วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 13:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 201 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 11:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้ต่อเนื่องจากกระทู้นี้ค่ะ :b1:

viewtopic.php?f=2&t=24709

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 04 ก.พ. 2010, 12:13, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




we_advice01.gif
we_advice01.gif [ 41.83 KiB | เปิดดู 9211 ครั้ง ]
th_01.gif
th_01.gif [ 4.88 KiB | เปิดดู 9205 ครั้ง ]
ข้าพจ้าขอขอบพระคุณคุณกรัชกายที่เมตตาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติกรรมฐานเสมอมา

และขอบพระคุณทางเว็บที่ทำให้ข้าพเจ้ามีห้องเรียนสำหรับฝึกปฏิบัติกรรมฐาน
รวมถึงศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 07 ก.ย. 2009, 13:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 15:54
โพสต์: 640

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอร่วมอนุโมทนาสาธุค่ะ รูปภาพ

.....................................................
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าธรรมชาติของจิตนั้นไหลลงต่ำ
จะขึ้นสูงต้องออกแรงทวนกระแส
เพราะฉะนั้นให้ถามตัวเองว่าเราคิดดีได้เป็นปกติหรือยัง
ถ้ายัง ก็ยอมรับตรงๆ ว่ายัง..
อย่าหลอกตัวเองว่าดีแล้ว
เพราะผลเสียหายไม่ใช่ใครอื่น นอกจากตัวเราเองที่ยังหลงวน
ไม่รู้ตัวว่าขาดเสบียงเพื่อความพร้อมตาย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อคืนนี้ ตอนเดินจงกรมมีการยกเท้าผิดจังหวะ เพราะสับสนระหว่างเดินระยะที่ 3 กับระยะที่ 4 ก็กำหนดผิดหนอ แต่รู้สึกว่าเดินสนุกมากเลยค่ะ กำหนดว่ารู้หนอ

ช่วงแรกของการนั่ง หายใจช้าค่ะ คือรู้ว่าหายใจจากช้าแล้วค่อย ๆ เร็วขึ้น แล้วค่อย ๆ ช้าลง จนลมหายใจหายไป 3 รอบ หลังจากนั้นเห็นภาพผีผู้หญิงผมยาวใส่ชุดดำ ขอบตาคล้ำมาก ตาถลนออกมาจากเบ้าตา ค่อย ๆ ใกล้เข้ามา ๆ ตอนแรกกำหนดเห็นหนอประมาณ 6 ครั้ง ภาพก็ไม่หาย :b14: จึงเริ่มกลัว กำหนดกลัวหนออีกประมาณ 6-7 ครั้ง ภาพก็ไม่หาย เลยแผ่เมตตา ภาพก็ยังไม่หายอีก เลยบอกเขาในใจว่าออกจากกรรมฐานแล้วจะอุทิศส่วนกุศลไปให้ ภาพก็ยังไม่หาย :b5: เลยกลับมากำหนดพอง+ยุบ+นั่ง+ถูก บ้าง สลับกับกำหนดเห็นหนอและกลัวหนอบ้าง รู้สึกว่าเขาค่อย ๆ เข้ามาใกล้ ๆ และนั่งลงข้าง ๆ ตัว แล้วยื่นมือมาจะบีบคอ แต่แค่แตะค่ะ ยังไม่บีบ พอใกล้จะหมดเวลา รู้สึกว่าเขายิ้มน้อย ๆ แล้วลุกออกไป กำหนดรู้หนอแล้วกำหนดพอง+ยุบ+นั่ง+ถูก จนหมดเวลา เมื่อคืนฝนตกหนักตั้งแต่ตอนเริ่มนั่ง มีฟ้าผ่า 3 ครั้ง (กำหนดเสียงหนอ) หลังจากมีผีเข้ามา เลยเสริมบรรยากาศเข้าไปอีก
:b14: :b5: :b23: :b12:


แบบนี้แสดงว่าสติอ่อนลงอีกใช่ไหมคะ

คนที่มีโรคประจำตัวประเภทเส้นเอ็นตึง เขาจะต้องปฏิบัติกรรมฐานต่างไปจากคนทั่วไปไหมคะ

-------------------------------------------------------------------------------------------------

รูปที่คุณกรัชกายเอามาลงช่วงหลัง ๆ เป็นรูปที่ถ่ายที่ไหนคะ ที่ทะเล หรืออุทยานแห่งชาติที่ไหนคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 07 ก.ย. 2009, 13:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 15:54
โพสต์: 640

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: :b10: :b14: :b5: :b19:
เอาละสิ...มีเสียง Sound effect ประมาณว่า บรู๊ววววววววว....ป่าวคะ
ถ้าคุณรินรสปฏิบัติอยู่แถบยุโรปสงสัยเห็น ทั่นเค้าท์แดร๊กคูลแน่ๆ เลยค่ะ :b9:

ติดตามอ่านนะคะ...(ตอนต่อไป :b5: )

.....................................................
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าธรรมชาติของจิตนั้นไหลลงต่ำ
จะขึ้นสูงต้องออกแรงทวนกระแส
เพราะฉะนั้นให้ถามตัวเองว่าเราคิดดีได้เป็นปกติหรือยัง
ถ้ายัง ก็ยอมรับตรงๆ ว่ายัง..
อย่าหลอกตัวเองว่าดีแล้ว
เพราะผลเสียหายไม่ใช่ใครอื่น นอกจากตัวเราเองที่ยังหลงวน
ไม่รู้ตัวว่าขาดเสบียงเพื่อความพร้อมตาย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:

เมื่อคืนนี้ ตอนเดินจงกรมมีการยกเท้าผิดจังหวะ เพราะสับสนระหว่างเดินระยะที่ 3 กับระยะที่ 4 ก็กำหนดผิดหนอ แต่รู้สึกว่าเดินสนุกมากเลยค่ะ กำหนดว่ารู้หนอ



เพียรกำหนดตามดูรู้ทันรูป นาม (กายใจ) ต่อไป

อ้างคำพูด:
ช่วงแรกของการนั่ง หายใจช้าค่ะ คือรู้ว่า หายใจจากช้าแล้วค่อย ๆ เร็วขึ้น
แล้วค่อย ๆ ช้าลง จนลมหายใจหายไป 3 รอบ



ที่เคยว่า หายใจแรงเร็วหัวใจเต้นแรง ผ่านไปแล้วดับไปแล้ว ก็เปลี่ยนเป็นอื่นอีก ไม่จิรัง
แม้แต่ที่เล่าให้ฟังตอนนี้ เดี่ยวก็เปลี่ยนอีก มันเปลี่ยนทุกลมหายใจเข้าออก

อ้างคำพูด:
หลังจากนั้นเห็นภาพผีผู้หญิงผมยาวใส่ชุดดำ ขอบตาคล้ำมาก ตาถลนออกมาจากเบ้าตา ค่อย ๆ ใกล้เข้ามา ๆ
ตอนแรกกำหนดเห็นหนอประมาณ 6 ครั้ง ภาพก็ไม่หาย จึงเริ่มกลัว
กำหนดกลัวหนออีกประมาณ 6-7 ครั้ง ภาพก็ไม่หาย


เห็น “เห็นหนอๆๆ” หายไม่หาย ดับไม่ดับ กำหนดแล้วปล่อยวาง :b1:
ไปเกาะจับพอง-ยุบ พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอต่อไปใหม่

ยังเห็นอยู่อีก เห็นหนอ (แวบเดียว)+พองหนอ+ยุบหนอ+นั่งหนอ+ถูกหนอ ต่อไป

อ้างคำพูด:
เลยแผ่เมตตา ภาพก็ยังไม่หายอีก เลยบอกเขาในใจว่า ออกจากกรรมฐานแล้วจะอุทิศส่วนกุศลไปให้ ภาพก็ยังไม่หาย


เสียทีกิเลส ที่ขีดเส้นใต้เป็นความคิดอีกขณะหนึ่ง “คิดหนอๆ” เสีย


อ้างคำพูด:
เลยกลับมากำหนดพอง+ยุบบ้าง สลับกับกำหนดเห็นหนอและกลัวหนอบ้าง
รู้สึกว่า เขาค่อย ๆ เข้ามาใกล้ ๆ และนั่งลงข้าง ๆ ตัว แล้วยื่นมือมาจะบีบคอ
แต่แค่แตะค่ะ ยังไม่บีบ


พึงกำหนดทุกขณะ ที่ภาพนิมิตนั้นเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนไหว เห็นหรือเป็นยังไงกำหนดยังงั้น

ภาพการปรุงแต่งของจิต แต่ละขณะๆ

อ้างคำพูด:
พอใกล้จะหมดเวลา รู้สึกว่าเขายิ้มน้อย ๆ
แล้วลุกออกไป จึงกำหนดแค่พอง+ยุบ เมื่อคืนฝนตกหนักตั้งแต่ตอนเริ่มนั่ง มีฟ้าผ่า 3 ครั้ง (กำหนดเสียงหนอ) หลังจากมีผีเข้ามา เลยเสริมบรรยากาศเข้าไปอีก


อ้างคำพูด:
ที่ยิ้มน้อยๆ นั่นน่า กิเลสมันยิ้มเยาะเรา :b32:

ไม่เป็นไร เป็นบทเรียนเป็นบทพิสูจน์


อ้างคำพูด:
แบบนี้แสดงว่า สติอ่อนลงอีกใช่ไหมคะ



ไม่ใช่สติอ่อนลงอีกครับ เรียกว่าสติยังไม่แข็งแรงถึงระดับเทห์กว่า

คือ ยังต้องฝึกอบรมต่อยอดขึ้นไปอีก
ดูจากการกำหนดนิมิต (นิมิต มีผู้เรียกว่า จิตปรุงแต่ง หรือสังขารปรุงแต่ หรือเรียกสภาวะ
ใช้ชื่อไหนๆก็ถูก แต่อย่าเข้าใจผิด) หลายๆ ครั้ง บอกให้ผู้สอบอารมณ์รู้

โดยรวมไม่เสียหายอะไรนะครับ


วิธีการต่อยอดองค์ธรรม ก็คือ
การขยายเวลาเดินจงกรมบ้าง นั่งบ้าง ขึ้นไปครั้ง ๕ นาที ๑๐ นาที นั่นแหละ คือ การต่อยอดให้
สติเป็นต้น เข้มแข็งสืบต่อได้ไกลขึ้นนานขึ้น



ตอนนี้หากคุณรินนั่งได้ ๒๕ นาที ผ่านสบายๆโดยไม่ขยับตัวแล้ว ควรปรับเวลานั่งขึ้นอีกเป็น ๓๐ นาที
ได้เลย




อ้างคำพูด:
คนที่มีโรคประจำตัวประเภทเส้นเอ็นตึง เขาจะต้องปฏิบัติกรรมฐานต่างไปจากคนทั่วไปไหมคะ


ไม่ต่างหรอกครับ คนที่เส้นเอ็นตึงไม่ใช่โรค แต่เพราะเขาไม่เคยนั่งขัดสมาธิ อย่างนั้นมาก่อน
ร่างกายจึงไม่ชิน ยังไม่ยึดหยุ่น ระยะแรกๆ อาจเจ็บหน่อยกว่าจะได้ที่

ก่อนหน้าถึงได้บอกว่า เราจะต้องฝึกทั้งกายและใจไปพร้อมๆกัน จะดึงดันเอาแต่ใจโดยที่ร่างกายไม่พร้อมก็ผิด สุดโต่งไปทางจิตเกินไป มองปัญหาไม่รอบด้าน


อ้างคำพูด:
รูปที่คุณกรัชกายเอามาลงช่วงหลัง ๆ เป็นรูปที่ถ่ายที่ไหนคะ ที่ทะเล หรืออุทยานแห่งชาติที่ไหนคะ



นำมาจากที่นี่ขอรับ

http://www.oknation.net/blog/chedtha/2009/09/02/entry-1

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 ธ.ค. 2011, 20:49, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลงแทรกไว้ คุณรินอ่านแล้วเข้าใจไม่เข้าใจผ่านเลยนะครับ



เมื่อมองหาเหตุแห่งทุกข์
มนุษย์ชอบมองออกไปหาที่ซัดทอดโทษให้ในภายนอก
หรือ
มองให้ไกลจากความรับผิดชอบของตน เท่าที่จะเป็นไปได้ฉันใด
เมื่อจะแก้ไขทุกข์ มนุษย์ก็ชอบมองออกไปข้างนอก หาที่ปกป้องคุ้มครองให้ตนพ้นภาระ
หรือ
ช่วยทำการแก้ไขทุกข์แทนให้ ฉันนั้น

ว่าโดยลักษณะ การกระทำทั้งสองนั้นก็คล้ายคลึงกัน คือ เป็นการหลบหน้าความจริง
ไม่กล้ามองทุกข์ และเลี่ยงหนีการเผชิญความรับผิดชอบ เหมือนคนหนีภัยด้วยความขลาดกลัว
หาที่พอปิดตา ซุกหน้าไม่ให้เห็นภัยนั้น
นึกเอาเหมือนว่า ได้พ้นภัย ทั้งที่ร่างทั้งตัว ถูกปล่อยทิ้งไว้ในภยันตราย
ท่าทีเช่นนี้ ทำให้เกิดนิสัยหวังพึ่งปัจจัยภายนอก เช่น การอ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์
การบนบานเซ่นสรวงสังเวย
การรอคอย การดลบันดาลของเทพเจ้า หรือ นอนรอคอยโชคชะตา

พระพุทธศาสนาสอนว่า สิ่งที่พึ่งเช่นนั้น หรือการปล่อยตัวตามโชคชะตาเช่นนั้น
ไม่เป็นทางแห่งความมั่นคงปลอดภัย ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์แท้จริง
วิธีแก้ทุกข์ที่ถูกต้อง คือ มีความมั่นใจคุณพระรัตนตรัย ทำใจให้สงบและเข้มแข็ง
แล้วดูปัญหาอย่างมีใจเป็นกลาง ให้เห็นตามสภาวะของมัน และพิจารณาแก้ไขปัญหานั้นที่เหตุปัจจัย

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า รู้จักดำเนินวิธีแก้ไขปัญหาตามหลักอริยสัจ ๔ ประการ คือ กำหนดทุกข์
สืบสาวหาสาเหตุแห่งทุกข์
เล็งรู้ภาวะดับทุกข์ที่จะพึงบรรลุ
แล้วปฏิบัติตามวิธีแก้ไข ที่ตรงเหตุ ซึ่งพอดีที่จะให้บรรลุจุดหมาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ก.ย. 2009, 21:23, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คืนนี้เดินจงกรมไม่ค่อยสับสนแล้วค่ะ

ส่วนตอนนั่งหายใจช้ามาก ช่วงแรกยังกำหนดพองหนอ+ยุบหนอ+นั่งหนอ+ถูกหนอได้ และรู้สึกว่าตัวนิ่ง กำหนดรู้หนอ ต่อมารู้สึกว่ามีผีเมื่อวานมานั่งข้าง ๆ แล้วลูบแขนลูบขา ไม่เห็นหน้านะคะ แต่รู้ว่าเป็นผีตัวเดียวกัน ก็กำหนดรู้หนอจนเขาไป แล้วมีภาพผู้หญิงใส่ชุดขาวนั่งสมาธิ (ภาพนี้ไม่เคยเห็นที่ไหนค่ะ) ก็กำหนดเห็นหนอจนกระทั่งภาพนั้นหายไป ช่วงนี้รู้สึกว่าตัวนิ่งมากขึ้นและไม่หายใจ (อยู่ในช่วงกำหนดตามนิมิตต้องกำหนดรู้หนอด้วยไหมคะ) พอภาพผู้หญิงนั่งสมาธิหายไปก็ตกใจ ไม่รู้ว่าจะทำยังไงดี (กำหนดตกใจหนอ) แล้วนึกขึ้นได้ว่าต้องกำหนดนิ่งหนอ เลยกำหนดนั่งหนอ+ถูกหนอ+นิ่งหนอจนหมดเวลา เพราะรู้สึกว่าตัวนิ่งอยู่ตลอดเลยค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 07 ก.ย. 2009, 23:06, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คืนนี้เดินจงกรมไม่ค่อยสับสนแล้วค่ะ



วันนี้เดินจงกรมทบทวนจากระยะที่ ๑-๔ ภายในเวลา ๓๐ นาที เท่าๆกับนั่ง เดินเกินไปบ้าง
ก็ไม่เป็นไร ระยะที่ ๔ มากกว่าเขาหน่อยก็ได้

อ้างคำพูด:
ส่วนตอนนั่งหายใจช้ามาก ช่วงแรกยังกำหนดพองหนอ+ยุบหนอ+นั่งหนอ+ถูกหนอได้ และ
รู้สึกว่าตัวนิ่ง กำหนดรู้หนอ



กายนิ่งๆ สมาธิ ปัสสัทธิ ทำงานอยู่ ไม่เป็นไร รู้ว่าเป็นอย่างนั้นก็ใช้ได้ :b16:

อ้างคำพูด:
ต่อมารู้สึกว่ามีผีเมื่อวานมานั่งข้าง ๆ แล้วลูบแขนลูบขา ไม่เห็นหน้านะคะ แต่รู้ว่าเป็นผีตัวเดียวกัน
ก็กำหนดรู้หนอจนเขาไป แล้วมีภาพผู้หญิงใส่ชุดขาวนั่งสมาธิ (ภาพนี้ไม่เคยเห็นที่ไหนค่ะ)
ก็กำหนดเห็นหนอจนกระทั่งภาพนั้นหายไป



องค์ธรรมมีสติเป็นต้นแข็งแรงขึ้นชัดขึ้น

เมื่อวานกำหนดภาพนิมิตไม่ดับง่ายๆ แต่วันนี้กำหนดรู้อย่างนั้นแล้วก็ดับลง ทั้งผี (นิมิต) ก็ไม่ชัดเหมือนเมื่อวาน กำหนดแล้วดับลง (ขณะจิตหนึ่งดับ) เมื่อดับ อย่างอื่นเกิดต่ออีก
(เกิดดับๆๆ) (ภาพนิมิตในใจ) คือเป็นภาพหญิงแต่ชุดขาวนั่งสมาธิเกิด (แสดงว่าจิตใจสะอาดขึ้นบริสุทธิ์ขึ้น) กำหนดรู้ตามนั้นแล้วก็ดับ (ขณะจิตหนึ่งดับลง) แล้วอาการอย่างอื่นก็เกิดต่ออีก ฯลฯ

อ้างคำพูด:
ช่วงนี้รู้สึกว่า ตัวนิ่งมากขึ้นและไม่หายใจ (อยู่ในช่วงกำหนดตามนิมิตต้องกำหนดรู้หนอด้วยไหมคะ)


ภาพ (นิมิต) ในใจ (ธรรมารมณ์) ไม่ต้องตามนะครับ เห็นก็กำหนดแวบ “รู้ หรือ รู้หนอ”
หรือ “เห็นหนอ” กำหนดรู้ตามนั้นแล้วจบกระบวนการรับรู้อารมณ์แล้ว ปล่อยไปเกาะจับพองยุบ
ต่อไปใหม่ นิมิตทั้งหลายทั้งปวง เป็นมายาของจิต ภาพจากความคิด

(คุณรินคิดถึงบ้านตนเองดิ แล้วสถานที่ที่เราคุ้นเคยก็ปรากฏในมโนทวาร นึกเห็นภาพตรอกซอกซอยบ้านเรา)


อ้างคำพูด:
พอภาพผู้หญิงนั่งสมาธิหายไป ก็ตกใจ ไม่รู้ว่าจะทำยังไงดี (กำหนดตกใจหนอ) แล้วนึกขึ้นได้ว่าต้องกำหนดนิ่งหนอ เลยกำหนดนั่งหนอ+ถูกหนอ+นิ่งหนอจนหมดเวลา เพราะรู้สึกว่าตัวนิ่งอยู่ตลอดเลยค่ะ



(นิมิตหญิงนั่งสมาธิหาย (ดับ) ตกใจ (อาการตกใจเกิดเป็นอีกขณะหนึ่ง) (จิต เกิดๆดับๆ)
อาการที่ร่างกายนิ่ง ก็เกิดจากภายในนิ่ง จังหวะสมาธิทำหน้าที่ของมันแรงหน่อย

ไว้เดินจงกรมระยะสูงขึ้น เพิ่มเวลานั่งขึ้นอีก ร่างกายจะมั่นคงตรงแน่วขึ้น ธรรมดาๆ



สรุป ส่งท้ายว่า ขณะนั้นเรารู้สึกอย่างไร ให้กำหนดอย่างนั้น ตามที่รู้สึก
มีอาการอย่างไร กำหนดอย่างนั้น ตามอาการ

สาธุ :b8: :b1:



……………..

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(คุณรินอ่านแล้วเข้าใจไม่เข้าใจผ่าน ลงแทรกไว้เป็นน้ำจิ้มให้ผู้หนักในตำราได้ศึกษาประกอบไปด้วย)



เครื่องวัดความพร้อม


หลักธรรมที่เป็นเครื่องวัดความพร้อม และ บ่งชี้ความก้าวหน้า ช้าหรือเร็วของบุคคล

ในการปฏิบัติธรรม ได้แก่ อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

หลักธรรมชุดนี้ ใช้สำหรับการปฏิบัติธรรมได้ทั่วไป ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด

มิใช่ใช้เฉพาะสำหรับการเจริญสมาธิเท่านั้น

อินทรีย์ แปลว่า สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน คือ ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่

อย่างหนึ่งๆ

ในที่นี้ หมายถึง เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่ กำจัดกวาดล้างอกุศลธรรม ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม

เช่น ความเพียรกำจัดความเกียจคร้าน ทำให้เกิดความพร้อมในการทำงาน และ ปฏิบัติธรรมก้าว

หน้าไปได้ ความหมายของอินทรีย์ ๕ อย่างนั้น ท่านแสดงไว้พอสรุป ได้ดังนี้


๑. ศรัทธา (เรียกเต็มว่า สัทธินทรีย์ – สัทธา+อินทรีย์) พึงเห็นได้ใน โสดาปัตติยังคะ ๔

ว่าโดยสาระ ก็คือ ศรัทธาในตถาคตโพธิ หรือ ตถาคตโพธิสัทธานั่นเอง

กิจ หรือ หน้าที่ของศรัทธา คือ ความน้อมใจดิ่ งหรือ เด็ดเดี่ยว (อธิโมกข์)

ความหมายสามัญว่า ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในความจริง ความดีของสิ่งที่นับถือ

หรือปฏิบัติ


๒. วิริยะ (เรียกเต็มว่า วิริยินทรีย์ – วิริยะ+อินทรีย์) พึงเห็นได้ใน สัมมัปปธาน ๔

บางแห่งว่า ความเพียรที่ได้ด้วยปรารภสัมมัปปธาน ๔ หรือ ตัวสัมมัปปธาน ๔ นั่นเอง

บางทีก็พูดให้สั้นลงว่า ความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม และทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อม

การมีความแข็งขันบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม

หน้าที่ของวิริยะ คือ การยกจิตไว้ (ปัคคาหะ)

ความหมายสามัญว่า ความเพียรพยายาม มีกำลังใจ ก้าวหน้าไม่ท้อถอย


๓.สติ (เรียกเต็มว่า สตินทรีย์ – สติ+อินทรีย์) พึงเห็นได้ใน สติปัฏฐาน ๔

บางแห่งว่า สติที่ได้ด้วยปรารภสติปัฏฐาน ๔ หรือ ตัวสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง

บางทีให้ความหมายง่ายลงมาว่า การมีสติ การมีสติครองตัวที่ยวดยิ่ง

สามารถระลึกนึกทวนถึงกิจที่ทำ คำที่พูดแล้วแม้นานได้

หน้าที่ของสติ คือ การดูแลหรือคอยกำกับจิต (อุปัฏฐาน)

ความหมายสามัญว่า การระลึกได้ กำกับใจไว้กับกิจ นึกได้ถึงสิ่งที่พึงทำพึงเกี่ยวข้อง


๔. สมาธิ (เรียกเต็มว่า สมาธินทรีย์ – สมาธิ+อินทรีย์) พึงเห็นได้ในฌาน ๔

บางแห่งว่า หมายถึงตัวฌาน ๔ นั่นเอง หรือพูดอย่างง่าย ได้แก่ การทำภาวะปล่อยวาง

ให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต

หน้าที่ของสมาธิ คือการทำจิตไม่ให้ส่าย (อวิกเขปะ)

ความหมายสามัญว่า ความมีใจตั้งมั่น แน่วแน่ในกิจ ในสิ่งที่กำหนด


๕.ปัญญา (เรียกเต็มว่า ปัญญินทรีย์ – ปัญญา+อินทรีย์) พึงเห็นได้ในอริยสัจ ๔

คือการรู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง

หรือพูดอย่างง่าย ได้แก่ การมีปัญญา ความประกอบด้วยปัญญา ที่หยั่งถึงความเกิดขึ้น

และความเสื่อมสิ้นไป ซึ่งเป็นอริยะ ทำลายกิเลสได้ อันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

หน้าที่ของปัญญา คือารการเห็นความจริง (ทัสสนะ)

ความหมายสามัญว่า ความรู้เข้าใจตามเป็นจริง รู้สิ่งที่ทำ ที่ปฏิบัติ หยั่งรู้ หรือ รู้เท่าทันสภาวะ


(สํ.ม.19/852-875/259-265)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 ธ.ค. 2011, 20:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




th_07.gif
th_07.gif [ 3.49 KiB | เปิดดู 8905 ครั้ง ]
ถ้าออกกำลังกาย พอหายเหนื่อยแล้วมาปฏิบัติ จะเป็นอะไรไหมคะ
เพราะการออกกำลังกายก็ทำให้เกิดสมาธิได้ใช่ไหมคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 08 ก.ย. 2009, 16:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




12.gif
12.gif [ 8.54 KiB | เปิดดู 8891 ครั้ง ]
รินรส เขียน:
ถ้าออกกำลังกาย พอหายเหนื่อยแล้วมาปฏิบัติ จะเป็นอะไรไหมคะ
เพราะการออกกำลังกาย ก็ทำให้เกิดสมาธิได้ใช่ไหมคะ



ได้จ้า ดื่มน้ำ ทานข้าว อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ทำงาน ฯลฯ จารไนไม่หมด

สรุปได้ทั้งนั้น จะออกกำลังกาย จะเดิน จะวิ่ง ตามดูรู้ทันการเคลื่อนไหวกาย นั้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.ย. 2009, 16:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(เกี่ยวกับอินทรีย์ ๕ ต่อ)



มีพุทธพจน์รับรองคำกล่าวของพระสารีบุตรว่า อินทรีย์ ๕ อย่างนี้

ส่งผลเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน กล่าวคือ

ศรัทธา ทำให้เกิดความเพียร

ความเพียร ช่วยทำให้สติมั่นคง

เมื่อสติมั่นคงแล้ว กำหนดอารมณ์ ก็จะได้สมาธิ

เมื่อมีสมาธิดีแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจ มองเห็นซึ้งถึงโทษของอวิชชา ตัณหา

ที่เป็นเหตุแห่งสังสารวัฏ

มองเห็นคุณค่าของนิพพาน ซึ่งเป็นภาวะปราศจากความมืด แห่งอวิชชา และ

ความทุรนทุรายแห่งตัณหา

สงบประณีตดีเยี่ยม

ครั้นเมื่อ รู้ชัดแล้ว เข้าใจแจ่มแจ้ง ด้วยตนเองแล้ว ก็จะเกิดมีศรัทธา

ที่เป็นศรัทธาอย่างยิ่ง หรือ ยิ่งกว่าศรัทธา หมุนเวียนกลับเป็น สัทธินทรีย์อีก

ดังพุทธพจน์ท่อนสุดท้ายว่า

“ดูกรสารีบุตร อริยสาวกนั้นแล เพียรพยายามอย่างนี้

ครั้นเพียรพยายามแล้ว ก็ระลึกอย่างนี้

ครั้นระลึกแล้ว ก็ตั้งจิตมั่นอย่างนี้

ครั้นตั้งจิตมั่นแล้ว ก็รู้ชัดอย่างนี้

ครั้นรู้ชัดแล้ว ก็เชื่อยิ่งอย่างนี้

ธรรมทั้งหลาย ที่แต่ก่อนนี้ เราเพียงแต่ได้ยินได้ฟังเท่านั้น ย่อมเป็นดังนี้แล

ดังเราสัมผัสอยู่ด้วยตัว และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา อยู่ในบัดนี้”


(สํ.ม. 19/1010-1022/297-300)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.ย. 2009, 20:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)



คัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวถึงความสำคัญของการปรับอินทรีย์ทั้งหลายให้เสมอกัน

โดยย้ำว่า ถ้าอินทรีย์อย่างหนึ่งอย่างใดแรงกล้าเกินไป และอินทรีย์อื่นอ่อนอยู่

อินทรีย์อื่นเหล่านั้น ก็จะเสียความสามารถในการทำหน้าที่ของตน เช่น

ถ้าศรัทธาแรงไป

วิริยะ ก็ทำหน้าที่ยกจิตไม่ได้

สติ ก็ไม่สามารถดูแลจิต

สมาธิ ก็ไม่สามารถทำจิตให้แน่ว

ปัญญา ก็ไม่สามารถเห็นตามเป็นจริง

ต้องลดศรัทธาเสีย ด้วยการใช้ปัญญา พิจารณาสภาวะแห่งธรรม หรือ

มนสิการในทางที่ไม่เป็นการเพิ่มกำลังให้แก่ศรัทธา

ตามหลักทั่วไป ท่านให้ปรับอินทรีย์เสมอกันเป็นคู่ๆ คือ

ให้ศรัทธาสมหรือเสมอกับปัญญา

และให้สมาธิสมหรือเสมอกับวิริยะ

ถ้าศรัทธากล้า ปัญญาอ่อน ก็เลื่อมในสิ่งที่ไม่น่าเลื่อมใส

ถ้าปัญญากล้า ศรัทธาอ่อน ก็จะเอียงไปข้างอวดดี เป็นคนแก้ไขไม่ได้ เหมือนโรคเกิดจากยาเสียเอง

ถ้าสมาธิกล้า วิริยะอ่อน โกสัชชะ คือ ความเกียจคร้านก็เข้าครอบงำ

เพราะสมาธิเข้าพวกกันได้กับโกสัชชะ

แต่ถ้าวิริยะแรง สมาธิอ่อน ก็เกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ

เพราะวิริยะเข้าพวกกันได้กับอุทธัจจะ

เมื่ออินทรีย์ ๒ คู่นี้เสมอกันดี การปฏิบัติธรรมก็เดินหน้าได้ผลดี

ส่วนสติเป็นข้อยกเว้น ท่านว่า ยิ่งสติมีกำลังก็ยิ่งดี มีแต่จะช่วยองค์ธรรมข้ออื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น

ช่วยรักษาจิต ไม่ให้ตกไปทั้งข้างอุทธัจจะ และ ข้างโกสัชชะ

การยกจิต ข่มจิต ต้องอาศัย สติ ทั้งนั้น


..................

เรื่องการปรับอินทรีย์ให้เสมอกันนี้จับความมาจาก วิสุทธิ.1/164-5 ท่านตั้งเค้าจากพุทธพจน์ว่า

ให้ตระหนักชัดถึงความสมเสมอกันแห่งอินทรีย์ที่ วินย.5/2/7; องฺ.ฉกฺก.22/326/320.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณค่ะ :b8:

--------------------------------------------------------------------------


เมื่อคืนนี้มักจะเดินจงกรมผิดจังหวะตอนเริ่มระยะใหม่ค่ะ (กำหนดผิดหนอ)

สำหรับตอนนั่ง หายใจช้าเหมือนเกือบจะไม่หายใจค่ะ กำหนดพองหนอ+ยุบหนอ+นั่งหนอ+ถูกหนอ แต่ฟุ้งซ่าน 4-5 ครั้งค่ะ ก็กำหนดคิดหนอครั้งละ 1-4 ครั้งค่ะ ตอนเริ่มนั่งได้ประมาณ 5 นาทีมีวูบไปครั้งหนึ่งค่ะ เหมือนเคลิ้มแล้วจะหลับ วูบแรงด้วยค่ะ (ไม่ได้ง่วงนอนนะคะ) เลยตกใจค่ะ กำหนดตกใจหนอแล้วกลับมากำหนดพองหนอ+ยุบหนอ+นั่งหนอ+ถูกหนอต่อค่ะ ช่วงประมาณ 10 นาทีหลังจึงจะรู้สึกว่าไม่หายใจ เลยเปลี่ยนมากำหนดนั่งหนอ+ถูกหนอ+นิ่งหนอแทน ระหว่างที่นั่งอยู่รู้สึกว่าหลังตรงกว่าเดิมและแข็งเรียบเหมือนไม้กระดาน และกระดูกสันหลังแข็งมากค่ะ และบางครั้งมีแสงระยิบระยับด้วยค่ะ (กำหนดเห็นหนอ) ความจริงมีมาหลายวันแล้วแต่ลืมเล่าค่ะ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 201 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร