ยงดอกจันทร์ และลูกหลานได้อพยพหนีภัยสงครามไปอยู่ที่อื่น

และ ณ ที่แห่งนี้เอง หลวงปู่สิมได้พบกับลูกศิษย์คนแรกที่ท่านอุปสมบทให้ ในระยะที่มาจำพรรษาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ คือ พระนพีสีพิศาลคุณ (พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต) ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒ ของ “วัดสันติธรรม” ซึ่งได้ทำการก่อสร้างวัดขึ้นในภายหลัง

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เมื่อสงครามสงบโดยสิ้นเชิง มีข่าวว่าเจ้าของบ้านคือ แม่เลี้ยงดอกจันทร์ และลูกหลานที่อพยพหลบภัยสงครามไปจะกลับคืนถิ่นฐานเดิม หลวงปู่สิมจึงปรารภเรื่องการสร้างวัด คำปรารภในครั้งนั้นเป็นแรงบันดาลใจให้คุณแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ เกิดศรัทธาขึ้นมาอย่างแรงกล้าที่จะสร้างวัดถวายหลวงปู่ ด้วยพลังศรัทธานั้นเอง “วัดสันติธรรม” จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาโดยอาศัยกำลังศรัทธาของสานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไป

รูปภาพ
พระสันติเจดีย์ วัดสันติธรรม
............................................................................



ท่านพระครูสันติวรญาณ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร) พร้อมกับหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ, หลวงปู่หลอด ปโมทิโต, สามเณรทองอินทร์ แก้วตา (พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต) พร้อมด้วยอุบาสกซึ่งเป็นโยมบิดาของหลวงปู่เหรียญด้วย ได้ไปพักอาศัยอยู่ ณ ตึกดังกล่าวนี้ ขณะนั้นพระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถในการแสดงธรรมโดยปฏิภาณโวหารมีน้อย การแสดงธรรมของหลวงปู่สิมจึงได้รับความสนใจจากพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ผู้ที่ได้สดับพระธรรมเทศนาจากหลวงปู่แล้ว มักนำไปกล่าวสรรเสริญและชวนคนอื่นไปฟังอีกด้วย

ก่อนที่หลวงปู่สิม และคณะจะจาริกไปในที่ต่างๆ หลวงปู่พำนักอยู่ที่วัดโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง ขณะนั้นยังเป็นสำนักชั่วคราว มีศาลาฟังธรรมตั้งอยู่ในสวน จึงเรียกว่าวัดโรงธรรม โยมแสง ชินวิตร เป็นผู้มีปสาทศรัทธาในรสพระธรรมเทศนาของท่านอาจารย์ คุณนิ่มนวล สุภาวงศ์ (นางสาวนิ่มคิ้ม แซ่เฮ้ง) เป็นผู้หนึ่งที่ถูกชักชวนให้ไปฟังเทศน์แต่ไม่ยอมไป คุณนิ่มนวลเล่าความรู้สึกให้ฟังว่า สาเหตุที่ไม่ยอมไปฟังเทศน์ เพราะไม่คุ้นเคยต่อขนบธรรมเนียม มีความกระดากใจ เห็นคนไปวัดจะต้องถือพานดอกไม้ไปด้วย จะทำตามเขาก็ทำได้ไม่สนิท กลัวจะไปทำผิดๆ ถูกๆ เพราะไม่เคยทำมาก่อน ตั้งแต่เด็กมาก็เคยไปแต่โรงเรียน แม้จะเคยไปวัด ก็ไม่ได้สังเกตว่าเขาทำอะไรบ้าง เรื่องทำนองนี้คงจะมีคนอื่นๆ อีกมาก ที่มีความรู้สึกเหมือนๆ กัน คุณนิ่มนวล สุภาวงศ์ เล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า เมื่อแม่แสง ชินวัตร พรรณนาถึงรสพระธรรมเทศนาของหลวงปู่สิมว่าเทศน์ได้ไพเราะฟังเข้าใจง่าย นึกอยากจะไปฟัง แต่ยังไม่เชื่อโดยสนิทใจ เท่าที่เคยฟังพระเทศน์มาไม่เคยรู้เรื่อง เพื่อความมั่นใจจึงจ้างให้น้อยหมู ลูกจ้างของเตี่ยให้ไปฟังแทน ต่อมาเจ๊หมา และพ่อน้อยเงิน พรหมโย ก็ไปฟังและนำมาเล่าว่า หลวงปู่สิมเทศน์ดี จึงนึกอยากไปฟังบ้าง

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงปู่สิมและคณะได้มาจำพรรษาอยู่ที่ตึกแม่เลี้ยงดอกจันทร์ บ้านหลิ่งห้า อำเภอเมือง เชียงใหม่ แม่แสง ชินวัตร ได้มาชวนให้ไปฟังเทศน์อีก จึงตกลงไปฟัง จำไม่ได้ว่าหลวงปู่สิมเทศน์เรื่องอะไร จำได้แต่เพียงว่าท่านเทศน์ดี รู้สึกจับใจ ตั้งแต่วันนั้นมาจึงได้ไปฟังเทศน์บ่อยๆ

พระนพีสีพิศาลคุณ (พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดสันติธรรม ก็ได้ทำการอุปสมบทในสมัยนั้น ณ วัดเจดีย์หลวง โดยมีเจ้าแม่กาบคำ ณ เชียงใหม่ เป็นผู้อุปการะในการอุปสมบท เป็นศิษย์องค์แรกของหลวงปู่สิม ที่ได้รับการอุปสมบทในระยะที่มาจำพรรษาอยู่ในเมือง

หลวงปู่สิมอยู่จำพรรษาที่ตึกของแม่เลี้ยงดอกจันทร์ได้ ๒ พรรษา คือปี พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๐ แม่เลี้ยงดอกจันทร์และลูกหลานจะต้องการใช้บ้าน คือจะกลับมาอยู่ หลวงปู่และคณะศิษยานุศิษย์จึงจำเป็นจะต้องหาที่อยู่ใหม่ วันหนึ่ง หลวงปู่สิมปรารภในระหว่างเทศน์ว่า “นกมันยังทำรังอยู่ได้ คณะศรัทธาจะสร้างวัดอยู่สักวัดหนึ่งไม่ได้หรือ ?”

คุณนิ่มนวล บอกว่า เมื่อได้ฟังคำพูดของหลวงปู่สิมประโยคนั้นแล้ว ทำให้คิด กลับมาบ้านแล้วก็ยังเก็บมาคิด ยิ่งคิดก็ยิ่งเพิ่มแรงศรัทธา อยากจะได้ที่สร้างวัด รุ่งขึ้นรับประทานอาหารเช้าแล้ว บังเอิญมีผู้นำเงินค่าแหวนมาให้จำนวน ๑,๐๐๐ บาท จึงตกลงใจว่าจะบริจาคเงินจำนวนนี้เป็นค่าที่ดินสร้างวัด ขณะนั้น คิดอยากจะพบกับพ่อน้อยเงิน พรหมโย และบังเอิญพ่อน้อยเงินก็มาหา จึงเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้พ่อน้อยเงินฟัง พ่อน้อยเงินเห็นดีเห็นชอบด้วยทุกอย่าง พร้อมรับอาสาว่า จะพยายามหาที่ให้ได้ เจ๊หมาเมื่อทราบเรื่องการหาที่ดินจะสร้างวัด ก็ได้แสดงความจำนงบริจาคทรัพย์ร่วมอีก ๑,๐๐๐ บาท ในวันต่อมา พ่อน้อยเงิน และนายฮั้งยิ้น (สามีเจ๊หมา) จึงพากันไปหาซื้อที่ดิน ชั่วเวลาไม่กี่วันก็ไปได้ที่ดินของคุณพระอาสาสงคราม เมื่อคุณพระท่านทราบว่าอยากจะได้ที่ดินสร้างวัดท่านก็ยินดีขายให้ในราคาถูก

เนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันครั้งแรกเป็นที่ ๕ ไร่ คิดราคาไร่ละ ๙๐๐ บาท ต่อมาได้ขอซื้อเพิ่มเติมอีก ๓ ไร่ ๓ งาน คิดเป็นราคาทั้งหมด ๗,๕๖๘ บาท รายนามผู้มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินมีดังนี้
(๑) นางสาวนิ่มคิ้ม แซ่เฮ้ง บริจาค ๑,๙๗๐ บาท
(๒) นายฮั้งยิ้น แม่หมา และบุตรธิดา บริจาค ๑,๙๗๐ บาท
(๓) นางสาวทองหล่อ ขาวประไพ บริจาค ๑,๐๐๐ บาท
(๔) เจ้าผัวผัด ณ เชียงใหม่ บริจาค ๑,๐๐๐ บาท

บริจาคครั้งที่ ๒ มีดังนี้
(๑) นายฮั้งยิ้น แม่หมา บริจาค ๓๒๘ บาท
(๒) นางสาวนิ่มคิ้ม แซ่เฮ้ง บริจาค ๑,๐๐๐ บาท
(๓) แม่บุญทอง ตุงคมณี บริจาค ๒๐๐ บาท
(๔) แม่แก้วลูน สุวรรณยืน บริจาค ๑๐๐ บาท

คุณพระอาสาสงคราม นอกจากท่านจะยินดีขายที่ดินให้แล้ว ท่านยังให้การสนับสนุนช่วยเหลือทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์ ท่านบริจาคทรัพย์สร้างกุฏิ บ่อน้ำ และส้วม ตลอดจนตั้งแต่การแผ้วถาง และทำการก่อสร้าง คุณพระท่านช่วยดูแลเอาใจอย่างใกล้ชิด ส่วนผู้มีส่วนริเริ่มและร่วมมือร่วมใจในการแผ้วถางและก่อสร้าง คือ คุณนิ่มนวล สุภาวงศ์, พ่อน้อยเงิน พรหมใย, นายฮั้นยิ้น-นางหมา และลูก ผู้ที่เป็นช่างออกแบบสร้างกุฏิ และคอยดูแลเอาใจใส่ คือ นายเล่งไฮ้

ท่านผู้ใจบุญบริจาคทรัพย์ช่วยเป็นค่าแรงงาน คือ
• แม่แสง ชินวัตร บริจาค ๑,๐๐๐ บาท
• โยมชื่น สิโรรส บริจาค ๕๕๐ บาท

รูปภาพ
รูปหล่อหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ภายในอุโบสถ
............................................................................



ในการแผ้วถางดำเนินการครั้งแรก สังเกตเห็นได้ว่า เนื้อที่บริเวณที่จะสร้างกุฏิ มีอิฐ มีกระเบื้อง มีแนวกำแพง และมีเนินโบสถ์หรือวิหาร พอจะหยั่งสันนิษฐานได้ว่าที่แห่งนั้นเคยเป็นวัดมาก่อน แต่ไม่อาจสืบประวัติได้ว่าเป็นวัดอะไร เมื่อทำการก่อสร้างกุฏิพอเป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรได้แล้ว คณะศรัทธาจึงได้อาราธนาหลวงปู่สิม (ขณะนั้นท่านพักอยู่วัดโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง) และพระภิกษุสงฆ์สามเณรที่เป็นศิษย์ของท่านมาอยู่ ได้ทำพิธีเปิดป้ายเป็นการชั่วคราวขึ้น เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ให้ชื่อว่า “วัดสันติธรรม นครเชียงใหม่”

ในวันเปิดป้าย ผู้ใหญ่ที่ได้รับอาราธนาและเชิญให้มาร่วมงาน คือ ฝ่ายสงฆ์มี (๑) ท่านพระครูพิศาลขันติคุณ (เจ้าคุณเทพสารเวที) วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ ฝ่ายฆราวาสมี (๑) พลตรีหลวงกัมปนาทแสนยากร ข้าหลวงภาค (๒) ขุนไตรกิตติยานุกูล ข้าหลวงประจำจังหวัดเชียงใหม่ (๓) ข้าหลวงยุติธรรม (๔) นายจรัส มหาวัจน์ ศึกษาภาค (๕) ร.ต.อ. สุจินต์ หิรัญรักษ์ ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ (๖) นายวิชาญ บรรณโสภิษฐ์ (๗) นายเฉลิม ยูปานนท์ ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ มีพุทธศาสนิกชนไปร่วมงานประมาณ ๒๐๐ คน พรรษาแรกนี้ มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาคือ พระภิกษุ ๑๑ รูป สามเณร ๙ รูป

พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ทำหนังสือยื่นขอสร้างวัดต่อทางการ โดยนางสาวนิ่มคิ้ม แซ่เฮ้ง (คุณนิ่มนวล สุภาวงศ์) เป็นตัวแทนลงนามในหนังสือ ขณะนั้นทางการคณะสงฆ์ได้มีการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. คณะสงฆ์หลายอย่าง โดยเฉพาะ พ.ร.บ. อันว่าด้วยการสร้างวัด ขณะนั้นเป็นเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อในการปฏิบัติงานของคณะสงฆ์ การยื่นหนังสือขอสร้างวัดจึงพบกับปัญหาหลายแง่หลายกระทง กว่าจะได้รับอนุญาตให้สร้างวัดได้ ต้องใช้เวลาถึง ๓ ปี คือ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดได้เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ใช้นามว่า วัดสันติธรรม ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกคือ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร

พ.ศ. ๒๔๙๕ หลวงปู่สิม ในฐานะเจ้าอาวาสได้พิจารณาเห็นว่าการดำเนินการสร้างวัดก็ได้ลุล่วงผ่านพ้นมาโดยลำดับ เสนาสนะที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรก็มีพอสมควร ศาลาโรงธรรมก็มีพอได้อาศัย แต่วัดยังขาดพระอุโบสถ ที่สำหรับทำสังฆกรรมของสงฆ์ นับว่าขาดถาวรวัตถุอันเป็นหลักของวัด จึงดำริที่จะสร้างพระอุโบสถ แต่ก็หนักใจเรื่องทุนทรัพย์ที่จะนำมาใช้จ่ายดำเนินการก่อสร้าง ถึงจะหนักใจอย่างไรก็ต้องเริ่มดำเนินการเพราะเป็นเรื่องจำเป็น ในขั้นต้นหลวงปู่ได้เริ่มดำเนินการปักเขตที่สร้างพระอุโบสถ โดยอาศัยแนวซากอุโบสถเก่าซึ่งยังปรากฏให้เห็นเนินดินอยู่ ทั้งนี้โดยมีความประสงค์ว่า เมื่อปักเขตตั้งเป็นรูปร่างไว้แล้ว ผู้มีปาสารทะศรัทธาได้รู้เห็นก็จะได้บริจาคทรัพย์ช่วยกันก่อสร้าง วิธีหาทุนทรัพย์ดำเนินการก่อสร้างหลวงปู่ใช้วิธีค่อยคิดค่อยทำไปตามกำลังทรัพย์ เมื่อมีผู้บริจาคทรัพย์ถวายก็ทำการก่อสร้าง เมื่อหมดทุนทรัพย์ก็หยุดไว้ก่อน ไม่เคยออกใบฎีกาบอกบุญเรี่ยไร ไม่เคยทำตระกรุดผ้ายันต์ ไม่เคยสร้างพระทำเครื่องรางของขลัง

การก่อสร้างพระอุโบสถได้ดำเนินมาโดยลำดับ จนถึง พ.ศ.๒๕๐๐ จึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ส่วนกว้าง ๔๐ เมตร ส่วนยาว ๘๐ เมตร กล่าวกันว่า การก่อสร้างพระอุโบสถได้หยุดชะงักลงในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๐๕-๒๕๐๖ สาเหตุเนื่องจากท่านเจ้าคุณพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) แห่งวัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ได้ถึงแก่มรณภาพลง วัดอโศการามจึงขาดพระเถระผู้ใหญ่ที่จะให้การอบรมสั่งสอนทายกทายิกาในทางภาวนากัมมัฏฐาน ทายกทายิกาจึงพากันนิมนต์หลวงปู่สิมไปช่วยอบรมสั่งสอน หลวงปู่เลยอยู่จำพรรษาที่นั้น

รูปภาพ
รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งพระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต ภายในอุโบสถ
............................................................................



แม้ว่าหลวงปู่สิมจะไปพำนักจำพรรษา ณ วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ไม่ได้อยู่ก่อสร้างพระอุโบสถวัดสันติธรรม แต่เรื่องพระอุโบสถวัดสันติธรรมก็ติดตามหลวงปู่ไปด้วย ทายก-ทายิกาวัดอโศการามเมื่อได้ทราบว่า หลวงปู่มีงานสร้างพระอุโบสถที่เชียงใหม่ ต่างก็บอกกล่าวชักชวนเล่าเรื่องบอกบุญเรี่ยไรช่วยกันบริจาคทรัพย์สมทบทุนสร้างพระอุโบสถ ได้เป็นจำนวนเงินทั้งหมดประมาณสามแสนบาท นับเป็นปัจจัยที่ได้มาเพราะแรงศรัทธาเลื่อมใสที่สาธุชนมีต่อหลวงปู่สิม หรืออาจจะกล่าวว่าเป็นผลงานที่เกิดจากรสพระธรรมเทศนาที่หลวงปู่อบรมสั่งสอนพวกญาติโยมก็ได้ ผู้ที่เป็นกำลังช่วยเหลือในการชักชวนการบริจาคทรัพย์ที่ควรกล่าวชื่อเพื่อแสดงมุทิตาจิต คือ โยมกิมหงษ์

เนื่องจากหลวงปู่สิมต้องรับภาระในการอบรมสั่งสอนทายกทายิกา ที่วัดอโศการาม ต้องไปมาระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ บ่อยๆ ทำให้ห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่สะดวกที่จะปฏิบัติงานทั้งสองฝ่าย ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ หลวงปู่สิมจึงมีหนังสือให้พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต ซึ่งเป็นศิษย์ของท่าน ให้มาอยู่จำพรรษาที่วัดสันติธรรม เพื่อดูแลควบคุมการก่อสร้างแทน ขณะนั้นพระมหาทองอินทร์ อยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำผาจลุย จังหวัดเชียงราย

ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ หลวงปู่สิมเป็นโรคไตอย่างแรง ต้องหยุดพักรักษาตัว ไม่ทำการอบรมสั่งสอนและได้ทำหนังสือขอลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสวัดสันติธรรม ออกไปพักรักษาตัวอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส บ้านคำสะอาด ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร บ้านเกิดของท่าน ทางการคณะสงฆ์จึงแต่งตั้งพระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต ให้รักษาการเจ้าอาวาสแทนในปีนั้น และท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ. ๒๕๑๐

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ พระมหาทองอินทร์ ได้รับช่วงการดำเนินการก่อสร้างต่อ ผู้มีจิตศรัทธาได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือหาทุน ที่จะเว้นกล่าวอนุโมทนาเสียไม่ได้ ณ ที่นี้คือ คุณสุนทร จันทรวงษ์, คุณกระดิ่ง โอวาทสาร, คุณพงศักดิ์ ฐิตะปุระ และคุณชูศักดิ์ กุศลวงษ์ ท่านที่ออกนามมานี้นอกจากขวนขวายชักชวนญาติมิตรผู้ใจบุญให้ช่วยบริจาคทรัพย์สมทบทุนแล้ว ยังได้สละทรัพย์ส่วนตัวเป็นค่าพิมพ์หนังสือ “เที่ยวกรรมฐาน” ของท่านอาจารย์บุญนาค โฆโส แจกจ่ายแก่สาธุชนเป็นบรรณาการแก่ผู้บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนสร้างพระอุโบสถอีกโสตหนึ่งด้วย อนึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๑๓ ได้อาศัยกำลังความคิด กำลังทรัพย์ และกำลังคน จากนายช่างสมเกียรติ ทรงเกียรติกุล เป็นอย่างมาก จึงขอจารึกชื่อไว้ ณ ที่นี้ด้วย

เป็นอันสรุปได้ว่า การก่อสร้างพระอุโบสถ วัดสันติธรรม ที่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๙๕ ได้สำเร็จบริบูรณ์ลงในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ รวมเป็นเวลา ๑๘ ปี สำเร็จด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังใจของหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร พร้อมทั้งแรงสนับสนุนของคณะศิษยานุศิษย์และศรัทธาญาติโยมวัดสันติธรรม โดยเฉพาะอุบาสิกาผู้มีแรงศรัทธาอันแก่กล้า ได้ทำการยืนหยัดต่อสู้ด้วยกำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ ตั้งแต่เริ่มสร้างวัดเป็นต้นมา จนกระทั่งสร้างอุโบสถสำเร็จ โดยมิได้ปลีกตนเองออกห่างแม้แต่ระยะใดระยะหนึ่ง ได้มีส่วนรับรู้ร่วมงานมาโดยสม่ำเสมออุบาสิกาผู้นี้คือ คุณนิ่มนวล สุภาวงศ์ จึงของอนุโมทนาสาธุการจารึกชื่อนี้ไว้กับประวัติวัดสันติธรรมนี้ชั่วกัลปาวสาน

พระอุโบสถวัดสันติธรรมหลังนี้ กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๘ เมตร สูงจากพื้นดิน ๓๐ เมตร สิ้นทุนทรัพย์ในการก่อสร้างทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน ๗๘๒,๙๑๐.๑๐ บาท (เจ็ดแสนแปดหมื่นสองพันเก้าร้อยสิบบาทสิบสตางค์) อันเป็นก้าวแรกของการก่อตั้งวัดสันติธรรม นับจากนั้นเป็นต้นมาต่อเนื่องยาวนานถึง ณ ปัจจุบันนี้

รูปภาพ
พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)

รูปภาพ
พระนพีสีพิศาลคุณ (พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต)

รูปภาพ
พระครูวิมลธรรมรัต (หลวงพ่อมหาศรีนวล วิมโล)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=21573

อาถรรพ์สมณศักดิ์ “พระนพีสีพิศาลคุณ”
ราชทินนามคณะสงฆ์ธรรมยุตเชียงใหม่

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=46163

ประมวลภาพ “พระนพีสีพิศาลคุณ (ทองอินทร์ กุสลจิตฺโต)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=60837

เว็บไซต์วัดสันติธรรม
http://www.santidham.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
วัดสวนดอก ประตูด้านทิศตะวันออก
............................................................................



วัดสวนดอก (วัดบุปผาราม)
เลขที่ 139 หมู่ 3 ถ.สุเทพ เชิงดอยสุเทพ
บ้านห้วยทราย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ 053-278-304


พระอมรเวที (พระมหาวรรณ เขมจารี)
อดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ และอดีตเจ้าอาวาสวัดสวนดอก


วัดสวนดอก เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ห่างจากประตูสวนดอกไปทางทิศตะวันตก 1 กิโลเมตร อยู่ฝั่งตรงข้ามกับคณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายในบริเวณวัดเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ และตั้งอยู่ใกล้ๆ กับโรงพยาบาลประสาทและโรงพยาบาลมหาราช รอบๆ วัดก็จะเป็นชุมชนสวนดอก วัดสวนดอกได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478

นอกจาก วัดสวนดอกจะเป็นวัดสำคัญคู่เมืองเชียงใหม่ ที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามดึงดูดให้นักท่องเที่ยวและผู้คนจากต่างถิ่นเข้ามาเยี่ยมชมกราบไหว้แล้ว วัดแห่งนี้ยังเป็นศูนย์กลางในการแผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่อีกด้วย

วัดสวนดอก เชียงใหม่
วัดสวนดอก เป็นวัดมีพระวิหารหลวงที่ใหญ่โต และเป็นวิหารที่ค่อนข้างจะแปลกคือ ไม่มีฝาผนัง ไม่มีหน้าต่าง วิหารจึงดูโล่งๆ มีเพียงลูกกรงเหล็กดัดเอาไว้ป้องกันพวกมิจฉาชีพเท่านั้น วัดมีบริเวณที่กว้างขวางมาก มีเนื้อที่ประมาณ 35 ไร่ เดิมที่นี่เป็นสวนดอกไม้ของ พระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 8 ในราชวงศ์เม็งราย ซึ่งปกครองอาณาจักรล้านนาในสมัยนั้น เมื่อปี พ.ศ. 1914 พระเจ้ากือนาทรงโปรดให้สร้างวัดสวนดอกขึ้นให้เป็นวัดอารามหลวง หรือเป็นวัดเอกของเมืองเชียงใหม่ มีชื่อว่า “วัดบุปผาราม” ที่แปลว่าวัดดอกไม้ และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองสุโขทัย มาประดิษฐาน ณ พระเจดีย์ทรงศรีลังกา (ทรงระฆังคว่ำ) ในสมัยที่พระเจ้ากือนาปกครองเมืองเชียงใหม่ วัดสวนดอกมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก แต่หลังจากสิ้นราชวงศ์เม็งราย (องค์ที่ 17) และเมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า บ้านเมืองก็เกิดจลาจลรบราฆ่าฟันวุ่นวาย ทำให้วัดสวนดอกขาดการทำนุบำรุงจึงกลายเป็นวัดร้าง

รูปภาพ
อนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของตระกูล ณ เชียงใหม่ ตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน
............................................................................



วัดประจำตระกูล ณ เชียงใหม่
ครั้นเมื่อถึงปี พ.ศ. 2450 ในยุคของพระยากาวีละปกครองเชียงใหม่ พระนางดารารัศมี พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้านายในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ เห็นทำเลที่วัดสวนดอกกว้างขวาง จึงย้ายเอากู่ (เจดีย์บรรจุอัฐิ) ของเจ้านายในตระกูล ณ เชียงใหม่ จากที่เคยอยู่ใต้ต้นสนร้างริมแม่น้ำปิง จึงได้นำมารวบรวมไว้ที่นี่ และวัดสวนดอกก็กลายเป็นที่เก็บอัฐิของเจ้านายในราชวงศ์เชียงใหม่สืบมา โดยราชสกุลรุ่นต่อๆ มาก็ได้อุปถัมภ์ค้ำชูวัดนี้มาโดยตลอด จึงถือว่าวัดสวนดอกเป็นวัดประจำตระกูล ณ เชียงใหม่ เป็นต้นมา

พ.ศ. 2475 พระครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาได้ทำการบูรณะวัดนี้ขึ้นและได้บูรณะวิหารหลวงหลังปัจจุบันด้วย และหลังจากที่พระครูบาศรีวิชัยมรณภาพในปี พ.ศ. 2481 ก็ได้สร้างอนุสาวรีย์เก็บอัฐิไว้ที่วัดนี้ด้วยเช่นกัน

หากมาที่วัดสวนดอก ก็ควรเข้าไปนมัสการ พระเจ้าเก้าตื้อ ด้วย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเชียงใหม่ พระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระเก่าแก่ที่สร้างในสมัย พระเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 13 ของราชวงศ์เม็งราย เมื่อปี พ.ศ. 2047 พระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระพุทธรูปหล่อที่ใหญ่มาก หน้าตักกว้าง 8 ศอก ครั้งแรกที่สร้างก็เพื่อจะนำไปประดิษฐานให้เป็นพระประธานที่วัดพระสิงห์ แต่หลังจากหล่อเสร็จแล้วปรากฏว่ามีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายไม่สะดวก จึงโปรดให้ประดิษฐานไว้ที่วัดสวนดอกแห่งนี้ (พระเมืองแก้ว หรือที่เรียกในตำนานว่า พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช กษัตริย์แห่งเมืองเชียงใหม่ ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2038-2068)

รูปภาพ
ทัศนียภาพวัดสวนดอก
............................................................................



คำว่าเก้าตื้อนี้มีความหมาย
เก้าตื้อ หมายถึงทองหนัก 9 ตื้อ คำว่า “ตื้อ” เป็นหน่วยน้ำหนักทองที่เรียกในสมัยนั้น ตื้อเป็นภาษาพื้นเมืองเหนือ 1 ตื้อ เท่ากับพันชั่ง หรือทองคำ 1,000 กิโลกรัม ดังนั้น 9 ตื้อก็เป็นนำหนักทอง 9,000 กิโลกรัม หรือ 9 ตัน ซึ่งก็คงหายากที่จะมีพระพุทธรูปเนื้อทองหนักขนาดนี้ พระเจ้าเก้าตื้อในอดีตถือว่าเป็นเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดของล้านนา แม้ปัจจุบันก็ยังเป็นที่ยอมรับว่าเป็นพระพุทธรูปหล่อที่ใหญ่โตและงดงามที่สุด พระเจ้าเก้าตื้อชาวล้านนาร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์รวมจิตใจ ศูนย์รวมศรัทธาที่แสดงถึงความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมืองในสมัยนั้น

หลวงปู่บุญมา อนิญชโต อายุ 81 ปี เป็นพระที่บวชที่วัดนี้มานานถึง 27 พรรษา (เมื่อปี พ.ศ. 2548) และเป็นพระอาวุโสที่รู้เรื่องราวของวัดนี้เป็นอย่างดี ท่านบอกว่าพระเจ้าเก้าตื้อที่เห็นนี้ หนัก 9 ตื้อ คือ 1 ตื้อนั้นจะเท่ากับ 1,200 กิโลกรัม (ตัวเลขต่างกับข้างต้น) ถ้า 9 ตื้อก็เท่ากับหนัก 108,000 กิโลกรัม และความหมายอีกอย่างเกี่ยวกับพระเจ้าเก้าตื้อ ก็คือเป็นการหล่อด้วยทองสำริดแบ่งเป็นท่อนๆ ได้ 9 ท่อน แล้วนำมาประกอบกัน โดยหล่อจากที่อื่นแต่นำมาต่อเชื่อมเป็นองค์พระที่วัดนี้ เหตุที่ไม่สามารถหล่อได้ครั้งเดียวก็เนื่องจากเป็นพระโลหะที่ใหญ่มาก จึงต้องหล่อทีละส่วนแล้วนำมาต่อกัน ลักษณะเดียวกับการสร้างพระประธานปางลีลากลางแจ้งที่พุทธมณฑล และในวันขึ้น 8 ค่ำ ของทุกเดือน จะมีการเฉลิมฉลองพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งวันนั้นจะมีพิธีทำบุญตักบาตร และมีชาวบ้านมาร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก

รูปภาพ
พระเจ้าเก้าตื้อได้ลอกทองเก่าออกและปิดทองใหม่ เป็นทองวิทยาศาสตร์
แวววาวกว่าเดิม แต่ชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

............................................................................



ความจริงของพระเจ้าเก้าตื้อที่ไม่ได้ปรากฏในที่สาธารณะ
หลวงปู่บุญมา อนิญชโต ท่านเล่าว่าพระเจ้าเก้าตื้อที่เห็นนี้ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่แทนของเก่า โดยมีคณะศรัทธาญาติโยมซึ่งมีหัวเรือใหญ่เป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์ ร่วมกับผู้มีฐานะร่ำรวย ได้ไปปรึกษาหารือกับท่านเจ้าอาวาส เพื่อจะทำการลอกทองคำที่หุ้มพระเจ้าเก้าตื้อออก และปิดใหม่ให้ดูสวยงามขึ้น ซึ่งในขณะนั้นเห็นว่าทองเก่าได้หลุดลอกออกบางส่วน และการปิดทองใหม่ก็ได้ให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ โดยใช้ทองชนิดพิเศษเรียกว่าทองวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้องค์พระมีสีทองสุกใสแวววาว การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ ชาวบ้านที่ศรัทธาวัดต่างไม่เห็นด้วยที่ต้องลอกทองเก่าซึ่งเป็นทองบริสุทธิ์ออก และปิดทองใหม่ซึ่งเป็นทองผสม ไม่ได้เป็นทองคำบริสุทธิ์เหมือนแต่แรก

แต่ชาวบ้านใกล้เคียง คนเฒ่าคนแก่ และพระในวัดที่เป็นคนท้องถิ่น ไม่สามารถทัดทานความตั้งใจนั้นได้ จึงต้องปล่อยให้บูรณะจนแล้วเสร็จ ท่ามกลางความเสียดายของชาวบ้าน ซึ่งการบูรณะครั้งนี้กระทำเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 และมาเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ. 2540 แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุกับอาจารย์มหาวิทยาลัยผู้นี้หลายเรื่อง เช่น มีญาติเสียชีวิตอย่างกระทันหัน และเจ้าตัวประสบเคราะห์กรรมต่างๆ นานา จนต้องลาออกจากหน่วยงานและได้มาบวชชีที่วัดนี้เพื่อเป็นการขอขมา (ปัจจุบันได้สึกแล้ว) จะเป็นอาถรรพ์ด้วยเหตุจากการลอกทองพระเจ้าเก้าตื้อหรือไม่คงเป็นเรื่องที่พิสูจน์ยาก แต่จากคำร่ำลือของชาวบ้านวัดสวนดอกและชาวเชียงใหม่ที่ทราบเรื่องนี้ ต่างกล่าวว่าเป็นเพราะการลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำและเป็นการฝืนมติของชุมชน

รูปภาพ
วัดสวนดอกมีโรงเรียนพระปริยัติธรรม เลิกเรียนประมาณสี่โมงเย็น
............................................................................



จากคำบอกเล่าของหลวงปู่พอจะจับประเด็นได้ว่า วัดสำคัญๆ ของเชียงใหม่เมื่อจะมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็จะมีการพิจารณาตามขั้นตอนของคณะสงฆ์ ที่ไม่ต่างจากการแต่งตั้งในทางโลก ดูยศ ดูตำแหน่ง แล้วก็แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ทำให้ขาดความรู้สึกผูกพันกับวัดนั้นมาก่อน เหมือนเป็นพระจากที่อื่นที่มาอยู่ใหม่ เมื่อมาเป็นเจ้าอาวาสก็พยายามสร้างผลงานให้เป็นที่ปรากฏ การสร้างถาวรวัตถุ การระดมทุนรับบริจาค ก็ถือเป็นผลงานที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้

การที่ลอกทองคำเก่าดั่งเดิมของพระเจ้าเก้าตื้อออกและปิดทองใหม่นี้ เป็นการฝืนความรู้สึกของชาวบ้านที่มีความผูกพันและหวงแหนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองนับถือ และสิ่งนี้ยังเป็นเรื่องที่ค้างคาใจชาวบ้านและชาวเชียงใหม่มาจนถึงทุกวันนี้ จากการที่ได้สนทนากับหลวงปู่ทำให้สิ่งที่สงสัยในใจนั้นกระจ่างขึ้น เพราะก่อนหน้าที่จะมาพูดคุยกับหลวงปู่ มีคนบอกว่าพระเจ้าเก้าตื้อนั้นเป็นพระเก่าแก่มาก แต่เมื่อมาเห็นแล้วก็รู้สึกว่าเป็นพระใหม่เหมือนวัดทั่วๆ ไป เพียงแต่มีการจัดฉากและเปิดไฟให้ดูสวยงาม ปิดบังร่องรอยของอดีตจนหมดสิ้น การที่หลวงพ่อปู่กวักมือเรียกอยู่หลายครั้งในตอนแรกนั้น ก็พอจะเข้าใจว่าท่านคงต้องการเล่าความจริงให้ฟัง เล่าแทนชาวบ้านที่รักและหวงแหนพระพุทธรูปที่ตนเคารพนับถือมาหลายชั่วอายุคน

รูปภาพ
วิหารหลวงที่ใหญ่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ เป็นวิหารแบบเปิดโล่งไม่มีผนัง
ขนาด 24x27 เมตร สร้างโดยครูบาศรีวิชัยและเจ้าแก้วนวรัฐ เมื่อปี 2474-75

............................................................................



วันที่หลวงปู่ตื่นเต้น
ครั้งหนึ่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาที่วัดแห่งนี้ และวันนั้นหลวงปู่ท่านไม่ได้ออกไปอยู่ต้อนรับ ก็อาจไม่ใช่พระผู้ใหญ่ที่มีสมณศักดิ์สูง จึงอยู่แต่ที่กุฏินี้ และวันนั้นก็ได้สร้างความประหลาดใจให้กับหลวงปู่เป็นอย่างมาก เพราะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังเดินมาบอกท่านว่า ”เดี๋ยวพระเทพฯ ท่านจะเสด็จมาที่นี่”

ซึ่งก็ทำเอาหลวงปู่เตรียมตัวแทบไม่ทัน เพราะเป็นการเสด็จโดยที่ไม่ได้อยู่ในหมายกำหนดการแต่อย่างใด แต่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นก็บอกว่าไม่ต้องเตรียมตัวอะไร ทำตัวแบบปกติและไม่ต้องใช้คำราชาศัพท์ อีกไม่ถึง 5 นาที สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ท่านก็เสด็จมา และสนทนากับหลวงปู่ยังหน้ากุฏิแห่งนี้ ซึ่งภาพวันนั้นก็สร้างความแปลกใจให้กับหลายๆ คน เป็นเรื่องที่ไม่มีใครรู้มาก่อน ทุกวันนี้หลวงปู่ก็ยังแปลกใจไม่หาย หรือว่ามีใครเล่าเรื่องหลวงปู่ให้ท่านฟังก่อนที่จะเสด็จมาที่วัดนี้ ฟังหลวงปู่เล่าก็พลอยแปลกใจไปด้วย แต่ลึกๆ แล้วก็น่าจะมีนัยสำคัญบางอย่างที่หลายคนมิอาจล่วงรู้ได้

ขอขอบคุณรูปภาพและเนื้อหาบางส่วนจาก :
http://www.photoontour.com/

รูปภาพ
พระอมรเวที (พระมหาวรรณ เขมจารี) อดีตเจ้าอาวาส
[ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2551]



* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่คำแสน อินฺทจกฺโก” วัดสวนดอก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=43925

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




stacks_image_69_1.png
stacks_image_69_1.png [ 308.34 KiB | เปิดดู 26458 ครั้ง ]
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาความสมบูรณ์พร้อมในการพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ ด้วยความเข้าใจในคุณค่าของชีวิตอย่างแท้จริง เราอยากให้คุณมาสัมผัสกับความมหัศจรรย์บนยอดดอยสูง ณ สวนพนาวัฒน์ ต.บ่อหลวง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ที่จะทำให้คุณคาดไม่ถึงว่ายังมีสถานที่ปฏิบัติธรรมอย่างนี้ตั้งอยู่จริง

สวนพนาวัฒน์ได้เริ่มต้นโครงการปฏิบัติธรรมสำหรับกัลยาณมิตร รุ่นที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 7-13 เมษายน 2539 มาจนถึงปัจจุบันจำนวนกว่า 300 รุ่น เป็นเวลาถึง 11 ปี ครอบคลุมกลุ่มบุคคลทุกระดับชั้น ทุกสาขาอาชีพ ทั้งภายในและต่างประเทศ รวมผู้ผ่านการอบรมไปแล้วกว่า 40,000 คน สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่มวลพฤกษาชาตินานาพันธุ์ ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,150 เมตร ทำให้มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยวัดได้เพียง 15-25 องศาเซลเซียสเท่านั้น ไม่ว่าฤดูกาลไหน

บนเนื้อที่สงบเย็นปลอดโปร่งของสวนพนาวัฒน์ ได้แบ่งสรรบรรยากาศเป็นสัดส่วนอย่างเหมาะสม บนเนื้อที่หลายร้อยไร่ แวดล้อมด้วยธรรมชาติหลากสีสันสดใส ท่ามกลางสวนดอกไม้เมืองหนาวนานาชนิด นอกจากสถานที่พักสะดวกสบาย ทว่าแฝงความเรียบง่าย เรายังมีห้องปฏิบัติธรรมที่สามารถรองรับสมาชิกได้มากถึง 500 คน อิ่มอร่อยกับเมนูอาหารจานพิเศษจากพ่อครัวฝีมือเยี่ยม ทั้งสะอาดและเปี่ยมคุณค่าทางโภชนาการเสริมสร้างสุขภาพด้วยผักปลอดสารพิษ น้ำผลไม้รสชาติดี ให้คุณได้เลือกชิมหลากหลายตามฤดูกาล

ทิวทัศน์ยามเช้าของสวนพนาวัฒน์ คือความโดดเด่น เราสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นจากจุดชมวิว กลางขุนเขาเขียวขจีเรียงรายสลับซับซ้อน ทอลำแสงอบอุ่นฝ่าสายหมอกสีขาวเย็นสดชื่นทำให้เราสูดรับอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มปอด ก่อนที่จะพาเราเข้าไปสัมผัสกับความสุขจากธรรมะในทุกช่วงเวลาอันทรงคุณค่า ที่จะทำให้คุณประทับใจไม่รู้ลืม


“ลองมาสักครั้งหนึ่งในชีวิต แล้วคุณจะรู้ว่า สมาธิไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด”





http://www.dokmaiban.com/where/panawat/panawat.html

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2011, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดร่ำเปิง (วัดตโปทาราม)
เลขที่ 1 หมู่ 5 ต.ในเมือง
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50250
โทรศัพท์ 053-278-620 ต่อ 0


พระครูภาวนาวิรัช (สุพัน อาจิณฺณสีโล) เจ้าอาวาส

วัดร่ำเปิง (วัดตโปทาราม) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่”, “ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัดเชียงใหม่ (ค่ายธรรมภาวนา)” และเป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

รายละเอียดที่ควรทราบ
ในการเข้าปฏิบัติธรรม ณ วัดร่ำเปิง (วัดตโปทาราม)


สิ่งของที่ต้องเตรียมมา

1. ดอกบัว 11 ดอก, ธูป-เทียน อย่างละ 1 ห่อ
2. บัตรประจำตัวประชาชน และมีบุคคลที่เชื่อถือได้มารับรอง
3. เสื้อ- ผ้าถุง-สไบขาว สำหรับนักปฏิบัติธรรม (หญิง) เสื้อไม่ควรคอกว้าง-แขนกุด
เสื้อ- กางเกงขาวสำหรับนักปฏิบัติธรรม (ชาย)
4. ของใช้จำเป็นส่วนตัว เช่น สบู่, แปรงสีฟัน, ยาสีฟัน ผงชักฟอก, ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ
5. อื่นๆ ได้แก่ นาฬิกาปลุก, ผ้ารองนั่ง, ไฟฉาย (หากไปฟ้าดับ), เข็มกลัดซ่อนปลาย
เสื้อทับในขาว (สวมทับชั้นในให้ดูเรียบร้อย) กระโปรงซับในขาว (เมื่อนุ่งผ้าถุง)

สิ่งที่ควรทราบในการปฏิบัติธรรม

1. ไม่ควรสวมเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย, ไม่ควรนำของมีค่า-เครื่องประดับติดตัวมา
2. ไม่ควรใช้เครื่องสำอาง-ของหอม ตกแต่งใบหน้าและร่างกาย และให้เก็บ-มัดรวมผมให้เรียบร้อย
3. เพื่อความสะดวกสบาย ควรสวมรองเท้าแตะส้นเตี้ย

4. เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาในการปฏิบัติฯ ทางวัดได้จัดเตรียมอาหารตามความเหมาะสมให้
ทั้งมื้อเช้าและกลางวัน ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้ออกไปซื้ออาหารหรือปรุงอาหารทานเอง
5. ผู้ปฏิบัติฯ สามารถซื้อของใช้ที่จำเป็นได้ที่ร้านค้าของวัด
6. ไม่อนุญาตให้ผู้ปฏิบัติฯ ออกไปนอกบริเวณวัดโดยเด็ดขาด นอกจากจำเป็น ซึ่งจะต้องขออนุญาต
จากพระอาจารย์ผู้สอบอารมณ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เป็นกรณีๆ ไป

7. ให้มาปฏิบัติธรรมพร้อมกันทุกวัน เวลา 13.00 น. นอกจากได้รับการยกเว้นจากพระอาจารผู้สอบอารมณ์
8. ห้ามจับกลุ่มคุยกัน ไม่ว่าจะเป็นภายในห้องพักหรือบริเวณอื่นๆ ไม่ว่ากับโยคีด้วยกัน
หรือกับพระเณร- แม่ชีภายในวัด เพราะจะทำให้เสียการปฏิบัติธรรม
9. ให้สำรวมกริยามารยาท และไม่พูดส่งเสียงดัง

10. หากมีเพื่อนหรือญาติเยี่ยม ห้ามพากันไปคุยในกุฏิพักและควรพูดคุยกันไม่เกิน 30 นาที
ห้ามพาบุคคลภายนอก เข้าพัก หรืออาศัยในกุฏิ และห้ามบุคคลต่างเพศเข้าไปในกุฏิ
11. หากต้องการใส่บาตร ให้แจ้งแม่ชีเจ้าหน้าที่โรงครัว และบริจาคค่าอาหารใส่บาตรได้ที่ตู้บริจาคฯ
12. ถ้าเจ็บป่วยหรือไม่สบาย ควรแจ้งแม่ซีพี่เลี้ยงให้ทราบ หรือแจ้งแม่ชีเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ

13. หากมีปัญหาให้เรียนปรึกษากับพระอาจารย์ผู้สอบอารมณ์ หรือแจ้งแม่ชีเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ
14. ไม่ควรโทรศัพท์ติดต่อกลับบ้าน ที่ทำงาน หรือ เพื่อนๆ เพราะจะก่อให้เกิดความฟุ้งซ่าน

หมายเหตุ พิธีรับ-ลา พระกัมมัฏฐาน เวลา 08.00 น. ของทุกๆ วัน (เว้นวันพระ)

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์วัดร่ำเปิง (วัดตโปทาราม)
http://www.watrampoeng.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2011, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
หลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม
............................................................................



สำนักวิปัสสนาภาวนาอนัตตาราม (ถ้ำวัว)
หมู่บ้านเจียรจันทร์ ต.เมืองนะ
อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 50170
โทรศัพท์ 081-1629649, 085-7165855,
084-9405259, 086-1967686, 085-716-5855


ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานพระธาตุห้วยบอนเก่า
หมู่ 13 บ้านห้วยบอน
ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110
โทรศัพท์ (พ่อหลวงบุญตาน)
089-561-6399, 085-035-5127


หลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม ประธานสงฆ์

หลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม ท่านเป็นชาวไทยใหญ่

• คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน •

1. เป็นสุภาพชน รับทั้งชายและหญิง อายุไม่น้อยกว่า 7 ปี
2. ไม่เป็นโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจ
3. ไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา
4. สมัครใจเข้ารับการอบรม และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานอบรม
5. งดการสูบบุหรี่ การเคี้ยวหมาก การเสพของมึนเมาทุกชนิด ตลอดระยะเวลาการอบรม
6. ยินดีร่วมกันรักษาความเงียบสงบ โดยงดการพูดคุยกัน
ระหว่างผู้ปฏิบัติธรรมด้วยกันตลอดระยะเวลา 7 วันของการปฏิบัติ
7. ไม่ประดับหรือนำของมีค่า เช่น สร้อย แหวน ทอง หรือเงินจำนวนมาก ไปด้วยในการอบรม

• การแต่งกาย •

แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สีไม่ฉูดฉาด สุภาพเรียบร้อย ปกปิดร่างกายได้มิดชิด
ควรเป็นชุดที่หลวมๆ นุ่งสบาย นั่งสบาย จะเป็นชุดสีขาว หรือไม่เป็นชุดสีขาวก็ได้

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

• อาหาร •

จัดให้เป็นอาหารมังสะวิรัติ วันละ 2 มื้อ เช้ากับกลางวัน
ส่วนมื้อเย็นจะเป็นน้ำปานะหรืออาหารว่าง
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถอดอาหารมื้อเย็นได้ให้แจ้งล่วงหน้าในวันรายงานตัว
จะได้จัดเตรียมอาหารให้เป็นพิเศษเป็นรายๆ ไป

• อุปกรณ์เครื่องใช้ที่ต้องเตรียมไป •

1. เครื่องใช้ประจำตัว เช่น แปรงฟัน สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าขาวม้า
ยารักษาโรคที่ต้องรับประทานเป็น ประจำ ยาหม่อง ยาทากันยุง ไฟฉาย ฯลฯ
2. ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว และผ้าคลุมตัวเวลานั่งปฏิบัติธรรม (อากาศค่อนข้างหนาวในหน้าหนาว)
3. มุ้ง หรือ กลด กันยุง
4. เสื้อผ้าสำหรับผลัดเปลี่ยนใช้ให้พอดีกับระยะเวลาการอบรม
(ท่านอาจซักผ้าได้ในช่วงพักหลังรับประทานอาหารกลางวัน)

• ระเบียบของศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน •

1. รักษาความเงียบอย่างจริงจัง งดพูดคุย ส่งสัญญาณ ทำภาษาใบ้
หรือการกระทำการใดๆ ที่จะก่อให้เกิดเสียงและท่าทางรบกวนผู้อื่นตลอดระยะเวลาการปฏิบัติ
พูดคุยกับอาจารย์ได้เมื่อมีปัญหาการปฏิบัติ พูดคุยกับธรรมบริกรได้เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วย
หรือเครื่องมืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ
2. ไม่สัมผัสเนื้อตัวซึ่งกันและกัน
3. แยกเขตที่อยู่ระหว่างชายและหญิงโดยเด็ดขาด ไม่ไปมาหาสู่กันในระหว่างการปฏิบัติ
4. งดการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกตลอดระยะเวลาการอบรม งดการใช้โทรศัพท์มือถือ
งดการเปิดวิทยุ หรือฟังเทปต่างๆ งดการอ่านหนังสือพิมพ์
5. งดการประดับประดาตกแต่งร่างกายด้วยน้ำหอม
และเครื่องประดับ หรือทาสารที่มีกลิ่นรุนแรง รบกวนผู้อื่น
6. ไม่ออกนอกบริเวณสถานที่ฝึกอบรม
7. เว้นจุดธูปเทียน สวดมนต์ ให้ตั้งใจทำปฏิบัติบูชาแทน
8. งดการออกกำลังกายด้วยท่าทางต่างๆ

• ระยะเวลาการปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อยไม่สามารถอยู่ได้ตลอด 7 วัน •


ผู้มีเวลาน้อย สามารถสมัครเข้าร่วมการปฏิบัติได้เป็นเวลาอย่างน้อยที่สุด
คือ 3 วัน หรือ 5 วันก็ได้ โดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าในวันสมัคร
หรือในวันรายงานตัว (เป็นกรณีพิเศษเฉพาะระยะเริ่มต้น)

• การพิจารณาตกลงรับการสมัคร •

จะพิจารณาผู้ที่สมัครอยู่ปฏิบัติจนครบ 7 วันเป็นอันดับที่ 1
และพิจารณาผู้ที่สมัคร 5 วัน และ 3 วัน เรียงลงมาตามลำดับ
ทั้งนี้เนื่องจากมีที่พักจำนวนจำกัด

• การปฏิบัติสมทบรายวันแบบไป-กลับ •

รับไม่จำกัดจำนวน

รูปภาพ

รูปภาพ
สำนักวิปัสสนาภาวนาอนัตตาราม (ถ้ำวัว) อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่สำนักวิปัสสนาภาวนาอนัตตาราม (ถ้ำวัว)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1929

แผนที่ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานพระธาตุห้วยบอนเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1931

เว็บไซต์หลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม
http://www.portee.in.th/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2011, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
ภิกษุณีนันทญาณี
............................................................................



สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม
(นิโรธาราม อารามแห่งความดับทุกข์)
เลขที่ 127 หมู่ 6 ต.ดอยแก้ว
อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160
โทรศัพท์ 084-804-2040,
081-634-2242, 080-496-3002


ภิกษุณีนันทญาณี (อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ)
ประธานมูลนิธินิโรธาราม และประธานภิกษุณีสงฆ์


“ท่านภิกษุณีนันทญาณี” หรือ “อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ” เมื่อครั้งยังเป็นแม่ชี ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งคือผู้หญิงที่บวชรักษาศีล 10 ข้อ เน้นวิปัสสนากรรมฐาน ท่านเป็นประธานผู้ก่อตั้งและเป็นอาจารย์ใหญ่ของสำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม “อารามแห่งความดับทุกข์” (มีเฉพาะนักบวชหญิง) ทั้งนี้ ทางสถาบันอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฯลฯ โรงเรียน และสถาบันการศึกษาอื่นๆ มักมีกิจกรรมการปฏิบัติธรรม เข้าค่าย เป็นต้น ณ สำนักฯ แห่งนี้อยู่สม่ำเสมอ

รูปภาพ

ด้านการเทศน์และการบรรยายธรรมของภิกษุณีนันทญาณีนั้น ท่านจะมีลีลาสำนวนการเทศน์และการบรรยายธรรม ที่สนุก เร้าใจ สไตล์วัยรุ่น ใช้ภาษาชาวบ้าน ฟังง่าย เข้าใจง่าย โดยท่านสามารถแสดงธรรมเรื่องยากๆ ให้เข้าใจง่าย ผนวกกับการแยกแยะข้อธรรมได้อย่างชัดเจน

สำนักฯ แห่งนี้ นักบวช ไม่ว่าสามเณรีหรือแม่ชีต้องปฏิบัติและทำงานวัดค่อนข้างหนักเพราะมีคนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับอาคารสถานที่และพื้นที่ การปฏิบัติส่วนมากต่างคนต่างก็ปฏิบัติเอง และทุกท่านมักจะศึกษาพุทธพจน์จากพระไตรปิฎก หรือเรียนจากหนังสือนักธรรม ฯลฯ กันเอง ผู้ที่ขอ “เข้าเงียบ” จะมีท่านสามเณรีที่มีประสบการณ์ไปช่วยสอบอารมณ์ให้ถึงกุฏิทุกวัน

ทั้งสามเณรี แม่ชี และโยคี (แม่พราหมณ์) ต้องสวดมนต์พร้อมกันวันละ 3 เวลา คือ 04.00 นาฬิกา, 13.30 นาฬิกา และ 17.30 นาฬิกา ไม่สวมรองเท้า ฉันมื้อเดียวในเวลา 08.00 นาฬิกา และเป็นอาหารมังสวิรัติด้วย

รูปภาพ

ประวัติและความเป็นมาสำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม

เนื่องจากได้มีญาติโยมจำนวนมากได้เข้ามาปรารภกับท่านภิกษุณีนันทญาณี (อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ) ถึงสภาพปัญหาของสังคมว่า ในปัจจุบันมีคนที่มีความทุกข์ทางใจในการดำเนินชีวิตมากขึ้น และก็ได้ขอร้องให้ท่านแม่ชีรุ้งเดือน พร้อมด้วยคณะแม่ชี 5 รูป ผู้ที่ได้ศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นเวลาสิบกว่าปี ให้ช่วยนำพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาช่วยแนะนำพร้อมทั้งเผยแผ่พร่ำสอนให้ชาวบ้าน ได้มีหลักธรรมในการดำเนินชีวิต ให้เกิดประโยชน์และความสุขแก่ทั้งครอบครัวตนเองและบุคคลอื่น

ครั้นต่อมาก็ได้มีญาติโยมและผู้มีจิตศรัทธาหลายท่าน ได้ร่วมกันซื้อที่ดินถวาย ให้กับท่านท่านแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ พร้อมคณะแม่ชี เปิดเป็นสำนักปฏิบัติธรรมสำหรับผู้หญิง เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2538 รวมทั้งสิ้น 19 ไร่ และได้รับความเมตตาจาก พระภาวนาวิสุทธาจารย์ (หลวงพ่อทองใบ ปภสฺสโร) วัดอภิญญาเทสิตธรรม (วัดนาหลวง) บ้านนาหลวง ต.คำด้วง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ตั้งชื่อให้ว่า “สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า “อารามแห่งความดับทุกข์”

วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งสำนักมี 2 ประการ คือ

(1) เพื่ออนุเคราะห์แก่สตรีที่ตั้งใจมาดำเนินชีวิตบนวิถีแห่งศีล สมาธิ ปัญญา ตามรอยพระพุทธเจ้า โดยมี “ท่านภิกษุณีนันทญาณี” ประธานภิกษุณีสงฆ์ เป็นผู้อบรมสั่งสอนตามพระพุทธพจน์

(2) เพื่อรองรับผู้ปฏิบัติธรรมจากหน่วยงานราชการ เอกชน และผู้สนใจใฝ่ธรรมทั่วไป ที่ได้ติดต่อขอเข้ารับการอบรมธรรมะ ทั้งในรูปแบบค่ายอบรม และเข้ามาปฏิบัติเป็นการส่วนตัว


ปัจจุบัน สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม ประกอบไปด้วยภิกษุณี, สามเณรี, แม่ชี และอุบาสิกาประจำ ฯลฯ เป็นสถานที่รองรับให้ผู้หญิงได้เข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาตามแนวทางพระไตรปิฎก และใช้เป็นสถานที่ในการอบรมค่ายคุณธรรม จริยธรรม โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นต้น มาขอจัดค่ายคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จนถึงปัจจุบัน

อนึ่ง สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ ได้ขึ้นทะเบียนให้ “สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม” เป็น 1 ใน 12 ของสำนักปฏิบัติธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ข้าราชการหญิงทั่วประเทศสามารถลางานมาเพื่อถือศีลและปฏิบัติธรรม (บวชชี) ได้ตามกฎหมาย โดยให้ถือเป็นวันปฏิบัติราชการ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=808

ดับทุกข์-ทุกข์ดับ ที่...“อารามแห่งความดับทุกข์”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=21468

ประวัติและปฏิปทาภิกษุณีนันทญาณี (อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=35661

ภิกษุณีนันทญาณี (อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ)
ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา ประจำปี 2552

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=20851

กรณี...ภิกษุณีนันทญาณี (อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=36106

หญิง-ชาย ใครว่าเท่าเทียม (ดร.สนอง วรอุไร-ฐิติขวัญ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=37014

บทสัมภาษณ์พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)
“พระธรรมดา..ที่ ‘ไม่’ ธรรมดา” จากนิตยสาร Secret

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=33457

เว็บไซต์สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม
http://www.nirotharam.com/

facebook นิโรธาราม อารามแห่งความดับทุกข์
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9 ... 196?ref=ts

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2011, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
ภิกษุณีนันทญาณี
............................................................................



สำนักปฏิบัติธรรมสุทธจิตต์
(สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม สาขา 2)
เลขที่ 88/1 หมู่ 9 ต.ลวงเหนือ
อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220
โทรศัพท์ 081-205-5416


ผู้ก่อตั้ง และประธานภิกษุณีสงฆ์
คือ ภิกษุณีนันทญาณี (อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ)


สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยมีคณะคุณวรรณา กาญจนภิญโญวงศ์ ถวายที่ดิน 6 ไร่กว่า อาจารย์นาทนิตย์-คุณสามารถ สุทธางคกูล ถวายเพิ่มอีก 2 ไร่กว่า ส่วนอีกฝั่งถนนหนึ่งมีเนื้อที่กว่า 10 ไร่ มีเจ้าภาพหลายคนร่วมกันถวาย ดังนั้น รวมที่ดิน 2 ฝั่งถนนทั้งหมด 19 ไร่

ต่อมาปี พ.ศ. 2546 ศ.เกียรติคุณ ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้บริจาคที่ดินบริเวณทางเข้าเขื่อนแม่กวงอุดมธารา อ.ดอยสะเก็ด จำนวน 16 ไร่ให้แก่ มูลนิธินิโรธาราม เพื่อใช้ประโยชน์เป็นพุทธสถาน จึงได้มีการก่อตั้ง สำนักปฏิบัติธรรมสุทธจิตต์ (สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม สาขา 2) ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้มีโอกาสเข้ามาปฏิบัติธรรม ประกอบกิจกรรมการกุศลต่างๆ ให้เกิดความสงบและสติปัญญาทางจิตใจ รวมถึง เพื่อรองรับการขยายตัวของนักบวชสตรีสำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม

สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ และ สำนักปฏิบัติธรรมสุทธจิตต์ (สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม สาขา 2) อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ อยู่ภายใต้การสนับสนุนของ มูลนิธินิโรธาราม โดยมี ท่านภิกษุณีนันทญาณี เป็นประธานมูลนิธิและเป็นผู้อบรมสั่งสอนปกครองนักบวชทั้ง 2 สำนัก

รูปภาพ
จากภาพ : เป็นพิธีบรรพชาเป็นสามเณรี ณ วัดสัทธัมมการะ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ของท่านแม่ชีนันทญาณี
ต่อมาท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุณี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2551 ณ ประเทศศรีลังกา อีกครั้ง


รูปภาพ

รูปภาพ
บรรยากาศภายใน “สำนักปฏิบัติธรรมสุทธจิตต์” ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร