วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 22:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ปัญหาธรรมการปฏิบัติพระกรรมฐาน

ผู้ถาม : ทางที่ทำให้ดับทุกข์นั้น จะต้องเป็นทางสมถะทางเดียวใช่ไหมคะ......?

หลวงพ่อ : ดับทุกข์ไปได้หลายทางหนู ถ้าดับทุกข์ถาวร คือทำกรรมฐานทางเดียว ถ้าดับทุกข์ชั่วคราว เชือดคอตายก็ดับทุกข์ แล้วไปทุกข์ใหม่ ใช่ไหม........?

ผู้ถาม : "กรรมฐานคืออะไรคะ.......?

หลวงพ่อ : กรรมฐานมันรวม ๒ อย่าง คือ สมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน ตัวที่ทำให้เกิดอารมณ์จิตไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้สมาธิทรงตัวเขาเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" ตัวที่ใช้ปัญญารู้เท่าทันสภาวะตามความเป็นจริง ไม่หลงสภาวะของโลก นี่เป็น วิปัสสนากรรมฐาน สองอย่างนี้เราเรียกว่า กรรมฐาน เข้าใจหรือยัง........?

ผู้ถาม : เข้าใจแล้วค่ะ แต่ว่ามีอีกเรื่องหนึ่งนะคะ เมื่ออาทิตย์ก่อนหนุไปเจอหนังสือเล่มหนึ่ง เขาบอกว่า คนที่หัดภาวนาอย่าหลับตา ถ้าหลับตาแล้วจะหลับไปเลย ให้ลืมตาแล้วพยายามดึงสายตาเข้ามาเรื่อย ๆ จนใกล้ ๆ ปลายจมูกแล้วให้เพ่งอยู่อย่างนั้น วันหนึ่งหนูก็ลองทำดู ภาวนาว่า พุทโธ ๆ ๆ แล้วพยายามดึงสายตาเข้ามาเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่าไม่ได้ภาวนา ทีแรกหนุก็เห็นภาพลาง ๆ เหมือนคนนั่งแบบหนู นั่งหันหน้ามาทางหนู หนูตกใจรีบลุกขึ้นทันที อย่างนี้เป็นการหลอนหรือคิดไปเองคะ...?

หลวงพ่อ : แล้วคิดไปเองหรือเปล่าล่ะ.....?

ผู้ถาม : ไม่ได้คิดค่ะ

หลวงพ่อ : อ้าว.......ไม่ได้คิด แต่ถามว่าคิดไปเองหรือเปล่า

ผู้ถาม : คือหนูมองเพลินไป คิดว่ามันคิดไปเองค่ะ....

หลวงพ่อ : ไม่ใช่หรอก มันเป็นของจริง เราไม่ได้คิดไว้ก่อนนี่ ตอนนั้นก็ต้องถือว่า จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ จึงเป็นภาพขึ้นได้ ถ้าจิตต่ำกว่าอุปจารสมาธิก็ดี หรือสุงกว่าอุปจารสมาธิก็ดี มันไม่เห็น

ผู้ถาม : แล้วทำไมเหมือนกับเราไม่มีจิต ไม่มีอะไรทั้งสิ้นเลยคะ.....?

หลวงพ่อ : ก็บอกแล้วว่าระหว่างนั้นจิตเข้าสู่อุปจารสมาธิอยู่ จิตเราบังเอิญเข้าจังหวะพอดี ตามธรรมดาเรามีสมาธิอยู่แล้วทุกคน ไม่ใช่ว่าไม่มี ถ้าเราเกิดมาไม่มีสมาธิมันพูดกันไม่รู้เรื่องหรอก ใช่ไหม.... คิดว่าจะกินข้าวดีไม่ดีไปเข้าส้วม นี่ไม่มีสมาธิ สมาธิคือการตั้งใจ ตั้งใจว่าจะทำอะไรนี่เป็นสมาธิ

ผู้ถาม : แสดงว่าเรามีสมาธิจึงจะเห็นใช่ไหมคะ...?

หลวงพ่อ : แต่ต้องพอดีนะ สมาธิมันมีหลายอย่างนะ มี ขณิกสมาธิ คือสมาธิเล็กน้อย อุปจารสมาธิ ก็หมายถึง สมาธิใกล้เฉียดฌานและอัปนาสมาธิ ก็หมายถึง ฌาน ฌาน แบ่งออกเป็น ๔ ขั้น ฌาน ๑,๒,๓,๔ แต่จุดที่เราจะเห็นจริง ๆ คืออุปจารสมาธิจุดนี้จุดเดียว

ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ ถ้าขณะภาวนา หลับตาได้ไหมคะ......?

หลวงพ่อ : หลับตาหรือลืมตาก็ใช้ได้หมด ถ้าเราไม่นึกถึงตาไม่นึกถึงยาย ก็ลืมทั้งตาทั้งยาย ใช่ไหม.....ลืมตาหรือหลับตาไม่มีความหมายหรอกหนู.....การเจริญพระกรรมฐานมิใช่หลับตาเสมอไป ถ้าเราลืมตามองเห็นอย่างอื่นมันฟุ้งซ่านก็หลับตาเสีย ถ้าหลับตาแล้วจิตมันซ่านเกินไปก็ลืมตา เวลานั่ง นั่งหน้าพระพุทธรูป เวลาหลับตาภาวนาแล้วฟุ้งซ่าน ให้ลืมตามองดุพระพุทธรูป ถ้าจิตเรานึกว่าพระพุทธรูป นี่เป็น พุทธานุสตติกรรมฐาน ถ้าคิดว่าพระพุทธรูปนี่มีสีเหลืองก็เป็น ปิตกสิณ เลยได้ ๒ อย่างควบใช่ไหม......คือว่าการเจริญพระกรรมฐานเราฝึกที่ใจไม่ใช่ฝึกที่ตา สมาธิมันอยู่ที่ใจใช่ไหมล่ะ.....

ผู้ถาม : หนูอ่านเจอะในหนังสืออีกเล่มหนึ่ง เขียนว่าการนั่งสมาธิจะต้องมีความพร้อม คือพร้อมทั้งตัวเองและสภาวะแวดล้อมด้วย อย่างเช่นต้องการความสงบสภาพแวดล้อมก็ต้องสงบด้วย และตัวเราเองต้องสงบด้วย สงบทั้งข้างในและข้างนอก

หลวงพ่อ : ไม่ต้องอธิบายหรอกหนู เป็นอรหันต์แล้ว หลวงพ่อยอมแล้ว แหม.......ตำรามันแน่จริง ๆ อ่านจบทำได้ตามนั้นก็ไม่ต้องไปฝึกแล้ว

ผู้ถาม : ทำไม่ได้หรือคะ........?

หลวงพ่อ : ทำได้ยังไง เขายกช้างมาให้แบก สงบนอกสงบใน หมายความว่าเป็นอรหันต์แล้ว

ผู้ถาม : แล้วเวลานั่งสมาธิ จิตจะสบายขึ้นใช่ไหมคะ.....?

หลวงพ่อ : ก็สุดแล้วแต่เรา เวลานั้นเราทรงอารมณ์ดีหรือไม่ดี ถ้าดีก็สบายขึ้น ถ้าไม่ดีก็กลุ้มขึ้น

ผู้ถาม : หนูเคยนั่งที่บ้าน พอนั่งภาวนาไปครู่หนึ่ง รู้สึกมันเครียดค่ะ

หลวงพ่อ : นั่นทำไม่ถูก หนู
ผู้ถาม : ไม่ถูกยังไงคะ.....?

หลวงพ่อ : ก็ทำเหนื่อย

ผู้ถาม : แล้วจะทำยังไงคะ...?

หลวงพ่อ : ถ้าเครียดเกินไปเราตั้งอารมณ์เสียใหม่ หายใจยาว ๆ ๒-๓ ครั้ง ก็หายเครียด แล้วเริ่มภาวนาใหม่

ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ บางครั้งขณะภาวนาจิตใจมันฟุ้งซ่าน มากค่ะ จะแก้ไขอย่างไรดีคะ......?

หลวงพ่อ : ถ้ามันฟุ้งซ่านจนกระทั่งคุมใจไม่ติด อันนี้ต้องเลิกเหมือนกัน ถ้ามันเป็นอย่างนี้ก็อย่าฝืนไปภาวนาเข้า ปล่อยมันไปตามสบาย มันอยากจะคิดอะไรก็เชิญมัน เราต้องรู้จักยืดหยุ่นพระพุทธเจ้าท่านแนะไว้ ๒ นับ คือ ถ้ามันฟุ้งจริง ๆ ก็ปล่อยใจให้คิดไปตามต้องการ อีกอันหนึ่งก็เลิกเสีย เวลาที่เราปล่อยใจไปตามอารมณ์อีกสักครู่เดียวไม่นานมันก็เลิกคิด พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าเหมือนม้าพยศ กอดคอให้มันวิ่งไปจนเหนื่อย เหนื่อยแล้วก็บังคับให้มันทำตามต้องการ จิตใจก็เหมือนกัน สติ ตั้งใจ ถ้ามันเลิกคิดเมื่อไรเราจะภาวนาและพิจารณาต่อไปเริ่มจับอารมณ์ใหม่ คราวนี้มันทรงอารมณ์ดิ่งจริง ๆ ละเอียดและสุขุมมาก อยู่นาน บางทีครึ่งชั่วโมงหรือชั่วโมงกว่า นี่เป็นวิธีเอาชนะความฟุ้งซ่านและรำคาญ


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 18 เม.ย. 2011, 22:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 22:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อครับ)

ผู้ถาม : ขอนมัสการครับ กระผมขอทราบว่า สภาวะจิต สงบจิตเป็นสมาธิ จิตเป็นภวังค์ จิตเป็นเอกัคคตารมณ์มีสภาวะแตกต่างกันอย่างไรครับ...?

หลวงพ่อ : ถามมา 4 ข้อ แต่ตอบได้ 2 ข้อ มันแตกต่างกันแค่จิตเป็นภวังค์อย่างเดียว นอกนั้นอย่างเดียวกัน จิตสงบ จิตเป็นสมาธิ จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ก็คือจิตเป็นสมาธิก็หมายความว่าจิตตั้งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง อย่างโยมอยากจะไปขอขโมยความเขา ตั้งใจว่าควายบ้านนี้กูขโมยแน่ นี่เป็นสมาธิ คือตัวตั้งใจอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเขาเรียกว่าสมาธิ แต่ว่าสมาธิแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาสมาธิ กับ มิจฉาสมาธิ
ตั้งใจขโมยควาย เขาเป็น มิจฉาสมาธิ ถ้าตั้งใจสร้างความดีเป็น สัมมาสมาธิ

ผู้ถาม : ตามที่กระผมอ่านในตำรา เขาบอกว่าจิตขึ้นมารับอารมณ์ชั่วขณะจิต พอหมดไปแล้วบอกว่าจิตเป็นภวังค์ แต่ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ จึงขอเรียนถามหลวงพ่อว่า จิตเป็นภวังค์ หมายความว่าอย่างไรครับ...?

หลวงพ่อ : คำว่า ภวังค์ นี่ก็คือ อารมณ์ปกติ ส่วนมากคนมักเข้าใจกันผิด พอจิตตกมีสภาพวูบดิ่ง จิตทรงตัว บอกว่าเป็นภวังค์อย่างนี้ไม่ใช่นะ พูดง่าย ๆ อารมณ์ธรรมดานี่แหละ อารมณ์ไม่ได้ความนี่เอง

เอาเรื่องง่าย ๆ ไม่ดีกว่าหรือ..........พระพุทธเจ้าท่านสอนง่ายกว่านี้มีเยอะ ทำไมถึงชอบยาก ๆ กินหมูมีกระดูกมาก กินปลามีก้างมาก มันจะดีรึ เอาอย่างนี้ดีกว่า ทำยังไงที่จะไม่ให้จิตคบกับนิวรณ์ ๕ ได้ มี ประโยชน์มากกว่าตั้งเยอะ อย่างที่โยมว่าอีกหลายชาติก็ยังไม่ถึงนิพพาน ระวังมัจจะมี มานะ ไปนั่งเถียงกัน แกไม่รู้จักขณะจิต พังเลย เราแย่ คนที่คิดน่ะแย่ มานะนี่หยาบมาก ยกยอดทิ้งไปเลย ไปงั้นไม่มีทางไป

ที่ว่า มานะ ฉันอ่านมาแล้ว ฉันหมุนมาแล้ว จึงเลิก โยมยังไม่เลิก เพราะว่าศัพท์ประเภทนี้มัน เหมาะสมหรับคนสมัยนั้น คนสมัยนี้ไม่ควรจะใช้ศัพท์สมัยนั้นมาก เพราะว่าอุปนิสัยของคนไม่เท่าคนสมัยนั้น คำสอนแต่ละคนแต่ละช่วงจะเหมาะสำหรับคนแต่ละสมัย คนที่สั่งสมอบรมมาดีแล้ว ถ้าเราไปพูดยาวแทนที่จะดี กลับทำให้รำคาญ เพราะคนพวกนี้ใกล้เต็มที่ ไอ้คนจะถึงประตู ไปอธิบายต้นทางมันก็รำคาญ ใช่ไหม........ว่าไง โยม มีอะไรอีกไหม.....?


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร