วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 09:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2020, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วัดป่าสาลวัน
อ.เมือง จ.นครราชสีมา

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงสอนให้เราอบรมจิต "จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง จิตที่อบรมแล้วนำสุขมาให้" ทำไมมันจึงนำสุขมาให้ ก็เพราะว่ามันเป็นตัวของตัวเอง ไม่ตกอยู่ในอำนาจของสิ่งใด เป็นอิสระแก่ตัวอย่างเต็มที่ วิญญาณหรืออารมณ์ต่างๆ นี่ลากคอมันไปสับไปยำไม่ได้ มันก็เป็นตัวของตัวเองมันก็เที่ยง มันก็ไม่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เป็นตัวของตัวเองโดยอิสระ

และอีกอันหนึ่งได้รับเอกสารจากสำนักวิจัยวิจารณ์ธรรมะทั้งหลายทั้งฝ่ายปฏิบัติทั้งฝ่ายปริยัติ ท่านก็กรุณาแจกไปให้อ่าน ปัญหานั้นมีว่า พระนิพพานเป็นอัตตาหรือเป็นอนัตตา พระนิพพานเป็นอัตตาหรือเป็นอนัตตา ทางฝ่ายหนึ่งว่าพระนิพพานเป็นอัตตา อีกฝ่ายหนึ่งพระนิพพานเป็นอนัตตา เพราะอาศัยพุทธภาษิตที่ว่า สัพเพธัมมาอนัตตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา พระนิพพานก็เป็นธรรมจึงเป็นอนัตตา ผู้ที่ว่าพระนิพพานเป็นอัตตานั้น ไปอาศัยโวหารที่ว่า อัตตาตีปะ อัตตะสะระณา อัตตะหิ อัตตะโนนาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน จิตเป็นอิสระไม่ตกอยู่ในอำนาจของสิ่งใด เป็นตัวของตัวอย่างแท้จริงจึงเป็นอัตตา ผิดหรือถูกท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ฝ่ายหนึ่งว่าพระนิพพานเป็นอัตตา ฝ่ายหนึ่งว่านิพพานเป็นอนัตตา

อาตมะจะขอเสนอความคิดเห็นอย่างนี้ "พระนิพพานไม่ใช่อัตตา พระนิพพานไม่ใช่อนัตตา" แม้แต่ "นิพพาน" ก็ยืม...ยืมคำพูดกล่าวถึง "อาการดับของกิเลส" มาพูด นิพพานะ แปลว่า ดับ ดับอะไร ดับกิเลสโลภ โกรธ หลง อาสวะให้สิ้นไปจากจิตใจ อันนี้เรียกว่า "ดับ" มาเอาอาการดับเรียกชื่อธรรมะสูงสุดว่า "พระนิพพาน" แต่ความจริง นิพพานก็ไม่ใช่นิพพาน เป็นแต่เพียงกิริยาการดับกิเลสเท่านั้น

ส่วนที่สิ่งที่อยู่เหนือการดับนั้นคืออะไร สิ่งที่อยู่เหนือการดับคืออะไร สัจธรรมไม่มีภาษาสมมติบัญญัติ พระพุทธเจ้าหาคำพูดที่จะมาบัญญัติให้เราท่องเราอ่านไม่มี จึงไปยืมเอาคำว่า"นิพพานะ" ดับ เป็นชื่อภาวะหรือมิตินั้น แต่แท้ที่จริงภาษาที่จะมาพูดกันอย่างโดยตรงนั้นมันไม่มี พระพุทธเจ้าท่านจึงจนปัญญา จึงขมวดลงท้าย "ธรรมคุณ" ว่า "ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ" อันวิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตนเอง ชัดเจนไหมล่ะ อันวิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตนเอง ถ้าใครถึงจุดที่ว่านั้นแล้ว...รู้ได้ด้วยตนเองแล้วจะรู้ว่า เอ๊อะ...คำว่า นิพพานไม่ใช่สภาวะอย่างนั้นหรอก เป็นแต่เพียงกิริยาการดับกิเลสเท่านั้นแต่สิ่งนั้นมันอยู่เหนือการดับ...แน่ะ...มันจะได้ความรู้ความเห็นขึ้นมาอย่างนั้น

เอาล่ะวันนี้จะขอฝากธรรมะอันเป็นคติเตือนใจแก่บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลาย ก็เห็นว่าพอสมควรแก่กาลเวลา เราเป็นลูกศิษย์ครูบาอาจารย์ อาจารย์ใหญ่ของเราในสายกรรมฐานโดยตรง คือ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่มี หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่เทสก์ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้และท่านอื่นๆ ก็ได้มรณภาพเข้านิพพานกันไปหมดแล้ว ก็ยังเหลือแต่เรา แต่เราผู้ซึ่งเป็นลูกศิษย์


รูปภาพ
(พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร)


จำคำเตือน "หลวงปู่ฝั้น" ได้ว่า อาตมาไปกราบเยี่ยมท่านก่อนที่ท่านจะมรณภาพเพียงสามวัน ในขณะนั้นท่านนอนคลุมโปง พอไปกราบแล้วโบกมือห้ามไม่ให้พระรบกวนท่าน แต่ท่านบอกว่า "เอาลุก เอาลุก เอาลุก" หมอไม่ให้ลุก "เอาลุก" จนกระทั่งพระก็พยุงท่านลุกขึ้นมา พอลุกขึ้นมาท่านมองเห็นมือสั่นๆ ท่านยกขึ้นมาชี้หน้า "นี่ อะไรครูบาอาจารย์ก็สอนให้หมดแล้ว แล้วก็ทำได้ดีด้วยแต่มันยังประมาทอยู่เท่านั้นเอง มันยังขี้เกียจอยู่ ต่อไปขยันๆ เข้าหน่อย ถ้าหมดพระรุ่นพวกเธอนี่ พระกรรมฐานสายนี้มันจะหมดนะ" อันนี้เราลองจำคำพูดของหลวงปู่ฝั้นไปพิจารณาลองดู

แล้วเมื่อครูบาอาจารย์ว่าอย่างนั้นเราก็ถือเป็นคำโอวาทตักเตือนสั่งสอนว่าพวกเราอย่าประมาท ทำอย่างไรเราจึงจะรักษาจารีตประเพณีของครูบาอาจารย์เราไว้ได้ เวลานี้นักปฏิบัติทั้งหลายของเรานี่จะไปถือแต่การปฏิบัติสมาธิภาวนาขั้นปรมัตถ์เป็นใหญ่ เรื่องของสมาธินี่เป็นหลักธรรมกลางๆ คนมีศีลก็ทำได้ คนไม่มีศีลก็ทำได้ คนมีศาสนาก็ทำได้ คนไม่มีศาสนาก็ทำได้ แต่หัวใจสำคัญของการปฏิบัติธรรมตามแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้านี่มีอะไรเป็นสิ่งสำคัญ "สีเลนะ นิพพุติงยันติ" จะถึงความดับซึ่งกิเลสและบาปกรรมอยู่ที่ศีลเท่านั้นเป็นเรื่องสำคัญ "ตัสสะมา สีลังวิโสทะเย" เพราะฉะนั้นสาธุชนพึงชำระศีลให้บริสุทธิ์สะอาด ศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ ศีลสองร้อยยี่สิบเจ็ด รักษาให้มันดี

อย่าไปอนุโลมหรือไปเพิกถอนสิกขาบทวินัยเพื่อความสะดวกสบายสำหรับตัวเอง อาจาริยวัตร อุปัชฌายวัตรให้มันเคร่งครัด การปฏิบัติอาจาริยวัตร อุปัชฌายวัตรนี่เพื่อประโยชน์อะไร เพื่อประโยชน์ปราบทิฏฐิมานะของเราเอง อุปสรรคสำคัญในการปฏิบัติธรรมคือ ทิฏฐิมานะ ความถือตนถือตัว นี่แหละตัวนี้ เพราะฉะนั้นองค์พระคุณของพระโสดาบัน สักกายทิฎฐิเป็นตัวแรกที่พระโสดาบันจะต้องตัดขาด ตราบใดที่สักกายทิฏฐิยังมีกินใจอยู่ไม่มีทางจะสำเร็จมรรคผลนิพพาน

อุบายวิธีที่ท่านให้มีกิจวัตร อุปัชฌายวัตร อารามิกวัตร อาจาริยวัตร ฆันตาฆรวัตร ขันธวัตร ๑๔* ข้อนี่ อันนั้นแหละเป็นหัวใจของการปฏิบัติกรรมฐานทั้งหลาย ถ้าขันธวัตรทั้ง ๑๔ ย่อหย่อนแล้วก็เรียกว่า มันจะไกลต่อแนวทางมรรคผลนิพพาน เราจะหันหลังให้ครูบาอาจารย์ไกลออกไปทุกทีๆ เพราะฉะนั้นศีลเท่านั้นเป็นตัวสำคัญอย่าไปมองข้าม


:b45: ขันธวัตร ๑๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ

https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=07&siri=72

ข้อวัตรรวมหรือขันธวัตร ๑๔ ของพระเณร
ในยุควัดป่าบ้านหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

http://www.luangpumun.dra.go.th/best_practices

:b44: :b44:

ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ
“การปฏิบัติภาวนาจิต”


• ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=58068

• รวมคำสอน “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44391

:b44: ประวัติและปฏิปทา “หลวงพ่อพุธ ฐานิโย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=50583

:b44: รวมคำสอน “หลวงพ่อพุธ ฐานิโย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=40915

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร