วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
ขาดอะไรเพียง ๑ ไม่ถึง ๕


ตอบว่า ขาดปัญญาไป 1 จะไม่ถึง 5 ครับ

489 อินทรีย์ ๕ อย่างไหนสำคัญที่สุด

ปัญหา ในบรรดาอินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อย่างไหนสำคัญที่สุด ?

พุทธดำรัสตอบ

“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนยอดเมื่อขายังไม่ได้ยกยอดขึ้น กลอนเรือนก็ยังถือว่ามั่นคงไม่ได้ เมื่อใดเขายกยอดขึ้นแล้ว เมื่อนั้นกลอนเรือนจึงถือได้ว่ามั่นคงฉันใด อริยญาณยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ก็ยังไม่ตั้งมั่นคงลงเพียงนั้น เมื่อใดอริยญาณเกิดขึ้นแล้วแก่อริยสาวกเมื่อนั้นอินทรีย์ก็ตั้งมั่นลงฉันนั้นเหมือนกัน

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ อันไปตามปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญาย่อมตั้งมั่น


มัลลกสูตร มหา. สํ. (๑๐๒๙ )
ตบ. ๑๙ : ๓๐๒ ตท. ๑๙ : ๒๘๕
ตอ. K.S. ๕ : ๒๐๓-๒๐๔


นั่นคือคนเราถ้าเกิดมาขาดปัญญาเสียแล้ว หมายถึงเป็นผู้มีปัญญาสัมมาทิฏฐิ(มรรคข้อแรก)
ย่อมไม่เกิดศรัทธาหรือความเชื่ออย่างมีเหตุผลทางพุทธศาสนาได้เลย กัลยาณมิตรมาแนะนำก็ไม่เชื่อ
หรือไม่เกิดโยนิโสมนสิการขึ้นมา ธรรมต่างๆก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าจะจัดศรัทธาให้ลงอยู่ในมรรคข้อแรกก็ย่อมได้นั่นเอง.....


:b48: :b48: :b48:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


มี 1 ได้ถึง 5

สัทธาสูตร

ว่าด้วยศรัทธาของพระอริยสาวก

[๑๐๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคะชื่ออาปณะ ในแคว้นอังคะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้วตรัสว่า ดูกรสารีบุตร อริยสาวกผู้ใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสยิ่งในพระตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัยในตถาคต หรือในศาสนาของตถาคต.


[๑๐๑๑] พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกใด มีศรัทธามั่น เลื่อมใสยิ่ง ในพระตถาคต อริยสาวกนั้น ไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.

[พระสาวกผู้มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธเจ้า และศรัทธาในธรรม ย่อมปรารภความเพียรเพื่อละกิเลส เพียรสร้างสมกุศลธรรมให้เกิดขึ้น เรียกว่าภิกษุนั้นมีวิริยินทรีย์]


[๑๐๑๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึง กิจที่ทำและคำพูดแม้นานได้.

[ภิกษุมีความเพียรเพราะเริ่มจากศรัทธา เมื่อปรารภความเพียรแล้วย่อมมีสติเป็นเครื่องรักษาตน ระลึกได้ถึงกรรมทั้งหลายที่ตนกระทำทั้งทางกายและทางวาจา เรียกว่าภิกษุนั้นมีสตินทรีย์]

[๑๐๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต.

[ภิกษุมีสติระลึกได้ถึงกุศลธรรมอันตนได้มีศรัทธาและปรารภความเพียรไว้แล้ว ย่อมมีนิพพานเป็นอารมณ์ แน่วแน่ต่อความหลุดพ้น ได้สมาธิ เรียกว่าภิกษุมีสมาธินทรีย์]

[๑๐๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืดคืออวิชชา นั้นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีตคือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน.


[เมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นโดยชอบย่อมสามารถเจริญเละอบรมปัญญา อาศัยปัญญานั้นทำลายกิเลสและอวิชชาทั้งหลาย กระทำซึ่งอริยผล เรียกว่าภิกษุมีปัญญินทรีย์]

[๑๐๑๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นแล พยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้วนั่นเอง เหตุนั้น บัดนี้ เราถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.


[ปัญญินทรีย์นี้ภิกษุได้มาเพราะมีศรัทธาในพระผู้มีพระภาค แล้วปรารภความเพียร ระลึกได้ซึ่งกายกรรมและวจีกรรมที่ทำแม้จะผ่านมานาน ย่อมมีจิตตั้งมั่นในพระนิพพาน เกิดปัญญาทำลายกิเลส ครั้นมีสัมมาญาณะแล้วก็ทราบว่าความรู้ วิชชาที่มีเพราะญาณนี้นั้นก็คือพระธรรมที่ตนเคยมีศรัทธามาแต่ก่อนนี้เอง บัดนี้ตนทราบแน่ชัดแล้ว มีความศรัทธาแน่ชัดไม่คลอนแคลน เรียกว่าภิกษุมีสัทธินทรีย์นั้นเอง]

[๑๐๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ศรัทธาของอริยสาวก เป็นสัทธินทรีย์ ดังนี้แล.

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมสวัสดีค่ะ..ทุกท่าน :b8:

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นบ้างนะคะ...

หากผิดถูกประการใด ขออภัยไว้ด้วยนะคะ :b8:

ขอเชิญทุกท่านร่วมวินิจฉัยได้เลยค่ะ

:b43: :b43: :b43:

แบ่งเป็น ๒ คำตอบนะคะ

อ้างคำพูด:
มีอะไรเพียง ๑ ได้ถึง ๕


ตอบ : ศรัทธา ค่ะ

ศรัทธา คือ ความเชื่อ
ที่เป็นบาทฐานเริ่มต้นและสำคัญในการประพฤติปฏิบัติธรรม
หากมี ศรัทธา เป็นจุดเริ่มต้น


เช่น เชื่อว่ากรรมมีจริง เชื่อผลของกรรม
เชื่อว่าเรามีกรรมเป็นของๆตน
เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ว่ามีการตรัสรู้ได้จริง

และมนุษย์เราสามารถฝึกตนได้
จนกลายเป็นผู้เป็นผู้ประเสริฐสุด เหนือ เทพ พรหม
ก็จะทำให้เรามีจะอินทรัย์ตัวอื่นๆ ก็จะตามมาได้ไม่ยาก

อ้างคำพูด:
ขาดอะไรเพียง ๑ ไม่ถึง ๕


ตอบ : วิริยะ ค่ะ

เพราะหากขาด วิริยะ หรือ ความพากเพียร ไปเพียงตัวเดียว

ก็จะไม่มีความพยายามในการทำกุศล ละกุศล
ไม่มีความเพียรในการละบาปอันยังไม่เกิดไม่ให้มันเกิดขึ้น
ไม่มีความเพียรในการละบาปที่เกิดขึ้นแล้วให้ออกไปจากจิตใจ
ไม่มีความเพียรในกุศลอันใดที่เจริญขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเพียรในการเจริญตั้งสติ
เพียรเดินจงกรม นั่งกรรมฐาน

เพราะหากขาด วิริยะ คือ ความเพียร เพียงประการเดียว
ก็จะไม่สามารถประสบความสำเร็จ
ไม่สามารถไปให้ถึงซึ่งการเกิด ปัญญาญาณ ได้น่ะค่ะ


อย่างไรก็ตาม อินทรีย์ ๕ ทุกตัวย่อมเกื้อหนุนกันไปตามลำดับ
และไม่สามารถขาดซึ่งตัวใดตัวหนึ่งไปได้เลยค่ะ


ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
:b8:

:b43: :b43: :b43:

และด้วยการอบรมอินทรีย์ ๕ หรือพละ ๕ ให้แก่กล้าขึ้น
ขอจงเป็นพลวปัจจัยให้ทุกท่านเจริญก้าวหน้าในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
ตราบจนถึงซึ่ง "พระนิพพาน" ด้วยเทอญ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 23:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


บ้าจี้กันจริงๆ


รู้จักคำว่าอนัตตากันไหมเด็กๆ
สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ
ธรรมทั้งปวงเป้นอนัตตา

หลวงตาบัวถวายวิสัจนาในหลวงเรื่องนิพพาน ใจความสรุปที่จำมาได้ว่า
นิพพานก็เหมือนวัดป่าบ้านตาดนั่นแหละ
จิ้มไปตรงไหนมันก้ไม่ใช่วัดป่าบ้านตาด
ชี้ลงไปที่ศาลาแล้วว่าเป้นวัดป่าบ้านตาดก็ไม่ได้
จะมาชี้ว่ากุฏิเป็นวัดป่าบ้านตาดก็ไม่ได้
ชี้ลงตรงไหนก้ไม่เป็นวัดป่าบ้านตาดทั้งนั้น
แต่ทั้งหมดนี่แหละ วัดป่าบ้านตาด
...........


ธรรมะนี้จะมาแยกออกว่าอะไรสำคัญ ไม่ได้ทั้งนั้น
มันเป็นเหตุและผลจากเหตุ ตามหลักอริยสัจ
มีสิ่งหนึ่งเป้นเหตุ จึงมีอีกสิ่งหนึ่งเป็นผล
จะมาบอกว่าผลสำคัญหว่าเหตุก็ไม่ได้
จะมาบอกว่าเหตุสำคัญกว่าผลก้ไม่ได้

เหมือนถามว่าไก่กับไข่ อะไรสำคัญกว่า

มีไข่จึงมีไก่ มีไก่จึงมีไข่ ง่ายๆแค่นั้นเอง
คิดยากให้หัวล้านฟรีๆทำไม

อะไรจะเกิดก่อนหลัง ช่างหัวมัน ปล่อยมันตามธรรมชาติ
ถ้ามันเป้นธรรมชาติ อะไรก็ดัดแปลงไม่ได้
มันเป้นของมันอย่างนั้นเอง


.........

จับศิรัสพลใส่สีเทาเลยเด็กๆ
หมั่นไส้มานาน จะมาแย่งเรทติ้ง ทำฉลาดกว่าเรา เราไม่ยอม
:b28:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ชาติสยาม เขียน:
บ้าจี้กันจริงๆ


รู้จักคำว่าอนัตตากันไหมเด็กๆ
สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ
ธรรมทั้งปวงเป้นอนัตตา

หลวงตาบัวถวายวิสัจนาในหลวงเรื่องนิพพาน ใจความสรุปที่จำมาได้ว่า
นิพพานก็เหมือนวัดป่าบ้านตาดนั่นแหละ
จิ้มไปตรงไหนมันก้ไม่ใช่วัดป่าบ้านตาด
ชี้ลงไปที่ศาลาแล้วว่าเป้นวัดป่าบ้านตาดก็ไม่ได้
จะมาชี้ว่ากุฏิเป็นวัดป่าบ้านตาดก็ไม่ได้
ชี้ลงตรงไหนก้ไม่เป็นวัดป่าบ้านตาดทั้งนั้น
แต่ทั้งหมดนี่แหละ วัดป่าบ้านตาด
...........


ธรรมะนี้จะมาแยกออกว่าอะไรสำคัญ ไม่ได้ทั้งนั้น
มันเป็นเหตุและผลจากเหตุ ตามหลักอริยสัจ
มีสิ่งหนึ่งเป้นเหตุ จึงมีอีกสิ่งหนึ่งเป็นผล
จะมาบอกว่าผลสำคัญหว่าเหตุก็ไม่ได้
จะมาบอกว่าเหตุสำคัญกว่าผลก้ไม่ได้

เหมือนถามว่าไก่กับไข่ อะไรสำคัญกว่า


:b43: :b43: :b43:

"ผู้ใหญ่" ท่านท้วงมาอย่างมีเหตุมีผล...น่าสนใจแล้วค่ะ
กรุณาวินิจฉัยกันหน่อยนะคะ... "เด็กๆ "


โบราณว่า..."เดินตามผู้ใหญ่...สุนัขไม่กัด" นะคะ

แต่ว่า "ผู้ใหญ่" จะโดนกัดรึเปล่า..
.อันนี้มิอาจทราบได้เลย...ค่ะ
หากเราเดินไม่ระวัง เพราะตั้งอยู่ในความประมาท!?!

:b32: :b12: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 02:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


โปรดติดตามเรื่อง อินทรีย์ ๕ จากธรรมบรรยายบทนี้ได้ค่ะ :b8:

:b43: :b43: :b43:

การปรับอินทรีย์ให้สมดุลย์ : พระครูเกษมธรรมทัต :b8:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=22820


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ธรรมะนี้จะมาแยกออกว่าอะไรสำคัญ ไม่ได้ทั้งนั้น
มันเป็นเหตุและผลจากเหตุ ตามหลักอริยสัจ
มีสิ่งหนึ่งเป้นเหตุ จึงมีอีกสิ่งหนึ่งเป็นผล
จะมาบอกว่าผลสำคัญหว่าเหตุก็ไม่ได้
จะมาบอกว่าเหตุสำคัญกว่าผลก้ไม่ได้

เหมือนถามว่าไก่กับไข่ อะไรสำคัญกว่า

มีไข่จึงมีไก่ มีไก่จึงมีไข่ ง่ายๆแค่นั้นเอง
คิดยากให้หัวล้านฟรีๆทำไม

อะไรจะเกิดก่อนหลัง ช่างหัวมัน ปล่อยมันตามธรรมชาติ
ถ้ามันเป้นธรรมชาติ อะไรก็ดัดแปลงไม่ได้
มันเป้นของมันอย่างนั้นเอง


:b6: :b6: :b6:
คำถามนี้มาเป็นของแสลงของพระเอกไปได้อย่างไรเนี่ย.... :b32: :b32:
สัพเพธัมมาอนัตตาติครับ....คำถามนี้ก็เช่นกันครับ เป็นอนัตตา :b8:
อ้างคำพูด:
จับศิรัสพลใส่สีเทาเลยเด็กๆ
หมั่นไส้มานาน จะมาแย่งเรทติ้ง ทำฉลาดกว่าเรา เราไม่ยอม

:b2: :b2: :b32: :b32: :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกๆ คำตอบเลยนะครับ

มีทั้งตอบทั้งแบบสั้นแต่เฉียบคม และมีทั้งตอบแบบยาวเปี่ยมด้วยเหตุผลเลยครับ และมีทั้งแวกแนวด้วยครับ :b16:

ขอบคุณคุณคามินธรรม คนพิเศษสำหรับผมเลยที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นนะครับ

ก่อนจะไปเรื่องตรงไหนก็นิพพาน ก็ต้องผ่านเรื่องตรงไหนก็อินทรีย์ห้าให้ได้ก่อนน่ะครับ

- - - - - - - - - -
กระทู้นี้คำถามที่ถามไปเป็นคำถามแรกน่ะครับ ผมจะมาเฉลยวันจันทร์ 08 มิถุนายน 2552 ครับ ยังมีอะไรให้ร่วมบันเทิงธรรมอีก คิดเสียว่าเป็นสื่อสร้างกุศลธรรมมีความปราโมทย์ เป็นต้น โปรดติดต่อกันต่อไปด้วยนะครับ

เข้ามาตอบเพิ่มเติมกันอีกได้นะครับ ตอบแล้วตอบอีกก็ได้ครับ

ขอให้เจริญในธรรมทุกท่านครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบอกใบ้เพิ่มเติมให้น่ะครับว่าคำถามนั้นแยกออกเป็น ๒ คำถามย่อยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนที่จะตอบคำถามคุณ ผมคงต้องทบทวนความหมายของอินทรีย์แต่ละตัวอีกครั้ง
เพราะห่างร้างตำราไปนาน จำได้แค่พอเลือนๆ ว่า

อินทรีย์5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

ศรัทธินทรีย์คือ................ความเป็นพระโสดาบัน
วิริยินทรีย์คือ...................สัมมัปประธาน4
สตินทรีย์คือ....................สติปัฏฐาน4
สมาธินทรีย์คือ.................ฌาณ4
ปัญญินทรีย์คือ..................ความรู้ในอริยสัจจ์4

หากอินทรีย์5 มีความหมายตามที่นำมาแสดง
ผมก็ขอตอบคำถามคุณ ดังนี้ครับ

ที่ว่ามีอะไร เพียง1 ได้ถึง5 ผมคิดว่ามีสองคำตอบ

คำตอบแรก
มีปัญญินทรีย์ คือความรู้ในอริยสัจจ์4 สมบูรณ์
อินทรีย์ ทั้ง4 ตัวที่เหลือจะสมบูรณ์ตามมา เพราะนั่นคือภาวะเดียวที่แสดงถึง
ความสมบูรณ์แห่งวิชชา และสิ้นสุดการศึกษาในพรหมจรรย์

คำตอบที่สองคือ........มีสตินทรีย์สมบูรณ์ ปัญญินทรีย์จะสมบูร์ตามกันขึ้นมาด้วยทันที
เพราะเป็นผลปฏิกิริยาต่อเนื่อง ที่ส่งต่อถึงกันและกันโดยตรง ในภาวะนี้
ก็เป็นภาวะเดียวกัน ซึ่งอินทรีย์ทั้ง5 จะมีขึ้นโดยสมบูรณ์ รวมกันเป็นหนึ่ง

ส่วนอินทรีย์ตัวอื่นๆ เช่นศรัทธา ถึงแม้จะสามารถอบรมทำให้มี
จนถึงพร้อมในระดับพระโสดาบัน..........ก็ยังอีกมากที่โสดาบันไม่สามารถ
ทำให้สติปัฏฐาน4สมบูรณ์ ไม่สามารถทำให้ฌาณ4 สมบูรณ์ขึ้นมาพร้อมกับ
การเป็นโสดาบันผู้ซึ่งมีศรัทธาอันเต็มเปี่ยม แต่โสดาบันผู้มีศรัทธาเต็มเปี่ยม
แล้วนั้น ต้องไปอบรมปฏิบัติต่อ ความสมบูรณ์ของอินทรีย์ตัวอื่นๆจึงค่อยสมบูรณ์
ตามกันขึ้นมาในภายหลัง

สมาธินทรีย์ ก็มีอยู่มากที่ผู้เจริญภาวนา สามารถกระทำให้มีฌาณ4เกิดขึ้นได้
แต่เมื่อมีแล้ว อินทรีย์ตัวอื่นๆก็ยังไม่ได้ถึงพร้อมตามกันขึ้นมาด้วยในทันที
เขาต้องมีการกระทำต่อ ให้ถูกลักษณะ อินทรีย์ที่เหลืออีก4ตัวจึงมีได้ในภายหลัง

วิริยินทรีย์เป็นส่วนแ่ห่งศีลที่สมบูรณ์แบบ และเป็นพลังเร่งเร้า ขับเคลื่อน
ให้การอบรม ศีล สติ สมาธิ ปัญญา สมบูรณ์ขึ้นมา
โดยแท้จริงแล้ว วิริยินทรีย์ คือตัวช่วย หรือตัวสนับสนุนให้มีการ
เจริญสติมากๆ สมาธิมากๆ ปัญญามากๆ และสำรวมในศีลมากๆ

วิริยินทรีย์ก็เป็นสิ่งที่สามารถอบรมให้มีจนเต็มเปี่ยมได้ก่อน ก่อนที่คุณธรรมตัวอื่นๆ
จะค่อยๆบริบูรณ์ ตามกันขึ้นมาเช่นกัน วิริยินทรีย์เปรียบเหมือนพลังแรงขับเคลื่อนที่เต็มสูบ

บุคคลสามารถที่จะมีพลังแรงขับเคลื่อนที่เต็มสูบได้ก่อน บนตลอดระยะเส้นทางของการภาวนา
แล้วการขับเคลื่อนไปอย่างเต็มสูบนั้น จะค่อยๆสร้างอินทรีย์อื่นๆให้เติมเต็มเข้ามาในภายหลัง
ไม่ใช่ว่าความเพียรจะเกิดขึ้นมาเพียงชั่ววูบของขณะจิต แล้วสามารถทำให้อินทรีย์อื่นๆเต็มตาม
กันขึ้นมาในทันที แต่ความเพียรนั้น จะต้องเอาไปตั้งไว้ในการอบรมสติ
สมาธิ ปัญญา และตลอดการบ่มสร้างสติ สมาธิ ปัญญา ให้ก่อเกิดขึ้นมาอย่างได้ผล
ต้องมีวิริยินทรีย์ที่สมบูรณ์ ตั้งแต่วินาทีแรกของการปฏิบัติ ไปจนตลอดเส้นทางการปฏิบัติ
อินทรีย์ที่เหลือจึงค่อยๆเต็มตามกันขึ้นมาได้

ที่ถามว่า ขาดอะไรเพียง 1 ไม่ถึง 5

ขอตอบว่า ขาดแค่ตัวใดตัวหนึ่ง จะเป็นตัวไหนก็ได้
ถ้าขาดแล้ว ก็ไม่ถึง5 ด้วยกันทั้งนั้น

เพราะคำว่าขาด หมายถึงมันหายไป
เมื่อหายไป 1 มันก็ต้องเหลือไม่ถึง5 ตามธรรมดาของมันอยู่แล้ว

ขอร่วมแสดงความโง่เขลา อวดเหล่าบัณฑิต แต่เพียงเท่านี้ ครับกระผม


:b15: :b15: :b15: :b15: :b15:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 08:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับทุกๆ คำตอบและความเห็นครับ :b8:

ขอโทษทุกท่านด้วยครับ ที่เข้ามาตอบช้าไป ไม่ได้มีเจตนาผิดสัจจะแต่อย่างไร จะเข้ามาตอบให้แล้วตอนเย็นวันจันทร์แต่ปรากฏว่าอินเตอร์เน็ตที่พักเสีย เขาบอกว่าต้องรอน่ะครับ เลยทำให้ต้องมาตอบเอาวันนี้

แต่เมื่อมาแล้วขอเฉลยคำถามที่ถามเอาไว้ ซึ่งคำถามต่างๆ นั้นผมตั้งขึ้นมาจากเนื้อหาที่ได้อ่านจากหนังสือพุทธธรรมของท่านพระพรหมคุณาพร ป.อ.ปยุตฺโต ครับ ดังนั้นผมจะนำเนื้อหาในหนังสือของท่านมาตอบให้ทราบแบ่งตามข้อคำถาม ดังนี้


****************************
มีอะไรเพียง ๑ ได้ถึง ๕
****************************

คำถามข้อนี้ เป็นคำถามที่มองจากข้างนอกเข้ามาข้างในครับ หรือมองในแง่ของพัฒนาการที่เกิดขึ้นและทยอยกันเกิดขึ้นนั่นเอง ดังนั้นคำตอบในข้อนี้ได้แก่ "ศรัทธา" ...
- - - - - - - - - - -
มีพุทธพจน์รับรองคำกล่าวของพระสารีบุตรว่า อินทรีย์ ๕ อย่างนี้ส่งผลเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน กล่าวคือ ศรัทธาทำให้เกิดความเพียร ความเพียรช่วยให้มีสติมั่นคง เมื่อสติมั่นคงแล้ว กำหนดอารมณ์ก็จะได้สมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจมองเห็นซึ้งถึงโทษของอวิชชาตัณหาที่เป็นเหตุแห่งสังสารวัฏ มองเห็นคุณค่าของนิพพาน ซึ่งเป็นภาวะปราศจากความมืดแห่งอวิชชาและความทุรนทุรายแห่งตัณหา สงบประณีตดีเยี่ยม ครั้นเมื่อรู้ชัดเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยตนเองแล้ว ก็จะเกิดมีศรัทธาที่เป็นศรัทธาอย่างยิ่งหรือยิ่งกว่าศรัทธา หนุนเวียนกลับเป็นสัทธินทรีย์อีก ดังพุทธพจน์ท่อนสุดท้ายว่า

"ดูกรสารีบุตร อริยสาวกนั้นแล เพียรพยายามอย่างนี้ ครั้นเพียรพยายามแล้วก็ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้วก็ตั้งจิตมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งจิตมั่นแล้วก็รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้วก็เชื่อยิ่งอย่างนี้ว่า : ธรรมทั้งหลายที่แต่ก่อนนี้เราเพียงแต่ได้ยินได้ฟังเท่านั้น ย่อมเป็นดังนี้แล ดังเราสัมผัสอยู่ด้วยตัว และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญาอยู่ในบัดนี้" (สํ.ม.19/1010-1022/297-300)

ในพุทธพจน์แสดงปฏิปทา ๔ ว่าด้วยแนวการปฏิบัติธรรมของบุคคลที่แตกต่างกันไปเป็น ๔ ประเภท คือ บางพวกปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า บางพวกปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว บางพวกปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า บางพวกปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว พระพุทธองค์ทรงชี้แจงว่าตัวการที่กำหนดให้รู้ช้าหรือรู้เร็วก็คือ อืนทรีย์ ๕ กล่าวคือ ถ้าอินทรีย์ ๕ อ่อนไปก็รู้ช้า ถ้าอินทรีย์ ๕ แก่กล้าก็รู้ได้เร็ว แม้แต่การที่พระอนาคามีแตกต่างกันออกไปเป็นประเภทต่างๆ ก็เพราะอินทรีย์ ๕ เป็นตัวกำหนดด้วย แม้แต่การที่พระอนาคามีปกติ ความพรั่งพร้อมและความหย่อนแห่งอินทรีย์ ๕ นี้แล เป็นเครื่องวัดความสำเร็จ เป็นอริยบุคคลขั้นพระอนาคามี อ่อนกว่านั้นก็เป็นพระสกทาคามี อ่อนกว่านั้นก็เป็นพระโสดาบันประเภททธัมมานุสารี อ่อนกว่านั้นอีกก็เป็นพระโสดาบันประเภทสัทธานุสารี ดังนี้เป็นต้น ตลอดจนว่าถ้าไม่มีอินทรีย์ ๕ เสียเลยโดยประการทั้งปวง ก็จัดเป็นพวกปุถุชนคนภายนอก มีคำสรุปว่า ความแตกต่างแห่งอินทรีย์ทำให้มีความแตกต่างแห่งผล ความแตกต่างแห่งผลทำให้มีความแตกต่างแห่งบุคคล หรือว่าอินทรีย์ต่างกันทำให้ผลต่างกัน ผลต่างกันทำให้บุคคลต่างกัน


****************************
ขาดอะไรเพียง ๑ ไม่ถึง ๕
****************************

คำถามข้อนี้ เป็นคำถามที่มองจากข้างในออกมาข้างนอกครับ หรือมองในแง่ของความสำคัญที่สุด หรือมองในแง่กรณียกเว้น ซึ่งไม่ฝึกอบรมอินทรีย์ทั้งหมด จะฝึกอบรมเฉพาะอินทรีย์ที่จำเป็นหรือจำเป็นที่สุด คือ องค์ธรรมใดที่หากเราจำเป็นต้องเลือกมาเจริญเป็นตัวเด่น มาฝึกอบรมเป็นหลักอย่างกรณีพิเศษแล้วจะทำให้บรรลุธรรมได้นั่นเองครับ ดังนั้นคำตอบในข้อนี้ได้แก่ "ปัญญา"...
- - - - - - - - - - -
ตามหลักทั่วไปที่กล่าวแล้วนั้น บุคคลต้องฝึกอบรมอินทรีย์ครบทั้งห้า จึงจะปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปได้ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีกรณียกเว้น ซึ่งไม่ฝึกอบรมอินทรีย์ครบทั้งหมด จึงฝึกอบรมเฉพาะอินทรีย์ที่จำเป็นหรือจำเป็นที่สุด กรณีเช่นนี้เป็นไปได้ ดังมีพุทธพจน์ยืนยันอยู่ เฉพาะอย่างยิ่งในการปฏิบัติเพื่อหยั่งรู้สัจธรรมอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด การฝึกอบรมอินทรีย์เพียง ๔ อย่างเป็นไปได้ และในกรณีนั้นศรัทธาเป็นอินทรีย์ที่อาจยกเว้นเสีย ไม่ฝึกอบรมขึ้นมาอีกก็ได้

"ภิกษุทั้งหลาย เพราะเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วซึ่งอินทรีย์ ๔ อย่าง ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลได้...อินทรีย์ ๔ อย่างไหน? ได้แก่ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์" (สํ.ม.19/996-8/295)

อินทรีย์ข้อต่อไป ที่อาจขาดได้ในกรณีการฝึกอบรม คือ วิริยะ ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย เพราะเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ซึ่งอินทรีย์ ๓ อย่าง ภิกษุชื่อปิณโฑลภารัทวาช ได้พยากรณ์อรหัตตผลแล้ว.....อินทรีย์ ๓ อย่างไหน? ได้แก่ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์" (สํ.ม.19/1003-9/296-7)

ถ้าจำเป็นต้องลดลงอีก ข้อที่ลดหายไปไม่ต้องอบรมคือ สติ ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย เพราะเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ซึ่งอินทรีย์ ๒ อย่าง ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้วย่อมพยากรณ์อรหัตตผลได้...อินทรีย์ ๒ อย่างไหน? ได้แก่ อริยปัญญา และอริยวิมุตติ; อริยปัญญาของภิกษุนั้นนั่นแหละ เป็นปัญญินทรีย์ของเธอ อริยวิมุตติของภิกษุนั้นนั่นแหละ เป็นสมาธินทรีย์ของเธอ" (สํ.ม.19/991-5/294)

ข้อสุดท้าย อินทรีย์ที่จำเป็นที่สุด ซึ่งไม่อาจเว้นการฝึกอบรมได้เลย และแม้มีอย่างเดียว แต่ถ้ามีคุณภาพพอ ก็ให้บรรลุผลที่หมายของพุทธศาสนาได้ อินทรีย์นี้คือ ปัญญา

"ภิกษุทั้งหลาย เพราะเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ซึ่งอินทรีย์หนึ่งเดียว ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้วย่อมพยากรณ์ อรหัตตผลได้...อินทรีย์หนึ่งเดียวอย่างไหน? ได้แก่ ปัญญินทรีย์" (สํ.ม.19/987-9/293)

ที่ว่าฝึกอบรมเฉพาะอินทรีย์ที่จำเป็นเพียง ๔ หรือ ๓ หรือ ๒ หรือ ๑ นี้ มิได้หมายความว่าไม่ต้องมีอินทรีย์ที่ไม่มีชื่ออยู่ด้วยเสียเลยทีเดียว ความจริงก็ยังมีและใช้อินทรีย์ครบทั้งหมด แต่อินทรีย์เหล่านั้นเป็นเพียงตัวแอบอิง พลอยเกิดตามเจริญตามอินทรีย์ตัวยืนที่จำเป็น และมีอยู่พอเท่าที่จะต้องใช้ประโยชน์ ไม่ต้องตั้งใจฝึกอบรมให้เด่นขึ้นมา ดังตัวอย่างพุทธพจน์ตรัสถึงปัญญาว่า

"สำหรับอริยสาวกผู้มีปัญญา ศรัทธาอันเป็นของคล้อยตามปัญญานั้น ย่อมทรงตัวอยู่ได้ วิริยะ...สติ...สมาธิ อันเป็นของคล้อยตามปัญญนั้น ย่อมทรงตัวอยู่ได้" (สํ.ม.19/987-9/293)

กรณียกเว้นเช่นนี้ ย่อมสมควรเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่มีความสามารถพิเศษบางคน สำหรับคนทั่วไปย่อมสมควรปฏิบัติตามหลักทั่วไปข้างต้น

มีพุทธพจน์แสดงความสำคัญของปัญญินทรีย์ ซึ่งควรยกมาอ้างไว้อีกเป็นตัวอย่าง เพื่อย้ำฐานะของปัญญาในพุทธศาสนา หรือให้เห็นท่าทีของพระพุทธศาสนาต่อปัญญา

"ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานเหล่าหนึ่งเหล่าใดก็ตามบรรดามี พญาสีหมฤคราช ชาวโลกกล่าวว่าเป็นยอดแห่งสัตว์เหล่านั้น โดยความแข็งแรง โดยความรวดเร็ว โดยความกล้าหาญ ฉันใด โพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เข้าข้างหรือช่วยอุดหนุนการตรัสรู้) เหล่าหนึ่งเหล่าใดบรรดามี ปัญญินทรีย์ก็เรียกว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ในข้อที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ (โพธะ) ฉันนั้น" (สํ.ม.19/1024/301)

"ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกูฏาคาร (เรือนชั้นมียอด) เมื่อเขายังมิได้ยกยอดขึ้นเพียงใด กลอนเรือนก็ยังไม่ตั้งได้ที่ ยังไม่มั่นลงได้เพียงนั้น เมื่อใดเขายกยอดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น กลอนเรือนจึงจะตั้งได้ที่ จึงจะมั่นลงได้ ฉันใด อริยญาณยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ก็ยังไม่ตั้งได้ที่ ยังไม่มั่นลงได้เพียงนั้น เมื่อใดอริยญาณเกิดขึ้นแล้วแก่อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ จึงจะตั้งได้ที่ จึงจะมั่นลงได้ ฉันนั้นเหมือนกัน; อินทรีย์ ๔ ไหน? ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ และสมาธินทรีย์ สำหรับอริยสาวกผู้มีปัญญา ศรัทธา...วิริยะ...สติ...สมาธิ ซึ่งเป็นของคล้อยตามปัญญานั้น ย่อมทรงตัวได้ที่" (สํ.ม.19/1028-9/302)

ที่มา : หนังสือพุทธธรรมฉบับขยายความ

จากคำถามทั้งสองคำถามเราจะเห็นแล้วว่า อินทรีย์ ๕ นี้มีความสำคัญมาก ใช้วัดความพร้อมและความก้าวหน้า บรรลุเร็วหรือช้าของผู้ปฏิบัติ ซึ่งมีจุดให้สังเกตเป็นพิเศษ คือ คำถามย่อยที่ ๒ "ขาดอะไรเพียง ๑ ไม่ถึง ๕" จะทำให้เราทราบว่า "ปัญญา" เท่านั้นที่เราสามารถเลือกมาพัฒนาเป็นกรณีพิเศษ มาเจริญเป็นตัวเด่นได้ หากเรานำองค์ธรรมอื่นมาเจริญเป็นตัวเด่นแล้ว (แต่หากขาดซึ่งปัญญา) จะไม่สามารถทำให้อินทรีย์ ๔ บริบูรณ์ได้

คำถามที่เกิดขึ้นตามมาว่า


"สามารถเน้นเจริญปัญญาโดยตรงได้อย่างไร ที่ไม่ใช่ผ่านการเจริญอินทรีย์ข้ออื่น?"

คำถามนี้ไม่มีเฉลยนะครับ ท่านใดจะแสดงความคิดเห็นเชิญได้ครับ จุดมุ่งหมายที่ตั้งคำถามทิ้งท้ายเอาไว้นี้ ก็เพื่อให้ทุกท่านสอบถามกับตนเองว่า เราเลือกเจริญอินทรีย์ข้อใดเป็นหลักอยู่ และขาดซึ่งการเน้นพัฒนาปัญญาหรือเปล่า?

ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออภัยท่านเจ้าของกระทู้

ผมว่าคุณ ตั้งคำถามไม่รัดกุม

เพราะคุณถามว่า อินทรีย์ตัวใด มีเพียง 1 ได้ถึง 5

คำว่ามีเพียง 1 แล้วได้ถึง 5 มันน่าจะหมายถึง มีสิ่งนั้นขึ้นมาเพียงตัวเดียว
แล้วอินทรีย์อีก4 ตัวก็ได้ขึ้นมาพร้อมกันด้วยในคราเดียว โดยไม่ต้องไปกระทำ
หรืออบรมปฏิบัติอะไรเพิ่มเติม เมื่อมี1 มันก็ได้ขึ้นมา5 ตัวครบถ้วนเลยทีเดียว

แต่ถ้าคุณหมายตาม ที่คุณเฉลย หรือตามตำราที่คุณอ้างอิง
มันหมายถึงว่า มีอินทรีย์เพียง 1 เกิดขึ้นแล้วกลายเป็นชนวน
ที่จะทำให้ อินทรีย์ตัวอื่นๆ ค่อยๆเจริญตามกันขึ้นมาในภายหลัง
ซึ่งอาจจะเป็น ชาตินี้ก็ได้ หรืออินทรีย์ตัวอื่นๆถ้ายังไม่สมบูรณ์
แต่ต้องตายไปก่อน ก็คงต้องกลับมาสั่งสม อบรมกันใหม่ ในชาติถัดไป
เช่นโสดาบัน สกทาคามีเป็นต้น เพราะพวกนี้อินทรย์5 ไม่สมบูรณ์
แต่ศรัทธินทรีย์สมบูรณ์


ถ้าความหมาย หมายถึงมีศรัทธาเกิดขึ้นก่อน แล้วอินทรีย์ตัวอื่น
จะได้ขึ้นมาพร้อมด้วย หากคำว่าได้ขึ้นมาพร้อมของคุณหมายถึง

ต้องไปปฏิบัติอบรมต่อ จึงจะทำให้อินทรีย์ตัวอื่นๆเกิดตามขึ้นมา
ซึ่งการปฏิบัติอาจทำให้อินทรีย์ตัวอื่นๆเต็มตามขึ้นมาได้ในชาตินี้ หรือก็อาจ
ต้องรอไปอีกหลายชาติ กว่าอินทรีย์จะเต็มครบถ้วนทั้ง5ตัว

กรณีย์อย่างนี้ ไม่น่าจะตั้งคำถามว่ามี1 ได้ถึง5
เพราะเมื่อมี1คือศรัทธา มันก็ยังไม่ได้ถึง5
นอกจากผู้นั้นต้องไปปฏิบัติต่อให้เต็มจึงได้ครบ


หากความหมายของคุณหมายถึงต้องไปปฏิบัติต่อ อาจต้องใช้เวลาหลายปี
หรือข้ามชาติ แล้วคุณจึงได้อินทรีย์ที่เหลือตามมาจนครบ

คุณจะเจริญสติปักฐาน4 มาตามลำดับก็ได้ แม้จะเจริญสติปัฏฐาน4
ยังไม่ถึงระดับสมบูรณ์ คุณก็สามารถ บ่มอินทรีย์ตัวอื่นๆให้เกิดขึ้นได้
ถ้าคุณไม่ตายเสียก่อน หรือถ้าหากตายก่อน ชาติหน้าก็ค่อยมาอบรมใหม่

คำว่ามี1 ได้ถึง5 ของคุณ จะมีตัวไหนก่อนก็ได้ เพราะมีค่าเท่ากัน
คือมีแล้ว ก็ต้องไปอบรมปฏิบัติต่อ เพื่อให้อินทรีย์ตัวอื่นๆสมบูรณ์ตามกันขึ้นมา

เพราะไม่ว่าคุณจะเริ่มจากตัวไหน หากคุณไม่หยุดปฏิบัติ อินทรีย์ทุกตัว
ก็ย่อมเต็มตามกันขึ้นมาเป็นธรรมดา และเป็นปกติ เพียงแต่จะช้ารึเร็วเท่านั้น


ดังนั้นคำว่ามี1ได้ถึง5 ถ้าตามความหมายที่คุณแสดง บุคคลผู้ปฏิบัติ
จะเริ่มด้วยการอบรม อินทรีย์ตัวไหนก่อน หรือหลัง ก็มีค่าเท่ากัน
เพราะที่สุดแล้ว อินทรย์ทั้ง5 ก็ต้องเต็มอยู่ดี


และที่ขาดไป1 ไม่ถึง5 คุณคิดว่า ขาดแค่ปัญญาตัวเดียวเหรอ
จึงค่อยทำให้อินทรีย์ไม่ครบ5

แล้วถ้าขาดตัวอื่นๆ ไม่ใช่ปัญญา แล้วอินทรีย์5 ยังจะครบ5ตัวได้รึเปล่า


ที่สำคัญ อินทรีย์5 ในความหมายที่คุณเข้าใจ แต่ละตัว
มีความหมายอย่างไร ช่วยอธิบายด้วยครับ


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณบัวศกลครับ

ขอโทษด้วยที่ทำให้คุณเข้าใจว่าคำถามไม่รัดกุมครับ

ไม่มีใครทำอะไรให้ใครถูกใจได้ทั้งหมด ไม่มีใครทำอะไรให้ใครไม่ถูกใจได้ทั้งหมด

เวลาชีวิตเหลือน้อยแล้ว เพียรปฏิบัติให้มาก ผมเองก็เช่นกันครับ

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุกับคุณ ศิรัสพลครับ ขอให้คุณเจริญในธรรมเช่นกัน

และผม ไม่ได้รู้สึกว่าชอบหรือไม่ชอบ กับการตั้งกระทู้ของคุณ

และผมก็ไม่ได้ค้านแย้ง เพราะชอบหรือไม่ชอบ

แต่ผมค้านแย้ง เพราะผมเห็นอย่างนี้ จึงว่าไปตามที่เห็น
ไม่ใช่ว่าไปตามที่ชอบ หรือไม่ชอบครับ




ขอบคุณครับ


แก้ไขล่าสุดโดย บัวศกล เมื่อ 09 มิ.ย. 2009, 22:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ได้มาตอบกระทู้

แต่อยากแสดงตัวอย่าง
จากพุทธธรรมหน้า๖๑-๖๒

ภิกษุทั้งหลายอย่างไรจึงจะชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท? เมื่อภิกษุสังวรจักขุอินทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านแส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้ด้วยจักขุ เมื่อมีจิตไม่ซ่านแส่ ปราโมทย์ก็เกิด, เมื่อมีปราโมทย์แล้ว ปิติก็เกิด, เมื่อใจมีปิติ กายก็สงบระงับ, ผู้มีกายสงบย่อมเป็นสุข, ผู้มีสุขจิตย่อมเป็นสมาธิ, เมิ่จิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ , เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ผู้นั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท” (เกี่ยวกับโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน)

@อานนท์ การอบบรมอินทรีย ที่ยอดเยี่ยมในแผนของอริยะชน เป็นอย่างไร เพราะเห็นรูปด้วยตา เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะได้กลื่นด้วยจมูก...เพราะรูรสด้วยลิ้น...เพราะโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ย่อมเกิดความชอบใจบ้างไม่ชอบใจบ้าง ทั้งความชอบใจไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้เป็นสิ่งปรุ่งแต่ง เป็นธรรมหยาบ เป็นของอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น, ภาวะต่อไปนี้จึงจะสงบประณีต นั่นคืออุเบกขา(ความมีใจเป็นกลาง), (ครั้งแล้ว)ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแก่เธอนั้นก็ดับไป อุเบกขาก็ตั้งมั่น”

สำหรับบุคคลใดก็ตาม ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป อุเบกขาย่อมตั้งมั่นได้เร็วพลันทันที โดยไม่ยาก เสมือนคนหลับตาแล้วลืมตา ฯลฯ นี้เรียกว่าการอบรมอินทรีย์ที่ยอดเยี่ยม ในแบบแผนของอารยชน”

@ภิกษุทั้งหลาย ก่อนสัมโพธิ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ผู้ยังไม่ตรัสรู้เราได้เกิดดำริขึ้นอย่างนี้ว่า: อะไรเป็นคุณ(ความหวานชื่น ความอร่อย)ของจักษุ? อะไรเป็นโทษ(ของเสีย ความบกพร่อง)ของจักษุ? อะไรเป็นทางออก(เป็นอิสระ มีต้องอิงอาศัย) แห่งจักษุ? อะไรเป็นคุณ...เป็นโทษ...เป็นทางออกแห่งโสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กาย...มโน?”
เราได้เกิดความคิดขึ้นดังนี้: สุข โสมนัส ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ นี่คือคุณของจักษุ, ข้อที่จักษุ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี่คือ โทษของจักษุ, การกำจัดฉันทะราคะ การละฉันทะราคะในเพราะจักษุเสียได้ นี่คือทางออกแห่งจักษุ” (ของ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโนก็เช่นเดียวกัน)
ตราบใด เรายังไม่รู้ประจักษ์ตามเป็นจริง ซึ่งคุณของอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ, ซึ่งโทษโดยเป็นโทษ ซึ่งทางออกโดยเป็นทางออก, ตราบนั้นเรายังไม่ปฎิญญาว่าเราบรรลุแล้วซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ.............”

(ต่อไปกล่าวถึงคุณ โทษ ทางออกพ้นแห่งอายตนะภายนอก ๖ ในทำนองเดียวกัน)

@ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่รู้เห็นจักษุตามที่มันเป็น รู้เห็นรูปทั้งหลายตามที่มันเป็น รู้เห็นจักษุวิญญาณตามที่มันเป็น รู้เห็นจักษุสัมผัสตามที่มันเป็น รู้เห็นเวทนาอันเป็นสุขหรือทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจกขุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามที่มันเป็น ย่อมไม่ติดพันในจักษุ ไม่ติดพันในรูปทั้งหลาย ไม่ติดพันในจกษุวิญญาณ ไม่ติดพันในจักษุสัมผัส ไม่ติดพันในเวทนาอันเป็นสุขหรือทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดเพระจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย: เมื่อผู้นั้นไม่ติดพัน ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง รู้เท่าทันเห็นโทษตระหนักอยู่ อุปทานขันธ์ทั้ง๕ย่อมถึงความไม่ก่อตัวพอกพูนต่อไป, อนึง ตัญหาที่เป็นตัวการก่อภพใหม่ อันประกอบด้วยนันทิราคะ คอยแส่เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ก็จะถูกละไปเสียด้วย: ความกระวนกระวายทางกายก็ดี ความกระวนกระวายทางใจก็ดี ความกลัดกลุ้มทางใจก็ดี ย่อมถูกเขาละได้: ผู้นั้นเขาย่อมเสวยทั้งความสุขทางกายทั้งความสุขทางใจ, บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ , มีความดำริใด ความดำรินั้นก็เป็นสัมมาสังกัปปะ, มีความพยายามใด ความพยายามนั้นก็เป็นสัมมาวายามะ, มีความระลึกใด ความระลึกนั้นก็เป็นสัมมาสติ, มีสมาธิใด สมาธินั้นก็เป็นสัมมาสมาธิ, ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์มาแต่ต้นทีเดียว: ด้วยประการดังนี้ เขาชื่อว่ามีอริยะอฎฐังคิกมรรคอันถึงความเจริญบริบูรณ์” (เกี่ยวกับโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 58 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร