วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


เชิญประชาสัมพันธ์สถานที่ปฏิบัติ โดยการลงชื่อ-ที่อยู่ กำหนดการ-ระเบียบการ และเว็บไซต์ (ถ้ามี)
ของสถานที่ปฏิบัติธรรม จังหวัดนครพนม ได้เลยครับ


เว็บไซต์จังหวัดนครพนม
http://nakhonphanom.ect.go.th

.......

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่กระดานสนทนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=1


:b8:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2011, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
เจดีย์บรรจุอัฐิเจ้าคุณปู่พระเทพสิทธาจารย์ จันทร์ เขมิโย
............................................................................



วัดศรีเทพประดิษฐาราม (วัดศรีเทพ)
เลขที่ 386 ถนนศรีเทพ
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม 48000
โทรศัพท์ 042-511-128


พระครูอุทัยธรรมโสภณ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) อดีตเจ้าอาวาส


วัดศรีเทพประดิษฐาราม เป็นวัดป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่จันทร์ เขมิโย
วัดตั้งอยู่บนถนนศรีเทพ เยื้องโรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 อ.เมืองนครพนม

วัดศรีเทพประดิษฐาราม มีการจัดงานวันรำลึกบูรพาจารย์ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี โดยในวันดังกล่าวเป็นวันที่ พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) พระเถรานุเถระชื่อดังองค์ปฐมกำเนิดวงศ์ธรรมยุต อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 1 และอดีตเจ้าคณะจังหวัดนครพนม (ธรรมยุต) ได้มรณภาพลงในวัย 92 ปี เมื่อปี พ.ศ.2516 และยังรำลึกถึงบูรพาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 2 อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครพนม (ธรรมยุต) คือ พระราชสุทธาจารย์ (พรหมา โชติโก)

รูปภาพ

นอกจากนี้ ทางวัดยังมีโครงการเตรียมจะเปิด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ขึ้นภายในวัด โดยจะใช้ตึกสารภาณนุสรณ์ (ข้างพิพิธภัณฑ์หลวงปู่จันทร์) เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนเก่าแก่ 2 ชั้น เป็นอาคารเรียน มี 6 ห้องเรียน เปิดรับทั้งพระสงฆ์และประชาชนทั่วไปที่จบชั้น ม.6 เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีใน 2 คณะแรกที่จะเปิด คือ คณะศึกษาศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์ ในช่วงแรกคาดว่าจะมีบุคลากรในจังหวัดมาสอน อาทิ อดีตส.ว. ส.ส. นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ถวาย-มอบความรู้ให้แก่พระภิกษุสงฆ์ และฆราวาสที่จะมาเรียนเป็นวิทยาทาน

วัดศรีเทพประดิษฐาราม เป็นพระอารามที่โดดเด่นเป็นสง่า สวยงาม สะอาดร่มรื่น เหมาะแก่การเข้าไปทำบุญไหว้พระ ปฏิบัติภาวนาสมาธิเป็นอย่างยิ่ง ตามประวัติวัดนี้ตั้งเมื่อปี พ.ศ.2402 โดยเจ้าเมืองทองทิพย์ มังคละคีรี เดิมชื่อว่าวัดศรีคุณเมือง ซึ่งแต่ก่อนเป็นวัดร้าง กระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2445 “หลวงปู่จันทร์ เขมิโย” พระมหาเถระชื่อดังรูปหนึ่งของเมืองไทย ลูกศิษย์พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล มาบูรณะปฏิสังขรณ์และพำนักอยู่จำพรรษา เมื่อปี พ.ศ.2449 ก่อนเปลี่ยนชื่อวัดมาถึงปัจจุบัน หลวงปู่จันทร์ ท่านบรรพชาเป็นสามเณร ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2434 ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุในวัย 20 ปี และอยู่จำพรรษาครองสมณเพศมาถึงอายุ 92 ปี จึงละสังขารเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2516

รูปภาพ

อัตโนประวัติท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ นามเดิมชื่อ จันทร์ สุวรรณมาโจ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2424 ขณะอายุในวัยเยาว์ได้ 7 ขวบ เริ่มศึกษาเขียนอ่านอักขรสมัยเบื้องต้นคือ หนังสือไทยน้อย ขอม ไทยใหญ่ และหนังสือธรรมจากสำนักพระอาจารย์เคน อุตตโม วัดโพนแก้ว อ.ท่าอุเทน หลวงปู่จันทร์ ถือกำเนิดในบวรพระพุทธศาสนา ต่อเนื่องมาถึงปี พ.ศ.2460 มีสมณศักดิ์เป็นพระครูสารภาณพนมเขต ในรัชกาลที่ 7 ก่อนเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสารภาณมุณี ในรัชกาลที่ 8 และได้รับพระราชทานเลื่อนสมศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นราชในนามเดิม กระทั่งเมื่อ พ.ศ.2502 ในรัชกาลที่ 9 ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ “พระเทพสิทธาจารย์”

ดังนั้น ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งเป็นวันมรณภาพ คณะศิษยานุศิษย์จึงได้ร่วมกันจัดงานเพื่อรำลึกถึงบูรพาจารย์ ที่ได้สร้างคุณงามความดีไว้มากมายให้กับวงการพระพุทธศาสนา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้าคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นพระรูปแรกที่ได้นำการศึกษาทั้งนักธรรมบาลีและฝ่ายโลก ที่ได้นำคณะธรรมยุตมาตั้งสำนักธรรมยุตขึ้น ณ จ.นครพนม เมื่อปี พ.ศ.2499

หลวงปู่จันทร์เป็นเจ้าอาวาสปกครองคณะสงฆ์วงศ์ธรรมยุตรูปแรกที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม ก่อนเป็นรองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะจังหวัดนครพนม รองเจ้าคณะภาค 8-11 และเป็นที่ปรึกษาภาค 8-11 ตามลำดับ จนถึงวันมรณภาพในวันดังกล่าว

วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงทอดผ้าไตรหน้าหีบศพ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงวางดอกไม้จันทน์พระราชทานเพลิงศพพระเดชพระคุณพระเทพสิทธาจารย์

รูปภาพ

ต่อมาลูกศิษย์ของหลวงปู่จันทร์ นำโดยพระราชสุทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดรูปที่ 2 ได้ร่วมกันก่อสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิขึ้นที่บริเวณด้านหลังอุโบสถ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2536 แล้วเสร็จในปีถัดมา ก่อนที่พระสงฆ์ สามเณร และพุทธศาสนิกชนจะร่วมกันอัญเชิญอัฐิแห่รอบพระอุโบสถ ทำพิธีขอขมาคารวะแล้วทำพิธีบรรจุในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2537

ในสมัยพระครูอุทัยธรรมโสภณ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 3 เมื่อปี พ.ศ.2548 มูลนิธิหลวงปู่จันทร์และสโมสรโรตารี่นครพนม นำโดย นายจิตร ปิติพัฒน์ ประธานมูลนิธิหลวงปู่จันทร์ นายพิศิษฐ์ ปิติพัฒน์ นายกเทศมนตรีเมืองนครพนม และญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมกันก่อสร้างพิพิธภัณฑ์หลวงปู่จันทร์ขึ้น ณ บริเวณริมกำแพงวัดด้านทิศเหนือ (ข้างตึกสารภาณนุสรณ์) เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้ศึกษาชีวประวัติพระอริยสงฆ์ของชาวไทยที่ทำคุณประโยชน์คุณูปการแก่ชาว จ.นครพนม และคณะสงฆ์นิกายธรรมยุต

พระครูอุทัยธรรมโสภณ กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์หลวงปู่จันทร์ เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2548 แล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ.2549 เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว เป็นห้องโถ่งโล่ง ปูด้วยหินอ่อนทั้งหลัง สิ้นงบในการก่อสร้างจำนวน 5.2 ล้านบาท ประกอบพิธีเปิดและสมโภชไปแล้วเมื่อต้นปี พ.ศ.2550 ภายในพิพิธภัณฑ์ เมื่อเดินเข้าไปจะเห็นรูปปั้นเหมือนหลวงปู่จันทร์เท่าตัวจริง ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนสูง 3 ชั้น ครอบด้วยกระจกใส ล้อมรอบด้วยดอกบัวแห้งประดิษฐ์ มุมซ้ายเป็นตู้กระจกไม้สูง 4 เมตร มีภาพหลวงปู่จันทร์ที่เขียนด้วยสีน้ำมันอยู่ในกรอบไม้ ภายในตู้ประกอบด้วยเครื่องอัฐบริขาร เช่น ผ้าไตร จีวร กระติกน้ำร้อน ชานหมาก บาตร รองเท้าแตะ และไม้เท้า เป็นต้น

รูปภาพ

ถัดไปเป็นมุมโต๊ะลายมุก มีใบแต่งตั้งหลวงปู่ ตั้งแต่สมัยเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูศีลสัมบัน ต่อมาในรัชกาลที่ 6 เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระสารภาณมุณี สมัย พ.อ.พระยาพหล พยุหเสนา และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในรัชกาลที่ 7, 8 ก่อนเลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิทธาจารย์ ในรัชกาลที่ 9 ตามลำดับ และใบแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค 8-11 รูปที่ 3 (ธรรมยุต) โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)

ด้านขวาเป็นโต๊ะหมู่บูชา มีพระประธาน พระพุทธรูปไม้ปางประทานพร และภาพถ่ายหมู่ในอดีตคณะสงฆ์วงศ์ธรรมยุตสมัยเก่า ถ่ายเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2508 มีหลวงปู่จันทร์นั่งเป็นประธานหน้าสุด กับพระอริยสงฆ์ชื่อดังของเมืองไทย อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่หลอด ปโมทิโต เป็นต้น ส่วนบริเวณด้านหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์ปูด้วยอิฐแดงตัวหนอน ประดับตกแต่งด้วยโคมไฟรูปนกกินรี ปลูกพันธุ์ไม้ดอกไว้หลายชนิด และยังอนุรักษ์บ่อน้ำบาดาล (น้ำสร้าง) เก่าแก่ไว้

เข้าวัดทั้งทีต้องไปกราบไหว้พระประธานในอุโบสถ นามว่า “พระแสง” เป็นพระพี่น้องกับพระสุก พระใส และพระเสริม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสวยงาม ภายในยังมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามเต็มทุกด้าน เป็นภาพพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า 108 ภาพ ส่วนด้านหลังพระอุโบสถเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิหลวงปู่จันทร์ และภาพจิตรกรรมนูนต่ำ ภาพเทพพระยาดาติดฝาผนังที่หาดูได้ยาก และได้รับรางวัลภาพถ่ายนานาชาติจากตากล้องอิสระ ถ้าจะเข้ามาวัดนี้ เพื่อขอหวยไปเสี่ยงโชค คงหมดสิทธิ์ เพราะเป็นวัดสายวิปัสสนากัมมัฏฐานขนาดแท้ หากอธิษฐานให้ค้าขายร่ำรวย เจริญก้าวหน้าในชีวิตการงาน พรที่ขออาจสมปรารถนาถ้าคุณงามความดีมีอยู่ในตัวท่านแล้ว

รูปภาพ
หลวงปู่จันทร์ เขมิโย


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่จันทร์ เขมิโย
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7696

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2011, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดภูพานอุดมธรรม (วัดภูพานดานสาวคอย)
เลขที่ 97 หมู่ 12 บ้านดานสาวคอย
ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม 48130
โทรศัพท์ 08-1558-4809, 042-571-783


พระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) เจ้าอาวาส

วัดภูพานอุดมธรรม พุทธมณฑลแห่งนครพนม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครพนม แห่งที่ 4 ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม และเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครพนม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ในแต่ละปีจะมีข้าราชการ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา และญาติโยม รวมทั้งพระสงฆ์จากทั่วประเทศ เดินทางมาเข้าค่ายปฏิบัติธรรม อบรมจริยธรรมและคุณธรรม อบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตลอดจนฝึกอาชีพให้ประชาชนทั่วไปเป็นจำนวนมาก

วัดตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน บริเวณอุทยานแห่งชาติภูผายล ห่างจากอำเภอนาแก ประมาณ 6 กิโลเมตร (เข้าทางเดียวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดนครพนม) การเดินทางขึ้นไปควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อเพราะทางขึ้นขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ พื้นที่ส่วนใหญ่ของดานสาวคอยเป็นลานหินเรียบ มีต้นไม้ ป่าไม้เบญจพรรณนานาชนิด บรรยากาศเงียบสงบร่มเย็นตลอดปี เมื่อขึ้นถึงลานหินนี้แล้ว สามารถมองเห็นยอดพระธาตุพนม ความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้เนื่องมาจากหนุ่มสาชาวบ้านสมัยก่อนเวลาจะไปหาของป่าจะนัดหมายมาคอยกันที่ลานหินนี้เป็นประจำ หรือมาเที่ยวชมความงาม โดยฝ่ายสาวจะมาเป็นผู้คอย จึงได้ชื่อว่า “ดานสาวคอย” ทางวัดจัดสร้างวิหารซึ่งเป็นอาคาร 5 ชั้นเพื่อรองรับผู้ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ รวมทั้งสร้างโรงครัว และห้องน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ไปปฏิบัติธรรม สามารถรับผู้มาปฏิบัติธรรมมากถึง 300 คน

ในอดีตพื้นที่วัดภูพานอุดมธรรม (วัดภูพานดานสาวคอย) แห่งนี้ เป็นฐานที่มั่นของกลุ่มบุคคลที่มีความคิดขัดแย้งทางด้านการเมือง และเป็นสถานที่ที่มีการสู้รบอย่างรุนแรงชนิดที่เรียกว่า มีความตาย และคราบเลือด อยู่ทั่วทุกอณูของพื้นแผ่นดิน หลังจากพระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) บวชแล้ว ท่านได้ปฏิบัติศาสนกิจเผยแผ่ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม พัฒนาชุมชน อันเป็นคุณประโยชน์ต่อพระภิกษุสงฆ์ สามเณร เยาวชน ประชาชน พุทธศาสนิกชนอย่างต่อเนื่อง จนสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นวัดภูพานอุดมธรรม

รูปภาพ

นอกจากนี้แล้ว บริเวณพื้นที่มีถ้ำต่างๆ มากมาย จากลานธรรมสวนสมเด็จ หน้าพระอุโบสถ สามารถมองเห็น ทิวทัศน์ทั่วบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะองค์พระธาตุพนม ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก นับเป็นทัศนียภาพที่หาดูได้ยากแห่งหนึ่ง

พ.ศ. 2527 นายสุนทร จัตุชัย นายอำเภอนาแกในสมัยนั้น ได้นำคณะกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และข้าราชการในพื้นที่ ขึ้นสำรวจภูมิทัศน์ดานสาวคอย และเห็นว่าสถานที่แห่งนี้เหมาะแก่การสร้างศาสนสถาน จึงชักชวนผู้มีจิตศรัทธารวมถึงกลุ่มบุคคลที่มีความคิดขัดแย้งทางด้านการเมืองให้กลับเข้ามา เพื่อร่วมพัฒนาชาติไทย ตามแผนการเมืองนำการทหาร (66/2523) โดยรวบรวมเงินเพื่อสร้างพระพุทธรูป เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แห่งการยุติการสู้รบและนำความสงบร่มเย็นมาสู่ดินแดนแห่งนี้

วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 นายวิโรจน์ อำมะรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในขณะนั้น ได้เป็นประธาน ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เพื่อสร้างองค์พระพุทธรูป แต่ในคืนวันนั้นเองได้มีผู้ไม่ปรารถนาดี ทำลายฐานวางศิลาฤกษ์และได้นำสิ่งของอันมีค่าที่บรรจุไว้ไปทั้งหมด ด้วยพลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในอำเภอนาแก 145 หมู่บ้าน ในที่สุดก็สร้างพระพุทธรูปเสร็จ โดยมีขนาด หน้าตักกว้าง 11 เมตร สูง 14 เมตร ศิลปะเชียงแสนสิงห์ 1

พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวต่อมาได้ถวายพระนามว่า “พระพุทธมหามงคลบพิตรจัตรุทิศประทานพร” ขณะเดียวกันเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทรงอนุโมทนา และประทานพระบรมสารีริกธาตุเพื่อบรรจุไว้ ณ พระเกตุโมลี องค์พระพุทธมหามงคลบพิตรจัตุรทิศประทานพร

ระยะแรกของการสร้างวัดนี้ การหาพระสงฆ์มาจำพรรษาเป็นเรื่องยากมาก เพราะขณะนั้นพื้นที่ดังกล่าวยังถือว่าเป็นพื้นที่สีชมพู ในที่สุดชาวบ้านได้พร้อมใจกันกราบนิมนต์พระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) มาดูแลสำนักสงฆ์ภูพานดานสาวคอยวนาราม จนกระทั่งได้รับอนุมัติตั้งเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย ท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสมาจนถึงปัจจุบัน

รูปภาพ

ต่อมาวัดได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ว่า “วัดภูพานอุดมธรรม” และเกิดเป็นหมู่บ้านใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “บ้านดานสาวคอย”

เหตุผลหนึ่งของการนิมนต์พระครูอุดมธรรมานุกูล มาดูแลวัดนี้ เนื่องจากเมื่อครั้งเป็นฆราวาส ท่านเคยรับราชการเป็นตำรวจพลร่มค่ายนเรศวร อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และมีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นอย่างดี รวมทั้งท่านยังเป็นพระลูกศิษย์ที่มีความกตัญญู มีความเคารพผูกพันเป็นอย่างยิ่งกับพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย บ้านมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม ซึ่งนับถือกันว่าเป็นเทพเจ้าลุ่มน้ำโขง

วัดภูพานอุดมธรรม ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดร.สร้อยเพชร เรศานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท บาชโทลด์ จำกัด และประธานดำเนินการกองทุน “สุวรรณวาจกกสิกิจ” ถือว่าเป็นพลังศรัทธาสำคัญในการเชิญชวนกัลยานมิตร รวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาจากทั่วประเทศมาร่วมทำบุญสร้างวัดนี้

พ.ศ. 2538 สำนักงานปกครองอำเภอนาแก นำโดยนายพงษ์ศักดิ์ นาคประดา นายอำเภอนาแกในขณะนั้น ได้จัดทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ แหล่งฐานที่มั่นเก่าของกลุ่มชนที่มีความขัดแย้งทางการเมือง ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยมีการสร้างศาลาชมวิว และปรับปรุงบันได 221 ขั้น ที่เป็นทางขึ้นดานสาวคอย แต่เดิมในอดีตก่อนที่จะมีการปรับปรุงถนน ตลอดจนการปลูกต้นไม้รอบบริเวณวัด อุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาวัดแห่งนี้ คือ วัดต้องปั่นไฟฟ้าใช้เอง ทำให้การก่อสร้างล่าช้า ขณะเดียวกันในยามค่ำคืนเมื่อมีผู้มาร่วมปฏิบัติธรรมจำนวนมาก ก็อยู่ด้วยกันความยากลำบาก ต่อมาทางวัดได้ทุ่มงบเพื่อปักเสาไฟฟ้าเอง โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้คำนวณค่าใช้จ่ายไว้ประมาณ 4 ล้านบาท ในการนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้อนุมัติงบสนับสนุนเพียง 5 แสนบาทเท่านั้น

รูปภาพ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวัดนี้จะอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างศาสนสถาน แต่พระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) ก็ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ภายในวัดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2529 สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน อาทิ โครงการพัฒนาเยาวชนภาคฤดูร้อน เพื่อต่อต้านยาเสพติด, บรรพชาสามเณร อุปสมบท บวชศีลจาริณี ในเดือนเมษายนของทุกปี, งานอบรมปฏิบัติธรรม และการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุสงฆ์ ในเดือนกุมภาพันธ์ และตุลาคม ของทุกปี ฯลฯ สำหรับหน่วยงานหรือบุคคลใดประสงค์จะส่งบุคลากรไปฝึกอบรมปฏิบัติธรรม สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 08-1558-4809, 02-939-7265

ปัจจุบัน วัดภูพานอุดมธรรม (วัดภูพานดานสาวคอย) ได้รับอนุมัติให้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว มีเนื้อที่จำนวน 15 ไร่ อีกทั้ง เป็นวัดแห่งหนึ่งในจำนวนทั้งหมด 9 แห่ง ที่ถูกเลือกให้เป็นสถานที่ก่อสร้าง พุทธมณฑลเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ 60 ปี ประจำจังหวัดนครพนม ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับพุทธมณฑลใหญ่ ที่จังหวัดนครปฐม สำหรับวัตถุประสงค์ของการสร้างพุทธมณฑลจังหวัด ก็เพื่อเป็นศูนย์กลางของประชาชนในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเพื่อประกอบพิธีกรรมของแต่ละท้องถิ่น

การเดินทาง : ทางรถยนต์ วัดตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัด 67 กิโลเมตร มีทางลาดปูนตลอดไปจนถึงเชิงเขา 5 กิโลเมตร และขึ้นไปบนเขาที่วัดตั้งอยู่อีก 2 กิโลเมตร ทางลาดปูนสะดวกเช่นกัน หากเดินทางมาจากอำเภอนาแก ตามถนนนาแก-รามคำแหง ประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดภูพานอุดมธธรรม

รูปภาพ
พระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม)
............................................................................

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2011, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดมรุกขนคร (ร้าง)
หมู่ 7 บ้านดงขวาง ต.ดอนนางหงส์
อ.ธาตุพนม จ.นครพนม 48110


พระราชธีราจารย์ (สำลี ป.ธ.5) เจ้าอาวาส

วัดมรุกขนคร (ร้าง) เป็นวัดและเป็นโบราณสถาน มีพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่เศษ พระบรมราช (กู่แก้ว) ได้สร้างวัดนี้เมื่อปี พ.ศ.2300 เมื่อย้ายเมืองจากท่าแขกมาตั้งอยู่ทางฝั่งแม่น้ำโขงตางปากห้วยปังฮวด วัดนี้เป็นวัดใหญ่มีความเจริญรุ่งเรืองมากในอดีต และได้สร้างวัดขึ้นรอบๆ เมืองอีกสี่วัด คือ วัดดอนกอง วัดดงขวางท่า วัดขอนแก่น และวัดนาถ่อนท่า

ตัวเมืองมรุกขนคร ถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังมาโดยตลอด รวมทั้งเกิดโรคระบาด มีผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ดังนั้นในปี พ.ศ.2320 จึงได้ย้ายตัวเมืองไปตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ตำบลท่าค้อ ปรากฏชื่อว่าบ้านเมืองเก่ามาจนถึงปัจจุบัน พบส่วนฐานของศาสนสถานรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยอิฐ มีอายุอยู่ประมาณปลายสมัยอยุธยา และต้นสมัยรัตนโกสินทร์

วัดนี้เป็นสถานที่ใช้ในการฝึกอบรมจริยธรรม และเป็นศูนย์พัฒนาจิตให้กับเยาวชน ตลอดจนอบรมข้าราชการทั้งในจังหวัดนครพนม และจังหวัดใกล้เคียง มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คือ พระมหาธาตุเจดีย์มรุกขนคร กว้าง 20 เมตร สูง 50.59 เมตร

ทั้งนี้ วัดมรุกขนคร (ร้าง) เป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2011, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดป่าหนองฮีธรรมาราม
(สาขาที่ 109 ของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี)
ต.หนองฮี อ.ปลาปาก จ.นครพนม 48160


วัดป่าหนองฮีธรรมาราม เป็นวัดป่าปฏิบัติสายหลวงพ่อชา สุภัทโท

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2011, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดป่ากิตติพรพุทธาราม
บ้านาคอย ต.ยอดชาด
กิ่ง อ.วังยาง จ.นครพนม 48130


พระอาจารย์สามารถ (เบา) โอภาโส เจ้าอาวาส

วัดป่ากิตติพรพุทธาราม เป็นวัดป่าปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

การเดินทาง : จาก บขส. สกลนคร ขึ้นรถสายสกลนคร-พระธาตุพนม
ลงที่ป้อมตำรวจหนองบ่อ ถามเส้นทางคนแถวนั้น นั่งรถเข้าวัดอีกประมาณ 12 กิโลเมตร

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2011, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดสารภาณนิมิต
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม 48000
โทรศัพท์ 042-511-845


พระราชสารโกศล (สุวัฒน์ ญาณวโล)
เจ้าอาวาสวัดสารภาณนิมิต และเจ้าคณะจังหวัดนครพนม (ธ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2011, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดป่าปทุมสุวรรณวนาราม
บ้านหนองแคน ต.ยอดชาด
กิ่ง อ.วังยาง จ.นครพนม 48130

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร