วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 พ.ค. 2009, 08:40
โพสต์: 27


 ข้อมูลส่วนตัว


อยากจะถามท่านผู้รู้ว่า :b24:

ถ้าสวดมนต์ผิด ออกเสียงไม่ถูกต้อง หรือ สวดข้าม บางตัว

จะบาปมั้ยครับ หรือว่า คาถา หรือบทสวดมนต์นั้น จะไม่สัมฤทธิ์ผล

ขอบคุณมากครับ :b8:

.....................................................
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


หลวงปู่ทาเคยกล่าวว่า....

ดูอยู่ที่ใจ

รู้อยู่ที่ใจ

:b46: :b47: :b48: :b49:

บุญบาปอยู่ที่ใจ.......

ผมคิดว่าไม่ได้ขึ้นกับคำสวดมนต์ผิดหรือถูก....แม้คุณจะพูดไม่ได้ ท่องไม่ได้เลย


คำสวดมนต์เหมือนเป็นเครื่องเตือนสติให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยเท่านั้น

รักษาจิตให้ดี มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่อยู่ของใจ


:b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


ไกรสร เขียน:
อยากจะถามท่านผู้รู้ว่า :b24:

ถ้าสวดมนต์ผิด ออกเสียงไม่ถูกต้อง หรือ สวดข้าม บางตัว

จะบาปมั้ยครับ หรือว่า คาถา หรือบทสวดมนต์นั้น จะไม่สัมฤทธิ์ผล

ขอบคุณมากครับ :b8:


แล้วผมไม่เคยสวดมนต์ พระพุทธเจ้าก็คงไม่เคยสวดมนต์ จะบาปมั้ยครับ

สวดมนต์ เป็นการทำสมาธิ(สมถะและวิปัสสนา)แบบหนึ่งเท่านั้น สวดมนต์ผิดก็ขาดสตินิดหน่อย จะบาปได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 15:36
โพสต์: 435

ที่อยู่: malaysia

 ข้อมูลส่วนตัว


ใจท่องแต่ไม่ได้ออกปาก มีอานิสงส์กว่า ปากท่องไม่ได้ออกจากใจ
ใจต้องอยู่กับบทสวด ไม่ใช่ปากท่องขึ้นใจ
แต่ใจไปคิดเรื่องต่างๆ
ตั้งสติพิจารณาอักษร หรือคำ หรือความหมาย
หรือตั้งสติรู้ที่ ลมหายใจ หรือ ปากที่กำลังสวด

สวดมนต์ควรจะรู้คำแปล เพื่อจะได้ปัญญา

แม้ยังแปลไม่ออก ใจควรเลื่อมใส ศรัทธา นำ
น้อมจิตใจ สวดบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

สวดรู้คำแปลได้ปัญญา
สวดไม่รู้คำแปลได้ศรัทธา

อานิสงส์จากการสวดมีจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


ไกรสร เขียน:
อยากจะถามท่านผู้รู้ว่า :b24:

ถ้าสวดมนต์ผิด ออกเสียงไม่ถูกต้อง หรือ สวดข้าม บางตัว

จะบาปมั้ยครับ หรือว่า คาถา หรือบทสวดมนต์นั้น จะไม่สัมฤทธิ์ผล

ขอบคุณมากครับ :b8:


สู้ ๆ นะครับ คราวหน้าก็พยายามสวดให้ถูกต้อง
เผื่อระหว่างที่สวดมีเทพ เทวา ท่านมานั่งฟังด้วย
เดี๋ยวท่านจะงงเอา :b12:

:b12: :b12: :b12:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 พ.ค. 2009, 08:58
โพสต์: 32

ที่อยู่: ออสเตรเลีย

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วถ้าสวดแต่คำแปลภาษาไทย ไม่ได้สวดเป็นภาษาบาลีล่ะคะ
วานผู้รู้ชี้แจงหน่อยนะคะ :b3:

.....................................................
พูดดี คิดดี ทำดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 07:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำอะไรพินิจคิดให้ถ้วน
ทุกอย่างล้วนต่างมีทั้งดีชั่ว
ใครทำดีได้ดีเป็นศรีตัว
ใครทำชั่วได้ชั่วติดตัวตนฯ

สวดมนต์ผิดเป็นเรื่องปกติ ผมเคยเห็นพระภิกษุสวดพระพุทธมนต์ยังผิดได้ อย่าคิดมากเครียดเปล่าๆ ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว มองโลกในแง่ดี ใครบ้างทำอะไรไม่เคยผิด...ผิดเป็นครูรู้แก้ไข.... :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่ม 17 หน้า 21

....ใคร ๆ สามารถจะทราบพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งละเอียดอ่อนด้วยนัยต่าง ๆ
เกิดขึ้นด้วยอัธยาศัยอันกว้างขวางสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะมีปฏิหาริย์หลากหลาย
ลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา แลโดยปฏิเวธ
มาสู่โสตประสาท (ประสาทรับรู้ทางหู) ของสัตว์ทั้งปวง โดยสมควรแก่ภาษาของตน ๆ
โดยประการทั้งปวง และทั้งให้เกิดความอยากฟังโดยเต็มกำลัง….

และเล่ม 35 หน้า 62

บทว่า มนสานุเปกฺขิตา ได้แก่ เพ่งด้วยจิต.
พระพุทธวจนะที่ภิกษุใดสาธยายแล้วด้วยวาจา ปรากฏ (ความหมาย) ชัดในที่นั้นๆ
แก่เธอผู้คิดอยู่ด้วยใจ เหมือนรูปปรากฏชัด แก่บุคคลผู้ยืนตามประทีปดวงใหญ่ ฉะนั้น.

บทว่า ทิฏฺฐิยา สุปฺปฏิวิทฺธา ได้แก่ ใช้ปัญญาขบทะลุปรุโปร่ง ทั้งเหตุทั้งผล.


เล่ม 35 หน้า 381

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุทั้งหลายในพระวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาผิดด้วยบทพยัญชนะที่ใช้ผิด
เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ใช้ผิด ย่อมมีนัยอันผิดไปด้วย นี้ธรรมประการที่ ๑
เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป...


ขอยกพระสูตรนี้ให้ผู้ตั้งกระทู้อ่านให้เข้าใจ เพราะพระพุทธองค์สอนแบบนี้ ถ้าท่านคิดว่าจะสวดมนต์แล้วทำให้สติมีขึ้นก็สวดต่อไป แต่เท่าที่ตั้งกระทู้และตอบกันมา ยังหลงลืมหลับผิดเพี้ยนกันอยู่ ก็อ่านพระสูตรนี้อีก 2 พระสูตรนะ

เล่ม 1 หน้า 51

.....ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่
พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือหรือแขน หรือที่อวัยวะน้อยใหญ่
แห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตายหรือความทุกข์ปางตาย ซึ่งมีการกัดนั้นเป็นเหตุ

ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะงูพิษเขาจับไม่ดี แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! โมฆบุรุษ (พวกไร้ประโยชน์) บางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ
อัพภูตธัมมะ เวทัลละ (ชื่อหมวดธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้)

พวกเขาครั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่พิจารณาแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา
ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ควรต่อการเพ่งพินิจแก่พวกเขา ผู้ไม่พิจารณาอรรถด้วยปัญญา

พวกเขาเรียนธรรมมีการโต้แย้งเป็นอานิสงส์
และมีหลักการบ่นเพ้อว่าอย่างนี้เป็นอานิสงส์ (สวดแบบไม่รู้เรื่อง)
และย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรมที่พวกกุลบุตรต้องประสงค์เล่าเรียน
ธรรมเหล่านั้นที่เขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่โมฆบุรุษเหล่านั้น

ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดี
อนึ่ง ปริยัติ (พุทธพจน์อันจะพึงเล่าเรียน) อันบุคคลเรียนดีแล้วคือจำนงอยู่
ซึ่งความบริบูรณ์แห่งคุณมีสีลขันธ์เป็นต้นนั่นแลเรียนแล้ว
ไม่เรียนเพราะเหตุมีความโต้แย้งเป็นต้น ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติมีประโยชน์ที่จะออกจากวัฏฏะ

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนานแก่กุลบุตรเหล่านั้น

ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ดังนี้...



เล่ม 65 หน้า 207

ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ อย่างไร ?
สัตว์ผู้ไปต่ำคือ สัตว์ที่ไปสู่นรก ไปสู่ดิรัจฉานกำเนิด ไปสู่เปรตวิสัย ชื่อว่าไปต่ำ
ผู้ไปต่ำอย่างนี้ จึงชื่อว่า ผู้ตกต่ำ.

สัตว์ที่ไม่เชื่อถือคำ ถ้อยคำ เทศนา
คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ตกต่ำอย่างไร ?
สัตว์ทั้งหลายไม่เชื่อถือ ไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสต (หู) ลงฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้คำ ถ้อยคำ
เทศนาคำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เชื่อฟัง ไม่ทำตามคำ
ประพฤติฝ่าฝืน เบือนหน้าไปทางอื่น สัตว์ที่ไม่เชื่อคำ ถ้อยคำ เทศนา
คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ.

บทว่า อวจนกรา ความว่า
ชื่อว่า ไม่ทำตามคำ เพราะอรรถว่า แม้ฟังอยู่ ก็ไม่ทำตามคำ.

แบบว่าเอ่อ :b6: ......สวดแล้ว :b26: ไม่รู้ความหมาย และไม่ได้นำคำสอน(สวด) นำไปประพฤติปฎิบัติตามคำสั่งสอนให้เกิดประโยชน์กับชีวิตตัวเองและครอบครัวเลย :b23:

การสวดมนต์ที่ปฎิบัติกันทั่วไปนั้น ไม่รู้ว่าสอนกันมาแต่ไหน รู้แต่ว่าภิกษุต้องสวดปฎิโมกข์ทุกกึ่งเดือนเท่านั้นที่ปรากฎในพระสูตรในพระไตรปิฎก ส่วนฆาราวาสใครสอนให้สวดมนต์กันก็ไม่รู้ ใครอ่านพระไตรปิฎกพบว่ามีการสอนให้สวดมนต์ ช่วยยกพระสูตรให้ดูหน่อยนะ แต่จะขอยกพระสูตรนี้บอกกล่าวอีกพระสูตรน่าจะเกี่ยวข้องกับการสวดมนต์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

[๖๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น คำกล่าวล่วงเกินต่อ
หน้าซึ่งไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มี
ความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะ-
ฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แม้คำกล่าวล่วงเกินต่อหน้าซึ่งจริง
แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความ
แค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมี
กิเลสต้องรณรงค์. แต่คำกล่าวล่วงเกินต่อหน้าซึ่งจริง แท้ ประกอบด้วย
ประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มี
ความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้อง
รณรงค์.
[๖๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น คำที่ผู้รีบด่วนพูด นี้
เป็นธรรมมีทุกข์ มิความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความ
ปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แต่คำที่ผู้ไม่รีบ
ด่วนพูด นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.
[๖๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การปรักปรำภาษา
ชนบทและการล่วงเลยคำพูดสามัญ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความ
แค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

กิเลสต้องรณรงค์ แต่การไม่ปรักปรำภาษาชนบท และการไม่ล่วงเลยคำพูด
สามัญ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์


ถ้ายังชอบสวดอยู่ และอยากเกิดปัญญาก็สวดแบบแปล(แนะนำให้ใช้ฉบับของสวนโมกข์)ให้รู้ความหมายพิจารณาใคร่ครวญ ในความหมายนั้นไปด้วย ให้รู้ทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ วิธีการดับทุกข์ ......สำหรับตัวเองเลิกสวดแล้ว เพราะรู้ว่า "บาปหนะน่ากลัว แต่บาปไม่กลัวใคร บาปหนะน่าเกรง แต่บาปไม่เกรงใจใคร และไม่ให้อภัยใครด้วยถ้าไม่กลับตัวเองไม่ทำบาปอีก" และถามตัวเองนะว่าสวดมนต์เพื่ออะไร สวดทำไม สวดแล้วได้อะไร?


แก้ไขล่าสุดโดย nene เมื่อ 23 พ.ค. 2009, 13:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 12:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




1.jpg
1.jpg [ 11.84 KiB | เปิดดู 6049 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

สวัสดีครับ คุณไกรสร และกัลยาณมิตรธรรมทุกท่าน :b8: :b8: :b8:

ขอเข้ามาร่วมแสดงความเห็นครับ :b6: :b6:

ไม่บาปหรอกครับ...

การสวดมนต์ จะทำให้จิตสงบและเป็นกุศล เหมาะแก่การเจริญสติทำสมาธิต่อไป ควรจะสวดมนต์ด้วยใจ สวดช้า ๆ เอาใจจดจ่ออยู่กับบทสวด เป็นการฝึกสติอย่างหนึ่งที่ทำให้จิตสงบได้ เมื่อมีความตั้งมั่น ก็จะสวดไม่ผิดครับ ควรสวดให้มีจังหวะ วรรคตอนพอดี ไม่เร็วหรือช้าเกินไป เสียงดังพอประมาณ จะทำให้เกิดความสบายใจ และถ้าเราเข้าใจความหมาย เนื้อเรื่องของบทสวด แล้วนำไปปฏิบัติ จะทำให้เราได้ประโยชน์จากการสวดมนต์เป็นที่สมบูรณ์ การสวดมนต์ไหว้พระเป็นธรรมประจำชีวิต ควรน้อมจิตคิดถึงคุณของพระรัตนตรัย ทำจิตใจให้ผ่องใส จะเป็นบุญเป็นกุศลยิ่ง เรื่องของจิตกล่าวกันว่าแม้ก่อนจะตาย หากทำจิตใจให้ผ่องใสในด้านของบุญกุศล ก็จะไปสู่สวรรค์ครับ "จิตเต ปาริสุทเธ สุคติ ปาฏิกังขา"

:b43: :b43: :b43:
ประโยชน์ของการไหว้พระสวดมนต์

๑. เป็นมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
๒. เป็นการบำเพ็ญภาวนาอย่างหนึ่ง
๓. ทำให้จิตบังเกิดกุศลได้ง่าย
๔. ทำให้ใจสงบสุขุม
๕. เหมาะสำหรับการเตรียมตัวก่อนปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน
๖. เป็นบุญที่ได้กล่าวคำศักสิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้
๗. สวดมนต์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
๘. เพื่อป้องกันภัยวิบัติ
๙. เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง
๑๐. เพื่อให้ทุกข์ต่าง ๆ หมดไป
๑๑. เป็นการขจัดภัยต่าง ๆ
๑๒. เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยต่าง ๆ

:b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8:



:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: เทวดาไม่ปลื้มกับเสียงสวดมนต์เสมอไปหรอกนะท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 73

๓. เรื่องพระเอกุทานเถระ [๑๙๖]

ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระขีณาสพ
ชื่อว่าเอกุทานเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น ตาวตา ธมฺมธโร"
เป็นต้น
พวกเทวดาให้สาธุแก่เทศนาของพระเถระ
ได้ยินว่า พระเถระนั้น อยู่ในราวไพรแห่งหนึ่งแต่องค์เดียว. อุทาน
ที่ท่านช่ำชองมีอุทานเดียวเท่านั้นว่า:-
"ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิต
มั่นคง ไม่ประมาท เป็นมุนี ศึกษาในทางแห่งโมน-
ปฏิบัติ ผู้คงที่ ระงับแล้ว มีสติทุกเมื่อ."
ได้ยินว่า ในวันอุโบสถ ท่านป่าวร้องการฟังธรรมเอง ย่อมกล่าว
คาถานี้. เสียงเทวดาสาธุการดุจว่าเสียงแผ่นดินทรุด. ครั้นวันอุโบสถวันหนึ่ง
ภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎก ๒ รูป มีบริวารรูปละ ๕๐๐ ได้ไปสู่ที่อยู่ของท่าน.
ท่านพอเห็นภิกษุเหล่านั้น ก็ชื่นใจ กล่าวว่า " ท่านทั้งหลายมาในที่นี้
เป็นอันทำความดีแล้ว, วันนี้ พวกกระผมจักฟังธรรมในสำนักของท่าน
ทั้งหลาย."
พวกภิกษุ. ท่านผู้มีอายุ ก็คนฟังธรรมในที่นี้ มีอยู่หรือ ?
พระเอกุทาน. มี ขอรับ, ราวไพรนี้ มีความบันลือลั่นเป็น
อันเดียวกัน เพราะเสียงเทวดาสาธุการในวันฟังธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 74

พวกเทวดาไม่ให้สาธุการแก่เทศนาของภิกษุ ๒ รูป บรรดาภิกษุ ๒ องค์นั้น พระเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกองค์หนึ่ง
สวดธรรม, องค์หนึ่งกล่าวธรรม. เทวดาแม้องค์หนึ่งก็มิได้ให้สาธุการ.
ภิกษุเหล่านั้น จึงพูดกันว่า " ท่านผู้มีอายุ ท่านกล่าวว่า ' ในวันฟังธรรม
พวกเทวดาในราวไพรนี้ ย่อมให้สาธุการด้วยเสียงดัง,' นี่ชื่ออะไรกัน ?"
พระเอกุทาน. ในวันอื่น ๆ เป็นอย่างนั้น ขอรับ, แต่วันนี้กระผม
ไม่ทราบว่า ' นี่เป็นเรื่องอะไร.'
พวกภิกษุ. ผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงกล่าวธรรมดูก่อน.
ท่านจับพัดวีชนีนั่งบนอาสนะแล้ว กล่าวคาถานั้นนั่นแล. เทวดา
ทั้งหลายได้ให้สาธุการด้วยเสียงอันดัง.
พวกภิกษุติเตียนเทวดา
ครั้งนั้น ภิกษุที่เป็นบริวารของพระเถระทั้งสองยกโทษว่า " เทวดา
ในราวไพรนี้ ให้สาธุการด้วยเห็นแก่หน้ากัน,
เมื่อภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎก
แม้กล่าวอยู่ประมาณเท่านี้, ก็ไม่กล่าวแม้สักว่าความสรรเสริญอะไร ๆ.
เมื่อพระเถระแก่องค์เดียวกล่าวคาถาหนึ่งแล้ว, พากันให้สาธุการด้วยเสียง
อันดัง." ภิกษุเหล่านั้นแม้ไปถึงวิหารแล้ว กราบทูลความนั้นแด่พระ-
ศาสดา.
ลักษณะผู้ทรงธรรมและไม่ทรงธรรม
พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกผู้เรียนมากหรือ
พูดมากว่า ' เป็นผู้ทรงธรรม ' ส่วนผู้ใดเรียนคาถาแม้คาถาเดียวแล้วแทง
ตลอดสัจจะทั้งหลาย, ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม" ดังนี้แล้ว ตรัส
พระคาถานี้ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 75

๓. น ตาวตา ธมฺมขโร ยาวตา พหุ ภาสติ
โย จ อปฺปมฺปิ สุตฺวาน ธมฺม กาเยน ปสฺสติ
ส เว ธมฺมธโร โหติ โย ธมฺม นปฺปมชฺชติ.
บุคคล ไม่ชื่อว่าทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก;
ส่วนบุคคลใด ฟังแม้นิดหน่อย ย่อมเห็นธรรมด้วย
นามกาย, บุคคลใด ไม่ประมาทธรรม, บุคคลนั้นแล
เป็นผู้ทรงธรรม."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา เป็นต้น ความว่า บุคคลไม่
ชื่อว่าผู้ทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก ด้วยเหตุมีการเรียน และการ
ทรงจำและบอกเป็นต้น. แต่ชื่อว่าตามรักษาวงศ์ รักษาประเพณี.
บทว่า อปฺปมฺปิ เป็นต้น ความว่า ส่วนผู้ใดฟังธรรมแม้มีประมาณ
น้อย อาศัยธรรมะ อาศัยอรรถะ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
กำหนดรู้สัจจะมีทุกข์เป็นต้น ชื่อว่าย่อมเห็นสัจธรรม ๔ ด้วยนามกาย.
ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม.
บาทพระคาถาว่า โย ธมฺม นปฺปมชฺชติ ความว่า แม้ผู้ใดเป็นผู้มี
ความเพียรปรารภแล้ว หวังการแทงตลอดอยู่ว่า " (เราจักแทงตลอด)
ในวันนี้ ๆ แล" ชื่อว่าย่อมไม่ประมาทธรรม, แม้ผู้นี้ก็ชื่อว่าผู้ทรงธรรม
เหมือนกัน.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระเอกุทานเถระ จบ.

ขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณาในเรื่องของการสวดมนต์ และหาอ่านหลายพระสูตร ว่าการสวดมนต์มีประโยชน์ มีโทษอย่างไรบ้าง เบียดเบียนใครบ้าง แต่ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 329 นั้นได้กล่าวไว้ชัดเจนแล้ว และในการสวดภาษาบาลีที่นิยมสวดปริตรตามบ้านเรือนนั้น ก็คงไม่ใช่อีกเหมือนกันเพราะที่บ้านเรือนคนไม่ใช่เขตของสงฆ์ แล้วอ่านพระสูตรนี้อีกพระสูตรนะจะได้เข้าใจมากขึ้นว่าการสวดมนต์ของปุถุชนนั้นดีหรือไม่ดีอย่างไร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

อาการะ นิทัสสนะ อวธารณะ ใน ๓ อย่างนั้น พระอานนท์แสดงความ
นี้ด้วย เอว ศัพท์ ซึ่งมีอาการะเป็นอรรถว่า ใคร ๆ สามารถจะทราบ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งละเอียดอ่อนด้วยนัย
ต่าง ๆ เกิดขึ้นด้วยอัธยาศัยอันกว้างขวางสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะมี
ปฏิหาริย์หลากหลาย ลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา แล
โดยปฏิเวธ [color=#FF0000]มาสู่โสตประสาทของสัตว์ทั้งปวง โดยสมควรแก่ภาษาของ
ตน ๆ โดยประการทั้งปวง และทั้งให้เกิดความอยากฟังโดยเต็มกำลัง
ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วด้วยอาการ
อย่างหนึ่ง. พระอานนทเถระเมื่อจะออกตัวด้วยอรรถว่า ชี้แจงว่า ข้าพเจ้า
ไม่ใช่สยัมภู สูตรนี้ข้าพเจ้าไม่ได้ทำให้แจ้ง จึงแสดงสูตรทั้งสิ้นที่จะต้อง
กล่าวในบัดนี้ว่า ข้าพเจ้าได้ฟังอย่างนี้ คือว่า แม้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
อย่างนี้. พระอานนทเถระเมื่อจะแสดงกำลัง คือความทรงจำของตนที่
สมควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญอย่างนี้ว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราที่ทรงพหูสูต คืออานนท์ [/color]บรรดา
อุปัฏฐาก ที่มีคติ มีสติ มีธิติ คืออานนท์ และที่พระธรรมเสนาบดีสรรเสริญ
อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ฉลาดในอรรถ ในธรรม ในพยัญชนะ ในภาษา
และในอักษร เบื้องต้นและเบื้องปลาย ยังสัตว์ทั้งหลายเกิดความอยากฟัง
ด้วยอรรถว่า อวธารณะ ว่าข้าพเจ้าได้ฟังมาเท่านี้ และสูตรนั้นแล ไม่
ยิ่งไม่หย่อน โดยอรรถหรือพยัญชนะ พึงเห็นว่าอย่างนี้เท่านั้น ไม่พึงเห็น
เป็นอย่างอื่น ดังนี้.

:b8: ไม่ได้มาคัดค้านแต่เข้าเพื่อความถูกต้องของธรรมวินัย :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2009, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


nene เขียน:
:b8: เทวดาไม่ปลื้มกับเสียงสวดมนต์เสมอไปหรอกนะท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 73

๓. เรื่องพระเอกุทานเถระ [๑๙๖]

ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระขีณาสพ
ชื่อว่าเอกุทานเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น ตาวตา ธมฺมธโร"
เป็นต้น
พวกเทวดาให้สาธุแก่เทศนาของพระเถระ
ได้ยินว่า พระเถระนั้น อยู่ในราวไพรแห่งหนึ่งแต่องค์เดียว. อุทาน
ที่ท่านช่ำชองมีอุทานเดียวเท่านั้นว่า:-
"ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิต
มั่นคง ไม่ประมาท เป็นมุนี ศึกษาในทางแห่งโมน-
ปฏิบัติ ผู้คงที่ ระงับแล้ว มีสติทุกเมื่อ."
ได้ยินว่า ในวันอุโบสถ ท่านป่าวร้องการฟังธรรมเอง ย่อมกล่าว
คาถานี้. เสียงเทวดาสาธุการดุจว่าเสียงแผ่นดินทรุด. ครั้นวันอุโบสถวันหนึ่ง
ภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎก ๒ รูป มีบริวารรูปละ ๕๐๐ ได้ไปสู่ที่อยู่ของท่าน.
ท่านพอเห็นภิกษุเหล่านั้น ก็ชื่นใจ กล่าวว่า " ท่านทั้งหลายมาในที่นี้
เป็นอันทำความดีแล้ว, วันนี้ พวกกระผมจักฟังธรรมในสำนักของท่าน
ทั้งหลาย."
พวกภิกษุ. ท่านผู้มีอายุ ก็คนฟังธรรมในที่นี้ มีอยู่หรือ ?
พระเอกุทาน. มี ขอรับ, ราวไพรนี้ มีความบันลือลั่นเป็น
อันเดียวกัน เพราะเสียงเทวดาสาธุการในวันฟังธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 74

พวกเทวดาไม่ให้สาธุการแก่เทศนาของภิกษุ ๒ รูป บรรดาภิกษุ ๒ องค์นั้น พระเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกองค์หนึ่ง
สวดธรรม, องค์หนึ่งกล่าวธรรม. เทวดาแม้องค์หนึ่งก็มิได้ให้สาธุการ.
ภิกษุเหล่านั้น จึงพูดกันว่า " ท่านผู้มีอายุ ท่านกล่าวว่า ' ในวันฟังธรรม
พวกเทวดาในราวไพรนี้ ย่อมให้สาธุการด้วยเสียงดัง,' นี่ชื่ออะไรกัน ?"
พระเอกุทาน. ในวันอื่น ๆ เป็นอย่างนั้น ขอรับ, แต่วันนี้กระผม
ไม่ทราบว่า ' นี่เป็นเรื่องอะไร.'
พวกภิกษุ. ผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงกล่าวธรรมดูก่อน.
ท่านจับพัดวีชนีนั่งบนอาสนะแล้ว กล่าวคาถานั้นนั่นแล. เทวดา
ทั้งหลายได้ให้สาธุการด้วยเสียงอันดัง.
พวกภิกษุติเตียนเทวดา
ครั้งนั้น ภิกษุที่เป็นบริวารของพระเถระทั้งสองยกโทษว่า " เทวดา
ในราวไพรนี้ ให้สาธุการด้วยเห็นแก่หน้ากัน,
เมื่อภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎก
แม้กล่าวอยู่ประมาณเท่านี้, ก็ไม่กล่าวแม้สักว่าความสรรเสริญอะไร ๆ.
เมื่อพระเถระแก่องค์เดียวกล่าวคาถาหนึ่งแล้ว, พากันให้สาธุการด้วยเสียง
อันดัง." ภิกษุเหล่านั้นแม้ไปถึงวิหารแล้ว กราบทูลความนั้นแด่พระ-
ศาสดา.
ลักษณะผู้ทรงธรรมและไม่ทรงธรรม
พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกผู้เรียนมากหรือ
พูดมากว่า ' เป็นผู้ทรงธรรม ' ส่วนผู้ใดเรียนคาถาแม้คาถาเดียวแล้วแทง
ตลอดสัจจะทั้งหลาย, ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม" ดังนี้แล้ว ตรัส
พระคาถานี้ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 75

๓. น ตาวตา ธมฺมขโร ยาวตา พหุ ภาสติ
โย จ อปฺปมฺปิ สุตฺวาน ธมฺม กาเยน ปสฺสติ
ส เว ธมฺมธโร โหติ โย ธมฺม นปฺปมชฺชติ.
บุคคล ไม่ชื่อว่าทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก;
ส่วนบุคคลใด ฟังแม้นิดหน่อย ย่อมเห็นธรรมด้วย
นามกาย, บุคคลใด ไม่ประมาทธรรม, บุคคลนั้นแล
เป็นผู้ทรงธรรม."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา เป็นต้น ความว่า บุคคลไม่
ชื่อว่าผู้ทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก ด้วยเหตุมีการเรียน และการ
ทรงจำและบอกเป็นต้น. แต่ชื่อว่าตามรักษาวงศ์ รักษาประเพณี.
บทว่า อปฺปมฺปิ เป็นต้น ความว่า ส่วนผู้ใดฟังธรรมแม้มีประมาณ
น้อย อาศัยธรรมะ อาศัยอรรถะ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
กำหนดรู้สัจจะมีทุกข์เป็นต้น ชื่อว่าย่อมเห็นสัจธรรม ๔ ด้วยนามกาย.
ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม.
บาทพระคาถาว่า โย ธมฺม นปฺปมชฺชติ ความว่า แม้ผู้ใดเป็นผู้มี
ความเพียรปรารภแล้ว หวังการแทงตลอดอยู่ว่า " (เราจักแทงตลอด)
ในวันนี้ ๆ แล" ชื่อว่าย่อมไม่ประมาทธรรม, แม้ผู้นี้ก็ชื่อว่าผู้ทรงธรรม
เหมือนกัน.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระเอกุทานเถระ จบ.

ขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณาในเรื่องของการสวดมนต์ และหาอ่านหลายพระสูตร ว่าการสวดมนต์มีประโยชน์ มีโทษอย่างไรบ้าง เบียดเบียนใครบ้าง แต่ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 329 นั้นได้กล่าวไว้ชัดเจนแล้ว และในการสวดภาษาบาลีที่นิยมสวดปริตรตามบ้านเรือนนั้น ก็คงไม่ใช่อีกเหมือนกันเพราะที่บ้านเรือนคนไม่ใช่เขตของสงฆ์ แล้วอ่านพระสูตรนี้อีกพระสูตรนะจะได้เข้าใจมากขึ้นว่าการสวดมนต์ของปุถุชนนั้นดีหรือไม่ดีอย่างไร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

อาการะ นิทัสสนะ อวธารณะ ใน ๓ อย่างนั้น พระอานนท์แสดงความ
นี้ด้วย เอว ศัพท์ ซึ่งมีอาการะเป็นอรรถว่า ใคร ๆ สามารถจะทราบ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งละเอียดอ่อนด้วยนัย
ต่าง ๆ เกิดขึ้นด้วยอัธยาศัยอันกว้างขวางสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะมี
ปฏิหาริย์หลากหลาย ลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา แล
โดยปฏิเวธ [color=#FF0000]มาสู่โสตประสาทของสัตว์ทั้งปวง โดยสมควรแก่ภาษาของ
ตน ๆ โดยประการทั้งปวง และทั้งให้เกิดความอยากฟังโดยเต็มกำลัง
ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วด้วยอาการ
อย่างหนึ่ง. พระอานนทเถระเมื่อจะออกตัวด้วยอรรถว่า ชี้แจงว่า ข้าพเจ้า
ไม่ใช่สยัมภู สูตรนี้ข้าพเจ้าไม่ได้ทำให้แจ้ง จึงแสดงสูตรทั้งสิ้นที่จะต้อง
กล่าวในบัดนี้ว่า ข้าพเจ้าได้ฟังอย่างนี้ คือว่า แม้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
อย่างนี้. พระอานนทเถระเมื่อจะแสดงกำลัง คือความทรงจำของตนที่
สมควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญอย่างนี้ว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราที่ทรงพหูสูต คืออานนท์ [/color]บรรดา
อุปัฏฐาก ที่มีคติ มีสติ มีธิติ คืออานนท์ และที่พระธรรมเสนาบดีสรรเสริญ
อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ฉลาดในอรรถ ในธรรม ในพยัญชนะ ในภาษา
และในอักษร เบื้องต้นและเบื้องปลาย ยังสัตว์ทั้งหลายเกิดความอยากฟัง
ด้วยอรรถว่า อวธารณะ ว่าข้าพเจ้าได้ฟังมาเท่านี้ และสูตรนั้นแล ไม่
ยิ่งไม่หย่อน โดยอรรถหรือพยัญชนะ พึงเห็นว่าอย่างนี้เท่านั้น ไม่พึงเห็น
เป็นอย่างอื่น ดังนี้.

:b8: ไม่ได้มาคัดค้านแต่เข้าเพื่อความถูกต้องของธรรมวินัย :b32:

ขอขอบคุณท่าน ที่ได้เมตตาชี้แนะ :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร