วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 12:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 13:24
โพสต์: 13

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีคนเคยบอกว่า ยิ่งแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลมากเท่าไรเราก็ยิ่งจะได้บุญเพิ่มมากเท่านั้น

แต่ก็มีบางคนบอกว่า ยิ่งเราแผ่ส่วนบุญ ผลบุญที่เรากระทำมาจะน้อยลงเพราะต้องไปให้ผู้อื่น

งงค่ะ

สรุปเป็นอย่างไรค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 15:37
โพสต์: 112

ชื่อเล่น: ดอกพุทธ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำบุญ อันดับแรกสิ่งที่ได้ก็คือความสบายใจ อิ่มใจ แต่การแผ่ส่วนกุศลผลของการทำบุญ
เคยได้ยินแต่ว่า ถ้าเราแผ่ส่วนบุญกุศล ไปให้ผู้อื่นเยอะๆ ด้วยความเต็มใจ และยินดี
ต่อไปในวันข้างหน้า ผลบุญนั้นหรือสิ่งดีๆ ก็จะกลับมาหนุนตัวเราเอง ขอให้ทำด้วยความ
เต็มใจเถอะค่ะ เชื่อว่าสิ่งดีๆ จะกลับมาแน่นอน :b1: :b1:

.....................................................
หลอมจิตบรรจง สู่แสงแห่งธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ยิ่งเราแผ่ส่วนบุญ ผลบุญที่เรากระทำมาจะน้อยลงเพราะต้องไปให้ผู้อื่น


คำกล่าวนี้ไม่ถูกต้อง...การอุทิศบุญเป็นการเจริญกุศลข้อที่๗ ใน บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการได้แก่

๑. ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน
๒. สีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญเกิดจากการขวนขวายในกิจที่ชอบ
๖. ปัติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญเกิดจากการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญเกิดจากการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญเกิดจากการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง


ขอยกคำอธิบายจากข้อเขียนของท่าน พระเทพวิสุทธิกวี
(พิจิตร ฐิตวณฺโณ)
มาดังนี้
..


๖. ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ

พุทธศาสนิกชน เมื่อทำบุญอันใดแล้วก็มักจะอุทิศส่วนบุญนั้นแก่ท่านผู้มีพระคุณ หรือแก่คนอื่น สัตว์อื่นเป็นอันมาก เพราะทำให้ได้รับผลบุญเพิ่มขึ้น เป็นการแสดงออกถึงการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ขี้เหนียว มีใจกว้างหวังประโยชน์สุขต่อคนอื่นสัตว์อื่น

เมื่อตนได้รับบุญแล้วก็หวังจะให้คนอื่นสัตว์อื่นได้รับบุญนั้นด้วย เหมือนคนมีความรู้แล้วก็ถ่ายทอดให้แก่คนอื่น ด้วยหวังให้เขาได้มีความรู้ความสามารถด้วย

บางคนทำบุญ เช่น ให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนาแล้วก็ไม่ยอมอุทิศบุญที่ได้รับนั้นให้แก่ผู้ใดก็ได้บุญแต่ผู้ เดียว และได้บุญเฉพาะในเรื่องของทาน ศีล หรือ ภาวนาที่ตนได้ทำเท่านั้น แต่ไม่ได้บุญข้อปัตติทานมัย แต่ถ้าหากว่าผู้นั้นอุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้อื่นด้วย เขาก็จะได้บุญเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือ ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ

การให้ส่วนบุญนั้น สามารถให้ได้ทั้งแก่คนเป็นและคนที่ตายไปแล้ว บางคนเข้าใจผิดว่าการให้ส่วนบุญหรืออุทิศส่วนกุศลให้ได้เฉพาะคนตายเท่านั้น ข้อนี้เข้าใจผิด แท้ที่จริง การให้ส่วนบุญนี้สามารถให้ได้ทั้งแก่คนที่ยังมีชีวิตและแก่ท่านที่ล่วงลับไป แล้ว

การให้ส่วนบุญแก่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ จะให้ต่อหน้าก็ได้ ให้ลับหลังก็ได้
การ ให้ต่อหน้า เช่น เราทำบุญมาสักอย่างหนึ่ง จะเกิดจากทานก็ตามจากศีลก็ตาม หรือจากภาวนาก็ตาม เมื่อเราพบพ่อแม่หรือญาติมิตร ก็บอกว่า "วันนี้กระผม(หรือดิฉัน) ได้บวชลูกหรือบวชหลานมา ขอให้คุณพ่อ... จงได้ได้รับส่วนกุศลนั้นด้วย ขอให้อนุโมทนาในส่วนกุศลครั้งนี้ด้วย" ผู้รับจะ อนุโมทนา หรือไม่ก็ตาม แต่ผู้ให้ย่อมได้รับส่วนบุญแล้ว ถ้าเขาอนุโมทนา เขาก็ได้รับบุญข้อปัตตานุโมทนามัย

การให้ลับหลัง เข่น ในปัจจุบัน ชาวไทยจำนวนมากรวมทั้งพระสงฆ์ เมื่อถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ก็มักจะบำเพ็ญบุญกุศลโดยเสด็จพระราชกุศล มีการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา แล้วถวายพระราชกุศลแก่พระองค์ท่าน อย่างนี้ก็เรียกว่า ปัตติทานมัยเช่นกัน

การให้ส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เขาจะตายไปแล้วนานเท่าไรก็ได้ จะอุทิศเป็นภาษาไทยก็ได้ เป็นภาษาบาลี หรือภาษาอื่นใดก็ได้ มีน้ำกรวดก็ได้ ไม่มีน้ำกรวดก็ได้ มีกระดูกและชื่อของผู้นั้นก็ได้ ไม่มีก็ได้ ย่อมสำเร็จทั้งสิ้น

อย่างในกรณีเปรตผู้เป็นพระญาติของพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์ก็ทรงจำชื่อพระญาติเหล่านั้นไม่ได้แม้แต่คนเดียว พระองค์อ้างในคำอุทิศว่า เป็นญาติเท่านั้นก็ถึงได้ เพราะเปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้นกำลังรอรับส่วนบุญอยู่แล้ว ดังคำบาลีที่พระองค์อุทิศส่วนกุศลแก่พระญาติของพระองค์หลังจากที่พระองค์ทรง บริจาคทานแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขว่า

"อิทํ เม ญาตีนํ โหตุ ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า สุขิตา โหนตุ ญาตโย ขอญาติทั้งหลายจงถึงความสุข"

เพียงเท่านี้ก็สำเร็จ โดยพระองค์ไม่ได้บ่งชื่อญาติเหล่านั้นเลยแม้แต่พระองค์เดียว และในการกรวดน้ำครั้งนั้นไม่ต้องใช้น้ำเลย

การอุทิศส่วนบุญโดยมีน้ำกรวดเพิ่งนำมาใช้ในยุคหลังนี้เอง คือหลังจากครั้งพุทธกาล แต่จะเกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่เท่าไร ยังหาหลักฐานไม่พบ

กล่าวกันว่า พุทธศาสนิกชน ในประเทศอินเดียเห็นพราหมณ์ลงไปในแม่น้ำคงคา เอามือวักน้ำแล้วหยอดลงไปในแม่น้ำตามเดิม พร้อมกับกล่าวอุทิศว่า "ขอให้น้ำนี้จงถึงแก่พ่อแม่ของข้าพเจ้า"

พุทธศาสนิกชนเห็นพวกพราหมณ์กรวดน้ำเช่นนี้ จึงเห็นว่าเข้าทีดี จึงได้นำน้ำมาประกอบในการอุทิศส่วนกุศล เรียกกันในปัจจุบันว่า "การกรวดน้ำ" พระสงฆ์เห็นว่าไม่ผิดหลักพุทธศาสนาอันใด จึงอนุโลมให้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

แท้ที่จริง การอุทิศส่วนกุศลที่เรียกว่าปัตติทานมัยนั้น เดิมทีไม่ต้องใช้น้ำเลย ฉะนั้น การอุทิศส่วนกุศล จะมีน้ำด้วยก็ได้ ไม่มีก็ได้ ย่อมสำเร็จทั้งสิ้น

แต่การอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ไปเกิดเป็นเปรตนั้น บุญนั้นจะต้องเกิดจากทานเท่านั้น และเปรตที่จะได้รับส่วนบุญนี้ก็เฉพาะ ปรทัตตูปชีวิเปรต คือ เปรตที่อาศัยทานที่คนอื่นให้ ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์อย่างนี้

การที่พวกเปรตจะได้รับส่วนบุญนั้น ต้องประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการ คือ

๑. การอุทิศของผู้ให้
๒. การอนุโมทนาของเปรต
๓. ปฏิคาหก (ผู้รับทาน) เป็นผู้ทรงศีล

ต้องพร้อมทั้ง ๓ ประการนี้ จึงจะสำเร็จผล ถ้าขาดแม้ข้อเดียว เช่น ปฏิคาหกไม่มีศล บุญก็ไม่ถึง อันปฏิคาหกผู้รับทานนั้นไม่จำเป็นต้องได้ภิกษุสามเณรผู้ทรงศีลเท่านั้นเสมอ ไป ในคัมภีร์ท่านกล่าวไว้ว่า แม้อุบาสกผู้ทรงศีลก็สามารถทำให้ทานสำเร็จแก่พวกเปรตได้เช่นกัน ดังมีตัวอย่างปรากฏอยู่ในเรื่องนางเวมาณิกาเปรต ในอรรถกถาเปตวัตถุ

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


แก้ไขล่าสุดโดย คนไร้สาระ เมื่อ 23 ต.ค. 2009, 06:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 11:23
โพสต์: 24

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การแผ่เมตตา คือ ภาวะที่จิตใจอันสงบนั้นสร้างกระแสความรัก ความเตตาปรารถนาดีต่อสัตว์โลกทั้งปวง ได้แก่ตัวเราเองและผู้อื่น อำนาจจากจิตที่มีความปรารถนาดีให้สัตว์ต่าง ๆ พ้นจากทุกข์และมีความสุขนั้น เป็นกระแสเย็นที่แผ่ออกไปแล้วทำให้ผู้ที่แผ่นั้นเกิดความเย็นใจ และทำให้ผู้ที่เรานึกถึงนั้นเกิดความปิติสุขเย็นใจเย็นกายตามไปด้วย ด้วยกระแสเมตตาดังกล่าวนี้จะให้ผู้ที่ให้และผู้ที่ได้รับกระแสการแผ่เกิดความสุข หากกำลังตกอยู่ในห้วงทุกข์ ก็อาจหลุดพ้นจากความทุกข์นั้น ได้ด้วยกระแสเมตตาจิตที่เป็นสมาธิ หรือผู้ที่กำลังเจ็บป่วยอย่างใดอย่างหนึ่ง หากได้รับกระแสพลังเมตตาแล้วก็อาจทำให้หายป่วยได้เช่นกัน อำนาจเมตตาจากการภาวนานั้นสามารถช่วยได้หลายประการ ไม่ว่าจากความทุกข์กายหรือทุกข์ใจ และสำหรับผู้ที่กลัวเวรกรรมและอำนาจ จากเจ้ากรรมนายเวรก็ดี วิธีแผ่เมตตาดังกล่าวจะช่วยได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถสร้างกระแสความรักความปรารถนาดีขึ้นในใจเราได้ การแผ่เมตตาบ่อยๆ เมื่อกระแสเมตตากระทบเข้ากับเจ้ากรรมนายเวรบ่อยครั้งเข้าเจ้ากรรมนายเวรที่เคยเคียดแค้นเราอยู่ก็จะค่อย ๆ อ่อนโยนลง และอาจอโหสิกรรมให้เราได้ ทั้งนี้ต้องหมั่นทำบ่อย ๆ และทุกครั้งที่ทำต้องสร้างกระแสความรักความปรารถนาดีให้เกิดขึ้นในใจเราให้ได้จริง ๆ


การแผ่ส่วนบุญ ไม่เหมือนกับการแผ่เมตตา การแผ่เมตตา คือการแผ่เจตนาดีให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ให้ผู้อื่นเป็นสุข ส่วนการแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลนั้นคล้าย ๆ กัน แต่มีเจตนาว่าให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้นมาร่วมโมทนา หากดวงจิตวิญญาณที่อยู่ในอาณาเขตของการแผ่ส่วนบุญนั้นได้รับรู้และมาอนุโมทนาร่วมกับการปฏิบัติธรรม หรือการให้ทานถือศีลของเรา ดวงจิตวิญญาณเหล่านั้นก็จะได้รับผลบุญที่เราทำด้วยอำนาจของผลบุญจากการดวงจิตวิญญาณมาอนุโมทนาบุญนั้น ย่อมสามารถทำให้ดวงจิตวิญญาณที่ตกหล่นเป็นเจ้ากรรมนายเวรเรา หรือดวงจิตวิญญาณของบรรพบุรุษที่ยังไม่ไปผุดไปเกิดนั้น ได้ไปผุดไปเกิดในสถานที่ดีได้ และยังส่งผลใหผู้ที่แผ่ส่วนบุญมีกิจการงานที่ดีหรือหายเจ็บป่วยได้เช่นกัน


การแผ่เมตตาและการแผ่ส่วนบุญเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปเพื่อความสมบูรณ์ โดยเมื่อออกจากสมาธิแล้ว ให้แผ่เมตตาก่อน จากนั้นจึงแผ่ส่วนบุญอุทิศส่วนกุศล มีหลายท่านถามว่า การอุทิศส่วนบุญนั้น จำเป็นต้องกรวดน้ำหรือไม่ ในข้อนี้ตอบว่าไม่จำเป็น สำคัญที่ใจเราเป็นที่ตั้งหากใจเราเป็นสมาธิดี เป็นเมตตาดี ตั้งใจแผ่ดีแล้ว ก็ย่อมถึงซึ่งเจ้ากรรมนายเวร และดวงจิตวิญญาณทั้งหลายที่ผูกพันอยู่กับตัวเราอย่างแน่นอน

ที่มาหนังสือ.. เกิดแต่กรรม 4 โดยแม่ชีทศพร ชัยประคอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สุขสฺเสตํ ภิกฺขเว อธิวจนํ ยทิทํ ปุญฺญานิ.
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญ นี้เป็นชื่อของความสุข



เวลาเรา..ทำให้คนที่เรารักมีความสุข
เวลาเรา..พูดสิ่งที่ทำให้เขามีความสุขแล้ว

ถามว่า..
.เมื่อเขามีความสุขแล้ว เราส่งความสุขให้เขาแล้ว
ความสุขส่วนของเรานั้นมันลดน้อยถอยลงไปหรือ? :b10:




ตอบ - มันไม่ลดน้อยไปเลยใช่ไหมล่ะ
ความสุขที่เรามอบให้เขา มันไม่ได้"ถูกแบ่งจำนวน"ออกไปจริงๆเลย
ตรงกันข้าม ยิ่งให้ ยิ่งได้
ยิ่งเขามีความสุข เรายิ่งมีความสุข
นี่แหละ มันแปลกอย่างนี้


แต่ต้องแน่ใจว่าสิง่ที่ทำนั้นเป้นบุญจริงๆนะ
บุญปลอมๆมันไม่ให้ผลผลิตเป้นความสุขหรอก

หลักง่ายๆ เทคนิคส่วนตัวผมนะ
ในการพิจารณาว่าสิ่งที่จะพูดจะทำนั้นเป้นความดีหรือเปล่า มีผลเป้นสุขหรือเปล่า
ให้พิจารณา 3 ประการนี้

1. ผู้อื่นก็ต้องไม่เดือดร้อน
2. เราต้องไม่เดือดร้อน
3. สิ่งที่ทำนั้น โลกอนุโลม รู้กาละเทศะ


1. ผู้อื่นต้องไม่เดือดร้อน
แม้ว่าบางทีเราปราถนาดีนะ คิดว่าที่จะพูดจะทำมันดีแล้วนะ
แต่เขาไม่เอา เขาไม่รับ เขาขุ่นเคือง เราก้ต้องไม่ทำ
ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่า "เรากระหายความดีมาก มากจนไม่สนว่าผู้อื่นจะเดือดร้อนหรือไม่"
เมื่อเห็นแก่ตัวขนาดนั้นแล้วก็จะพยามยัดเยียดความไม่สบายใจ ขุ่นเคืองใจแก่ผู้อื่น

บางคนหลงจัดนะ คิดว่าชั้นพูดแต่ความจริง ชั้นไม่ผิด ฉันมีสิทธิ์พูด อะไรทำนองนี้
เช่นพวกสื่อสารมวลชน พวกข่าวบันเทิง พวกนี้ตันหาจัด
คือมีทิฐิว่าฉันได้ความดีก็พอแล้ว ใครจะเดือดร้อนจากความดีของฉันก้ตาม ฉันไม่แคร์


2. เราต้องไม่เดือดร้อน
บางคนมีทิฐิว่า ก็ไม่เดือดร้อนใครนี่ ไม่ได้ผิดกฏหมาย ไม่เดือดร้อนใคร ฉันทำของฉัน ฉันมีสิทธิ์
ก็เลยไปเบียดเบียนตัวเองเพื่อให้ได้ความดี เช่น
มีเงินเดือน 100 บาท อยากได้ความดีมาก ทำทานมันซะ 99 บาทเลย
สุดท้ายเงินไม่พอใช้ เดือดร้อน กู็หนี้ยืมสิน
บางคนยิ่งกว่านั้นนะ อยากได้ความดีมาก เลยซื้อบุญแบบผ่อน 0% 10 เดือนก็มีนะ
ปานนั้น
นี่คือพวกที่มีทิฐิว่าฉันได้ความดีก็พอแล้ว ฉันจะเดือดร้อนจากความดีของฉันก้ตาม ฉันไม่แคร์
คิดว่าความดีกับความทุกข์มันหักลบกลบหนี้กันได้
ได้ความดีตั้ง 100 บาท เดือดร้อนแค่ 99 บาท ยังกำไรความดี 1 บาทแหนะ
แล้วก็ท่องว่า ... พอเพียงๆ ( :b5: )


3. สิ่งที่ทำนั้น โลกอนุโลม รู้กาละเทศะ

อันนี้พูดง่ายๆคือฉลาดในการทำดี
รู้จักคิดว่า อะไรควรทำเวลาไหน ไม่ควรทำเวลาไหน รู้กาละเทศะ
อันนี้มันเป้นศิลปะที่ต้องค่อยเรียนรู้กันไป

แต่ถ้าอยากรู้ว่าพระพุทธเจ้าพูดว่า คนดีคืออะไร ต้องเป้นยังไง
ให้ไปดู "สัปปุริสธรรม" ซึ่งก้คือ ธรรมะของคนที่เรียกว่า "คนดี"

:b16:


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 21 ต.ค. 2009, 21:49, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


เขาใช้คำว่า "แผ่"บุญ
ไม่ได้ใช้คำว่า"ให้"บุญ คำว่าแผ่ก็คือ กว้างออก
ขยายออกจากศูนย์กลาง (ความเห็นส่วนตัวนะค่ะ)

จะหวงเอาไว้ทำไมค่ะ ขยายออกไปให้ไกลๆ
กว้างๆ ดีกว่ามั้งค่ะ เจริญในธรรมค่ะ :b41: :b42: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


บุญแห่งการให้บุญ

การให้บุญหรือการอุทิศส่วนกุศลให้คนอื่น หรือการเผื่อแผ่สิ่งที่ดีงามให้แก่ผู้อื่นนั้น หมายถึงว่าเวลาเรามีความดีความชอบใดๆ แล้วเราก็ควรจะเผื่อแผ่ความชอบนั้นให้แก่ผู้อื่น

ในเรื่องนี้สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ ...
- บุญยกกำลังสอง
- การทำดีโดยไม่ติดดี
- การอุทิศส่วนบุญกุศล และ
- คำอธิษฐาน

บุญยกกำลังสอง

มีหลายสิ่งหลายอย่างทีเดียวในธรรมชาติที่เรายิ่งเอาออกมาใช้เผื่อแผ่มาก เท่าใดเรายิ่งได้มากเท่านั้น เช่น ไมตรี เรายิ่งแผ่ไมตรีเรายิ่งได้มิตรไมตรี บุญก็เช่นกัน เมื่อเราทำบุญหรือเราทำความดีใดๆไว้แล้ว เราได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ ถ้าเราแผ่บุญแผ่กุศลให้กับผู้อื่นอีกเรายิ่งได้บุญยกกำลังสอง เพราะบุญตามรากศัพท์จริงมันก็คือการชำระ ในขณะที่เราเป็นคนที่ทำดี มีบุญ บุญเป็นของเรา มีการครอบครองบุญอยู่ พอเราสละการครอบครองในบุญก็เกิดบุญอีกชั้น เพราะการสละให้คือบุญอยู่แล้ว บุญเกิดบุญยกกำลังสอง เกิดการชำระที่ล้ำลึกยิ่งขึ้น

ไม่ต้องห่วงว่าเมื่ออุทิศบุญกุศลให้คนอื่นแล้วจะหมด ตรงกันข้ามกลับยิ่งได้มากขึ้น เหมือนแสงสว่าง ถ้าเรามีเทียนอยู่แท่งเดียวแล้วเราเอาแสงเทียนของเราไปจุดให้เทียนของคนอื่น จะเกิดความสว่างขึ้น ต่างคนต่างไปช่วยกันจุด ขยายไปเรือยๆ เกิดกำลังเทียนมากขึ้น ส่องสว่างเปล่งประกายมากขึ้น การเผื่อแผ่บุญก็เช่นกันจะทำให้บุญเบ่งบานงอกงามขึ้นในสังคม ความดีของเรานิดเดียวเอาไปต่อเทียนแล้วก็ต่อเทียนกันไปเรื่อยๆ เกิดความดีมหาศาลในสังคมได้

ดังนั้น เราจึงควรอุทิศส่วนกุศล อุทิศความดีงาม มอบความดีความชอบ หรือมีสิ่งดีงามใดๆ ก็ตาม มีบุญบารมีใดๆ ก็ตาม ก็เผื่อแผ่ให้คนอื่นไม่ว่าจะเป็นคนที่รักก็ดี ไม่ว่าจะเป็นคนที่เขาชังเราก็ดี หรือคนที่เราเคยชังเขา ต้องแผ่ให้หมด คนที่รักกันก็จะรักกันมากยิ่งขึ้น คนที่เราชังเขา เมื่อเราแผ่สิ่งดีๆ ให้ ความรู้สึกเกลียดชังก็จะลดลงและหายไป ซึ่งต้องใช้เวลามากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณี

เมื่อมีความปรารถนาดีเข้ามาแทนที่ ความสว่างแข้ามาแทนที่ ความมืดก็หายไป คนที่เขาเกลียดชังเราอยู่พอเราให้ความดี ให้สิ่งดีกับเขามากๆ เขาได้รับสิ่งที่ดีจากเรา ทัศนคติของเขาที่มีต่อเราก็จะเปลี่ยนไป เราก็จะเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตรได้ เหตุนี้จึงเกิดธรรมเนียมในการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดามารดา เจ้ากรรมนายเวร สรรพสัตว์ใหญ่น้อยทั้งหลาย นั่นคือที่มาของธรรมเนียม

การทำดีโดยไม่ติดดี

เราจะเห็นว่าในสังคมทั่วโลก คนดีๆ ไม่น้อยทำไมจึงทะเลาะกัน นี่เป็นปัญหาใหญ่มากเลย ต่างคนก็ต่างปรารถนาดีแล้วตีกันจนโลกยับเยิน เช่น คอมมิวนิสต์กับทุนนิยม่ต่างก็หวังดีต่อโลก ทำสงครามเย็นกันจนโลกพินาศไปไม่น้อย หรือการที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านทะเลาะกันอยู่ทุกวันด้วยต่างก็คิดว่าตนทำ เพื่อประชาชน ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยในสังคม

ความพินาศอย่างหนึ่งของโลกมาจากการติดดี คิดว่าฉันดี อย่างน้อยก็หวังดีล่ะ แต่ลืมทำดีระหว่างกัน จึงไม่เคารพกันและกันแต่ยึดเฉพาะความดีของตน วิธีของฉันน่ะถูก ฉันเป็นคนดี เธอจะต้องเข้าใจฉันนะ เธอจะต้องมองฉันในแง่ดีนะ ฉันทำดีแล้วทำไมเธอไม่เข้าใจ ทำไมไม่เชื่อฟัง เหล่านี้คืออาการของการติดดี เป็น side effect ของความดี

โศกนาฏกรรมของคนดีทั้งหลายมักจะเกิดมาจากความติดดี

ความดีนั้นควรจะทำเป็นนิสัย แต่ไม่ควรติดดี เพราะว่าความดีไม่ได้มีไว้แบก แต่ความดีมีไว้ปูทางเดิน

่พอเราทำความดีมากๆ ก็จะทำให้วิถีชีวิตของเราราบรื่นอะไรมันก็สะดวกไปหมด แต่ถ้าไปแบกความดีแล้วจะหนักมากเลย ฉันเป็นคนดี ทุกคนจะต้องเข้าใจฉันในแง่ดีนะ ถ้าใครมองไม่ดีก็โกรธคนนั้น เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน

ส่วนใหญ่คนที่ติดดีนั้นจะมีปัญหาเรื่องวาจาวิพากษ์วิจารณ์นินทาหรือกระทบ กระเทียบกันเล็กๆ น้อยๆ พอกระทบกระเทียบวิพากษ์วิจารณ์นินทากัน ความดีมันก็หายไปเพราะผิดกุศลกรรมบท อาการติดดีมักจะเป็นตัวทำลายความดีในที่สุด

คนที่สละเผื่อแผ่บุญได้จะไม่ติดดี คนที่ไม่สละเผื่อแผ่ความดีให้คนอื่นจะติดดีและจะเป็นทุกข์เพราะการติดดีนั้น

จำไว้ว่าความดีนั้นดี แต่การติดดีนั้นชั่ว

ด้วยเหตุนี้ เมื่อเรามีความดีอย่าไปติดดี อุทิศดีไปอีกชั้นหนึ่ง อุทิศไปซะ ให้ความดีแก่คนอื่นไปซะ เมื่อเราอุทิศความดีแล้วเราไม่ใช่เจ้าของความดีแล้ว สิ่งเหลืออยู่คือความบริสุทธิ์ ยอดเยี่ยมยิ่งกว่าความดีอีก

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราลอยบุญและบาป สิ้นแล้วจักปรินิพพาน" เห็นไหม แม้แต่บุญก็ต้องสละ บาปก็ต้องสละ จึงจะเข้าสู่ความบริสุทธิ์ได้

ความบริสุทธิ์ไม่ใช่ความดี ความดีไม่ใช่ความบริสุทธิ์ แต่ความดีจะอยู่กับความบริสุทธิ์เสมอ โดยที่มันก็ไม่ใช่ของกันและกัน อย่างเช่นในอะตอมหนึ่งๆ มีนิวตรอนคือความเป็นกลาง โดยที่โปรตรอนหรือส่วนที่เป็นบวกมันจะอยู่ในนิวตรอนเสมอ ทั้งๆ ที่โปรตรอนก็ไม่ใช่นิวตรอน นิวตรอนก็ไม่ใช่โปรตรอน ความดีจะอยู่ในความเป็นกลางหรือความบริสุทธิ์เสมอ ในขณะที่อิเล็กตรอนมันวิ่งวนอยู่รอบๆ อยู่ภายนอนก

ฉะนั้น ท่านจงเป็นคนบริสุทธิ์เถิด อย่าไปแบกดีเลย แล้วความดีจะอยู่กับท่านเองโดยธรรมชาติ

การอุทิศส่วนบุญกุศล

การอุทิศส่วนกุศลสามารถทำได้เลยด้วยกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งดังต่อไปนี้

วิธีที่หนึ่ง บอกแก่คนที่เราต้องการมอบส่วนกุศลแก่เขา ว่าเราได้ทำบุญกุศลมาแล้วดังนี้ ให้เขาอนุโมทนา เมื่อเขาอนุโมทนายินดีเขาก็จะมีส่วนในบุญกุศลนั้นด้วยทันที

วิธีที่สอง ถ้าต้องการให้แก่คนที่ตายไปแล้ว ก็แผ่จิตไปบอกเขา เขาอยู่ที่ไหนก็ตามเมื่อได้เห็นแสงจิตของเราที่แผ่ออกไปและอนุโมทนา ก็จะได้บุญนั้นๆ เช่นกัน

วิธีที่สาม ถ้าเราแผ่จิตได้ไม่กว้างไกลในมิติอื่น ให้ใช้อีกระบบหนึ่งก็คือระบบไปรษณีย์ โดยการกรวดน้ำ เป็นธรรมเนียมในการมอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถยกมอบให้ได้ด้วยมือตนเอง เราจะใช้สื่อ สื่อที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็คือน้ำ อย่างเช่นสมัยก่อนพระนเรศวรมหาราชหลั่งน้ำสิโนทกครองแผ่นดิน ก็ต้องหลั่งน้ำรดลงไปในแผ่นดิน เป็นการจะยกแผ่นดินให้แก่กัน สมัยก่อนไม่มีโฉนดก็ใช้น้ำนี่แหละรดลงไปบนแผ่นดิน หรือเราจะยกลูกสาวให้แก่ชายหนุ่ม เราไม่สามารถอุ้มลูกสาวแล้วบอกว่าฉันให้เธอนะ เราก็ให้เขายื่นมือแล้วประนมมือแล้วรดน้ำ บุญก็เช่นกัน บุญเราไม่สามารถเอามาห่อแล้วบอกฉันให้นะ บุญมันสิ่งที่มองด้วยตาไม่เห็นและก็จับต้องด้วยมือไม่ได้ แต่มีอยู่ เราก็ใช้น้ำเป็นสื่อแทนแล้วแผ่จิตไป เราขออุทิศส่วนกุศลของเรานี้ให้แก่บิดามารดา ครูบาบาอาจารย์ ญาติมิตร เจ้ากรรม นายเวร สรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีความสุข มีความเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปเถิด แผ่ออกไปเรื่อยๆ

การกรวดน้ำจึงเป็นเหมือนระบบไปรษณีย์ ในขณะที่การแผ่จิตโดยตรงเหมือนระบบดาวเทียม แผ่ออกไปได้เลย ยิงออกไปเหมือนคลื่นเหมือนดาวเทียมไปถึงไหนก็ถึงกัน แต่บางทีการแผ่จิตอย่างนั้นเราไม่มั่นใจก็ใช้ระบบกรวดน้ำได้

พอกรวดน้ำเสร็จก็เอาน้ำไปเทราดที่ต้นไม้ก็ได้ แผ่นดินก็ได้ แล้วจะมีรุกขเทวดาภูมิเทวดาที่เขาอยู่แถวนั้น เขาก็จะรับรู้แล้วก็จะบอกต่อๆ กันไป เหมือนระบบไปรษณีย์ ถ้าจะให้ปลอดภัยให้ทั่วถึงจริงๆ ก็ใช้สองระบบเลยก็ได้ ยิงผ่านดาวเทียมด้วย ใช้ระบบไปรษณีย์ด้วยก็ได้

คำอธิษฐาน

เวลาอุทิศส่วนกุศล ถ้าเราจะให้ได้ผลจริงๆ ของการอุทิศ ให้ได้บุญจริงๆ ให้อธิษฐานกำกับด้วย "เจ้าประคุณด้วยบุญนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีความสุข ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ทำประโยชน์ให้มหาชนยิ่งๆ ใหญ่ขึ้นไปด้วยเทอญ" กระจายออกไป

แต่บางคนไม่อย่างนั้น ด้วยบุญกุศลนี้ ขออุทิศให้แก่เจ้ากรรมนายเวร เจ้าประคุณด้วยการทำบุญนี้ขอให้ฉันถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ ขอให้ฉันอย่างนั้นอย่างนี้ พอสละให้แล้วก็หวนกลับ ถ้าอย่างนั้นถามว่าได้ผลไหม มันก็จะเป็นการสะสมบุญไปเพื่อสิ่งที่เราอธิษฐานแต่มันจะไม่กระจายใหญ่ออกไป บุญจะไม่เท่ากับการที่สละออกไปในสังคมในธรรมชาติ บุญสละมันจะมหาศาลที่สุด แล้วท่านจะได้ในสิ่งเหล่านั้นเองเมื่อมาอธิษฐานใช้บุญในภายหลัง

แต่หากอธิษฐานใช้เลยทันทีก็คือการสะสมบุญไปเพื่อวัตถุประสงค์หนึ่งๆ เหมือนกับการเก็บเงินเพื่อประกันภัย เก็บเงินเพื่อประกันชีวิต เก็บเงินเพื่อประกันสุขภาพ นั้นเป็นการสะสมเพื่อวัตถุประสงค์อันจำเพาะ แต่บุญจะไม่ใหญ่

นั่นคือ เทคนิคในการอุทิศส่วนกุศล ในการเผื่อแผ่ความดีงามต่างๆ ซึ่งท่านสามารถใช้ได้ในชีวิตจริงในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับของนามธรรม ไม่ว่าจะเป็นระดับของจิตวิญญาณ ไม่ว่าจะเป็นระดับของการขอบคุณในความดีงาม เผื่อแผ่ความสำเร็จในผลงานหรือความดีความชอบให้แก่เพื่อนร่วมงานต่างๆ ใช้ได้หมด

นี่เป็นบุญฤทธิ์ชนิดหนึ่ง เพราะพอท่านทำเช่นนั้นเสร็จ เพื่อนร่วมงานก็จะยิ่งร่วมแรงร่วมใจกันสู้ตายเลย ถ้ารักกันจริง แบ่งความดีกันอย่างนี้ ไมใช่ตู่หรือหวงว่าอันนี้ผลงานฉันนะ ไม่ใช่ของเธอ อย่างนี้ไม่มีใครร่วมมือด้วยแน่นอน

แต่ถ้ามีความดีความชอบใดแล้วเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น จิตวิญญาณทั้งหลายก็จะรักเรา หรือเจ้ากรรมนายเวรที่เคยผูกอาฆาตพยาบาทเปลี่ยนมาเป็นเมตตา เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร เปลี่ยนชะตาชีวิตได้อีก นี่เป็นผลจากการอุทิศความดี ผลจากการเผื่อแผ่ผลงานจากสิ่งที่ดีงามทั้งหลาย

ปล. ขอบคุณ อาจารย์ กูเกิ้ลอีกหนึ่งครั้ง ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


แก้ไขล่าสุดโดย คนไร้สาระ เมื่อ 23 ต.ค. 2009, 06:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


cool ขออนุโมทาบุญกับคุณkokoradoo นะคะ :b8:
เช้าๆมาได้อ่านธรรมะดี ใจมีความสุขจริงๆค่ะ
:b48: ธรรมะสวัสดีค่ะ :b48:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
Quote Tipitaka:
สุขสฺเสตํ ภิกฺขเว อธิวจนํ ยทิทํ ปุญฺญานิ.
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญ นี้เป็นชื่อของความสุข



เวลาเรา..ทำให้คนที่เรารักมีความสุข
เวลาเรา..พูดสิ่งที่ทำให้เขามีความสุขแล้ว

ถามว่า..
.เมื่อเขามีความสุขแล้ว เราส่งความสุขให้เขาแล้ว
ความสุขส่วนของเรานั้นมันลดน้อยถอยลงไปหรือ? :b10:




ตอบ - มันไม่ลดน้อยไปเลยใช่ไหมล่ะ
ความสุขที่เรามอบให้เขา มันไม่ได้"ถูกแบ่งจำนวน"ออกไปจริงๆเลย
ตรงกันข้าม ยิ่งให้ ยิ่งได้
ยิ่งเขามีความสุข เรายิ่งมีความสุข
นี่แหละ มันแปลกอย่างนี้


แต่ต้องแน่ใจว่าสิง่ที่ทำนั้นเป้นบุญจริงๆนะ
บุญปลอมๆมันไม่ให้ผลผลิตเป้นความสุขหรอก

หลักง่ายๆ เทคนิคส่วนตัวผมนะ
ในการพิจารณาว่าสิ่งที่จะพูดจะทำนั้นเป้นความดีหรือเปล่า มีผลเป้นสุขหรือเปล่า
ให้พิจารณา 3 ประการนี้

1. ผู้อื่นก็ต้องไม่เดือดร้อน
2. เราต้องไม่เดือดร้อน
3. สิ่งที่ทำนั้น โลกอนุโลม รู้กาละเทศะ


1. ผู้อื่นต้องไม่เดือดร้อน
แม้ว่าบางทีเราปราถนาดีนะ คิดว่าที่จะพูดจะทำมันดีแล้วนะ
แต่เขาไม่เอา เขาไม่รับ เขาขุ่นเคือง เราก้ต้องไม่ทำ
ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่า "เรากระหายความดีมาก มากจนไม่สนว่าผู้อื่นจะเดือดร้อนหรือไม่"
เมื่อเห็นแก่ตัวขนาดนั้นแล้วก็จะพยามยัดเยียดความไม่สบายใจ ขุ่นเคืองใจแก่ผู้อื่น

บางคนหลงจัดนะ คิดว่าชั้นพูดแต่ความจริง ชั้นไม่ผิด ฉันมีสิทธิ์พูด อะไรทำนองนี้
เช่นพวกสื่อสารมวลชน พวกข่าวบันเทิง พวกนี้ตันหาจัด
คือมีทิฐิว่าฉันได้ความดีก็พอแล้ว ใครจะเดือดร้อนจากความดีของฉันก้ตาม ฉันไม่แคร์


2. เราต้องไม่เดือดร้อน
บางคนมีทิฐิว่า ก็ไม่เดือดร้อนใครนี่ ไม่ได้ผิดกฏหมาย ไม่เดือดร้อนใคร ฉันทำของฉัน ฉันมีสิทธิ์
ก็เลยไปเบียดเบียนตัวเองเพื่อให้ได้ความดี เช่น
มีเงินเดือน 100 บาท อยากได้ความดีมาก ทำทานมันซะ 99 บาทเลย
สุดท้ายเงินไม่พอใช้ เดือดร้อน กู็หนี้ยืมสิน
บางคนยิ่งกว่านั้นนะ อยากได้ความดีมาก เลยซื้อบุญแบบผ่อน 0% 10 เดือนก็มีนะ
ปานนั้น
นี่คือพวกที่มีทิฐิว่าฉันได้ความดีก็พอแล้ว ฉันจะเดือดร้อนจากความดีของฉันก้ตาม ฉันไม่แคร์
คิดว่าความดีกับความทุกข์มันหักลบกลบหนี้กันได้
ได้ความดีตั้ง 100 บาท เดือดร้อนแค่ 99 บาท ยังกำไรความดี 1 บาทแหนะ
แล้วก็ท่องว่า ... พอเพียงๆ ( :b5: )


3. สิ่งที่ทำนั้น โลกอนุโลม รู้กาละเทศะ

อันนี้พูดง่ายๆคือฉลาดในการทำดี
รู้จักคิดว่า อะไรควรทำเวลาไหน ไม่ควรทำเวลาไหน รู้กาละเทศะ
อันนี้มันเป้นศิลปะที่ต้องค่อยเรียนรู้กันไป

แต่ถ้าอยากรู้ว่าพระพุทธเจ้าพูดว่า คนดีคืออะไร ต้องเป้นยังไง
ให้ไปดู "สัปปุริสธรรม" ซึ่งก้คือ ธรรมะของคนที่เรียกว่า "คนดี"

:b16:

beby สมเป็นคุณอาสยามจริงๆ
คำอธิบาย อ่านแล้ว.....สบาย.....สบาย :b16:
แต่ความหมายเต็ม1....0......0.....เลยค่ะ
:b10: :b10: ใบเหลืองมาได้อย่าง....ไงคะคุณอา :b29: :b10: :b32: :b10: :b9:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


-dd- เขียน:
อ้างคำพูด:
ยิ่งเราแผ่ส่วนบุญ ผลบุญที่เรากระทำมาจะน้อยลงเพราะต้องไปให้ผู้อื่น

แต่การอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ไปเกิดเป็นเปรตนั้น บุญนั้นจะต้องเกิดจากทานเท่านั้น และเปรตที่จะได้รับส่วนบุญนี้ก็เฉพาะ ปรทัตตูปชีวิเปรต คือ เปรตที่อาศัยทานที่คนอื่นให้ ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์อย่างนี้


cool สบายดีนะคะ คุณdd เมื่อวานไปสวดมนต์ที่ วัดปทุมวนาราม มา
ร่วมอนุโมทนาบุญด้วยกันนะคะ
ถ้ากลับมากรุงเทพ อย่าลืมหาเวลาไปไหว้พระ ฟังธรรมนะคะ
ที่นี่อยู่ติดกับจุดศูนย์กลางความ hitech สยามพาราก้อนค่ะ
ท่ามกลางสิ่งยั่วยวนกิเลสทางโลกมากมาย
แต่เดินไม่กี่ก้าว เราจะพบความสงบ :b8: ในสวนป่าและศาลาเฉลิมพระเกียรติ
มีเทศนาธรรมทุกวันเลยนะคะ :b8:
:b10: อยากให้ คุณdd อธิบายตรงนี้ค่ะ ยังสงสัย
เพราะเวลาอุทิศส่วนกุศลก็จะให้เปรต มิได้หมายรวมหมดเลยหรือคะ
:b40: ดีนะคะที่มีโอกาสได้มาเป็นส่วนหนึ่งของลานนี้
ทำให้ได้รู้ ได้ปฏิบัติสิ่งดีๆในชีวิตมากขึ้น
:b8: :b8:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


O.wan เขียน:
beby สมเป็นคุณอาสยามจริงๆ
คำอธิบาย อ่านแล้ว.....สบาย.....สบาย :b16:
แต่ความหมายเต็ม1....0......0.....เลยค่ะ
:b10: :b10: ใบเหลืองมาได้อย่าง....ไงคะคุณอา :b29: :b10: :b32: :b10: :b9:


ขอบพระคุณมิตรรักแฟนเพลงนะครับ :b13:

ใบเหลืองได้มาจากการพูดมากไปหน่อย :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 15:21
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Onion_L ระวังโดนใบแดงนะค๊ะคุณชาติสยาม smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 15:21
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเดชะตั้งจิตอุทิศผล บุญกุศลแผ่ไปให้ไพศาล
ถึงบิดามารดาครูอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน
และผู้เคยร่วมงานการทั้งหลาย ขอจงได้ส่วนกุศลผลของฉัน
ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอให้ท่านจงมีส่วนแห่งบุญญา
พระเสื้อเมืองทรงเมืองเรืองอำนาจ องค์สยามเทวาธิราชเลิศยศฐา
มวลทวยเทพผู้พิทักษ์เก้าราชา พระขวัญฟ้าร่มเกล้าเราชาวไทย
พระพุทโธธรรมโมสังโฆคุ้ม คอยโอบอุ้มจักรีวงศ์ทรงผ่องใส
พระสถิตย์ยังสถานวิมานใด น้อมพระทัยรับกุศลผลบุญเทอญ.

tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


kae เขียน:
Onion_L ระวังโดนใบแดงนะค๊ะคุณชาติสยาม smiley


โดนไปหลายทีแล้วจ้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 16:58
โพสต์: 9

โฮมเพจ: http://nujubjibjung.hi5.com
แนวปฏิบัติ: นั่งสมาธิ เจริญภาวนา
งานอดิเรก: เล่น internet
ชื่อเล่น: จิ๊บ
อายุ: 14

 ข้อมูลส่วนตัว


แผ่ส่วนบุญให้เขา เราก็ยิ่งได้เพิ่มมากขึ้นค่ะ เพราะการแผ่ส่วนบุญนั้น เป็นการทำบุญอีกทางหนึ่ง เท่ากับว่าเราทำความดี เพราะฉะนั้น ได้บุญเพิ่มขึ้นค่ะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร