วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกปลีกล้วยเล็ก

นกปลีกล้วยเล็ก Arachnothera longirostra (Little Spiderhunter) มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหาง 16 เซนติเมตร มีลำตัวด้านบนสีเขียว ลำตัวด้านล่างสีเหลือง คอสีขาว หางด้านล่างมีขลิบสีขาวตรงปลาย มีปากโค้งยาวมากสีดำ มีแถบสีขาวพาดบนและล่างของตา มีเส้นสีดำลากจากโคนปากไปข้างแก้มดูคล้ายหนวด ทั่วโลกมีนกชนิดนี้ 12 ชนิดย่อย พบในประเทศไทย 4 ชนิดย่อย ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.bird-home.com

นก ปลีกล้วยเล็กทำรังในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม โดยมักทำรังรูปทรงกึ่งทรงกระบอกยาวใต้ใบกล้วย หรือใบไม้อื่นที่เหมาะสม กว้างxยาวประมาณ 5-10ซมx20 ซม. ทำจากใบหญ้าใบไม้แห้งมักเชื่อมให้ติดกันด้วยใยแมงมุม วางไข่ครอกละ2ฟอง สีขาวแกมชมพูมีลายขีดเล็กๆสีแดงเลือดหมูถึงน้ำตาลแดง ขนาด 13.1x18.4มม.พ่อและแม่นกช่วยกันทำรัง ฟักไข่ เลี้ยงลูก

นกชนิดนี้มัก ถูกพบอยู่ตัวเดียว หรือเป็นคู่ตามป่ากล้วย โดยจะเกาะตามปลีกล้วยและดูดกินน้ำหวาน แต่น้ำหวานจากปลีกล้วยไม่ใช่อาหารเพียงชนิดเดียวของนกชนิดนี้ นกปลีกล้วยยังกินน้ำหวานจากดอกไม้อื่น แมลงที่มากินน้ำหวานด้วยกัน แมลงที่มาติดกับใยแมงมุม และแมงมุมที่ชักใยเองก็ถูกนกชนิดนี้กินเป็นอาหารด้วย
นอกจากป่ากล้วยแล้ว เรายังสามารถพบนกชนิดนี้ได้ตามป่าดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ชายป่า ป่าชั้นรอง ป่าพรุ ป่าโกงกาง ป่าที่มีพืชพวกขิงข่าขึ้นมากๆ สวนยางพารา สวนผลไม้ เป็นต้น

นก ปลีกล้วยเล็กมีการกระจายพันธุ์ในประเทศเนปาล อินเดีย บังคลาเทศ พม่า อินโดจีน และฟิลิปปินส์ โดยมีสถานภาพหาง่าย-ยากแล้วแต่ท้องที่ สำหรับประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วประเทศเว้นภาคกลางและภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือในบางพื้นที่ โดยจะพบในพื้นที่ที่มีความสูงไม่เกิน 1000 เมตรจากระดับน้ำทะเล

นก ปลีกล้วยเล็กที่เห็นนี้ถ่ายภาพมาจากน้ำตกกระทิง อุทยานแห่งชาติคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี ในวันที่ไปถ่ายภาพนกกินปลีคอแดง(Crimson Sunbird) นกลงมากินน้ำหวานจากดอกดาหลาเป็นเวลานาน

ข้อมูลเพิ่มเติม-ภาพ จาก
http://www.bird-home.com
ขอบคุณ..คุณจันทร์น้อย...สำหรับการเผยแพร่..ครับ

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย เพลิง. เมื่อ 28 ก.ย. 2009, 10:24, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกกระจอกชวา

นกกระจอกชวา Padda oryzivora / Lonchura oryzivora (Java Sparrow / Ricebird) มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 13-17 เซ็นติเมตร หัวและหางสีดำ วงรอบตาสีแดง แก้มสีขาว ลำตัวด้านบนเป็นสีเทา ลำตัวด้านล่างตั้งแต่ช่วงกลางท้องลงไปเป็นสีชมพูอ่อนๆ ปากหนาสำหรับขบเมล็ดพืชสีชมพูอมแดง นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายกัน

นก ชนิดนี้เป็นนกประจำถิ่นของเกาะชวา เกาะบาหลี และเกาะใกล้เคียงอื่นๆในประเทศอินโดนีเซีย อาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงตามทุ่งหญ้า แหล่งเกษตรกรรม และที่ที่มีคนอยู่อาศัย อาหารของนกกระจอกชวาได้แก่เมล็ดข้าว เมล็ดหญ้า ผลไม้และแมลงเล็กๆ เนื่องจากมีหน้าตาและสีสันสวยงามจึงถูกจับมาขังกรงเสียมาก โดยเป็นนกที่ถูกนำเข้าไปและสามารถปรับตัวอาศัยและแพร่พันธุ์ได้ในหลายประเทศ เช่นตามหมู่เกาะแปซิฟิค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฮาวาย เปอโตริโก้และรัฐฟลอริด้า

นก กระจอกชวาทำรังช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคมตามโพรงบนต้นไม้ ชายคาบ้าน และรอยแตกตามอาคารต่างๆ รังเป็นรูปกลมทำจากรากหญ้า ใบหญ้า ลักษณะค่อนข้างรกรุงรัง วางไข่ครั้งละ 4-6ฟอง ใช้เวลากกไข่ประมาณ 13-14 วันก็ฟักเป็นตัว

สำหรับ ประเทศไทย นกชนิดนี้ถูกนำเข้ามาในฐานะนกกรง แต่เกิดเหตุการณ์กรงแตกขึ้นเมื่อประมาณปี 2500 ทำให้นกจำนวนมากหลุดออกสู่ธรรมชาติ อาศัยและแพร่พันธุ์ที่บริเวณดอนเมือง และกระจายมาบริเวณใกล้เคียงที่เหมาะสม เช่น ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นกอยู่เป็นฝูงไม่ใหญ่มากนักลงกินเมล็ดหญ้าอย่างขยันขันแข็ง และขอบคุณคุณตุ๋ยที่อำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี

ข้อมูลเพิ่มเติม-ภาพ จาก
http://www.answers.com/topic/java-sparrow
http://www.bird-home.com

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกอีเสือลายเสือ

นกอีเสือลายเสือ Lanius tigrinus (Tiger Shrike / Thick-billed Shrike) มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 17-19 เซ็นติเมตร น้ำหนักประมาณ 27-37 กรัม นกตัวผู้มีหัวค่อนข้างโตสีเทาตั้งแต่กระหม่อมถึงท้ายทอย หน้าผากและแถบคาดตาสีดำ ขนคลุมลำตัวด้านล่างขาว ขนคลุมหางด้านบนสีน้ำตาลอ่อน ปีกและหางสีน้ำตาลแดงไม่มีลายแถบสีขาวที่ปีก มีลายเกล็ดสีดำบนขนคลุมปีกด้านบน นกตัวเมียสีคล้ำกว่าตัวผู้ จุดเด่นคือมีลายขีดหรือเกล็ดสีดำหรือน้ำตาลเข้มที่ท้องโดยที่นกตัวผู้ไม่มี

นก ตัวไม่เต็มวัยคล้ายนกตัวเมียแต่กระหม่อมและหน้าด้านข้างมีขีดหรือเกล็ดสีดำ มีแถบขาวอมเหลืองหรือสีเนื้อแคบๆบริเวณโคนปากบนลากคล้ายคิ้วผ่านตา ใต้คอมีแถบแคบๆสีขาว โคนปากบนและล่างมีสีอ่อน ดูคล้ายนกอีเสือสีน้ำตาลตัวเด็ก แต่นกอีเสือลายเสือมีปากหนากว่า หางสั้นกว่าและบริเวณที่จะกลายเป็นแถบคาดตาสีดำเมื่อโตเป็นตัวเต็มวัยจะเห็น ได้ชัดกว่า

นก ชนิดนี้ทำรังวางไข่ในจีน เกาหลี ญี่ปุ่นและตะวันออกไกลของประเทศรัสเซีย ฤดูหนาวจะย้ายลงมาอยู่ที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นนกอพยพผ่านของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยจะพบในช่วงต้นฤดูอพยพ ช่วงปลายเดือนกันยายน-เดือนตุลาคม โดยพบตามสวนสาธารณะในเมือง ป่าโกงกาง ป่าชายเลน ตามที่โล่งในที่ราบภาคกลางและทางใต้ลงไปเมื่อนกอพยพลงไปเรื่อยๆ และจะพบอีกครั้งช่วงปลายฤดูคือช่วงที่นกอพยพกลับโดยจะพบได้ทั้งภาคใต้ กลาง ตะวันตกและภาคเหนือ

อาหาร หลักของนกชนิดนี้คือแมลงต่างๆ อันได้แก่ ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงเต่าทอง แมลงปีกแข็ง ผีเสื้อและผีเสื้อกลางคืน แต่สัตว์เล็กอย่างนกเล็กๆหรือกิ้งก่าก็ไม่ได้รังเกียจ นกชนิดนี้จะเกาะคอนนิ่งๆตามชายป่าเพื่อล่าเหยื่อแต่ก็จะออกหาเหยื่อตามกิ่ง ไม้ใบไม้ด้วย

ช่วง เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมเป็นช่วงจับคู่ผสมพันธุ์ทำรังวางไข่ นกจะเริ่มจับคู่ตั้งแต่ช่วงเดินทางกลับขึ้นเหนือ หรือช่วงที่เพิ่งเดินทางกลับถึงใหม่ๆ นกทั้งสองเพศช่วยกันทำรังบนกิ่งไม้บนต้นไม้ผลัดใบสูง 1.5 ถึง 5 เมตรจากพื้นดิน วางไข่ครั้งละ 3-6ฟอง ปรกติ 5 ฟอง ตัวเมียกกไข่เป็นเวลา 14-16วัน และเลี้ยงลูกในรังประมาณ 2 สัปดาห์

นกในบล็อกถ่ายมาจากสวนรถไฟ ในบริเวณเดียวกันมีนกอพยพอีกหลายชนิดได้แก่ นกจับแมลงพันธุ์จีน ตัวผู้และตัวเมีย นกเขนน้อยไซบีเรียวัยอ่อน นกจับแมลงตะโพกเหลืองตัวผู้และตัวเมีย

ข้อมูลจาก :
http://www.bird-home.com
http://en.wikipedia.org/wiki/Tiger_Shrike

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย เพลิง. เมื่อ 28 ก.ย. 2009, 10:37, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกจาบคาเคราแดง

นกจาบคาเคราแดง Nyctyornis amictus (Red-bearded Bee-eater) มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 32-35 เซ็นติเมตร หัวโต ปากโค้งดำ คอถึงอกตอนบนมีขนยาวสีแดงเหมือนมีเคราแดง ท้องเขียวแกมเหลืองมีขีดเขียวเข้ม หน้าผากและกระหม่อมสีม่วงแกมชมพูในนกตัวผู้

ส่วนนกตัวเมียจะมีหน้าผากสีแดงเช่นเดียวกับที่คอ ขนคลุมลำตัวส่วนที่เหลือเป็นสีเขียว นกชนิดนี้มีญาติคือ นกจาบคาเคราน้ำเงิน

เหมือน นกจาบคาอื่นๆ นกจาบคาเคราแดงกินแมลงเป็นอาหาร โดยเฉพาะ ผึ้ง ต่อ และแตน โดยนกจะเกาะคอนซ่อนตัวระหว่างใบไม้ และบินออกไปจับเหยื่อกลางอากาศ โดยนกชนิดนี้มักหากินตัวเดียวหรือเป็นคู่มากกว่าเป็นฝูง

นก จาบคาเคราแดงทำรังในโพรงที่ขุดเข้าไปในตลิ่งข้างลำธารในป่าเช่นเดียวกับนก จาบคาเคราน้ำเงิน โดยจะไม่ทำรังใกล้ๆกันหลายๆรังแบบพวกนกจาบคาเล็กๆอื่นๆ

นก ชนิดนี้อาศัยในป่าดิบจากที่ราบถึงความสูง 1500 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นนกประจำถิ่นภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และบอร์เนียว สำหรับประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ค่อนข้างบ่อย

นกในบล็อกถ่ายมาจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเมื่อปลายเดือนเมษายน 2552
นกกำลังเลี้ยงลูกด้วยแมลงต่างๆที่เป็นอาหาร

ข้อมูลจาก :
http://en.wikipedia.org/wiki/Red-bearded_Bee-eater

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย เพลิง. เมื่อ 28 ก.ย. 2009, 10:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

Fairy Pitta

Fairy Pitta Pitta nympha (รอ ชื่อภาษาไทย) เป็นนกชนิดใหม่ที่พบในประเทศไทย ที่พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 16-19.5 เซ็นติเมตร มีสีสันคล้ายกับนกแต้วแล้วธรรมดา (Blue-winged Pitta)แต่ตัวเล็กกว่า นกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน

ความแตกต่างระหว่างนกสองชนิดคือ

1.นอก เหนือจากบริเวณข้างกระหม่อมที่เป็นสีส้มอมน้ำตาลแล้ว นกชนิดนี้ยังมีคิ้วสีนวลลากจากโคนปากไปถึงเกือบท้ายทอย ขณะที่ของแต้วแล้วธรรมดาเป็นสีส้มอมน้ำตาลทั้งหมด

2.สีลำตัวด้านล่างอ่อนกว่านกแต้วแล้วธรรมดา

3.เวลาบิน จะเห็นว่าปีกของนกแต้วแล้วธรรมดามีวงสีขาวใหญ่กว่ามาก

นก ชนิดนี้ทำรังวางไข่ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวันและช่วงฤดูหนาวบินอพยพลงไปหากินที่เกาะบอร์เนียว ประเทศมาเลเซีย ประเทศบรูไน และที่กาลิมันตันประเทศอินโดนีเซีย เคยพบว่าเป็นนกอพยพผ่านในไต้หวัน เกาหลีเหนือ เวียตนามและฮ่องกง

Fairy Pitta ทำรังในป่าใกล้เขตร้อนในป่าดิบใกล้ชายฝั่งเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็พบว่ามีการทำรังในบริเวณพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ป่าที่ถูกปรับแต่ง ด้วย ในประเทศเกาหลีใต้ นกชนิดนี้ทำรังในป่าที่มีความชื้นสูงและป่าใกล้ชายฝั่งสูงถึง 1200 เมตรจากระดับน้ำทะเล หากินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นหนอน ไส้เดือนตามใบไม้ที่หล่นทับถม

จำนวน ประชากรของนกชนิดนี้คาดว่ามีไม่เกินหลักพันและมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากการ บุกรุกพื้นที่ป่าในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ไฟป่า แม้ว่าพื้นที่ป่าของประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นป่าชั้นสองหรือไม่ก็เป็นพื้นที่ปลูกไม้อายุสั้นเพื่อการตัดใช้ ในอดีตการล่าและจับเป็นนกกรงก็มีมากในประเทศจีนและไต้หวัน การรบกวนของมนุษย์เป็นปัญหาในไต้หวัน เกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่นักถ่ายภาพบุกรุกสถานที่ทำรังวางไข่ สถานทีทำรังวางไข่หลักในไต้หวันก็ถูกคุกคามด้วยโครงการสร้างเขื่อนHushan ซึ่งจะทำให้น้ำท่วมพื้นที่อยู่อาศัยของนก

นก ชนิดนี้ถูกพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นที่ที่พบนกแต้วแล้วอกเขียวและแต้วแล้วธรรมดาเป็นประจำทุกเดือน เมษายน โดยในตอนแรกไม่มีใครคิดว่าเป็นนกชนิดใหม่เพราะนกชนิดนี้คล้ายคลึงกับนกแต้ว แล้วอกเขียววัยอ่อนผสมกับนกแต้วแล้วธรรมดา


ข้อมูลจาก :
http://www.birdlife.org

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 10:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกศิวะปีกสีฟ้า

นกศิวะปีกสีฟ้า Minla cyanouroptera ( Blue-winged Minla )เป็นหนึ่งในสองชนิดของนกศิวะที่พบในประเทศไทย อีกชนิดคือ นกศิวะหางสีตาล ( Chestnut-tailed Minla )


นก ชนิดนี้เป็นนกขนาดเล็ก มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 16 เซ็นติเมตร มีขนคลุมลำตัวด้านบนสีเทาแกมน้ำตาล กระหม่อมและขนปีกมีสีเข้มกว่า ขนปีกชั้นนอกสุดเป็นสีน้ำเงินเข้ม แต่เมื่ออยู่ในที่ทึบแสงจะดูเหมือนเป็นสีดำ มีม่านตาสีขาวกว้าง คิ้วขาว และมีแถบสีดำเหนือคิ้วขึ้นไปอีกดูเหมือนมีคิ้วสองชั้น ไหล่ ตะโพก และขนคลุมโคนหางด้านบนมีสีเทาแกมน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างมีตั้งแต่สีขาวจนถึงน้ำตาลอ่อน ท้องสีขาว เป็นนกที่มีหลายชนิดย่อยซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปเล็กน้อย นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน

ตาม ปรกติเรามักพบนกชนิดนี้อยู่เป็นฝูงขนาดเล็ก และอาจหากินร่วมกับนกกินแมลงขนาดเล็กอื่นๆ โดยอาศัยและหากินตามยอดไม้พุ่มและต้นไม้ขนาดกลางหรืออาจลงหากินบนพื้นดิน โดยนกชนิดนี้มักกินหนอนมากกว่ากินแมลง นกชนิดนี้อาศัยตามป่าดงดิบเขาในระดับความสูงตั้งแต่ 900-2600เมตรจากระดับน้ำทะเล

ช่วง เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนเป็นช่วงทำรังวางไข่ของนกชนิดนี้ โดยนกจะทำรังเป็นรูปถ้วยทำด้วยใบไม้ ใบไผ่ รากฝอยของต้นไผ่ มอส สานกับเถาวัลย์เส้นเล็กๆหรือมือเกาะของไม้เลื้อย รองพื้นรังด้วยขนนกหรือขนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รังอยู่ตามพุ่มไม้ที่ค่อนข้างรกทึบสูงจากพื้นราว1-8 เมตร หรืออาจทำรังตามโพรงดิน หรือซอกโพรงระหว่างไม้ใหญ่ วางไข่ครอกละ2-5ฟอง เปลือกไข่สีน้ำเงินเข้มถึงสีฟ้าอมขาว มีลายประเป็นจุดสีดำหรือแดง หรือน้ำตาลและม่วงเล็กน้อย ขนาดประมาณ 14.5*18.4 มิลลิเมตร พ่อและแม่นกช่วยกันทำรัง ฟักไข่และเลี้ยงลูกอ่อน

นก ศิวะหางสีฟ้าเป็นนกประจำถิ่นของอนุทวีปอินเดีย จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะไม่พบในบางพื้นที่ เช่นประเทศสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทย พบทุกภาค เว้นภาคกลางและตะวันออกเฉียงใต้

ภาพนก ถ่ายจากดอยอ่างขางเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยนกมาคราวหนึ่งหลายๆตัวและถล่มกินหนอนและลูกไม้แถวนั้นอย่างเอร็ดอร่อย และรวดเร็วจนถ่ายภาพแทบจะไม่ทัน

ข้อมูลจาก
http://www.bird-home.com

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกกะเต็นลาย

นกกะเต็นลาย Lacedo pulchella (Banded Kingfisher)มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 20 เซ็นติเมตร นกตัวผู้และนกตัวเมียมีสีสันต่างกันอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ นกตัวผู้มีขนคลุมหน้าและหน้าผากสีน้ำตาลเข้ม ขนคลุมหัวและท้ายทอยเป็นน้ำเงินหรือสีฟ้าสดใสมีลายเล็กน้อย มีขนคลุมหลังและหางเป็นลายสลับสีระหว่างสีฟ้าสลับดำและสีขาวสลับดำ ขนคลุมลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลอ่อนปนส้มและเป็นสีขาวบริเวณท้อง ส่วนนกตัวเมียขนคลุมลำตัวด้านบนรวมไปถึงหัวเป็นลายสลับสีน้ำตาลและดำ ขนคลุมลำตัวด้านล่างด้านข้างคอและข้างลำตัวเป็นลายๆสีดำ ส่วนที่เหลือเป็นสีขาว นกทั้งสองเพศมีปากสีแดง

นก กะเต็นลายเป็นนกกะเต็นป่าที่มีแหล่งอาศัยอยู่ไกลแหล่งน้ำกว่านกกะเต็นอื่นๆ กินอาหารจำพวก แมลง ตั๊กแตน ด้วง จักจั่น จิ้งหรีด ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์เลื้อยคลานเล็กๆจำพวกกิ้งก่า กิ้งก่าบิน งู เป็นต้น ชอบหากินตามลำพังหรือเป็นคู่ โดยนกมักเกาะนิ่งๆตามใต้พุ่มไม้หรือที่ร่มครึ้มในป่าที่ชุ่มชื้น และกระดกขนบนหัวและหน้าผากขึ้นๆลงๆแทบจะตลอดเวลา เมื่อพบเหยื่อก็จะโฉบลงมาจับและขึ้นไปเกาะกิ่งเดิมหรือกิ่งใกล้เคียง

นก ชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางโดยเป็นนกประจำถิ่นของสุมาตรา ชวาและบอร์เนียว เป็นนกประจำถิ่นที่พบบ่อยทางภาคใต้และตะวันออกของพม่า เขตเทนเนอซาลิม ทุกภาคของไทยยกเว้นภาคกลาง เขมร ลาว ภาคกลางและภาคใต้ของแคว้นอันนัมในเวียตนาม โคชินไชน่า และคาบสมุทรมลายา ฤดูทำรังวางไข่ของนกชนิดนี้แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ สำหรับประเทศไทย นกจะทำรังในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม สุมาตราเดือนพฤษภาคม ชวาเดือนมีนาคมและบอร์เนียวทำรังในเดือนมกราคม เป็นต้น

รัง ของนกชนิดนี้ทำโดยเจาะโพรงเข้าไปในลำต้นไม้ในส่วนที่ผุพัง สูงจากพื้นดินราว 3 เมตร เคยมีรายงานว่านกชนิดนี้เจาะโพรงเข้าไปในรังมดที่ทำรังบนต้นไม้และวางไข่ ด้วย นกวางไข่ครอกละ2-5ฟอง เปลือกไข่สีขาว ขนาด24.6*20.8มม.
นกกะเต็นลายแบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย และพบได้ในประเทศไทยทั้ง 3 ชนิดย่อย ดังนี้
1.ชนิดย่อย L.p.pulchella พบทางภาคใต้ตอนใต้ที่จังหวัดสงขลาและนราธิวาส
2. ชนิดย่อย L.p.amabilis พบทางภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางในบางแห่ง
3.ชนิดย่อย L.p.melanops พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไปจนถึงจ.ตรัง

ภาพนกในบล็อกถ่ายที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มที่และข้อมูลจาก :
http://www.bird-home.com

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกระวังไพรปากเหลือง

นกระวังไพรปากเหลือง Pomatorhinus schisticeps (White-browed Scimitar-Babbler)มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 21-23 เซ็นติเมตร ปากโค้งค่อนข้างยาวสีเหลือง คิ้วขาว มีแถบคาดตาสีดำ ใต้คอ อก และท้องสีขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเขียว ลำตัวด้านข้างสีน้ำตาลแกมเหลืองหรือสีส้มอมแดง นกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน ทั่วโลกมี 13 ชนิดย่อย พบในประเทศไทย 6 ชนิดย่อย ซึ่งจะมีสีสันแตกต่างกันออกไปเล็กน้อย และกระจายพันธุ์แยกท้องที่กันออกไป

นก ชนิดนี้มักอยู่เป็นฝูงประมาณ 4-10ตัว อาจอยู่รวมกับนกกะราง หากินด้วยการบินและกระโดดไปตามพื้นดินและกิ่งไม้พุ่มเตี้ย ไม้พื้นล่างและต้นไม้สูง เสียงร้องดังสลับกันไปมา ทั้งเพื่อประกาศอาณาเขต เรียกร้องความสนใจจากนกตัวเมียและร้องเตือนภัยแก่สัตว์ชนิดอื่นๆ ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มักพบอยู่เป็นคู่ อาหารของนกชนิดนี้ได้แก่ หนอน แมลง และผลไม้สุกที่ร่วงหล่นตามพื้น

ช่วง เดือนมีนาคมถึงกรกฎาคมเป็นช่วงจับคู่ทำรังวางไข่ของนกระวังไพรปากเหลือง รังทำจากใบไผ่ ใบหญ้าต้นยาว รองรังด้วยรากฝอยของไผ่หรือใบหญ้าฉีกละเอียด รังเป็นทรงกลมสานแบบหลวมๆค่อนข้างรกมีทางเข้าออกด้านข้าง มักอยู่ตามโพรงระหว่างรากไม้ใหญ่ใกล้พื้นดิน กอไผ่ กอหญ้า ในเถาวัลย์ที่ปกคลุมต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น สูงจากพื้นดินไม่เกิน 1 เมตร วางไข่คราวละ 3-4ฟอง เปลือกไช่สีขาวไม่มีลาย ขนาด19.2*26.6มม. พ่อแม่นกช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงลูกอ่อน

เรามักพบนกชนิดนี้ตาม ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ป่าชั้นรอง ป่าไผ่ ทุ่งหญ้า บริเวณที่มีไม้พุ่มเตี้ยขึ้นอย่างหนาแน่น ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงที่สูง 2135เมตรจากระดับน้ำทะเล นกระวังไพรปากเหลืองเป็นนกประจำถิ่นของภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้แทบทุกภาค

ภาพนกในบล็อกนี้ถ่ายมาจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นกมาหากินและเล่นน้ำบริเวณหลังร้านอาหารบนพะเนินทุ่ง

ข้อมูลจาก :
http://www.bird-home.com

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกจับแมลงสีฟ้าท้องขาว

นกจับแมลงสีฟ้าท้องขาว Cyanoptila cyanomelana (Blue and White Flycatcher) มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 18 เซ็นติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีสีสันแตกต่างกัน นกตัวผู้ของชนิดย่อยหลักมีขนคลุมลำตัวด้านบนฟ้าจนถึงสีน้ำเงินเข้ม ด้านข้างของหน้า อก และคอมีสีน้ำเงินเข้มมากๆเกือบดำ ท้องและขนคลุมโคนหางด้านล่างสีขาวตัดกับสีน้ำเงินเข้มอย่างชัดเจน ส่วนนกตัวเมียมีสีสันโดยรวมเป็นสีน้ำตาล ขนคลุมลำตัวด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน คอสีขาวอมเหลืองหรือสีเนื้อ บริเวณท้องไปถึงขนคลุมโคนหางด้านล่างเป็นสีขาว หางสีน้ำตาลแดงจางๆ

นก ชนิดนี้มักอาศัยหากินโดดเดี่ยว เกาะยอดไม้หรือกิ่งไม้แห้งโล่งที่มีพุ่มใบหนาทึบบังอีกที นกจะจับแมลงตามกิ่ง ใบ และลำต้น ไม่ลงมาหากินบนพื้นดิน

ตามปรกติแล้ว นกจับแมลงสีฟ้าท้องขาวอาศัยตามที่โล่งของป่าดิบ ป่าตามเกาะต่างๆ แหล่งเกษตรกรรม สวนสาธารณะ สวนป่า ตั้งแต่พื้นราบจนถึงที่สูง 1830 เมตรจากระดับน้ำทะเล ทำรังวางไข่แถบตะวันออกเฉียงใต้ของเขตสัตวศาสตร์พาเลียอาร์กติก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ภาคเหนือและใต้ของเกาหลี และญี่ปุ่น ในฤดูหนาวจะอพยพลงใต้ไปหากินที่หมู่เกาะซุนดาใหญ่ หมู่เกาะฟิลิปปินส์ โดยมีประเทศไทย คาบสมุทรมลายู สิงคโปร์ ลาว ภาคตะวันตกของตังเกี๋ย ภาคกลางและภาคใต้ของอันนัม และทุกประเทศในแถบอินโดจีนอยู่ในเส้นทางอพยพผ่าน

นก ชนิดนี้มีสถานะเป็นนกอพยพผ่านในประเทศไทย โดยสามารถพบได้ตอนต้นฤดูอพยพมาและฤดูอพยพกลับ สามารถพบได้ทั่วทุกภาคเว้นตะวันออกเฉียงเหนือ และสามารถพบได้ในแทบทุกที่เช่น สวนผลไม้ ชายป่า สวนสาธารณะในเมือง ตามแต่นกจะแวะพัก แต่ที่มีรายงานการพบบ่อยคือที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นต้น นกจะแวะพักแต่ละจุดไม่นานนักจึงค่อนข้างยากต่อการพบเห็น

ภาพนกในบล็อกถ่ายมาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เมื่อเดือนมีนาคม 2551 ที่ผ่านมา

ข้อมูลจาก :
http://www.bird-home.com

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกอัญชันคิ้วขาว

นกอัญชันคิ้วขาว Porzana cinerea (White-browed Crake) เป็นนกอัญชันขนาดเล็ก มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 19-21.5 เซ็นติเมตร มีจุดเด่นอยู่ที่แถบสีขาวคล้ายคิ้วและแถบสีขาวที่มุมปากถึงข้างแก้มตัดกับ หน้าสีเทาและแถบตาสีดำ ปากสีเหลือง บริเวณโคนปากสีแดง หัวและอกสีเทา คอและท้องสีเทาปนขาว ท้องด้านล่างไปจนถึงก้นสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเหลือง มีลายเกล็ดสีน้ำตาลดำขาและเท้าเหลืองแกมเขียว นกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน

อาหาร ของนกชนิดนี้ได้แก่เมล็ดของพืชน้ำ แมลง ไข่แมลง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเล็กๆที่หาพบได้ตามกอพืชรกๆหรือชายน้ำในแหล่งน้ำที่ อาศัย โดยนกจะเดินจิกกินไปเรื่อยๆพร้อมกับกระดกหางขึ้นๆลงๆ

นกชนิดนี้หากินตามหนอง บึง ทะเลสาบ พื้นที่ชุ่มน้ำต่างๆที่มีพืชลอยน้ำปกคลุมหนาแน่นในพื้นที่ราบ

นก อัญชันคิ้วขาวมีการกระจายพันธุ์ในประเทศ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไนไทย ลาว เขมร เวียตนาม ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น และประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิคอื่นๆเช่น ฟิจิ หมู่เกาะโซโลมอน เป็นต้นโดยบางประเทศก็พบมาก บางประเทศก็มีรายงานการพบน้อยมาก

สำหรับ ประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นพบได้ทุกภาค แต่พบได้บ่อยเพียงในบางท้องที่ โดยมักพบร่วมแหล่งเดียวกันกับนกน้ำอื่นๆเช่นนกพริก นกอีแจว นกเป็ดผี นกอีโก้ง เป็นต้น

ข้อมูลจาก :

First records of White-browed Crake (Porzana cinerea) for Laos and its current range in Southeast Asia ของ The Wilson Journal of Ornithology ตีพิมพ์ 1 มิถุนายน 2007 ตามลิงค์นี้
http://goliath.ecnext.com/coms2/gi_0199 ... rowed.html (ฉบับโฆษณา)

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย เพลิง. เมื่อ 28 ก.ย. 2009, 10:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกอีแจว

นกอีแจว Hydrophasianus chirurgus (Pheasant-tailed Jacana) ได้ชื่อว่าเป็นราชินีนกน้ำเพราะรูปร่างหน้าตาที่สวยงามโดยเฉพาะในชุดขนฤดูผสมพันธุ์

นก ชนิดนี้ได้ชื่อไทยว่าอีแจวเพราะเมื่อนกตัวเมียวางไข่แล้วก็จะแจวจากไปหาคู่ ใหม่ และปล่อยให้นกตัวผู้กกไข่และเลี้ยงลูกไปตามลำพัง หรือจะได้ชื่อนี้มาจากเสียงร้องแจ๊วๆ แจวๆก็ไม่แน่ใจ เพราะฟังแล้วน่าเชื่อถือทั้งคู่ (แม้ว่าฝรั่งจะได้ยินนกชนิดนี้ร้องเหมือนแมวร้องแบบโกรธๆก็ตาม)

ความ ยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ31เซ็นติเมตร นกตัวเมียตัวโตกว่านกตัวผู้เล็กน้อย แต่ไม่มีความแตกต่างในชุดขนทำให้จำแนกได้ยากเมื่อเห็นทีละตัวในธรรมชาติ

ใน ชุดขนนอกฤดูผสมพันธุ์นกจะมีลักษณะคล้ายนกพริกตัวไม่เต็มวัยเพราะจะมีลำตัว ด้านบนสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างสีขาว เมื่อรวมกับรูปทรงที่คล้ายคลึงกันอาจทำให้จำแนกผิดได้ ดังนั้นจึงต้องสังเกตที่แถบตาสีดำที่ลากผ่านคอด้านข้างต่อเนื่องลงมาถึงแถบ อก และแถบข้างคอจนถึงท้ายทอยสีเหลืองของนกอีแจวไว้ให้ดี

ใน ชุดขนฤดูผสมพันธุ์ นกชนิดนี้จะมีขนคลุมร่างกายส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาล ดำ ทำให้หน้า หน้าผาก คอและแถบปีกสีขาวดูโดดเด่นออกมา แต่เวลาก้มหัวก็จะเห็นแต้มสีน้ำตาลเข้มที่กระหม่อม มีเส้นสีดำหรือน้ำตาลเข้มพาดผ่านแต้มที่กระหม่อมนี้ลากยาวผ่านข้างคอทั้งสอง ข้างลงไปยังหน้าอกด้านข้างเหมือนเป็นเส้นขอบให้แถบขนสีเหลืองทองสดใสซึ่งกิน บริเวณยาวลงไปถึงท้ายทอย หางสีดำที่ยื่นยาวออกมามากจากหางปรกติยาวได้ตั้งแต่ 8-27 เซ็นติเมตร ทำให้นกชนิดนี้แตกต่างจากนกน้ำอื่นอย่างเห็นได้ชัด

ใน แต่ละปีนกจะมีช่วงผลัดขนหนึ่งครั้ง และในช่วงนี้นกอีแจวจะไม่สามารถบินได้ การหลบหนีศัตรูต้องใช้การว่ายน้ำ ดำน้ำและหลบซ่อนตัวเท่านั้น

นกอี แจวทำรังวางไข่บนพืชลอยน้ำในบึงซึ่งเป็นแหล่งอาศัยในช่วงฤดูฝน การแสดงบทบาทในเรื่องนี้ของนกในวงศ์นกพริก(Jacanidae)ถือว่ากลับกันกับสัตว์ ชนิดอื่นๆ กล่าวคือนกตัวผู้ทำรัง ดูแลรัง กกไข่และเลี้ยงลูก ขณะที่นกตัวเมียซึ่งตัวโตกว่า ก้าวร้าวกว่าเป็นผู้ปกป้องรัง ปกป้องคู่หรือปกป้องอาณาเขต

นกตัวเมียจับคู่กับตัวผู้หลายตัวในหนึ่งฤดูกาล ซึ่งหมายความว่าจะต้องดูแลอาณาเขตมากกว่าหนึ่งอาณาเขตด้วย

เมื่อ นกอีแจวตัวเมียวางไข่ซึ่งมีประมาณครอกละ4ฟองแล้วก็จะไปจับคู่กับนกตัวผู้ตัว ใหม่เพื่อวางไข่ครอกต่อไป ขณะที่นกตัวผู้เจ้าของผลงานก้มหน้าก้มตากกไข่เป็นเวลายี่สิบสองถึงยี่สิบแปด วันโดยนกตัวเมียจะคอยช่วยปกป้องดูแล เมื่อลูกนกฟักเป็นตัวแล้วก็จะเลี้ยงลูกเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว อย่างไรก็ตาม การที่นกตัวเมียจับคู่กับนกตัวผู้ทีละหลายตัวก็ทำให้นกตัวผู้ที่ฟักไข่และ ดูแลลูกอาจจะกำลังดูแลลูกที่ไม่ใช่ผลผลิตของตัวเองก็เป็นได้

เข้า ใจว่าการที่นกต้องมีพฤติกรรมเช่นนี้เพราะว่าไข่ที่ถูกวางไปแต่ละรุ่นนั้นมี อัตราการรอดชีวิตจนโตเพียงไม่ถึงครึ่งเนื่องจากสภาพแวดล้อมเช่นภาวะน้ำท่วม และสัตว์ศัตรูเช่นงูน้ำ นกใหญ่ ที่จะมาทำลายไข่ ทำให้แม่นกต้องลดเวลาที่ต้องใช้ในการกกไข่ลงไปเพื่อผลิตไข่เพิ่มเติมแทน

ลูก นกอีแจวแรกเกิดมีขนอ่อนนุ่มแบบลูกเจี๊ยบ มีสีสันที่เหมาะกับการพรางตัว มีเท้าใหญ่โตเหมือนพ่อแม่ เกิดมาก็เดินและว่ายน้ำดำน้ำได้เลย พ่อนกจะสอนให้ลูกเดินหาอาหารและหลบศัตรู มีผู้พบว่าลูกนกอีแจวสามารถดำน้ำหลบศัตรูได้โดยโผล่มาแต่ปลายปากนิดๆที่มีรู สำหรับหายใจ

พ่อ นกอีแจวเป็นพ่อที่ทุ่มเทให้กับการเลี้ยงลูกมาก บางครั้งก็แกล้งทำปีกหักหรือแกล้งกกไข่ในที่ที่ไม่มีไข่เพื่อให้ศัตรูมาสนใจ ตัวเองแทนลูกๆ นอกจากนี้ยังมีเสียงร้องระวังภัยสำหรับเรียกลูกๆกลับมาซุกใต้ปีกหรือให้ไป หลบตามกอพืชน้ำ หรือดำน้ำหลบ และเมื่อปลอดภัยก็ส่งเสียงบอกลูกๆให้โผล่ขึ้นมาได้ด้วย

อาหาร ของนกชนิดนี้คือแมลงเล็กๆหรือเมล็ดพืชที่จับและจิกกินได้ตามผิวน้ำและตามกอ พืชน้ำในบึง ด้วยนิ้วเท้ายาวเก้งก้างตามแบบฉบับของนกน้ำทำให้นกอีแจวเดินบนพืชลอยน้ำได้ อย่างสบาย หากจะหล่นก็กระพือปีกช่วยได้ นอกจากนี้นกอีแจวว่ายน้ำได้คล่อง และบินได้ดีพอสมควร

นก ชนิดนี้มีการกระจายถิ่นในปากีสถาน เนปาล อินเดีย ศรีลังกา จนถึงพม่า ตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ไต้หวัน ลงใต้ไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คามสมุทรมลายู บอร์เนียวใต้และฟิลิปปินส์ จำนวนเล็กน้อยเดินทางลงใต้ไปยังเกาะสุมาตราและชวาหรือไปทางตะวันตกสู่โอมาน และเยเมนในช่วงฤดูหนาว สำหรับที่ไต้หวันนกชนิดนี้กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

นกอีแจวส่วน ใหญ่เป็นนกที่อยู่ประจำถิ่นแต่ก็มีบางส่วนจากจีนตอนใต้และเทือกเขาหิมาลัย อพยพลงมายังคาบสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

สำหรับ ประเทศไทยนกอีแจวมีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ โดยสามารถพบได้บ่อยในบางพื้นที่เช่นบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์ หรือตามบึงบัว บ่อปลาสลิด ทุ่งนาที่มีน้ำท่วม เป็นต้น

ข้อมูลจาก :

http://www.birdingintaiwan.org
http://ibc.lynxeds.com
http://www.answers.com

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นกกระแตผีเล็ก

นกกระแตผีเล็ก Burhinus oedicnemus (Eurasian Thick-knee, Eurasian Stone-curlew , Stone Curlew ) มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 40 เซ็นติเมตร เป็นนกกระแตผีที่ตัวเล็กที่สุดและพบได้บ่อยที่สุดในจำนวน 3 ชนิดที่พบในประเทศไทย อีกสองชนิดคือกระแตผีใหญ่ (Great Thick-knee) และ นกกระแตผีชายหาด (Beach Thick-knee)

นก กระแตผีเล็กมีปากใหญ่แข็งแรงสีเหลืองปลายปากดำ ตาสีเหลืองค่อนข้างโตทำให้มองเห็นตอนกลางคืนได้ถนัดแต่ก็ทำให้ดูตลกๆด้วย มีแถบขนสีขาวเหนือและใต้ตา ขนคลุมลำตัวโดยรวมเป็นสีน้ำตาลอ่อนและมีลายขีดสีน้ำตาลเข้มกระจายทั่วตัว ยกเว้นบริเวณท้อง และคอ มีแถบปีกสีขาวซึ่งเห็นเด่นชัดขณะบิน ขายาวสีเหลืองหรือเขียวอ่อน นกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน

นก ชนิดนี้มักหากินและส่งเสียงร้องตอนกลางคืน นอนนิ่งหลบแดดตอนกลางวันใต้ร่มเงาของต้นไม้ หากตกใจมักวิ่งหนีมากกว่าบินหนี อย่างไรก็ตามนกชนิดนี้บินแข็งมากและตอนกลางคืนอาจบินออกไปหากินได้ไกลๆ ลักษณะการบินของนกกระแตผีเล็กจะเป็นแนวตรง เร็ว และเห็นแถบปีกสีดำขาวชัดเจน

แหล่ง อาศัยหากินมักเป็นบริเวณทุ่งหญ้าสั้นๆ เขตเกษตรกรรมแห้งๆ พื้นที่กึ่งทะเลทราย พื้นที่แห้งๆที่มีพุ่มไม้ ตลิ่งทรายริมแม่น้ำ เป็นต้น อาหารของนกชนิดนี้คือแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเล็กๆ นอกจากนี้ยังกินสัตว์เล็กๆที่พบในทุ่งหญ้าด้วย

นก กระแตผีเล็กมีการกระจายพันธุ์ในทวีปยุโรป อาฟริกาเหนือ เอเชียใต้ และบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนกจะทำรังวางไข่ในยุโรปตะวันตกและเอเชียกลาง และอพยพในฤดูหนาวไปยังภูมิภาคอื่น สำหรับประเทศไทยมีทั้งที่เป็นนกอพยพและนกประจำถิ่น มีรายงานการทำรังวางไข่ในบางพื้นที่

นกชนิดนี้วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟองตามพื้นดิน ซึ่งอาจเป็นร่องตื้นๆจากการขุดเขี่ยและน้ำหนักตัวของนกเอง

นก ในบล็อกถ่ายภาพมาจากพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2552 โดยมีรายงานการพบนกชนิดนี้ที่นี่เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2552 โดยผู้ที่ใช้นามแฝงว่ากุมารทอง ในเว็บไซต์ http://www.thaiextreme.net มีผู้ตามเข้าไปหาอีกหลายครั้ง แต่หาตัวค่อนข้างยาก

ข้อมูลจาก :

http://en.wikipedia.org/wiki/Eurasian_Stone-curlew

http://www.rspb.org.uk

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:11
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เหยี่ยวรุ้ง

เหยี่ยวรุ้ง Spilornis cheela (Crested Serpent-Eagle) เป็นนกที่เป็นสีน้ำตาลทั้งตัว มีแผ่นหนังสีเหลืองสดใสบริเวณโคนปากไปจนถึงดวงตาซึ่งเป็นสีเหลืองเช่นกัน ขนบริเวณท้ายทอยค่อนข้างยาว เวลาที่ตั้งขึ้นจึงดูคล้ายเป็นหงอน บริเวณหัว ปีก และท้องมีจุดสีขาวกระจายไปทั่ว ที่หางมีแถบกว้างสีขาวพาดเป็นแนวขวาง เห็นได้ชัดเจน นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน แต่นกตัวเมียจะตัวโตกว่าค่อนข้างมากคือมีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 71 เซ็นติเมตร ขณะที่ตัวผู้มีขนาดเพียง 51 เซ็นติเมตรเท่านั้น

อาหาร หลักของเหยี่ยวรุ้งได้แก่ งู ทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษ ตามชื่อสามัญภาษาอังกฤษคือ Serpent-Eagle เกล็ดหนาๆที่ขาของนกชนิดนี้ช่วยกันอันตรายจากพิษงูที่อาจแว้งฉกกัดได้เป็น อย่างดี อย่างไรก็ตาม บรรดาสัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเล็กๆบนพื้นดินก็มีโอกาสเป็นอาหารของเยี่ยวชนิดนี้ เช่นกัน ในการล่าเหยื่อ เหยี่ยวรุ้งจะเกาะบนกิ่งไม้ใหญ่ ค่อนข้างโล่ง ไม่สูงจากพื้นดินมาก เพื่อจะได้เห็นเหยื่อง่ายๆ เมื่อเห็นก็จะโฉบลงมาจับขึ้นไปกินบนต้นไม้

เหยี่ยว รุ้งที่จับคู่แล้วจะอยู่ด้วยกันตลอดปี โดยเราอาจพบนกออกล่าเหยื่อ หรือบินร่อนในอากาศพร้อมกัน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม นกจะบินร่อนและส่งเสียงดังๆเพื่อเกี้ยวพาราสีกัน เมื่อจับคู่แล้วก็จะทำรัง นกอาจทำรังใหม่หรือมใช้รังเดิมที่เคยใช้มาแล้ว โดยมักเลือกทำบนต้นไม้สูงริมลำธารหรือแม่น้ำ และอยู่ค่อนข้างสูงคือตั้งแต่ 6-21 เมตร รังของเหยี่ยวชนิดนี้ทำจากกิ่งไม้เล็กๆนำมาขัดสานกันหยาบๆพอมีแอ่งเป็นที่ วางไข่ได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 61 เซ็นติเมตร แล้วก็รองรังด้วยใบไม้สด เหยี่ยวรุ้งวางไข่เพียงครั้งละ 1 ฟอง ขนาด 66*54 มม. เหยี่ยวตัวเมียกกไข่ เหยี่ยวตัวผู้นำอาหารมาป้อน เวลาผ่านไปราว 35-37 วันลูกนกก็จะออกมาดูโลก

เมื่อ ลูกนกออกจากไข่ใหม่ๆ แม่นกจะอยู่เฝ้าลูกและพ่อนกไปหาอาหารมาป้อน เมื่อลูกโตขึ้นแม่นกก็จะออกไปช่วยหาอาหาร โดยเมื่อยังเล็กพ่อแม่นกจะฉีกอาหารเป็นชิ้นเล็กๆให้ เมื่อโตขึ้นมาอีกหน่อยพ่อแม่ก็จะกินหัวและเท้า เหลือลำตัวให้ลูกหัดกินเอง ลูกนกอายุ 10 วันจะมีขนปกคลุมทั่วตัวและยืนได้ อายุ 30 วันก็จะเดินไปมาในรังได้และเมื่ออายุ 60 วันก็จะโตพอที่จะเริ่มหัดบิน ลูกนกวัยนี้จะมีสีขนที่แตกต่างจากนกตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน คือมีลำตัวตอนบนสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลอ่อน มีลายสีขาวและสีดำไปทั้งตัว

เหยี่ยวรุ้งมีการกระจายพันธุ์ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดียมาจนถึงบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ เนื่องจากพื้นที่ที่อาศัยกว้างขวางมาก จึงมีสีสันต่างกันมากจนถูกจำแนกออกเป็น 21 ชนิดย่อย สำหรับประเทศไทยมี 2 ชนิดย่อยจำแนกตามถิ่นที่อยู่อาศัยคือ เหยี่ยวรุ้งพันธุ์พม่าพบทุกภาคตั้งแต่บริเวณเหนือคอคอดกระขึ้นมา อาศัยตามป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าชั้นรอง จากที่ราบถึงความสูง 1500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนเหยี่ยวรุ้งพันธุ์มลายู พบในภาคใต้ ต่ำกว่าคอคอดกระลงไปจนถึงมลายู ชนิดย่อยนี้อาศัยในป่าดิบชื้น มีตัวเล็กกว่าและสีคล้ำกว่า

เหยี่ยว รุ้งตัวนี้พบที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม นกเกาะกิ่งไม้นิ่งๆอยู่เป็นเวลานานพอสมควร น่าจะกำลังเล็งหาอาหาร เพราะที่นี่มีงูตัวเล็ก ไม่ก็กิ้งก่าอยู่ไม่น้อย แต่ก็ไม่ได้เห็นนกจับเหยื่อ เพราะรถมอเตอร์ไซค์ที่วิ่งผ่านมาอย่างแรง ทำให้นกหันหลังและบินหายไปเลย

ข้อมูลจาก:
http://www.bird-home.com

.....................................................
"ขอมีสติเข้มแข็งดั่งขุนเขา..แต่ขอมีจิตใจอ่อนโอนดั่งขนนก"รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 15:54
โพสต์: 640

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
"เข้าป่า..ดูนก" ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ดีค่ะ ช่วยลดโลกร้อน
(ลดยังไง?...ตอบ ก็ไม่ต้องเปิดแอร์อยู่กับบ้านไงคะ) :b1:
ข้อมูลนี้พบนกแถวชานเมืองนี่เอง น่าดีใจค่ะ
tongue ขอบคุณสำหรับข้อมูลน่าสนใจค่ะ

.....................................................
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าธรรมชาติของจิตนั้นไหลลงต่ำ
จะขึ้นสูงต้องออกแรงทวนกระแส
เพราะฉะนั้นให้ถามตัวเองว่าเราคิดดีได้เป็นปกติหรือยัง
ถ้ายัง ก็ยอมรับตรงๆ ว่ายัง..
อย่าหลอกตัวเองว่าดีแล้ว
เพราะผลเสียหายไม่ใช่ใครอื่น นอกจากตัวเราเองที่ยังหลงวน
ไม่รู้ตัวว่าขาดเสบียงเพื่อความพร้อมตาย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นางนวล

ดูนกที่บางปูตั้งแต่ประมาณเดือนตุลาคมของทุกปีจะมีนกนางนวลมากมายบินมาwinter holiday
หรือบินมาแวะพัก ที่"สถานตากอากาศบางปู"และจะอยู่กันไปจนถึงประมาณเดือนเมษายนของปีถัดไป

ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาดีที่เราจะได้เจอกับนักเดินทางแดนไกล พวกที่มาไกลที่สุดนั้นมาจากไซบีเรียโน่นเชียว

เมื่อวันที่ไปบางปูนั้น คนไม่ค่อยมากเท่าไหร่ แต่นกมีมากแล้ว ที่บริเวณสะพานสุขตา เค้าบินโฉบมาใกล้ๆอย่างไม่เกรงกลัวอะไร มารับหนังไก่(แต่ก่อนฮิตกากหมูมาก แต่ตอนนี้หนังไก่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ)ที่คนโยนให้เป็นอาหาร กันอย่างคึกคัก นกนางนวลที่เจอในวันนั้นมีสองชนิดคือ นกนางนวลธรรมดา (brown-headed gull) ซึ่งเป็นนกนางนวลส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันที่บางปู กับอีกชนิดนึงเป็นนกนางนวลขนาดใหญ่ที่(เค้าว่า)เจอที่บางปูปีละเพียงไม่กี่ ตัวคือ นกนางนวลหลังดำพันธุ์รัสเซีย (heuglin's gull) ชื่อฝรั่งของเค้านี่มีผู้รู้บอกว่าต้องเรียกว่า "ฮ้อยกลิ้น'ส กัลล์"

นก นางนวลธรรมดาเป็นนกที่เราจะพบได้ในสามลักษณะคือ 1.นกเด็กที่เพิ่งเกิดในปีนั้น พออายุประมาณ 2 เดือนก็พร้อมที่จะบินมาเมืองไทยแล้ว 2.นกตัวเต็มวัยนอกชุดขนฤดูผสมพันธุ์ และ 3.นกตัวเต็มวัยในชุดขนฤดูผสมพันธุ์ซึ่งหัวจะกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มในช่วงที่ เค้าใกล้จะเดินทางกลับบ้านเพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์ทางตอนกลางของประเทศจีน

จริงๆ แล้ว ปีนี้ก็เป็นปีแรกเหมือนกันที่สนใจจะจำแนกนกนางนวลอย่างเป็นเรื่องเป็นราวมาก ขึ้นอีกนิด ไปได้หนังสือ บางปู นกนางนวลและผองเพื่อนนกน้ำอพยพ ของคุณพอพล นนทภา มา ทำให้จำแนกได้ง่ายขึ้นและเข้าใจมากขึ้นเยอะเลย

สำหรับ นกนางนวลหลังดำพันธุ์รัสเซียที่พบที่บางปูในวันนี้เป็นนกเด็ก ตามหนังสือบอกไว้ว่านกชนิดนี้ใช้เวลาถึง 4 ปีในการที่จะเติบโตเป็นนกผู้ใหญ่ ซึ่งนกในปีที่4 เมื่อถึงเวลาเดินทางกลับบ้านที่ไซบีเรียจะผลัดชุดขนเป็นชุดฤดูผสมพันธุ์เป็น ครั้งแรก โดยจะมีหัวสีขาวสะอาดตา

ถึงวันนี้ได้เจอนกเพียง 2 ชนิด แต่จำนวนนกที่มีมากมาย ทำให้เราได้สนุกกับการหัดถ่ายภาพนกบิน และไม่บิน สนุกกับการหัดจำแนกชนิดนกนางนวล และสนุกกับการดูอิริยาบทต่างๆทั้งการจับปลา การโฉบกินหนังไก่ การไล่ที่กัน และแม้กระทั่งอาการง่วงเหงาหาวนอนของเค้าก็ยังดูเพลินและยังคาดหวังต่อไป ด้วยว่า หนาวนี้คงได้มาเยือนบางปูอีกหลายครั้งแน่นอน

หวัดดีค่ะ...พี่เพลิง...เก็บมาฝาก..... :b31:

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร