วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=8



กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




kapook-17801-7514.jpg
kapook-17801-7514.jpg [ 8.74 KiB | เปิดดู 6834 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: tongue


:b47: จิตดวงที่หนึ่ง ดวงที่สาม เกิดตามเหตุ
พึงสังเกต ต่างสองกับสี่ ที่ควรขาน
เกิดเพราะมี การชักจูง มุ่งสู่การณ์
ร่วมก่อสาน กันไว้ ในดวงจินต์

:b47: ในบางครั้ง จิตกุศล ที่บังเกิด
คืดประเสรืฐ สร้างกุสลา พาถวิล
ทั้งทาน ศีล ภาวนา เป็นอาจิน
ในดวงจินต์ ใฝ่กุศล สร้างผลบุญ

:b47: นี่คือจิต ดวงที่หนึ่ง และที่สาม
บังเกิดตาม กุสลา มาเกื้อหนุน
โสมนัส ยามที่จิต เปี่ยมด้วยบุญ
กุศลหนุน บูญเอื้อ เกื้อกุสลา

:b47: แต่ยามใด สร้างบุญ หนุนกุศล
เมื่อจิตยล สิ่งที่นำ ย้ำสิกขา
เกิดชักจูง จากจิต คิดนานา
โสมนัส บังเกิดพา จิตยินดี

:b47: นี่คือจิต ดวงที่สอง และที่สี่
เป็นจิตที่ เกิดกุศล ดลหรรษา
เพราะมีเหตุ ชักจูงไป ให้นำพา
นำสิกขา มาให้เห็น เป็นดั่งเงา


:b48: :b48: เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: tongue


.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 14 ต.ค. 2009, 21:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างนี้เรียก รูปขันธ์ มีธรรมชาติอย่างนี้ มูลเหตุแห่งการเกิดเป็นอย่างนี้
จะดับไปด้วยอาการอย่างนี้ มีคุณอย่างนี้ มีโทษอย่างนี้ มีวิธีปฏิบัติเพื่อออกพ้นไป
ด้วยอาการอย่างนี้


อย่างนี้เรียก วิญญาณขันธ์ มีธรรมชาติเป็นอย่างนี้ มีเหตุแห่งการเกิดอย่างนี้
มีภาวะอันดับสนิทไปเป็นอย่างนี้ มีคุณ มีโทษ มีทางออกพ้นไปอย่างนี้

อย่างนี้เรียกสัญญาขันธ์ เรียกเวทนาขันธ์ เรียกสังขารขันธ์
มีธรรมชาติเป็นอย่างนี้ๆ มีเหตุทำให้เกิดเป็นอย่างนี้ มีการดับลงสนิทเป็นอย่างนี้
มีคุณ มีโทษ มีอุบายวิธีแห่งการพ้นไปด้วยอาการอย่างนี้ อย่างนี้

ถ้ามองศึกษา เพื่อประโยชน์ ในทางความรอบรู้ในชีวิต
กำหนดมองชีวิต ในแง่ของขันธ์ ทั้ง5ขันธ์ โดยไม่ต้องมาคอยนั่งนับจำนวนจิต
นั่งจดจำชื่อจิต จะไม่ง่ายกว่าหรือครับ ในการปฏิบัติ เพื่อดับทุกข์ และเพื่อความรู้ยิ่ง


:b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2068862wsz92z3j3z.gif
2068862wsz92z3j3z.gif [ 134.1 KiB | เปิดดู 6830 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: tongue


:b47: กระทู้นี้ มีประสงค์ ลงที่สติ
ที่บานผลิ ในจิตที่ มีกุศล
ยกจิตมา ให้เห็นกัน ทั่วทุกคน
ว่าเมื่อไร จิตเป็นกุศล สติ มา

:b47: และเมื่อไร จิตไร้ ชึ่งกุศล
จะมิยล สติ ได้ ให้สิกขา
แม้จะเพียร อย่างไร ในปฏิปทา
ขอเพียงให้ เกิดกุสลา ในจิตไว้


:b48: :b48: เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: tongue

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 14 ต.ค. 2009, 21:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




R802-47.jpg
R802-47.jpg [ 35.99 KiB | เปิดดู 6803 ครั้ง ]
กระบี่ไร้เงา เขียน:

:b47: จิตดวงที่หนึ่ง ดวงที่สาม เกิดตามเหตุ
พึงสังเกต ต่างสองกับสี่ ที่ควรขาน
เกิดเพราะมี การชักจูง มุ่งสู่การณ์
ร่วมก่อสาน กันไว้ ในดวงจินต์

:b47: ในบางครั้ง จิตกุศล ที่บังเกิด
คืดประเสรืฐ สร้างกุสลา พาถวิล
ทั้งทาน ศีล ภาวนา เป็นอาจิน
ในดวงจินต์ ใฝ่กุศล สร้างผลบุญ

:b47: นี่คือจิต ดวงที่หนึ่ง และที่สาม
บังเกิดตาม กุสลา มาเกื้อหนุน
โสมนัส ยามที่จิต เปี่ยมด้วยบุญ
กุศลหนุน บูญเอื้อ เกื้อกุสลา

:b47: แต่ยามใด สร้างบุญ หนุนกุศล
เมื่อจิตยล สิ่งที่นำ ย้ำสิกขา
เกิดชักจูง จากจิต คิดนานา
โสมนัส บังเกิดพา จิตยินดี

:b47: นี่คือจิต ดวงที่สอง และที่สี่
เป็นจิตที่ เกิดกุศล ดลหรรษา
เพราะมีเหตุ ชักจูงไป ให้นำพา
นำสิกขา มาให้เห็น เป็นดั่งเงา

Quote Tipitaka:

จิตดวงที่ ๑
[๑๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ
มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด



:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


จิตดวงที่ ๒
[๑๒๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหครคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ
มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


จิตดวงที่ ๓
[๑๒๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ
มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


จิตดวงที่ ๔
[๑๒๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ
มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด



:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




R20.jpg
R20.jpg [ 23.74 KiB | เปิดดู 6798 ครั้ง ]
:b41: หยาดฝนรินหยดย้อย :b42: :b42: ตามมี
หยดบ่อยฤดูปี :b42: :b42: :b42: .......ท่วมท้น
มากหยดมากนที :b42: :b42: :b42: ....เต็มเปี่ยม :b42: ทุกธาร
สมสั่งซึ่งน้ำล้น :b42: :b42: :b42: .....หยดแต้มอาบกิน


:b41: กุศลจิตนิดน้อย :b42: :b42: ..พี่เฮย
เชิญก่ออย่าละเลย :b42: :b42: ........จิตนั้น
เพราะผลช่างเลิศเอย :b42: :b42: .....สุขกรุ่น :b42: ทุกคราว
สมสั่งแห่งบุญนั้น :b42: :b42: :b42: สุขถ้วนสวัสดี



เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




R802-4.jpg
R802-4.jpg [ 18.54 KiB | เปิดดู 6752 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: tongue

:b47: องค์ธัมมาในจิตทั้งสี่นี้
ที่เหมือนกันมากมีที่ควรถวิล
ธรรมที่เกี่ยวกับ สติ มีทั้งสิ้น
เกิดในจินต์ เปี่ยมกุศล ดลสุขพลัน


:b47: สตินทรีย์ สัมมาสติ สติพละ
ทั้งสติ สัมปชัญญะ
ดังเสกสรรค์
กามาวจรกุศลจิต ทุกดวงนั้น
ร่วมรังสรรค์ สัมปชัญญ์ สติมา


:b48: :b48: เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: tongue


Quote Tipitaka:

กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๑

[๑๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ
มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ อโลภ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ (สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ
จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา
กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา
สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล




กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๒

[๑๒๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหครคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ
มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ

สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละสมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
อโลภ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ (สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ
กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา
สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ



กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๓

[๑๒๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ
มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติสัมมาสมาธิ
สัทธาพละ วิริยพละ
สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ
หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา
จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา
สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.



กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๔

[๑๒๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิตสหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ
มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัทธาพละ วิริยพละ
สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ
หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา
จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา
สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวะธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 20 ต.ค. 2009, 00:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




post-5866-1179970878.jpg
post-5866-1179970878.jpg [ 11.81 KiB | เปิดดู 6722 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: tongue


:b48: จิตชุดที่สอง มีผิดไป จากชุดแรก
มีที่แปลก ต่างไป ในอุเบกขา
หนึ่งถึงสี่ จิตน้อมไป ในสุขเวทนา
จึงเริงร่า โสมนัสมี ที่ในจินต์


:b48: ห้า ถึง แปด มีอุเบกขา แทนโสมนัส
ธรรมจึงตัด ปีติ และสุขสิ้น

ทั้งสี่ดวง มีอุเบกขา เป็นอาจิณ
ปีติสุข สิ้น อุเบกขาแทน ความยินดี :b48: :b48: :b48:

Quote Tipitaka:

กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๕

[๑๓๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ

มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียง เป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์
มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๖

[๑๓๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ

มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๗

[๑๓๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ

มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๘

[๑๓๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ

มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด



:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1147451h23duilmmf.gif
1147451h23duilmmf.gif [ 392.9 KiB | เปิดดู 6695 ครั้ง ]
Quote Tipitaka:

กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๕

[๑๓๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ

มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียง เป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์
มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ

สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ
กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา
สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๖

[๑๓๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ

มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ

สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ
อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา
จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา
กายุชุกตา จิตตุชุกตา
สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ



:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๗

[๑๓๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ

มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัทธาพละ วิริยพละ
สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ
หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา
จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา
สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่ อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ



:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๘

[๑๓๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ

มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัทธาพละ วิริยพละ
สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ
หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา
จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา
สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่ อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ




:b48: องค์ธัมมาในจิตทั้งสี่นี้
ที่เหมือนกันมากมีที่ควรถวิล
ธรรมที่เกี่ยวกับ สติ มีทั้งสิ้น
เกิดในจินต์ เปี่ยมกุศล ดลสุขพลัน

:b48: สตินทรีย์ สัมมาสติ สติพละ
ทั้งสติ สัมปชัญญะ ดังเสกสรรค์
กามาวจรกุศลจิต ทุกดวงนั้น
ร่วมรังสรรค์ สัมปชัญญ์ สติมา


:b48: :b48: :b48: เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: :b48: tongue

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




102.gif
102.gif [ 177.13 KiB | เปิดดู 6676 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: tongue


:b48: กระทู้นี้ กระบี่ฯ ต้องการ ชี้ให้เห็น
ในประเด็น สติมี ที่จิตกุศล
กุศลจิต ทั้งแปดไซร้ มีให้ยล
สติล้น ท่วมท้น ในกุสลา

:b48: เพื่อต้องการ ชี้ช่อง เพื่อง น้อง พี่
ว่าสตินี้ ต้องการมี ต้องศึกษา
ทำให้จิต เป็นจิต เปี่ยมกุสลา
สติมา สัมปชาโน ที่ต้องการ

:b48: สตินทรีย์ อินทรีย์ ที่มีสติ
พละสติ ความแกร่ง แรงผสาน
สัมมาสติ สติสัมปชัญญ์ มั่นในมาน
ร่วมประสาน เฉพาะจิต ชนิดกุสลา

:b48: จะขอยก จิตที่เป็น อกุศล
ท่านผู้อ่าน จะได้ยล ปนปุจฉา
จิตอกุศล สิบสองดวง จะยกมา
ให้ผู้อ่าน ได้ทัศนา ได้ตริตรอง

:b48: เมื่อได้เห็น ได้ยล ได้ศึกษา
ว่าจินตนา เช่นใดใส จิตใดหมอง
จิตอย่างไร ที่มี สติครอง
เป็นหน้าที่ ที่ต้องตรอง ลองคิดตาม

:b48: ส่วนอุบาย จะทำจิต ให้เป็นกุศล
แต่ละคน ล้วนมากพ้น ล้นคำถาม
กศลจิต เกิดอย่างไร แม้ในกาม
ตอบคำถาม ด้วยอุปนิสัย ในแต่ละคน

:b48: เชิญผู้อ่าน ตามชมเพลง กระบี่ใหม่
เฉิดไฉไล เพื่อคลาย หายสับสน
ต้องการสติ ให้มีอยู่ คู่จิตตน
จิตกุศล อกุศล ต่างอย่างไร


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=8&t=26448



รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 24 ต.ค. 2009, 06:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




P003.jpg
P003.jpg [ 26.62 KiB | เปิดดู 6655 ครั้ง ]
:b41: ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
มีใจประเสริฐที่สุด
สำเร็จแล้วแต่ใจ
ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว
กล่าวอยู่ก็ตาม
ทำอยู่ก็ตาม
ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น
เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไปอยู่ ฉะนั้น



:b41: ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
มีใจประเสริฐที่สุด
สำเร็จแล้วแต่ใจ
ถ้าบุคคลมีใจผ่องใส
กล่าวอยู่ก็ตาม
ทำอยู่ก็ตาม
สุขย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะสุจริต ๓ อย่าง
เหมือนเงามีปรกติไปตาม ฉะนั้น



:b41: เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




3647.jpg
3647.jpg [ 25.62 KiB | เปิดดู 6626 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: tongue


:b48: อ่านคาถา ธรรมบท อันไพเราะ
กล่าวจำเพาะ ถึงจิตใจ ที่เป็นใหญ่
งานทุกอย่าง ย่อมสำเร็จ ได้ด้วยใจ
ทำไฉน ให้ผ่องใส ไร้ธุลี

:b48: มวลบัณฑิต จิตประเสริฐ หมู่นักปราชญ์
เร่งฝึกจิต ให้ปราศ ตัณหาวิถี
ตามคำสอน พุทธวาจา มหามุนี
เพื่อจิตดี จิตอ่อน ควรแก่งาน

:b48: เพราะจิตที่ ฝึกดีแล้ว ย่อมแกล้ากล้า
ไกลตัณหา ไกลกิเลส เหตุผสาน
สุจริต กาย วาจา ใจ ให้ควรงาน
ดุจดั่งเงา เคลื่อนคลาน ตามบุคคล


:b48: ธรรมชาติจิต ล้วนรวดเร็ว ข่มยากนัก
เพราะจิตมัก ตกบ่อกาม ที่ลามล้น
ทั้งเร่าร้อน ติดใจกาม ที่ตามดล
ปราชญ์ บัณฑิต สามารถพ้น บ่อกามา

:b48: จิตที่ฝึก ดีแล้ว แกล้วกล้านัก
จิตก็จัก ก่อเกิดสุข สิ้นทุกขา
เี่คือธรรม ตามพุทธวาจา
เป็นคาถา ธรรมบท ที่งดงาม


Quote Tipitaka:

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฏฺฐา มโนมยา

มนสา เจ ปทุฏฺเฐน
ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ
จกฺกํว วหโต ปทํ

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ

ถ้าบุคคลมีใจร้าย
พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี
ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น
ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น



:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:


มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฏฺฐา มโนมยา

มนสา เจ ปสนฺเนน
ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมเนฺวติ
ฉายาว อนุปายินี

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ

ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว
พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี
ความสุขย่อมไปตามเขาเพราะเหตุนั้น
เหมือนเงาไปตามตัวฉะนั้น.


:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:


ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน
ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ


การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว
มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่
เป็นการดี เพราะจิตที่ฝึกแล้ว
ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.

:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 26 ต.ค. 2009, 22:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2009, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบี่ไร้เงา เขียน:
ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน
ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ

การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว
มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่
เป็นการดี เพราะจิตที่ฝึกแล้ว
ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.




:b41: การข่มจิต :b42: ข่มใจ :b42: ข่มได้ยาก
แต่แม้นหาก :b42: ใช้ปัญญา :b42: มาข่มไว้
ไม่ว่าจิต :b42: จะเร็วนัก :b42: สักเท่าใด
ปัญญาไว :b42: กว่าจิต :b42: ยามพิศดู

:b41: จิตไปไหน :b42: ปัญญาไป :b42: ในจิตนั้น
ปัญญากั้น :b42: อกุศล :b42: ปนเคียงคู่
ปัญญาสร้าง :b42: แต่กุศล :b42: ดลจิตอยู่
ปัญญาผู้ :b42: สร้างจิตใหม่ :b42: ใด้จิตดี

:b41: จิตที่ดี :b42: เร็วแค่ไหน :b42: ฉันไม่เกี่ยง
ขอเป็นเพียง :b42: อรหัตตมัคค :b42: จักเร็วรี่
เร็วไปเถิด :b42: จิตมัคค :b42: เกิดสักที
ชีวิตนี้ :b42: รอจิตมัคค :b42: สักดวงพอ......แล้วจ้า





:b41:พระโยคาวจรผู้ฉลาด
พึงรักษาคุ้มครองจิตเพราะอะไร ?

เพราะ......!!

....."การฝึกจิตที่ข่มได้ยาก เบา
มักตกไปในอารมณ์ใคร่
การฝึกจิตเป็นความดี
จิตที่ฝึกดีแล้วจะนำความสุขมาให้"

เพราะฉนั้น....!!

....."บัณฑิตพึงรักษาจิตที่เห็นได้ยาก
ละเอียดยิ่งนัก
มักตกไปในอารมณ์ใคร่
จิตที่คุ้มครองแล้วจะนำความสุขมาให้"

เพราะ......!!

....."จิตนี้ไปไกล
เที่ยวไปดวงเดียว
ไม่มีรูปร่าง
มีถ้ำเป็นที่อาศัย
ผู้ใดสำรวมจิตไว้ได้
ผู้นั้นจะพ้นจากบ่วงมาร"

....."ปัญญาของผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
ไม่รู้สัทธรรม
มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย
ย่อมไม่บริบูรณ์"


....."อนึ่ง ภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่
ผู้มีกัมมัฏฐานมั่นคงเป็นสหาย
มีจิตไม่ขวนขวาย
มีจิตไม่ถูกกำจัดละบุญและบาปได้แล้ว
ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ"



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Good-night-hi5-17.jpg
Good-night-hi5-17.jpg [ 28.05 KiB | เปิดดู 6590 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b48: tongue


:b48: แม้อารมณ์ไกลแค่ไหนจิตไม่หวั่น
เข้าผูกพัน คงมั่นไว้ ไม่แปรผัน
ชนเหล่าใด สำรวมใจ ไม่ผูกพัน
ย่อมพ้นบ่วง ที่พัน ของมารา

:b48: จิตทุกดวง ล่วงแล้วเกิด เกิดแล้วดับ
ไม่อาจนับ จำนวนได้ ให้ปริศนา
ดวงเดียวเที่ยว ล่องไป ในมัคคา
มีคูหา ถ้ำกายา เป็นที่พัก

:b48: อันกายา เหมือนถ้ำ เหมือนหม้อใหญ่
กั้นจิตไว้ ไม่ซัดส่าย ให้ตระหนัก
สำรวม ข่ม บ่มอินทรีย์ ในที่พัก
เพื่อหาญหัก มารที่กราย หมายยึดนคร

:b48: ใช้ปัญญา เหมือนอาวุธ ดุจเทพให้
ระวังภัย ทางประตูเข้า เนาสิงขร
ไม่หวั่นไหว ในกามคุณ หนุนนิวรณ์
อย่าคิดเอื้อ อาทร ให้เข้ามา

:b48: แล้วรักษา ความชนะ ที่ได้แล้ว
อย่างให้แคล้ว คลาดมั่น หมั่นสิกขา
ไม่ติดใน ที่ใจมั่น บั่นมารา(มาร)
เพียรรักษา ฌาน ญาณ ไว้ อย่าให้คลาย

:b48: และนี่คือ การทำใจ ให้สุขสถิต
ประคองจิต ในกุสลา อย่าให้สลาย
อกุศล พาลใด มิให้กราย
อยู่คนเดียว ไม่มีสหาย ก็สุขใจ



Quote Tipitaka:

ทูรงฺคมํ เอกจรํ
อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ
โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.

จิตนี้ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว
ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำเป็นที่อาศัย
ผู้ใดสำรวมจิตไว้ได้
ผู้นั้นจะพ้นจากบ่วงมาร

:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:

กุมฺภูปมํ กายมิทํ วิทิตฺวา
นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสิโน สิยา.

รู้จักกายนี้ อันเปรียบด้วยหม้อ,
กั้นจิต อันเปรียบด้วยนคร,
พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา
พึงรักษาความชนะที่ชนะแล้ว
และพึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่.




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 28 ต.ค. 2009, 15:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร