วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2009, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girl_med2.jpg
girl_med2.jpg [ 23.9 KiB | เปิดดู 8545 ครั้ง ]
กรรมฐาน(กรรม+ฐาน) แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือ ที่ให้จิตทำงาน

มีความหมายเป็นทางการว่า สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา

หรือ อุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต หรือ อุบาย หรือ กลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ

พูดง่ายๆว่า สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราว สงบอยู่ที่ได้

ไม่เที่ยวเล่นเตลิด หรือ เลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย

เฉพาะในกรณีนี้ ก็คือสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนดเพื่อชักนำให้เกิดสมาธิ

หรือ อะไรก็ได้ที่พอจิตกำหนดจับเข้าแล้ว จะชักนำจิตให้แน่วแน่อยู่กับมันจนเป็นสมาธิได้เร็วและ

มั่นคง

พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

อนึ่งเมื่อท่านพูดสั้นๆ (...สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ) อย่างนั้นแล้ว ก็พึงทราบด้วยว่า

มิใช่มีเพียงสมาธิเท่านั้นที่เกิดร่วมกับมัน ยังมี สติ ปัญญาด้วย ยังมีอีก เช่น เจตนา มนสิการ

ฉันทะ วิริยะ เป็นต้น ก็เกิดร่วมด้วย แต่ท่านไม่เน้น

ความจริงความคิดที่เกิดแต่ละครั้งๆ เนี่ย มีใช่เพียงสมาธิเป็นต้นดัวเดียวที่เกิดร่วมกับจิต

ยังมีอีกมากมายที่เป็นสัมปยุตธรรม เกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 21:53, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2009, 20:15
โพสต์: 78


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ไม่มีพื้นทางบาลีเลย ศัพท์แสงบาลี จะมีปัญหามากๆแก่ผู้ศึกษา
ด้วยว่า ศัพท์เดียวกัน ใช้ที่หนึ่ง แปลไปอย่างหนึ่ง หรือ เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น
แปลอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายอีกแง่หนึ่ง

เช่น ศัพท์ กรรม (กัมมะ) แปลตามศัพท์ว่า การงาน หรือ การกระทำ ฯลฯ

ตัวอย่างเช่น กรรมฐาน (กรรม+ฐาน) ฐาน แปลว่า ที่ตั้ง
กรรม ในที่นี้ แปลว่า การทำงานของจิต
เมื่อเข้าสมาสเป็น กรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต ฯลฯ

ที่สมาสกับศัพท์อื่นก็มี เช่น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
แปลว่า การกระทำทางกาย การกระทำทางวาจา และการกระทำทางใจ ตามลำดับ

ที่ใช้โดดๆ ก็มี เช่นที่ว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ “ เป็นต้น แปลว่า
ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นเอง เราเรียกว่า กรรม บุคคลจงใจแล้ว จึงกระทำด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ

และที่นำมาพูดบ่อยๆ ก็เช่น กมฺมุนา วตฺตตี โลโก - สัตว์โลก ย่อมเป็นไปเพราะกรรม
หรือ เป็นไป ตามกรรม

ดังนั้น เมื่ออ่านหนังสือธรรมพบศัพท์เหมือนกันก่อนแปล ดูศัพท์แวดล้อมด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอสรุปได้คร่าวๆว่า กรรมฐาน กินความกว้างดังที่เน้นตัวใหญ่ไว้ว่า (อะไรก็ได้ ที่พอจิตกำหนดจับเข้าแล้ว
จะชักนำจิตให้แน่วแน่อยู่กับมันจนเป็นสมาธิได้เร็วและมั่นคง)
แต่ในตำราท่านแนะนำไว้ ๔๐ อย่าง

ในจำนวน ๔๐ นั้น กายคตาสติ กับ อานาปานสติ ก็รวมอยู่ในจำนวนนั้นด้วย

กายคตาสติ-สติอันไปในกาย หรือ ระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย คือ กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่า
ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ อาการ ๓๒ อันไม่สะอาด ไม่งาม น่าเกลียด เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกายนี้
มิให้หลงใหลมัวเมา

อานาปานสติ - สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

กรรมฐาน ๒ ข้อนี้ยังพลิกแผลงให้เป็นวิปัสสนา หรือ เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐานได้
ซึ่งก็ด้วยกำหนดรู้ (ปริญญากิจ) นามธรรมที่ปรากฏแต่ละขณะๆ คือ กำหนดรู้ทั้งกายและใจ เคียงไปด้วยกัน
อารมณ์ใดปรากฏชัดก็อันนั้น ชีวิตประจำวันทำอะไรอยู่ก็อันนั้น ฯลฯ คือ ไม่มุ่งกาย หรือ ลมเข้าออกเพียง
อารมณ์เดียว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา เป็นตัวความรู้ในสังขารขันธ์ เป็นสิ่งที่จะต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น ต้องฝึกปรือ
ทำให้เจริญเพิ่มพูนขึ้นไปโดยลำดับ

ปัญญาจึงมีหลายขั้นหลายระดับ มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้ในความหมายจำเพาะ หมายถึงปัญญาในขั้นใด
ขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง แง่ใดแง่หนึ่ง หรือเนื่องด้วยกิจเฉพาะ

จะยกตัวอย่างชื่อของปัญญามาให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น สัมปชัญญะ วิปัสสนา ญาณ วิชชา ปริญญา
อภิญญา ปฏิสัมภิทา อัญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ เป็นต้น



ศัพท์ที่พูดถึงบ่อย หรือ เห็นจนคุ้นตา ก็เช่น สัมปชัญญะ วิปัสสนา วิชชา อภิญญา ญาณ
พึงทราบว่า เป็นชื่อของปัญญาทั้งนั้น

โดยเฉพาะศัพท์ สัมปชัญญะ กับ วิปัสสนา ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดบ่อย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ค. 2009, 11:31
โพสต์: 149


 ข้อมูลส่วนตัว


พี่คะ ถ้าหนูคิดว่าตอนนี้หนูกำลังเดินนะ ต่อจากตรงนี้ต้องไปไหนไปทำอะไรต่อ วันนี้ต้องทำอะไร

อย่างนี้เรียนเป็นสมาธิรึป่าวคร๊า

พี่คะมีสถานที่ฝึกสมาธิวันเสาร์-อาทิตย์ ในกทม. แนะนำมั้ยคะ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความหมายคำศัพท์ เพราะเวลาหนูสวดมนต์ก็ชอบที่จะรู้ความหมายด้วยค่ะ

เรียนภาษาบาลีสันสกฤต มานิดหน่อยเองค่ะตอนเรียนวิชาภาษาไทยกับวิชาพระพุทธศาสนา

ขอบคุณค่าาาาาาา

:b50: :b49: :b8: :b8: :b49: :b50:

.....................................................
ธรรมมะนี้คือการมีชีวิตเพื่อที่จะเรียนรู้ความจริงของชีวิต
ทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ตั้งอยู่ไม่ได้
หากยังยึดติด ไม่ปล่อยวาง ย่อมยังเป็นทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2009, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พี่คะ ถ้าหนูคิดว่าตอนนี้หนูกำลังเดินนะ ต่อจากตรงนี้ต้องไปไหนไปทำอะไรต่อ วันนี้ต้องทำอะไร
อย่างนี้เรียนเป็นสมาธิรึป่าวคร๊า



ครับ.....ยินดีมากเลยที่คุณหมูตอน ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่วัยทีน ผู้ซึ่งต้องการเหตุผลในการทำกิจ หรือ
การพัฒนาจิต พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่มีเหตุผล ถามต้องตอบได้ว่า ทำอะไรเพื่ออะไร
เหตุกับผลตรงกันหรือไม่ และจะสิ้นสุดที่ตรงไหน

การฝึกอบรมจิต เปรียบง่ายเหมือนการเดินทาง ตั้งต้นให้ถูก สมมุติว่า ต้องการจะเดินไปเชียงราย
แต่ไพล่ไปตั้งต้นเดินที่ถนนเพชรเกษม แบบนี้เดินจนชีวาวายก็ไม่ถึงเชียงราย...



คำถามตอบ อย่างนี้ครับ คิดว่าจะเดินก็รู้ตัวว่าคิดจะเดิน กำลังเดินอยู่ก็รู้ว่ากำลังเดิน เดินไปไหนจะไป
ทำอะไรก็รู้ตัว กำลังทำสิ่งนั้นๆ อยู่ก็รู้ตัวว่า กำลังทำสิ่งนั้นๆอยู่ ฯลฯ รู้สึกตัวแต่ละขณะๆ อย่างนี้ก็เป็นสมาธิ เป็นสติ เป็นสัมปชัญญะ เป็นฉันทะ เป็นวิริยะ เป็นจิตตะ เป็นต้นแล้วครับ

ฝึกอย่างนี้ไปเนื่องๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน จะไปไหน กำลังทำอะไร ฯลฯ ก็ใช้ได้แล้วแล้ว
ตอบสั้นๆเท่านี้ก่อน


ศึกษาวิธีฝึกอิทธิบาทกับงาน...สิครับ แล้วๆคุณจะเข้าใจพุทธธรรม

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14744

(อ้อ..วิมังสา ก็เป็นชื่อของปัญญาด้วย)



อ้างคำพูด:
พี่คะมีสถานที่ฝึกสมาธิวันเสาร์-อาทิตย์ ในกทม. แนะนำมั้ยคะ


วัดมหาธาต ฯ ท่าพระจันทร์
วัดปทุมวนาราม แถวๆสยามมั้ง
วัดธรรมมงคล ถ. สุขุมวิท

สถานที่ดังกลาวจำเขาเล่ามา ไม่เคยเข้าไปฝึกยังที่นั้นๆครับ

คุณหมูตอน ลองไปดูนะครับ แล้วมาเล่าให้กรัชกายฟังว่าที่นั้นๆแนะนำกันอย่างไร :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2009, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ค. 2009, 11:31
โพสต์: 149


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่า าาา

:b46: :b46: :b8: :b8: :b8: :b46: :b46:

.....................................................
ธรรมมะนี้คือการมีชีวิตเพื่อที่จะเรียนรู้ความจริงของชีวิต
ทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ตั้งอยู่ไม่ได้
หากยังยึดติด ไม่ปล่อยวาง ย่อมยังเป็นทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2009, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอบคุณมากค่ะสำหรับความหมายคำศัพท์ เพราะเวลาหนูสวดมนต์ก็ชอบที่จะรู้ความหมายด้วยค่ะ
เรียนภาษาบาลีสันสกฤตมานิดหน่อยเองค่ะ ตอนเรียนวิชาภาษาไทยกับวิชาพระพุทธศาสนา



ลิงค์ทำวัตรสวดมนต์แปล

viewtopic.php?f=28&t=19423

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2009, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอเข้าชั้นเรียนด้วยคนนะคะ...คุณครูกรัชกาย

เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะคะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2009, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยินดีครับ คุณลูกโป่ง หาที่นั่งเองนะครับ :b1:
ต้องการรู้ความหมายศัพท์ธรรมตัวใด ถามได้นะครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2009, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดถึงปัญญามากแล้ว มาดูความหมายกว้างๆ ของปัญญากันบ้าง



ปัญญา* แปลว่า ความรอบรู้

ขยายความหมายออกอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริง หรือรู้ตรงตามความเป็นจริง

ท่านอธิบายขยายความออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ

รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์

ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด

รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ

แปลอย่างง่ายๆพื้นๆ ปัญญา คือ ความเข้าใจ (หมายถึงเข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือ เข้าใจถ่องแท้)

เป็นการมองทะลุสภาวะ หรือ มองทะลุปัญหา


ปัญญา ตรงข้าม กับ โมหะ ๆ ซึ่งแปลว่า ความหลง ความไม่รู้ ความเข้าใจผิด

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

(ปัญญา ยังสัมพันธ์กับขันธ์อื่น ๆ อีกตามสมควร)

ปัญญา* มักแปลกันว่า wisdom หรือ understanding

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 10:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายคำว่า ศรัทธา


ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง ไม่ใช่ความรู้

แต่อาจเป็นทางเชื่อมต่อนำไปสู่ความรู้ได้ เพราะศรัทธามีลักษณะเป็นการยอมรับความรู้ของผู้อื่น

ฝากความไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น ยอมพึ่งและอาศัยความรู้ของผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้นเป็นเครื่องชี้นำ

แก่ตน

ถ้าผู้นั้น มีศรัทธารู้จักคิด รู้จักใช้ปัญญาของตนเป็นทุนประกอบไป ศรัทธานั้นก็สามารถนำไป

สู่ความเจริญปัญญาและการรู้ความจริงได้ เฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อผู้อื่นนั้น หรือแหล่งความรู้นั้นมีความรู้

แท้จริง และมีกัลยาณมิตรช่วยชี้แนะให้รู้จักใช้ปัญญา

แต่ถ้าเชื่ออย่างงมงาย คือ ไม่รู้จักคิด ไม่ใช้ปัญญาของตนเลย และผู้อื่น หรือ แหล่งแห่งความรู้นั้น

ไม่มีความรู้จริง ทั้งไม่มีกัลยาณมิตรที่จะช่วยชี้แนะ หรือ มีปาปมิตร ผลอาจกลับตรงข้าม นำไปสู่ความ

หลงผิด ห่างไกลจากความรู้ยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 10:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Buddha.jpg
Buddha.jpg [ 254.89 KiB | เปิดดู 7440 ครั้ง ]
ความหมายคำว่า ทิฏฐิ

ทิฏฐิ คือ ความเห็น ความเข้าใจตามแนวความคิดของตน

เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการพัฒนาปัญญา เพราะความรู้ความเข้าใจของมนุษย์ปุถุชน ที่ต่อจากขั้น

ขึ้นต่อผู้อื่นด้วยศรัทธา ก้าวมาสู่การมีความคิด ความเข้าใจ หรือ มีสิ่งที่เรียกว่า เหตุผลของตนเอง

ประกอบ พอจะนับได้ว่าเป็นความเข้าใจของตนเอง ก็คือ ทิฏฐิ



บางครั้ง ทิฏฐิ ก็สัมพันธ์กับ ศรัทธา อย่างใกล้ชิด หรือ ถึงกับเป็นคนละแง่ของเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ

แง่ที่เป็นการมอบความไว้วางใจไว้ในความรู้ของผู้อื่น ยอมไปตามปัญญาของเขา เป็นศรัทธา

ส่วนแง่ ที่เป็นการรับเอาความรู้นั้น หรือ สิ่งที่เขาบอกให้นั้นมายึดถือทำเป็นของตน เป็นทิฏฐิ

ลักษณะสำคัญของทิฏฐิ คือ การยึดถือเป็นของตน *

ความรู้ที่เป็นทิฏฐินี้ มีได้ตั้งแต่ขั้นไม่มีเหตุผลเลย จนถึงมีเหตุผลบ้าง และมีเหตุผลมาก


เมื่อใด ทิฏฐินั้น พัฒนาขึ้นไปจนเป็นความรู้ความเห็น ความเข้าใจ ที่ถูกต้องตรงตามความ

เป็นจริง คือ ตรงตามสภาวะ ก็เรียกว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ และจัดเป็นปัญญา

เมื่อปัญญานั้น เจริญขึ้น จนมองเห็นสภาวะนั้นด้วยตนเอง อย่างชัดแจ้งสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่ต้องยึดถือ

ความรู้นั้นเป็นของตน เพราะความรู้จริงแท้ดำรงอยู่อย่างนั้นเป็นกลางๆ ไม่ต้องมีที่อ้างที่ยัน เป็นอันเลย

พ้นขั้นของทิฏฐิไป

แต่เพราะทิฏฐิ พ่วงอยู่กับความยึดถือเป็นของตน ทิฏฐิจึงมักก่อให้เกิดผลเสีย

ถ้ายึดเหนี่ยวแน่น แม้จะเป็นทิฏฐิ ที่ใกล้เคียงความจริงอย่างมาก แต่ก็กลายเป็นเครื่องปิดบังขวางกั้น

ไม่ให้เข้าถึงความจริงนั้น

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


* ไวพจน์บางคำของทิฏฐิ คือ อภินิเวส ปรามาส และอุปาทาน - (ซึ่งลึกลงไป ย่อมมี

ตัณหาเป็นปัจจัย)

อภิ.วิ.35/312/200

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 10:11, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายคำว่า โมหะ

โมหะ คือ ความหลง ความไม่รู้

เป็นไวพจน์ของคำว่า อวิชชา หมายถึงความไม่รู้ตามความเป็นจริง ไม่รู้ตรงตามสภาวะ เป็นภาวะตรงข้าม

กับ ปัญญา โดยเฉพาะปัญญาที่เรียกชื่อเฉพาะว่า วิชชา

พูดอย่างสามัญว่า โมหะ หรือ อวิชชา คือ ความไม่รู้นี้ เป็นภาวะพื้นเดิมของคน ซึ่งจะต้อง

กำจัดให้หมดไปด้วย วิชชา คือ ความรู้ หรือ ด้วยการฝึกอบรมเจริญปัญญา

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

อย่างไรก็ตาม แม้จะเล่าเรียนศิลปวิทยาต่างๆมากมาย และใช้ศิลปวิทยาเหล่านั้นทำกิจประกอบการต่างๆ

ได้มากมาย

แต่ถ้าไม่ช่วยให้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ไม่มองเห็นสังขารธรรมทั้งหลาย หรือ โลกและชีวิต

ตามสภาวะของมันแล้ว ศิลปวิทยาเหล่านั้น ก็เป็นเพียงสุตะ คือ สิ่งที่สดับถ่ายทอดกันไปเท่านั้น

ยังไม่เป็นปัญญาแท้จริง ไม่สามารถกำจัดโมหะหรืออวิชชาได้ และไม่อาจแก้ปัญหาพื้นฐานของชีวิตได้

สำเร็จ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 10:13, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร